Tigger Sound
สังคมออนไลน์คุณภาพของคนรักเครื่องเสียง
ทดสอบเสียง HK1.1 By Tiggersound https://www.facebook.com/tiggersound/videos/10218510874389162

เรื่องน่ารู้ใน" Sound Reinforcement Handbook "

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sam_aj

  • นักร้อง
  • ******
    • กระทู้: 3042
ก่อนอื่นคงต้องขอขอบคุณผู้เขียน  GARY DAVIS & RALPH JONES ซึ่งได้เขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา และทาง YAMAHA ยักษ์ใหญ่ในวงการระบบเสียง ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนการเขียนหนังสือเล่มนี้  หนังสือเล่มนี้ได้รับความนิยม และแพร่หลายไปทั่วโลก  โดยได้ถูกใช้เป็นหนังสืออ้างอิงในหลักสูตรการเรียน การสอน สำหรับ Sound Engineer ในเกือบทุกสถาบัน

หนังสือเล่มนี้ ราคาขายใน Amazon.com อยู่ที่ราคา USD21.02 ซึ่งถือว่าไม่แพงเลย สำหรับหนังสือวิชาการซึ่งมีความหนาถึง 431 หน้า และเหมาะเป็นหนังสือคู่มือสำหรับผู้ที่กำลังศึกษาในเรื่องศาสตร์ของเสียง  โดยเฉพาะสมาชิกในเวปบอร์ดแห่งนี้ที่ส่วนใหญ่ต้องคลุกคลีอยู่กับการทำงานด้านเสียงอยู่ตลอดเวลา  เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และนำมาประยุกต์ใช้กับงานที่ทุกท่านกำลังทำอยู่

ผู้เขียนคงต้องขอออกตัวก่อนว่า ผู้เขียนไม่ได้มีดีกรีอะไรทางด้าน Sound Engineer หรือแม้แต่ดีกรี  Engineer ในทุก ๆ ด้าน   เป็นเพียงผู้ที่มีความสนใจในเรื่องศาสตร์ของเสียงคนหนึ่งเท่านั้น  ดังนั้นหากมีข้อความใด ๆ ที่เขียนไปโดยความเข้าใจผิดจากการแปลภาษาแบบ งู ๆ ปลา ๆ ของผู้เขียน  ก็คงต้องขออภัยล่วงหน้ามาก่อน ณ. ที่นี้  และหวังว่าผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ที่บังเอิญได้เข้ามาอ่านจะได้ช่วยให้คำแนะนำ และชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องเพื่อเป็นวิทยาทานแก่สมาชิกทุก ๆ ท่านในเวปบอร์ดแห่งนี้ด้วย

หนังสือเล่มนี้แบ่งเนื้อหาออกเป็นตอน ๆ ทั้งหมดมี 20 ตอน และในแต่ละตอนยังแบ่งย่อยออกไปอีกหลายหมวดหมู่  ดังนั้นบทความเรื่องน่ารู้ที่ผมจะเขียนต่อไปนี้ จะเรียงไปตามลำดับตอนของหนังสือเพื่อให้ไม่เกิดความสับสนในภายหลัง

A&J AUDIO SYSTEM CO.LTD.<br />888/34 ถ.ประชาอุทิศ อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ 10290 โทร.081-8262609

http://www.facebook.com/sam.audiojockey

http://www.facebook.com/pages/Audio-Jockey/277630358953118

http://www.facebook.com/groups/106190862800116/


ออฟไลน์ sam_aj

  • นักร้อง
  • ******
    • กระทู้: 3042
เรื่องน่ารู้ตอนที่ 1 ระบบเสียงคืออะไร ?

1.1 สัญญาณเสียง (Audio Signal)

1.1.1 คลื่นเสียง (Sound Wave)

เสียงเป็นพลังงานชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากการสั่นของวัตถุ  โดยเสียงที่หูของมนุษย์มีความสามารถในการรับรู้และได้ยินนั้นจะมีความถี่ในการสั่นอยู่ในช่วงระหว่าง 20 ครั้ง ถึง 20000 ครั้งต่อวินาที (20Hz ~ 20000Hz)
เราจะมาทำความเข้าใจในเรื่องความถี่ของเสียงจากภาพประกอบที่ 1 กัน

องค์ประกอบในภาพแสดงอะไรบ้าง
- เสียงเกิดจากการสั่นของวัตถุซึ่งการสั่นจะต้องมีการกระทำให้เคลื่อนที่ขึ้นและลง (PRESSURE)
- เมื่อวัตถุเคลื่อนที่ขึ้นและลง 1 ครั้ง ก็จะได้คลื่นเสียง 1 ลูกคลื่น (CYCLE) 
- ความแรงในการเคลื่อนที่ขึ้นและลง (AMPLITUDE)
- เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ขึ้นและลงจนเสร็จสมบูรณ์ 1 ครั้ง (TIME หรือ PERIOD)
- ระยะทางในการเคลื่อนที่ไปในอากาศของเสียง ซึ่งก็คือ ความยาวคลื่นนั่นเอง (DISTANCE หรือ WAVELENGTH)

ความถี่ของคลื่นเสียง (Frequency) เรานับจากจำนวนลูกคลื่น (CYCLE) ที่เกิดขึ้นในระยะเวลา 1 วินาที โดยมีหน่วยเป็น Hz หรือ CPS (CYCLE PER SECOND) ดังนั้น  Period จึงเท่ากับ  1 / Frequency

และด้วยคลื่นเสียงสามารถเคลื่อนที่ไปในอากาศที่ระดับน้ำทะเล (อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส)  ด้วยความเร็ว 1130 ฟุต/วินาที หรือ 344 เมตร/วินาที ดังนั้นเราจึงสามารถหาค่าความยาวคลื่นได้จากสมการ
Wavelenght = Speed of sound / Frequency

อาทิเช่น คลื่นเสียง 50Hz จะมีความยาวคลื่น =  1130/50 = 22.6ฟุต  หรือเท่ากับ 344/50  = 6.88เมตร  นั่นเอง

A&J AUDIO SYSTEM CO.LTD.<br />888/34 ถ.ประชาอุทิศ อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ 10290 โทร.081-8262609

http://www.facebook.com/sam.audiojockey

http://www.facebook.com/pages/Audio-Jockey/277630358953118

http://www.facebook.com/groups/106190862800116/


ออฟไลน์ sam_aj

  • นักร้อง
  • ******
    • กระทู้: 3042
1.1.2 สัญญาณทางไฟฟ้าของเสียง (The Electrical Representation of Sound)

เราสามารถแปลงคลื่นเสียง (Sound Wave) ให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้าได้ด้วยอุปกรณ์ทางเสียงอาทิเช่น ไมโครโฟน  ซึ่งจะเรียกสัญญาณทางไฟฟ้าที่ได้ว่า  สัญญาณเสียง (Audio Signal)  เราจะมาพิจาณาส่วนต่าง ๆ ของสัญญาณเสียงกันจากรูปประกอบที่ 2

จากรูปเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า (Audio Signal) ที่ได้จากคลื่นเสียง 1 ลูกคลื่น (1 CYCLE) ซึ่งมีองค์ประกอบเป็นศัพท์ทางเทคนิคดังนี้
- Voltage, Current or SPL  คือ ความแรงของสัญญาณเสียง มีหน่วยเป็น Decible (dB)
- Time  คือเวลาเริ่มต้นของสัญญาณเสียง แทนด้วยสัญลักษณ์ To
- Cycle  คือลูกคลื่นของสัญญาณเสียง (sine wave) ซึ่งจะมีรูปร่างเหมือนคลื่นเสียง (sound wave)
- Phase คือการแบ่งสัญญาณเสียงออกเป็นระยะองศา โดยเริ่มจาก 0 องศา แล้วมาจบที่ 360 องศา


A&J AUDIO SYSTEM CO.LTD.<br />888/34 ถ.ประชาอุทิศ อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ 10290 โทร.081-8262609

http://www.facebook.com/sam.audiojockey

http://www.facebook.com/pages/Audio-Jockey/277630358953118

http://www.facebook.com/groups/106190862800116/


ออฟไลน์ sam_aj

  • นักร้อง
  • ******
    • กระทู้: 3042
1.1.3 ระยะองศาของสัญญาณ (Phase)

ระยะองศาของสัญญาณเสียงมีผลต่อระบบเสียงโดยรวม   ทั้งนี้เมื่อสัญญาณเสียงถูกส่งผ่านเข้าอุปกรณ์ทางเสียงต่าง ๆ อาทิเช่น มิกเซอร์, เพาวเวอร์แอมป์ หรือ อุปกรณ์โปรเซสเซอร์ต่าง ๆ  ระยะองศาของสัญญาณเสียงที่ออกจากอุปกรณ์เหล่านั้น จะยังมีระยะองศา (Phase) ที่ถูกต้องเหมือนกับระยะองศา (Phase) ของสัญญาณเสียงขาเข้า หรือไม่ ?   เราจะมาพิจารณาจากรูปประกอบที่ 1.3 กัน

(a) เป็นรูป sine wave ขาเข้าของอุปกรณ์ทางเสียงต่าง ๆ ซึ่งจะใช้เป็นตัวสัญญาณอ้างอิง (reference signal) โดยใช้คาบเวลาเริ่มต้นของสัญญาณขาเข้าเป็นจุดอ้างอิง
(b) เป็นรูป sine wave ขาออกของอุปกรณ์ทางเสียง  ซึ่งจะเห็นได้ว่า ระยะองศา (Phase) เหมือนกับขาเข้าทุกประการ (In Phase)
(c) เป็นรูป sine wave ขาออกของอุปกรณ์ทางเสียง  ซึ่งจะเห็นได้ว่า ระยะองศา (Phase) เลื่อนออกไป (Phase shift or Out of Phase) 90 องศา
(d) เป็นรูป sine wave ขาออกของอุปกรณ์ทางเสียง  ซึ่งจะเห็นได้ว่า ระยะองศา (Phase) เลื่อนออกไป (Phase shift or Out of Phase) 180 องศา

A&J AUDIO SYSTEM CO.LTD.<br />888/34 ถ.ประชาอุทิศ อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ 10290 โทร.081-8262609

http://www.facebook.com/sam.audiojockey

http://www.facebook.com/pages/Audio-Jockey/277630358953118

http://www.facebook.com/groups/106190862800116/


ออฟไลน์ sam_aj

  • นักร้อง
  • ******
    • กระทู้: 3042
1.1.4 การผสมกันของสัญญาณเสียง (Adding Sine Waves)

รูปประกอบที่ 1.4 จะแสดงผลของสัญญาณเสียง 2 สัญญาณที่มีระยะคาบเวลา (Phase) ต่าง ๆ เมื่อถูกจับมารวมกันจะเกิดผลลัพธ์อะไรขึ้นกับระบบเสียงของเรา โดยที่

(a) สัญญาณเสียง 1+2 ที่มี Phase เหมือนกันเมื่อจับมารวมกันสัญญาณที่ได้ 3 จะแรงขึ้น
(b) สัญญาณเสียง 1+2 ที่มี Phase ต่างกัน 90 องศาเมื่อจับมารวมกันสัญญาณที่ได้ 3 จะเท่าเดิมแต่ Phase จะเลื่อนมาอยู่ที่ 45 องศาเมื่อเทียบกับสัญญาณที่ 1
(c) สัญญาณเสียง 1+2 ที่มี Phase ต่างกัน 180 องศาเมื่อจับมารวมกันสัญญาณที่ได้ 3 จะเหลือ 0 หรือหายไปโดยศัพท์ทางเทคนิคเรียกว่าเกิดการหักล้างกันของสัญญาณ (cancellation)

A&J AUDIO SYSTEM CO.LTD.<br />888/34 ถ.ประชาอุทิศ อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ 10290 โทร.081-8262609

http://www.facebook.com/sam.audiojockey

http://www.facebook.com/pages/Audio-Jockey/277630358953118

http://www.facebook.com/groups/106190862800116/


ออฟไลน์ sam_aj

  • นักร้อง
  • ******
    • กระทู้: 3042
1.2 ประโยชน์เบื้องต้นที่ได้จากการทำระบบเสียง (The Basic Purpose of a Sound System)

เรามาดูประโยชน์เบี้องต้นและเหตุผลหลัก 3 เหตุผล ของการทำระบบเสียง (Live Sound reinforcement System)
1. เพื่อช่วยให้สามารถรับฟังเสียงต่าง ๆ ได้ ดีขึ้น  คิดง่าย ๆ หากว่าท่านยืนพูดอยู่บนเวที ท่านจะพูดอย่างไรให้คนที่มาฟังได้ยินกันทั่ว  ซึ่งระบบเสียงจะมาช่วยท่านได้ในเรื่องนี้เป็นต้น
2. เพื่อช่วยเพิ่มความดังของเสียงโดยเฉพาะการแสดงดนตรีของศิลปิน ให้มีความดังมากขึ้นกว่าเสียงจากเครื่องดนตรีเพียว ๆ  ทำให้การแสดงมีความน่าสนใจและดูยิ่งใหญ่ชวนติดตาม
3. เพื่อช่วยในการได้ยินจากต่างสถานที่   ระบบเสียงสามารถทำให้ขีดจำกัดในการได้ยินจากสถานที่อื่นที่ไม่ใช่แหล่งกำเนิดเสียงสามารถได้ยินไปด้วยพร้อม ๆ กัน

นอกจากนั้นยังมีระบบเสียงที่ถูกออกแบบมาสำหรับการอื่น ๆ อาทิเช่น ระบบเสียงสำหรับการบันทึกเสียง (Studio Sound reinfocement System) ซึ่งระบบก็จะคล้าย ๆ กัน จะมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้างในบางประเด็น 
A&J AUDIO SYSTEM CO.LTD.<br />888/34 ถ.ประชาอุทิศ อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ 10290 โทร.081-8262609

http://www.facebook.com/sam.audiojockey

http://www.facebook.com/pages/Audio-Jockey/277630358953118

http://www.facebook.com/groups/106190862800116/


ออฟไลน์ sam_aj

  • นักร้อง
  • ******
    • กระทู้: 3042
1.3 แนวความคิดในการออกแบบระบบเสียง (Conceptual Model of a Sound System)

เราจะมาดูรูปประกอบที่ 1.5 ซึ่งเป็นแนวความคิดในการออกแบบระบบเสียงแบบพื้นฐาน  โดยมีอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ในการเปลี่ยนคลื่นเสียง ให้เป็นสัญญาณเสียง หรือ เปลี่ยนจากสัญญาณเสียงกลับไปเป็นคลื่นเสียง ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกกว่า Transducer และอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ต่าง ๆ เกี่ยวกับสัญญาณเสียงอาทิเช่น การรวมสัญญาณ, การปรับแต่งสัญญาณ, การขยายสัญญาณ เป็นต้น ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า Signal Precessing

ระบบเสียงแบบพื้นฐานจะเป็นไปตามลำดับขั้นตอนง่าย ๆ ทั้งหมด 5 ขั้นตอนดังนี้
- (1) แหล่งกำเนินคลื่นเสียง
- (2) คลื่นเสียงถูกเปลี่ยนให้เป็นสัญญาณเสียงด้วยอุปกรณ์ Input Transducer เช่น ไมโครโฟน
- (3) จากนั้นก็จะไปทำการรวมสัญญาณ, ปรับแต่งสัญญาณ, ขยายสัญญาณให้แรงขึ้น ฯลฯ ด้วยอุปกรณ์ Signal Precessing เช่น มิกเซอร์, ปรีแอมป์, พาวเวอร์แอมป์ ฯลฯ 
- (4) แล้วทำการเปลี่ยนสัญญาณเสียงที่ถูกปรับแต่งแล้วให้กลับมาเป็นคลื่นเสียงด้วยอุปกรณ์ Output Transducer เช่น ลำโพง
- (5) ทำการกระจายคลื่นเสียงสู่ผู้ฟัง   


A&J AUDIO SYSTEM CO.LTD.<br />888/34 ถ.ประชาอุทิศ อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ 10290 โทร.081-8262609

http://www.facebook.com/sam.audiojockey

http://www.facebook.com/pages/Audio-Jockey/277630358953118

http://www.facebook.com/groups/106190862800116/


ออฟไลน์ sam_aj

  • นักร้อง
  • ******
    • กระทู้: 3042
1.4 อุปกรณ์ที่ใช้แปลงคลื่นเสียงไปเป็นสัญญาณเสียง (Input Transducers)

อุปกรณ์สำหรับการแปลงคลื่นเสียงไปเป็นสัญญาณเสียง ที่นิยมใช้กันในระบบเสียงโดยทั่วไปนั้นมีอะไรบ้าง
- ไมโครโฟนที่ทำงานด้วยแรงสั่นสะเทือนของอากาศ อาทิเช่น ไมค์ที่ใช้สำหรับการพูด หรือ ร้องเพลง
- คอนแทคสำหรับติดตั้งในเครื่องดนตรี ทั้งแบบสาย เช่น กีตาร์ หรือแบบตี เช่น กลอง เป็นต้น
- เครื่องเล่นเทป 
- เครื่องเล่นแผ่นเสียง
- เครื่องเล่นเลเซอร์ดิสก์, ซีดี, ดีวีดี ฯลฯ
- เครื่องฉายภาพยนต์แบบซาวด์แทร็ก
- อื่น ๆ

ท่านจะต้องศึกษาถึงคุณลักษณะและวิธีการใช้งานของอุปกรณ์ข้างต้นในแต่ละชนิดด้วยตัวของท่านเอง เพื่อให้สามารถใช้งานได้ถูกต้องและได้ประสิทธิภาพอย่างเต็มที่   จะมีเพียงแค่เรื่องไมโครโฟนเท่านั้นที่จะกล่าวถึงรายละเอียดและวิธีการใช้งานอีกครั้งในตอนที่ 10
A&J AUDIO SYSTEM CO.LTD.<br />888/34 ถ.ประชาอุทิศ อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ 10290 โทร.081-8262609

http://www.facebook.com/sam.audiojockey

http://www.facebook.com/pages/Audio-Jockey/277630358953118

http://www.facebook.com/groups/106190862800116/


ออฟไลน์ sam_aj

  • นักร้อง
  • ******
    • กระทู้: 3042
1.5 อุปกรณ์ที่ใช้แปลงสัญญาณเสียงไปเป็นคลื่นเสียง (Output Transducers)

อุปกรณ์ที่ใช้แปลงสัญญาณเสียงไปเป็นคลื่นเสียงที่พบเห็นและนิยมใช้กันทั่วไปเป็นหลักในระบบเสียงคือ ลำโพง  ซึ่งพอจะแบ่งออกตามความถี่และจุดประสงค์ในการใช้งานได้ 8 ประเภทดังนี้

1.) ลำโพงเสียงกลางต่ำ (Woofer loudspeaker) ถูกออกแบบมาสำหรับเสียงกลางต่ำที่ ความถี่ต่ำกว่า 500Hz แต่บางแบบอาจจะสามารถตอบสนองได้ถึงเสียงกลาง ที่ความถี่ไม่เกิน 1.5KHz ซึ่งส่วนมากจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 8 นิ้วไปจนถึง 18 นิ้ว

2.) ลำโพงเสียงกลาง (Midrange loudspeaker) ถูกออกแบบมาเฉพาะเสียงกลางโดยตรงซึ่งความถี่ในการใช้งานจะอยู่ระหว่าง 500Hz ขึ้นไป สูงสุดไม่เกิน 6kHz ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำโพงชนิดนี้จะอยู่ระหว่าง 5 นิ้ว ถึง 12 นิ้ว  โดยหากเป็นลำโพงชนิดคอมเพรสชั่น หรือที่เราเรียกกันจนติดปากว่ายูนิตแหลม (compression driver) มักจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของไดอะแฟรมหรือที่เราเรียกกันว่า ว้อยส์คอยล์ ตั้งแต่ 2.5 นิ้วขึ้นไป จนถึง 4 นิ้ว โดยประมาณ แต่ก็มียูนิตแบบพิเศษที่พบเห็นอยู่บ้างซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางโตถึง 9 นิ้ว

3.) ลำโพงเสียงกลางแหลม (Tweeter loudspeaker) ถูกออกแบบมาสำหรับความถี่ตั้งแต่ 1.5kHz ขึ้นไป ซึ่งหากเป็นลำโพงแบบกรวยกระดาษมักจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางจาก 2 นิ้วไปจนถึง 5 นิ้ว แต่ถ้าเป็นลำโพงชนิดคอมเพรสชั่น มักจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางของไดอะแฟรมตั้งแต่ 1.5 นิ้ว ไปจนถึง 4 นิ้วโดยประมาณ

4.) ลำโพงแบบตลอดย่าน (Full-range loudspeaker) ออกแบบมาให้สามารถตอบสนองความถี่ได้ตั้งแต่เสียงแหลมลงมาจนถึงเสียงกลางในลำโพงดอกเดียวกัน  และในบางครั้งยังสามารถลงได้ลึกถึงความถี่ 60Hz หรือต่ำกว่าซึ่งเป็นย่านโลว์ เหมาะสำหรับระบบเสียงที่ต้องการใช้ตู้ลำโพงเพียงแค่ใบเดียวในระบบ แต่สามารถตอบสนองความถี่ได้เกือบตลอดย่าน
หมายเหตุ  ลำโพงตลอดย่านในดอกเดียว จะแตกต่างจากลำโพงตลอดย่านแบบโคแอกเชี่ยล (Coaxial loudspeaker) ซึ่งผนวกยูนิตแหลมเข้ากับลำโพงเสียงกลาง

5.) ลำโพงเสียงต่ำ (Subwoofer loudspeaker) ถูกออกแบบมาสำหรับเสียงย่านต่ำ จนถึงต่ำมาก ซึ่งสามารถตอบสนองความถี่ได้ตั้งแต่ 20Hz ขึ้นมาจนถึงประมาณ 300Hz ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำโพงส่วนใหญ่จะอยู่ระหว่าง 15 นิ้วไปจนถึง 24 นิ้วโดยประมาณ  และเช่นกันสำหรับขนาดใหญ่พิเศษเคยมีเส้นผ่าศูนย์กลางโตถึง 60 นิ้ว

6.) ลำโพงเสียงสูง (Supertweeter loudspeakers) ออกแบบมาเพื่อการใช้งานในย่านเสียงสูง ตั้งแต่ 10kHz ขึ้นไป มีทั้งชนิดแบบคอมเพรสชั่นยูนิต และแบบ เปียโซ่ (piezoelectric driver) ลำโพงชนิดนี้ต้องใช้เทคโนโลยี่ในการผลิตค่อนข้างสูง และมักถูกปกปิดเป็นความลับ

7.) ลำโพงสำหรับมอนิเตอร์ (Monitor loudspeakers) เป็นลำโพงที่ถูกใช้งานสำหรับผู้แสดงบนเวทีเป็นหลัก และยังใช้เป็นช่องทางสำหรับการสื่อสารระหว่างผู้แสดงบนเวทีกับซาวด์เอ็นจิเนียได้ด้วย    และสำหรับงานบันทึกเสียงในสตูดิโอ ลำโพงชนิดนี้ก็มีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบเสียงที่กำลังบันทึกอยู่  จึงต้องเป็นลำโพงที่สามารถตอบสนองต่อความถี่เสียงได้ดียิ่งแทบจะตลอดย่านความถี่

8.) หูฟัง (Headphones) เป็นลำโพงอีกชนิดหนึ่งที่ออกแบบมาให้มีขนาดเล็กสำหรับสอดเข้าไปในช่องหู  บางแบบก็ถูกออกแบบมาให้มีความสามารถในการตัดเสียงรบกวนที่ไม่ต้องการจากภายนอกได้ด้วย  จึงถูกใช้งานอย่างกว้างขวางในระบบเสียงสำหรับซาวด์เอ็นจิเนียในการตรวจสอบเสียงจากมิกเซอร์คอนโซล ที่กำลังควบคุมการแสดง หรือ การบันทึกเสียง และยังนิยมนำไปทำหน้าที่แทนลำโพงมอนิเตอร์สำหรับนักแสดงบนเวทีอีกด้วย
A&J AUDIO SYSTEM CO.LTD.<br />888/34 ถ.ประชาอุทิศ อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ 10290 โทร.081-8262609

http://www.facebook.com/sam.audiojockey

http://www.facebook.com/pages/Audio-Jockey/277630358953118

http://www.facebook.com/groups/106190862800116/


ออฟไลน์ sam_aj

  • นักร้อง
  • ******
    • กระทู้: 3042
1.6 ภาคปฎิบัติกับระบบเสียงจริง (A Practical Model of a Sound System)

หลังจากที่ได้ทราบในเบื้องต้นกันแล้วว่าระบบเสียงนั้นมีองค์ประกอบอะไรบ้างในทางทฤษฎี ?  ต่อไปนี้เราจะมาลองออกแบบระบบเสียงกับอุปกรณ์จริงกันบ้าง  โดยสมมุติว่าเป็นระบบเสียงสำหรับการประชุมหรือสัมนา และมีพิธีกรที่จะต้องใช้ไมโครโฟน จำนวน 3 ตัวในระบบเสียง 

มาดูรูปประกอบที่ 1.6 กัน เป็นระบบเสียงพื้นฐานแบบง่าย ๆ โดยมีองค์ประกอบ 3 ส่วนดังนี้

1.) Input Transducers เป็นไมโครโฟน จำนวน 3 ตัวเพื่อแปลงเสียงพูดให้เป็นสัญญาณเสียงส่งผ่านทางสายนำสัญญาณจำนวน 3 เส้นไปยังขั้นตอนที่ 2

2.) Signal Processing สายนำสัญญาณจากไมค์  จะถูกต่อเข้ากับช่องอินพุทของมิกเซอร์คอนโซลแยกกัน 3 อินพุท (ชาแนล) โดยที่ตัวมิกเซอร์ จะทำหน้าที่ในการปรับแต่งสัญญาณที่ได้รับมาดังนี้
- Preamplification คือ ทำการขยายสัญญาณ (เบื้องต้น) ในแต่ละชาแนลให้แรงขึ้นจนอยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งระดับสัญญาณที่เหมาะสมจะได้กล่าวในโอกาสต่อไป
- Equalization คือ ทำการปรับโทนของสัญญาณเสียงในแต่ละชาแนลให้น่าฟัง โดยในเบื้องต้นซาวด์เอ็นจิเนียสามารถรับฟังโทนเสียงของสัญญาณเสียงแต่ละชาแนลผ่านทางช่องเอ้าท์พุทของมิกเซอร์ที่เป็นช่อง หูฟัง (Headphone)
- Mixing คือ ทำการรวมสัญญาณที่ปรับแต่งแล้วจาก 2 ขั้นตอนแรกเข้าด้วยกันเป็นสัญญาณเดียวส่งออกทาง main output ของมิกเซอร์ไปเข้า เพาวเวอร์แอมป์ โดยมีความแรงของสัญญาณอยู่ระหว่าง 0.1 ถึง 100มิลลิวัตต์

ต่อจากนั้นเพาวเวอร์แอมป์จะทำการขยายสัญญาณที่ได้รับจากมิกเซอร์ให้แรงขึ้นจนสามารถที่จะไปแปลงเป็นคลื่นเสียงในขั้นตอนที่ 3 ด้วยลำโพง  ซึ่งระดับความแรงของสัญญาณเสียงจะอยู่ในช่วง 0.5 ถึง 500วัตต โดยประมาณ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของระบบและสภาพแวดล้อมของสถานที่

3.) Output Transducer ซึ่งก็คือลำโพงจะทำหน้าแปลงสัญญาณเสียงกลับมาเป็นคลื่นเสียงเพื่อกระจายเสียงสู่ผู้ฟัง  ซึ่งแน่นอนว่าระดับความดังของเสียงนั้นย่อมดังกว่าเสียงของพิธีกรที่พูดโดยไม่มีระบบเสียงเข้ามาช่วย  แต่มีอีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าระบบเสียงและเรามักจะมองข้ามไปนั่นคือเรื่องของสภาพแวดล้อมของสถานที่นั่นเอง  ซึ่งหากเราทำระบบเสียงในห้องหรือในฮอลล์  สภาพแวดล้อมของห้องจะมีผลอย่างมากต่อคุณภาพเสียงที่ได้เนื่องจากจะเกิดเสียงสะท้อนกลับ (reverberant) ไม่มากก็น้อย  ดังนั้นการทำระบบเสียงที่ดีจึงต้องคำนึงถึงเรื่องของสภาพแวดล้อมของสถานที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในอีกทางหนึ่งด้วยซึ่งจะเราจะพูดถึงรายละเอียดนี้ในตอนที่ 5 และ 6 อีกครั้งหนึ่ง

** โปรดพึงระลึกไว้เสมอว่าระบบเสียงไม่ว่าจะใหญ่ขนาดไหนก็จะประกอบด้วยระบบเสียงพื้นฐาน 3 ขั้นตอนนี้เสมอ โดยที่ระบบเสียงที่ใหญ่ขึ้นก็จะมีส่วนต่อขยายที่เพิ่มมากขึ้นเท่านั้นเอง

A&J AUDIO SYSTEM CO.LTD.<br />888/34 ถ.ประชาอุทิศ อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ 10290 โทร.081-8262609

http://www.facebook.com/sam.audiojockey

http://www.facebook.com/pages/Audio-Jockey/277630358953118

http://www.facebook.com/groups/106190862800116/


ออฟไลน์ ทีมงานอนุบาลเครื่องเสียง

  • ทีมงานอนุบาลเครื่องเสียง
  • มือกลอง
  • *****
    • กระทู้: 934
  • ทีมงานอนุบาลเครื่องเสียง
เจริญพรขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ เอามาลงเรื่อยๆนะคุณโยม สาธุ smiley4
เอราวัณทรานฟอเมอร์
นายประดับ รู้รักษา
4 หมู่ 5 ต.บัวเชด อ.บัวเชด จ.สุรินทร์ 32230
0850945027


ออฟไลน์ GUITAR.

  • เครื่องเสียงภูธรอย่างเราจะเอาไรมาก
  • มือกลอง
  • *****
    • กระทู้: 974
  • Weerayut Sound Design
ขอเซฟไว้ก่อนนะครับ วันนี้อ่านไม่จบแน่ ขอบคุณครับ
นาย วีรยุทธ คะรุรัมย์  (ช่างตั้ม) บ้านโนนสูง เลขที่ 58 หมู่ 16 ตำบล หนองตาด อำเภอ เมือง จังหวัด บุรีรัมย์ 31000 / TEL : 084-477-7148


ออฟไลน์ sattawat2912

  • มือกีตาร์
  • ****
    • กระทู้: 362
    • SK electronics
ขอบคุณครับ
นายศตวรรษ แก้วขาว 41/2 ม.8 ต.หัวไทร อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช 80170 087-8813368 Line : golf_sattawat
ชื่อบัญชี
นายศตวรรษ แก้วขาว
ธ.กรุงไทย 826-0-45069-0
ธ.กรุงเทพ 449-039210-9
ธ.กสิกร  015-3-79186-4
https://www.facebook.com/skelectronics2016/


ออฟไลน์ sonicsound yasothon

  • สวัสดีครับทีมงานทุกท่าน
  • มือกีตาร์
  • ****
    • กระทู้: 387
  • ระบบเสียงคือชีวิต
    • เกียรติศักดิ์ ดาโรจน์
ผมอ่านแล้วต้อนนี้เป็นบทของโครงสร้างการ รับเสียงด้วยไมค์ มิกซ์ ขยาย ลำโพง แล้ว มาแยกเสียงรับเข้ากรณีเป็น เบส กีตาร์ คีบอร์ด มาถึงแอมป์แยกเฟสรับ ส่งความถี่ต่างๆเข้าไป แล้วส่งออกทางลำโพง ก็จะแยกลำโพง เบส กลาง แหลม และแหลมมากเช่น เปียโซ่ ให้เสียงละเอียดมาก เช่นเสียง กรุ๋งกริ๋งห้อยเป็นเส้นๆ ในลำโพง กระดาษและ ปากจรวดทำไม่ได้ และต่อไปจะมีอีก 20 ตอนคอยติดตามต่อไปครับจากต้นฉบับขอบคุณผู้ให้ความรู้ครับ


ออฟไลน์ laney

  • ท่านผู้ชม
  • **
    • กระทู้: 31
ผมก็รู้จักเเละพยายามเเกะหนังสือเล่มนี้ครับ เพราะชอบ เเต่ไม่เก่งภาษาเอาซะเลย อยากอ่านบทต่อไปจังครับ
ที่อยู่ เอกพัฒน์ มั่นคง 302/8 หมู่ 7 ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง
จ.พิษณุโลก 65000 ซอยประตู 6 มหาวิทยาลัยนเรศวร TEL: 0869361220

บัญชี นายเอกพัฒน์ มั่นคง 620-0-33447-9 ธ.กรุงเทพ สาขา ม.นเรศวร