Tigger Sound
สังคมออนไลน์คุณภาพของคนรักเครื่องเสียง
ทดสอบเสียง HK1.1 By Tiggersound https://www.facebook.com/tiggersound/videos/10218510874389162

มาทำความรู้จักกับ UPS กันดีกว่า อ่านให้จบละกัน...

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ K-ONE Music Tel.081-9817904

  • " เงิน ไม่ได้ทำให้คนขยันขึ้น แต่ เงิน ทำให้คนอยู่ด้วยกันนานขึ้น " (มนุษย์เงินเดือน)
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 8980
  • .นึกถึง MIX DIGITAL/MIX TASCAM นึกถึง K-ONE Music.
...ใครๆก็รู้จักนะครับสำหรับตัวควบคุมแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติหรือที่เราท่านทั้งหลายเรียกกันว่าหม้อดึงไฟ หรือ เครื่องสำรองไฟยามไฟดับ ที่จริงหม้อดึงไฟป้องกันไฟดับเราอาจจะนึกถึงหม้อที่เราหมุนกันตามสเต็ปอาจจะมีถึง 10 สเต็ป การใช้งานง่ายครับเพราะมันมีแค่ลูกบิดให้เราหมุน มีเข็มให้ดูว่าเราต้องการแรงดันขาออกที่กี่โวลท์ แบบนี้มันเป็นหม้อดึงไฟแบบเมนวล ข้อดีก็คือ ทน อึด เสียยาก น้ำหนักพอควร ให้กำลังไฟตามขนาดของตัวมัน แต่มันก็มีข้อเสียก็คือ ยามไฟขาเข้าไม่นิ่ง เราจะต้องมาคอยหมุนมันอยู่เรื่อย ทำให้เสียเวลา ยามไฟเริ่มปรกติเราต้องคอยดูไม่งั้นไฟขาออกก็จะเกิน และ เมื่อเราจะบิดเพื่อเพิ่มไฟจะเกิดการกระเพื่อมเพราะตอนเราหมุนจะเกิดช่องว่างของขดลวด ทำให้ไฟฟ้าขาดวงจรทำให้โหลดหยุดทำงานได้ ถ้าเล่นดนตรีก็เอาเป็นว่า บอกคนฟังก่อน หยุดเพลงสักแป๊บเพื่อปรับระดับแรงดันขาออกนั่นเองครับ ระบบแบบนี้ทุกวันนี้ก็ยังมีใช้อยู่ครับและมากเสียด้วย...










...อีกแบบหนึ่งก็คือหม้อดึงไฟแบบแกนเทอร์รอย หม้อแปลงแบบนี้หลักการเดียวกันกับตัวแรกดั่งที่ได้อธิบายมา แต่ตัวนี้มันมีข้อดีก็คือ มันไม่มีสเต็ปให้บิด ก็คือเราสามารถหมุนหาแรงดันขาออกได้ทันทีและไม่ต้องหยุดโหลดอีกด้วย ไฟขาเข้าจะขึ้นจะลงยังไงเราก็สามารถหมุนให้ไฟขาออกๆได้ตามที่เราต้องการครับ หม้อแปลงแบบนี้มันมีข้อดีก็คือไม่ต้องปลดโหลดหรือหยุดโหลดนั่นเองครับ ส่วนข้อเสียก็คือ ราคาแพงมากถึง 2 เท่าในขนาดที่กำลังงานเท่าๆกัน แต่จะมีขนาดเล็กกว่า และถ้าชำรุดจะซ่อมยากครับ และต้องดูแลรักษาอย่างเดียวก็คือ BUS-BAR ที่เป็นตัวคอนแทรกกับผิวของขดลวด ใช้โหลดเกินๆไม่ดีแปรงถ่านจะไหม้และทำให้หน้าของลวดทองแดงเสียได้ครับ ตรงนี้ต้องระวังเป็นพิเศษ...







...เทคโนโลยี่ไม่เคยหยุดยั้ง การรักษาแรงดันไฟฟ้าให้คงที่นั้นผู้ค้นคิดจึงนำระบบอัตโนมัติเข้ามาแทนที่ก็คือหาวงจรอีเลกทรอนิคมาใส่แทนก็คือให้มันทำหน้าที่ในการควบคุมไฟขาออกให้คงที่โดยที่ไม่ต้องเอามือไปหมุนมันอีกต่อไประบบนี้จึงเรียกว่า ออโตเมติก โวลท์เตจเร็กกูเรเตอร์ วงจรชุดนี้จะมีหน้าที่ไปเปลี่ยนแท๊ปอัตโนมัติแทนคนหมุนนั่นเองครับ เราอาจเรียกติดปากว่า สเตบิไลเซอร์นั่นเอง สเตบิไลเซอร์ยังแบ่งแยกการทำงานออกไปอีกหลายระดับครับและราคาก็จะแพงกันไปตามสัดส่วนอีก....
...โดยทั่วๆไปนั้นสเตบิไลเซอร์ที่เราพบอยู่บ่อยๆการเปลี่ยนแท๊บอัตโนมัติก็จะมีอยู่ 2 ระบบก็คือ ใช้รีเรย์เป็นตัวเปลี่ยนแท๊ปและอีกระบบก็คือจะใช้ตัว TRIAC เป็นตัวเปลี่ยนแท๊ป ข้อดีข้อเสียก็ไม่ต่างกันมากครับ เพียงแต่การใช้ TRIAC การเปลี่ยนแท๊บก็จะเรียบและเงียบนุ่มนวนกว่านั่นเองครับ..


...จากหม้อเต๊ปแบบมือบิด เข้าสู่ การบิดอัตโนมัติโดยใช้อุปกรณ์อีเลกทรอนิดส์ ก็ลดความยุ่งยากไม่ต้องคอยระมัดระวังว่าไฟขาออกจะเกินหรือจะลดจะเพิ่ม สเตบิไลเซอร์ ที่เราเห็นกันอยู่ทั่วไปก็อาจจะแบ่งเป็นแท๊ปไม่มากนัก อาจจะเปลี่ยแท๊ปได้ไม่เกิน 4 ช่วงโดยแบ่งในแต่ละแท๊ปทิ้งช่วงห่างกัน เช่น แท๊ปต่ำสุดเริ่มต้นที่ 180-195 / 195- 210 / 210-225 / 225-240 นี่เป็นตัวอย่างให้ท่านเห็นว่าการรักษาแรงดันนั้นจะรักษาให้เราได้แค่ 4 ช่วงตั้งแต่แรงดัน 180 – 240 โวลท์ที่แรงดันขาออกอยู่ในช่วง 210-225 โวลท์ ท่านอาจจะสงสัยว่าทำไม่แรงดันขาออกมันจึงไม่นิ่งที่ 220 โวลท์ละครับ นี่อาจจะเป็นข้อสงสัยของเพื่อนสมาชิกที่ยังไม่เข้าใจกันนะครับ ก็ให้รู้ว่ามันไม่มีอะไรที่จะที่จะทำให้แรงดันนิ่งตลอดที่ 220 โวลท์ได้ ตราบใดที่เรายังใช้สเตบิไลท์เซอร์กันอยู่นะครับ แต่ให้เราเข้าใจว่าแรงดันที่ขาออกเรายอมรับได้ก็เท่านั้นเองดีกว่าไม่ปรับอะไรให้เราเลย บางที่ 180-190 โวลท์ก็ยังทนๆเล่นกันอยู่ครับ เมื่อใช้มันแล้วมันก็ยังดีกว่าไม่ใช้ไงครับ...


...อย่างที่อธิบายข้างบนจะเห็นว่ามันมี 4 สเต็ปตามช่วงต่างๆเราก็จะเห็นว่ามันมีช่วงห่างกันก็คือ 180-195 ก็เท่ากับ 15 โวลท์ หรือ 210-225 ก็เท่ากับ 15 โวลท์เช่นกัน ฉะนั้นตัวเลขตรงนี้เราจึงมาตีเป็นตัวเลขความผิดพลาดเป็นเปอร์เซนยังไงล่ะครับ เราก็จะคิดง่ายๆก็คือ 220 โวลท์+/- ที่ 15 โวลท์ ก็จะประมาณ 10 กว่าเปอร์เซนครับ เรามาลองดูตัวเลขง่ายจะอธิบายให้เข้าครับ อย่างเช่นในกรณีที่ไฟขาเข้าตกอยู่ที่ 190 โวลท์ไฟขาออกก็ต้องเท่ากับ 220 โวลท์พอดี แต่ถ้าไฟเข้าที่ 195 โวลท์ ไฟขาออกก็จะอยู่ที่ 225 โวลท์ แต่ถ้าไฟตกที่ 180 โวลท์ ไฟขาออกก็จะเหลือ 210 โวลท์นั่นเอง มาถึงตรงนี้งงไหมล่ะครับ ก็ไม่น่างงนะครับ ค่อยๆทำความเข้าใจครับ ยกตัวอย่างอีกนิดที่คิดว่าท่านจะต้องงงงงง  ก็จะถามว่าถ้าไฟเข้า 215 โวลท์ไฟขาออกเท่าไหร่ ท่านก็ต้องดูว่าอยู่แท็ปไหน เราก็จะเห็นว่ามันอยู่ในแท๊บที่ 210-225 โวลท์ เราก็จะเห็นว่า ถ้าไฟเข้า 215 โวล?ขาออกก็ต้อง 215 โซล?เท่ากับขาออกนั่นเองครับ เพราะใชช่วงนี้ชุดควบคุมอัตโนมัติมันจะยังยังไม่เปลี่ยนแท๊ปครับ ก็ยังคงรักษาแรงดันให้ออกระหว่างแท๊บนี้เท่านั้นครับเช่นไฟเข้า 215 โวล์ ขาออกก็จะ 215 โวล์ ไฟเข้าที่ 223 โซล? ขาออกก็จะ 223 โวลท์นั่นเอง ยกเว้นว่าไฟขาเข้านั้นต่ำกว่าหรือมากกว่าของช่วงแท๊ป 210-225 โวลท์ แท๊ปถึงจะเปลี่ยนให้ครับ....


...สเตบิไลท์เซอร์แบบนี้เราอาจจะเห็นว่าบางยี่ห้ออาจจะเขียนว่า +/- 2 %   หรือ +/- 5 %  นั่นแสดงว่า สเตบิไลท์เซอร์แบบนั้นจะทีแท๊ปภายในที่มากกว่า 4 แท๊ป อย่างสูงสุดที่ผมเจอก็ 10 แท๊ปครับ หรือไม่ก็ 8 แท็บหรือสเต็ปนั่นเอง ในรุ่นที่มีสเต็ปมากๆนั่นก็จะมีความผิดพลาดขาออกน้อยลงไปครับ เช่นสามารถรักษาแรงดันที่  217-223 โวลท์เท่านั้นเอง หรือเข้าใจง่ายๆก็คือ ถ้าไฟขาเข้าทิ้งช่วงห่างกัน 3-5 โวลท์ สเต็ปก็จะเปลี่ยนทันที จึงทำให้แรงดันขาออกไม่ผิดพลาดมาก ไม่ต้องรอช่วงห่างถึง 15 โวลท์หรือ 10 โวลท์แล้วถึงจะเปลี่ยนแท๊ปทีหนึ่งครับ สิ่งที่ตามมาก็คือเรื่องราคาครับ สเต๊ปหรือแท๊ปมากราคาก็จะสูงขึ้นเท่าตัว แต่เราก็ดูว่า เราจะเอาไปใช้กับงานประเภทไหนครับที่ต้องการความผิดพลาดมากน้อยเท่าใดก็ลองพิจารณากันดูนะครับ...


...ลองมาเข้าใจอีกหน่อยถ้าถามว่าถ้าไฟเข้า 195 โวลท์ ไฟขาออกของท่านก็จะออกที่ 225 โวลท์ครับ ฉะนั้นมาถึงตรงนี้แล้วท่านก็คงเข้าใจได้ระดับหนึ่งนะครับ อย่าคิดว่า สเตบิไลเซอร์ที่เขาโฆษณาว่าไฟเข้าเท่าไหร่ก็แล้วแต่ไฟออกก็จะนิ่งที่ 220 โวลท์ตลอดก็ฝันไปก่อนครับเพราะระบบนี้ไม่ได้ออกแบบมาให้ไฟนิ่งตลอดที่ 220 โวลท์ เดี๋ยวเราจะได้รู้จักระบบอื่นๆต่อไป...


...เราจะรู้ได้ไงว่าสเตบิไลเซอร์ที่เห็นกี่สเต็ป ก็ดูได้ไม่ยากครับ มันจะมีตัวเปลี่ยนแท๊ปเป็นกลุ่มๆอยู่ ถ้าเปลี่ยนแท๊ปด้วย รีเลย์ก็ดูว่ามันมีรีเลย์ที่เรียงกันกี่ตัว ถ้าเป็นแบบ TRIAC ก็ดูว่ามันมี TRIAC เรียกกันอยู่กี่ตัวนั่นเองครับ ก็ให้สังเกตเท่านี้ก็พอครับพอเป็นแนวทางง่ายๆนั่นเอง...

...มีการบ้านให้เพื่อนสมาชิกหน่อยครับ ผมจะถามว่าถ้าไปตกและนิ่งอยู่ที่ 175 โวลท์ ไฟขาออกจะเท่าไหร่ และถ้าหากไฟเข้าที่ 245 โวลท์ ไฟขาออกจะเท่าไหร่ ช่วยคิดหน่อยครับ สนุกๆกัน...









...จากหม้อเต๊ปหมุนด้วยมือ จนจับหม้อเต๊ปมาใส่อุปกรณ์อีเลกทรอนิคส์ให้มันเปลี่ยนแท๊บเองได้ไม่ต้องใช้มือหมุน ก็เป็นสิ่งอำนวนความสะดวกให้กับพวกเราได้มากขึ้น และทั้ง 2 อย่างที่กล่าวมาก็จะมีอีกตัวหนึ่งนั่นก็คือหม้อเต๊ปชนิดแกนเทอร์รอย แบบนี้อย่างที่บอก เราสามารถหมุนให้โวลท์ออกได้ตามต้องการที่กี่โวลท์เพราะหม้อแปลงชนิดนี้เขาจะขูดผิวทองแดงที่พันไว้กับแกนเหล็กเพราะลวดทองแดงที่พันอยู่บนแกนเหล็กมันจะมีโวลท์เตจตกคร่อมเป็นสัดส่วนไปก็คือต่อรอบต่อโวลท์ครับ ผิวหน้าสัมผัสมันจึงบิดหาแรงดันขาออกได้ตามต้องการ ฉะนั้นทั้ง 2 ชนิดที่กล่าวมา เขาจึงใส่อุปกรณ์อีเลกทรอนิคส์ตรวจจับแรงดันขาออกโดยอัตโนมัติ แบบนี้จึงเรียกว่าระบบ เซอร์โวมอเตอร์ ไงครับ ฉะนั้นระบบแบบนี้ จะมีข้อผิดพลาดน้อยมากแค่ 1-2 % เท่านั้นเอง มอเตอร์เซอร์โว จึงมีราคาค่อนข้างที่จะสูงกว่าระบบแบบแท๊ปอย่างที่กล่าวมาแล้ว ทั้งความผิดพลาดทั้งราคา น้ำหนัก ต่างกันมากมายครับ ฉะนั้นระบบเซอร์โวมอเตอร์ จึงเป็นตัวควบคุมแรงดันแบบอนาล็อคที่ดีมากชนิดหนึ่งครับ...








...ระบบแท๊ปธรรมดามันจะเชยไปและมันก็จ่ายกระแสได้น้อยและระบบแบบนี้มันก็จะรวมเอาไว้ในพวก UPS ที่ใช้กับคอมทั้งหลายที่ขนาดไม่เกินตั้งแต่ 1000-3000 วัตต์ มันจะรักษาแรงดันและสำรองไฟไปในตัวเดี๋ยวจะร่ายให้ฟังทีหลัง มาเอาเรื่องนี้ให้จบก่อน...


...จากระบบมือหมุนจนเอาอีเล็กทรอนิคส์มาคุมเพื่อให้ได้แรงดันขาออกตามต้องการ ระบบนี้จะมีขนาดเล็กๆ ผู้ออกแบบจึงค้นคิดเพื่อที่จะเพิ่มกระแสขาออกให้มีกระแสเพิ่มขึ้นหรือให้รองรับโหลดมากขึ้นในขณะที่ลดน้ำหนักของอุปกรณ์ลงอีกครึ่ง ทางผู้ออกแบบจึงคิดระบบที่เรียกว่า DOUBLE CONVERSION STABILISER  แต่เขาไม่ค่อยเรียกกันครับเพราะระบบแบบนี้เขาจะเพิ่มหม้อแปลงเขามาอีกตัว เพื่อมาช่วยเพิ่มกระแสเราก็จะได้ WATT เพิ่มขึ้นนั่นเอง แต่ขนาดหม้อแปลงตัวหลักจะเล็กลง หลักการก็คือหม้อแปลงที่เพิ่มขึ้นมาจะมาทำงานร่วมกันกับตอนที่เราเปลี่ยนแท๊ปของสเต๊ปมอเตอร์หรือร่วมกับเซอร์โวมอเตอร์นั่นเอง...


...จากระบบดึงไฟจนผสมผสานกันมาเป็นทั้งดึงไฟและสำรองไฟยามไฟดับกลายมาเป็น    UPS  หรือที่เราเรียกกันว่า  Uninterruptible Power Supply...
...เรามีตัวช่วยแก้ปัญหาไฟตกแล้วแต่ตัวช่วยยามไฟฟ้าดับไม่มีผู้ผลิตจึงได้ขึ้นตัวสำรองไฟมาช่วยพวกเราจึงได้กำเนิดตัว UPS ขึ้นมาครับ UPS นั้นต่างจากสเตบิไลเซอร์ตรงที่มันจะมีแบตเตอรี่สำรองเพื่อทำหน้าที่เปลี่ยนจากไฟดีซีให้กลายมาเป็นไฟเอซี ( DC TO AC) อัตโนมัติ เมื่อแหล่งจ่ายทางด้านขาเข้าผิดปรกติ  UPS นั้นแบ่งออกได้ทั่วๆไปมีอยู่ 3 ชนิดนะครับ แต่ก่อนที่จะรู้เรามาดูการทำงานของมันสักนิดนะครับว่ามันมีส่วนประกอบอะไรบ้าง..


1.   ชุดชาร์ตเจอร์ ชุดนี้จะทำกน้าที่รับแรงดันจากไฟเอซีขาเข้าแปลงให้เป็นดีซีเพื่อชาร์ตให้กับแบตเตอรี่เพื่อสำรองไฟไว้ตลอดเวลา
2.   ตัวอินเวอเตอร์ ตัวนี้จะเปลี่ยนจากไฟดีซีให้เป็นเอซีอีกทีเพื่อใช้กับอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วง
3.    แบตเตอรี่ ทำหน้าที่จ่ายแรงดันให้ภาคอินเวอเตอร์ทำงานทันทียามไฟฟ้าดับ


...UPS โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 3 ชนิดได้แก่...

...แบบแรกเราเรียกว่า ระบบออฟไลน์  ระบบนี้จะมีหลักการง่ายๆก็คือเมื่อเมื่อสภาวะปรกติ  UPS จะเอาไฟทางด้านขาเข้าวิ่งผ่านออกไปยังปลั๊กขาออกโดยตรงเหมือนผ่านไปเฉยๆ ส่วนหนึ่งก็จะแปลงไฟจาก AC TO DC เพื่อทำการชาร์ตเข้าที่แบตเตอรี่เรื่อยๆแบบนี้ตลอดไป ระบบออฟไลน์นี้จะทำงานก็ต่อเมื่อแรงดันไฟขาเข้าต่ำกว่าปรกติเช่นระบบอาจจะตั้งไว้ที่ 195 โวลท์ ถ้าต่ำกว่านี้ ระบบจะสวิทช์ให้ภาค UPS ทำงานทันทีถึงแม้ไฟจะไม่ดับก็ตาม ระบบแบบนี้เป็นรุ่นเก่าครับ เดี๋ยวนี้ก็ยังมีใช้กันอยู่ เพราะส่วนใหญ่ก็จะเอามาใช้กับคอมพิวเตอร์เท่านั้น เพราะภาคจ่ายไฟของคอมพิวเตอร์เป็นสวิทชิ่งทั้งหมดจึงไม่ค่อยมีผลต่อไฟตกมากนักครับ และ อีกอย่างก็คือความผิดพลาดเรื่องความถี่ มันไม่ค่อยนิ่งและไม่เพียวไซย์ ก็คือความถี่อาจจะไม่ใช่ 50 เฮิตร์เสมอไปและรูปคลื่อนก็ไม่ใช่ไซย์เวฟด้วยครับ...






...แบบที่ 2 ลักษณะการทำงานก็จะคล้ายๆกับแบบแรกแต่เขาเพิ่มระบบ AVR ขึ้นมาเพื่อควบคุมแรงดันขาออกไม่ให้ผิดพลาดมากก็คือแทนที่จะไฟตกอย่างเดียวลัว UPS ทำงานเลย แต่ตัวนี้ไฟตกหรือเกิน มันก็จะปรับแท๊ปให้นั่นเองครับ ส่วนมากก็จะประมาณ 4 แท๊ปหรือ 4 สเต๊ปนั่นเอง ก็คือมันเอามารวมกันเพื่อแก้ปัญหาไฟตกให้อีกที แต่ถ้าไฟดับ ระบบ UPS ก็จะทำงานเลย เราต้องเข้าใจก่อนนะครับว่า ไฟตก กับ ไฟดับ คนละกรณีกัน ระบบแบบนี้จึงนิยมใช้กันแพร่หลายมากมายในปัจจุบัน แต่ราคาค่อนข้างสูงยี่ห้อดังขนากสัก 1000 วัตต์ 1500 วัตต์ บางทีราคาอัปถึง 6-7 พันบาทเลยทีเดียวนี่คือราคาของใหม่นะครับอย่าไปเทียบกับสินค้ามือสองทั่วๆไป ระบบแบบนี้ความผิดพลาดเรื่องความถี่ก็ยังแก้ไม่ได้อยู่ดีนะครับ แต่แก้ไฟตกได้ระดับหนึ่ง ส่วนความผิดพลาดเรื่องรูปคลื่นก็ยังไม่เป็นไซย์เต็มๆครับ แต่พอยอมรับกันได้...









...แบบที่ 3 ล่าสุดก็คือระบบ TRUE ON-LINE ระบบนี้ในยุคนี้ถือว่าดีที่สุดครับ หลักการทำงานจะต่างกับ UPS ทั้วๆไปอย่างสิ้นเชิง ถ้าเราทำความเข้าใจง่ายๆก็คือ ไฟเอซื 220 โวลท์ที่เข้ามาจะสูงหรือต่ำเท่าไหร่ก็แล้วแต่จะไม่มีผลกับไฟขาออกเลยแต่ก็จะลิมิตเอาไว้ที่ต่ำสุดก็คือประมาณ 145-155 โวลท์ขึ้นอยู่กับบางรุ่น บางยี่ห้อครับ ไฟขาเข้าจะทำหน้าที่แปลงไฟจาก AC ไปเป็น ไฟ DC ก่อนเสมอส่วนหนึ่งไปเข้าวงจรชาร์ตเข้าแบตเตอรี่ ส่วนหนีงไปสร้างพื้นฐานให้วงจร PWM ทำงาน ร่วมกับภาค Inverter อีกภาคหนึ่งเสร็จแล้วไฟ DC ส่วนนี้จะแปลงกลับให้เป็นไฟ AC ขนาด 220 โวลท์ 50 Hz คงที่ ไม่ว่าแรงดันขาเข้าจะขึ้นหรือจะลงเท่าไหร่ก็ตามจะไม่มีผลต่อแรงดันขาออก นั่นก็คือ เราก็จะเปรียบเหมือนกับไฟที่เข้าก็คือน้ำมันเชื้อเพลิงเติมเข้าเครื่องยนต์หรือ ภาค PWM /Inverter ตราบใดที่มีไฟเข้าก็คือน้ำมันไม่หมดมันก็จะทำงานมันไปเรื่อยๆตลอดเวลา ถ้าไฟต่ำกว่า 145 โวลท์อย่างที่บอก ตัว UPS ก็จะเตือนและเอาพลังงานที่สะสมไว้ที่แบตเตอรี่(แบตเตอรี่ก็เปรียบเสมือนถังน้ำมันสำรองไว้เติมเครื่องยนต์นั่นเอง)เอาออกนำมาใช้แทนไฟที่ตกหรือดับนั่นเอง จึงทำให้ระบบไฟขาออกนิ่งตลอดเวลา...











...ดังนั้นเราจะเห็นว่าระบบ UPS TRUE ON-LINE นั้นการทำงานจะซับซ้อนมาก การออกแบบอุปกรณ์มากมายเพราะโครงสร้างเปรียบเสมือนโรงไฟฟ้าขนาดมินิที่ไม่ได้มองไฟขาเข้าแม้แต่นิดเดียวและไม่มองความถี่ด้วย...


...ข้อดีของระบบ UPS TRUE ON-LINE ก็คือเราจะได้ระบบไฟฟ้าที่ดีที่สุดเทียบเท่าไฟหลวงเลยทีเดียว ดีกว่าไฟเครื่องปั่นเสียอีก โวลท์ตรง เฮิตซ์ได้นิ่งที่ 50  ตลอดเวลา..


...ข้อเสียก็คือ ราคาแพงกว่า 3 เท่าที่ขนาดเท่ากัน กำลังไฟที่ได้กับขนาดตัวมันน้อยกว่า 1 ใน 3 หมายความว่า ถ้าคุณต้องการ UPS TRUE ON-LINE ขนาด 1 KVA ขนาดของมันอาจจะใหญ่โตกว่า UPS OFF LINE ประมาณ 2-3 เท่า และมันใช้แบตมากกว่า การบำรุงรักษามากกว่า เมื่อมีปัญหาค่าซ่อมแพงมากเพราะใช้อีเลกทรอนิคส์ล้วนๆ มีความร้อนสูง ระบายความร้อนไม่ดีก็พัง การป้องกันทางด้านช๊อตโหลดไม่ค่อยดี...


...การเลือกใช้ UPS เราก็ต้องคำนึงถึงหน้างานด้วยนะครับว่าจะใช้กับอะไร ถ้าจะใช้กับคอมพิวเตอร์ก็ใช้ระบบแบบที่ 1 หรือ 2 ก็ได้ครับ แต่ถ้าเงินถึงก็ไม่ว่ากัน การที่จะทดสอบว่าระบบ UPS แต่ละอย่างจะดีมากน้อยเพียงใดทดสอบง่ายๆครับ ท่านใช้พัดลมตั้งโต๊ะธรรมดานี่ละครับ เสียบที่ UPS ดูแล้วลองเปิดให้มันทำงานเต็มที่ครับ ก่อนที่จะดึงปลั๊กของ UPS ออกท่านจะเห็นว่าพัดลมของท่านจะทำงานปรกติเมื่อท่านดึงปลั๊ก UPS ออกให้มันทำงานแทนท่านก็จะได้ยินเสียงครางของพัดลมทันที นั่นแสดงว่า ไฟขาออกที่จ่ายให้กับพัดลมนั้นมันไม่เป็นไฟ 220 โวลท์ที่ 50 เฮิตซ์จริงๆรูปคลื่นมันไม่เป็น SINE จริงๆนั่นเอง เพราะระบบ OFF LINE นั้นการแก้ปัญหาของ SINE นั้นแก้ยากมากครับ...


...ในทางตรงข้ามท่านลองเอา UPS TRUE ON-LINE มาลองใช้กับพัดลมบ้างท่านก็จะเข้าใจดีว่าเกิดอะไรขึ้นไม่ว่าไฟจะตกหรือจะดับ พัดลมท่านก็ยังทำงานปรกติเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นเพราะว่าอย่างที่ผมบอก ระบบ UPS TRUE ON-LINE นั้นเปรียบเสมือนโรงไฟฟ้าขนาดมินิที่มีความเสถียนคงที่มากที่สุดทั้งโวลท์และเฮิตซ์ครับ...
...ถ้าถามว่าเราจะใช้ UPS แบบไหนเหมาะสำหรับเครื่องเสียง ก็คงจะหนีไม่พ้น UPS TRUE ON-LINE ครับดีที่สุดเพราะมันสามารถรับโหลดที่เป็น Inductive ได้ดี โหลดแบบนี้ก็คือโหลอประเภทขดลวดเช่นพวกหม้อแปลงขนาดเล็กต่างๆ ส่วน UPS แบบ OFF-LINE นั้นก็เหมาะสำหรับโหลดที่เป็น Capacitive ภาคจ่ายไฟแบบสวิทชิ่งนั่นเองเพราะมันไม่มีผลต่อเฮิตซ์ต่อโวลท์นั่นเองครับ...


...ผมนั่งเขียนนั่งพิมพ์มา 2 วันลัวก็อยากจะเขียนให้จบไปเลยครับเรื่อง UPS ผิดถูกก็อย่าว่ากันนะครับ เผื่อจะได้เสริมความรู้ขึ้นมาอีกหน่อย มาว่ากันต่อดีกว่า..
...การพัฒนาของ  UPS TRUE ON-LINE นั้น ระบบ  TRUE ON-LINE ที่จะใช้กับระบบอุตสาหกรรมหรือขนาดใหญ่ที่ต้องการความเสถียนมากๆนั้นและต้องการกำลังไฟสูงๆ UPS TRUE ON-LINE ตัวจะใหญ่มากครับน้ำหนักเป็นร้อยๆกิโลใช้แบตเตอรี่บางรุ่นที่ผมเจอเกือบ 14 ลูกเป็นไฟ 3 เฟส 380 โวลท์อีกตางหากครับ ใหญ่มาก ต้องมีที่เก็บแบตเตอรี่ตางหาก เช่นพวกโรงฉีดพลาสติก เพราะไฟดับที พลาสติกเย็นตัวไปอุดตันตามท่อฉีดต่างๆเสียหายหลายแสนครับ ราคาก็ตัวหนึ่งบางทีเหยียบล้าน กลางๆก็ 4-5 แสนบาท ระบบมันจะใช้คู่กับหม้อแปลงเพราะจะรองรับการช๊อตโหลดได้ดีกว่าระบบอีเลกทรอนิคครับ ตรงนี้ก็ค่อยๆศึกษากันนะครับ..














...จากระบบ UPS TRUE ON-LINE จนมาถึงระบบ UPS TRUE ON-LINE DOUBLE CONVERSION นี่ก็คือระบบเพิ่มเติมที่เข้ามาในยุคนี้ครับ ธรรมดาแล้วเพื่อนๆเราก็เคยใช้ UPS กันมาบ้างนะครับเช่น เปิดไม่ติด แบต เสื่อมหรือเปล่า อย่างนี้เป็นต้น UPS OFF-LINE นั้น แน่นอนครับถ้าแบตเสียหรือเสื่อมท่านไม่สามารถเปิดเครื่องได้ครับ ท่านต้องเปลี่ยนแบตอย่างเดียว ส่วนระบบ TRUE ON-LINE นั้นแรกๆก็เหมือนกันครับต้องมีแบตใส่ไว้ก่อนเช่นกันไม่งั้นเปิดไม่ติดครับ ทางผู้ผลิดจึงคิดทำระบบ ON-LINE DOUBLE CONVERSION ออกมาใช้งานครับ การทำงานก็คือมันจะมีแบตเตอรี่ก็ได้ไม่มีก็ได้ นี่ก็คือข้อดีครับ ไฟตกก็ไม่กลัวครับ แบตเสียก็ไม่เป็นไรแค่ไฟดับก็ดับตาม ไฟตกไม่ถึงจุดกำหนดทุกอย่างก็ยังทำงานตามปรกติครับ นี่ก็เป็นระบบ ON-LINE DOUBLE CONVERSION ที่น่าใช้ครับ เดี๋ยวนี้มีขนาด 2 ยูให้เลือกใช้แต่มันเป็นขนากเล็ๆครับไม่เกิน 1000 วัตต์เท่านั้นเต็มที่ผมว่าสัก 800 วัตต์ก็เกินตัวแล้วครับ ราคาก็ปาเข้าไป 2 หมื่นอัปครับ เหมาะสำหรับทำเป็นโรงจ่ายไฟให้กับเครื่องปรุงหน้ามิกซ์ครับ มันไม่เกินอยู่แล้วครับก็ลองเลือกใช้กันดู...















... UPS TRUE ON-LINE  ในขนาดเล็กๆไม่เกิน 800 วัตต์จนถึง 3000 วัตต์ ที่ยังไม่ได้ใช้ถึงขั้นอุตสาหกรรม พวกนี้อาจจะมีน้ำหนักเบา เพราะจะใช้อุปกรณ์อีเลกทรอนิคส์ล้วนๆครับ น้ำหนักจึงเบา ถ้าเป็นรุ่นขนาดไม่เกิน 1000 วัตต์ส่วนใหญ่ยังไม่ใช่พวก  TRUE ON-LINE DOUBLE CONVERSION ส่วนใหญ่จะต้องมากกว่า 2000 วัตต์ขึ้นไปถึงจะมีระบบ DOUBLE CONVERSION ได้โดยที่ไม่ต้องใส่แบต แต่เดี๋ยวนี้เข้าใจว่าน่าจะมีระบบนี้ในขนาดเล็กแล้วมั้งครับ แต่ผมก็ยังไม่เคยเจอนะครับ ขั้นต่ำต้องถึง 3000 วัตต์อัป และก็จะมีบางรุ่นเช่น 1.25 KW ในรุ่นที่ใช้หม้อแปลงผสมเพื่อถ่ายพลังงานไฟฟ้าได้อย่างทนทาน ป้องกันการช๊อคโหลดได้ดี พวกนี้ก็ไม่ต้องใส่แบตเตอรี่ครับ แต่มันมีขนาดใหญ่แต่ทนทานครับ มีพารามิเตอร์บอกไว้หมดว่า โหลดใช้ไปแล้วกี่เปอเซนต์ แบตหมดหรือยัง ชาร์ตเต็มหรือยัง ไฟเข้า ไฟออก เท่าไหร่ เพียบพร้อมไปหมดครับน่าใช้จริงๆ











...ถ้าเราใช้  UPS TRUE ON-LINE ที่ชุดเครื่องปรุงเครื่องเสียงของพวกเราๆจะได้อะไรมากกว่าที่เราคิดนะครับเช่น ถ้าเราไปเจอเครื่องปั่น เครื่องปั่นจะหลอกเราไม่ได้เลยครับเพราะว่า UPS TRUE ON-LINE รุ่นใหม่ๆจะแสดงพารามิเตอร์มากมายครับ เช่น ไฟขาเข้ากี่โวลท์ กี่เฮิตซ์ ไฟขาออกกี่โวลท์ กี่เฮิตซ์ โหลดที่เราใช้เกินตัวมันหรือเปล่า ถ้าเจอเครื่องปั่นไฟขี้โกงทั้งหลาย ปั่นไฟมาไม่นิ่งเฮิตซ์หรือโวลท์ไม่ตรง ด่ามันได้เลยครับเพราะว่าเราใช้ UPS TRUE ON-LINE อยู่มันฟ้องเราอยู่ว่าไฟขาเข้าเป็นอย่างไร เพื่อนๆสมาชิกอย่าลืมนะครับ ไฟเข้าไม่ต็ม 220 โวลท์หรือไฟตรงมันจะทำให้เพาเวอร์แอมป์ที่เป็นหม้อแปลงของเราอย่างมากก็วัตต์ตกเท่านั้นแต่ถ้าเครื่องไฟตกเฮิตซ์ไม่ไม่ได้เสียงเพี้ยน แต่ถ้าเฮิตซ์เพี้ยนมากกว่า 50  เฮิตซ์ เพาเวอร์แอมป์แบบหม้อแปลงจะพังครับจำไว้เท่านั้นพอ เครื่องปรุงถ้าใช้ UPS TRUE ON-LINE มาคลุมแล้ว จบครับไม่ต้องกังวลอีกต่อไป...


...นี่ก็เป็นเกล็ดเล็กๆน้อยๆที่ผมตั้งใจจะเขียนให้เพื่อนๆได้อ่านเพื่อจะได้เข้าใจในการเลือกซื้อ UPS สักตัวมาใช้ให้เหมาะสมกับงานนะครับ หวังว่าคงมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยครับ...
...ขอขอบคุณครับที่อ่านจนจบ ส่วนผมมือแทบหงิกเลยทีเดียว 555..
นาย นิมิตร จูจันทร์ เลขที่ 69/5 ซอย 4/3 หมู่ 3 ตำบล หวายเหนียว อำเภอ ท่ามะกา จังหวัด กาญจนบุรี 71120 TEL : 081-981-7904 /  ID LINE -  0819817904 หรือเพิ่ม  konemusic / https://www.facebook.com/konemusicshop
 โอนเข้าบัญชีส่วนตัว ธ.ไทยพาณิชย์ 753-2-04544-7 / ถ้าใช้บัญชีกลาง  ธ.ไทยพาณิชย์ 753-2-20485-5


ออฟไลน์ ช่างแอ้ด™

  • Over feel ..Trust me
  • ทิกเกอร์ทีม ช่างใหญ่
  • นักร้อง
  • *****
    • กระทู้: 2230
  • as it should be ..
    • Fbook
กระจ่างเลยทีเดียว

 ระบบดีๆ ยิ่งเป็นดิจิตอล ก็ต้องการโรงไฟฟ้าที่ดีๆเช่นกัน  มิกค่าตัวหลักแสน ups ดีๆ สามหมื่นจิ๊บๆ
 .. ท่านประธานข้ามไปรูปนึงไม่ได้บอกว่ามันคือยังไง


ออฟไลน์ prateep-ss

  • เงินวัดความเจริญเศรษฐกิจ คุณธรรมวัดความเจริญของจิตใจครับ
  • นักร้อง
  • ******
    • กระทู้: 1129
  • สุดแต่ใจจะไขว่คว้า
    • www.facebook.com/prateep.changtae
สุดยอดความรู้จริงๆครับ ผมก็อ่านยาววกไปวนมา จนมึนตึบครับ ต้องค่อยๆอ่านจนเข้าใจกว่าจะจบ ขอบคุณท่านประธานครับ ที่หาความรู้มาให้ได้รู้ความจริงครับ
ประทีป ช่างแท้  30 หมู่1บ้านต่อแพ ต.แม่เงา อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน 58140 tel.0898527870 ซ่อมทีวี เครื่องเสียง เครื่องใช้ไฟฟ้า ครับ ราคากันเอง   

www.facebook.com/prateep.changtae


ออฟไลน์ + ค ลิ นิ ก พ ร ร ณี

  • ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน
  • นักร้อง
  • ******
    • กระทู้: 2067
  • . : : + ค ลิ นิ ก พ ร ร ณี : : .
สุดยอด
░▒▓ + ค ลิ นิ ก พ ร ร ณี 9 ม 10 ต.ยางคราม อำเภอดอยหล่อ จ.เชียงใหม่    ▓▒░


ออฟไลน์ ms56hlpr

  • มือเบส
  • ***
    • กระทู้: 57
  • sound Engineer
ถ้าจะเอามาใช้กับมิก digital ควรใช้แบบไหนดีครับ
ปะการัง มิวสิค 21/1 ถ.ขุนศรีวิชัย ต.ท่าพี่เลี้ยง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 72000  Tel.0815606272       ID LINE ms56hlpr


ออฟไลน์ Sor marn Music

  • มือกีตาร์
  • ****
    • กระทู้: 325
ท่านประธาน  ถนัดและชอบหัวข้อนี้เป็นอย่างมาก 
ใช้  UPS TRUE ON-LINE  ตัวเดียวจบครับ เฉพาะชุดเครื่องปรุง (ท่านประธานแนะนำมาอีกทีครับ)   smiley4   smiley4  ผิดถูกขออภัยครับ รอท่านอื่นแนะนำเพิ่มเติมต่อไป



นาย สมาน  คำขาว (ครูหมาน)  วิทยาลัยเทคนิคกันทรลักษ์  เลขที่ 82 หมู่ 1 ตำบล จานใหญ่  อำเภอ กันทรลักษ์ จังหวัด ศรีสะเกษ 33110  TEL : 085-682-9183  ธ.กรุงไทย  3120096768
https://www.facebook.com/samarn.khamkhao


ออฟไลน์ อรพงษ์ซาวด์ 101

  • ตราบใดที่เราไปถึง..คุณคือเพื่อน
  • นักร้อง
  • ******
    • กระทู้: 1611
  • HS4BAP เถื่อน...เพื่อชาติ
    • http://sawangpol.roietceo.net/
 smiley4 smiley4 ชัดเจน แจ่มมากๆ ครับsmiley4 smiley4


พอดีคืนที่ผ่านมาที่บ้านไฟฟ้าตกที่ 150-160V. นอนดูทีวี ชมฟุตบอลสเปน-อิตาลี่ ได้ปกติ แต่แอร์ไม่เย็น มีแต่ลมออกไม่ฉำ่ น่าจะคอมเพสเซอร์ไม่ทำงาน เลยเปลี่ยนมาเปิดพัดลมแทน แทบจะไม่หมุนทั้งที่ใช้ สเตป3 แล้ว พอดีคิดได้ว่า สเตบิไลเซอร์อยู่พอดี เลยถือโอกาสได้เทส ลองเสียเลยโดยไฟสีแดงแจ้งเตือนอยู่ในโหลดต่ำสุดจากทั้งหมด 4ระดับ แต่ผลปรากฎว่าพัดลมหมุนเร็วขึ้นอีกกว่า 20-30%  เลยวัดไฟดูปรากฎว่าไฟจะได้ประมาณแค่ 170-185V.เท่านั้น จะไม่ได้ที่ 220V. เพราะไฟเข้าต่ำกว่าที่เขากำหนด แต่ถ้าไฟ้เข้า 180-260 V นั้นแน่นอนแรงดันจะอยู่ที่ 220V บวกลบเล็กน้อยครับ
นาย อรพงษ์ซาวด์ เลขที่ 20/11 สภ.สว่าง ตำบล สว่าง อำเภอ โพนทอง จังหวัด ร้อยเอ็ด 45110 TEL : 081-060-3603 / BY...HS4BAP....


ออฟไลน์ K-ONE Music Tel.081-9817904

  • " เงิน ไม่ได้ทำให้คนขยันขึ้น แต่ เงิน ทำให้คนอยู่ด้วยกันนานขึ้น " (มนุษย์เงินเดือน)
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 8980
  • .นึกถึง MIX DIGITAL/MIX TASCAM นึกถึง K-ONE Music.
ถ้าจะเอามาใช้กับมิก digital ควรใช้แบบไหนดีครับ

..ต้อง ON LINE เท่านั้นครับ ทุกท่าน ดีที่สุดในสามโลก... smiley4 smiley4 smiley4
นาย นิมิตร จูจันทร์ เลขที่ 69/5 ซอย 4/3 หมู่ 3 ตำบล หวายเหนียว อำเภอ ท่ามะกา จังหวัด กาญจนบุรี 71120 TEL : 081-981-7904 /  ID LINE -  0819817904 หรือเพิ่ม  konemusic / https://www.facebook.com/konemusicshop
 โอนเข้าบัญชีส่วนตัว ธ.ไทยพาณิชย์ 753-2-04544-7 / ถ้าใช้บัญชีกลาง  ธ.ไทยพาณิชย์ 753-2-20485-5


ออฟไลน์ che

  • มือเบส
  • ***
    • กระทู้: 83
ใช้ตัวนี้ แบตฯ แยก 12 V. 80 Ah.  4 ลูก
อักษร เพลิงเทียน  3/1102 รร.ช่างฝีมือทหาร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 
โทร.08-1448-3590   
ธ.กสิกรไทย 070 2 77695 3  ออมทรัพย์


ออฟไลน์ sanya4880

  • นำเข้าเครื่องเสียงจากนอกราคากันเอง
  • ร้านค้า ร่วมสนับสนุน
  • นักร้อง
  • *****
    • กระทู้: 2935
  • SY MUSIC SOUND
    • https://www.tiggersound.com/webboard/index.php?PHPSESSID=cmnlvbhip0ho57g2ma5uqie192&board=505.0
มารับความรู้ครับ smiley4
นาย สัญญา ชินดง เลขที่ 659/44 แขวง ท่าข้าม เขต บางขุนเทียน กรุงเทพ 10150  TEL : 098-250-7909 / ธ.กรุงเทพ 195-4-08842-1 / พร้อมเพย์ 0982507909 /  LINE ID: 0982507909
https://www.tiggersound.com/webboard/index.php?board=505.0


ออฟไลน์ gotmusic

  • มือกลอง
  • *****
    • กระทู้: 576
    • tiggersound.com
ขอบคุณครับจากคำแนะนำ smiley4
บุญสือ ย่ำรุ่ง 100 ม.6 ต.โพธิ์ม่วงพันธ์ อ.สามโก้ จ.อ่างทอง 14160   GSM (089)2541266  บันชี ธ ก ส 01230 2 54961 3


ออฟไลน์ angkulmusic1

  • มือกีตาร์
  • ****
    • กระทู้: 192
  • อย่ากลัวอุปสรรค พักแล้วหาย กลับมาทำใหม่
ขอบคุณสำหรับความรู้ ดี ๆ ครับ
อังกูร สนองค์ โรงเรียนวัดมงคลโคธาวาส ต.คลองด่าน อ.บางบ่อ <br />  จ.สมุทรปราการ 10550 โทร.08-14993723 บัญชีไทยพาณิชย์ 339-222559-2 นายอังกูร สนองค์


ออฟไลน์ อาร์ม ลูกน้ำกว๊าน

  • มือกีตาร์
  • ****
    • กระทู้: 351
  • คนฉลาดที่ขาดคุณธรรม เป็นผู้นำที่ดีไม่ได้
ขอบคุณครับ smileyy
นาย ทศวรรษ สายปิน (อาร์ม) เลขที่ 86/90 หมู่บ้าน พฤกษา 86/2 ซอย ลาดกระบัง 54  ตำบล ศรีษะจรเข้น้อย อำเภอ บางเสาธง จังหวัด สมุทรปราการ 10570 TEL : (AIS) 080-130-8520 / ธ.กสิกรไทย 009-1-99520-4