Tigger Sound

โชว์ชุดเครื่องเสียง เครื่องไฟและภาพงานต่างๆ
=> โชว์ ชุดเครื่องเสียง ระบบ PA ตู้ลำโพง เวที ไฟแสงสี และงานบันทึกเสียง => ข้อความที่เริ่มโดย: ทิดลอย ที่ ตุลาคม 15, 2013, 01:01:02 pm

หัวข้อ: บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค พับลิชชิ่ง งานที่จัดเก็บเงิน
เริ่มหัวข้อโดย: ทิดลอย ที่ ตุลาคม 15, 2013, 01:01:02 pm
http://www.thaikaraoke.org/collectivecom3.html

เป็นอย่างนี้ก็ตายสิครับ อากู๋
หัวข้อ: Re: บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค พับลิชชิ่ง งานที่จัดเก็บเงิน
เริ่มหัวข้อโดย: ทิดลอย ที่ ตุลาคม 15, 2013, 01:02:23 pm
รับงานละพัน เดือนๆๆนึงไม่ถึงสี่งาน บางเดือนไม่มีงาน ตายอย่างเขียด
หัวข้อ: Re: บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค พับลิชชิ่ง งานที่จัดเก็บเงิน
เริ่มหัวข้อโดย: น้ำจิ้มออดิโอ ร้อยเอ็ด ที่ ตุลาคม 15, 2013, 01:26:21 pm
ไม่รับจ้าง ไม่น่าจะผิด
ว่าด้วยเรื่อง ความเข้าใจเกียวกับ ปัญหาข้อกฎหมาย เปิดเพลงในร้านอาหาร ถูกจับลิขสิทธิ์ ..................................................................................... ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย ***************************** คำพิพากษาที่ 10579/2551 พนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์ โจทก์ นางอัญชลี บุญอุทิศ จำเลย โจทก์บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์...” ความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงต้องเป็นการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น “เพื่อหากำไร” เท่านั้น แต่ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องปรากฏแต่เพียงว่า จำเลยเปิดแผ่นเอ็มพีสามและซีดีเพลงให้ลูกค้าในร้านอาหารได้ร้องและฟังเพลงของผู้เสียหาย 1 แผ่น “เพื่อประโยชน์ในทางการค้า” ขายอาหารและเครื่องดื่มของจำเลยแต่ไม่ปรากฏในคำฟ้องว่าจำเลยกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการที่ให้ลูกค้าได้ร้องและฟังเพลงโดยเรียกเก็บค่าตอบแทนจากลูกค้าในการเปิดเพลงดังกล่าวหรือเรียกเก็บรวมไปกับค่าอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ตาม พ.ร.บ.จั้ดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 185 ________________________________ ( พรเพชร วิชิตชลชัย - พลรัตน์ ประทุมทาน - บุญรอด ตันประเสริฐ ) ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง - นายนทดล กิติกัมรา ********************************************** สรุปครับ = ความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงต้องเป็นการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น “เพื่อหากำไร” เท่านั้น
หัวข้อ: Re: บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค พับลิชชิ่ง งานที่จัดเก็บเงิน
เริ่มหัวข้อโดย: sopa boonwan ที่ ตุลาคม 15, 2013, 01:39:10 pm
ไม่ฟัง ไม่เปิด ไม่ซื้อ  NO GMM  smiley4 smiley4 smiley4
หัวข้อ: Re: บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค พับลิชชิ่ง งานที่จัดเก็บเงิน
เริ่มหัวข้อโดย: สุภชัย ที่ ตุลาคม 15, 2013, 01:42:16 pm
จะไปยากอะไร เราก็หัวหมอใส่มันบ้างสิ ไปเล่นงานบุญต่างๆ มันมาจับเราก็บอกเรามาเล่นฟรีไม่ได้เก็บตัง แค่นี้มันก็จับเราไม่ได้แล้วครับ
หัวข้อ: Re: บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค พับลิชชิ่ง งานที่จัดเก็บเงิน
เริ่มหัวข้อโดย: dksound ที่ ตุลาคม 15, 2013, 04:32:09 pm
ตายห่าละเก็บเดือนละ 600 บาท รับงานครั้งหนึ่ง หักค่าใช้จ่ายออกเหลือไม่ถึงพัน สามเดือนมีงานครั้งแล้วจะเอาที่ไหนจ่ายมันครับพี่น้อง NO  GMM
หัวข้อ: Re: บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค พับลิชชิ่ง งานที่จัดเก็บเงิน
เริ่มหัวข้อโดย: หมู มือลาย ที่ ตุลาคม 16, 2013, 08:42:51 am
ไม่รับจ้าง ไม่น่าจะผิด
ว่าด้วยเรื่อง ความเข้าใจเกียวกับ ปัญหาข้อกฎหมาย เปิดเพลงในร้านอาหาร ถูกจับลิขสิทธิ์ ..................................................................................... ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย ***************************** คำพิพากษาที่ 10579/2551 พนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์ โจทก์ นางอัญชลี บุญอุทิศ จำเลย โจทก์บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์...” ความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงต้องเป็นการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น “เพื่อหากำไร” เท่านั้น แต่ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องปรากฏแต่เพียงว่า จำเลยเปิดแผ่นเอ็มพีสามและซีดีเพลงให้ลูกค้าในร้านอาหารได้ร้องและฟังเพลงของผู้เสียหาย 1 แผ่น “เพื่อประโยชน์ในทางการค้า” ขายอาหารและเครื่องดื่มของจำเลยแต่ไม่ปรากฏในคำฟ้องว่าจำเลยกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการที่ให้ลูกค้าได้ร้องและฟังเพลงโดยเรียกเก็บค่าตอบแทนจากลูกค้าในการเปิดเพลงดังกล่าวหรือเรียกเก็บรวมไปกับค่าอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ตาม พ.ร.บ.จั้ดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 185 ________________________________ ( พรเพชร วิชิตชลชัย - พลรัตน์ ประทุมทาน - บุญรอด ตันประเสริฐ ) ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง - นายนทดล กิติกัมรา ********************************************** สรุปครับ = ความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงต้องเป็นการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น “เพื่อหากำไร” เท่านั้น
ไม่มีเส้น/ไม่มีเงิน(หลักแสน) ไปไม่ถึงศาลหลอกครับบอกตรงๆเลย ทำใจกับเรื่องนี้เถอะ นี้ประเทศไทย เราทำกันได้ก็แค่ 3 ม.ครับ
หัวข้อ: Re: บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค พับลิชชิ่ง งานที่จัดเก็บเงิน
เริ่มหัวข้อโดย: ทิดลอย ที่ ตุลาคม 16, 2013, 02:50:25 pm
ใช่ๆๆๆครับ งานไหนมันมา เราก็เล่นให้เค้าฟรีไปเลยดี.... กว่าเสียตังค์ให้มันครับ