Tigger Sound

ห้องสมุด คลังความรู้ต่างๆ ในแวดวงเครื่องเสียง
=> ห้องสมุด ทิกเกอร์ซาวด์ เครื่องเสียง ตู้ลำโพง ระบบเสียง แสงสี และอุปกรณ์อื่นๆ => ข้อความที่เริ่มโดย: ฅนไทย มิวสิค ที่ มีนาคม 25, 2011, 11:30:29 am

หัวข้อ: หูฟังมอนิเตอร์
เริ่มหัวข้อโดย: ฅนไทย มิวสิค ที่ มีนาคม 25, 2011, 11:30:29 am
(http://tiggersound2.com/upload/imagesMember/2011/03/25/48801_1301024357.jpg)

  ต้องยอมรับนะครับว่าการใช้หูฟังมอนิเตอร์หรือที่เรียกว่า in-ears monitor โดยเรียกย่อๆกันว่า IEM นั้นเป็นที่นิยมมากในการทำระบบเสียงกลางแจ้ง เพราะว่าสามารถใช้งานสะดวกสบาย สามารถควบคุมค่าความดังเบาได้เฉพาะบุคคล ทำให้สะดวกต่อการทำมอนิเตอร์บนเวทีเป็นอย่างยิ่ง ช่วยลดเสียงหอนจากการเพิ่มมอนิเตอร์อย่างเกินพิกัดเสียงบนเวที ที่มักพบเจออยู่เป็นประจำจนไม่สามารถควบคุมความสมดุลเสียงให้ได้ดีได้ กลายเป็นเรื่องน่าปวดหัวทั้งนักดนตรีและเอ็นจิเนียร์ ปัญหาพื้นฐานเหล่านี้ถือเป็นปัญหาคลาสสิคที่พบเจอกันอยู่เป็นประจำในการทำระบบเสียงมอนิเตอร์บนเวทีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

(http://tiggersound2.com/upload/imagesMember/2011/03/25/48801_1301024475.jpg)

    เสียงหอน (feedback) ที่เกิดขึ้นบนเวที หรือ ความไม่ชัดเจนของเสียงจากมอนิเตอร์ ความที่ไม่สามารถควบคุมค่าความดังเสียงบนเวทีได้ ส่วนมากมาจากการเฉลี่ยย่านความถี่ไม่ถูกต้องนัก ทำให้นักดนตรีไม่ได้ยินเสียงตัวเองอย่างชัดเจน นั่นประการหนึ่ง ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งก็มาจากนักดนตรีเองที่หูตึงบ้าง(เรื่องจริง) หรือ เปิดแอมป์กีต้าร์บนเวทีดังเกินไป ตีกลองดังเกินไป เหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้นักร้องไม่ได้ยินเสียงตัวเอง จึงเป็นที่มาของการร้องขอเสียงที่มอนิเตอร์ของนักร้องให้ดังขึ้นตลอดเวลา และเมื่อมอนิเตอร์เอ็นจิเนียร์เพิ่มค่าความดังให้มากไป ก็เสี่ยงต่อเสียงที่จะย้อนกลับเข้าสู่ไมโครโฟนของนักร้อง และนั่นก็เป็นสาเหตุของเสียงหอนที่จะตามมาในที่สุด ปัญหาจึงวนเป็นวงกลมแก้ไม่หายตลอดงานจนจบไปเลยก็มีให้เห็นบ่อยๆ

(http://tiggersound2.com/upload/imagesMember/2011/03/25/48801_1301024577.jpg)

   ดังนั้น in-ear monitor จึงเปรียบเสมือนพระเอกขี่ม้าขาวมาช่วยแก้ปัญหาคาใจเหล่านี้ออกไป ด้วยการให้เสียงมอนิเตอร์ส่วนตัวไปเลยสำหรับนักร้อง มือกลอง หรือ นักดนตรีคนอื่นๆที่ต้องการความชัดเจนและความดังเฉพาะตัวเองเท่านั้น เมื่อผู้ใช้ๆงาน in-ear monitor ค่าความดังเสียงของมอนิเตอร์บนเวทีก็ลดลงไป ทำให้ซาวเอ็นจิเนียร์สามารถควบคุมปรับแต่งค่าความดังเสียงของระบบมอนิเตอร์ได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน และป้องกันเสียงหอนอันน่ารำคาญอีกด้วย

(http://tiggersound2.com/upload/imagesMember/2011/03/25/48801_1301024765.jpg)


ที่มา  In-ear monitor เกิดขึ้นมาในต้นยุค80โดยความพยายามในการหาระบบมอนิเตอร์ส่วนตัวของสองศิลปินชื่อดังคือ Todd Rundgren and the Utopia , Stevie Wonder ซึ่งต้องการระบบเสียงส่วนตัวที่สามารถปรับความดังเบาเสียงตามที่ต้องการได้ ซึ่งกลายเป็นการจุดประกายให้เกิดระบบ IME ขึ้นมาซึ่งในยุคแรกๆราคาของIEMยังสูงอยู่มาก ศิลปินที่มีเงินเท่านั้นจึงจะมีเอาไว้ใช้ส่วนตัวหรือใช้ทัวร์ได้ แต่ในปัจจุบันราคาถูกลงจนสามารถซื้อมาใช้ได้ง่ายกว่าแต่ก่อน ใครๆก็สามารถซื้อหามาใช้งานกันได้ง่ายขึ้น จนกลายมาเป็นเครื่องมือส่วนตัว และ เครื่องมือมาตราฐานหลักในการทำงานแสดงสดดนตรี งานออกอากาศ เป็นต้น

(http://tiggersound2.com/upload/imagesMember/2011/03/25/48801_1301025497.jpg)


ประเภทของมอนิเตอร์
   มอนิเตอร์ที่เราคุ้นเคยทั่วๆไปก็เป็นแบบลำโพงวางบนพื้นที่เรียกว่า wedge-shaped floor monitor ตัวลำโพงที่นิยมใช้งานประกอบไปด้วยลำโพง wooferและtweeter ซึ่งให้การกระจายเสียงครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่90องศาโดยประมาณ ทำให้ผู้ที่ยืนอยู่ในบริเวณที่ลำโพงวางอยู่สามารถได้ยินอย่างชัดเจน ส่วนมอนิเตอร์แบบที่สองจะเป็นแบบที่เรียกว่า in-ear monitor เป็นมอนิเตอร์ส่วนตัวที่ผู้ที่ได้ยินต้องสรวมใส่หูฟังเพียงอย่างเดียว ทำให้ได้ความคมชัด รายละเอียด ของเสียงดีขึ้น แต่ก็ยังคงทำหน้าที่เป็นมอนิเตอร์ให้กับผู้ใช้งานเช่นเดียวกัน

(http://tiggersound2.com/upload/imagesMember/2011/03/25/48801_1301025719.jpg)

    ประเภทของมอนิเตอร์แบบพื้นฐานแยกแยะไปตามลักษณะการใช้เครื่องขยายเสียง เช่น ลำโพงมอนิเตอร์ที่มีเครื่องขยายเสียงอยู่ในตัวก็จะเรียกว่า power monitor สำหรับลำโพงมอนิเตอร์ที่ไม่มีเครื่องขยายเสียงอยู่ภายในตู้ลำโพง เราเรียกว่า non power monitor ดังนั้นลักษณะของมอนิเตอร์พื้นฐานทั่วไปก็จะมีรูปร่างที่คุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว สำหรับ in-ear monitor ก็จะมีรูปร่างหน้าตาที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิงเมื่อเทียบกับมอนิเตอร์พื้นฐานทั่วไป

(http://tiggersound2.com/upload/imagesMember/2011/03/25/48801_1301025866.jpg)


ทำไมถึงต้องใช้
  การแสดงดนตรีโดยพึ่งพามอนิเตอร์บนเวทีจากลำโพงล้วนๆเป็นวิธีการที่มาดั้งเดิม และก็ยังใช้งานได้ดีจนถึงปัจจุบันนี้ ความลำบากของนักดนตรีก็คือ ความไม่ชัดเจนของเสียงที่ได้ยิน โดยเฉพาะความคมชัดที่มีความสำคัญต่อเสียงนักร้องโดยตรง นักร้องต้องการความคมชัดของเสียงที่ดีในขณะร้องเพลงเพราะว่าความคมชัดที่ดีมีผลต่อจังหวะในการร้อง มีผลต่อระดับความสูงต่ำของเสียง(pitch) ที่มีผลต่อเสียงร้องที่อาจเพี๊ยนได้ง่ายๆตลอดเวลา หรือกับนักดนตรี เช่น มือกลองที่ได้ยินเสียงเบสจากมอนิเตอร์ไม่ชัด หรือ จากเครื่องดนตรีชิ้นอื่นๆก็มีผลต่อจังหวะที่กำลังเล่นอยู่

(http://tiggersound2.com/upload/imagesMember/2011/03/25/48801_1301026093.jpg)                    (http://tiggersound2.com/upload/imagesMember/2011/03/25/48801_1301026093.jpg)

   จากตัวอย่างเบื้องต้นน่าจะพอชี้ให้เห็นภาพรวมกว้างๆแล้วว่า มอนิเตอร์มีความสำคัญต่อนักดนตรีเป็นอย่างยิ่งเพราะทุกสิ่งที่กำลังเล่นอยู่ แขวนไว้กับระบบมอนิเตอร์ทั้งสิ้น ดังนั้นการที่จะพึ่งพามอนิเตอร์บนเวทีเพียงอย่างเดียวก็เป็นหนทางเลือกเดียวเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ระบบ IME จึงเข้ามาเป็นตัวเลือกอีกทางหนึ่งสำหรับระบบมอนิเตอร์ส่วนตัว ซึ่งให้ความคมชัดสูงเพราะติดอยู่ที่หู เมื่อเป็นเช่นนี้ระดับความดังเบาเสียงก็ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ใช้งานโดยตรง ซึ่งสามารถปรับได้ตามความพอใจโดยไม่ทำให้ระบบมอนิเตอร์ทั้งเวทีรวนไปด้วย

(http://tiggersound2.com/upload/imagesMember/2011/03/25/48801_1301026307.jpg)          (http://tiggersound2.com/upload/imagesMember/2011/03/25/48801_1301026307.jpg)          (http://tiggersound2.com/upload/imagesMember/2011/03/25/48801_1301026307.jpg)

    อย่างเช่นนักร้องประสานเสียงบนเวทีสี่คน ทุกๆคนสรวมระบบ IME ทั้งสี่คน สิ่งแรกที่จะได้ก็คือไม่มีลำโพงมอนิเตอร์วางบนพื้นแถวที่นักร้องทั้งสี่ยืนอยู่ ผลที่ได้คือความเงียบ ณ บริเวณนั้น ทำให้ได้ยินเสียงร้องประสานของแต่ละคนชัดเจนขึ้น ความดังเบาของแต่ละคนก็สามารถปรับเร่งลดได้ ทำให้นักร้องแต่ละคนมีความรู้สึกสบายในขณะร้องมากขึ้น ใครอยากขอให้เสียงของใครดังขึ้นในระบบมอนิเตอร์ก็สามารถทำได้อิสระมากขึ้น ผลก็คือ ความสมดุลเสียงที่ร้องออกมามีความเป็นธรรมชาติมากขึ้น และที่สำคัญก็คือ มอนิเตอร์เอ็นจิเนียร์สามารถควบคุมและลดอาการเสียงหอนที่เกิดจากไมโครโฟนทั้งสี่ตัวบนเวทีลงไปได้มากขึ้น และช่วยให้สามารถเล่นกับค่าความดัง ความคมชัดเจนของย่านความถี่ได้ดีขึ้น เนื่องจากในขณะปรับใช้งานอีคิวก็ไม่ต้องกลัวเรื่องของเสียงหอนในบางย่านความถี่ที่เสียงดังออกมาจากลำโพงมอนิเตอรแล้วรั่วเข้าสู่ไมโครโฟนทั้งสี่ตัวของนักดนตรีนั่นเอง

(http://tiggersound2.com/upload/imagesMember/2011/03/25/48801_1301026556.jpg)          (http://tiggersound2.com/upload/imagesMember/2011/03/25/48801_1301026556.jpg)          (http://tiggersound2.com/upload/imagesMember/2011/03/25/48801_1301026556.jpg)

   ดังนั้นจะเห็นได้ว่าระบบ IME จึงเป็นที่นิยมใช้กับศิลปินดังๆทั่วโลก เพราะให้ความรู้สึกไม่ต่างจากการบันทึกเสียงด้วยการใช้หูฟังในสตูดิโอเลย นักดนตรีจะได้ทุกสิ่งที่ตัวเองอยากได้โดยไม่กวนกับคนอื่น นั่นก็คือช่วยลดการเกิดเสียงหอนได้อย่างมากและทำระบบมอนิเตอร์ง่ายกว่าเก่าก่อน และที่สำคัญก็คือ ความอิสระในการเคลื่อนไหวของนักดนตรีที่สามารถเดินได้ไปที่ไหนบริเวณไหนบนเวทีได้อย่างสบายๆ โดยไม่ต้องกังวลในเรื่องของจุดอับเสียง จุดที่ทำให้เกิดเสียงหอนได้ง่าย ซึ่งการวางลำโพงมอนิเตอร์กระจายบนเวทีไม่สามารถให้ความคล่องตัวในการเล่นกับเวทีของนักดนตรีที่ชอบการเคลื่อนไหวในขณะแสดง

(http://tiggersound2.com/upload/imagesMember/2011/03/25/48801_1301026758.jpg)

 เทคนิคการเลือกซื้อ IME

    เทคนิคการเลือกซื้อระบบ IME จะจำแนกออกเป็นหัวข้อย่อยๆดังต่อไปนี้เพื่อความเข้าใจและอ่านง่าย

ลอง ลอง ลอง

    การเลือกซื้อขอแนะนำให้ลองด้วยตัวเองเท่านั้นเป็นหนทางเดียวที่สามารถตอบคำถามว่าดีหรือไม่ ชอบหรือปล่าว สรวมแล้วเข้ากับหูของเราหรือไม่ พอดี คับไป หลวมไป ดังนั้นต้องลองด้วยตัวเอง การลองระบบ IME ควรลองเลือกดูหลายๆรุ่น หลายๆยี่ห้อ ทั้งที่เขาบอกว่ามันดี กับที่เขาบอกว่าก็งั้นๆ มีโอกาสลองให้หมดเสียก่อน แล้วตัดสินใจด้วยความชอบของตัวเราเองเป็นที่ตั้ง อย่าเชื่อคนรอบข้าง อย่าเชื่อคนขาย เชื่อเสียงที่เราได้ยิน เชื่อในความชอบของรสชาติเสียงเอาไว้เป็นอันดับแรก เพราะว่าเราคือผู้ใช้งานตลอดเวลา ตรงนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ

(http://tiggersound2.com/upload/imagesMember/2011/03/25/48801_1301026893.jpg)

สรีระใบหู
   สิ่งสำคัญลำดับต่อมาก็คือความพอดีกับสรีระใบหูของเรา เรื่องนี้สำคัญมากเพราะเวลาอยู่บนเวทีความกระชับ ไม่หลุดง่าย และสรวมได้นานโดยไม่เกิดอาการเจ็บที่ใบหู ล้วนสำคัญมองข้ามไม่ได้เลย ลองนึกภาพดูเวลาสรวมใส่แล้วร้องเพลงแรกก็โอเคดี พอเข้าเพลงที่สองเป็นเพลงเร็วและต้องวิ่งกระโดดไปมา หูฟังจะหลุดอยู่ตลอดเวลาเพราะไม่กระชับกับใบหู ทำให้ต้องคอยจับหูฟังเอาไว้ตลอดเวลา แบบนี้ก็ทำให้หงุดหงิดเป็นอย่างมากในขณะร้องเพลงไหนมือหนึ่งจะต้องถือไมโครโฟน และอีกมือหนึ่งจับที่หูฟัง แค่นึกภาพก็ดูตลกแล้วทำให้อารมณ์ในขณะร้องเพลงเสียไปโดยใช่เหตุ



   ในทางกลับกันหูแน่นกระชับกับใบหูดีมาก วิ่งกี่รอบบนเวทีหรือกระโดดกี่ร้อยครั้งก็ไม่หลุด แต่ใส่ร้องไปซักเพลงที่สี่เริ่มเจ็บใบหูแล้ว ในใจอยากจะถอดออกมากๆแต่ก็ทำไม่ได้เพราะกลัวไม่ได้ยินเสียงมอนิเตอร์ เลยต้องทนร้องจนจบงาน แบบนี้เลิกแล้วนอนปวดใบหูไปอีก2อาทิตย์ได้เลย

ดังนั้นในขณะลองหูฟังหากเลือกรุ่นที่ชอบได้แล้ว พยายามเอารุ่นเดียวกันออกมาเลือกใส่ดูมากเท่าที่สามารถขอได้จากของที่ทางร้านมีอยู่ เพื่อตรวจดูว่าตัวไหนสรวมแล้วกระชับดีที่สุด ไม่หลุดง่าย และไม่เจ็บหู ขอแนะนำว่าลองนานๆหน่อยประมาณ20-40นาที เช่น ลองฟังเพลงและนั่งอ่านหนังสือไปก็ได้ พยายามใช้เวลากับมันมากๆหน่อย เพราะเมื่อซื้อแล้วมันต้องอยู่กับเราไปอีกยาวนาน

 

เสียงดังฟังชัด
     การลองลักษณะนี้เสมือนการจำลองเวทีมาอยู่ที่ร้าน ด้วยการสรวมหูฟังที่เลือกแล้ว ชอบแล้ว ดีแล้ว สำหรับขั้นตอนต่อไปก็คือ ลองเปิดเพลงผ่านระบบ PA ในร้านให้ดังพอสมควร(ถ้าทำได้)จำลองความดังบนเวทีที่เราคุ้นเคยกัน แล้วลองร้องผ่านไมค์แล้วให้ทางร้านผ่านเสียงไมค์มาออกที่ระบบ IME ของเราที่กำลังเลือกซื้อ ลองร้องดูหรือจะพูดก็ได้แล้วให้ลองเร่งเสียงดังเบาสลับไปมา

   การทำแบบนี้สามารถตรวจสอบความคมชัดเจนของเสียงที่ได้ยินในหูฟังเป็นอันดับแรกสุด ว่าในสภาพแวดล้อมเสียงดังๆ ระบบ IME สามารถให้ความชัดเจนเสียงได้ดีอยู่หรือไม่ ในขณะเดียวกันควรลองในหลากหลายระดับความดังเพื่อตรวจสอบดูว่า เสียงที่ได้ยินแตกง่ายหรือไม่ และเมื่อเสียงแตกแล้วมีอาการเช่นไร และความทนทานต่อระดับเสียงของ transducers ที่ทำหน้าที่ลำโพงในหูฟังมีระดับความทนทานดีมากน้อยแค่ไหน ไม่ใช่เร่งดังเล็กน้อยเสียงก็แตกแล้ว แบบนี้ก็ต้องตรวจสอบดีๆด้วย เพราะระบบ IME ที่ดีจริงๆจะต้องให้ความทนทานต่อเสียงแตกพร่าได้ดีในระดับหนึ่ง

     สำหรับการตรวจสอบเรื่องเสียงแตกขอให้พึงระวังอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในส่วนของการรับฟังในขณะทดสอบความดังเสียงต่างระดับอยู่นั้น ต้องระมัดระวังอย่างสูงเพราะมีอันตรายต่อแก้วหูเป็นอย่างมาก อย่าเผลอเลอ และอีกเรื่องหนึ่งที่ควรระวังในขณะตรวจสอบเรื่องการแตกของเสียงก็คือ ต้องแน่ใจว่าระบบไม่แตกมาก่อน เพราะจะทำให้เข้าใจผิดคิดว่าหูฟังเสียงแตกง่าย ทำให้การทดสอบได้เกิดข้อผิดพลาดไปโดยไม่เข้าใจ

 

ระบบสายและไร้สาย
    ส่วนมากแล้วระบบ IME ที่นิยมจะเป็นแบบระบบไร้สายเป็นหลักเพราะให้ความคล่องตัวสูงสุด ไม่มีสายสัญญาณเกะกะในขณะใช้งาน ดังนั้นระบบสายจึงนิยมใช้งานในสตูดิโอเป็นส่วนใหญ่ ระบบไร้สายนิยมใช้กับงานระบบเสียงกลางแจ้งเป็นหลัก เทคนิคการเลือกซื้อแนะนำในส่วนของระบบไร้สายเป็นสำคัญเพราะมีรายละเอียดมากกว่า

   ลักษณะสัญญาณที่เลือกหากเน้นการระดับอาชีพแนะนำให้เลือกใช้ระบบไร้สายแบบ UHF เป็นหลัก ส่วนระบบคลื่น VHF เหมาะสำหรับงานที่รองลงมา เช่น คาราโอเกะ สำหรับงานอาชีพระบบคลื่น UHF ถือว่าเป็นระบบที่วางใจได้ดีที่สุดในยุคนี้ตอนนี้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีอาการคลื่นหลุดได้ เพียงแต่ว่าการเหนี่ยวนำคลื่นรวมถึงจำนวนช่องสัญญาณมีให้เลือกเล่นได้มากกว่านั่นเอง

 

เทคนิคการทดสอบความไว
  การเลือกระบบ IME wireless นั้นสิ่งแรกก็คือเลือกระบบแบบ UHF หลังจากนั้นให้ลองต่อใช้งานระบบโดยลองความไวในการรับสัญญาณด้วยการดูที่ signal meter ที่ตัวรับ(receiver) ว่าให้การรับสัญญาณที่เต็มดีหรือไม่ ด้วยการให้พนักงานในร้านลองเดินห่างออกไปจากเครื่องรับ โดยเดินหลบไปตามซอกมุมหรือไปอีกห้องหนึ่งเพื่อดูความไวในการรับนั่นเอง

   การรับที่ดีหมายถึงความสบายใจและไว้วางใจได้ในขณะใช้งาน โอกาสคลื่นหลุดก็น้อยลงนั่นเอง หลังจากดูสัญญาณแล้วให้ลองเปิดอีกเครื่องหนึ่งขึ้นมาด้วยการจูนคลื่นไม่ให้ทับความถี่กันแต่จูนให้ความถี่ใกล้เคียงกันเท่านั้น การเปิดและลองใช้งานอีกเครื่องหนึ่งในขณะที่เครื่องที่ลองอยู่ก็ไม่ต้องปิดแต่อย่างไรเปิดทิ้งคาเอาไว้เลย

   การลองลักษณะนี้ก็เพื่อทดสอบการเบียดกันของคลื่นว่ามีผลเป็นอย่างไร มีการแกว่งของสัญญาณมากน้อยเพียงไร เพื่อทดสอบว่าเครื่องที่เราเลือกอยู่นั้นมีความไวในการเกาะสัญญาณคลื่นของตัวเองดีมากน้อยเพียงไร

 

แบตเตอรี่ก็สำคัญ
   หากมีเวลามากพอควรลองเรื่องของการกินไฟจากแบตเตอรี่ด้วย ด้วยการใช้เวลาที่นั่งฟังหูฟังนั่นล่ะ การลองแบตเตอรี่ขอแนะนำให้ใช้แบตเตอรี่ใหม่ๆเพื่อการลองเพียงถึงจะรู้เรื่อง พยายามใช้เวลาในการลองให้ได้ถึง30นาทียิ่งดีแล้วตรวจดูว่ากำลังของแบตเตอรี่ลดลงมากน้อยเพียงไร หากพบว่าลดลงน้อยก็ถือเป็นจุดดีของรุ่นนี้ได้เลย แต่ถ้าลดลงเร็วมากไปก็ต้องคำนึงว่าชอบเสียงหรือปล่าวถ้าชอบเสียง ยอมรับกับการเปลี่ยนแบตเตอรี่บ่อยๆได้หรือไม่ เพราะแบตเตอรี่ที่หมดเร็วก็มีผลต่อการโชว์เป็นอย่างมากด้วย และสิ้นเปลืองค่าแบตเตอรี่อีกด้วย

  ทางที่ดีหากเลือกขนาดของแบตเตอรี่แบบ AA ได้ก็จะยิ่งช่วยประหยัดค่าแบตเตอรี่ไปได้มากกว่าการใช้แบตเตอรี่แบบ9voltซึ่งมีราคาแพงกว่าหลายเท่าตัว

 

การตอบสนองต่อย่านความถี่
  ต้องเข้าใจในพื้นฐานของตัวแปลงเสียงเล็กๆที่เรียกว่า transducers ที่ทำหน้าที่เสมือนลำโพงเล็กๆนั่นเอง จากขนาดพื้นที่ๆเล็กจะมีผลต่อย่านความถี่ต่ำๆโดยตรง ซึ่งจะมีน้อยลงโดยเฉพาะย่านความถี่ประมาณ 100Hz ลงไปจะมีน้อยมาก และก็อย่าพยายามเร่งย่านความถี่ที่ต่ำกว่านี้ในระบบ IME เพราะตัวมันไม่สามารถตอบสนองได้ดีอยู่แล้ว การเร่งที่มากขึ้นเป็นผลร้ายที่จะทำให้ตัว transducers ทำงานหนักมีผลต่อความพร่าเพี๊ยนรวมถึงโฟกัสเสียงที่ไม่ชัดตามมา หากผู้ใช้ไม่เข้าใจในเรื่องนี้ก็จะไม่เข้าใจว่าทำไมโฟกัสเสียงถึงไม่คมชัดหาสาเหตุไม่ได้ ทั้งๆที่เสียงก็ไม่แตก

   เมื่อย่านความถี่ต่ำกว่า 100Hz มีไม่มากก็ไม่จำเป็นต้องกังวลแต่อย่างไร เพราะระบบเสียงในงานระบบเสียงกลางแจ้ง มีทั้งเสียงที่ดังมาจากลำโพง subwoofer มากมายอยู่แล้ว เสียงเหล่านั้นก็กระจายตัวโอบรอบตัวผู้ใช้งานอยู่แล้ว ทำให้ช่วยเสริมย่านความถี่ที่ขาดหายไปในระบบหูฟัง ทำให้ผู้ใช้งานไม่รู้สึกว่าขาดเสียงเบสลึกแต่อย่างไรเลย

 

การรับประกัน
   อันนี้สำคัญอย่างมาก การรับประกันเงื่อนไขที่เป็นธรรมและรับผิดชอบที่ดี จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยในการตัดสินใจในการซื้อสินค้าตัวนั้นเป็นอย่างยิ่ง การรับประกันที่ดีทำให้เราสามารถใช้งานสินค้าชิ้นนั้นได้อย่างสบายใจและมั่นใจได้ในระดับหนึ่งว่า สินค้าตัวนั้นต้องเป็นสินค้าคุณภาพที่ดีตัวหนึ่ง

 

ข้อดีของระบบ IME
   ข้อดีอย่างหนึ่งในการใช้ระบบ IME ก็คือตัวนักร้องเองโดยตรง ที่จะได้รับประโยชน์จากการใช้อย่างยิ่ง ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ให้ลองนึกภาพดูว่าในขณะใช้ระบบมอนิเตอร์แบบพื้นฐาน wedge-shaped floor monitor อยู่นั้น มือกลองตีเสียงดังมากทำให้มือเบสได้ยินเสียงตัวเองไม่ชัด ก็เร่งเสียงหน้าตู้เบสให้ดังขึ้น ทำให้มือกีต้าร์ได้ยินเสียงตัวเองไม่ชัดตามไปด้วย จึงต้องเร่งเสียงดังขึ้นตามมาอีกคน ผลสุดท้ายนักร้องจะเป็นผู้ที่ตกที่นั่งลำบากมากที่สุดเพราะไม่สามารถเร่งเสียงตัวเองได้ หากขอไปที่มอนิเตอร์เอ็นจิเนียร์ก็ยังดังไม่พอหรือดังมากแล้วเสียงก็หอนอีก ผลสุดท้ายก็คือต้องช่วยตัวเองด้วยการตะเบงเสียงร้องให้ดังมากขึ้นเพื่อให้ได้ยินเสียงตัวเองชัดเจน เพราะลืมตัวไปว่ากำลังร้องแข่งกับเสียงที่ผ่านระบบเครื่องขยายเสียงอยู่

  ผลสุดท้ายก็คือหลังจากจบงานคอก็จะเริ่มเจ็บ และ หากเป็นแบบนี้ซักอีกงานสองงาน ก็ไม่สามารถร้องได้ดีเสียงก็ไม่สดเพราะเจ็บเส้นเสียง นักร้องหลายๆคนที่อ่านบทความถึงตอนนี้แล้วอาจถึงบางอ้อว่าทำไมตัวเองมีปัญหาเจ็บคอบ่อยๆ ซึ่งเหตุการณ์ลักษณะนี้ถือว่าเป็นปัญหาพื้นฐานที่พบเจอกันกับวงดังๆทั่วโลก อย่าง U2 , OASIS ,Phil Collins , Gloria Estefan, Kathy Mattea และอีกมากมายหลายวง ล้วนแต่ผ่านการเจ็บคอจากสาเหตุแบบนี้มาแล้วทั้งสิ้น

 

ปรับตัวในการใช้งาน
   การใช้งาน IME เป็นครั้งแรกต้องอาศัยการปรับตัวเสียก่อน เพราะว่าความรู้สึกที่ได้ยินจะต่างออกไปจากการฟังเสียงจากลำโพงมอนิเตอร์ที่คุ้นเคยกัน อย่างน้อยก็ต้องใช้เวลาคุ้นเคยซักพักใหญ่ๆ ใจเย็นๆกับมัน เพราะการฟังเสียงโดยการฟังจากหูฟังโดยตรงจะให้ธรรมชาติเสียงที่แปลกออกไป แต่สิ่งที่ได้กลับมาก็คือความคมชัดเจนอย่างสูงของเสียง และเมื่อสรวมและใช้งานซักพักจนชินแล้วก็จะพบว่าสะดวกและสนุกกับการใช้งานกับมันเป็นอย่างยิ่ง

 

ข้อควรระวัง
   การใช้ระบบ IME ให้ได้ผลดีที่สุดก็ยังต้องควบคุมค่าความดังบนเวทีในจุดอื่นๆอย่างเหมาะสมอยู่ดี ไม่ใช่พอใช้งานระบบ IME แล้วเสียงบนเวทีก็ยังคงดังสนั่นอยู่ดี แบบนี้ก็ต้องเพิ่มเกนความดังให้กับระบบ IME ของผู้ใช้งาน ผลก็คือ เสียงหอนก็สามารถเกิดขึ้นได้แต่ก็ดังอยู่ในหูฟังนั่นเอง รวมถึงเสียงแตกที่จะเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย ซึ่งหากผู้ที่ใช้งานระบบนี้อยู่แล้วเกิดปัญหาในลักษณะนี้ พยายามตรวจเช็คค่าความดังของแต่ละคนบนเวทีว่าดังเกินพิกัดหรือยังในความเป็นจริงแล้วบนเวทีหากเป็นดนตรีแบบpopทั่วๆไป ค่าความดังควรอยู่ประมาณ80-100dB หากวัดได้ที่ประมาณ 100-120dB โอกาสเกิดเสียงหอน รวมถึงการฟังแบบไม่รู้เรื่องบนเวทีที่เรียกว่า เสียงแซดไปหมด ก็จะเป็นปัญหาสูงมาก พยายามควบคุมค่าความดังเอาไว้ด้วยการพูดคุยกับนักดนตรีจะดีที่สุด เพราะทุกๆคนต้องช่วยกัน ไม่ใช่นักดนตรีคิดอย่างเดียวว่าผมมีหน้าที่เล่นแบบที่ผมต้องการ ต้องดังขนาดนี้เท่านั้น ความคิดในลักษะนี้ทำให้การทำระบบเสียงเป็นเรื่องยากมากขึ้น แทนที่จะได้คุณภาพเสียงที่ดีทั้งระบบทั้งนักดนตรีเอง คนทำเสียง คนฟัง กลับเป็นการก่อปัญหาและวางระเบิดเวลาฆ่าตัวเองโดยไม่รู้ตัว เพราะธรรมชาติของเสียงไม่สามารถฝืนมันได้แต่สามารถแก้ปัญหาได้ หากร่วมใจกันทำงานและยอมรับในสิ่งที่ต้องทำ

 

การปรับแต่งและมิกซ์เสียงให้ IME

   การปรับแต่งเสียงเพื่อป้อนเข้าสู่ระบบ IME ก็ถือเป็นศิลปะการทำงานอีกแบบหนึ่งเพราะต้องควบคุมระดับความดังของเสียงอย่างเคร่งครัด เนื่องจากต้องป้องกันการเกิดเสียงแตกพร่าเพี๊ยนที่เกิดขึ้นได้ง่าย เพราะหูฟังมีตัวเปลี่ยนเสียงที่ทำหน้าที่เสมือนลำโพงขนาดเล็ก ดังนั้นโอกาสเสียงแตกก็เกิดขึ้นได้ง่ายกว่าลำโพงมอนิเตอร์แบบพื้นฐานทั่วๆไป ต้องระมัดระวังอย่างมาก

    ในส่วนคุณภาพเสียงนั้นเป็นเรื่องสำคัญต่อระบบการฟังของผู้ใช้งาน พยายามปรับแต่งสัญญาณที่เข้ามาให้อยู่ในระดับความดังที่ไม่ก่อให้เกิดอาการ oveload อย่างเคร่งครัด ความพยายามตรงนี้ส่งผลต่อความคมชัดเจนของเสียงทั้งระบบใน IME ทำให้ได้ยินรายละเอียดชัดเจน ส่วนใหญาหากเกิดเสียงแตกพร่าเพี๊ยนจะทำให้ผู้ใช้งานระบบ IME ไม่ได้ยินเสียงต่างๆชัดเจนเลยและจะจบลงด้วยการถอดหูออกไป ซึ่งก็ถือว่าเป็นการทำงานที่เกิดความผิดพลาดอย่างน่าเสียดาย

   ส่วนใหญ่แล้วการทำระบบเสียงให้ได้เสียงที่ดีและชัดเจนในระบบ IME เป็นเรื่องไม่ยากเลย อย่างที่กล่าวย้ำมาก็คือ ในเรื่องของการระมัดระวังเสียงแตกเป็นอันดับแรก การควบคุมค่าความดังที่ส่งให้กับนักดนตรีหรือผู้ที่ใช้งานอยู่ ต้องทดสอบเบื้องต้นด้วยว่าที่ค่าเท่าใดถึงจะเหมาะสมที่สุดกับสภาพแวดล้อมเสียงบนเวที ทางที่ดีในขณะซ้อมจะเป็นช่วงเวลาที่สามารถทดสอบและตั้งค่าได้

   ความสำคัญในการกำหนดค่าความดังที่ส่งให้กับผู้ใช้งานต้องเคร่งครัดว่าอยู่ประมาณที่เท่าไหร่ เพราะในขณะใช้งานจริง ผู้ใช้งานไม่ได้ยินเสียงที่ชัดเจนอาจมาจากที่วงเล่นดังกว่าตอนซ้อม หากเราเร่งเกินกว่าค่าที่เรากำหนดเอาไว้ในขณะซ้อมผลก็คือเสียงแตกพร่าตามมาอยู่ดี ดังนั้นยังไงก็ไม่สามารถเพิ่มค่าความดังได้อยู่ดี แต่เชื่อว่าปัญหาเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งนักหากทุกๆคนเข้าใจเรื่องของความดังเสียงบนเวที (นักดนตรีบ้านเราหลายๆคนยังขาดวินัยและไม่เข้าใจเรื่องตรงนี้อีกมาก)

   ดังนั้นการแก้ปัญหาเรื่องนี้สามารถแก้ได้ด้วยการใช้อีคิวเข้ามาช่วยในการส่งเข้าสู่ระบบ IME อีกทอดหนึ่งเพื่อช่วยเสริมย่านความถี่ที่ขาดหายไปในขณะรับฟังและตัดย่านความถี่ที่ไม่ต้องการออกไปในขณะใช้งาน แต่ทั้งหมดนี้ก็ต้องระวังเรื่องของอาการ oveload อยู่เสมอ

 

เทคนิคการมิกซ์
   การมิกซ์ระบบเสียงในหูฟังนั้นไม่ใช่เรื่องยากเย็นแต่อย่างไร สำหรับมอนิเตอร์เอ็นจิเนียร์แล้วสามารถทดสอบระเสียง IME ด้วยตัวเองได้โดยไม่จำเป็นต้องรอวงดนตรีมาทดสอบแต่อย่างไร ด้วยการทดสอบปล่อยสัญญาณต่างๆเข้ามาตามที่นักดนตรีต้องใช้งานจริงๆและให้ปรับมิกซ์เสียงไปได้เลย เนื่องจากระบบการฟังแบบ IME เป็นการทำงานเหมือนระบบมอนิเตอร์ในสตูดิโอที่สามารถปรับระดับเสียงรอไว้ก่อนได้เลย

   การตรวจสอบและมิกซ์เสียงเบื้องต้นแบบนี้ถือเป็นเรื่องที่ควรทำไม่ต่างจากการเตรียมตัวเช็คระบบเสียงกับมอนิเตอร์พื้นฐานทั่วๆไปแต่อย่างไร แนวทางการมิกซ์เสียงนั้นก็มีหลากหลายแนวทาง ส่วนมากขึ้นอยู่กับแนวเพลงของวงดนตรีที่เล่นเป็นตัวกำหนดหลัก การเตรียมตัวตั้งมิกซ์ไว้ก่อนเบื้องต้นช่วยให้การทำงานจริงเมื่อวงมาเร็วขึ้น เพราะมอนิเตอร์เอ็นจิเนียร์ทำหน้าที่เพิ่มหรือลด หรือปรับอีคิวให้เข้ากับรสชาติการฟังของตัวนักดนตรีเท่านั้น งานก็จะจบเร็วขึ้นและปัญหาน้อยลงมากกว่าการมาปรับในขณะวงขึ้นเล่นเลย แบบนี้ยังไงก็ต้องมีปัญหาอย่างแน่นอน

   การปรับbalancingของเสียงเครื่องดนตรีสำหรับระบบ IME ค่อนข้างจะยุ่งกว่าระบบมอนิเตอร์พื้นฐาน ตรงที่ต้องคอยปรับเปลี่ยนน้ำหนักเสียงของเครื่องดนตรีตามเพลงอยู่บ่อยครั้ง สาเหตุที่เป็นเข่นนี้ก็เพราะว่าเสียงที่ได้ยินในระบบหูฟังมีความชัดเจน รายละเอียดสูง ดังนั้นหากเสียงเครื่องดนตรีชิ้นใดดังมากเกินไปในบางเพลงก็ต้องลดลงมาเพื่อให้เกิดความสมดุลเสียงของการฟังของผู้ใช้งาน

 

สเตอริโอ หรือ โมโน
   สำหรับระบบ IME ควรทำงานในระบบสเตอริโอจะดีที่สุด ซึ่งก็หมายความว่าผู้ใช้งานระบบ IME ก็ต้องสรวมหูฟังทั้งสองข้างด้วยถึงจะถูกต้องที่สุด การส่งในระบบสเตอริโอจะช่วยให้ได้ระดับเสียงความดังที่ดีขึ้นโดยไม่ต้องเร่งความดังมากเท่ากับแบบโมโน ข้อดีอีกอย่างหนึ่งก็คือ การแพนเสียงเครื่องดนตรีไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อเน้นเสียงดังเบาและมิติเสียงในขณะเดียวกันอีกด้วย ทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกถึงมิติเสียงแบบสเตอริโอบนเวทีอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน สามารถสร้างอารมณ์ในขณะร้องเพลงได้ดีขึ้นอีกด้วย ในขณะส่งสัญญาณเป็นแบบสเตอริโอเรายังสามารถผสมเสียงรีเวิร์บตามไปด้วย ยิ่งจะให้ความรู้สึกในขณะร้องมีมิติที่น่าสนใจร้องสนุกมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งก็เปรียบเสมือนการฟังเพลงจากแผ่นซีดีนั่นเอง

   แบบโมโนก็สามารถใช้งานได้ด้วยเช่นกัน กรณีนี้เหมาะสำหรับการใช้งานหูฟังเพียงข้างเดียวเท่านั้น การส่งในระบบโมโนดูจะเหมาะสมมากกว่าระบบสเตอริโอ เมื่อการฟังด้วยหูเพียงข้างเดียวการทำระบบโมโนก็เพียงแค่แพนเสียงทุกอย่างไว้ตรงกลางเท่านั้น

 

การป้องกันระบบการฟัง
   ระบบ IME ถือเป็นระบบที่ดีของมอนิเตอร์ยุคใหม่ผู้ที่ใช้งานจะเข้าใจดีว่าพวกเขาสามารถได้ในสิ่งที่ต้องการมากน้อยเพียงไร แต่สิ่งที่ดีก็มีสิ่งที่อันตรายแฝงอยู่ด้วยนั่นก็คือ ระบบหูฟังนี้อยู่ใกล้กับแก้วหูของผู้ใช้งาน ดังนั้นโอกาสที่จะทำให้แก้วหูเสียก็มีมากหากใช้งานอย่างไม่ระมัดระวังและรู้เท่าถึงการณ์จริงๆ

   การใช้งานระบบ IME ที่ถูกต้องจำเป็นต้องต่อพ่วง LIMITER ไว้เสมอ ซึ่งการต่อพ่วงนี้ limiter ทำหน้าที่เสมือนกำแพงกันเสียงที่ดังเกินกว่าค่าที่กำหนดเอาไว้ไม่ให้ทะลุผ่านออกไปได้ ตรงนี้ช่วยป้องกันการเกิดเสียงดังแบบทันทีทันใดที่ส่งผลต่อแก้วหูชาได้ limiter จึงมีความสำคัญต่อระบบป้องกันเป็นอย่างยิ่งและในขณะเดียวกันก็ยังช่วยให้มอนิเตอร์เอ็นจิเนียร์สามารถควบคุมค่าความดังสูงสุดของระบบได้อีกชั้นหนึ่ง ทำให้ผู้ใช้งานหูไม่เสียและระบบก็ไม่เกิดเสียงแตกตามมาอีกด้วย

   Limiter จึงเป็นเครื่องมืออีกชิ้นหนึ่งที่ต้องใช้งานควบคู่ไปกับระบบ IME อยู่ตลอดเวลา
ขอบคุณอาจารย์โยธิน ฤทธิพงศ์ชูสิทธิ์ เป็นอย่างสูงที่เอื้อเฟื้อข้อมูล  ขอบคุณแหล่งภาพทุกแหล่ง  ขอบคุณเพื่อนๆ  พี่น้องทุกคนที่ให้คำปรึกษา
หัวข้อ: Re: หูฟังมอนิเตอร์
เริ่มหัวข้อโดย: Nokvrm ที่ มีนาคม 25, 2011, 11:35:59 am
ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆที่มอบให้ครับ
หัวข้อ: Re: หูฟังมอนิเตอร์
เริ่มหัวข้อโดย: weerasuk49 ที่ มีนาคม 26, 2011, 02:17:08 pm
สุดยอดครับ
หัวข้อ: Re: หูฟังมอนิเตอร์
เริ่มหัวข้อโดย: อานุ หนองบัวฯ ที่ มีนาคม 28, 2011, 10:19:57 am
รบกวนอาจารย์ ช่วยแนะนำ
หูฟัง ที่ดีที่สุดของราคาไม่เกิน 5000 บาท หน่อยครับ

พอดีผม กำลังศึกษา การทำซาวด์ ผ่าน หูมอนิเตอร์อยู่ครับ
เพิ่งเริ่มต้น เลยไม่อยากซื้อของแพง
ขอบพระคุณครับ..
หัวข้อ: Re: หูฟังมอนิเตอร์
เริ่มหัวข้อโดย: ฅนไทย มิวสิค ที่ มีนาคม 28, 2011, 01:38:01 pm
รบกวนอาจารย์ ช่วยแนะนำ
หูฟัง ที่ดีที่สุดของราคาไม่เกิน 5000 บาท หน่อยครับ

พอดีผม กำลังศึกษา การทำซาวด์ ผ่าน หูมอนิเตอร์อยู่ครับ
เพิ่งเริ่มต้น เลยไม่อยากซื้อของแพง
ขอบพระคุณครับ..

(http://tiggersound2.com/upload/imagesMember/2011/03/28/48801_1301293753.jpg)
หูฟัง Sony ZX-700

ปกติ 4,190.00 บาท   
ราคาพิเศษ 3,990.00 บาท
ประหยัด 200.00 บาท
รายละเอียด:
แนวเสียง : เสียงกลางชัด หวาน กลางแหลมเป็นประกาย เบสนุ่มลึกไม่เบลอ  เสตจกว้าง รายละเอียดต่างๆแยกแยกได้ดี
ประเภท : เป็นหูฟัง Fullsize จากค่าย Sony ประกัน 1 ปีจาก Sony
สรุป : Fullsize ใช้งานเป็น Moniter ได้ จากค่าย sony รายละเอียดชัด หวาน ฟังสบายๆ
ความคุ้มค่า :  ★★★★★★★★★ ระดับ 9 ดาว
หัวข้อ: Re: หูฟังมอนิเตอร์
เริ่มหัวข้อโดย: nons ที่ มีนาคม 28, 2011, 08:03:02 pm
ของผมไม่เกิน 8500 บาท

พอจะมีป่าวครับ
หัวข้อ: Re: หูฟังมอนิเตอร์
เริ่มหัวข้อโดย: ฅนไทย มิวสิค ที่ มีนาคม 28, 2011, 10:39:09 pm
(http://tiggersound2.com/upload/imagesMember/2011/03/28/48801_1301326235.jpg)
หูฟัง Sennheiser HD598 (พระกาฬเยอรมัน)

ราคา 7,990.00 บาท
รายละเอียด:
แนวเสียง : เด่นเสียงกลาง แหลมไม่บาดหู เบสลงลึกและนุ่ม ฐานเบสให้ชัดเจน เสตจกว้างขวาง
ประเภท : เป็นหูฟัง Fullsize จากค่าย Sennheiser ประกันศูนย์ไทย EPS 2 ปี
สรุป : Full Size ที่จำลองเสียงระดับ Hi-End แต่มาในราคา Mid-End
ความคุ้มค่า :  ★★★★★★★★★ ระดับ 9 ดาว
หัวข้อ: Re: หูฟังมอนิเตอร์
เริ่มหัวข้อโดย: jgn ที่ มีนาคม 28, 2011, 11:00:26 pm
อ.โยธิน ฤทธิพงศ์ชูสิทธิ์
อาจารย์ โยธิน  ฤทธิพงศ์ชูสิทธิ์
จบการ ศึกษาสาขา sound engineer
จาก Victoria Audio Education Center
กรุง Melbourne Australia เมื่อปีค.ศ.1983
Normal 0 false false false EN-US X-NONE TH MicrosoftInternetExplorer4 
ได้ผ่านการทำงาน studio/live soundที่ออสเตรเลีย
กลับมาทำงานที่เมืองไทยมานานกว่า20ปี
http://www.totalsoundmag.com/totalsound/index.php?option=com_content&view=article&id=222:2010-07-09-14-06-01&catid=15:2010&Itemid=19
--------------
หน้าหลัก
http://www.totalsoundmag.com/totalsound/
หัวข้อ: Re: หูฟังมอนิเตอร์
เริ่มหัวข้อโดย: ฅนไทย มิวสิค ที่ มีนาคม 28, 2011, 11:20:43 pm
อ.โยธิน ฤทธิพงศ์ชูสิทธิ์
อาจารย์ โยธิน  ฤทธิพงศ์ชูสิทธิ์
จบการ ศึกษาสาขา sound engineer
จาก Victoria Audio Education Center
กรุง Melbourne Australia เมื่อปีค.ศ.1983
Normal 0 false false false EN-US X-NONE TH MicrosoftInternetExplorer4 
ได้ผ่านการทำงาน studio/live soundที่ออสเตรเลีย
กลับมาทำงานที่เมืองไทยมานานกว่า20ปี
http://www.totalsoundmag.com/totalsound/index.php?option=com_content&view=article&id=222:2010-07-09-14-06-01&catid=15:2010&Itemid=19
--------------
หน้าหลัก
http://www.totalsoundmag.com/totalsound/

ขอบคุณครับอาจารย์ที่เอื้อเฟื้อข้อมูลให้กับเพื่อนสมาชิกครับ
หัวข้อ: Re: หูฟังมอนิเตอร์
เริ่มหัวข้อโดย: ฅนไทย มิวสิค ที่ มีนาคม 28, 2011, 11:25:23 pm
(http://tiggersound2.com/upload/imagesMember/2011/03/28/48801_1301329024.jpg)
หูฟัง Shure SRH840 (พระกาฬร้องชัวร์)

ราคา 7,490.00 บาท
รายละเอียด:
แนวเสียง : เด่นที่รายละเอียดของชิ้นดนตรี ไม่มีการซ้อนทับ เสียงกลางอิ่มหนา ปลายแหลมไปได้ไกล เบสไม่มีอาการฟุ้ง
ประเภท : เป็นหูฟัง Fullsize จากค่าย Shure ประกันศูนย์ไทย 1 ปี
สรุป : สุดยอดของหูฟังที่ใช้งานใน Studio
ความคุ้มค่า :  ★★★★★★★★★ ระดับ 9 ดาว
หัวข้อ: Re: หูฟังมอนิเตอร์
เริ่มหัวข้อโดย: ฅนไทย มิวสิค ที่ มีนาคม 28, 2011, 11:41:53 pm
(http://tiggersound2.com/upload/imagesMember/2011/03/28/48801_1301330014.jpg)
หูฟัง audio-technica ATH A-900

ราคา 7,900.00 บาท
รายละเอียด:
สินค้ายอดนิยมจากญี่ปุ่นครับ
หัวข้อ: Re: หูฟังมอนิเตอร์
เริ่มหัวข้อโดย: ฅนไทย มิวสิค ที่ มีนาคม 28, 2011, 11:53:10 pm
(http://tiggersound2.com/upload/imagesMember/2011/03/28/48801_1301330679.jpg)
หูฟัง AKG K-540

ราคา 4,590.00 บาท
รายละเอียด:
แนวเสียง : เสียงกลางถอยหลังเล็กน้อย กลางแหลมไม่จัดจ้าน ปลายแหลมละเอียดไม่เสียดหู เสตจกว้างขวาง เบสนุ่มลึก
ประเภท : เป็นหูฟัง Fullsize จากค่าย AKG ประกัน 2 ปีจากศูนย์ไทย
สรุป : เป็นหูฟังรุ่นใหม่จาก AKG สามารถใช้งานใน Studio ได้หรือจะใช้ฟังเพลงธรรมดาก็ได้ เบสนุ่มลึก
ความคุ้มค่า :  ★★★★★★★★★ ระดับ 9 ดาว

หัวข้อ: Re: หูฟังมอนิเตอร์
เริ่มหัวข้อโดย: ฅนไทย มิวสิค ที่ มีนาคม 28, 2011, 11:55:55 pm
(http://tiggersound2.com/upload/imagesMember/2011/03/28/48801_1301330823.jpg)
หูฟัง AKG K-520

ราคา 3,590.00 บาท
รายละเอียด:
แนวเสียง : เสียงกลางพุ่งออกมาเล็กน้อย กลางแหลมไม่จัดจ้าน ปลายแหลมละเอียดไม่เสียดหู  เบสนุ่มลึก
ประเภท : เป็นหูฟัง Fullsize จากค่าย AKG ประกัน 2 ปีจากศูนย์ไทย
สรุป : เป็นหูฟังรุ่นใหม่จาก AKG สามารถใช้งานใน Studio ได้หรือจะใช้ฟังเพลงธรรมดาก็ได้โดยไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด 
ความคุ้มค่า :  ★★★★★★★★★ ระดับ 9 ดาว
หัวข้อ: Re: หูฟังมอนิเตอร์
เริ่มหัวข้อโดย: ฅนไทย มิวสิค ที่ มีนาคม 29, 2011, 12:04:48 am
(http://tiggersound2.com/upload/imagesMember/2011/03/28/48801_1301331379.jpg)
หูฟัง Shure SRH440 (พระกาฬร้องชัวร์)

ราคา 3,790.00 บาท
รายละเอียด:
แนวเสียง : เสียงคล้าย SRH 240 แต่จะมีรายละเอียดที่มากกว่า เน้นความจริงจังของเสียงขึ้นไปอีกขั้น ปลายแหลมไม่ฟุ้ง เบสชัด เสียงกลางเคลียร์ใส
ประเภท : เป็นหูฟัง Fullsize จากค่าย Shure ประกันศูนย์ไทย 1 ปี
สรุป : สำหรับท่านที่ต้องการฟังการบันทึกเสียงที่ดี ไม่เน้นการปรุงแต่งเสียง หรือไว้ใช้ Monitor เพลง นี่คืออีก 1 ความคุ้มค่า
ความคุ้มค่า :  ★★★★★★★★★ ระดับ 9 ดาว
หัวข้อ: Re: หูฟังมอนิเตอร์
เริ่มหัวข้อโดย: ฅนไทย มิวสิค ที่ มีนาคม 29, 2011, 12:07:24 am
(http://tiggersound2.com/upload/imagesMember/2011/03/28/48801_1301331538.jpg)
หูฟัง Grado SR80i

ราคา 4,050.00 บาท
รายละเอียด:
แนวเสียง : ให้มิติที่กว้างกว่าตัว SR80 เดิมๆ เสียงกลางทำได้ค่อนข้างอิ่มขึ้น แหลมไม่บาดหู เบสลงได้กระชับ
ประเภท : เป็นหูฟัง Fullsize จากค่าย Grado ประกันศูนย์ไทย 1 ปี
สรุป : เป็นหูฟังที่ฟังได้ Overall อีก 1 ตัว เหมาะสำหรับเพลงที่เน้นเครื่องดนตรีไม่เยอะ เรียกว่าฟังได้สนุกสนานได้เป็นเวลานานแต่ไม่ล้าหู
ความคุ้มค่า :  ★★★★★★★★★★ ระดับ 10 ดาว

หัวข้อ: Re: หูฟังมอนิเตอร์
เริ่มหัวข้อโดย: ฅนไทย มิวสิค ที่ มีนาคม 29, 2011, 12:37:10 am
ทั้งหมดนี้เอามาให้สมาชิกได้ดูกันเล่นๆ   ผมไม่มีเอี่ยวครับไปเจอข้อมูลก็เอามาแนะนำกันครับ  สนใจร่นไหนเชิญทัศนาได้ครับ  วันหลังเจออีกค่อยเอามาฝากครับ
หัวข้อ: Re: หูฟังมอนิเตอร์
เริ่มหัวข้อโดย: chaiproject ที่ เมษายน 07, 2011, 12:58:33 pm
ขอบคุณครับ  kisss
หัวข้อ: Re: หูฟังมอนิเตอร์
เริ่มหัวข้อโดย: mymac101 ที่ เมษายน 07, 2011, 02:08:13 pm
ขอบคุณครับ
หัวข้อ: Re: หูฟังมอนิเตอร์
เริ่มหัวข้อโดย: GAMESHOW ที่ เมษายน 08, 2011, 09:54:25 pm
ถามสักหิด ว่าตัวนี้หาซื้อที่ไหนได้หลาว  browหูฟัง Shure SRH440 (พระกาฬร้องชัวร์) brow
แค่บ้านตนน้ำท่วมหมายครับ บ้านผมปาส์มอยู่ในคลองแค่ร้อย ได้แรงน้ำปีนี้
หัวข้อ: Re: หูฟังมอนิเตอร์
เริ่มหัวข้อโดย: ฅนไทย มิวสิค ที่ เมษายน 08, 2011, 10:21:24 pm
ให้พิมพ์คำว่า  จำหน่าย  หรือขายหูฟัง Shure SRH440 ลงใน google แหล่งที่จำหน่ายก็จะมีให้ท่านเลือกอยากมากมายครับ
หัวข้อ: Re: หูฟังมอนิเตอร์
เริ่มหัวข้อโดย: ฅนไทย มิวสิค ที่ เมษายน 08, 2011, 10:39:57 pm
ถามสักหิด ว่าตัวนี้หาซื้อที่ไหนได้หลาว  browหูฟัง Shure SRH440 (พระกาฬร้องชัวร์) brow
แค่บ้านตนน้ำท่วมหมายครับ บ้านผมปาส์มอยู่ในคลองแค่ร้อย ได้แรงน้ำปีนี้
บ้านผมน้ำท่วมแค่ท้องเป็ดครับ  ท่วมนิดเดียวเอง  ตอนนี้ก็ยังจมอยู่หลายที่ครับ  ดีใจด้วยนะครับที่บ้านน้ำท่วมเหมือนกัน  ยุคนี้บ้านใครน้ำไม่ท่วมถือว่า OUT  ตกเทรนครับ  อยากจะ IN  ก็ภาวนาให้น้ำท่วมบ้าน  จะได้มีเรื่องเล่าเช้านี้มาตั้งโต๊ะ  อ่านข่าวหน้าบ้าน