Tigger Sound
สังคมออนไลน์คุณภาพของคนรักเครื่องเสียง
ทดสอบเสียง HK1.1 By Tiggersound https://www.facebook.com/tiggersound/videos/10218510874389162

*_* ที่มาของ เครื่องหมายคำถาม ?

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • ร้านค้า ร่วมสนับสนุน
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9019
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com
เครื่องหมายคำถาม หรือในภาษาไทยเรียกว่า เครื่องหมายปรัศนี นั้นที่มาของมันมาจากไหน ต้นกำเนิดมาอย่างไร? .. วันนี้ จะพาเพื่อนๆไปหาคำตอบกับ เกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆนี้กันคะ ^^



เกร็ดความรู้ : ที่มาของ เครื่องหมายคำถาม ?

กฎการใช้ เครื่องหมายวรรคตอน ในภาษาอังกฤษรับมาจากภาษากรีกและละตินโบราณ ซึ่งจุดประสงค์หลักของมันในสมัยโน้นไม่ได้ใส่ไว้เพื่อช่วยความเข้าใจ แต่เพื่อช่วยชี้แนะผู้อ่านในการออกเสียง เครื่องหมายที่ต่างกันแสดงให้ผู้อ่านทราบว่าต้องเน้นเสียงหนักเบาในพยางค์นั้นอย่างไร ที่ไหนจะต้องหยุดและสูดหายใจเพื่อรักษาจังหวะในแต่ละวรรคของโคลงกลอน


ที่มาของ เครื่องหมายคำถาม : ในภาษาละติน  

คำถามจะถูกบ่งบอกด้วยคำว่า questio ซึ่งใช้กำกับไว้ท้ายประโยค ภารกิจอันหนักหน่วงของการเขียนหนังสือทั้งเล่มด้วยลายมือ ง่ายขึ้นด้วยการย่อคำหลายคำให้สั้นลง และหนึ่งในจำนวนนั้นก็คือคำว่า questio ซึ่งย่อเป็น QO แต่เนื่องจาก QO อาจถูกเข้าใจผิดว่าเป็นตัวย่อของคำอื่น อาลักษณ์จึงริเริ่มเขียน QO ไว้เหนือ O เมื่อเวลาผ่านไป Q ก็เริ่มขาด ๆ หาย ๆ กลายเป็นเส้นยึกยือ ส่วน O กลายเป็นเพียงจุดเล็ก ๆ


ที่มาของ เครื่องหมายคำถาม :

ในราวคริสต์ศตวรรษที่ ๙ เครื่องหมายแสดงคำถามนี้ถูกใช้เพื่อช่วยกำกับการร้องบทสวดอันศักดิ์สิทธิ์ในโบสถ์ที่เรียกว่า Gregorian chants เครื่องหมายนี้คล้ายคลึงกับเครื่องหมายคำถามที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เพียงแต่เขียนเอียงไปทางขวาเล็กน้อย มันช่วยบอกจังหวะหยุดและการเปล่งเสียงให้สูงขึ้น


ต่อมาพัฒนาการด้านการพิมพ์ในศตวรรษที่ ๑๕ ก่อให้เกิดความต้องการใช้เครื่องหมายวรรคตอนที่เป็นมาตรฐาน ใน ค.ศ. ๑๕๖๖ ออลโด แมนูซิโอ (AIdo Manuzio) ตีพิมพ์หนังสือเล่มแรกที่กำหนดหลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอน ในหนังสือของเขาที่ชื่อว่า หลักการสะกดการันต์ (System of Orthography) กล่าวถึงการใช้ เครื่องหมายมหัพภาค (.) เครื่องหมายจุลภาค (,) เครื่องหมายทวิภาค (:) เครื่องหมายอัฒภาค (;) และเครื่องหมายปรัศนี (?) เมื่อถึงราว ค.ศ. ๑๖๖๐ นักเขียนและผู้พิมพ์ก็ใช้เครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) เครื่องหมายอัญประกาศ (“ ”) และเส้นขีดยาว (-) เครื่องหมายเหล่านี้ใช้กันอย่างแพร่หลายในยุโรป แม้ว่าจะยังคงใช้เพื่อกำกับการออกเสียงให้ชัดเจนก็ตาม

การพิมพ์หนังสือส่งผลให้การอ่านเงียบ ๆ ในใจแพร่ขยายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และยังทำให้เครื่องหมายวรรคตอนมีบทบาทสำคัญมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาษาอังกฤษ ในขณะที่เครื่องหมายวรรคตอนในภาษาอื่นช่วยเสริมแต่งสีสันให้แก่สำนวนโวหาร เครื่องหมายวรรคตอนในภาษาอังกฤษช่วยเสริมความเข้าใจของรูปประโยคในภาษาเขียน ด้วยเหตุนี้ในวงวิชาการและวรรณคดี ภาษาอังกฤษจึงค่อย ๆ เข้ามาแทนที่ภาษาละติน


เรียบเรียง teen.mthai

ที่มา truelife.com


ออฟไลน์ กล้วยหอม ศรีสะเกษ

  • นักร้อง
  • ******
    • กระทู้: 1013
บางอ้อ.
ด.ต.จตุรภัทร มณีนิล (กล้วยหอม)  เลขที่ 540/7 หมู่ 2 ตำบล เมืองคง  อำเภอ ราษีไศล   จังหวัด ศรีสะเกษ 33160  TEL : 084-411-3033  /  083-745-2499  ธ.กรุงไทย 311-0-41559-3
kluihom@hotmail.com