Tigger Sound

โชว์ชุดเครื่องเสียง เครื่องไฟและภาพงานต่างๆ
=> โชว์ ชุดเครื่องเสียง ระบบ PA ตู้ลำโพง เวที ไฟแสงสี และงานบันทึกเสียง => ข้อความที่เริ่มโดย: nitiwit ที่ ตุลาคม 26, 2013, 02:09:27 pm

หัวข้อ: ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดย นิติวิทย์ลำซี่ง
เริ่มหัวข้อโดย: nitiwit ที่ ตุลาคม 26, 2013, 02:09:27 pm
หลังจากที่ได้ตื่นเต้นกันไปพอสมควร กับเรื่องลิขสิทธิ์เพลง หรือ ดนตรีกรรม (ตามภาษากฎหมาย )...กระผมขออนุญาตนำเสนอข้อมูลอีกด้าน..ที่เหล่าสมาชิกควรจะรู้ หรือบางท่านรู้แล้วก็หากผิดพลาดตรงไหน ก็ช่วยกันแก้ไขครับ..ตาม พรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มีคำศัพท์ ที่ควรเข้าใจอยู่ ๒ คำที่เกี่ยวกับสมาชิกเราที่ชื่นชอบเครื่องเสียงและเสียงเพลง คือ
       ๑.ดนตรีกรรม หมายความว่า งานเกี่ยวกับเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อบรรเลงหรือขับร้อง ไม่ว่าจะมีทำนองและคำร้อง หรือมีทำนองอย่างเดียว และให้หมายความรวมถึงโน๊ตเพลงหรือแผนภูมิเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว
      ๒.เผยแพร่ต่อสาธารณชน หมายความว่า ทำให้ปรากฎต่อสาธารณชน โดยการแสดง การบรรยาย การสวด การบรรเลง การทำให้ปรากฎด้วยเสียงหรือภาพ การก่อสร้าง การจำหน่าย หรือโดยวิธีอื่นใดซึ่งงานที่ได้จัดทำขึ้น
(อ้างอิงจาก พรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๔ )

....ทีนี้เรามาดูว่า สมาชิกเราจะละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้ทำดังต่อไปนี้ กับงานที่มีลิขสิทธิ์ คือ
     ๑.ทำซ้ำหรือดัดแปลง
     ๒.เผยแพร่ต่อสาธารณชน (ตามความหมายข้างต้น)....
....แล้วมีอะไรบ้างที่เป็นข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์?...คำตอบคือมีครับ
     พรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๓๒ มีข้อยกเว้นว่า การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
       ๑.วิจัยหรือศึกษางานนั้น
       ๒.ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท
       ๓.ติชม วิจารณ์
       ๔.เสนอรายงานข่าว
       ๕.เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาคดี
       ๖.เพื่อประกอบการสอน
       ๗.จำหน่าย แจกจ่ายในสถานศึกษา โดยผู้สอน โดยไม่แสวงหากำไร
       ๘.ถามตอบในการสอบ
 .... ที่นำเสนอมาอย่างย่อๆนะครับ เพื่อความเข้าใจของสมาชิกทั่วไป แล้วขออนุญาตตอบคำถามที่อยู่ในใจของท่านสมาชิกหลายคนว่า แล้วใช้คาราโอเกะ ไม่ว่า NCN หรือ EXtream ร้องที่บ้าน แล้วเปิดดังๆ ให้แขกที่มาในงานบุญต่างๆที่บ้านท่าน หรือที่บ้านญาติสนิทท่านฟังและร้องมันจะละเมิดลิขสิทธิ์ไหม คงจะได้คำตอบแล้วนะครับเพราะมันเป็นข้อยเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ (คำว่าญาติสนิท คือ ผู้สืบสายเลือดร่วมบิดา มารดา เดียวกัน นับขึ้นไป ๓ ชั้นรุ่น และนับลงมา ๓ ชั้นรุ่น อันนี้ประมาณเอานะครับ แต่อย่างไรก็ตอบให้ได้ว่าเป็นญาติสนิทก็แล้วกัน.....
....หากมีโอกาสฉบับหน้า....จะมาเขียนว่า หากถูกกล่าวหาว่าละเมิดลิขสิทธิ์จะต้องตรวจสอบอะไรบ้าง ซึ่งเป็นสิทธิทางกฎหมายและรัฐธรรมนูญที่บัญญัติไว้  ตามหลักการหรือเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้มันคุ้มครองคนคิดหรือผู้สร้างสรรค์ ในโดยส่วนตัวแล้วผู้ประกอบการเครื่องเสียงเช่าหรือวงหมอลำซึ่งขนาดเล็กที่รับงานตามตำบล หมู่บ้าน ไม่น่าจะมีปัญหา จะมีก็แต่ขนาดกลางถึงใหญ่นี่แหละครับท่าน...ขอบคุณครับ.... 
หัวข้อ: Re: ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดย นิติวิทย์ลำซี่ง
เริ่มหัวข้อโดย: แป้มมิวสิค ที่ ตุลาคม 26, 2013, 06:59:02 pm
มาเก็บความรู้ครับ ไม่ทราบจริงๆว่ามีข้อยกเว้นด้วย
หัวข้อ: Re: ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดย นิติวิทย์ลำซี่ง
เริ่มหัวข้อโดย: somboon2012 ที่ ตุลาคม 26, 2013, 08:48:27 pm
เก็บข้อมูลครับ smiley4
หัวข้อ: Re: ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดย นิติวิทย์ลำซี่ง
เริ่มหัวข้อโดย: lovejarna01 ที่ ตุลาคม 26, 2013, 11:23:40 pm
อ่านข้อยกเว้นแล้วก็สบายใจครับ ใหม่นี้จะได้จัดเต็มที่หน่อยไม่ต้องคอยระแวงหน้าระแวงหลังครับ ขอบคุณข้อมูลดี ๆ ครับ
หัวข้อ: Re: ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดย นิติวิทย์ลำซี่ง
เริ่มหัวข้อโดย: nuttsou ที่ ตุลาคม 27, 2013, 09:48:42 am
ก็สบายจไปอีกระดับหนึ่ง
หัวข้อ: ปัญหาคาใจ เรื่องละเมิดลิขสิทธิ์เพลง(ดนตรีกรรม)
เริ่มหัวข้อโดย: nitiwit ที่ ตุลาคม 27, 2013, 11:34:26 am
      จากเมื่อวานนี้ได้ลงข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ มีท่านสมาชิกที่สนิทสนมกันโทรมาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมให้เขียนเล่าเรื่องอีก.....วันนี้จึงขอยกตัวอย่างบางมาตราของ พรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสมาชิกในเวปไซด์แห่งนี้ครับ....
       เริ่มกันเลยครับ....หลายท่านเป็นเจ้าของเครื่องให้เช่าเจ้าของวงดนตรี ที่ไม่ได้ใหญ่โตมากมาย หลายท่านทำเพราะใจรักเสียส่วนใหญ่ ส่วนตัวกระผมเองก็มีเครื่อเสียงกลางแจ้งอยู่ชุดหนึ่ง เอาไว้เปิดฟังเองที่บ้านและรับงานตัวเองเพราะคิดว่าเอามาใช้งานตัวเองน่าจะถูกใจ(ไปซะงั้น)
       ...เรื่องของเรื่องเป็นดังนี้ครับ นาย ก.มีอาชีพรับจ้างและมีเครื่องเสียงให้เช่า นอกจากนั้นยังมีเวทีและระบบไฟแสงสี ตลอดจนสามารถติดต่อ นักร้องสมัครเล่นที่รับงานเป็นครั้งคราว และสาวหางเครื่องขาขาวๆน่ารัก อยู่จำนวนหนึ่ง ...ต่อมาได้รับงานแสดงสดโดยใช้คอมคาราโอเกะไม่ทราบโปรแกรมและที่มา ที่วัดแห่งหนึ่ง (ซึ่งวัดแห่งนั้นได้ขึ้นทะเบียนเป็นวัดและถูกต้องตามกฎหมาย) โดยมีการทำสัญญาจ้างงานกันอย่างถูกต้องตามแบบ และติดอากรแสตมป์เรียบร้อย ในราคารวม ๒๕,๐๐๐บาท เริ่มแสดงจาก ๒๑.๐๐ น.จบการแสดงที่ ๐๓.๐๐ น.ของวันถัดไป โดยในระหว่างงาน นักร้องสมัครเล่น ของนาย ก. ได้ร้องเพลงที่มีลิขสิทธิ์เกือบทุกเพลง และของทุกค่าย....
      ปัญหามีอยู่ว่า.....การกระทำของนาย ก.และคณะ(นักร้องสมัครเล่น) เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เพลง(ดนตรีกรรม)หรือไม่.....คำตอบคือเป็นการละมิดลิขสิทธิ์เพลงครับในเรื่องการเผยแพร่ต่อสาธารณชน.... แต่มันมีข้อยกเว้นครับ...ดังนี้
       ตามมาตรา ๓๖ แห่ง พรบ.ลิขสิทธิ์ ปี ๒๕๓๗ บัญญัติว่า การนำงานนาฎกรรม หรือดนตรีกรรมออกแสดงเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชนตามความเหมาะสม...โดยมิได้จัดทำขึ้นหรือดำเนินการเพื่อหากำไรเนื่องจาการจัดให้มีการเผยแพร่ต่อสาธารณชนนั้น...และมิได้จัดเก็บค่าเข้าชมไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม...และนักแสดงไม่ได้รับค่าตอบแทนนั้น...มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์...หากเป็นการดำเนินการโดยสมาคม หรือองค์การอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการสาธารณกุศล การศึกษา การศาสนา การสังคมสงเคราะห์ และได้ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง
      ขออนุญาตเพื่อนสมาชิก..อธิบายความดังนี้ครับ
       ๑.คำว่า...โดยมิได้จัดทำขึ้นหรือดำเนินการเพื่อหากำไรเนื่องจาการจัดให้มีการเผยแพร่ต่อสาธารณชนนั้น...มีความหมายคือ คำว่า กำไร = รายรับ-รายจ่าย ดังนั้น หากปรับข้อกฎหมายเข้ากับเรื่องราวข้างต้นคือ การดำเนินงานในการแสดงดนตรี ของนาย ก. ทางวัดมีแต่รายจ่าย แต่ทางวัดไม่ได้จัดเก็บค่าเข้าชมจากการแสดงดนตรีนั้น จึงไม่ครบองค์ประกอบที่จะเกิดกำไร (วัดอยู่ในฐานะผู้จ้าง และ นาย ก.อยู่ในฐานะผู้รับจ้าง )
      ๒.คำว่า...จัดเก็บค่าเข้าชมไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม มีความหมายคือ
               ๒.๑ ทางตรง คือ การซื้อบัตรผ่านเข้าประตู หรือการกระทำอย่างอื่นที่ต้องมีการแลกเปลี่ยน
               ๒.๒ ทางอ้อม คือ การซื้อสินค้า การส่งเสริมการขาย หรืออื่นๆ
จากกรณีปัญหาข้างต้น ทางวัดมิได้จำหน่ายบัตรค่าเข้าชม หรือมีการบังคับให้ผู้เข้าชมซื้อ ธูปเทียน เป็นจำนวนเงินจำนวนหนึ่ง ถึงจะเข้าชมได้ จึงไม่ครบองค์ประกอบในการจัดเก็บค่าเข้าชมครับ.....
      ๓.คำว่า...นักแสดงไม่ได้รับค่าตอบแทนนั้น...ขอแยกพิจารณาดังนี้ครับ
               ๓.๑ กรณี นาย ก. เจ้าของวงดนตรีและเครื่องเสียง ทำสัญญาจ้างนักร้องและสาวหางเครื่อง เป็นลายลักษณ์ที่ชัดเจน กรณีนี้จะถือว่า นักแสดงได้รับค่าตอบแทนครับ....(ในข้อเท็จจริง ท่านสมาชิกทั้งหลายคงจะไม่จ้างนักร้องที่มีสังกัด(ค่ายเพลง/บริษัท)มาแสดง หรือถ้าท่านจ้างมาแสดงก็จะเป็นอีกเรื่องใหม่ครับ ต้องคุยกันยาว...
            ๓.๒ กรณี นาย ก. เจ้าของวงดนตรีและเครื่องเสียง ไม่ได้ทำสัญญาจ้างนักร้องและนักแสดง เป็นเพียงการชักชวนกันมา โดยมิได้มีการตกลงค่าจ้างกันใช่ไหมครับ......ถ้าเป็นอย่างนี้จะถือว่าไม่ได้รับค่าตอบแทนครับ

    ๔.คำว่า...มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หากเป็นการดำเนินการโดยสมาคม หรือองค์การอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการสาธารณกุศล การศึกษา การศาสนา การสังคมสงเคราะห์ และได้ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง....ข้อความนี้คงจะชัดเจนอยู่ในตัวเองนะครับ....ทีนี่เพื่อสมาชิกจะรับงานที่ไหนต้องดูด้วยนะครับว่าเป็นองค์กรที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการสาธารณกุศลหรือไม่ หรือจะทำการแสดงได้มากน้อยเพียงไร มีข้อเน้นย้ำอย่างหนึ่งที่ต้องพิจารณาอันดับแรกคือ องค์การสาธารณกุศลนั้นจะต้องจัดตั้งโดยถูกต้องตามกฎหมาย เช่น ต้องเป็นวัดไม่ใช่สำนักสงฆ์ โรงเรียนของรัฐบาล หน่วยงานราชการ มูลนิธิที่จดทะเบียนถูกต้อง ไม่ใช่ชมรมนะครับ...

        หากท่านสมาชิกอ่านมาถึงตรงนี้....ท่านก็จะเข้าใจว่า....ทำไมบริษัทเข้าของลิขสิทธิ์ถึงไม่ชี้แจงให้ชัดเจนว่าจะเอาอย่างไร จึงต้องคลุมเครือเข้าไว้ เช่นในประเด็น รับงานไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาทจะยกเว้นการเก็บ ในข้อเท็จจริงมันมีข้อยกเว้นครับในกรณีต่างๆที่กล่าวมา....ฉะนั้นจึงต้องเปิดโอกาสให้บริษัทอื่นๆได้มีการเคลื่อนไหวบ้างและเปิดโอกาสให้พวกนำจับลิขสิทธิ์เถื่อนๆได้มีงานทำบ้าง..ก็เท่านั้น..
       จึงขอย้ำว่าท่านสมาชิกทุกท่านต้องรู้เท่าทัน....และทันเกมส์...ข้าพเจ้าขอนำเรียนด้วยความสุจริตใจว่า ข้อความที่ปรากฎทั้งหมดนี้ เป็นการชี้แจงและนำเสนอข้อมูลอีกด้านหนึ่ง ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่เคยกล่าวถึง หากผิดพลาดเป็นประการใด ท่านผู้รู้ได้โปรดโพสแก้ไขหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันได้ครับ.....ขอขอบคุณ
 


หัวข้อ: Re: ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดย นิติวิทย์ลำซี่ง
เริ่มหัวข้อโดย: nitiwit ที่ ตุลาคม 27, 2013, 12:42:07 pm
ถามกันนอกรอบมาอีกครับ....หากพลาดท่าโดนจับลิขสิทธิ์เพลง(ดนตรีกรรม)จะเป็นอย่างไร .... สงสัยจะไปนอนคุกดีไหม....
      กรณีที่จะชี้แจงนี้เป็นความผิดในฐานความผิด...เผยแพร่ต่อสาธารณชน...เท่านั้นนะครับ ในกรณีทำเพื่อการค้านั้นก็สมควรโดนหนักๆครับ(ไม่ช่วยและเหยียบซ้ำ) เริ่มกันเลยครับ....
     ตาม พรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗  มาตรา ๓๑ บัญญัติว่า ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กรทำดังต่อไปนี้
      ๑.ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช้าซื้อ หรือเสนอให้เช่าซื้อ
      ๒.เผยแพร่ต่อสาธารณชน
      ๓.แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์
      ๔.นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร
....คงจะพอเข้าใจนะครับ....
ทีนี้มาดูโทษที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ที่พวกนำจับลิขสิทธิ์ขู่ต่างๆนาๆ ว่าค่าปรับสูง ประกันไม่ได้ ให้จ่ายคำเครียมาซะดี หรือจะจ่ายด้วยน้ำตา....ไปซะงั้น
     ตามมาตรา ๗๐ บัญญัติว่า ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา ๓๑ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาท ถึง หนึ่งแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงสองปี หรือปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
...จะเห็นได้ว่า ถ้าไม่ทำเพื่อการค้า ก็จะมีโทษแค่ปรับเท่านั้นนะครับ.....เพิ่มเติมอีกว่า คนที่ปรับไม่ใช่พวกนำจับลิขสิทธิ์หรือตำรวจ แต่จะเป็นศาลนะครับ(อย่ากลัวที่จะขึ้นศาล)หรือเราสามารถใช้มาตรา ๗๗ คือให้ไปเสียค่าปรับที่อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ก็ได้ครับ และค่าปรับก็ตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐ ถึง ๑๐๐,๐๐๐ บาท ตามขนาดและลักษณะของการละเมิดลิขสิทธิ์ ส่วนใหญ่ไม่ร้ายแรงครับ... 
     
หัวข้อ: Re: ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดย นิติวิทย์ลำซี่ง
เริ่มหัวข้อโดย: kurk boy ที่ ตุลาคม 27, 2013, 01:02:32 pm
ขอคุณมากๆครับ ได้ความรู้เยอะเลยครับ  smiley4 smiley4 smiley4
หัวข้อ: Re: ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดย นิติวิทย์ลำซี่ง
เริ่มหัวข้อโดย: nitiwit ที่ ตุลาคม 27, 2013, 01:47:21 pm
เขียนต่อเลยนะครับ....วันนี้ วันอาทิตย์ที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๖ ... เป็นวันหยุดแต่ต้องมาอยู่เวรครับ....
มีเพื่อสมาชิกหลายท่านที่รู้จักกันโทรมาบอกว่า อยากให้แนะนำตัวเองว่าเป็นใครมันถึงจะได้น่าเชื่อถือ....ก็ต้องขออภัยเพื่อนสมาชิก ณ ที่นี้ด้วยนะครับ หากมันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ... ก็ขอแนะนำพอคร่าวๆดังนี้ครับ
        
       ชื่อ นาย กิตติศักดิ์ (ต้น)  ki.ti.sak51@hotmail.com
       อาชีพ รับราชการ
       การศึกษา สาธารณสุขศาสตร์ นิติศาสตร์ ศึกษาศาสตร์(วัดและประเมินผล) กำลังศึกษา นิติศาสตร์มหาบัณฑิต เนติบัณฑิต และเป็นผู้สอบผ่านภาคทฤษฎีจากสำนักฝึกอบรมกฎหมาย สภาทนายความ ครับผม..
      ภูมิลำเนา จังหวัดนครพนม
       งานอดิเรก ชอบสร้างตู้ลำโพง(จนไม่มีที่เก็บ) มีเครื่องเสียงกลางแจ้งเป็นขอตัวเองแต่ไม่รับงาน ไว้เปิดฟังเอง ครับผม......
หัวข้อสุดท้ายที่จะเขียนในเพจนี้คือ แนะนำขั้นตอนการรับงาน เครื่องเสียงเช่า ดนตรีขนาดเล็ก ผมเชื่อว่าสมาชิกในเวปนี้ส่วนใหญ่เป็นเจ้าของเครื่องเสียงเช่า หรือมีวงดนตรี การรับงานส่วนใหญ่จะเป็นปากต่อปาก ไม่มีลายลักษณ์อักษร ซึ่งเดิมอาจจะไม่มีปัญหา หรือมีแต่น้อย  แต่หลังจากที่บริษัทแห่งหนึ่งประกาศจะเอาจริงจังเรื่องลิขสิทธิ์เพลง มันก็อาจจะมีปัญหาครับ......หากข้อแนะนำมันซ้ำซ้อนกับสิ่งที่ท่านได้ทำอยู่ก็เป็นการดีครับ เริ่มเลย
    สิ่งที่ควรรู้เบื้องต้นครับ
     ๑.พวกที่มีจับลิขสิทธิ์ ไม่ได้อย่างหนึ่งก็จะเอาอย่างหนึ่ง และต้องเอาให้ได้ทุกวิถึทาง
     ๒.และอย่าเชื่อในสิ่งที่พวกเขาบอก มันไม่ได้ร้ายแรงและโหดร้ายขนาดนั้น
     ๓.อย่าเคลีย อย่าคุย อย่ายอมรับ อย่าเซ็นเอกสาร โดยเด็ดขาด รอจนกว่าจะมีคนที่ไว้ใจ ผู้รู้ มาอยู่ด้วย
   ข้อแนะนำครับ
     ๑.หากใช้คอมพิวเตอร์ในการแสดงดนตรี ไม่ควรมีเพลง MP3 หรือสิ่งอื่นใดที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ในเครื่อง หากมีความจำเป็นต้องเปิดเพลงเพื่อทดลองเครื่อง ควรใช้แบบรีมูฟไดรฟ์ เปิดเพลงแทน (มันเล็กและสามารถสูญหายได้อย่างรวดเร็ว) มันเป็นหลักฐานครับ เก็บให้ดีๆ
    ๒.หากใช้คอมพิวเตอร์ในการเล่นโปรแกรมคาราโอเกะ ก็ควรจะบันทึกและใช้ฮาร์ดดิสนอกเป็นตัวเล่น (สามารถเคลื่อนที่ได้เร็ว) มันเป็นหลักฐานครับ เก็บให้ดีๆ
    ๓.การรับงานควรจะเขียนสัญญาจ้างแรงงาน (แบบฟอร์มกำลังปรับให้ ใครอยากได้ยกมือขึ้นครับ) เพราะมันจะเป็นการแบ่งเบาความรับผิดและชอบเมื่อเกิดปัญหา ทั้งผู้จ้างและผู้รับจ้าง อาจจะต้องรับผิดร่วมกัน หรือรับผิดเฉพาะผู้จ้าง กรณีนี้ผู้รับจ้างลอดตัวไป หากเป็นไปได้ ให้แยกระหว่าง นักร้องและเครื่องเสียง ในการนี้ จำเลยคนที่ ๑ คือ นักร้อง(คนเผยแพร่) จำเลยคนที่ ๒ คือ เครื่องเสียง (ฐานทำให้มันดัง)
   ๔.ระหว่างการรับงาน ท่านจะต้องให้ผู้จ้างเป็นผู้เลือกเพลง และชี้แจงให้ทราบว่าเพลงใดเล่นได้ เพลงใดเล่นไม่ได้ และถ้าเป็นไปได้กำชับนักร้องห้ามร้องเพลงนอกคิว หรือมีผู้หวังดีแต่ประสงค์ร้ายขอด้านหน้าเวที อาจจะเป็นการล่อซื้อของพวกนำจับลิขสิทธิ์ก็ได้ (เหมือนกับวงดนตรีมืออาชีพที่มีคิวเพลง)
   ๕.พวกนำจับลิขสิทธิ์มันไม่ผลีพลามมาจับตอนที่ท่านเล่นหรือแสดงอยู่หรอกครับ ส่วนใหญ่มันใช้วิธีการบันทึกวีดีโอ ซึ่งเมื่อเป็นพยานในชั้นศาลแล้วมีน้ำหนักน้อย จึงมีข้อควรระวังดังนี้
             ๕.๑ ไม่ควรให้บุคคลภายนอกมาอยู่ในบริเวณ MIXER หรือที่คอนโทลเสียง หากเป็นไปได้ใช้ตาข่ายพรางแสงล้อม
             ๕.๒ สังเกตุสิ่งบอกเหตุต่างๆเช่น การถ่ายวีดีโอ การขอเพลงหน้าเวทีหลังเวที การขอถ่ายรูปเป็นต้น....
ที่เล่ามาทั้งหมด อาจะไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องแต่เป็นการระวังและรอบคอบไว้ก่อนครับ มันเหมือนกับเราอยู่ในที่แจ้งและพวกนำจับลิขสิทธิ์อยู่ในที่ลับและมืด   ที่สำคัญต้องทันเกมส์.....ติชมแนะนำได้...ขอบคุณครับ

 
หัวข้อ: Re: ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดย นิติวิทย์ลำซี่ง
เริ่มหัวข้อโดย: nimit terbo ที่ ตุลาคม 27, 2013, 02:55:34 pm
นี่แหละครับที่ต้องการ  เมื่อมีการแอนตี้ บอยคอต เจ้าของลิขสิทธิ์หน้าเลือด ก็ต้องมีการป้องกันกันไว้ด้วย โดยเฉพาะ
ในแง่ความรู้ ในแง่กฏหมาย ขอบคุณที่นำเสนอครับ
หัวข้อ: Re: ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดย นิติวิทย์ลำซี่ง
เริ่มหัวข้อโดย: บ้านต๊ำมิวสิค ที่ ตุลาคม 27, 2013, 03:35:17 pm
ขอบคุณกับข้อมูลดีๆครับ

มองอีกมุมเหมือนกับว่า สิ่งที่เราทำอยู่มันช่างเสี่ยงเหลือเกิน มีแต่ความหวาดระแวง เฮ้อ...
หัวข้อ: Re: ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดย นิติวิทย์ลำซี่ง
เริ่มหัวข้อโดย: ta_03 ที่ ตุลาคม 27, 2013, 04:11:36 pm
ขอบคุณมากครับกับข้อมูลดีๆๆ   redface
หัวข้อ: Re: ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดย นิติวิทย์ลำซี่ง
เริ่มหัวข้อโดย: จุฑาภรณ์ มิวสิคคอมพ์ ที่ ตุลาคม 27, 2013, 06:34:24 pm
ขอบพระคุณครับ สำหรับข้อมูลดี smiley4
หัวข้อ: Re: ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดย นิติวิทย์ลำซี่ง
เริ่มหัวข้อโดย: PuanPaeng ที่ ตุลาคม 27, 2013, 07:39:02 pm
ขอบคุณครับสำหรับข้อมูล
หัวข้อ: Re: ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดย นิติวิทย์ลำซี่ง
เริ่มหัวข้อโดย: manutmusic ที่ ตุลาคม 27, 2013, 08:21:48 pm
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
หัวข้อ: Re: ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดย นิติวิทย์ลำซี่ง
เริ่มหัวข้อโดย: siripan2513 ที่ ตุลาคม 27, 2013, 09:40:22 pm
ขอบคุณครับสำหรับข้อมูล


+1
หัวข้อ: Re: ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดย นิติวิทย์ลำซี่ง
เริ่มหัวข้อโดย: TURBOTEAM ที่ ตุลาคม 27, 2013, 11:33:48 pm
//ขอบคุณครับ// smiley4 smiley4
หัวข้อ: Re: ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดย นิติวิทย์ลำซี่ง
เริ่มหัวข้อโดย: nopporn ที่ ตุลาคม 28, 2013, 07:12:41 am
https://www.facebook.com/photo.php?v=10202317920534347&set=vb.1381682462&type=2&theater
หัวข้อ: Re: ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดย นิติวิทย์ลำซี่ง
เริ่มหัวข้อโดย: viroge ที่ ตุลาคม 28, 2013, 10:35:45 am
ขอบคุณครับ สำหรับข้อมูลดีดี  smileyy smileyy
หัวข้อ: Re: ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดย นิติวิทย์ลำซี่ง
เริ่มหัวข้อโดย: sak sopa ที่ ตุลาคม 28, 2013, 01:32:03 pm
ขอบคุณครับ สำหรับข้อมูลดีดี smileyy smiley4
หัวข้อ: Re: ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดย นิติวิทย์ลำซี่ง
เริ่มหัวข้อโดย: TURBOTEAM ที่ ตุลาคม 29, 2013, 01:01:13 am
//ผมขอถามหน่อยครับ คือเราทำสัญญาว่าจ้างขึ้นมา2ฉบับ คือ
1.สัญญาว่างจ้างวงดนตรี,นักร้อง,นักดนตรี,แดนซ์เซอร์ ในราคา15,000บ.
2.สัญญาว่าจ้างเวที,เครื่องเสียงในราคา10,000บ.เมื่อรวมกันแล้วทั้ง2ฉบับเป็นเงินค่าจ้าง25,000บ.แล้วแยกสัญญาให้ชัดเจนแบบนี้จะรอดจากข้อยกเว้นไม่เข้าข่ายวงดนตรีรับไม่เกิน20,000บ.มั๊ยครับ//

ช่วยพิจารณาตอบให้ทีขอบคุณครับ
หัวข้อ: Re: ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดย นิติวิทย์ลำซี่ง
เริ่มหัวข้อโดย: nitiwit ที่ ตุลาคม 29, 2013, 10:25:25 am
ขอบคุณครับสำหรับคำถาม
   ขอพิจารณาตอบเป็นรายๆไป ด้วยเหตุที่ว่า รายละเอียดข้อเท็จจริงแต่ละรายแต่ละครั้งไม่เหมือนกัน จึงขอตอบในประเด็นเหตุที่ต้องมีการแยกสัญญาจ้างดังนี้ครับ
  ข้อ ๑ เพราะเหตุใด จึงต้องมีการแยกสัญญาการรับงาน
     คำตอบคือ
    ๑.แยกความรับผิดและชอบ ในกรณีที่เกิดปัญหาขึ้น กรณีนี้คือ ระหว่างคนและเครื่องเสียง ในกรณีที่เพื่อนสมาชิกเป็นเพียงแค่เจ้าของเวทีและเครื่องเสียง โดยท่านสามารถปฏิเสธในเบื้อต้นก่อนได้ว่า มิได้ร่วมกระทำผิด
    ๒.นักร้อง คือคนที่ผยแพร่ต่อสาธารณชน ฉะนั้น หากแยกระหว่าง คน (นักร้อง) และเครื่องเสียงเวที ก็จะเป็นการลดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาต่อเครื่องเสียงเวที เช่นการอายัดและตรวจสอบ ทำให้เพื่อนสมาชิกอาจจะต้องเสียเวลา
    ๓.การทำสัญญาจ้างงาน จะทำให้เกิดการชัดเจนในเรื่องผู้รับผิด เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีการบัญญัติเรื่องการรับผิดในทางการจ้างระหว่างผู้จ้างและผู้รับจ้าง มีหลายงานการแสดงที่พอเกิดปัญหาขึ้นในเรื่องอื่นๆ ทางผู้จ้างหรือทางเจ้าภาพมักจะโยนความผิดให้กับทางวงดนตรี จริงหรือเปล่าครับ....
   นี่คือข้อดีของการทำสัญญา.....
   ในกรณีของท่าน ถามมาว่า  ในเมื่อมีการแยกสัญญาให้ชัดเจนระหว่าง เครื่องและคนแล้ว จะเข้าข่ายข้อยกเว้นวงดนตรีรับงานไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท มั๊ย.....
   คำตอบ....ขอความกรุณาลืมสิ่งที่บริษัทแห่งหนึ่งได้ออกมาประกาศเงื่อนไขต่างๆที่ท่านได้จำอยู่ในขณะนี้ครับ แล้วใช้วิจารณาญาณอย่างถี่ถ้วน รับฟังสิ่งต่อไปนี้
     ๑.ตาม พรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗ ไม่ได้บัญญัติเรื่องราคาขั้นต่ำในการรับงาน แต่บัญญัติเรื่อง การดำเนินการเพื่อแสวงหากำไร.....และการเก็บค่าเข้าขมทั้งทางตรงและทางอ้อม กระผมได้แสดงรายละเอียดในเรื่องกำไรไว้แล้วว่า กำไร = รายได้ - รายจ่าย   ดังนั้นหากสรุปข้อเท็จจริงได้ว่า
           ๑.ไม่ว่าท่านจะรับงานด้วยราคาเท่าไหร่ จะแยกสัญญาหรือไม่ก็ตาม หากผู้จ้างเป็นหน่วยงานเพื่อสาธารณกุศล หรือหน่วยงานอื่นๆตามที่เสนอไว้ในข้างต้น และไม่มีการเก็บค่าเข้าขมทั้งทางตรงและทางอ้อม ท่านก็จะสามารถอ้างข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ แต่ในเมื่อเรารู้แล้วว่าบริษัทแห่งนี้เขามีการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เราก็ไม่เล่นเพลงเขาซะก็หมดห่วงครับ
           ๒.จากกรณีที่นักร้องชื่อดังคนหนึ่ง...ถูกจับกรณีละเมิดลิขสิทธิ์นั้น...เป็นข้อเท็จจริงว่า นักร้องคนนั้นหมดสัญญากับทางบริษัท และลิขสิทธิ์เพลงก็เป็นของทางผู้แต่งและบริษัท กรณีนี้จะเห็นว่า คน(นักร้อง)ถูกดำเนินคดี ทางเวทีและเครื่องเสียงรอด แต่รายละเอียดข้อเท็จจริงว่า เก็บเงินค่าเข้าชมหรือไม่ ใครเป็นผู้จ้าง อันนี้ไม่มีข้อมูล
ครับ....
  ดังนั้นจึงฟันธงว่า หากเพื่อสมาชิกไปรับงานที่มีการเก็บค่าเข้าชมไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม หรืองานที่มีสังกะสีล้อม  ไม่ว่าจะรับงานด้วยราคาเท่าไหร่จะแยกหรือไม่แยกสัญญา ไม่ว่านักร้องจะเป็นใคร หากมีการละเมิดลิขสิทธิ์เกิดขึ้น ท่านเพื่อนสมาชิกก็อาจจะเดือดร้อนได้ครับ
             ที่เขียนเล่าเรื่องมาทั้งหมด เป็นการติชม วิจารณ์เพื่อการศึกษา และนำเสนอข้อมูลอีกด้านหนึ่ง หากมีท่านผู้รู้ท่านใดเห็นว่าส่วนใดผิดพลาดกรุณา โพสแก้ไขด้วยนะครับจะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง 
   จึงขอตอบปัญหาข้อข้องใจของท่าน TURBOTEAM ดังนี้ครับ...ขอขอบคุณ
หัวข้อ: Re: ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดย นิติวิทย์ลำซี่ง
เริ่มหัวข้อโดย: nitiwit ที่ ตุลาคม 29, 2013, 10:45:23 am
อีกครั้งหนึ่งครับ.........พอโพสก็โทรมาถามทันทีเลย.....อยากให้ช่วยวิเคราะห์เงื่อนไขของบริษัทแห่งหนึ่งที่ออกมาประกาศ....ต้องขอตอบตามตรงเลยนะครับ...
   ว่ากำลังให้คณะทำงานเพื่อสมาชิกของเราที่กำลังศึกษาในเรื่องนี้ (พรบ.ลิขสิทธิ์)ดูช่วยกันอยู่...ทางบริษัทแห่งนั้นเขาคงมีนักกฎหมายที่มีฝีไม้ลายมือขั้นเทพสิงสถิตย์อยู่หลายตน...จึงขอเวลาครับ...
  กระผมคิดว่า...กระผมอาจจะโพสผิดห้องบ้างเพราะนี้คือห้องโชว์เครื่องเสียง...แต่นี้คือห้องที่มีการจราจรทางอิเล็กทรอนิกส์ที่หนาแน่น..จึงเลือกห้องนี้ครับ...หากท่านแอดมินเห็นว่ามันผิดห้องก็ย้ายได้นะครับ...แต่อย่าลืมข้อความบอกกระผมบ้างเพราะเวลาจะตอบปัญหาเพื่อนสมาชิกมันจะไม่เจอครับ....ขอขอบคุณ   
หัวข้อ: Re: ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดย นิติวิทย์ลำซี่ง
เริ่มหัวข้อโดย: nimit terbo ที่ ตุลาคม 29, 2013, 10:51:40 am
สรุปง่ายๆตามที่ จขกท. ว่ามาก็คือ

         อย่าเชื่อที่ บ.เพลงโครตโหด ออกมาแจ้งว่ายกเว้นอันโน้น ยกเว้นอันนี้ เพราะมันเป็นข้อยกเว้นของมันเท่านั้น
ไม่ใช่ข้อยกเว้นของกฏหมาย บ.เพลงโคตรโหด มันจะเปลี่ยนแปลง ยังไงก็ได้ตามใจมัน

         เอากฏหมายเป็นหลัก แต่ถ้าไม่อยากให้มีปัญหาตามมาก็ตัดปัญหาออกไปซ่ะ ด้วยมาตการ 3 ม.
หัวข้อ: Re: ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดย นิติวิทย์ลำซี่ง
เริ่มหัวข้อโดย: sangad ที่ ตุลาคม 29, 2013, 12:01:14 pm
ขอบคุณครับที่ให้ความรู้มากมาย
หัวข้อ: Re: ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดย นิติวิทย์ลำซี่ง
เริ่มหัวข้อโดย: ปาย1095 มิวสิค ที่ ตุลาคม 29, 2013, 12:56:42 pm
งั้นวงดนตรีนักเรียนก็เล่นได้ นะซิ เพราะเขาเรียนในห้องแล้วมาลองเล่นจริง พื่อหาทุนเข้าชมรมดนตรี ของโรงเรียน
หัวข้อ: Re: ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดย นิติวิทย์ลำซี่ง
เริ่มหัวข้อโดย: srila ที่ ตุลาคม 29, 2013, 01:31:01 pm
สรุปง่ายๆตามที่ จขกท. ว่ามาก็คือ

         อย่าเชื่อที่ บ.เพลงโครตโหด ออกมาแจ้งว่ายกเว้นอันโน้น ยกเว้นอันนี้ เพราะมันเป็นข้อยกเว้นของมันเท่านั้น
ไม่ใช่ข้อยกเว้นของกฏหมาย บ.เพลงโคตรโหด มันจะเปลี่ยนแปลง ยังไงก็ได้ตามใจมัน

         เอากฏหมายเป็นหลัก แต่ถ้าไม่อยากให้มีปัญหาตามมาก็ตัดปัญหาออกไปซ่ะ ด้วยมาตการ 3 ม.
+1สรุปก็ตัวใครตัวมัน คือเราจะให้เหตุผลอย่างไรก็แล้วแต่ กูจะจับอย่างเดียว หาความชัดเจนไม่มีกับลิขสิทธิ์โหด มีทางแก้ไขรอความชัดเจนคือ มาตรการ3ม. ก่อนครับอย่าเสี่ยง....
หัวข้อ: Re: ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดย นิติวิทย์ลำซี่ง
เริ่มหัวข้อโดย: boombeem_kitsada ที่ ตุลาคม 29, 2013, 01:36:54 pm
ดีกว่าไม่ได้อ่านครับ

ขอบคุณครับผม  smileyy
หัวข้อ: Re: ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดย นิติวิทย์ลำซี่ง
เริ่มหัวข้อโดย: somsak thapsila ที่ ตุลาคม 29, 2013, 03:03:07 pm
สรุปง่ายๆตามที่ จขกท. ว่ามาก็คือ

         อย่าเชื่อที่ บ.เพลงโครตโหด ออกมาแจ้งว่ายกเว้นอันโน้น ยกเว้นอันนี้ เพราะมันเป็นข้อยกเว้นของมันเท่านั้น
ไม่ใช่ข้อยกเว้นของกฏหมาย บ.เพลงโคตรโหด มันจะเปลี่ยนแปลง ยังไงก็ได้ตามใจมัน

         เอากฏหมายเป็นหลัก แต่ถ้าไม่อยากให้มีปัญหาตามมาก็ตัดปัญหาออกไปซ่ะ ด้วยมาตการ 3 ม.
เห็นด้วยครับกับมาตการ 3 ม. ชัดเจนกว่า smiley4
หัวข้อ: Re: ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดย นิติวิทย์ลำซี่ง
เริ่มหัวข้อโดย: TURBOTEAM ที่ ตุลาคม 29, 2013, 10:04:18 pm
//ผมโทรไปหาท่านต้นให้ความกะจ่างมากๆเลยโล่งใจไปที่ ขอบคุณครับ// smiley4 smiley4 smiley4 smiley4
หัวข้อ: Re: ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดย นิติวิทย์ลำซี่ง
เริ่มหัวข้อโดย: จุฑาภรณ์ มิวสิคคอมพ์ ที่ ตุลาคม 30, 2013, 08:20:54 am
//ผมโทรไปหาท่านต้นให้ความกะจ่างมากๆเลยโล่งใจไปที่ ขอบคุณครับ// smiley4 smiley4 smiley4 smiley4
นำมาแจ้งแบบคร่าวๆ ได้ไหมครับ สมาชิกจะได้รับข้อเพิ่มเติม ขอบพระคุณครับ
หัวข้อ: Re: ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดย นิติวิทย์ลำซี่ง
เริ่มหัวข้อโดย: kuruboy ที่ ตุลาคม 30, 2013, 10:38:01 am
//ผมโทรไปหาท่านต้นให้ความกะจ่างมากๆเลยโล่งใจไปที่ ขอบคุณครับ// smiley4 smiley4 smiley4 smiley4
นำมาแจ้งแบบคร่าวๆ ได้ไหมครับ สมาชิกจะได้รับข้อเพิ่มเติม ขอบพระคุณครับ
 
   เห็นด้วยครับท่าน smiley4 ขอบคุณท่านต้นมากครับ มารอฟังด้วยคนครับผม smiley4
หัวข้อ: Re: ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดย นิติวิทย์ลำซี่ง
เริ่มหัวข้อโดย: JOE OCZ ที่ ตุลาคม 30, 2013, 11:34:18 am
เข้ามาเก็บความรู้ครับ ขอบคุณครับ   loveit smileyy
หัวข้อ: Re: ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดย นิติวิทย์ลำซี่ง
เริ่มหัวข้อโดย: kanokpuping ที่ พฤศจิกายน 01, 2013, 08:34:59 am
ได้ความรู้มากครับ ขอบคุณครับ ขอเพิ่มครับ เรื่องของ Midi ครับ ถ้าพอมีเวลาช่วยอธิบายด้วยครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ
หัวข้อ: Re: ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดย นิติวิทย์ลำซี่ง
เริ่มหัวข้อโดย: sawaiptek ที่ พฤศจิกายน 01, 2013, 09:24:37 am
ได้ความรู้มากครับ ขอบคุณครับ ขอเพิ่มครับ เรื่องของ Midi ครับ ถ้าพอมีเวลาช่วยอธิบายด้วยครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ
+ 1
หัวข้อ: Re: ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดย นิติวิทย์ลำซี่ง
เริ่มหัวข้อโดย: siripan2513 ที่ พฤศจิกายน 01, 2013, 09:42:28 am
 ขอเพิ่มครับ เรื่องของ Midi ครับ
หัวข้อ: Re: ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดย นิติวิทย์ลำซี่ง
เริ่มหัวข้อโดย: nitiwit ที่ พฤศจิกายน 01, 2013, 09:45:16 am
ขอขอบคุณเพื่อนสมาชิกทุกท่านที่เข้ามาอ่านแล้วนำไปฟิจารณา...และปรับใช้...ขอเน้นย้ำ...ปรับใช้ให้เหมาะสมกับตนเองและกิจการ....ครับ
  สำหรับมาตรการ 3 ม. คือ ไม่ร้อง/ไม่เล่น/ไม่ให้ขึ้นเวที... ก็เป็นสิทธิส่วนบุคคลที่สามารถทำได้ครับ แต่ 3 ม.ของแท้ต้องนี่ครับ.. ไม่มี ไม่หนี และไม่จ่าย (คติพจน์ของลูกหนี้ที่ดี)...
  ครับ...ไปศึกษามาพอสมควร...บริษัทแห่งนั้นเขาพูดอย่างไร...มีทีท่าว่าจะเอาอย่างไร จะวิเคราะห์ให้อ่านในกระทู้ต่อไปครับ....
  หากท่านต้องการติดตามต่อ กระผมขอย้ายไปโพสที่...ห้องสำหรับแชร์ความรู้...ครับ smiley4
  
  
หัวข้อ: Re: ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดย นิติวิทย์ลำซี่ง
เริ่มหัวข้อโดย: ดาวเทวินทร์มิวสิค ที่ พฤศจิกายน 01, 2013, 09:57:05 am
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
หัวข้อ: Re: ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดย นิติวิทย์ลำซี่ง
เริ่มหัวข้อโดย: arthid1428 ที่ พฤศจิกายน 07, 2013, 05:19:14 pm
ขออณุญาตเรียกอาจารย์นะครับผมยังยังไม่เข้าใจ กรณีผมมีเครื่องเสียงอยู่1ชุดรับงานเล่นดนตรีมีคอม1ตัวและคีบอร์ด1ตัวกีต้าร์1ตัวนักร้องชาย-หญิง หางเครื่อง เล่นงานบุญ สัญญาจ้างไม่มี และส่วนส่วนมากร้องเพลง(แถวบ้านผมเรียกหมอลำซิ่ง)รับงาน10,000บาท ชมฟรี จะโดนหรือเปล่าครับ