Tigger Sound
สังคมออนไลน์คุณภาพของคนรักเครื่องเสียง
ทดสอบเสียง HK1.1 By Tiggersound https://www.facebook.com/tiggersound/videos/10218510874389162

ศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับระบบเสียง

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทีมงานอนุบาลเครื่องเสียง

  • ทีมงานอนุบาลเครื่องเสียง
  • มือกลอง
  • *****
    • กระทู้: 934
  • ทีมงานอนุบาลเครื่องเสียง
ศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับระบบเสียง

 AUDIOPHILE
คำนี้น่าจะนำมาจากคุณภาพการบันทึกแผ่นซีดีครับ เนื่องจากไม่ได้มีบทบรรญัติไว้ชัดเจนในพจนานุกรม แผ่นซีดีที่มีการบันทึกโดยเน้นคุณภาพเป็นพิเศษ โดยเริ่มตั้งแต่การบันทึกในห้องอัด การบันทึกลงแผ่น ใช้อุปกรณ์คุณภาพดี รวมไปถึงพิถีพิถันทุกขั้นตอน เพื่อให้ได้มาซึ่งแผ่นที่ให้คุณภาพเสียงได้ใกล้เคียงกันต้นกำเนิด เหมือนผู้ฟังได้ไปนั่งฟังบทเพลงนั้นๆตอนบันทึกเลยทีเดียว คำว่า AUDIOPHILE จึงหมายถึงการเล่นเครื่องเสียงเพื่อให้ได้คุณภาพสูงสุด ในสภาวะแวดล้อมและอุปกรณ์ในชุดเครื่องเสียงจะอำนวย  ประการสำคัญที่เป็นแก่นแท้ของการเล่นแบบนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับราคาของตัวเครื่องนะครับ นักเล่นมักให้ความสนใจไปกับทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง พิถีพิถันสูงสุด เริ่มตั้งแต่การคัดเลือกอุปกรณ์มาร่วมชุดใช้งาน ย้ำอีกครั้งว่าไม่ต้องราคาแพงสูงสุด แต่มักเลือกคุณภาพที่ดี ดีด้วยวัสดุการผลิต ดีด้วยคุณภาพของวงจร นักเล่นบางท่านถึงกับกำหนดชิ้นส่วนอุปกรณ์แม้เพียงขนาดเล็กภายในวงจรเลยทีเดียว เมื่อได้อุปกรณ์เข้าชุดพอใจทั้งระบบ ก็ต้องให้ความใส่ใจกับอุปกรณ์เสริม ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นของแพง แต่เลือกใช้วัสดุคุณภาพดีสามารถเสริมข้อดี ช่วยกลบข้อด้อยของชุดเครื่องเสียงได้ เมื่ออุปกรณ์ครบหมดแล้ว ก็มาถึงการติดตั้ง นักเล่นบางท่านถึงกับติดตั้งเองหรือบางท่านก็ไปคอยควบคุมทุกขั้นตอนการติดตั้ง เรียกได้ว่าสนิทชิดเชื้อกับช่างเลยทีเดียว ใส่ใจแม้กระทั้งมุมติดตั้ง ทิศทางสาย ตำแหน่งวางเพาเวอร์แอมป์ และอื่นๆอีกมากมาย ใส่ใจพิถีพิถันครบทุกจุด เพื่อรีดคุณภาพเสียงจากชุดที่เลือกไว้ออกมาให้ได้คุณภาพสูงสุด เพื่อที่จะให้มีคุณภาพดีกว่าชุดราคาแพงที่ติดตั้งได้ไม่ดีนัก
จากนั้นก็มาถึงขั้นตอนการจูนเสียง นักเล่นแนวทางนี้จะไม่ใช้อุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ประเภทการปรับแต่งเสียงช่วยแต่อย่างใด เน้นอุปกรณ์เพียงน้อยชิ้น เพื่อให้สัญญาณผ่านการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้น้อยที่สุด นอกจากบางท่านจะจูนเสียงด้วยตนเองแล้ว บางท่านถึงกับจูนเสียงเป็นวันๆเป็นคืนๆ เคยมีคำกล่าวติดตลกด้วยว่า จูนเสียงเพื่อเอาคุณภาพสูงสุดต้องไปจูนเสียงที่เงียบสงัดเช่น ป่าช้าเลยก็มี
ข้อสำคัญคือ นักเล่นกลุ่มนี้มักจะไม่จ่ายค่าอุปกรณ์แพงระดับสูงสุด แต่ก็ไม่ได้เลือกจ่ายในราคาต่ำสุดเช่นกัน ใช้วิธีเลือกคุณภาพตามความเหมาะสมและความเข้ากันได้ทางบุคลิกเสียงที่สามารถเติมเต็มความไพเราะซึ่งกันและกัน อะไรขาดเสียงไหนก็หาอุปกรณ์ที่เหลือมาเติมแต่งให้เต็ม เพื่อให้ได้เสียงคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป  ผู้ที่เริ่มเล่นเครื่องเสียง ควรศึกษาหาข้อมูลและได้ลองฟัง อย่าลืมว่าเครื่องเสียงราคาแพงระดับสูงก็มักจะให้คุณภาพเสียงที่ดี และถ้าประกอบเข้ากับการเล่นแบบพิถีพิถันใส่ใจทุกขั้นตอน ก็จะยิ่งเพิ่มคุณค่าและคุณภาพของเสียงขึ้นไปอีก แล้วนักเล่นมือใหม่จะเล่นเครื่องเสียงแบบไหนอย่างไร  แนะนำว่า ให้ไปลองฟังเสียงดนตรีจริงๆ ที่ไม่ผ่านการขยายเสียง สักครั้ง ประเภทการแสดงสด หรือเหมาะที่สุดก็เป็นเพลงคลาสสิคจากวงออเครสต้า เมื่อนั้นท่านจะทราบความต้องการของตนเองว่า จะเล่นเครื่องเสียงแบบใดครับ

Auxilliary Audio Input
เป็นจุดรับสัญญาณเข้าทางแผงหน้าปัดหรือด้านหลังตัวเครื่องวิทยุซีดี ที่ยอมให้ผู้ใช้เชื่อมต่อกับเครื่องรับสัญญาณจากดาวเทียมหรือเครื่องเล่นเพลงแบบพกพาอื่นๆได้ (อาทิ MP3, CD, MD) 

Active Crossover
สำหรับแอคทีฟครอสโอเวอร์นั้น ในบางที่ก็อาจเรียกว่า อีเล็คโทรนิค ครอสโอเวอร์(electronic crossover) ด้วยความที่เป็นอุปกรณ์ซึ่งต้องการกำลังไฟและกราวน์ในการทำงาน ถูกติดตั้งเอาไว้ระหว่างวิทยุซีดีหรืออีควอไลเซอร์กับเพาเวอร์แอมป์ เป็นตัวกรองและแบ่งความถี่ในย่านที่เหมาะสมสำหรับสัญญาณระดับต่ำ ก่อนจะป้อนเข้าเพาเวอร์แอมป์ เพื่อช่วยให้เพาเวอร์แอมป์ทำงานเฉพาะส่วนของความถี่ ส่งผลให้ประสิทธิภาพของระบบเสียงสูงขึ้นถึงระดับไฮเอ็นด์   แอคทีฟครอสโอเวอร์โดยทั่วไป จะต้องสามารถปรับตั้งความถี่ได้อย่างอิสระ มีความยืดหยุ่นในการปรับแต่งส่วนของเสียงตามความต้องการของระบบในรถแต่ละคัน อาจจำเป็นต้องมีปุ่มช่วยปรับเพิ่มเสียงเบส และปุ่มปรับระดับเสียงขาออกของส่วนเสียงแต่ละส่วน

Ampere
เป็นหน่วยวัดกระแสหรือไฟฟ้าที่ไหลผ่านวงจร โดยอาจเรียกสั้นๆว่า “แอมป์”(amp) และไม่ควรนำไปใช้สับสนกับคำว่า “แอมปลิไฟล์เออร์”(amplifier) ที่มักเรียกสั้นๆว่า “แอมป์”(amp) เหมือนกัน

Band pass Filte
การกรองเสียงผ่านเฉพาะย่านความถี่ จะประกอบด้วยส่วนของการกรองเสียงผ่านเฉพาะเสียงย่านที่สูงกว่าและส่วนของการกรองเสียงผ่านเฉพาะเสียงย่านที่ต่ำกว่า เพื่อยอมให้มีเฉพาะส่วนของเสียงในระหว่างนั้นผ่านออกไปยังปลายทาง การกรองเสียงผ่านเฉพาะย่านความถี่อาจเป็นแบบกำหนดความถี่ตายตัว หรือแบบปรับเลือกอิสระ

Ridged Power
เมื่อคุณบริดจ์กำลังที่เพาเวอร์แอมป์ นั่นหมายถึงการรวมกำลังขับของทั้งสองแชนแนลให้กลายเป็นหนึ่งแชนแนล การบริดจ์กำลังจะสามารถขับดันลำโพงได้ในกำลังวัตต์ที่มากกว่ากำลังวัตต์ปกติของสองแชนแนลรวมกัน

Box volume
เป็นมาตรวัด ที่ใช้บอกถึงองค์ประกอบของซับวูฟเฟอร์ โดยการแนะนำปริมาตรภายในของตู้ที่เหมาะสมสำหรับนำไปใช้เพื่อให้ซับวูฟเฟอร์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากที่สุด และยอมให้มีความคลาดเคลื่อนได้ 10-20 เปอร์เซ็นต์

Basket
เป็นโครงโลหะที่ใช้ยึดส่วนประกอบของซับวูฟเฟอร์ทั้งหมดไว้ด้วยกัน โครงลำโพงจะต้องแข็งแกร่งและต้านทานต่อการสั่นสะท้านได้ดี เพื่อให้ได้เสียงซับวูฟเฟอร์ที่มีคุณภาพ

Butterworth Filters
การกรองเสียงในแบบบัตเตอร์เวิร์ธจัดว่าเป็นแบบที่มีคุณภาพสูง ให้ความราบรื่นของเนื้อเสียงสมบูรณ์สุด โดยมีผลกระทบทางด้านเฟสเสียงน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับการกรองเสียงในแบบอื่นๆ

Crossover (High-Pass Filter)
เป็นระบบกรองผ่านเสียงที่สูงกว่าที่บรรจุอยู่ในเครื่อง ที่จะยอมให้ความถี่เสียงที่อยู่สูงกว่าจุดตัดความถี่ผ่านออกไป ระบบกรองผ่านเสียงนี้ทำงานได้ทั้งกับจุดต่อสายลำโพง, จุดต่อสายปรีเอาท์ หรือทั้งสองจุด

Crossover (Low-Pass Filter)
เป็นระบบกรองผ่านเสียงที่ต่ำกว่าที่บรรจุอยู่ในเครื่อง ที่จะยอมให้ความถี่เสียงที่อยู่ต่ำกว่าจุดตัดความถี่ผ่านออกไป ระบบกรองผ่านเสียงนี่ทำงานได้ทั้งกับจุดต่อสายลำโพง, จุดต่อสายปรีเอาท์ หรือทั้งสองจุด

Crossover Point
เป็นจุดตัดของความถี่ที่ใช้ระบุการทำงาน ของการกรองเสียงผ่านเฉพาะเสียงย่านที่สูงกว่าและการกรองเสียงผ่านเฉพาะเสียงย่านที่ต่ำกว่า โดยมีระดับของคลื่นเท่าๆกัน

Crossover Slope
เป็นอัตราการลดทอนเสียงลงที่จุดตัดความถี่เพื่อกันความถี่ที่ไม่ต้องการให้ผ่าน ความลาดชันนี้จะมีหน่วยเป็นเดซิเบลต่อออคเตป ค่าที่ปรากฏ 6 dB/Octave หมายถึงครอสโอเวอร์จะลดกำลังเสียงลง 6 dB ในทุกๆออคเตปที่อยู่ถัดไปจากจุดตัดความถี่ ดังนั้นหากมีค่าความลาดชันที่ 12 dB/Octave หรือสูงกว่านี้ ท่านก็แทบจะไม่ได้ยินเสียงที่อยู่ถัดไปจากจุดตัดความถี่เลย

Capaciton
หมายถึงคาปาซิเตอร์แบบใช้งานกำลังสูงๆ ที่มักต่ออยู่ใกล้ๆกับบริเวณที่ติดตั้งเพาเวอร์แอมป์ โดยต่อไว้ในระหว่างสายไฟจากเพาเวอร์แอมป์ที่จะวิ่งไปยังแบตเตอรี่ เพื่อการเก็บสำรองกำลังไฟและจ่ายให้เพาเวอร์แอมป์ได้โดยตรงเมื่อมีการกระชากไฟอย่างรุนแรง (เช่นในขณะที่มีการกระทืบกระเดื่องกลองอย่างรุนแรง) โดยไม่จำเป็นต้องไปกระชากไฟที่แบตเตอรี่

Classes of Amplifiers
คนทั่วไปมักคิดว่าเพาเวอร์แอมป์จะให้การทำงานเต็ม 100% เมื่อป้อนสัญญาณเข้าไป แต่ในความจริงเพาเวอร์แอมป์มีการสลายกำลัง(ในรูปแบบของความร้อน) และมีความผิดเพี้ยนในระดับสัญญาณเสียง เป็นปัจจัยหลักสองปัจจัยที่มีผลกับประสิทธิภาพทำงานของเพาเวอร์แอมป์ การออกแบบวงจรเพาเวอร์แอมป์จึงต้องเลือกระดับชั้นในการทำงานของเพาเวอร์แอมป์ และแต่ละระดับชั้นนั้นก็มีคุณสมบัติที่เป็นประสิทธิภาพเฉพาะตัว

   Class A amplifiers ถูกกำหนดไว้เพื่อคุณภาพของเสียงที่สูงสุด แต่ด้วยเหตุที่มันมีโครงสร้างพื้นฐานเป็นทรานซิสเตอร์ทั้งหมด เพาเวอร์แอมป์คลาส-เอจึงไร้ประสิทธิผลและร้อนในขณะทำงาน เพราะว่าแม้ในขณะที่ไม่มีสัญญาณเสียงป้อนเข้ามา ทรานซิสเตอร์เอาท์พุทก็ยังคงมีกระแสไหลผ่านตัวมันตลอด กระแสที่ไหลผ่านตลอดเวลานี้เองที่ทำให้เกิดความร้อนโดยไม่จำเป็น และ “สูญเสีย” พลังงานไปอย่างมาก เพาเวอร์แอมป์ในยุคหลังๆจึงมักใช้วงจรคลาส-เอที่เป็นวงจรผสมของ Class A/Class AB เพื่อลดปัญหาความร้อน

   Class AB amplifiers เป็นการออกแบบ ที่ยอมให้เอาท์พุททรานซิสเตอร์มีกระแสไหลผ่าน ขณะที่ไม่มีสัญญาณเสียงป้อนเข้ามา ในระดับต่ำมากๆ จึงให้ประสิทธิผลที่มากกว่าคลาส-เอ โดยที่มีความผิดเพี้ยนต่ำและมีความน่าเชื่อถือสูง

   Class D amplifiers เป็นการใช้เอาท์พุทรานซิสเตอร์ทำงานแทนสวิทช์ เพื่อควบคุมการป้อนจ่ายกำลัง โดยทรานซิสเตอร์จะหยุดทำงานเมื่อมีแรงดันไฟปริมาณมากๆตกคร่อมอยู่ที่ตัวมัน วงจรครลาส-ดีจึงให้ประสิทธิผลสูงสุด การทำงานมีความร้อนต่ำสุด และให้การไหลของกระแสได้มากกว่าวงจรคลาส-เอบี เพาเวอร์แอมป์คลาส-ดีจะมีความผิดเพี้ยนสูงกว่าคลาส-เอบี เนื่องจากการปิด/เปิดอย่างรวดเร็วของทรานซิสเตอร์ แต่ก็มักเกิดขึ้นที่ย่านความถี่สูง ดังนั้นโดยปกติมักจะใช้การกรองความถี่ให้ผ่านเฉพาะย่านความถี่ต่ำมาใช้งาน

   Class T amplifiers เป็นการใช้การจัดเรียงคลื่นเสียง โดยใช้ข้อเด่นของวงจรคลาส-เอบี ผสมเข้ากับประสิทธิภาพทางกำลังที่สูงและการทำงานที่มีความร้อนน้อยของคลาส-ดี เพาเวอร์แอมป์คลาส-ทีจึงสามารถให้กำลังวัตต์ที่สูงกว่าเป็น 2-4 เท่าตัว เมื่อเทียบกันในขนาดเท่าๆกันของเพาเวอร์แอมป์คลาส-เอบี

Crossover
เป็นวงจรเครือข่ายที่ใช้ในการกรองความถี่เสียง ประกอบด้วยคอยล์และคาปาซิเตอร์ ที่กำหนดไว้ให้ย่านความถี่ที่เหมาะสมเท่านั้นผ่านไปยังลำโพงในระบบแต่ละตัว (อาทิ วูฟเฟอร์, มิดเรนจ์ และทวีตเตอร

Digital-to-Analog (D/A) Converter
เครื่องเล่นวิทยุซีดีจะใช้ตัวแปลงรหัสดิจิตอล/อนาล็อก ในการแปลงสัญญาณดิจิตอล 1 และ 0 ไปเป็นสัญญาณเสียงอนาล็อก แผ่นซีดีจะเก็บข้อมุลเสียงเอาไว้ในรูปแบบดิจิตอลรหัสไบนารี่ ข้อมูลแบบดิจิตอลมีความเที่ยงตรงสูง, ปราศจากเสียงรบกวนในกระบวนการบันทึก แต่สัญญาณดิจิตอลไม่ใช่คลื่นเสียงที่หูมนุษย์จะรับฟังได้ ตัวแปลงรหัสดิจิตอล/อนาล็อกจะทำการแปลรหัสดิจิตอลให้กลับมาอยู่ในรูปแบบเสียงเพลง นี่คือมูลเหตุสำคัญที่มันมีผลต่อประสิทธิภาพของเครื่องเล่นวิทยุซีดี

Digital Media Filer
เสียงเพลงในปัจจุบันถูกบีบอัดข้อมูล เพื่อให้สามารถบันทึกได้ในระยะเวลาที่ยาวนานขึ้นด้วยลักษณะของไฟล์คอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นวิทยุซีดีในปัจจุบันสามารถถอดรหัสและเล่นซีดีแบบบันทึก (CD-R/CD-RW) เพื่อเล่นไฟล์ MP3, WMA หรือ WAV ซึ่งเพียงแผ่นเดียวสามารถเล่นเพลงได้นานกว่า 10 ชั่วโมง

Damping Factor
เป็นความสามารถของเพาเวอร์แอมป์ในการควบคุมการเคลื่อนที่ของลำโพง ค่าแดมปิ้งที่สูงกว่าหมายถึงการให้ความแม่นยำได้ดีกว่า ค่าแดมปิ้งเฟคเตอร์ได้มาจากการหารอิมพีแดนซ์ของลำโพงด้วยอิมพีแดนซ์ที่เอาท์พุทของเพาเวอร์แอมป์ แดมปิ้งเฟคเตอร์ของเพาเวอร์แอมป์จะลดลงเมื่ออิมพีแดนซ์ของลำโพงต่ำลง นั่นหมายถึงว่าเพาเวอร์แอมป์ที่ทำงานกับอิมพีแดนซ์ 4 โอห์มจะให้เสียงเบสได้แน่นหนักกว่า 2 โอห์ม

Digital Signal Processors
กล่องควบคุม DSP ถือเป็นผลิตภัณฑ์ผสม ที่นำเอาคุณสมบัติของอีคิวและเอคทีฟ-ครอสโอเวอร์มารวมไว้ด้วยกัน เพื่อขยายขีดความสามารถของการปรับแต่งพื้นที่การรับฟังและสนามเสียง กล่องควบคุม DSP สามารถเชื่อมต่อโดยตรงเข้ากับเพาเวอร์แอมป์ ในบางกรณีอาจมีวงจรสัญญาณย้อนกลับเข้าไปยังเครื่องเล่นวิทยุซีดีไฮเพาเวอร์ ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องใช้เพาเวอร์แอมป์ภายนอก สามารถติดตั้งไว้ด้านหลังแผงหน้าปัดหรือใต้เบาะที่นั่ง ในอีคิวระดับไฮเอนด์บางเครื่องอาจมีตัวประมวลผลเสียงดิจิตอลบรรจุไว้ด้วย

Dual voice coil subwoofer
โดยปกติลำโพงจะมีวอยซ์คอยล์เพียงชุดเดียว แต่ซับวูฟเฟอร์วอยซ์คอยล์คู่ถูกออกแบบมาโดยมีข้อได้เปรียบตรงที่มีความยืดหยุ่นในการวางระบบสูงกว่า การเชื่อมสายในแบบขนานใช้สำหรับการสร้างเอาท์พุทสูงสุดจากเพาเวอร์แอมป์ ในขณะที่การเชื่อมสายในแบบอนุกรมจะทำให้สามารถต่อพ่วงซับวูฟเฟอร์ได้มากกว่าหนึ่งตัวกับเพาเวอร์แอมป์ โดยทำให้มีอิมพีแดนซ์รวมตามที่เพาเวอร์แอมป์รับได้ ในรูปแบบการต่ออนุกรม/ขนานร่วมกันทำให้สามารถเชื่อมสายซับวูฟเฟอร์วอยซ์คู่ได้ถึง 4 ตัวกับเพาเวอร์แอมป์เพียงเครื่องเดียว 

Dual Cone
ลำโพงในแบบกรวยร่วม เป็นการออกแบบที่เน้นให้มีราคาประหยัด โดยใช้กรวยแบบวิธเซอร์ (whizzer) ติดตั้งเอาไว้ตรงแกนกลางของวูฟเฟอร์เพื่อใช้ในการให้เสียงแหลมหรือย่านความถี่สูง

Equalizer
ภาคอีคิวเสียงที่ติดตั้งอยู่ภายใน ที่ยอมให้ผู้ใช้ควบคุมรสนิยมของเสียงที่ต้องการและแก้ไขปัญหาสภาพเสียงของห้องโดยสาร โดยมีช่องของการปรับแต่งได้มากกว่าปุ่มทุ้ม/แหลมปกติ และมักกำหนดจุดกลางความถี่และความกว้างเอาไว้(ในบางเครื่องจะสามารถปรับได้อิสระ) ภาคอีคิวเสียงที่ติดตั้งอยู่ภายในส่วนใหญ่ จะเป็นแบบพาราเมตริคอีควอไลเซอร์ ที่ยอมให้มีการเพิ่มระดับหรือลดระดับของย่านเสียงนั้นๆ และสามารถปรับกว้าง/แคบและ/หรือปรับจุดกลางความถี่ได้ ทำให้การควบคุมสมดุลน้ำเสียงในรถของผู้ใช้สะดวกง่ายดายขึ้น

Equalizer Presets
เป็นการเก็บบันทึกกราฟของการปรับอีคิว การเพิ่มและลดความถี่ที่แตกต่างกันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเสียงเพลงเสียงดนตรีอย่างมาก กราฟของการปรับอีคิวจะถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำและสะดวกในการนำกลับมาใช้ เพื่อช่วยในการฟังเพลงที่ดีที่สุดกับรูปแบบที่หลากหลาย อาทิเช่น หน่วยความจำหมายเลข 1ที่มีการเพิ่มเสียงเบสสำหรับการฟังเพลงแร็พหรือเร็กเก้ และหน่วยความจำหมายเลข 2 ที่ปรับเบสกลางๆและเพิ่มเสียงกลางเสียงแหลมสำหรับการฟังเพลงแจ๊ส

Efficiency or Sensititvity (SPL)
ประสิทธิผลหรือความไวตอบสนอง เป็นอัตราส่วนที่บ่งบอกให้ทราบว่าประสิทธิผลของลำโพงเป็นเช่นไร ในการแปลงกำลังไปเป็นเสียง ตัวเลขที่สุงกว่าหมายถึงประสิทธิผลที่มากกว่าของลำโพงและมีความดังมากกว่าเมื่อใช้กำลังขับเท่าๆกัน ความแตกต่างในระดับ 3 dB หมายถึงลำโพงต้องการกำลังขับเพียงครึ่งส่วนเมื่อเทียบกับลำโพงที่มีประสิทธิผลต่ำกว่า หากแต่ว่าลำโพงที่มีประสิทธิภาพสูงมักจะมีประสิทธิผลต่ำ จึงต้องใช้กำลังขับที่ค่อนข้างมากในการขับดันลำโพง

Enclosure type   
 Sealed box เป็นตู้ลำโพงแบบปิดทึบที่มีตัวตู้ทำหน้าที่กักเก็บอากาศสำหรับซับวูฟเฟอร์ ตู้แบบปิดทึบจะดีที่สุดสำหรับการฟังเพลงที่ต้องการความแน่นหนัก, เสียงเบสที่ถูกต้อง ให้การตอบสนองที่ราบเรียบสม่ำเสมอ, ให้ย่านเสียงเบสได้ลึก และรองรับกำลังขับได้ดีเลิศ แต่นั่นก็หมายถึงตู้แบบปิดอาจต้องการกำลังจากเพาเวอร์แอมป์มากกว่าตู้แบบเปิดท่อระบาย โดยใช้เพาเวอร์แอมป์ที่มีกำลังวัตต์เพียงพอต่อประสิทธิภาพ

  Ported box เป็นตู้ลำโพงแบบเปิดท่อระบาย ที่ใช้ช่องอากาศ ที่เรียกว่าพอร์ท(port) ในการสร้างการไหลของอากาศจากด้านในออกด้านนอกตัวตู้ การเพิ่มการไหลของอากาศนี้ช่วยเสริมการตอบสนองเสียงเบสในย่านต่ำ โดยมีพลังที่เพิ่มขึ้นจากท่อระบายมากกว่าตู้แบบปิดทึบเมื่อเทียบกันที่กำลังขับของเพาเวอร์แอมป์เท่ากัน บางคนชอบใช้เสียงเบสจากตู้ลำโพงแบบเปิดท่อระบายนี้สำหรับการฟังเพลงแนวแร็พ, เทคโน หรือเพลงหนักๆ เพราะสามารถเล่นได้ในระดับความดังมากกว่าตู้แบบปิดทึบ

 Bandpass box เป็นตู้ลำโพงแบบผ่านเฉพาะช่วงความถี่ ที่ออกแบบท่อระบายเอาไว้เป็นพิเศษเพื่อการทำงานถึงขีดสุด ซับวูฟเฟอร์จะถูกติดตั้งอยู่ภายในตู้แบบสองห้อง โดยซับวูฟเฟอร์จะส่งแรงจากห้องตู้ปิดไปยังห้องตู้เปิด และคลื่นเสียงจะถูกส่งออกจากด้านที่เปิดท่อระบาย เสียงที่ไปถึงท่อระบายจะมีระดับความดังสุดขีดภายในขอบเขตที่กำหนดไว้ ตู้แบบผ่านเฉพาะช่วงความถี่จะมีประสิทธิผลเยี่ยมยอด ให้เสียงที่ลงตัวกับแนวเพลงยอดนิยมอย่างฮิพ-ฮอพ, เทคโน และเฮฟวี่เมตอล

Free-air subwoofer ระบบเปิดอากาศอิสระ ประกอบด้วยการติดตั้งซับวูฟเฟอร์เอาไว้บนแผงลำโพงหลังหรือในห้องหลังเบาะนั่งตอนหลัง โดยใช้ห้องสัมภาระท้ายรถทำหน้าที่เป็นตู้กักเก็บอากาศให้กับซับวูฟเฟอร์ ระบบเปิดอากาศอิสระจะประหยัดเนื้อที่และให้การตอบสนองที่ราบรื่น ซับวูฟเฟอร์ที่ใช้จะต้องถูกออกแบบเป็นพิเศษเพื่อใช้กับระบบเปิดอากาศอิสระ และห้องสัมภาระท้ายรถจะต้องไม่มีการรั่วไหลของอากาศจึงจะให้ผลลัพท์ที่ดี

Frequency Response
เป็นขอบเขตของเสียง จากย่านต่ำสุดถึงสูงสุด ที่อุปกรณ์เครื่องเสียงสเตอริโอนั้นๆสามารถทำได้ มีหน่วยวัดเป็น เฮิร์ต(Hz) ขอบเขตที่กว้างมากจะดีกว่า โดยย่านต่ำจะเป็นส่วนของเสียงเบสและย่านสูงจะเป็นส่วนของเสียงแหลม มนุษย์เราสามารถรับรู้เสียงได้จาก 20 ถึง 20,000 Hz โน้ตเสียงตัวต่ำของกีต้าร์เบสจะอยู่ที่ประมาณ 41 Hz เสียงนักร้องชายจะอยู่ในช่วงระหว่าง 100 และ 500 Hz เสียงตีแฉจะอยู่ในช่วงประมาณ 15,000 Hz

Ferro fluids
เฟอร์โร-ฟลูอิด มักถูกใช้เพื่อการระบายความร้อนที่เกิดขึ้นในวอยซ์คอยล์ของลำโพง เฟอร์โร-ฟูลอิดมีสภาพเป็นแม่เหล็กเพียงแต่ไม่มีรูปทรงตายตัว จึงมีส่วนช่วยเสริมอำนาจสนามแม่เหล็กให้กับแม่เหล็กของลำโพงด้วย

Frequency range
เป็นช่วงขอบเขตของเสียงจากต่ำสุดไปถึงสูงสุดที่ซับวูฟเฟอร์สามารถให้ออกมาได้ ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ถุกนำเสนอจากผู้ผลิตแต่ละราย ขอบเขตเสียงที่ถูกต้องจะทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกแบบตู้, จุดตัดความถี่ และยานพาหนะเพื่อติดตั้งซับวูฟเฟอร์ได้สะดวก

Graphic EQ
เป็นมาตรฐานของอีควอไลเซอร์ประเภทหนึ่ง ที่มีปุ่มควบคุมเสียงตั้งแต่ 5 ถึง 30 ปุ่มปรากฏอยู่ การปรับเลื่อนขึ้น/ลงหรือหมุนซ้าย/ขวาจะเป็นการเพิ่ม/ลดย่านความถี่นั้นๆ สามารถควบคุมน้ำเสียงของเพลงหรือดนตรีได้สมบูรณ์สูงสุด ความกว้างแถบคลื่นของแต่ละความถี่จะถูกกำหนดตายตัวและไม่สามารถปรับเปลี่ยนไป

High-pass Filter
การกรองเสียงผ่านเฉพาะเสียงย่านที่สูงกว่า จะยอมให้ความถี่เสียงที่อยู่สูงกว่าจุดตัดความถี่ผ่านออกไป และขวางกั้นความถี่เสียงที่อยู่ต่ำกว่าจุดตัด

Imaging
จินตภาพที่บังเกิดขึ้นจากระบบเสียงสเตอริโอ ที่ปรากฏตำแหน่งของชิ้นดนตรีและนักร้องตามแบบแผนที่แท้จริงขณะทำการบันทึก จินตภาพที่สมบูรณ์จะสร้างประสบการณ์ในการฟังที่ดุราวกับเป็นธรรมชาติและมีชีวิตชีวา กุญแจสำคัญอยู่ที่ดำแหน่งการวางลำโพงที่จะต้องให้เสียงได้ทัดเทียมกันบริเวณผู้ฟัง รวมถึงระยะห่างที่เหมาะสมของทวีตเตอร์กับหูผู้ฟัง การแยกติดตั้งทวีตเตอร์อาจสามารถปรับมุมองศาได้เหมาะสม แต่บางครั้งลำโพงแบบรวมชิ้นกลับสามารถสร้างจินตภาพได้สมบูรณ์กว่า

Impedance
เป็นการบ่งบอกถึงแรงต้านต่อกระแสที่ไหลผ่านในวงจร วัดออกมาในหน่วยโอห์ม(ohms) ซับวูฟเฟอร์ที่มีอิมพีแดนซ์ 2 โอห์มจะให้กำลังได้มากกว่าซับวูฟเฟอร์ที่มีอิมพีแดนซ์ 4 โอห์ม เมื่อใช้กำลังวัตต์ที่เท่ากัน เป็นเพราะว่าความต้านทานภายในที่น้อยกว่า

Mono Amplifier
เพาเวอร์แอมป์โมโนจะมีภาคขยายอยู่เพียงแชนแนลเดียว มักใช้ได้ผลดีกับย่านความถี่ต่ำที่หูมนุษย์เองไม่สามารถแยกแยะทิศทางได้ อีกทั้งเพาเวอร์แอมป์โมโนจะสามารถเล่นกับโหลด 2 โอห์มได้อย่างมั่นคง โดยผุ้ใช้สามารถต่อวูฟเฟอร์ 4 โอห์มขนานกัน 2 ตัวได้อย่างสบาย

MOSFET
ย่อมาจาก Metal Oxide Semiconductor Field Effect Transistors เป็นทรานซิสเตอร์ที่มีความเร็วในการสวิทช์สูงกว่าทรานซิสเตอร์แบบไบโพล่าร์ และกำเนิดความร้อนในปริมาณที่น้อยกว่ามาก MOSFET’s จึงให้การตอบสนองที่รวดเร็วและมีประสิทธิผลสูง

Maximum RMS Power Handling
การรองรับกำลังขับสูงสุดแบบ RMS จะใช้บ่งบอกให้ทราบถึงจำนวนกำลังขับที่ลำโพงสามารถรองรับได้ในการทำงานอย่างต่อเนื่อง

Midrange Speaker
เป็นลำโพงที่มีขนาดอยู่ระหว่าง 3-1/2 นิ้วถึง 6-3/4 นิ้ว ที่ถูกใช้เพื่อการออกเสียงเฉพาะย่านความถี่กลาง การแยกลำโพงขับเฉพาะย่านเสียงกลางมักใช้เป็นส่วนหนึ่งของชุดลำโพง หรือใช้ในระบบที่แยกเพาเวอร์แอมป์ขับเฉพาะความถี่ต่ำ,ความถี่กลาง และความถี่สูง เพื่อให้มีการแยกแยะรายละเอียดเสียงได้ดีกว่า

Neodymium magnet
นีโอไดเมี่ยม เป็นหนึ่งในหลายๆชนิดของเหล็กที่นำมาใช้ มีขนาดเล็ก, อำนาจแม่เหล็กสูง แม่เหล็กนีโอไดเมี่ยมจะใช้กันทั่วไปในทวีตเตอร์

OHM
หน่วยวัดอิมพีแดนซ์หรือความต้านทาน เพื่อบอกให้ทราบว่ามีจำนวนของการต้านต่อการไหลของกระแสมากน้อยเพียงใด ถ้าใช้สัญญาณ 2 สัญญาณที่เหมือนๆกันป้อนเข้าลำโพง สัญญาณแรกป้อนเข้าลำโพง 4 โอห์ม และอีกสัญญาณป้อนเข้าลำโพง 8 โอห์ม กระแสที่ไหลในลำโพง 4 โอห์มจะมากกว่าเป็นสองเท่า หรืออีกนัยหนึ่งก็อาจกล่าวได้ว่าลำโพง 8 โอห์มต้องการกำลังวัตต์มากกว่าเป็นสองเท่าในความดังเสียงที่เท่าๆกัน

Resistance
เป็นการบ่งบอกให้ทราบถึงการไหลของกระแสไฟฟ้า ความต้านทานมีหน่วยวัดเป็นโอห์ม(Ohms)

Peak Power
กำลังสุดขีดเป็นหน่วยวัดเมื่อเสียงเพลงเริ่มมีความพร่าเพี้ยน เช่นเมื่อมีการหวดไม้กลองลงบนหนังกลองอย่างฉับพลัน ผู้ผลิตบางรายจะบอกกำลังขับสุดขีดนี้ไว้ในผลิตภัณฑ์ของตน แทนการบอกอัตรากำลังเฉลี่ย(RMS)ที่มีนัยยะมากกว่า และเราอยากแนะนำให้ใช้ข้อมูลนี้เพื่อการตัดสินใจเลือกใช้อย่างเหมาะสม

Peak Power Handling
การรองรับกำลังขับสูงสุด จะใช้บ่งบอกถึงจำนวนของกำลังวัตต์ที่ลำโพงจะรับได้โดยไม่เกิดเสียงพร่าเพี้ยน

RMS Power
เป็นจำนวนของกำลังที่มีอย่างต่อเนื่อง วัดในหน่วยเป็นวัตต์(watts) ที่เพาเวอร์แอมป์สามารถผลิตออกมาได้ เรียกกันว่าเป็นกำลังแบบ Root Mean Square(RMS) กำลัง RMS ที่สูงกว่าหมายถึงความสะอาดของเสียงเพลงจะมีมากกว่าแม้ในระดับความดังสูงๆ

RMS Power vs. Peak Power
เป็นจำนวนความต่อเนื่องของกำลัง ที่วัดต์ในหน่วยเป็นวัตต์(Watts) ที่เพาเวอร์แอมป์สามารถผลิตออกมาได้ เรียกกันว่า “กำลัง RMS” ดังนั้นกำลัง RMS ที่มากๆย่อมหมายถึงเสียงดนตรีที่กระหึ่มและสะอาดชัดไม่รกหู เมื่อต้องเลือกใช้เพาเวอร์แอมป์ ตัวเลขที่เป็น RMS คือข้อมูลสำคัญในการพิจารณา     นอกจากนี้ผู้ผลิตบางรายจะใช้การคำนวณกำลังวัตต์ RMS ในตัวเพาเวอร์แอมป์จากกำลังไฟที่ป้อนจ่าย ตัวอย่างเช่น เพาเวอร์แอมป์เครื่องหนึ่งมีกำลังวัตต์ 100 W-RMS ที่ไฟ 12 โวลท์ ซึ่งสามารถให้กำลังที่มากกว่า 100 W-RMS ขึ้นไปอีกเมื่อใช้กับไฟ 14.4 โวลท์   บ่อยครั้งที่ผู้ผลิตเครื่องเสียงรถยนต์ จะแสดงข้อมูลกำลังวัตต์แบบสูงสุด(Peak Power)เอาไว้ในคู่มือเครื่อง ซึ่งข้อมูลกำลังวัตต์สูงสุดนี้บอกให้ทราบถึงกำลังวัตต์มากที่สุดที่เพาเวอร์แอมป์สามารถจ่ายออกมาได้ ในขณะที่เสียงดนตรีมีการพุ่งขึ้นอย่างเฉียบพลัน เช่นการหวดกลองสแนร์แบบรวดเร็ว และเมื่อพิจารณาทั้งหมดแล้วกำลังวัตต์ RMS จะมีลำดับความสำคัญอย่างมาก

RMS Power at 2 ohms
เป็นข้อมูลที่จะบอกให้ทราบว่า มีกำลังมากเพียงใดที่เพาเวอร์แอมป์สามารถจ่ายได้เมื่อต่อสเตอริโอที่ 2 โอห์ม โหลด 2 โอห์มทำได้ด้วยการต่อลำโพง 4 โอห์ม 2 ชุดขนานกัน หรือใช้ลำโพงที่มีอิมพีแดนซ์ 2 โอห์มโดยตรง    ตามทฤษฎีพื้นฐาน เอาท์พุทของเพาเวอร์แอมป์ทั่วไปสามารถรับอินพีแดนซ์ที่ต่ำกว่า 1 เท่า จากอิมพีแดนซ์ปกติ 4 โอห์มจะรับได้ถึง 2 โอห์ม แต่ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของภาคจ่ายไฟที่จะสามารถจ่ายกระแสได้เพิ่มขึ้นด้วยหรือเปล่าด้วย ถ้ากระแสไม่เพิ่มกำลังวัตต์ก็ไม่เพิ่มขึ้นเช่นกัน

Preamp Output voltage
ระดับโวลท์ขาออกของส่วนเอาท์พุทในตัววิทยุซีดี ที่มีระดับโวลท์ขาออกมากกว่า สามารถให้เสียงที่สะอาด(มีความต่อต้านกับเสียงรบกวนดีกว่า) และให้กำลังที่สูงกว่าเมื่อต่อเข้าเพาเวอร์แอมป์

 

Preamp output
ขั้วต่อสัญญาณออก ที่มีไว้สำหรับการเชื่อมต่อสัญญาณไปยังเพาเวอร์แอมป์ และในบางกรณีอาจนิยามถึงครอสโอเวอร์ภายในเพาเวอร์แอมป์เครื่องแรก ที่สามารถจ่ายสัญญาณส่วนอื่นไปยังเพาเวอร์แอมป์เครื่องต่อไป โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งครอสโอเวอร์เพิ่ม

Parametric EQ
พาราเมตริคอีควอไลเซอร์หรือโทนคอนโทรลนั้น จะยอมให้ผู้ใช้ปรับตั้งได้อิสระไม่เฉพาะแต่เเรื่องความดังของความถี่ที่ต้องการปรับเพิ่ม/ลดเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความกว้างแถบคลื่น และจุดความถี่ในแต่ละตำแหน่งปรับ จึงให้การปรับแต่งสมดุลเสียงในห้องโดยสารรถยนต์ได้ถูกต้องแม่นยำสุดขีด

Passive Crossover
พาสซีฟครอสโอเวอร์ เป็นพื้นฐานการทำงานของคาปาซิเตอร์หรือคอยล์ที่ติดตั้งเป็นวงจรในระหว่างทางสายลำโพง โดยต่ออยู่ระหว่างเพาเวอร์แอมป์กับลำโพง เพื่อกำหนดความถี่ที่จะป้อนไปยังลำโพงแต่ละตัว พาสซีฟครอสโอเวอร์มีราคาถูกและง่ายต่อการติดตั้ง

Power Handling(RMS)
เป็นความต่อเนื่องของคลื่นเสียงมากที่สุด ที่สามารถจ่ายให้กับลำโพงได้โดยไม่มีความเสียหาย วัดออกมาในหน่วยวัตต์ RMS ซึ่งลำโพงส่วนมากจะเกิดความเสียหายได้จากสาเหตุหลัก 2 สาเหตุคือ
   1.ลำโพงนั้นถูกขับดันด้วยกำลังที่มากกว่าจะรับได้อย่างมากๆ และมีความร้อนเกินปกติ
   2.เพาเวอร์แอมป์ขับดันออกไปในขณะที่มีอาการตัดยอดคลื่น(clipping) เกิดคลื่นสี่เหลี่ยมที่ผิดเพี้ยนรูปทรงอย่างรุนแรง ซึ่งมีโอกาสทำลายลำโพงได้เช่นกัน

Peak power
เป็นจำนวนของกำลังวัตต์ที่ซับวูฟเฟอร์จะรองรับได้สูงสุดในระหว่างที่เสียงเพลงมีการพุ่งสูงขึ้น จึงไม่ควรใช้กำลังวัตต์ขับซับวูฟเฟอร์ในขนาดกำลังวัตต์เท่าๆกับที่ซับวูฟเฟอร์รับได้สูงสุด

Pearl polycarbon
เป็นการรวมฟิลม์โพลีเอสเตอร์กับคาร์บอนเข้าด้วยกัน เฟิร์ล-โพลี่คาร์บอนจะมีน้ำหนักเบามากแต่ยังแข็งแกร่ง ใช้งานได้ดีกับทวีตเตอร์

Polycarbonate
เป็นการผสมฟิลม์โพลีเอสเตอร์เข้ากับคาร์บอนเพื่อให้ผลทางความแข็งแกร่ง เป็นวัสดุที่ไร้ซึ่งการสั่นสะท้าน ให้เสียงแหลมที่สดใส สามารถผลิตในหลายๆสีสัน

Polyester foam
เป็นวัสดุที่ผสมโพลี่เอสเตอร์เข้ากับโฟม ให้ความแข็งแรงและเชื่อถือได้ มักใช้เป็นขอบรอบกรวยลำโพง

Polymer/mica
เป็นฟิลม์โพลีเมอร์ เช่นโพลี่โพรไพลีน ที่ถูกทำให้แข็งแกร่งขึ้นโดยการผสมเข้ากับไมก้า

Polypropylene
เป็นวัสดุยอดนิยมสำหรับใช้ในลำโพงรถยนต์ โพลี่โพรไพลีนให้ความแข็งแกร่ง, มีการยับยั้งตัวเองได้ดี และทนทานต่อความเปียกชื้นได้สมบูรณ์แบบ

Resonance
เป็นการสั่นสะเทือนของกรวยลำโพง ซึ่งกรวยลำโพงทั่วไปจะมีการสั่นสะเทือนในความถี่ที่ถูกต้อง การก้องสะเทือนที่มากเกินไปจะทำให้ความเที่ยงตรงในการทำงานของลำโพงน้อยลงไป

Signal-to-Noise Ratio
หน่วยวัดที่บ่งบอกให้ทราบถึงคุณสมบัติที่ดีของเครื่องเล่นซีดี ในเรื่องของเสียงรบกวนเบื้องหลังที่เงียบสงบ อัตราส่วนที่สูงกว่า(หน่วยเป็น dB)บอกให้ทราบถึงเสียงรบกวนที่น้อยกว่า

Signal-to-Noise Ratio
หน่วยวัดเป็นเดซิเบล(dB) ที่เป็นข้อมูลเปรียบเทียบสัดส่วนของสัญญาณเสียง(เพลง)กับส่วนของเสียงรบกวนฉากหลัง ค่าที่มีจำนวนมากๆจะชี้ให้เห็นว่ามีเสียงรบกวนอยู่น้อยเพียงใด

Subwoofer Preamp Output
แจ็คเอาท์พุท RCA ด้านท้ายเครื่อง(โดยปกติมักมีภาคกรองเฉพาะย่านความถี่ต่ำผ่าน อยู่พร้อมใช้งาน) สำหรับต่อตรงเข้าไปที่เพาเวอร์แอมป์ขับซับวูฟเฟอร์

Spectrum Analyzer
เครื่องวิเคราะห์แถบเสียง เป็นการแสดงขนาดของแท่งแนวตั้งที่เคลื่อนไหวไปตามเสียงที่บันทึกเข้ามา โดยแบ่งเป็นจุดความถี่แตกต่างกันตามความเหมาะสม อีควอไลเซอร์แบบดิจิตอลส่วนใหญ่มักจะมีเครื่องวิเคราะห์แถบเสียงติดตั้งไว้ด้วย เพื่อให้ผู้ปรับแต่งได้ใช้เป็นแนวทางในการปรับสัดส่วนการตอบสนองความถี่ เครื่องวิเคราะห์แถบเสียงสามารถนำมาใช้ในระบบได้ หากต้องการเห็นจังหวะการเปลี่ยนแปลงของเสียงเพลง

Subwoofer Level Control
อีควอไลเซอร์ทั่วไปมักจะมีปุ่มควบคุมความดังชุดซับวูฟเฟอร์ติดตั้งอยู่ด้วย มันจะเพิ่มหรือลดสัญญาณที่จะถูกส่งไปยังซับวูฟเฟอร์ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเพิ่มหรือลดเสียงเบสได้ตามความต้องการ

Sound Pressure Level (SPL)
SPL จะวัดในหน่วย dB เป็นการวัดสภาพแวดล้อมของพลังงานเสียง โดยมีค่า 1 dB SPL เป็นความแตกต่างของเสียงเล็กสุดในระดับของเสียง, และค่า 0 dB SPL เป็นจุดตั้งต้นการได้ยินของหูมนุษย์ โดยการวัดความดังในระดับ 120 dB อาจจะทำลายการได้ยินของมนุษย์

Speaker-level input
จุดต่อเข้าแบบสายลำโพง ที่มีไว้เพื่อการเชื่อมต่อเพาเวอร์แอมป์กับวิทยุซีดีที่ไม่มีแจ็คสัญญาณ RCA

Subsonic Filter
เป็นการกรองความถี่ที่อยู่ต่ำกว่าย่านเบสต่ำทิ้งไป ซึ่งเป็นช่วงความถี่ที่เพาเวอร์แอมป์ทั่วไปไม่สามารถทำได้อยู่แล้ว อันมีผลทำให้ภาคจ่ายไฟของเพาเวอร์แอมป์และอุปกรณ์เอาท์พุท รวมถึงลำโพงมีประสิทธิผลสูงขึ้น

Soundstage
เวทีเสียงนั้น ถูกใช้เพื่อบ่งบอกถึงความกว้าง, ความลึก และความสูงของเนื้อเสียงรวมที่ได้ยินได้ฟัง ให้ความรุ้สึกถึงการวางชิ้นดนตรีในบริเวณต่างกันบนเวทีเล่นจริง, เสียงร้อง/เสียงดนตรีที่แยกตำแหน่งได้อิสระ เมื่อรวม”จินตภาพ”จากระบบเสียงสเตอริโอเข้ากับ”เวทีเสียง” จะทำให้เกิดการฟังเพลงที่เปี่ยมอรรถรส

Surround
ขอบรอบลำโพง มักเป็นวัสดุยืดหยุ่นที่ทำเป็นรูปวงแหวนติดอยู่โดยรอบกรวยวูฟเฟอร์ ทำหน้าที่เชื่อมระหว่างกรวยกับโครงลำโพง ซึ่งต้องมีแนวรั้งที่มากพอให้วุฟเฟอร์เคลื่อนตัวได้อิสระ ทั้งยังต้องมีแรงเค้นที่มากพอจะควบคุมการเคลื่อนตัวของกรวยวูฟเฟอร์ด้วย ขอบรอบลำโพงส่วนใหญ่จะใช้วัสดุประเภทผ้า, โฟม หรือยาง ซึ่งวัสดุประเภทยางถือว่าให้การใช้งานได้ยาวนานที่สุด

Silk
ไม่ได้หมายถึงคำว่า “นุมนวลดุจใยไหม”นะครับ จริงๆแล้วใยผ้าไหมเป็นวัสดุที่นิยมกันมากสำหรับออกแบบทวีตเตอร์ เพราะว่ามันให้เสียงที่ราบรื่น, เปิดโล่ง และระยิบระยับ และเพื่อประสิทธิภาพที่สูงขึ้นบางครั้งต้องมีการเคลือบหรือผสานกับวัสดุอื่น ซึ่งมักทำให้มีราคาสุงขึ้นด้วย

Silk/polymer composets
เป็นใยผ้าไหมที่ผนวกรวมกับวัสดุโพลีเมอร์ เพื่อทำให้เกิดความแข็งแกร่งเพียงพอกับการนำไปใช้ทำทวีตเตอร์

Strontium magnet
เป็นโลหะเหล็กที่นำมาใช้ทำเป็นวงขนาดเล็ก, ให้อำนาจแม่เหล็กสูง นำมาใช้ได้อย่างเหมาะสมกับทวีตเตอร์รถยนต์

Tri-Way Crossover
ครอสโอเวอร์แบบ 3 ทิศทาง จะทำให้เพาเวอร์แอมป์สเตอริโอ 1 เครื่อง(2 แชนแนล) สามารถขับชุดลำโพงซ้าย/ขวาพร้อมกับซับวูฟเฟอร์ 1 ตัวได้ โดยมีสายลำโพงต่อเข้าครอสโอเวอร์เพียง 2 ชุด(ซ้าย/ขวา) แต่มีจุดต่อออกสายลำโพงเป็น 3 ชุด(ซ้าย/ซับ/ขวา) ดังนั้นลำโพงซ้าย/ขวาจะรับกำลังวัตต์ในแต่ละแชนแนล ในขณะที่ซับวูฟเฟอร์จะรับกำลังวัตต์ในลักษณะการบริดจ์กำลัง

Tri-Way Output
บางครั้งอาจเรียกว่า “โหมดควบคู่”(Dual Mode) เป็นการปรับตั้งให้เพาเวอร์แอมป์ขับลำโพงสเตอริโอ 1 คู่ร่วมกับซับวูฟเฟอร์อีก 1 ตัว โดยจำลองกำลังวัตต์เอาจากเพาเวอร์แอมป์ 2 แชนแนลให้สามารถใช้ขับซับวูฟเฟอร์ได้ด้วย และต้องทำงานร่วมกับ”ตัวเชื่อมต่อ 3 ทิศทาง”(Tri-Way adapter) ที่ต่อไว้ระหว่างเพาเวอร์แอมป์กับชุดลำโพงในระบบ

Time Correction
วงจรประมวลผลที่เริ่มมีให้เห็นกันในเครื่องเสียงรถยนต์ เพื่อใช้ชดเชยระยะห่างระหว่างลำโพงด้านซ้ายและด้านขวาของรถยนต์กับตำแหน่งของผู้ฟัง สัญญาณของลำโพงตัวที่อยู่ใกล้สุดจะมีการหน่วงเวลาตามความเหมาะสม นั่นจะมีผลทำให้ผู้ฟังมีความรู้สึกเสมือนนั่งฟังอยู่กึ่งกลางระหว่างลำโพงทั้งสองด้าน ให้ความเสมือนของจินตนาการเสียงสเตอริโอได้ถูกต้องแม่นยำ

Spider
ลอนยึดกรวยลำโพง(ที่รู้กันว่ามันช่วยยึดตรึงกรวยลำโพง) ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของกรวยลำโพง และยึดตรึงวอยซ์คอยล์ให้ตั้งอยู่กึ่งกลาง คล้ายกับโช๊ครับแรงสั่นสะเทือนในรถยนต์ที่ให้ความนุ่มนวลในการขับขี่

Titanium
ไตตาเนี่ยมเป็นวัสดุที่แข็งแกร่ง, ทนความร้อนสูง และเบา มักใช้กันในทวีตเตอร์ แม้ว่าบางครั้งอาจนำไปใช้เป็นชั้นเคลือบอยู่บนโพลีเมอร์ที่ทำกรวยวูฟเฟอร์ คุณสมบัติหลักจะให้เสียงแหลมที่คมชัดลึก

Two-way speaker
ลำโพง 2 ทางหรือโคแอ็คเชียล เป็นการนำเสนอเสียงผ่านทางลำโพง 2 แบบที่แยกส่วนกัน โดยมีทวีตเตอร์ติดตั้งอยู่ภายในวูฟเฟอร์สำหรับการให้เสียงแหลม และวูฟเฟอร์สำหรับการให้เสียงทุ้ม

Three-way speake
ลำโพง 3 ทางหรือไตรแอ็คเชียล เป็นลำโพงที่แยกส่วนของวูฟเฟอร์และทวีตเตอร์ในลักษณะเดียวกับลำโพง 2 ทาง แต่มีการเพิ่มมิดเรนจ์สำหรับขับแยกเฉพาะเสียงกลาง หรือบางยี่ห้อก็เลือกเพิ่มซุปเปอร์ทวีตเตอร์แทนมิดเรนจ์ เพื่อขยายแนวส่วนของเสียงแหลมให้กว้างออกไป ส่วนลำโพง 4 ทาง ก็จะประกอบด้วยวูฟเฟอร์, มิดเรนจ์, ทวีตเตอร์ และซุปเปอร์ทวีตเตอร์เพื่อให้รายละเอียดของเสียงได้มากกว่า

Tweeter
เป็นตัวขับเสียงขนาดเล็กที่ออกแบบมาเพื่อการให้เสียงความถี่สูง(เสียงแหลม) กรวยทวีตเตอร์มักมีประสิทธิผลสูงและต้นทุนต่ำ ตัวทวีตเตอร์มักเป็นทรงโดมและทรงกลมแบบเดียวกับที่พบเห็นกันในลำโพงบ้าน ให้มุมกระจายเสียงเป็นบริเวณกว้าง โดยมีความราบรื่นในการให้เสียงอย่างถูกต้อง ทวีตเตอร์แบบสมมาตรจะใช้รูปทรงโดมและทรงกลมร่วมกัน จึงให้เสียงแหลมที่สะอาดชัดเป็นเลิศและแผ่เสียงเป็นบริเวณกว้างมากๆ  ทวีตเตอร์อาจทำขึ้นจากวัสดุหลากหลายเช่น โลหะ, กระดาษ, อลูมิเนี่ยม, ไตตาเนี่ยม หรือแผ่นฟิลม์สังเคราะห์จากโพลีเธอริไมด์(PEI)หรือคาราเด็ค(polyethylene naphthalate) ซึ่งให้ผลในการรับฟังแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความชื่นชอบของผู้ฟัง

Voice coil
วอยซ์คอยล์ ก็เป็นคอยล์ที่พันเอาไว้ด้วยขดลวดภายในลำโพงเพื่อสร้างสนามแม่เหล็ก เพื่อช่วยเหลือส่วนประกอบอื่นๆของลำโพง โดยวอยซ์คอยล์จะแปลงสัญญาณไฟฟ้าให้อยู่ในรูปพลังงานเชิงกลที่ใช้ในการผลิตเสียง ลำโพงทั่วไปในปัจจุบันจะมีวอยซ์คอยล์ที่ทนทานความร้อนได้สูง จึงให้การใช้งานได้ยาวนานกว่า

Voice coil former
โครงวอยซ์คอยล์ เป็นส่วนประกอบหนึ่งของลำโพงที่มีเส้นลวดพันอยู่โดยรอบ โดยทั่วไปจะทำขึ้นจากวัสดุที่ทนความร้อนได้สูง อาทิเช่นอลูมินั่มหรือเคปตั้น

Voice Coil Cooling System (VCCS)
เป็นระบบที่ใช้อยู่ในวูฟเฟอร์ของไพโอเนียร์ ใช้ระบายความร้อนออกจากภายในตัวซับวูฟเฟอร์ ที่มักเป็นสาเหตุของความเพี้ยน ความร้อนจะถูกถ่ายนำจากวอยซ์คอยล์อลูมินั่มผ่านไปยังแท่งอลูมินั่มที่อยู่กึ่งกลางโดยตรง จึงสามารถระบายความร้อนได้ดีกว่า ซึ่งระบบแบบนี้มีใช้กันในซับวูฟเฟอร์ของผู้ผลิตรายอื่นๆ ให้ผลการทำงานที่เพิ่มขึ้น

Woofer
เสียงเบสและความถี่ย่านต่ำอื่นๆมักถูกนำเสนอโดยวูฟเฟอร์ ซึ่งเป็นลำโพงที่มีกรวยขนาดใหญ่ โดยประสิทธิผลของการทำงานจะขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาใช้ผลิตกรวย ที่จะต้องมีน้ำหนักเบาและแข็งแกร่ง กรวยมักทำขึ้นจากอลูมินั่ม, ฟิลม์สังเคราะห์(คล้ายๆกับโพลี่โพรไพลีน), ผสมระหว่างโพลี่กับวัสดุอื่น(เช่น ไมก้า) หรือกระดาษอัดแน่น เพื่อให้ได้เสียงที่ดีเยี่ยม และทนทานต่อความร้อน, ความเย็น และความชื้น ตามสภาพแวดล้อมภายในรถได้ดีด้วย

ero-bit Detector
วิทยุซีดีบางรุ่นจะมีคุณสมบัติของวงจรพิเศษที่ใช้ตรวจจับช่วงว่างของสัญญาณ(ช่วงที่ไม่มีเสียง)และระงับเสียงที่มีออกทางเอาท์พุท ทำให้ผุ้ใช้ได้ยินเสียงที่เงียบสงัดจนกว่าจะมีสัญญาณเสียงปรากฎอีกครั้ง

ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจาก http://www.khuangsingha.com/forum/index.php?topic=1790.0
เอราวัณทรานฟอเมอร์
นายประดับ รู้รักษา
4 หมู่ 5 ต.บัวเชด อ.บัวเชด จ.สุรินทร์ 32230
0850945027


ออฟไลน์ tyw

  • มือกลอง
  • *****
    • กระทู้: 403
  • ต้องคิดเป็น ทำเป็น อ่านบ่อย ทำบ่อยเดี๋ยวก็เป็น
ได้อ่านยาวๆ อีกแล้ว บางเรื่องเคยได้ยิน แต่มาดูความหมายเออ......ขอบคูณท่าน p@p
พระทิว ปิยธมฺโม  วัดป่าฯบ้านหัน  อ.ภูเวียง  จ.ขอนแก่น 40150
Tel.0813206746   pratyw@hotmail.com


ออฟไลน์ ทีมงานอนุบาลเครื่องเสียง

  • ทีมงานอนุบาลเครื่องเสียง
  • มือกลอง
  • *****
    • กระทู้: 934
  • ทีมงานอนุบาลเครื่องเสียง
ได้อ่านยาวๆ อีกแล้ว บางเรื่องเคยได้ยิน แต่มาดูความหมายเออ......ขอบคูณท่าน p@p

ไม่เป็นไรครับ smiley4
เอราวัณทรานฟอเมอร์
นายประดับ รู้รักษา
4 หมู่ 5 ต.บัวเชด อ.บัวเชด จ.สุรินทร์ 32230
0850945027


ออฟไลน์ GUITAR.

  • เครื่องเสียงภูธรอย่างเราจะเอาไรมาก
  • มือกลอง
  • *****
    • กระทู้: 974
  • Weerayut Sound Design
อ่านได้นิดเดียวเองครับ save ไว้ก่อนแล้วกัน ขอบคุณมากครับ
นาย วีรยุทธ คะรุรัมย์  (ช่างตั้ม) บ้านโนนสูง เลขที่ 58 หมู่ 16 ตำบล หนองตาด อำเภอ เมือง จังหวัด บุรีรัมย์ 31000 / TEL : 084-477-7148


ออฟไลน์ ทีมงานถุงปุ๋ย

  • ลอย มิวสิค
  • มือกีตาร์
  • ****
    • กระทู้: 157

ออฟไลน์ kajonpaipon

  • สมาชิก
  • *
    • กระทู้: 10
ตาม หาความรู้นี้ตั้งนาน ขอบคุณครับ
กระจ่างขื้น เยอะครับ เรียนวิชาระบบเสียงพอดีเลยครับ
เป็นประโยชน์มากๆ


ออฟไลน์ astv11

  • มือกีตาร์
  • ****
    • กระทู้: 396
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
รีพล หาดสูง 150 ม.4 ต.ศรีสงคราม อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม<br />48150<br />ธ.กรุงไทย สาขา นครพนม บ/ช ออมทรัพย์  เลขบ/ช 408-1-92931-9    มือถือ 081 -9745337  0981161560


ออฟไลน์ cheewinsitta

  • ท่านผู้ชม
  • **
    • กระทู้: 47
ขอบคุณครับ  smiley4  smiley4  smiley4
ชีวิน สิทธา ที่อยู่ 163 ม.8 ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

(ชีวิน สิทธา ธนาคารกรุงไทย เลขที่บัญชี 5470379809 สาขาข่วงสิงห์)

E-MAIL:c.sitta@hotmail.com