Tigger Sound
สังคมออนไลน์คุณภาพของคนรักเครื่องเสียง
ทดสอบเสียง HK1.1 By Tiggersound https://www.facebook.com/tiggersound/videos/10218510874389162

....เมื่อ D4 ไม่กลัวไฟตก มันต้องทำแบบนี้...

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ jarun music

  • หนุ่มละปูน
  • มือกีตาร์
  • ****
    • กระทู้: 199
  • คนไทยเกินร้อย
อัฟรูปการต่อม้อแปลง d4 ให้ด้วยได้ไหมครับท่าน รูปมันหายไปครับ
ขอบคุณครับ
@10-10-2510 จรัล ผุสดี .77 หมู่ 8. บ้านหลุก. ต. เหมืองง่า อ. เมือง จ .ลำพูน.51000 โทร 081-3871765 ธนาคารกสิกรไทย สาขาสี่แยกสนามบิน เชียงใหม่เลขที่บัญชี 414-2-32868-8


ออฟไลน์ armonsak

  • ตนรักเครื่องเสียง อิ อิ แต่.....งบน้อยว่ะ
  • มือกีตาร์
  • ****
    • กระทู้: 152
...หลายท่านมักเข้ามาพูดคุยกันอยู่เสมอเกี่ยวกับเจ้า D4 ที่อาการพบบ่อยๆมากที่สุด นั่นคืออาการไฟตก หน้าจอ Reset ใหม่เสมอ กระเดื่องลงทีหน้าจอวูบที แน่นอนครับ อาการอย่างนี้เป็นได้อย่างเดียวนั่นคือไฟตกครับ หลายๆท่านก็แก้ปัญหากันโดยการเปลี่ยนหม้อแปลงให้ตัวใหญ่ขึ้นกระแสมากขึ้น แต่การทำแบบนี้ก็ไม่ได้ช่วยให้ D4 จะทำงานได้ดีกว่าเดิมนะครับ เพราะความต้องการแรงไฟของ D4 ต้องการที่ 9 VAC กระแสไม่ต่ำกว่า 1 แอมป์ครับ การที่เปลี่ยนให้กระแสมากกว่า 1 แอมป์ แต่แรงดันคงที่ๆ 9 โวลท์ การทำงานของเครื่องก็ยังคงเดิมครับ ไม่ได้ช่วยอะไร พอไฟตกโวลท์ก็ตกตามไปด้วย ทางแรงดัน 9 โวลท์ก็ตกตามลงไปอาจจะเหลือ 7.5-8 โวลท์แค่นี้ D4 ก็จะตายแล้วครับเพราะจากภาคกรองไฟนั้น D4 ใช้การกรองไฟแบบครึ่งคลื่นไม่ได้เต็มคลื่นครับ พูดกันแบบ บ้านๆหละกันไม่ต้องอังกฤษนะครับ การแปลงไฟแบบนี้ ช่วงไซเคิลขาลงไฟบวกจะหายไปครึ่งหนึ่งครับ และ ทางตรงข้ามเมื่อไฟบวกทำงานไฟลบก็จะหายไปครึ่งคลื่นเช่นกัน....
....มีคนเคยถามว่าอย่างนี้ถ้าใช้มากกว่า 9 โวลท์หล่ะครับ อย่างเช่น 12 โวลท์ จะได้ไหม ผมก็ว่าคงไม่ไหวมั้งครับ เพราะเครื่องจะร้อนจัดในสภาวะไฟเต็ม แต่ถ้าตกก็ยังพอไหว แต่ใครจะไปรู้ครับไฟบ้านเรา ผีเข้าผีออก บางทีมากกว่า 220 ก็มี อย่างนี้อาจพาลให้ D4 กลับบ้านเก่าเร็วขึ้นเท่านั้นเอง...ตรงนี้เลยไม่แนะนำครับ...
.....เมื่อไฟตกอาการที่ตามมาก็คือเกิดสัญญานรบกวนมากครับ ถ้ามากเกินกำลังที่จะรับได้ สัญญานขาออกอาจจะบื่อฮัมตามไปเลยฟังไม่รู้เรื่อง และอีกอย่างสัญญานขาออกของ D4 ทั้ง 4 ช่องมันก็มีสัญญานรบกวนมากอยู่แล้วครับ ท่านลองเร่งโวลลุ่มของ D4 ให้สุดแล้วลองเร่งสัญญานที่มิกซ์ดูซิครับมันบื่อให้เราเห็นและได้ยินทันทีเนื่องจากการออกแบบของภาคจ่ายไฟแบบนี้นี่เองที่เป็นอาการแบบนี้ครับ...
....หลังจากที่ผมคิดมานานและเคยโพรสให้อ่านกันว่าผมจะเอา D4 ใส่สวิทชิ่งแทนหม้อแปลงครับ และเมื่อมีเวลาผมก็เลยจัดการผ่าซะเลยครับ ก็ได้จัดหาอุปกรณ์ดังนี้ครับ..
1....หม้อแปลงแบบสวิทชิ่งขนาดไฟเข้า 100-240 โวลทื ขาออกที่ 12 โวลท์ ขนาดกระแส 2 แอมป์ มา 2 ตัว
2....กล่องเอนกประสงค์สามารถยัดวงจรสวิทชิ่งได้ 1 กล่อง
3....สายไฟ 3 คอร์อย่างดียาวพอปณะมาณ 1 เส้น
4....แจ็คตัวผู้ตัวเมีย 1 คู่อย่างดี มีปุ่มล็อคในตัว 1 ชุด


....ขั้นตอนแรกเราก็มาชำแหละเจ้าสวิทชิ่งออกทั้งสองตัวให้เหลือแต่ไส้ในครับตามรูป...

...หลังจากนั้นเราก็มาวางรูปแบบ เพื่อให้พอเหมอะพอดีกับกล่องที่เลือกมาแล้ว หลังจากนั้นก็เจาะรู ติดหลอด LED แสดงไฟบวกกับไฟลบ ด้วยเพื่อความสวยงามครับ...
...ขั้นตอนการเดินสายไฟถ้าหลายท่านเป็นช่างไฟอยู่แล้วก็สามารถทำความเข้าใจได้ไม่ยากนะครับ โดยการแบ่งเจ้าสวิทชิ่งออกเป็น 2 ชุด คือ ชุดแรกทำเป็นแรงดันด้านไฟ + 12 โวลทื และ อีก 1 ตัว เอามาทำเป็นแรงไฟด้านขา -- 12 โวลท์ครับ ตรงนี้คงไม่ยากนะครับ...





....ส่วนการเก็บรายละเอียดหรือการกำหนดที่ขั่วแจ๊คนั้น ก็อยู่ที่ฝีมือของแต่ละท่าน ว่าจะเรียงยังไง เพราะเมื่อเราเสียบใช้งาน ขั่ว 3 ขั่วเมื่อเสียบกันแล้วต้องตรงกันพอดีครับ คือ บวกตรงบวก และลบตรงลบ ส่วนไฟ 0 โวลท์ก็เหมือนกัน ต้องทดสอบและมาร์คขั่วสายก่อนที่จะทำการเชื่อมต่อกับวงจรของจริงนะครับเพื่อความมั่นใจในความถูกต้องของแต่ละขั่ว....
....เรามาดูทางด้าน D4 ว่าจะวางหรือใสเจ้าแจ๊คตัวผู้เอาไว้ตำแหน่งไหนถึงจะเหมาะ เมื่อเปิดฝาดูก็จะเห็นว่า มันแน่นไปหมด ไม่รู้จะวางตรงไหนดี บังเอิญผมก็คิดได้ว่าเจ้า แจ็คโฟนที่เป็นตัว FOOT SW เราไม่ค่อยได้ใช้หรืออาจจะไม่ได้ใช้เลยเพราะเราไม่ได้เล่นสด ผมก็เลยจัดการบัดกรีมันออกครับ และก็หาถุงใส่และเก็บมันไว้ในตัวเครื่องนั่นหละครับไม่ต้องกลัวหายเผื่อนึกอยากจะทำให้เหมือนเดิมจะได้ไม่ต้องหากันให้วุ่นครับ...
....ด้วยความบังเอิญอีกที่เจ้าแจ๊คคู่นี้มันดันมีไดมิเตอร์หรือเส้นผ่าศูนย์กลางพอดีกับแจ็คโฟนเลยครับ ผมก็เลยจับมันใส่ในช่องนี้ไปเลย และไม่ต้องไปเจาะรูก็เพราะมันไม่มีที่จะให้เจาะนั่นเองและเมื่อติดตั้งเสร็จก็จัดการโยงสายใกล้กับภาคจ่ายไฟเดิมได้ง่ายขึ้นครับ...









...ก่อนที่จะบัดกรีสายสายไฟทั้ง 3 เส้นที่เป็นไฟ +/-/0โวลท์ ท่านต้องตรวจสอบอีกครั้งนะครับเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากผิดขั่วได้ครับ...
....ในการบัดกรีสายไฟทั้งบวก-ลบ-กราวด ผมก็เลือกจุดที่ใกล้เคียงกับเร็กกูเรเตอร์ได้เลยครับ ทางด้านไฟ + เราบัดกรีเข้าที่ขาที่ 1 ของ IC 7805 ได้เลยครับ ส่วนด้านไฟ - เราก็บัดกรีขา Input ของตัว IC คือขาที่ 2 นะครับ ส่วนด้านกราวด หรือ  0 โวลท์ ท่านก็อาจหาจุดตรงไหนก็ได้ที่บัดกรีง่ายผมก็เลยเลือกเข้าที่ขา 2 ของ IC 7805 ครับ หรือ ถ้าเป็นที่ IC 7905 ก็ต้องเป็นขาที่ 1 ครับ...
....หลังจากบัดกรีเรียบร้อยแล้ว ก็เข้าเช็คตรวจสอบทางด้านแจ๊คตัวเมียอีกครั้งครับว่ามีไฟ +/- 12โวลท์ครบหรือไม่เมื่อเทียบกับ 0 โวลท์นะครับ เมื่อท่านมั่นใจท่านก็เปิดสวิทช์ที่กล่องภาคจ่ายไฟได้เลย.....
....ในการต่อแบบนี้เราก็จะไม่สามารถที่จะใช้สวิทช์ปิดเปิดที่หน้าเครื่องได้นะครับเพราะเราได้ต่อภาคจ่ายไฟเข้าที่วงจรโดยตรง นั่นก็หมายความว่าเมื่อมีไฟเข้ากล่องภาคจ่ายไฟเจ้า D4 ของเราก็พร้อมที่จะทำงานได้เลย แต่ถ้าถามว่ามันทำงานตลอดเวลามันไม่ร้อนหรือครับ ท่านก็อย่าไปคิดมากครับเครื่องอุปกรณ์ของแพงแต่ละชนิด บางทีไม่มีสวืทช์ปิดเปิดด้วยซ้ำ บางทีมีก็เอาไปซ่อนไว้ด้านหลัง เรื่องแค่นี้ไม่ต้องไปคิดให้ปวดหัวครับ
....ผลที่ได้รับที่มากกว่าการป้องกันการ Reset ของเครื่องเนื่องจากไฟตกแล้ว ทางด้านขาเข้าที่เป็นแจ๊คตัวเดิมเราก็สามารถที่จะเอาหม้อแปลงเดิมมาเสียบต่อได้อีกเช่นกันครับ ในกรณีที่ภาคจ่ายไฟแบบใหม่อาจชำรุดได้ครับ... ผมได้ทดสอบโดยการเสียบภาคจ่ายไฟเข้าที่หม้อแปลง 110 โวลท์แทน 220 โวลท์
 ผลที่ได้ก็คือ D4 ก็ยังทำงานปรกติครับ เนื่องจากสวิทชิ่งที่ใช้มันสามารถรองรับแรงดันต่ำสุดที่ 100 โวลท์และสูงสุดที่ 240 โวลท์นั่นเองครับ และผลที่ตามมาอีกเรื่องก็คือ สัญญาน Noise ที่ออกทาง OUTPUT ของ D4 ทั้ง 4 ช่องมันเงียบลงไปกว่าเดิมมากถึงจนเกือบเงียบสนิท เมื่อเทียบกับก่อนที่เราจะแปลงภาคจ่ายไฟเสียอีกครับ ตรงนี้หละคือผลพลอยได้ที่ผมเองชอบมากครับ พูดกันง่ายๆว่าในขณะที่เรายังไม่เล่นหรือปล่อยสัญญาน MIDI เข้าที่ D4 ลองเร่งโวลลุ่มที่มิกซ์ สัญญานNoise หรือ ฮัม มีน้อยลงไปมากกว่าเกือบร้อยเปอร์เซ็น ทำให้เราฟังเสียงดนตรีที่ออกจาก D4 ได้เคลียมากขึ้นใสขึ้นนั่นเองเนื่องจากภาคจ่ายไฟชุดใหม่มันอิ่มตัวและสมบูรณ์กว่าภาคจ่ายไฟของเก่าที่เป็นแบบครึ่งคลื่นนั่นเอง..
.....ผลงานอีกชิ้นที่กำลังทำที่จะตามมาคือการดัดแปลง ภาคจ่ายไฟของ SC-88 PRO ให้เป็นแบบสวิทชิ่งอีกเช่นกัน เพราะปัญหาของ 88Pro ก็ไม่แตกต่างกํบ D4 เลยครับ พอไฟตกหน้าจอวูบก็ Reset เช่นกัน ลองติดตามผลงานกันต่อไปนะครับ ซึ่งการตัดแปลงผมจะใส่สวิทชิ่งเข้าไปในตัวของ
 SC-88 PRO เลยครับไม่ต้องมีกล่องอยู่ข้างนอกครับ...
.......ลองติดตามผลงานชิ้นต่อไปนะครับ....ขอขอบคุณเพื่อนๆทุกท่านครับ....
ไม่เห็นภาพเลยครับ ช่วยแก้ไข้ให้หน่อยครับ ขอบคุณครับ
138/14 ซ.สวนหลวง แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กทม.10150หมายเลขบัญชีกสิกรไทย 022-2-371807 สาขาสะพานใหม่  อมรศักดิ์ สวัสดิ์ดวง บัญชี ออมทรัพย์ โทร.0812069479