Tigger Sound

ห้องสมุด คลังความรู้ต่างๆ ในแวดวงเครื่องเสียง
=> ห้องสมุด ทิกเกอร์ซาวด์ เครื่องเสียง ตู้ลำโพง ระบบเสียง แสงสี และอุปกรณ์อื่นๆ => ข้อความที่เริ่มโดย: bagtong ที่ มกราคม 17, 2013, 03:57:29 pm

หัวข้อ: คุยกันเล่นๆนะครับ เรื่องมันมีอยู่ว่า......"เสียง เป็น คลื่นชนิดหนึ่ง"
เริ่มหัวข้อโดย: bagtong ที่ มกราคม 17, 2013, 03:57:29 pm
จะมาต่อเรื่อยๆนะครับ ตามแต่เวลาเอื้ออำนวย ..... ขอขอบคุณคุณครูทุกๆท่าน(ใครที่ให้ความรู้ ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้ผม ผมนับถือว่าเป็นครูหมดนะครับ)..........

ในเมื่อเสียงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งนั้น อันดับแรกที่เราควรทราบคือคลื่นคืออะไรนะครับ....ผมขอกล่าวแค่คลื่นเสียงนะครับ ไม่งั้นยาวววววววว........ แหะๆ คลื่นเป็นปรากฎการณ์ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่รูปแบบหนึ่ง โดยหากแบ่งตามการอาศัยตัวกลาง เสียงถือว่าเป็นคลื่นกล(Mechanical wave) ซึ่งตัวกลางอาจเป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซก็ได้ หากแบ่งตามทิศทางการเคลื่อนที่ เสียงเป็นคลื่นตามยาว (Longitudinal wave) เป็นคลื่นที่อนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ไปมาในแนวเดียวกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น

ส่วนประกอบของคลื่น

สันคลื่น (Crest)   เป็นตำแหน่งสูงสุดของคลื่น หรือเป็นตำแหน่งที่มีการกระจัดสูงสุดในทางบวก

ท้องคลื่น (Crest)   เป็นตำแหน่งต่ำสุดของคลื่น หรือเป็นตำแหน่งที่มีการกระจัดสูงสุดในทางลบ

แอมพลิจูด (Amplitude)   เป็นระยะการกระจัดมากสุด ทั้งค่าบวกและค่าลบ

ความยาวคลื่น (wavelength)   เป็นความยาวของคลื่นหนึ่งลูกมีค่าเท่ากับระยะระหว่างสันคลื่นหรือท้องคลื่นที่อยู่ถัดกัน ความยาวคลื่นแทนด้วยสัญลักษณ์  มีหน่วยเป็นเมตร (m)

ความถี่ (frequency)   หมายถึง จำนวนลูกคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านตำแหน่งใด ๆ ในหนึ่งหน่วยเวลา แทนด้วยสัญลักษณ์  มีหน่วยเป็นรอบต่อวินาที (s-1) หรือ เฮิรตซ์ (Hz)

คาบ (period)   หมายถึง ช่วงเวลาที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่านตำแหน่งใด ๆ ครบหนึ่งลูกคลื่น แทนด้วยสัญลักษณ์  มีหน่วยเป็นวินาทีต่อรอบ (s)

อัตราเร็วของคลื่น (wave speed)   หาได้จากผลคูณระหว่างความยาวคลื่นและความถี่

........เดี๋ยวมาต่อนะครับ มีอะไรก็เอามาแชร์กันนะครับ เพื่อให้เกิดการพัฒนาไปในทิศทางที่ถูกต้องพร้อมๆกัน ขอขอบคุณข้อมูลจากกระทรวงศึกษาธิการ, ในหนังสือเรียนวิชาฟิสิกส์ หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายครับ
 
หัวข้อ: Re: คุยกันเล่นๆนะครับ เรื่องมันมีอยู่ว่า......"เสียง เป็น คลื่นชนิดหนึ่ง"
เริ่มหัวข้อโดย: bagtong ที่ มกราคม 17, 2013, 04:15:59 pm
ขอขอบคุณ GooGle ด้วยนะครับ สำหรับการค้นหาข้อมูลที่สะดวกมากยิ่งขึ้น ค้นอย่างอื่นได้มากกว่า "เหนือเมฆ ๒" หรือ "แรงเงา" หรือ "แอบถ่าย..." และอีกมากมายยยยยยย...........ฮ่าๆๆๆ มาดูภาพประกอบกันครับ

(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/01/17/232_1358414131.gif)
หัวข้อ: Re: คุยกันเล่นๆนะครับ เรื่องมันมีอยู่ว่า......"เสียง เป็น คลื่นชนิดหนึ่ง"
เริ่มหัวข้อโดย: bagtong ที่ มกราคม 21, 2013, 11:22:12 am
มาต่อกันนะครับ คลื่นทุกชนิดต้องมีคุณสมบัติ 4 อย่างนะครับ

๑. การสะท้อน (reflection)   เกิดจากคลื่นเคลื่อนที่ไปกระทบสิ่งกีดขวาง แล้วเปลี่ยนทิศทางกลับสู่ตัวกลางเดิม

๒. การหักเห (refraction)   เกิดจากคลื่นเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่ต่างกัน แล้วทำให้อัตราเร็วเปลี่ยนไป

๓. การเลี้ยวเบน (diffraction)   เกิดจากคลื่นเคลื่อนที่ไปพบสิ่งกีดขวาง ทำให้คลื่นส่วนหนึ่งอ้อมบริเวณของสิ่งกีดขวางแผ่ไปทางด้านหลังของสิ่งกีดขวางนั้น

๔. การแทรกสอด (interference)   เกิดจากคลื่นสองขบวนที่เหมือนกันทุกประการเคลื่อนที่มาพบกัน แล้วเกิดการซ้อนทับกัน ถ้าเป็นคลื่นแสงจะเห็นแถบมืดและแถบสว่างสลับกัน ส่วนคลื่นเสียงจะได้ยินเสียงดังเสียงค่อยสลับกัน

จากคุณสมบัติทั้ง ๔ นี้นั้น ในการออกแบบการติดตั้ง วางแผนการทำงาน ควรอย่างยิ่งที่จะต้องนำมาประกอบการพิจารณาครับ

ยกตัวอย่างที่ผมประสบกับตัวเองนะครับ เรื่องมีอยู่ว่าผมทำงานค่อนข้างจะใหญ่งานหนึ่ง ในพื้นที่ภาคอิสานตอนบน เป็นงานแต่งงานของบุตรคหบดีในจังหวัดนั้น อลังการมากๆ ปูพรมแดงผ่านสนามกีฬาตามแนวกึ่งกลางเลยครับ

ปลายพรมที่หน้าเวทีมีโต๊ะบุคคลระดับสำคัญที่มาเป็นสักขีพยานครับ(ซึ่งมีอายุมากด้วย) ผมถูกคำสั่งให้หลบมุมออกไปจากแนวเส้นกลางพอสมควร ด้วยความที่คู่บ่าว-สาวเป็นผู้ชื่นชอบชีวิตค่ำคืน บรรยากาศของงานเลยมีวงดนตรีจากผับชื่อดังมาเล่นในงานแบบเอามันส์เข้าว่า

ตำแหน่งที่ผมอยู่คือจุดที่ย่านความถี่ต่ำมีการแทรกสอดแบบหักล้างครับ ... ฮาเลยครับ ทำในหูฟังคร่าวๆ ใช้ได้ในระดับหนึ่ง มองดูคนหนุ่มคนสาวก็เต้นกันไป คนสูงวัยนั่งดมยาหอมครับ ถอดถูฟังออก งงครับ ทำไมกระเดื่องกับกีตาร์เบสเสียงมันไม่มีเนื้ออย่างนี้ แถมยังเบาด้วย เลยจัดให้ครับ เพิ่มความดังอีกนิดนึงซะงั้นครับ....ฮาเลย

จากนั้นพี่ชายเจ้าบ่าววิ่งตาเหลือกมาบอกว่า "พี่ๆพ่อผมหอบรับประทานแล้ว โต๊ะ VIP ถึงขั้นแก้วไวน์ล้มเลย เสียงหนักมากไปแล้วพี่" ผมถึงนึกได้ว่าเอาแล้วสิ อยู่จะบอดซะงั้น

จากนั้นผมจึงทำในหูฟังเป็นหลักสำหรับงานนั้น เพราะว่าบางทีถึงเราจะตั้ง FOH อยู่หน้าเวที มันก็ไม่ได้หมายความว่าเราตั้งอยู่ในจุดที่ควรตั้งเสมอ เรื่องนี้เป็นไปตามคุณสมบัติของคลื่นเพียงบางข้อเท่านั้นครับ ยังมีเรื่องสนุกอีกมากมายครับ.....

นี่คือภาพประกอบเรื่องการแทรกสอดนะครับ เปิดใจแล้วจะเข้าใจครับว่า หากมีแหล่งกำเนิดเสียงแบบเดียวกันตั้งแต่สองแหล่งขึ้นไป เป็นไปไม่ได้เลยที่เสียงจะไม่มีจุดดัง จุดเบาหรือที่เรากล่าวกันว่าจุดบอดครับ......

(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/01/21/232_1358741016.jpg)

กำหนดให้.........จุดสีดำ คือ จุดที่เป็น ยอดคลื่น แทรกสอด ยอดคลื่น ผล คือ เสียงดังขึ้นครับ
                    จุดสีขาว คือ จุดที่เป็น ท้องคลื่น แทรกสอด ท้องคลื่น ผล คือ เสียงดังขึ้นครับ
                    จุดสีขาวกับดำ คือ  จุดที่เป็น ยอดคลื่น แทรกสอด ท้องคลื่น ผล คือ เสียงเบาลงครับ นี่ล่ะคือจุดบอด

แล้วการที่เราพูดกันว่ามันเฟสกันๆ ส่วนหนึ่งก็เรื่องนี้ล่ะครับ พอเห็นภาพมั๊ยครับ อธิบายมันย๊าว ยาวครับ ฮ่าๆๆๆ ดูอีกภาพประกอบกันนะครับ.........

(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/01/21/232_1358741761.jpg)

จากข้างต้นก็คงเข้าใจต่อไปได้ว่า ทำไมการปรับแต่ง EQ ถึงต้องดูเป็นงานๆไปครับ เพราะจุดที่ความถี่มันเสริมกันมันขึ้นอยู่กับระยะห่างของแหล่งกำเนิดด้วยนะครับ ว่ามันเป็นช่วงของความยาวคลื่นของความถี่ไหน.............


เห็นภาพมากขึ้นมั๊ยครับ อ้อ...มีอะไรก็แนะนำกันเข้ามานะครับ เพื่อให้เกิดการสื่อสารแบบสองทาง ร่วมเรียนรู้ไปพร้อมๆกันครับ เดี๋ยวมาต่ออีกครับ ยังมีอีกเยอะสำหรับพื้นฐานที่ควรทราบครับ

อ้อ....มาต่อๆอีกนิดนึง ส่วนมากการรับรู้สภาพเรื่องแทรกสอดนั้น ส่วนมากมักจะรับรู้ได้ชัดเจนที่ความถี่ต่ำ เพราะว่า ความถี่ต่ำเป็นความถี่ที่มีความยาวคลื่นยาวครับ ตั้งแต่ 100 Hz ลงไป มีความยาวคลื่นมากกว่า 3 เมตรครับ จุดดัง จุดเบาชัดเจนครับ อีกเหตุผลคือ พลังงานครับ ความยาวคลื่นมาก, ความถี่น้อย มีพลังงานสูงครับ สร้างความสั่นสะเทือนได้ดีเลยสัมผัสได้ชัดเจนจากการสั่นสะเทือนด้วย....... ขอบคุณที่เข้ามาอ่านครับ
หัวข้อ: Re: คุยกันเล่นๆนะครับ เรื่องมันมีอยู่ว่า.....
เริ่มหัวข้อโดย: bagtong ที่ มกราคม 22, 2013, 04:49:55 pm
จะว่าไปแล้วนะครับเรื่องของรบบเสียง น่าจะเป็นเรื่องของการจัดการพลังงานไฟฟ้า การจัดการคลื่นเสียง การจัดการเรื่องความบันเทิงไปพร้อมๆกัน

โดยนำเอาพื้นฐานความรู้ที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน

เช่นที่กล่าวมาข้างต้นแค่กล่าวพื้นฐานเื่องการแทรกสอด นิดเดียวเองนะครับ คุณสมบัติเรื่องแทรกสอดถูกนำมาใช้ในการออกแบบลำโพง การวางลำโพง การแก้ปัญหาอื่นๆอีกมากมาย ขอเพียงเข้าใจพื้นฐานจริงๆเสียก่อน ในประเด็นนี้ผมจะขอยกไว้แล้วกันครับ หากมีข้อสงสัยสามารถตั้งคำถามไว้ได้ หากผมไม่รู้ ก็จะเรียนรู้ไปด้วยกัน ผมจะแสวงหาคำตอบมาให้ ซึ่งผมก็จะได้รู้ไปพร้อมๆกับผู้อื่นด้วย

ทีนี้ก็จะขอพูดเรื่องการหักเหนะครับ ไม่ขอเข้าสู่การคำนวณนะครับแต่จะพูดคร่าวๆเท่านั้น ตามเรื่องตามราวแล้ว

การหักเห (refraction) เกิดจากคลื่นเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่ต่างกัน แล้วทำให้อัตราเร็วเปลี่ยนไป เอาที่เราต้องทราบเลยแล้วกันนะครับ คำว่าตัวกลางที่ต่างกันในการทำงานของเราก็พบเห็นได้คือ อุณหภูมิของอากาศครับ อากาศมีการแปรผันตรงกับความเร็วของเสียง ยิ่งร้อนเสียงยิ่งเดินทางเร็วครับ หากพื้นที่ทำงานมีความแปรปรวนของอุณหภูมิมาก เดี๋ยวมาต่อนะครับว่าเอามาใช้ประโยชน์อย่างไรครับ........