Tigger Sound

ห้องสมุด คลังความรู้ต่างๆ ในแวดวงเครื่องเสียง
=> สำหรับผู้ผลิตพบผู้บริโภค หรือต้องการสอบถามด้านเทคนิค เกี่ยวกับอุปกรณ์เครื่องเสียง เชิญได้ที่ห้องนี้ครับ => ข้อความที่เริ่มโดย: sam_aj ที่ มกราคม 28, 2012, 06:40:56 pm

หัวข้อ: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในแอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: sam_aj ที่ มกราคม 28, 2012, 06:40:56 pm
สาเหตุหลัก ก็มาจากการที่จะให้โหลด (ดอกลำโพง) ทำงานเพื่อให้ได้ระดับพลังงาน (ความดัง) ที่ต้องการ

ปกติสูตรในการคำนวณค่าวัตต์ของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีโหลดในตัว อย่าง เตารีด เครื่องซักผ้า ตู้เย็น หรือ ทีวี จะคำนวณกันด้วยสูตร  P = VI โดย

I = current
P = power
V = voltage

แต่เนื่องจากพาวเวอร์แอมป์ เป็นเฉพาะเครื่องจ่ายพลังงาน (ไม่มีโหลดในตัว) ให้กับโหลดภายนอก ดังนั้น การคำนวณกำลังวัตต์ของพาวเวอร์แอมป์  จึงขึ้นอยู่กับโหลดที่นำมาต่อ  โดยการใช้สูตร P = Vrms ยกกำลังสอง / ค่าอิมพิแดนช์ของโหลด   หากเมื่อเรามองและวิเคราะห์จากสูตรคำนวณนี้จะเห็นได้ว่ากำลังงานที่ได้จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับแรงดัน  Vrms ที่จ่ายออกจากพาวเวอร์แอมป์ (ในขณะที่ค่าอิมพีแดนช์ของโหลดคงที่)

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อพาวเวอร์แอมป์สามารถขยายสัญญาณเสียงจนมีแรงดันออกที่ Output = 70Vrms หากเราต่อด้วยโหลด (ดอกลำโพง) ชนิด 8 โอห์ม   1 ตัว พาวเวอร์แอมป์ตัวนี้จะให้กำลังงานได้  = (70x70)/8 = 612.50Wrms (ที่โหลด 8 โอห์ม)
แต่ถ้าพาวเวอร์แอมป์สามารถขยายสัญญาณเสียงจนมีแรงดันออกที่ Output = 80Vrms จะได้กำลังงานเพิ่มขึ้นเป็น (80x80)/8 = 800Wrms (ที่โหลด 8 โอห์ม) เป็นต้น 

หากเราต้องการให้ได้กำลังงาน  Wrms สูงขึ้นโดยให้พาวเวอร์แอมป์ขยายสัญญาณโดยมีแรงดันเท่าเดิม  ก็มีอีกวิธีคือ ใช้โหลดชนิดที่มีค่าอิมพิแดนช์ต่ำลงโดยยังใช้โหลด 1 ตัวเช่นเดิม เช่นเปลี่ยนจากโหลด  8 โอห์ม เป็น 4 โอห์ม (วิธีการที่ถูกต้องคือใช้ดอกที่มีอิมพีแดนช์ลดลง ไม่ใช่การนำดอกลำโพง 2 ดอกมาขนานกัน) ซึ่งจากตัวอย่างข้างต้นสามารถคำนวณกำลังงานได้ = (70x70)/4 = 1225Wrms (ที่โหลด 4 โอห์ม)

แล้วพาวเวอร์แอมป์ตัวนี้จ่ายกระแส (current) ออกมาเท่าไหร่ ?  ก็คำนวณด้วยสูตร P = VI ดังนั้น  I = P/V
ซึ่งจากตัวอย่างข้างต้นพาวเวอร์แอมป์  612.50Wrms(ที่โหลด 8 โอห์ม) จะจ่ายกระแสออกมาที่  = 612.50/70 = 8.75A   และจ่ายกระแสออกมาสูงถึง = 1225/70 = 17.50A ด้วยโหลด 4 โอห์ม

เนื่องจากในงานเครื่องเสียง PA โหลด (ดอกลำโพง) มาตรฐานเป็นแบบชนิด 8 โอห์มดังนั้นการที่จะให้ได้  Wrms ของพาวเวอร์ออกมาสูง ๆ จึงทำได้โดยการเพิ่มแรงดันในการขยายสัญญาณให้ได้ Vrms สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ

นี่จึงเป็นที่มาของการออกแบบพาวเวอร์แอมป์โดยที่ภาคซัพพลายต้องจ่ายแรงดันสูง ๆ ให้กับภาคขยายตามหัวข้อกระทู้ที่ตั้งขึ้น และเป็นที่มาของการพัฒนาพาวเวอร์แอมป์ในคลาส H และอื่น ๆ ที่ออกตามกันมา  เนื่องจากพาวเวอร์แอมป์ในคลาส AB ไม่สามารถทำได้

 smiley4
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในพาวเวอร์แอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: - วายุ - ที่ มกราคม 29, 2012, 10:24:04 am
ขอบคุณครับ เฮียสมโภชน์ สำหรับสิ่งดีดี
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในพาวเวอร์แอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างอ๊อด-เชียงใหม่ 081-7838011 ที่ มกราคม 29, 2012, 10:25:43 am


.....เยี่ยม.....
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในพาวเวอร์แอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: ohmmusicroom ที่ มกราคม 29, 2012, 12:07:07 pm
มารับความรู้เพิ่มครับเฮีย.... smiley4 smiley4
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในพาวเวอร์แอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: ทอมซาวด์101 ที่ มกราคม 29, 2012, 12:27:41 pm
                             เป๊ะๆๆๆๆๆ
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในพาวเวอร์แอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: Pure35deg ที่ มกราคม 29, 2012, 01:37:02 pm
กระจ่างเลยครับ smiley4 smiley4
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในพาวเวอร์แอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: sam_aj ที่ มกราคม 29, 2012, 02:38:20 pm
ประเด็นที่น่าสนใจอีกประเด็นหนึ่งในการพัฒนาของพาวเวอร์แอมป์ ก็คือ การประหยัดพลังงาน ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั่วโลก  เรามาลองวิเคราะห์พาวเวอร์แอมป์คู่นี้ดูครับ

ระหว่าง
1. พาวเวอร์แอมป์ 1200Wrms @ 4 Ohms  กับ 
2. พาวเวอร์แอมป์ 1200Wrms @ 2 Ohms 
เราจะเห็นได้ว่าพาวเวอร์สองตัวนี้สามารถให้กำลังออกมาได้เท่ากันคือ 1200Wrms (ต่างกันที่อิมพิแดนช์ของโหลด)  มองแบบผิวเผินก็ไม่แตกต่างกัน  แต่ทั้งสองตัวบริโภคพลังงาน หรือ กระแสไม่เท่ากัน  เรามาดูว่าพาวเวอร์ทั้งสองตัวบริโภคพลังงานต่างกันเท่าไหร่?

ตัวที่หนึ่ง 1200Wrms @ 4 Ohms  เรามาลองคำนวณดูว่าใช้ แรงดัน Vrms เท่าไหร่? และกินพลังงานหรือกระแสเท่าไหร่?

P = Vrms ยกกำลังสอง / ค่าอิมพิแดนช์ของโหลด
1200 = Vrms ยกกำลังสอง / 4
Vrms ยกกำลังสอง = 1200 x 4 = 4800
Vrms = 69.28

P = VI
I  = P/V = 1200/69.28 =  17.32A

ตัวที่สอง 1200Wrms @ 2 Ohms  เรามาลองคำนวณดูว่าใช้ แรงดัน Vrms เท่าไหร่? และกินพลังงานหรือกระแสเท่าไหร่?

P = Vrms ยกกำลังสอง / ค่าอิมพิแดนช์ของโหลด
1200 = Vrms ยกกำลังสอง / 2
Vrms ยกกำลังสอง = 1200 x 2 = 2400
Vrms = 48.99

P = VI
I  = P/V = 1200/48.99 =  24.49A

จะเห็นได้เลยว่าพาวเวอร์แอมป์ตัวที่สอง บริโภคพลังงานสูงกว่าตัวแรกถึง 7.17A โดยให้กำลังที่เท่ากันคือ 1200Wrms และที่สำคัญคือต้องใช้โหลดในจำนวนที่เยอะกว่าอีกหนึ่งเท่าตัว ในการที่จะขนานโหลดให้ได้อิมพิแดนช์ที่ 2 Ohms (โหลดมาตรฐานของงาน PA คือ 8 Ohms)

หรือพูดง่ายๆ ก็คือ พาวเวอร์ตัวที่หนึ่งขับโหลด (ดอกลำโพง) 500Wrms @ 8 Ohms แค่สองดอก ได้กำลัง (ความดัง) เท่ากับที่พาวเวอร์ตัวที่สองขับโหลด (ดอกลำโพง) 500Wrsm @ 8 Ohms รุ่นเดียวกันถึง สี่ดอก และยังกินพลังงานน้อยกว่าตัวที่สองถึง 7.17A

แล้วเราจะเลือกใช้พาวเวอร์แอมป์แบบไหน? ในระบบกันดี

หมายเหตุ การบริโภคพลังงานหรือกระแสที่คำนวณยังไม่รวมพลังงานที่สูญเปล่าไปกับความร้อนในภาคขยายของพาวเวอร์แอมป์

 smileyy

 


หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในพาวเวอร์แอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: sam_aj ที่ มกราคม 29, 2012, 03:46:32 pm
อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องนำมาพิจาณาประกอบก็คือ ต้นทุนในการผลิตพาวเวอร์แอมป์

พาวเวอร์แอมป์ กำลังขับสูงที่โหลดอิมพิแดนซ์ต่ำ จะมีต้นทุนในการผลิตสูงกว่า พาวเวอร์แอมป์กำลังขับสูงที่โหลดอิมพิแดนซ์สูง  เพราะอะไร? อย่างไร?
1. ต้องทำการขนาน TR Bipolar หรือ Mosfet จำนวนมากให้กับภาคขยายเพื่อให้ทนกระแสได้สูงขึ้น อะหลั่ยต่าง ๆ ในวงจรก็จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นตามจำนวนทรานซิสเตอร์ที่ใช้
2. ภาคซัพพลายที่จ่ายแรงดันต่ำ กระแสสูง ต้นทุนสูงกว่า ซัพพลายแรงดันสูง กระแสต่ำ เยอะมาก แต่อะไรก็ไม่สำคัญเท่ากับน้ำหนักของภาคซัพพลาย ยิ่งเป็นซัพพลายแบบหม้อแปลง ลูกจะใหญ่และน้ำหนักเยอะ
3. เคสหรือแท่นที่ใส่ใหญ่กว่า (ส่วนใหญ่ต้องใช้เคสสูง 3U) และลึกมากกว่า เพราะต้องรองรับน้ำหนักของอุปกรณ์ทั้งหมดที่เยอะกว่า  จึงแพงกว่า
4. ต้นทุนในการขนส่งที่สูงกว่าด้วยความใหญ่โต และน้ำหนักที่เยอะกว่า
5. อื่น ๆ อีกเยอะแยะ

จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่พาวเวอร์แอมป์กำลังขับสูงที่โหลดอิมพิแดนช์ต่ำ ค่อย ๆ ล้มตายหายไปจากตลาดในปัจจุบัน

 smileyy

หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในพาวเวอร์แอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างแอ้ด™ ที่ มกราคม 29, 2012, 04:02:26 pm
ถูกต้องคร๊าบบบบ ....    H+B+pushpull  smiley4
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในพาวเวอร์แอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: K_SOUNDTURBO ที่ มกราคม 29, 2012, 04:04:40 pm
ประเด็นที่น่าสนใจอีกประเด็นหนึ่งในการพัฒนาของพาวเวอร์แอมป์ ก็คือ การประหยัดพลังงาน ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั่วโลก  เรามาลองวิเคราะห์พาวเวอร์แอมป์คู่นี้ดูครับ

ระหว่าง
1. พาวเวอร์แอมป์ 1200Wrms @ 4 Ohms  กับ 
2. พาวเวอร์แอมป์ 1200Wrms @ 2 Ohms 
เราจะเห็นได้ว่าพาวเวอร์สองตัวนี้สามารถให้กำลังออกมาได้เท่ากันคือ 1200Wrms (ต่างกันที่อิมพิแดนช์ของโหลด)  มองแบบผิวเผินก็ไม่แตกต่างกัน  แต่ทั้งสองตัวบริโภคพลังงาน หรือ กระแสไม่เท่ากัน  เรามาดูว่าพาวเวอร์ทั้งสองตัวบริโภคพลังงานต่างกันเท่าไหร่?

ตัวที่หนึ่ง 1200Wrms @ 4 Ohms  เรามาลองคำนวณดูว่าใช้ แรงดัน Vrms เท่าไหร่? และกินพลังงานหรือกระแสเท่าไหร่?

P = Vrms ยกกำลังสอง / ค่าอิมพิแดนช์ของโหลด
1200 = Vrms ยกกำลังสอง / 4
Vrms ยกกำลังสอง = 1200 x 4 = 4800
Vrms = 69.28

P = VI
I  = P/V = 1200/69.28 =  17.32A

ตัวที่สอง 1200Wrms @ 2 Ohms  เรามาลองคำนวณดูว่าใช้ แรงดัน Vrms เท่าไหร่? และกินพลังงานหรือกระแสเท่าไหร่?

P = Vrms ยกกำลังสอง / ค่าอิมพิแดนช์ของโหลด
1200 = Vrms ยกกำลังสอง / 2
Vrms ยกกำลังสอง = 1200 x 2 = 2400
Vrms = 48.99

P = VI
I  = P/V = 1200/48.99 =  24.49A

จะเห็นได้เลยว่าพาวเวอร์แอมป์ตัวที่สอง บริโภคพลังงานสูงกว่าตัวแรกถึง 7.17A โดยให้กำลังที่เท่ากันคือ 1200Wrms และที่สำคัญคือต้องใช้โหลดในจำนวนที่เยอะกว่าอีกหนึ่งเท่าตัว ในการที่จะขนานโหลดให้ได้อิมพิแดนช์ที่ 2 Ohms (โหลดมาตรฐานของงาน PA คือ 8 Ohms)

หรือพูดง่ายๆ ก็คือ พาวเวอร์ตัวที่หนึ่งขับโหลด (ดอกลำโพง) 500Wrms @ 8 Ohms แค่สองดอก ได้กำลัง (ความดัง) เท่ากับที่พาวเวอร์ตัวที่สองขับโหลด (ดอกลำโพง) 500Wrsm @ 8 Ohms รุ่นเดียวกันถึง สี่ดอก และยังกินพลังงานน้อยกว่าตัวที่สองถึง 7.17A

แล้วเราจะเลือกใช้พาวเวอร์แอมป์แบบไหน? ในระบบกันดี

หมายเหตุ การบริโภคพลังงานหรือกระแสที่คำนวณยังไม่รวมพลังงานที่สูญเปล่าไปกับความร้อนในภาคขยายของพาวเวอร์แอมป์

 smileyy

 





จริงอยู่ครับ ตัวที่สองกินกระแสมากกว่าก็จริงครับ แต่อย่าลืมว่าที่โหลดหรืออิมพีแดนซ์ที่น้อยกว่า หรือตรงๆก็คือแรงดันก็จะน้อยกว่าตัวแรกครับ  และโดยหลักการแล้ว ผลรวมของกำลังวัตต์ก็คือกระแสคูณด้วยแรงดันครับ


อย่างที่ท่านยกตัวอย่างตัวแรกยังไงก็ใช้แรงดันมากกว่าตัวที่สองอยู่แล้ว การที่จะกินกระแสน้อยกว่าตัวที่สองก็เป็นเรื่องปรกติ ครับ

อย่าลืมนะครับว่า กำลังวัตต์ก็คือ (กระแส x แรงดัน) ครับ การที่ท่านจะบอกว่าเครื่องตัวที่ 1 กินกระแสน้อยกว่าแล้วดี นั้นไม่ถูกต้องเสมอไปครับ
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้
เริ่มหัวข้อโดย: sam_aj ที่ มกราคม 29, 2012, 04:15:30 pm
ประเด็นที่น่าสนใจอีกประเด็นหนึ่งในการพัฒนาของพาวเวอร์แอมป์ ก็คือ การประหยัดพลังงาน ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั่วโลก  เรามาลองวิเคราะห์พาวเวอร์แอมป์คู่นี้ดูครับ

ระหว่าง
1. พาวเวอร์แอมป์ 1200Wrms @ 4 Ohms  กับ 
2. พาวเวอร์แอมป์ 1200Wrms @ 2 Ohms 
เราจะเห็นได้ว่าพาวเวอร์สองตัวนี้สามารถให้กำลังออกมาได้เท่ากันคือ 1200Wrms (ต่างกันที่อิมพิแดนช์ของโหลด)  มองแบบผิวเผินก็ไม่แตกต่างกัน  แต่ทั้งสองตัวบริโภคพลังงาน หรือ กระแสไม่เท่ากัน  เรามาดูว่าพาวเวอร์ทั้งสองตัวบริโภคพลังงานต่างกันเท่าไหร่?

ตัวที่หนึ่ง 1200Wrms @ 4 Ohms  เรามาลองคำนวณดูว่าใช้ แรงดัน Vrms เท่าไหร่? และกินพลังงานหรือกระแสเท่าไหร่?

P = Vrms ยกกำลังสอง / ค่าอิมพิแดนช์ของโหลด
1200 = Vrms ยกกำลังสอง / 4
Vrms ยกกำลังสอง = 1200 x 4 = 4800
Vrms = 69.28

P = VI
I  = P/V = 1200/69.28 =  17.32A

ตัวที่สอง 1200Wrms @ 2 Ohms  เรามาลองคำนวณดูว่าใช้ แรงดัน Vrms เท่าไหร่? และกินพลังงานหรือกระแสเท่าไหร่?

P = Vrms ยกกำลังสอง / ค่าอิมพิแดนช์ของโหลด
1200 = Vrms ยกกำลังสอง / 2
Vrms ยกกำลังสอง = 1200 x 2 = 2400
Vrms = 48.99

P = VI
I  = P/V = 1200/48.99 =  24.49A

จะเห็นได้เลยว่าพาวเวอร์แอมป์ตัวที่สอง บริโภคพลังงานสูงกว่าตัวแรกถึง 7.17A โดยให้กำลังที่เท่ากันคือ 1200Wrms และที่สำคัญคือต้องใช้โหลดในจำนวนที่เยอะกว่าอีกหนึ่งเท่าตัว ในการที่จะขนานโหลดให้ได้อิมพิแดนช์ที่ 2 Ohms (โหลดมาตรฐานของงาน PA คือ 8 Ohms)

หรือพูดง่ายๆ ก็คือ พาวเวอร์ตัวที่หนึ่งขับโหลด (ดอกลำโพง) 500Wrms @ 8 Ohms แค่สองดอก ได้กำลัง (ความดัง) เท่ากับที่พาวเวอร์ตัวที่สองขับโหลด (ดอกลำโพง) 500Wrsm @ 8 Ohms รุ่นเดียวกันถึง สี่ดอก และยังกินพลังงานน้อยกว่าตัวที่สองถึง 7.17A

แล้วเราจะเลือกใช้พาวเวอร์แอมป์แบบไหน? ในระบบกันดี

หมายเหตุ การบริโภคพลังงานหรือกระแสที่คำนวณยังไม่รวมพลังงานที่สูญเปล่าไปกับความร้อนในภาคขยายของพาวเวอร์แอมป์

 smileyy

 





จริงอยู่ครับ ตัวที่สองกินกระแสมากกว่าก็จริงครับ แต่อย่าลืมว่าที่โหลดหรืออิมพีแดนซ์ที่น้อยกว่า หรือตรงๆก็คือแรงดันก็จะน้อยกว่าตัวแรกครับ  และโดยหลักการแล้ว ผลรวมของกำลังวัตต์ก็คือกระแสคูณด้วยแรงดันครับ


อย่างที่ท่านยกตัวอย่างตัวแรกยังไงก็ใช้แรงดันมากกว่าตัวที่สองอยู่แล้ว การที่จะกินกระแสน้อยกว่าตัวที่สองก็เป็นเรื่องปรกติ ครับ

อย่าลืมนะครับว่า กำลังวัตต์ก็คือ (กระแส x แรงดัน) ครับ การที่ท่านจะบอกว่าเครื่องตัวที่ 1 กินกระแสน้อยกว่าแล้วดี นั้นไม่ถูกต้องเสมอไปครับ

โวลท์สูงกว่า กินกระแสน้อยกว่าไม่ดีอย่างไรหรือครับ?  มาแชร์ความรู้กันครับ

 smileyy
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในพาวเวอร์แอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: fm90_f ที่ มกราคม 29, 2012, 04:24:39 pm
มาเพิ่มความรู้อีกครับ  smiley4
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้
เริ่มหัวข้อโดย: K_SOUNDTURBO ที่ มกราคม 29, 2012, 04:55:40 pm


โวลท์สูงกว่า กินกระแสน้อยกว่าไม่ดีอย่างไรหรือครับ?  มาแชร์ความรู้กันครับ

 smileyy


ผมงงหรือท่านงง น้อ

กินกระแสน้อยกว่านั้นดีครับ ใครๆก็ชอบ แต่ที่ผมพยายามบอกว่า ผลรวมของกำลังวัตต์ก็คือ (แรงดันคูณด้วยกระแส) อย่างตัวอย่างเพาเวอร์แอมป์สองตัวที่ท่านยกตัวอย่างในกระทู้ข้างบน ถ้าคนที่เป็นช่างจะรู้เลยว่า ตัวแรกนั้นแรงดันไฟที่ใช้เลี้ยงวงจรจะสูงกว่าเพาเวอร์แอมป์ตัวที่สองนะครับ และการเทสกำลังวัตต์นั้น การที่จะรู้ว่าได้กำลังวัตต์เท่าไรนั้น ต้องรู้ตัวเลขเหล่านี้คือ อิมพิแดนซ์ลำโพงและแรงดันที่ตกคร่อมลำโพงครับ และถ้าแรงดันที่ใช้เลี้ยงวงจรสูงๆนั้นก็ค่อนข้างจะได้เปรียบหน่อยก็คือ กระแสที่หาได้จะน้อยกว่านั่นเองครับ

ส่วนที่ว่าเครื่องตัวที่หนึ่งกินหรือบริโภคพลังงานน้อยหรือที่ท่านหมายความถึงกินกระแสน้อยกว่าตัวที่สองนั้นก็จริงครับ ที่ว่าจริงก็คือเครื่องตัวที่สองใช้แรงดันไฟเลี้ยงน้อยกว่าตัวแรกนั่นเองครับ

ทีนี้ปัญหาอยู่ที่พลังงานขาเข้าครับ (AC 220) ก็คือกระแสขาออกจะมากกว่ากันสักเท่าใด แต่ถ้ากำลังงานที่ออกมาได้เท่ากัน กำลังงานขาเข้าก็ย่อมที่จะต้องใช้เท่ากันนะครับ ( อาจจะมีข้อยกเว้นสำหรับคลาสดี หรือคลาสอื่นๆที่ทำออกมาใหม่ๆครับ)  ผมถึงบอกว่าเครื่องที่หนึ่งกินกระแสน้อยกว่าเครื่องที่สองก็ใช่ว่าจะดีกว่าเสมอไปครับ

พอจะเข้าใจนะครับ
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้
เริ่มหัวข้อโดย: sam_aj ที่ มกราคม 29, 2012, 05:17:44 pm


โวลท์สูงกว่า กินกระแสน้อยกว่าไม่ดีอย่างไรหรือครับ?  มาแชร์ความรู้กันครับ

 smileyy


ผมงงหรือท่านงง น้อ

กินกระแสน้อยกว่านั้นดีครับ ใครๆก็ชอบ แต่ที่ผมพยายามบอกว่า ผลรวมของกำลังวัตต์ก็คือ (แรงดันคูณด้วยกระแส) อย่างตัวอย่างเพาเวอร์แอมป์สองตัวที่ท่านยกตัวอย่างในกระทู้ข้างบน ถ้าคนที่เป็นช่างจะรู้เลยว่า ตัวแรกนั้นแรงดันไฟที่ใช้เลี้ยงวงจรจะสูงกว่าเพาเวอร์แอมป์ตัวที่สองนะครับ และการเทสกำลังวัตต์นั้น การที่จะรู้ว่าได้กำลังวัตต์เท่าไรนั้น ต้องรู้ตัวเลขเหล่านี้คือ อิมพิแดนซ์ลำโพงและแรงดันที่ตกคร่อมลำโพงครับ และถ้าแรงดันที่ใช้เลี้ยงวงจรสูงๆนั้นก็ค่อนข้างจะได้เปรียบหน่อยก็คือ กระแสที่หาได้จะน้อยกว่านั่นเองครับ

ส่วนที่ว่าเครื่องตัวที่หนึ่งกินหรือบริโภคพลังงานน้อยหรือที่ท่านหมายความถึงกินกระแสน้อยกว่าตัวที่สองนั้นก็จริงครับ ที่ว่าจริงก็คือเครื่องตัวที่สองใช้แรงดันไฟเลี้ยงน้อยกว่าตัวแรกนั่นเองครับ

ทีนี้ปัญหาอยู่ที่พลังงานขาเข้าครับ (AC 220) ก็คือกระแสขาออกจะมากกว่ากันสักเท่าใด แต่ถ้ากำลังงานที่ออกมาได้เท่ากัน กำลังงานขาเข้าก็ย่อมที่จะต้องใช้เท่ากันนะครับ ( อาจจะมีข้อยกเว้นสำหรับคลาสดี หรือคลาสอื่นๆที่ทำออกมาใหม่ๆครับ)  ผมถึงบอกว่าเครื่องที่หนึ่งกินกระแสน้อยกว่าเครื่องที่สองก็ใช่ว่าจะดีกว่าเสมอไปครับ

พอจะเข้าใจนะครับ

ดีครับมาแชร์ความคิดเห็นกัน ไม่มีใคร งง หรอกครับเพียงแต่มองคนละมุม  ท่านเน้นประเด็นที่ว่าแล้วกระแสขาเข้าของแอมป์สองตัวนี้บริโภคเท่ากันหรือเปล่า?   อันนี้พิสูจน์ได้ไม่ยากครับ เอาแอมป์สองตัวนี้มาต่อดัมมี่โหลดเพื่อให้ได้วัตต์เท่ากัน แล้วใช้แคมป์มิเตอร์จับวัดกระแสของไฟประธานขาเข้าดูก็รู้แล้วครับ  ท่านลองดูครับไม่ได้ยากแต่อย่างใด

ส่วนประเด็นที่ผมถาม ท่านยังไม่ได้แชร์ความเห็นเลยว่าแล้วมันไม่ดีอย่างไรครับ?

 smileyy
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในพาวเวอร์แอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: sam_aj ที่ มกราคม 29, 2012, 05:22:45 pm
ต้องขออนุญาตกล่าวออกตัวสักเล็กน้อย  ความคิดเห็นของผมในกระทู้นี้ ไม่ได้ต้องการนำเสนอเพื่อผลประโยชน์ทางการค้าแต่อย่างใดนะครับ อย่าเข้าใจผิด ถึงผมจะเป็นผู้ขายพาวเวอร์แอมป์คลาสอื่น ๆ เช่น คลาส H ที่ไม่ใช่คลาส AB อยู่ก็ตาม  แต่ถ้าแอมป์คลาส AB มีข้อดีมากกว่าข้อเสียจริงและเหมาะสมกับระบบเสียงในปัจจุบันนี้  ผมก็สามารถเอาวงจรไปให้ทางโรงงานผลิตและนำเข้ามาจำหน่ายได้เหมือนกัน 

ดังนั้นที่ผมนำเสนอความเห็นมาตั้งแต่ต้นจึงไม่เกี่ยวกับเรื่องทางการค้าแต่อย่างใดแต่เป็นเรื่องของพัฒนาการทางเทคนิคและแนวทางในการจัดการระบบเสียงในปัจจุบัน

จึงขออนุญาตเรียนชี้แจงให้ทราบก่อน  ก่อนที่จะมาแชร์ความคิดเห็นกันนะครับ  แต่หากว่าข้อคิดเห็นนี้ไปกระทบกับท่านใดที่ประกอบแอมป์คลาส AB เพื่อการค้าอยู่  ก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในพาวเวอร์แอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: patipantor ที่ มกราคม 29, 2012, 05:24:19 pm
ขอบคุณครับความรู้ทั้งนั้นครับ
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้
เริ่มหัวข้อโดย: K_SOUNDTURBO ที่ มกราคม 29, 2012, 06:03:40 pm


โวลท์สูงกว่า กินกระแสน้อยกว่าไม่ดีอย่างไรหรือครับ?  มาแชร์ความรู้กันครับ

 smileyy


ผมงงหรือท่านงง น้อ

กินกระแสน้อยกว่านั้นดีครับ ใครๆก็ชอบ แต่ที่ผมพยายามบอกว่า ผลรวมของกำลังวัตต์ก็คือ (แรงดันคูณด้วยกระแส) อย่างตัวอย่างเพาเวอร์แอมป์สองตัวที่ท่านยกตัวอย่างในกระทู้ข้างบน ถ้าคนที่เป็นช่างจะรู้เลยว่า ตัวแรกนั้นแรงดันไฟที่ใช้เลี้ยงวงจรจะสูงกว่าเพาเวอร์แอมป์ตัวที่สองนะครับ และการเทสกำลังวัตต์นั้น การที่จะรู้ว่าได้กำลังวัตต์เท่าไรนั้น ต้องรู้ตัวเลขเหล่านี้คือ อิมพิแดนซ์ลำโพงและแรงดันที่ตกคร่อมลำโพงครับ และถ้าแรงดันที่ใช้เลี้ยงวงจรสูงๆนั้นก็ค่อนข้างจะได้เปรียบหน่อยก็คือ กระแสที่หาได้จะน้อยกว่านั่นเองครับ

ส่วนที่ว่าเครื่องตัวที่หนึ่งกินหรือบริโภคพลังงานน้อยหรือที่ท่านหมายความถึงกินกระแสน้อยกว่าตัวที่สองนั้นก็จริงครับ ที่ว่าจริงก็คือเครื่องตัวที่สองใช้แรงดันไฟเลี้ยงน้อยกว่าตัวแรกนั่นเองครับ

ทีนี้ปัญหาอยู่ที่พลังงานขาเข้าครับ (AC 220) ก็คือกระแสขาออกจะมากกว่ากันสักเท่าใด แต่ถ้ากำลังงานที่ออกมาได้เท่ากัน กำลังงานขาเข้าก็ย่อมที่จะต้องใช้เท่ากันนะครับ ( อาจจะมีข้อยกเว้นสำหรับคลาสดี หรือคลาสอื่นๆที่ทำออกมาใหม่ๆครับ)  ผมถึงบอกว่าเครื่องที่หนึ่งกินกระแสน้อยกว่าเครื่องที่สองก็ใช่ว่าจะดีกว่าเสมอไปครับ

พอจะเข้าใจนะครับ

ดีครับมาแชร์ความคิดเห็นกัน ไม่มีใคร งง หรอกครับเพียงแต่มองคนละมุม  ท่านเน้นประเด็นที่ว่าแล้วกระแสขาเข้าของแอมป์สองตัวนี้บริโภคเท่ากันหรือเปล่า?   อันนี้พิสูจน์ได้ไม่ยากครับ เอาแอมป์สองตัวนี้มาต่อดัมมี่โหลดเพื่อให้ได้วัตต์เท่ากัน แล้วใช้แคมป์มิเตอร์จับวัดกระแสของไฟประธานขาเข้าดูก็รู้แล้วครับ  ท่านลองดูครับไม่ได้ยากแต่อย่างใด

ส่วนประเด็นที่ผมถาม ท่านยังไม่ได้แชร์ความเห็นเลยว่าแล้วมันไม่ดีอย่างไรครับ?

 smileyy


ครับ  ดูๆแล้วมองคนละมุมจริงๆครับ ผมมองเรื่องกำำำำำลังงานรวมที่ใช้ในเครื่องทั้งหมด แต่ท่านมองแค่ว่าใช้แรงดันที่สูงกว่าแล้วจะใช้กระแสในวงจรน้อยกว่า แล้วมีผลดีกว่าวงจรที่ใช้กระแสสูงๆครับ


มาเข้าเรื่่องครับ การใช้แรงดันสูงๆมีผลดีคือกำลังวัตต์ที่ได้ก็จะสูงตามครับ อย่างการใช้แอมป์คลาสเอชแทนคลาสเอบีไงครับ แรงดันที่ใช้ถือว่าสูงมากๆเมื่อเทียบกับเอบี (สำหรับคลาสเอบีก็มีแอมป์บริดจ์ไงครับ) แต่มีข้อดีก็ต้องมีข้อเสียเป็นธรรมดาล่ะครับ ไม่ว่าจะเป็นขีดจำกัดของอุปกรณ์ทุกตัวที่ใช้ในวงจร และรวมถึงเสถียรภาพของวงจรด้วยครับ
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้
เริ่มหัวข้อโดย: sam_aj ที่ มกราคม 29, 2012, 06:29:00 pm


ครับ  ดูๆแล้วมองคนละมุมจริงๆครับ ผมมองเรื่องกำำำำำลังงานรวมที่ใช้ในเครื่องทั้งหมด แต่ท่านมองแค่ว่าใช้แรงดันที่สูงกว่าแล้วจะใช้กระแสในวงจรน้อยกว่า แล้วมีผลดีกว่าวงจรที่ใช้กระแสสูงๆครับ


มาเข้าเรื่่องครับ การใช้แรงดันสูงๆมีผลดีคือกำลังวัตต์ที่ได้ก็จะสูงตามครับ อย่างการใช้แอมป์คลาสเอชแทนคลาสเอบีไงครับ แรงดันที่ใช้ถือว่าสูงมากๆเมื่อเทียบกับเอบี (สำหรับคลาสเอบีก็มีแอมป์บริดจ์ไงครับ) แต่มีข้อดีก็ต้องมีข้อเสียเป็นธรรมดาล่ะครับ ไม่ว่าจะเป็นขีดจำกัดของอุปกรณ์ทุกตัวที่ใช้ในวงจร และรวมถึงเสถียรภาพของวงจรด้วยครับ


ถูกต้องที่สุดตามที่ท่านว่ามาครับ ไม่มีอะไรดีไปหมดโดยไม่มีข้อเสีย ซึ่งเราต้องเอาข้อดี ข้อเสียในทุกด้านมาวิเคราะห์ แล้วชั่งดูว่าอะไรมันมากกว่ากัน  ประเด็นที่ท่านว่ามา ท่านไปลองทดสอบอย่างที่ผมว่าก่อนแล้วท่านจะพบความจริง ประเด็นการบริโภคพลังงานเป็นเพียงแค่ประเด็นเดียวเท่านั้น ยังมีประเด็นอื่นอีกหลายประเด็นที่กล่าวถึงซึ่งผมไม่ได้มองแค่ประเด็นเดียวอย่างที่ท่านมองอยู่ตอนนี้  โดยเฉพาะปัจจุบันนี้โหลด หรือดอกลำโพงพัฒนาไปไม่หยุด รองรับกำลังขับได้สูงกว่าในอดีตเป็นเท่าตัว  แล้วเค้าพัฒนาดอกลำโพง PA ที่รองรับกำลังขับสูง ๆ โดยที่อิมพิแดนช์ยังเท่าเดิมที่ 8 โอห์มเพื่ออะไร? ทำไมไม่ทำอิมพิแดนซ์ 4 โอห์ม หรือ 2 โอห์ม เรื่องนี้มันมีนัยเกี่ยวพันอีกหลายเรื่องที่ผมยังไม่ได้กล่าวถึง 

เอาแค่ที่ผมยกตัวอย่างมาข้างต้น  พาวเวอร์ตัวที่หนึ่ง ขับดอกลำโพง 2 ดอก ดังได้เท่ากับ พาวเวอร์ตัวที่สอง ที่ต้องใช้ดอกลำโพงถึง 4 ดอกในรุ่นเดียวกัน  ถามว่าแล้วเรา ๆ ท่าน ๆ ควรจะใช้พาวเวอร์แอมป์ตัวไหนครับ?  ยกไป 4 ตู้ ดังเท่ากับ 2 ตู้ เพื่ออะไร?

เมื่อก่อนตอนที่เทคโนโลยี่ ดิจิตอล เกิดใหม่ ๆ ก็มีคนแย้ง ถกเถียงกันเรื่อง ดิจิตอล กับ อนาล็อก ว่าดิจิตอล สู้ อนาล็อก ไม่ได้  ท่านดูสิ ปัจจุบันนี้เป็นอย่างไร? เทคโนโลยี่ที่พัฒนาก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อย ๆ มันมีเหตุผลและที่มาที่ไปครับ มันไม่ได้ดีกว่าในทุกเรื่อง แต่กล่าวคือ มันมีข้อดีมากกว่าข้อเสียนั่นเอง



 smileyy

หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในพาวเวอร์แอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: gAudio ที่ มกราคม 29, 2012, 10:35:31 pm
คุณภาพ กับ ประสิทธิภาพ อย่าลืม นำเอาไปวิเคราะห์ด้วยครับ สองอย่างนี้มันไปด้วยกันยากครับ ตราบใดที่เครื่องเสียงยังนำความร้อนและความถี่มาเกี่ยวข้อง





หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในพาวเวอร์แอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: sam_aj ที่ มกราคม 29, 2012, 11:22:48 pm
คุณภาพ กับ ประสิทธิภาพ อย่าลืม นำเอาไปวิเคราะห์ด้วยครับ สองอย่างนี้มันไปด้วยกันยากครับ ตราบใดที่เครื่องเสียงยังนำความร้อนและความถี่มาเกี่ยวข้อง


ไม่ทราบว่าท่านกำลังหมายถึงอะไร ?  ลองแชร์ความคิดกัน เพื่อจะได้ช่วยกันวิเคราะห์เพื่อหาข้อเท็จจริงที่ถูกต้องกันครับ

 smileyy
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในพาวเวอร์แอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: - วายุ - ที่ มกราคม 29, 2012, 11:28:42 pm
แล้วถ้าเรื่องความร้อนละครับ มีผลกับเสียงหรือเปล่าครับ  เห็นบอกว่า Class H ความร้อนจะมีน้อยกว่า Class AB
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในพาวเวอร์แอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: sam_aj ที่ มกราคม 30, 2012, 12:09:26 am
แล้วถ้าเรื่องความร้อนละครับ มีผลกับเสียงหรือเปล่าครับ  เห็นบอกว่า Class H ความร้อนจะมีน้อยกว่า Class AB

เรื่องความร้อนเป็นเรื่องของการสูญเสียพลังงานของภาคขยายไปกับความร้อนครับ  แอมป์ที่ร้อนน้อยกว่า หมายถึงประสิทธิภาพในการทำงานเมื่อเทียบกับอัตราสูญเสียพลังงานแล้วสูงกว่าแอมป์ที่ร้อนมากกว่าครับ 

การที่สูญเสียพลังงานน้อยกว่าที่กำลังวัตต์เท่ากัน  ก็เท่ากับบริโภคพลังงานน้อยกว่านั่นเอง

 smileyy
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในพาวเวอร์แอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: thawornsound ที่ มกราคม 30, 2012, 12:44:45 am
อยากรู้ว่าทำไมลำโพงถึงจำกัดไว้แค่8โอห์ม หรือ4โอห์มสำหรับรถยนต์ ขอบคุณครับสำหรับความรู้ดีๆ smiley4
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในพาวเวอร์แอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: THE BACK UP SOUND ที่ มกราคม 30, 2012, 12:52:17 am
เก็บใส่สมอง smiley4
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในพาวเวอร์แอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: sam_aj ที่ มกราคม 30, 2012, 01:02:36 am
อยากรู้ว่าทำไมลำโพงถึงจำกัดไว้แค่8โอห์ม หรือ4โอห์มสำหรับรถยนต์ ขอบคุณครับสำหรับความรู้ดีๆ smiley4

ในทางเทคนิค ต้องขอตอบจริง ๆ ว่าไม่ทราบครับ   แหะ ๆ  ถ้าตอบแบบมั่ว ๆ มันก็คือ ที่ค่าอิมพิแดนช์นั้น ให้ประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งานของแต่ละรูปแบบ (ประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ได้หมายถึงดีที่สุดเสมอไปนะครับ บางครั้งประสิทธิภาพสูงสุดหมายถึงต้นทุนต่ำสุดบนคุณภาพที่ต้องการได้เหมือนกัน อิอิ)

แต่ทุกอย่างมีเหตุผลและที่มาที่ไปแน่นอนครับ ดอกลำโพงฝรั่งเค้าคิดประดิษฐ์กันมานานมากแล้ว ก็เหมือนมาตรฐานแรงดันไฟที่ใช้ตามบ้าน  ทำไมต้อง 110V หรือ 220V

 smileyy
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในพาวเวอร์แอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: gAudio ที่ มกราคม 30, 2012, 11:14:54 am
อยากรู้ว่าทำไมลำโพงถึงจำกัดไว้แค่8โอห์ม หรือ4โอห์มสำหรับรถยนต์ ขอบคุณครับสำหรับความรู้ดีๆ smiley4
....
ลองอ่านดูครับ .... ยังมีอีกมากมายในโลกนี้ ที่รอเราเรียนรู้ครับ smiley4
http://www.ecoustics.com/electronics/forum/home-audio/7636.html
http://www.aqdi.com/speakerz.htm
http://www.prestonelectronics.com/audio/Impedance.htm
http://www.ask.com/questions-about/Difference-between-4-Ohm-and-8-Ohm-Speakers
http://www.rocketroberts.com/techart/spkr.htm
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในพาวเวอร์แอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: หมู มือลาย ที่ มกราคม 30, 2012, 03:27:24 pm
กระทู้นี้ดีมีสาระ อาจมีความแย้งกันป้างในทางทฤษฏีและปฎิบัติ ผมก็เข้าใจอย่างที่เฮียสมโภสบอกแหละ เพราะเข้าทางทฤษฏีตอนทำโปรเจคสมัยเรียน ผมเข้าใจและสรุปดังนี้ กำลังที่ออกจากเอาพุตภาคขยายนั้น เมือต้องการทราบกำลังวัตต์ก็จะต้องวัดแรงดันตกครอมโหลดจริงใหมครับ ยิ่งวัดแรงได้สูงยิ่งกำลังวัตต์สูง ที่นี้มันจะสูงได้ยังไงผมว่ามันต้องมาจากแหล่งจ่ายไฟแหละว่าจ่ายไฟสูงมาแค่ใหน จ่ายมาสูงก็ออกสูง จ่ายมาต่ำก็ออกต่ำ แน่นอนไฟ 90-0-90 ต้องได้แรงดันเอาพุตมากกว่าไฟ70-0-70 อยู่แล้วว่าไหมถึงตอนนี้หลายท่านอาจจะแย้ง แล้วกระแสว่าไปเกี่ยวกันยังไง ผมเข้าใจและอธิบายตามนี้(ผมขออ้างที่ไฟชัพพายที่ 90 สมมุติกระแส15 แอมป์ และ 70 กระแส25 แอมป์ ขอย้ำว่าสมมุตินะครับ) ที่ 90 วัดแรงดันขณะตกคร่อมโหลดสุงสุดที่ยังไม่ขลิปได้ 75 Vrms  แต่พอเพิ่มแรงดันอินพุตไปอีกจบขลิบยอดอาจจะตกลงที่ประมาณ 68 Vrms ที่นี้มาดูด้านไฟ 70 กันบ้างแต่กระแสสูงกว่าตัวไฟ 90 ตัวไฟ70วัดแรงดันสูงสุดตกครอมโหลดอาจได้ที่ 55 Vrms ชึ่งต่ำกว่าไฟซัพพาย ที่ 90 อยู่แล้วนั้นคือเรื่องจริง แต่พอเพิ่มแรงดันอินพุดขึ้นอีกยอดขลิปอาจจะไม่ตกลงง่าย เีพียงแต่ว่าแรงดันมันไม่เพิ่มขึ้นเฉยนั้นหมายความว่ายังอัดเบสได้อีกโดยที่เสียงไม่เบลอ นี้เป็นสาเหตุให้หลายๆคนถามว่า ซัพพาย [/foไฟต่ำกระแสสูงกับไฟสูงกระแสต่ำ ตัวไหนดีคงพอจะเข้าใจหรือนึกภาพออกนะครับ นี่ยังไม่รวมถึงการการคิดในด้านประสิทธิภาพที่หลายท่านพูดถึง คลาสที่พัฒนากันอยู่ทุกวันนี้ความสูญเสียนี้แหละ ทุกคลาสมีการสูญเสีย  จ่ายไฟ 90 ใช่ได้จะได้ที่ 90  smiley4อาจสูญเสียไปกับความร้อนแล้ว 15 ก็ได้ เอาคร่าวๆก่อน ทฎษฎีจริงๆเดียวให้อาจาย์ท่านอื่นๆมาต่อ smiley4
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในพาวเวอร์แอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: หมู มือลาย ที่ มกราคม 30, 2012, 03:36:38 pm
คุณภาพ กับ ประสิทธิภาพ อย่าลืม นำเอาไปวิเคราะห์ด้วยครับ สองอย่างนี้มันไปด้วยกันยากครับ ตราบใดที่เครื่องเสียงยังนำความร้อนและความถี่มาเกี่ยวข้อง


ไม่ทราบว่าท่านกำลังหมายถึงอะไร ?  ลองแชร์ความคิดกัน เพื่อจะได้ช่วยกันวิเคราะห์เพื่อหาข้อเท็จจริงที่ถูกต้องกันครับ

 smileyy
ผมขอตอบคราวๆ ที่ผมพอเข้าใจนะครับ ประสิทธิภาพ คือการเครื่องขยายเสียงเครื่องหนึ่งกินกำลังไฟ XXX วัตต์ กำลังเอ้าพุตมันก็ควรจะออกมาได้ไกล้เคียงกับ XXX มากที่สุด อย่างคลาส AB ก็จะเสียไป 20% ฉนั้นจ่ายไฟซับพาย 90 เอ้าพูตก็อาจะละลงมา 20% หรือมากกว่านั้น คลาส D เสีย 5 % ก็ลองไปคิดดู ครับ smiley4
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในพาวเวอร์แอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: nok_rc ที่ มกราคม 30, 2012, 04:00:15 pm
ข้อด้อยของเพาเวอร์แอมป์class Hที่เจอมาคือ เปิดเบาๆ ขับเบสไม่ออก เอามาฟังในบ้านหรือเปิดเบาๆ ผมจึงต้องเลือกใช้แอมป์บริดจ์ มันเพราะอะไร มาแชร์กันหน่อย  smiley4
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในพาวเวอร์แอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: pupan ที่ มกราคม 30, 2012, 07:26:46 pm
คุณภาพ กับ ประสิทธิภาพ อย่าลืม นำเอาไปวิเคราะห์ด้วยครับ สองอย่างนี้มันไปด้วยกันยากครับ ตราบใดที่เครื่องเสียงยังนำความร้อนและความถี่มาเกี่ยวข้อง


ไม่ทราบว่าท่านกำลังหมายถึงอะไร ?  ลองแชร์ความคิดกัน เพื่อจะได้ช่วยกันวิเคราะห์เพื่อหาข้อเท็จจริงที่ถูกต้องกันครับ

 smileyy

คงจะหมายถึงเรื่องคลาสของวงจรขยาย  คุณภาพของเสียง เฟส สัญญาณเจือปน ฯลฯ กระมังครับ
ถ้าคุยเรื่องนี้เห็นทีจะยาวๆๆๆๆ ต้องมีกระดาษปากกาประกอบการถกเถียงด้วย  smiley4
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในพาวเวอร์แอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: BS-PT ที่ มกราคม 30, 2012, 07:45:25 pm
อ่านกระทู้นี้แล้ว สนุก ^^

ผู้บริโภคต้องเป็นแบบผมแน่เลย

ต้องการต่อขนานได้หลายๆดอก (ต่ำกว่า 2 โอห์มได้ยิ่งดี จะได้ไม่เปลือง Power)

ต้องการราคาถูกๆ

ต้องการเสียงดีๆ

ต้องการแรงๆ

ต้องการกินไฟน้อยๆ

ต้องการน้ำหนักเบาๆ

555+

 smiley4
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในพาวเวอร์แอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: sam_aj ที่ มกราคม 30, 2012, 07:46:59 pm
ข้อด้อยของเพาเวอร์แอมป์class Hที่เจอมาคือ เปิดเบาๆ ขับเบสไม่ออก เอามาฟังในบ้านหรือเปิดเบาๆ ผมจึงต้องเลือกใช้แอมป์บริดจ์ มันเพราะอะไร มาแชร์กันหน่อย  smiley4

ไม่ใช่เรื่องแปลกหรอกครับ  เรื่องนี้อธิบายได้ในสองประเด็น ตามความเห็นของผมเองนะครับ

1. ถ้าท่านต่อโหลดที่ 8 โอห์ม แอมป์บริดจ์ทำงานที่ 4 โอห์ม ไม่ใช่ 8 โอห์มครับท่าน กำลังต้องแรงกว่าแน่นอน
2. ที่ท่านว่าเปิดเบา ๆ ท่านคอนโทรลความแรงของสัญญาณอินพุทที่เข้าแอมป์จากอะไร ? หรือ ต่อจากเครื่องเล่นเข้าแอมป์ตรงครับ  แอมป์แต่ละตัววงจรอินพุทออกแบบมาให้มีอัตราความไวในการขยายสัญญาณไม่เท่ากัน ดังนั้นถ้าจะบอกว่าเร่งจากปรีแอมป์ หรือมิกซ์เท่ากัน ตัวนั้นแรงกว่าตัวนี้ คงไม่ได้ หากจะเปรียบเทียบอย่างที่ท่านว่ามาจริง ๆ ต้องหาแอมป์ที่มีอัตราความไวในการขยายสัญญาณอินพุทเท่า ๆ กัน มาเปรียบเทียบครับ

เชิญความเห็นท่านต่อไปครับ

 smileyy
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในพาวเวอร์แอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: sam_aj ที่ มกราคม 30, 2012, 11:32:39 pm
อ่านกระทู้นี้แล้ว สนุก ^^

ผู้บริโภคต้องเป็นแบบผมแน่เลย

ต้องการต่อขนานได้หลายๆดอก (ต่ำกว่า 2 โอห์มได้ยิ่งดี จะได้ไม่เปลือง Power)

ต้องการราคาถูกๆ

ต้องการเสียงดีๆ

ต้องการแรงๆ

ต้องการกินไฟน้อยๆ

ต้องการน้ำหนักเบาๆ

555+

 smiley4

เหมือนผมเลยครับ  ผมก็อยากมีสินค้าแบบนั้นขายให้ผู้ใช้เหมือนกันเปี๊ยบ

 smiley4
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในพาวเวอร์แอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างแอ้ด™ ที่ สิงหาคม 17, 2012, 08:19:40 pm
ในห้องสนทนาภาษาเครื่องเสียง ยังมีหลายกระทู้ที่เป้นเชิงพูดคุยทางเทคนิควงจร ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
จะพยายามคัดมาไว้ให้ เสียดายถ้าจะถูกลบไปเพราะมันเก่าอายุนานเกินที่จะมีใครไปพบอ่ะครับ  smiley4
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในพาวเวอร์แอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: สถิต เสียงตามสาย ศรีสะเกษ ที่ สิงหาคม 17, 2012, 09:04:33 pm
ดีๆครับช่วยคนหาแรง
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในแอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: KODUNG ที่ ตุลาคม 23, 2012, 04:41:11 pm
ถึงว่าทำไมคลาสHวัตถ์จึงสูงมาก แต่ตัวเล็ก
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในแอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: TANGTRT ที่ พฤศจิกายน 07, 2012, 01:26:49 am
ผมเป็นสมาชิกใหม่ ได้อ่านบทความที่ผ่านมาเรื่อง ของ Power amplifier ที่มีการแสดงความคิดกันหลายคิดเห็น ผมเป็นว่าก็เป็นเรื่องดีครับ เพราะความคิดเห็นที่แตกต่าง ทำให้เกิดการพัฒนา (คิดแตกต่างแต่ไม่แตกแยกน่ะครับ) ผมอาจมีคิดเห็นที่สอดคล้องกับเพื่อนสมาชิกของเราหลายท่าน เรื่องประสิทธิภาพและคุณภาพของ Power Amplifier ประสิทธิภาพ ผมคงเข้าใจในแง่เรื่องพลังงานที่สูญเสีย และพลังงานที่เราต้องการ เราจ่ายพลังงานได้ คือ Power input = Power output แต่ในโลกความเป็นจริง ของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเอง ไม่มีอะไร จ่ายพลังงานไป 100% (Power input) แล้วจะออกมา 100%( power output) ถ้าเป็นไปได้คงเป็นได้ทางเดียวคือ ทาง อุดมคติ หรือทางความคิดนั้นเอง  แต่ความเป็นจริง แม้ ทางทษฎี หรือ ทางปฎิบัติ เองกลับไม่เป็นเหมือน ทาง อุดมคติ ทางความคิดของเรา กลับมีความสูญเสียต่างๆนาๆเกิดขึ้นภายในอุปกรณ์ของ คือ Loss นั่นเอง คือความสูญเปล่าที่เกิดขึ้น โดยไม่เกิดประโยชน์ใดๆๆ อาจจะยกตัวอย่างแบบง่ายๆก็นะครับ เช่น หม้อแปลงไฟฟ้า ที่เราใช้กันไม่ว่าจะเป็น step up transfermer หรือ step down transfer ก็จะมีประสิทธิภาพ ไม่เกิน 60 - 70 %เท่านั้น  ดั้งสมการ n = (Pout/Pin) x100  (n คือ ประสิทธิภาพ ) 
Pout = Pin - กำลังสูญเสียในแกนเหล็ก - กำลังสูญเสียในขวดลวด   จากสมการ จะเห็นได้ว่า ประสิทธิภาพของหม้อแปลงไฟฟ้า ไม่มีทาง ถึง 100 % แน่นอน สำหรับคนทำหม้อแปลงไฟฟ้าคงรู้ดี แม้กระทั้งหม้อแปลงไฟฟ้าไม่จ่ายโหลด หม้อแปลงยังคงบริโภคพลังงานอยู่
     ผมคิดว่าเรื่อง Power Amplifier มีการสูญเสียพลังงานไม่ใช่น้อย เมื่อในแง่พลังงาน เมื่อมองในทางพลังงาน ผมค่อนข้างเห็นด้วยกับพี่ สมโภช เนื่องจากพลังงานเป็นเรื่องใกล้ตัวทุกคน คงหนีไม่พ้นแน่ครับ เราลองคิดดูน่ะครับ  หาก เรา power amp   อยู่ 1 เครื่อง ที่กินกระแสไฟฟ้าน้อย แต่สามารถให้กำลังขับที่สูงได้  สมมุติว่า กินกระไฟฟ้า 1 Amp ให้กำลังขับออกมาสัก 100w rms  กับ อีกเครื่องหนึ่ง กินกระแสไฟฟ้า 1.5 Amp ให้กำลังขับออกมา 100w rms เท่ากันกับเครื่องแรก ซึ่งต่างกันอยู่ที่ 0.5 Amp ถ้าหากเราใช้ power amp เครื่องแรก  2 เครื่องล่ะครับ ประหยัดกระแสไฟฟ้าได้ ตั้ง 1 Amp แต่ถ้ามากว่านี้ล่ะครับ คงไม่ต้องพูดถึงน่ะครับ ว่าเราสามารถช่วยประเทศชาติประหยัดพลังงานได้มากแค่ไหน และช่วยโลกเราได้มากเหมือนกัน (คงไม่ต้องพูดถึงน่ะครับ เรื่องทุนพลังงานไฟฟ้า และไฟ้าได้จากไหนบ้าง)     คงเช่นกัน การวิจัย ค้นคว้าพัฒนา เทคโนโลยีด้าน อุตสาหกรรม เครื่องขยายเสียง น่ะปัจจุบันไปไกลมาก ที่สำคัญ แน่นอนครับ ประสิทธิภาพที่ได้ต้องสูญเสียที่สุด แม้ไม่ได้ 100 %ก็ตาม 
      และเมื่อมองถึงคุณภาพ คงต้องพูดถึงคุณภาพของเส้นเสียงที่ได้ และอย่างไรก็ตามครับ การพัฒนา ก็พัฒนาควบคู่กันไป ทั้งประสิทธิภาพและคุณภาพ ของสิ้นค้า
      ผมก็เป็นคนหนึ่งที่สนใจในเรื่องของเครื่องขยายเสียง แต่ก็ไม่ลืมเรื่องพลังงาน ปัญหาโลกร้อน อีกมุมหนึ่ง เราผู้ใช้เครื่องขยายวัตต์สูงๆๆ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำลายโลกของเรา จึงขอเชิญชวนเพื่อนสามาชิก เลือกใช้สิ้นค้าที่ช่วยประหยัดพลังงาน น่ะครับ
      พอดีก็ลองค้นคว้าหา power amp ที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพ มาดูกันน่ะครับ ลองอ่านดู จึงเข้าใจว่า
   ทำไมต้อง power amp Class AB ,H ,D , หรือ EEEngin ตัวนี้นำมาเสนอเพื่อเป็นแนวทางในการเลือกใช้สินค้า
และความรู้ให้เพื่อนสมาชิก ไม่มากก็น้อยครับ
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2012/11/06/58378_1352226061.png)
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2012/11/06/58378_1352226188.png)
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2012/11/06/58378_1352226237.png)
       
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในแอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: kittipool ที่ พฤศจิกายน 08, 2012, 08:17:38 pm
อยากสอบถามเพื่อเป็นความรู้ครับ คือว่าผมมีหม้อแปลงเทอร์รอยอยู่ 1 ลูก ประมาณ 40-0-40 ผมจะสามารถใช้
ไบโพล่า A1943 กับ  C5200 ได้หรือไม่ครับ ออ...ลืมบอกไปว่า หม้อแปลง 15 แอมป์ ถ้าใช้ได้ ใส่ได้ประมาณ
กี่คู่ครับ  พอดีอยากลองประกอบไว้ฟังในบ้านและใช้นอกบ้านบ้าง แล้ว Watt ที่ได้ประมาณเท่าไร  แล้วการที่เราใช้
หม้อแปลงที่มีโวลล์สูงมันจะแตกต่างจากใช้โวลล์ต่ำแค่ใหนครับ  ขอคำแนะนำจากอาจารย์หน่อยครับ

 smiley4 smiley4 smiley4 smiley4 smiley4 loveit loveit
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในพาวเวอร์แอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: kiko ที่ มีนาคม 26, 2013, 01:22:56 pm
ประเด็นที่น่าสนใจอีกประเด็นหนึ่งในการพัฒนาของพาวเวอร์แอมป์ ก็คือ การประหยัดพลังงาน ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั่วโลก  เรามาลองวิเคราะห์พาวเวอร์แอมป์คู่นี้ดูครับ

ระหว่าง
1. พาวเวอร์แอมป์ 1200Wrms @ 4 Ohms  กับ 
2. พาวเวอร์แอมป์ 1200Wrms @ 2 Ohms 
เราจะเห็นได้ว่าพาวเวอร์สองตัวนี้สามารถให้กำลังออกมาได้เท่ากันคือ 1200Wrms (ต่างกันที่อิมพิแดนช์ของโหลด)  มองแบบผิวเผินก็ไม่แตกต่างกัน  แต่ทั้งสองตัวบริโภคพลังงาน หรือ กระแสไม่เท่ากัน  เรามาดูว่าพาวเวอร์ทั้งสองตัวบริโภคพลังงานต่างกันเท่าไหร่?

ตัวที่หนึ่ง 1200Wrms @ 4 Ohms  เรามาลองคำนวณดูว่าใช้ แรงดัน Vrms เท่าไหร่? และกินพลังงานหรือกระแสเท่าไหร่?

P = Vrms ยกกำลังสอง / ค่าอิมพิแดนช์ของโหลด
1200 = Vrms ยกกำลังสอง / 4
Vrms ยกกำลังสอง = 1200 x 4 = 4800
Vrms = 69.28

P = VI
I  = P/V = 1200/69.28 =  17.32A

ตัวที่สอง 1200Wrms @ 2 Ohms  เรามาลองคำนวณดูว่าใช้ แรงดัน Vrms เท่าไหร่? และกินพลังงานหรือกระแสเท่าไหร่?

P = Vrms ยกกำลังสอง / ค่าอิมพิแดนช์ของโหลด
1200 = Vrms ยกกำลังสอง / 2
Vrms ยกกำลังสอง = 1200 x 2 = 2400
Vrms = 48.99

P = VI
I  = P/V = 1200/48.99 =  24.49A

จะเห็นได้เลยว่าพาวเวอร์แอมป์ตัวที่สอง บริโภคพลังงานสูงกว่าตัวแรกถึง 7.17A โดยให้กำลังที่เท่ากันคือ 1200Wrms และที่สำคัญคือต้องใช้โหลดในจำนวนที่เยอะกว่าอีกหนึ่งเท่าตัว ในการที่จะขนานโหลดให้ได้อิมพิแดนช์ที่ 2 Ohms (โหลดมาตรฐานของงาน PA คือ 8 Ohms)

หรือพูดง่ายๆ ก็คือ พาวเวอร์ตัวที่หนึ่งขับโหลด (ดอกลำโพง) 500Wrms @ 8 Ohms แค่สองดอก ได้กำลัง (ความดัง) เท่ากับที่พาวเวอร์ตัวที่สองขับโหลด (ดอกลำโพง) 500Wrsm @ 8 Ohms รุ่นเดียวกันถึง สี่ดอก และยังกินพลังงานน้อยกว่าตัวที่สองถึง 7.17A

แล้วเราจะเลือกใช้พาวเวอร์แอมป์แบบไหน? ในระบบกันดี

หมายเหตุ การบริโภคพลังงานหรือกระแสที่คำนวณยังไม่รวมพลังงานที่สูญเปล่าไปกับความร้อนในภาคขยายของพาวเวอร์แอมป์

 smileyy

  1. พาวเวอร์แอมป์ 1200Wrms @ 4 Ohms  กับ 
  2. พาวเวอร์แอมป์ 1200Wrms @ 2 Ohms 
กินพลังงานเท่ากันแหละครับ การกินพลังงานคิดเป็นหน่วยวัตต์ครับ ถึงแม้ตัวที่1จะกินกระแสน้อยกว่าตัวที่2 แต่ต้องใช้แรงดันไฟ voltage มากกว่าตัวที่2 คุณกันไปมันก็เท่ากันอยู่ดี
แต่ตัวที่1ได้เปรียบเรื่องขนาดของทรานฟอร์เมอร์ ที่สามารถใช้ลวดขนาดเล็กกว่ามาทำ ทำให้น้ำหนักเบากว่าตัวที่2ครับ




หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้
เริ่มหัวข้อโดย: ratchawit1 ที่ พฤษภาคม 12, 2013, 11:54:51 am
http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2012/11/06/58378_1352226061.png[/img]
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2012/11/06/58378_1352226188.png)
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2012/11/06/58378_1352226237.png) 
เข้ามาหาความรู้ครับ
ดูการทำงานแต่หละคลาสในรูปจะเข้าใจเลยครับ แต่ละคลาสมีข้อดีและข้อแต่ต่างกันจริง ๆ
รายละเอียดคุณภาพเสียงยกให้เจ้าคลาส AB  แต่คลาส AB สูญเสียไปเป็นพลังความร้อนมากกว่าคลาสอื่น(เหมาะกับนำไปใช้แหลมกลาง)
คลาส H อยู่กึ่งกลางระหว่างข้อดี AB กับ D  คลาส H ความร้อยสูญเสียไปบางส่วน
ตัวเล็กกำลังวัตต์สูงความร้อนน้อยต้องคลาส D  แต่คุณภาพเสียงด้อยลงมาตามอันดับ (เหมาะไปทำเบส)

ดีนะครับจะแลกเปลี่ยนกันไปเรื่อย ๆ สู้การพัฒนากันต่อไป

หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในแอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: 3ออ&Organizer ที่ พฤษภาคม 23, 2013, 12:43:37 pm
แนวเสียงการพัฒนา Class-D ให้เทียบเท่า AB ให้ได้มิติเสียงแบบฟูลเรจน์
http://www.youtube.com/watch?v=8U6rTnMUyD0&feature=youtu.be
http://www.youtube.com/watch?v=fWzOvboXyf4&feature=youtu.be
http://www.youtube.com/watch?v=zPOKr-KH_ps&feature=youtu.be
http://www.youtube.com/watch?v=bB6kvuFUc2A&feature=youtu.be (สวิทซ์ชิ่ง3500)


Class-D ฟูลเรจน์ กับตู้สามทาง
http://www.youtube.com/watch?v=HVHjgADuFI8



แนวเสียง AB ที่เหมาะกับการขับเบสโดยใช้ไฟต่ำ
http://www.youtube.com/watch?v=Nq6kJb7S_9c   
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในแอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: m056660459 ที่ พฤษภาคม 30, 2013, 09:04:03 am
อย่างน้อยก็ได้ความรู้ครับเฮีย redface
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในแอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: ard ที่ สิงหาคม 22, 2013, 11:32:26 pm
1. พาวเวอร์แอมป์ 1200Wrms @ 4 Ohms  กับ 
2. พาวเวอร์แอมป์ 1200Wrms @ 2 Ohms 
ทั้งสองตัวกินพลังงานเท่ากันครับ ถ้าเป็นผมจะเลือกตัวที่1 เพราะขนลำโพงไปคู่เดียว ตัวที่ 2ต้องขนไปถึงสี่ตู้ ถึงจะดังเท่าตัวที่1 ในเมื่อทั้งสองตัว มันให้พลังงานที่ 1200Wrms เท่ากัน   
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในพาวเวอร์แอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: iyoba ที่ ตุลาคม 31, 2013, 05:43:08 pm
จริงๆ ลองมองอีกมุมก็ได้ครับ เรื่องแอมป์หลอด
ลองวัดไฟดู หลัง output transformer แรงดันก็สูงนะฮ่ะ ขับลำโพงก็ดัง
แต่เบสจะไม่รุนแรงเท่ากับ power ที่ขับกระแส output ได้สูง
อย่าง power amp ติดรถยนต์ซึ่งแปลงไฟ 12V เป็นประมาณ +/-35 ถึง +/- 50V
แต่กระแสนี่สิ...

ดังนั้นผมมักจะมองว่า
อยากดัง เพิ่มแรงดัน
อยากมันส์ เพิ่มกระแส

แต่ถ้าอยากดังมันส์ๆ เพิ่มทั้งแรงดัน และ กระแส loveit
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในแอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: seses12345 ที่ มกราคม 23, 2014, 08:36:01 pm
ขอบคุณครับ
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในแอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: supad2536 ที่ กุมภาพันธ์ 14, 2014, 03:39:30 am
โอ้แม่เจ้านี้มันกระทู้แห่งความรู้ชัดๆๆๆรีบเข้ามาเสพกันเร็วๆๆๆ brow
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในแอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: big1214 ที่ กุมภาพันธ์ 16, 2014, 12:07:39 pm
มาอ่านกับเขาด้วย
หัวข้อ: Re: เพราะอะไรจึงต้องป้อนไฟ แรงดันสูง ๆ ให้ภาคขยายในแอมป์ ?
เริ่มหัวข้อโดย: easound ที่ มีนาคม 23, 2016, 09:58:54 am
ความรู้ทั้งนั้น สุดยอด ผมจากที่ฟังๆมา เพาเวอร์รุ่นใหม่เสียงจะนุ่มครับแต่แรงไม่กระแทก ส่วนเพาเวอร์abจะได้กระแทกมากกว่าครับ แต่ไม่ค่อยนุ่มส่วนตัว ชอบกระแทกสั่นๆครับ ส่วนรุ่นใหม่ๆคลาสใหม่ๆไม่จุกอกครับ(ความคิดส่วนตัว) จากที่ทั้งใช้และฟังมา.....