Tigger Sound

ห้องสมุด คลังความรู้ต่างๆ ในแวดวงเครื่องเสียง
=> ห้องสมุด ทิกเกอร์ซาวด์ เครื่องเสียง ตู้ลำโพง ระบบเสียง แสงสี และอุปกรณ์อื่นๆ => ข้อความที่เริ่มโดย: sam_aj ที่ กุมภาพันธ์ 14, 2013, 04:44:01 pm

หัวข้อ: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (ดิจิตอล,เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: sam_aj ที่ กุมภาพันธ์ 14, 2013, 04:44:01 pm
ขออนุญาตนำบทความที่ผมเขียนไว้ที่เวปเพื่อนบ้าน มาลงให้อ่านกันเพลิน ๆ นะครับ  หากมีสิ่งใดผิดพลาดหรือหากว่ามีสิ่งใดขาดตกบกพร่องก็ต้องขออภัยล่วงหน้าไว้ก่อน เพราะเป็นเรื่องที่ผมเขียนขึ้นมาจากประสบการณ์ล้วน ๆ ครับ



วันนี้ผมจะมาคุยกับเพื่อนสมาชิกในหัวข้อเรื่อง " วิธีการตัดความถี่จากครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น) "

ทำไมถึงมีวงเล็บว่า เบื้องต้น  ทั้งนี้เป็นเพราะว่าตู้ลำโพงที่เราใช้งานกันอยู่นั้น มีหลากหลายสูตร หลากหลายยี่ห้อ ทำให้การเลือกตัดความถี่จากครอส ไปยังตู้ลำโพงแต่ละตัวนั้นผิดแผก แตกต่างกันไปในรายละเอียด  แต่ในเบื้องต้นนั้น ใกล้เคียงกันมาก จึงจะขอพูดคุยกันถึงวิธีการเบื้องต้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการทำงานก่อน  ส่วนในรายละเอียดนั้น ท่านต้องไปทำการปรับให้เข้ากับตู้ลำโพงที่ท่านใช้งานอีกครั้งหนึ่ง

อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ความถี่เสียงที่หูมนุษย์ สามารถตอบสนองได้นั้นเริ่มตั้งแต่ 20Hz ไปจนกระทั่ง20kHz และยังตอบสนองต่อความถี่ต่างๆ ได้ดีไม่เท่ากันอีกด้วย 

เรามาดูภาพประกอบกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น

(http://upic.me/i/pu/xover-1.jpg) (http://upic.me/show/43290292)



ย่านความถี่ของเสียงเครื่องดนตรีต่าง ๆ

(http://upic.me/i/99/o2fr1.jpg) (http://upic.me/show/21295189)


ขออนุญาตยกบทความจากเวปไซด์เครื่องเสียงรถยนต์ (emotioncar.com) มาตอนหนึ่งเพื่ออธิบายรูปด้านบน
(กินแรงชาวบ้าน) แต่ขออนุญาตแก้ไขบางประโยค เพื่อให้เข้ากับเครื่องเสียงกลางแจ้งที่เรากำลังคุยถึงกันอยู่


ช่วงการตอบสนองความถี่หากแบ่งคร่าวๆ จะแบ่งออกได้เป็น 4 ช่วง   แต่กราฟนี้จะแยกให้ละเอียดขึ้นไปอีก โดยแบ่งออกเป็น 8 ช่วงความถี่ดังนี้

ช่วงที่ 1 เรียกว่าย่านเบสลึก ประมาณ 20-40 ช่วงนี้จะไม่ได้ยิน แต่จะได้ความรู้สึก แบบว่าสิ่งของรอบข้างสั่นสะท้าน

ช่วงที่ 2 เรียกว่าย่านพลังเบสแล้วกัน ประมาณ 40-100 ช่วงนี้จะเป็นช่วงเสียงเบสที่มีความรู้สึกกระแทกๆ เช่น เสียงกลองจากใบที่ใหญ่ที่สุด ที่ใช้เท้าเหยียบ เสียงกระแทกจุกอกก็ช่วงนี้แหละครับ

ช่วงที่ 3 เรียกว่าย่านเบสปกติ ประมาณ 100-200 เช่นพวกกีต้าร์เบสเส้นกลางๆ (ถ้าเป็นสายเส้นใหญ่ อาจจะลงไปถึงช่วงพลังเบส หรือปลายๆเบสลึกได้เลย)  ถ้าช่วงนี้ขาดไปแบบว่าน้อยไป เราก็จะรู้สึกว่าขาดเสียงเบส แต่ถ้ามากเกินไป ก็จะทำให้เสียงโดยรวมฟังดูทึบๆได้ ที่เราฟังเพลงแล้วบอกว่าเสียงกลางน้อยไป จริงๆอาจจะไม่ใช่นะ
ครับ อาจจะเป็นที่ช่วงนี้มากเกินไป แล้วไปกลบเสียงกลาง

ช่วงที่ 4 เรียกว่าย่านเนื้อเสียงแล้วกัน ประมาณ 200-800 ย่านนี้จะครอบคลุมถึงเสียงร้องย่านต่ำๆ เช่นเสียงผู้ชายต่ำๆ ถ้าช่วงนี้มีมากกำลังดี จะช่วยเรื่องความอุ่นของเสียง Warmth sound ถ้ามากไปเสียงรวมๆก็จะไม่เคลียร์เท่าที่ควร ถ้าน้อยไปก็จะขาดเนื้อเสียง

ช่วงที่ 5 เรียกว่าย่านเสียงกลางหลักแล้วกัน ประมาณ 800-2,000 ย่านนี้มีเครื่องดนตรีหลายชนิด รวมไปถึงเสียงร้องหลักๆ ถ้าขาดย่านนี้ไป เสียงจะเบาบาง บี้แบน แต่ถ้ามากเกินไป มันจะดังหนวกหู

ช่วงที่ 6 เรียกว่าย่านเสียงกลางสูงแล้วกัน ประมาณ 2,000-5,000 ย่านนี้จะมีเสียงเครื่องเป่า พวกกีต้าร์สายเส้นเล็ก ถ้าย่านนี้มากเกินไป ฟังนานๆหูจะล้า แต่ถ้ามากเกินไปเยอะจะแสบหูเลย

ช่วงที่ 7 เรียกว่าย่านเสียงแหลม ประมาณ 5,000-10,000 ย่านนี้ผมเรียกว่าย่านเนื้อเสียงแหลมแล้วกัน เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเคาะทองเหลืองทั้งหลาย ถ้าช่วงนี้หายไป เสียงจะดูทึบๆ แต่ถ้ามากเกินไปเสียงเครื่องเคาะประเภทนี้จะฟังดูพุ่งเกินจริง

ช่วงที่ 8 เรียกกว่าย่านปลายแหลม ประมาณ 10,000-20,000 ย่านนี้จะมีเสียงฉาบอยู่ด้วย แล้วจริงๆย่านนี้จะไม่ค่อยมีเสียงหลักของเครื่องดนตรีอะไร แต่ว่ามันจะเป็นลักษณะของบรรยากาศมากกว่า ถ้าขาดย่านนี้ไป อาจจะฟังดูเสียงเครื่องดนตรีครบอยู่ ฟังดูเผินๆอาจจะเหมือนย่านนี้ไม่สำคัญ แต่จริงๆ แล้วมีสำคัญไม่น้อยเลย ถ้าขาดย่านนี้ เสียงจะไม่มีความไพเราะ ขาดบรรยากาศที่น่าฟัง

เมื่อเรามาพิจารณาถึงย่านเสียงที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว  หากเราสามารถจัดระบบเสียงของเราให้ย่อยออกได้ถึง 8 ย่าน ก็จะได้สามารถปรับแต่งให้เสียงออกมาได้น่าฟัง และใกล้เคียงกับเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงมากที่สุด แต่ในความเป็นจริงแล้ว เราคงไม่สามารถจัดระบบเสียงของเราให้แบ่งย่อยออกได้ถึง 8 ย่านความถี่แน่ ๆ  ซึ่งระบบเสียงที่นิยมใช้งานกันมากที่สุดในวงการเครื่องเสียงกลางแจ้ง ก็คงหนีไม่พ้นระบบ 2 ทางและ ระบบ 3 ทาง แบบที่เพื่อน ๆ สมาชิกใช้กันอยู่ตอนนี้

เราจะทำการจัดแบ่งความถี่ทั้ง 8 ย่าน เสียใหม่ ให้เหลือเพียง 2 ย่าน หรือ 3 ย่าน ตามระบบเสียงของเรากันอย่างไรดี ?  โดยคร่าว ๆ ที่รับรู้กันก็คือ

- ย่านเสียงต่ำ  Low Range
- ย่านเสียงกลาง  Mid Range
- ย่านเสียงสูง  High Range

แต่คำถามคือ แล้วเราจะตัดแบ่งความถี่ในแต่ละย่านให้เหมาะสมกับตู้ลำโพงในระบบของเราได้อย่างไร ?  ถ้าตอบกันแบบกำปั้นทุบดินก็คือ ดูจากสเปคของดอกลำโพงที่เราใช้ในแต่ละย่านเป็นหลัก





หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: Chayut renu ที่ กุมภาพันธ์ 14, 2013, 04:53:26 pm
ขอบคุณเฮียครับสำรับความรู้ smiley4
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: sam_aj ที่ กุมภาพันธ์ 14, 2013, 04:57:19 pm
เรามาเริ่มพิจารณาจากย่าน Low ก่อนในอันดับแรก

โดยทั่วไปดอกลำโพงที่ผลิตมาสำหรับใช้งานในตู้ลำโพงในย่านนี้ (หลาย ๆ ท่านเรียกกันว่าตู้ Sub Bass แต่ไม่ว่าจะเรียกว่าอะไรก็เหมือนกัน) ที่ได้รับความนิยมสูงสุดสำหรับงานกลางแจ้งคือ ดอกลำโพงขนาด 18"  ซึ่งมักจะตอบสนองความถี่ได้ดีจาก 40Hz ~ 250Hz (ตัวดอกลำโพง)

แต่สิ่งที่จะต้องพิจารณาต่อคือ ตู้ลำโพงที่ทำมาสำหรับย่านนี้ ซึ่งมีหลากหลายสูตร และแต่ละสูตร ก็จะตอบสนองต่อการทำงานของดอกลำโพงแตกต่างกัน  บางสูตรตอบสนองได้ดีในช่วงความถี่แคบ ๆ (40Hz~80Hz) แต่บางสูตรก็ตอบสนองได้ดีในช่วงความถี่ที่สูงกว่า (70Hz~120Hz)

ดังนั้นค่าเบื้องต้นสำหรับ การตัดความถี่จากครอสของตู้ลำโพงในย่านนี้ จึงอยู่ระหว่าง 35Hz ~ 120Hz โดยประมาณ  ซึ่งหากเราดูจากตารางย่านความถี่ ก็คือตู้ย่านนี้จะตอบสนองต่อเสียง Drum Bass และ เสียง Bass สายในช่วงต่ำ นั่นเอง แต่จะไม่มีเสียงร้อง หรือ เสียงพูดออกมาด้วย

หลายท่านเคยถามผมว่า แล้วในเมื่อดอกลำโพงสามารถตอบสนองไปได้ถึง 250Hz ทำไมเราไม่ตัดความถี่ไปจนถึง 250Hz เลยหล่ะ?

**  นั่นสินะ เป็นคำถามที่ดีมาก **

จากคำถามที่ว่ามาว่า ทำไมไม่ตัดความถี่ย่าน Low ไปจนถึง 250Hz หล่ะ ในเมื่อดอกลำโพงก็สามารถตอบสนองได้อยู่แล้ว

เหตุผลก็คือ ตู้ลำโพงถูกออกแบบมาให้ตอบสนองความถี่ได้ดีเฉพาะช่วงเท่านั้น  ถึงแม้ดอกลำโพงจะสามารถตอบสนองได้ก็จริงอยู่  แต่เมื่อจับมาใส่ในตู้แต่ละสูตร จะตอบสนองได้ดีเพียงแค่ช่วงความถี่ที่ตัวตู้ถูกออกแบบมา  ดังนั้นหากเราดันทุรังตัดความถี่ที่เกินกว่าช่วงที่ตู้ลำโพงถูกออกแบบ ก็จะไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใด และผลเสียที่ตามมาก็คือ พาวเวอร์แอมป์จะทำงานหนักเกินความจำเป็น เพราะต้องขยายความถี่ที่เกินมาด้วย โดยไม่ได้เกิดประโยชน์อันใดขึ้นมา

และอีกเหตุผลหนึ่งก็คือ  เมื่อดอกลำโพงทำงานในย่านความถี่ต่ำ จะีมีการกระพือของกรวยลำโพงค่อนข้างสูง  ดังนั้นหากเราผืนตัดความถี่ไปจนถืง 250Hz  (มีบางท่านไม่ใช้ครอส อีกตะหากปล่อยสัญญาณ Full range เข้าตู้ Low เลยก็มี) เสียงพูด เสียงร้องในย่านต่ำ ก็จะไปออกที่ตู้ด้วย แต่เนื่องจากกรวยดอกลำโพงมีการกระพือค่อนข้างมาก จะทำให้เสียงพูด เสียงร้องที่ออกมาเกิดความพร่ามัว และไม่เคลียร์  จึงไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะตัดความถี่ให้สูงเกินจาก 120Hz ขึ้นไป สำหรับตู้ย่าน Low นั่นเองครับ

มาดูรูป กราฟความถี่ที่เราทำการตัดแบ่งจากครอส เพื่อประกอบความเข้าใจกันครับ

(http://upic.me/i/w9/xover-2.jpg) (http://upic.me/show/43198928)


ก่อนที่เราจะคุยกันต่อถึงย่านความถี่ต่อไปคือ ย่านเสียงกลาง (Mid Range)  หากท่านใดมีคำถาม หรือข้อสงสัยใด ๆ ก็ถามเข้ามาได้ครับ


สิ่งที่จะคุยเสริมก่อนไปหัวข้อต่อไปคือเรื่อง รูปแบบของฟิลเตอร์ที่ใช้ (Filter Type) และค่าความลาดชัน (Slope) ในการตัดความถี่

รูปแบบของฟิลเตอร์ (Filter Type)  นั้น ที่นิยมใช้กันทั่วไปมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ กล่าวคือ

1. Butterworth
2. Bessel
3. Linkwitz-Riley

ซึ่งการทำงานของฟิลเตอร์ทั้ง 3 รูปแบบมีข้อดีและข้อเสีย แตกต่างกันออกไป (จะไม่ขอลงไปในรายละเอียด) แต่ฟิลเตอร์ที่มีข้อเสียน้อยที่สุดและเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในครอสแบบ อนาล็อก (ซึ่งไม่สามารถเลือกแบบของฟิลเตอร์ได้เหมือนครอสดิจิตอล) คือ แบบที่สาม Linkwitz-Riley

(http://upic.me/i/xy/4tmcx.gif) (http://upic.me/show/43212732)

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ให้ท่านดูรูปด้านบนประกอบ เพราะครอสอนาล็อกจะใช้จุดตัดเดียวกันระหว่าง 2 ย่านความถี่ ซึ่งจะเกิดอาการดังรูปด้านบน (เครดิตรูปจากน้องโต)   ในขณะที่ครอสดิจิตอล เราสามารถถ่างจุดตัดความถี่ระหว่างย่านได้โดยไม่ต้องใช้จุดตัดเดียวกัน



ถามว่าแล้วถ้าหากใช้ครอสดิจิตอลซึ่งมีฟังก์ชั่นให้เลือกรูปแบบของฟิลเตอร์ที่จะใช้ เราจะเลือกรูปแบบไหนมาใช้งานกันดี?

ขอตอบจากประสบการณ์ที่ผ่านมาในการทดสอบทำค่าพารามิเตอร์ให้กับตู้ลำโพงของผมเอง  ฟิลเตอร์ Bessel เป็นฟิลเตอร์ที่ผมไม่ชอบโทนเสียงที่ได้มากที่สุด และแทบจะไม่เคยใช้เลย  ส่วน Butterworth นั้นผมจะใช้เมื่อต้องการให้ฟิลเตอร์มีความคมเป็นพิเศษ  แต่ผลเสียที่ตามมาคือ Phase Shift สูง  ดังนั้นหากเป็นการทำฟิลเตอร์ที่ไม่เน้นในเรื่องความคมที่จุดตัดความถี่ผมจะใช้ Linkwitz-Riley เป็นหลัก เพราะถึงจะเป็นฟิลเตอร์ที่ไม่คมเท่าแบบ Butterworth แต่ก็จะไม่เกิด Phase Shift เหมือนฟิลเตอร์แบบ Butterworth


ต่อไปเราจะมาคุยกันต่อถึงเรื่องค่าความลาดชัน (Filter Slope)

ต่าความลาดชัน (Filter Slope) คือความแรงสัญญาณ (หน่วยเป็น dB) ที่ถูกลดทอนลงจากความถี่ที่กำหนด ไปยังความถี่ที่ถัดไป หรือ ก่อนหน้า 1 Octave

อะไรคือ 1 Octave  อธิบายง่าย ๆ เพื่อความเข้าใจง่าย ๆ  ก็คือค่าความถี่ที่เพิ่มขึ้นจากความถี่ที่กำหนด 100% หรือ ลดลง 50%  ยกตัวอย่างเช่นที่ความถี่ 1kHz ที่เรากำหนด  ความถี่  1 Octave ด้านสูงกว่าคือที่ 2kHz  ส่วนความถี่ 1 Octave ด้านต่ำกว่าคือ ความถี่ 500Hz

ดูรูปเพื่อประกอบความเข้าใจกันครับ

กราฟเส้นสีฟ้า เป็นกราฟที่เรากำหนดจุดตัดที่ 1kHz โดยกำหนดให้มีค่าความลาดชันเป็น -6dB / Octave
กราฟเส้นสีส้ม เป็นกราฟที่เรากำหนดจุดตัดที่ 1kHz โดยกำหนดให้มีค่าความลาดชันเป็น -12dB / Octave
กราฟเส้นสีเขียว เป็นกราฟที่เรากำหนดจุดตัดที่ 1kHz โดยกำหนดให้มีค่าความลาดชันเป็น -18dB / Octave
กราฟเส้นสีม่วง เป็นกราฟที่เรากำหนดจุดตัดที่ 1kHz โดยกำหนดให้มีค่าความลาดชันเป็น -24dB / Octave

(http://upic.me/i/5p/xover_slope.jpg) (http://upic.me/show/43290433)


หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: sam_aj ที่ กุมภาพันธ์ 14, 2013, 05:03:03 pm
การตัดแบ่งความถี่ย่านเสียงกลาง (Mid Range)

จากตอนที่ผ่าน ๆ มา คิดว่าเพื่อน ๆ น่าจะเข้าใจกันมากขึ้นถึงรูปแบบฟิลเตอร์ที่จะเลือกใช้ และ การตั้งค่าความลาดชันที่จุดตัดความถี่กันไปแล้วในเบื้องต้น  ตลอดจนรู้ถึงการตัดแบ่งความถี่เบื้องต้นในย่านเสียงต่ำ (Low Range) แล้วเช่นกัน ต่อไปเรามาดูกันว่าจะตัดแบ่งความถี่ในย่านเสียงกลาง (Mid Range) กันอย่างไร? จึงจะเหมาะสม

สำหรับท่านที่ใช้ครอสอนาล็อก จุดเริ่มของย่านความถี่เสียงกลางก็จะเป็นจุดเดียวกันกับ จุดสิ้นสุดของย่านเสียงต่ำโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ทั้งนี้เพราะครอสอนาล็อกออกแบบมาเช่นนั้น (รวมทั้งเลือกรูปแบบของฟิลเตอร์ และค่าความลาดชันไม่ได้)

ทีนี้สำหรับท่านที่ใช้ครอสดิจิตอล คำถามคือ จะตั้งจุดตัดแบ่งความถี่เริ่มต้นของย่านเสียงกลางเป็นจุดเดียวกับจุดสิ้นสุดของย่านเสียงต่ำดีหรือไม่?

คำตอบคือ ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของตู้ซับที่ท่านใช้งานว่า ณ. จุดที่สิ้นสุดย่านความถี่ที่เราทำไว้นั้น ตู้ตอบสนองเป็นเช่นไร? ถ้าตู้ซับทำงานตอบสนองได้ราบเรียบดี (Flat) จนถึงจุดสิ้นสุดย่านความถี่  เราก็สามารถใช้จุดแบ่งความเดียวกันได้เลยเหมือนครอสอนาล็อก 

หากแต่ถ้าตู้ซับทำงานตอบสนองความถี่ ณ. จุดสิ้นสุดย่านความถี่ของเสียงต่ำได้ไม่ดี  เราก็สามารถกำหนดจุดแบ่งความถี่เริ่มต้นของย่านเสียงกลางให้ทับซ้อนกับย่านเสียงต่ำได้ เพื่อช่วยเพื่มเสียงให้กับตู้ซับในช่วงความถี่นั้น ๆ  ยกตัวอย่างเช่นเราตัดย่านเสียงต่ำมาจนถึงความถี่ 120Hz  แต่ตู้ซับที่เราใช้งานตอบสนองในช่วงความถี่จาก 110Hz ~ 120Hz ได้ไม่ดี  เราก็สามารถกำหนดจุดแบ่งความถี่เริ่มต้นของย่านเสียงกลางให้เริ่มจาก 110Hz หรือต่ำกว่านั้น เพื่อช่วยยกเสียงในช่วงนั้น ๆ ขึ้นมาอีกทางหนึ่งนั่นเอง

สำหรับจุดสิ้นสุดย่านความถี่เสียงกลางนั้น เราจะพิจารณาจากสเปคของดอกลำโพงที่ใช้ทำเสียงกลางเป็นหลัก  โดยทั่วไปสำหรับดอก 15" มักจะตอบสนองความถี่ได้ดีตั้งแต่ 70Hz ไปจนกระทั่ง 2.5kHz โดยประมาณ ส่วนดอก 12" ก็จะอยู่ในช่วง 85Hz ถึง 2.5kHz โดยประมาณ ส่วนจะตอบสนองได้ราบเรียบขนาดไหน ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของดอกลำโพงที่เราเลือกใช้

ดังนั้นสำหรับจุดสิ้นสุดย่านความถี่เสียงกลาง ยังต้องคำนึงถึงดอกยูนิตแหลมที่เราเลือกใช้ร่วมด้วยว่าสามารถตอบสนองความถี่ได้ดีเริ่มตั้งแต่ความถี่ที่เท่าไหร่  แต่จากประสบการณ์ในการทำจุดตัดความถี่สำหรับดอกลำโพงหลาย ๆ รุ่น หลาย ๆ ยี่ห้อ เพื่อความคงทนของยูนิตเสียงแหลม   ผมอยากจะแนะนำว่าให้กำหนดจุดตัดความถี่สำหรับเสียงกลางไปจนถึงความถี่ 2kHz เป็นอย่างน้อย     ถึงแม้ว่าดอกยูนิตแหลมจะสามารถตอบสนองความถี่ได้ดีต่ำกว่าความถี่ 2kHz ก็ตาม แต่ทั้งนี้มักจะไม่ค่อยทนถ้าหากเราตัดจุดตัดความถี่ต่ำกว่า 2kHz ลงมา   ยกเว้นดอกยูนิตยี่ห้อดี ๆ แพง ๆ (บางยูนิตราคาเหยียบหมื่นก็มี)  ซึ่งเรา ๆ ก็คงไม่หามาใช้กันแน่  (ดอกยูนิตแหลมดี ๆ บางรุ่นสเปคเคลมไว้ที่ความถี่เริ่มต้นตั้งแต่ 800Hz ~18kHz ก็มี)

รูปประกอบดัานล่างนี้ เป็นรูปกราฟย่านความถี่เสียงต่ำ และเสียงกลางที่ผมทำไว้ให้ดูเป็นตัวอย่างครับ

(http://upic.me/i/53/xover3.jpg) (http://upic.me/show/43220007)





หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: sam_aj ที่ กุมภาพันธ์ 14, 2013, 05:06:24 pm
การตัดแบ่งความถี่ย่านเสียงแหลม (High Range)

จบจากย่านเสียงกลาง เรามาคุยกันต่อที่ย่านเสียงแหลม  ต่อจากนี้ก็เริ่มไม่ยากแล้วถูกมั้ยครับ เพราะก็อาศัยหลักการเดียวกันกับการตัดแบ่งความถี่ย่านเสียงกลางสำหรับการกำหนดจุดเริ่มต้นของย่านความถี่  แต่คงมีคำถามว่าแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าดอกลำโพง ทั้งเสียงต่ำ และ เสียงกลางตอบสนองที่จุดสิ้นสุดความถี่ได้ดีหรือไม่ดี อย่างไร?   ถ้าหากว่าเพื่อนสมาชิกมีและใช้โปรแกรมสมาร์ไลท์เป็น  ก็เป็นเรื่องที่ง่ายมากที่จะทดสอบ  แต่หากว่าไม่มี หรือ มี แต่ยังใช้ไม่เป็น  ผมขอแนะนำวิธีการง่าย ๆ ดังนี้

ให้ลองกำหนดจุดตัดความถี่เริ่มต้นของเสียงย่านถัดไปเป็นจุดเดียวกับจุดสิ้นสุดย่านความถี่ของย่านก่อนหน้า  ผมจะยกตัวอย่างเื่พื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น เช่นในตอนที่แล้วเรากำหนดจุดสิ้นสุดความถี่ย่านกลางไว้ที่ 2kHz  ให้เรากำหนดจุดเริ่มต้นความถี่ย่านเสียงแหลมที่ 2kHz เช่นกัน แล้วลองเปิดฟังเสียงดู  จากนั้นให้ทำการยกอีคิวก้าน 2kHz ขึ้นทีละน้อย ฟัง และ สังเกตุเสียงที่เปลี่ยนแปลงจากการยกก้านอีคิว  เสร็จแล้วให้ลองลดก้านอีคิว 2kHz ลงทีละน้อย ฟัง และสังเกตุเสียงที่เปลี่ยนแปลงเปรียบเทียบกับการที่เรายกก้านอีคิว  ว่าแบบไหนเสียงดีกว่ากัน?

ถ้าหากว่าเรายกก้านอีิคิว แล้วเสียงดีขึ้นก็แสดงว่าที่จุดสิ้นสุดความถี่ย่านเสียงกลาง ดอกเสียงกลางตอบสนองได้ไม่ดี  เราก็สามารถกำหนดจุดแบ่งความถี่เริ่มต้นของย่านถัดไปให้เกยทับซ้อนย่านก่อนหน้าได้  ในทางกลับกันหากลดก้านอีิคิวลง แล้วเสียงดีขึ้น ก็แสดงว่าเสียงที่ความถี่ 2kHz มันล้น เราก็สามารถกำหนดจุดเริ่มต้นความถี่ให้เว้นช่วงถ่างออกจากจุดสิ้นสุดความถี่ของย่านก่อนหน้า  ส่วนจะเป็นความถี่ตรงไหนที่เหมาะสมเราต้องลองกำหนดแล้วทดสอบด้วยการฟังเอาเองครับ จนได้เสียงที่เราต้องการโดยไ่ม่ต้องปรับยก หรือลดก้านอีคิว

สำหรับจุดสิ้นสุดความถี่ของย่านเสียงแหลมนั้น ก็คงอยู่ที่ 20kHz เพราะเสียงของความถี่ที่สูงกว่านั้น หูมนุษย์ตอบสนองไม่ได้อยู่แล้ว  และในครอสอนาล็อกก็ไม่มีฟังก์ชั่นให้กำหนดจุดสิ้นสุดของย่านเสียงแหลมมาให้เราปรับ  แต่สำหรับท่านที่ใช้ครอสดิจิตอล  ผมอยากฝาก Tip จากการทดสอบด้วยตัวของผมเองว่าให้ท่านกำหนดจุดสิ้นสุดสำหรับเสียงแหลมไว้ที่ 18kHz ก็พอครับ และ้กำหนดค่าความลาดชันให้เยอะที่สุดเท่าที่เครื่องของท่านสามารถทำได้  ทั้งนี้เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการที่พาวเวอร์แอมป์เกิดการขยายสัญญาณออสิเลท ไม่ว่าจะเกิดจากตัวพาวเวอร์แอมป์เอง หรือจากอุปกรณ์อื่น ๆ ในระบบ  ตรงนี้จะช่วยลดความเสียหายของดอกยูนิตเสียงแหลมได้มาก  ในขณะที่คุณภาพของเสียงแหลมที่ได้อาจจะกล่าวได้ว่าไม่แตกต่างจากการที่ท่านกำหนดไปจนถึง 20kHz หรือไม่กำหนดเลยอย่างในครอสอนาล็อกครับ



ดูรูปประกอบเป็นกราฟที่เรากำหนดจุดแบ่งความถี่ (เบี้องต้น) เสร็จแล้วทั้งสามย่าน

 
(http://upic.me/i/wn/xover4.jpg) (http://upic.me/show/43225722)





หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: sam_aj ที่ กุมภาพันธ์ 14, 2013, 05:11:50 pm
หากสมาชิกท่านใดมีข้อแนะนำ หรือเสริมแต่งให้ได้รายละเอียดมากขึ้นก็ช่วยกรุณาด้วยนะครับ

หรืออ่านแล้วมีคำถามประการใด ก็ถามกันเข้ามาได้เช่นกันครับ


 smileyy
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: skylinemusic ที่ กุมภาพันธ์ 14, 2013, 05:14:33 pm
หากสมาชิกท่านใดมีข้อแนะนำ หรือเสริมแต่งให้ได้รายละเอียดมากขึ้นก็ช่วยกรุณาด้วยนะครับ

หรืออ่านแล้วมีคำถามประการใด ก็ถามกันเข้ามาได้เช่นกันครับ


 smileyy
เฮียครับข้อความเต็มครับ
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: sam_aj ที่ กุมภาพันธ์ 14, 2013, 05:15:52 pm
หากสมาชิกท่านใดมีข้อแนะนำ หรือเสริมแต่งให้ได้รายละเอียดมากขึ้นก็ช่วยกรุณาด้วยนะครับ

หรืออ่านแล้วมีคำถามประการใด ก็ถามกันเข้ามาได้เช่นกันครับ


 smileyy
เฮียครับข้อความเต็มครับ

อ้าว  ไม่ได้ดูเลย เดี๋ยวเข้าไปลบครับ

 smiley4
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: sattawat2912 ที่ กุมภาพันธ์ 14, 2013, 09:45:59 pm
ขอบคุณมากครับ
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: เต๋อ อุตรดิตถ์ ที่ กุมภาพันธ์ 15, 2013, 09:36:20 am
ขอบคุณมากครับเฮีย ความรู้ที่ท่านให้มานำไปใช้งานได้จริงไม่มากก็น้อยหละครับ

นี่แหละครับตามการใช้งานหรือออกงานจริงเลย มีอยู่บทความหนึ่งที่เฮียเขียนไว้ว่า.......

สำหรับตู้ย่าน Low ถ้าตัดความถี่ให้สูงเกินจาก 120Hz ขึ้นไป จะทำให้ดอกลำโพงมีการกระพือค่อนข้างมาก จะทำให้เสียงพูด เสียงร้องที่ออกมาเกิดความพร่ามัว และไม่เคลียร์.....


ผมว่ากระทู้นี่ น่าจะอยู่ในห้องสมุดนะครับ...
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: briologies ที่ กุมภาพันธ์ 15, 2013, 02:04:15 pm
ขอบคุณครับมาเก็บความรู้ครับ smiley4
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: PJ2011 ที่ กุมภาพันธ์ 15, 2013, 05:28:10 pm
กำลังเล่น XP-4080 อยู่พอดี มาอ่านเพิ่มเติมแล้ว
ได้ความรู้และเทคนิคมากๆ / ขอบคุณครับ
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: RX-5 ที่ กุมภาพันธ์ 15, 2013, 07:38:57 pm
แจ่มแจ๋วจริงๆ
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: moneto ที่ กุมภาพันธ์ 15, 2013, 08:15:25 pm
ความรู้มากมาย ขอบคุณครับ
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: tee_yai ที่ กุมภาพันธ์ 17, 2013, 12:22:29 pm
เฮียคร้าบ แล้วถ้าเล่นสองทางการปรับกลางแหลมทางไฮให้ปรับฟลูเร้นท์ไปเลยหรือเปล่า เพราะมันมีพลาสซีฟอยู่แล้วหรือตัดแค่ 18k
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: sam_aj ที่ กุมภาพันธ์ 17, 2013, 01:13:07 pm
เฮียคร้าบ แล้วถ้าเล่นสองทางการปรับกลางแหลมทางไฮให้ปรับฟลูเร้นท์ไปเลยหรือเปล่า เพราะมันมีพลาสซีฟอยู่แล้วหรือตัดแค่ 18k

ตัดแค่ 18kHz ก็พอครับ
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: vorachai23 ที่ กุมภาพันธ์ 17, 2013, 02:09:19 pm
เฮียคร้าบ แล้วถ้าเล่นสองทางการปรับกลางแหลมทางไฮให้ปรับฟลูเร้นท์ไปเลยหรือเปล่า เพราะมันมีพลาสซีฟอยู่แล้วหรือตัดแค่ 18k

ตัดแค่ 18kHz ก็พอครับ
ตบอีกด้วยการรูดอีคิวก้านสุดท้ายลงหมดด้วยได้ไหมครับเพื่อเอาความชันเพิ่มอีก
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: sam_aj ที่ กุมภาพันธ์ 17, 2013, 03:09:17 pm
เฮียคร้าบ แล้วถ้าเล่นสองทางการปรับกลางแหลมทางไฮให้ปรับฟลูเร้นท์ไปเลยหรือเปล่า เพราะมันมีพลาสซีฟอยู่แล้วหรือตัดแค่ 18k

ตัดแค่ 18kHz ก็พอครับ
ตบอีกด้วยการรูดอีคิวก้านสุดท้ายลงหมดด้วยได้ไหมครับเพื่อเอาความชันเพิ่มอีก

ครอสที่จะทำ LPF ที่ 18kHz ได้ค้องเป็นครอสดิจิตอล ซึ่งค่าความชันก็สามารถปรับได้อยู่แล้วครับ
การกดก้านอีิคิว 20kHz ไม่สมควรทำเพราะเรายังต้องการเสียงที่ความถี่ดังกล่าวอยู่ด้วยครับ  แต่
ที่ให้ทำ LPF เริ่มที่ 18kHz เพราะความลาดชันมันจะค่อย ๆ ลาดลงซึ่งที่ความถี่ 20kHz เสียงยังผ่าน
ได้อยู่ครับ

 smileyy
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: vorachai23 ที่ กุมภาพันธ์ 17, 2013, 03:15:01 pm
ทีแรกคิดว่ารูปใส่ตัวLกับHผิด เข้าใจแล้วครับ สโลบจาก18ลงมาเพื่อให้สูงกว่า20ชันลงเรื่อยเรื่อยไม่เหมือนเอาก้าน20ลงที่จะลงแค่20แต่มากกว่านั้นยังอยู่ เข้าใจมากแล้วด้วยของคุณมากครับเฮีย ต้องโดนซะแล้วครอสดิจิตอล
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: sam_aj ที่ กุมภาพันธ์ 17, 2013, 04:09:08 pm
ทีแรกคิดว่ารูปใส่ตัวLกับHผิด เข้าใจแล้วครับ สโลบจาก18ลงมาเพื่อให้สูงกว่า20ชันลงเรื่อยเรื่อยไม่เหมือนเอาก้าน20ลงที่จะลงแค่20แต่มากกว่านั้นยังอยู่ เข้าใจมากแล้วด้วยของคุณมากครับเฮีย ต้องโดนซะแล้วครอสดิจิตอล

ครับถ้าดูจากตัวหนังสืออาจจะ งง เล็กน้อย

LPF  คือ ฟิลเตอร์ที่ยอมให้ย่านความถี่ที่ต่ำกว่าความถี่ที่เรากำหนด ผ่านไปได้
HPF  คือ ฟิลเตอร์ที่ยอมให้ย่านความถี่ที่สุงกว่าความถี่ที่เรากำหนด ผ่านไปได้

รูปนี้ ฟิลเตอร์ด้านซ้ายมือคือ LPF  ส่วนฟิลเตอร์ด้านขวามือคือ HPF

(http://upic.me/i/5p/xover_slope.jpg) (http://upic.me/show/43290433)
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: PJ2011 ที่ กุมภาพันธ์ 17, 2013, 06:58:53 pm
กรณีเล่นในหอประชุม  ระหว่างการกำหนดความชันของ L  M  H
กับ การหน่วงเวลา วิธีใดให้ผลลัพธ์ดีกว่ากันครับ

ปล.  ใช้ Xilica XP-4080 ครับ
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: sam_aj ที่ กุมภาพันธ์ 17, 2013, 07:10:55 pm
กรณีเล่นในหอประชุม  ระหว่างการกำหนดความชันของ L  M  H
กับ การหน่วงเวลา วิธีใดให้ผลลัพธ์ดีกว่ากันครับ

ปล.  ใช้ Xilica XP-4080 ครับ

การกำหนดค่าความลาดชันของฟิลเตอร์ กับการทำ Time Alignment นั้นไม่เกี่ยวข้องกันเลยครับ
และไม่สามารถทดแทนกันได้

คงต้องทำความเข้าใจในเรื่อง Time Alignment ก่อนครับ

สิ่งที่จะพูดคุยกันต่อไปนี้ เป็นเรื่อง การทำ Time Alignment ให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่านในระบบเสียง  ซึ่งเป็น
ข้อแตกต่างระหว่างครอสอนาล็อก กับครอสดิจิตอล  โดยที่ครอสอนาล็อกไม่สามารถทำได้ครับ

สำหรับท่านที่ใช้ครอสดิจิตอลอยู่  เท่าที่ผมเคยไปเห็นมา หลาย ๆ ท่านยังไม่เคยทำ Time Alignment ให้กับ
ตู้ลำโพงระหว่างย่านเสียงต่ำ กับเสียงกลาง - แหลม กันเลย  ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างมาก  เพราะ
หากท่านได้ทำ Time Alignment ให้กับตู้ในระบบของท่านได้ถูกต้องแล้ว จะทำให้คุณภาพของเสียงในระบบ
ของท่านดีขึ้นอย่างที่ท่านแทบจะไม่เชื่อหูกันเลยทีเดียว

อะไรคือการทำ Time Alignment ให้กับตู้ลำโพงในระบบ ?

คิดว่าหลาย ๆ ท่านคงเคยได้ยิน หรือ รับฟังมากันบ้างว่า เสียงต่ำ เดินทางช้ากว่า เสียงกลาง และ แหลม

ผมขออนุญาตแสดงความคิดเห็นแบบฟันธงกันเลยทีเดียวว่า  เสียงทุกย่านเดินทางด้วยความเร็วเท่ากันครับ

อ้าว... ถ้างั้นแล้วทำไมเสียงในระบบของตู้ย่านต่าง ๆ ถึงเดินทางมาถึงหูของคนฟังไม่พร้อมกันหล่ะ  เหตุผล
หลัก ๆ มีอยู่ 3 ประการดังนี้

1. การทำงานของตัวตู้ในแต่ละแบบ จะเกิดการหน่วงเวลาของเสียงไม่เท่ากัน
2. ตำแหน่งของดอกลำโพง หรือ ตัวตู้ ซึ่งมักจะติดตั้ง หรือวางอยู่ไม่เป็นระนาบเดียวกัน
3. ค่าหน่วงเวลาในวงจรฟิลเตอร์ของครอสที่เราใช้กำหนดจุดแบ่งความถี่   โดยที่ฟิลเตอร์แต่ละย่าน จะมีค่า
หน่วงเวลาไม่เท่ากัน

ซึ่งใน 3 เหตุผลข้างต้น  สิ่งที่ทำให้เกิดการหน่วงเวลาของเสียงในแต่ละย่านมากที่สุดคือ ข้อ 3  ครับ

ทีนี้ก็มาถึงประเด็นว่าแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าตู้แต่ละย่าน จะต้องทำการปรับตั้งค่า Delay Time เท่าไหร่เพื่อ
ให้เสียงเดินทางมาถึงหูของผู้ฟังพร้อมกัน

ถ้าท่านมีโปรแกรม Smaartlive , RTA Mic. ตลอดจนสามารถใช้งานโปรแกรมเป็น ก็จะสามารถวัดเองได้ไม่
ยากเย็นแต่ประการใด  แต่หากไม่มีหรือมีแต่ใช้ไม่เป็นหล่ะ จะทำเช่นไรดี?

จากประสบการณ์ของผม (อีกแหละ) ที่ทำการวัดค่า Delay Time ของตู้ลำโพงย่านต่าง ๆ (โดยที่ตัดความถี่
ผ่านครอสมาแล้ว)  พอจะให้ไกด์ไลน์คร่าว ๆ ได้ประมาณนี้ครับ (ตู้ทุกตัวอยู่ในตำแหน่งระนาบเดียวกัน)

ตู้ย่านเสียงต่ำ (Low) จะมีค่าหน่วงเวลามากที่สุด (หลังจากผ่านการแบ่งย่านความถี่จากครอสมาแล้ว)
ตู้ย่านเสียงกลาง (Mid) จะมีค่าหน่วงเวลาน้อยกว่าตู้เสียงต่ำอยู่โดยประมาณ 5ms ~ 10ms
ตู้ย่านเสียงสูง (High) จะมีค่าหน่วงเวลาน้อยกว่าตู้เสียงกลางอยู่เพียงเล็กน้องประมาณ 0.5ms ~ 1ms

นั่นก็คือทั้ง ๆ ที่เราวางตู้ไว้ในระนาบเดียวกันแล้วก็จริง แต่เมื่อเปิดฟังเสียง เราจะได้ยินเสียงแหลมมาก่อน
ตามด้วยเสียงกลาง และ เสียงต่ำ เสมือนว่าเราวางตู้ลำโพงไว้ตามภาพ


(http://upic.me/i/2h/delalytime-1.jpg) (http://upic.me/show/43228434)

ซึ่งจากปรากฎการณ์ข้างต้น ทำให้เสียงที่ได้จากระบบของเราก่อนทำ Time Alignment ขาดมิติ และพลัง
ในการเสริมกันของเสียงแต่ละย่าน ถ้าจะเปรียบก็เสมือนท่านนำเอาข้าวเหนียวปั้นเล็ก ๆ สามปั้นมาปาใส่
หัวเพื่อน ทีละปั้น    

แต่หากว่าเราทำ Time Alignment ให้กับระบบของเราได้ถูกต้อง ก็เปรียบเสมือนท่านเอาข้าวเหนียวทั้ง
สามปั้นมาปั้นรวมกันเป็นปั้นเดียวแล้วปาใส่หัวเพื่อน  ท่านคิดว่าแบบไหนเพื่อนจะเจ็บกว่ากันครับ


ผมมี Tip แบบบ้าน ๆ แนะนำถึงวิธีการตั้งค่า Delay Time ให้กับตู้ กลาง-แหลม กับ ตู้ซับ
โดยไม่ต้องใช้โปรแกรม Smaartlive แต่อย่างใด  ท่านลองเอาไปใช้กันดูครับ  โดยที่สามารถ
ลองได้จากหน้างานจริงเลยครับ ไม่ต้องยกตู้มาลองเดี๋ยวเอวจะเสีย แม่บ้านจะบ่น 5555

ก่อนอื่นให้ลองฟังเสียงจากระบบเดิมของท่านที่ยังไม่ได้ตั้งค่า Delay Time ว่าเสียงคิกของกระเดื่อง
ในจังหวะเดียวกับที่นักดนตรีตีไฮแอทนั้น  ในระบบเดิมนั้นเป็นเช่นไร?

ต่อจากนั้นให้ลองปรับค่า Delay Time ของ Output ย่านกลาง-แหลมขึ้นไปเรื่อย ๆ ทีละ 1ms
แล้วลองฟังดูเปรียบเทียบถึงความแตกต่าง (โดยทั่วไปจะค่า Delay Time ที่ทำให้กับตู้กลาง-แหลม
มักจะไม่เกิน 10ms)

ถ้าค่า Delay Time ที่เราตั้งให้กับตู้กลาง-แหลม มันตรงกับค่า Delay ที่เกิดขึ้นจากระบบของ
เราเป๊ะ   ท่านจะได้ยินเสียงคิกของกระเดื่อง กับเสียงไม้กระทบไฮแอท ในจังหวะเดียวกัน
และประสานกันอย่างลงตัว  ซึ่งที่ถูกต้องก็ควรจะเป็นเช่นนั้น 

เมื่อท่านสามารถตั้งค่า Delay Time ได้ตรงตามจริง  เสียงโดยรวมทั้งระบบจะเกิดพลังขึ้น
อีกอย่างน้อย 30% เลยทีเดียวครับ


หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: PJ2011 ที่ กุมภาพันธ์ 17, 2013, 08:12:42 pm
ต้องลองไปทำบ้างแล้วครับ เพราะก่อนหน้านี้เล่นครอสอนาลอก
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: tee_yai ที่ กุมภาพันธ์ 26, 2013, 08:52:16 pm
ขอบคุณคร้าบเฮีย ได้ความรู้อีกเยอะ
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: montrevej ที่ กุมภาพันธ์ 26, 2013, 09:11:40 pm
เฮียครับขอเรื่อง db อีกซักเรื่องได้ไหมครับ ลืมๆหมดแล้ว ..... จัดสัมมนาเลยดีกว่าครับเฮีย เอาเรื่องทฤษฎีล้วนๆเลยครับ ตอนน้องๆถามตอบไม่ค่อยถูกหลักเท่าไร จะได้จับไปนั่งฟังซะให้หมด
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: vnatham ที่ กุมภาพันธ์ 27, 2013, 05:04:08 pm
ขอบคุณเฮียมากเลยครับ
สรุปว่า คลื่นเสียง ความถี่ต่างๆ เดินทางเร็วเท่ากัน
แต่ที่มันช้า มันช้าในวงจร filter ใช่มั้ยครับ
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: sam_aj ที่ กุมภาพันธ์ 27, 2013, 05:10:45 pm
ขอบคุณเฮียมากเลยครับ
สรุปว่า คลื่นเสียง ความถี่ต่างๆ เดินทางเร็วเท่ากัน
แต่ที่มันช้า มันช้าในวงจร filter ใช่มั้ยครับ


วงจรฟิลเตอร์เปงอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดการหน่วงของคาบเวลาครับ

 smileyy
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: Summaostudio ที่ กุมภาพันธ์ 27, 2013, 05:27:43 pm
ขอบคุณครับ
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: w1 ที่ มีนาคม 01, 2013, 11:52:07 am
ขอถามเฮียต่อน่ะครับว่า จาก
                 ที่บอกว่าค่าหน่วงเวลาในวงจรฟิลเตอร์ของครอสที่เราใช้กำหนดจุดแบ่งความถี่โดยที่ฟิลเตอร์แต่ละย่านจะมีค่าหน่วงเวลาไม่เท่ากัน แสดงว่าเราจะต้องเลือก filter type จากครอสดิจิตอลในแต่ละย่านความถี่ (Low mid hi) เป็นชนิดเดียวกันใช่ไหมครับ เช่น เราจะต้องเลือก Filter type
เป็น Linkwitz riley ทั้ง Low Mid Hi ก็จะต้องเป็น Linkwitz riley(ผมเข้าใจถูกหรือเปล่าครับ) ไม่สามารถเลื่อก
ย่าน Low  เป็น  Linkwitz riley
ย่าน Mid  เป็น  Bessel
ย่าน HI   เป็น  Butterworth ใช่ไหมครับ
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: @_slayer_@ ที่ มีนาคม 01, 2013, 11:54:40 am
กรณีเล่นในหอประชุม  ระหว่างการกำหนดความชันของ L  M  H
กับ การหน่วงเวลา วิธีใดให้ผลลัพธ์ดีกว่ากันครับ

ปล.  ใช้ Xilica XP-4080 ครับ

การกำหนดค่าความลาดชันของฟิลเตอร์ กับการทำ Time Alignment นั้นไม่เกี่ยวข้องกันเลยครับ
และไม่สามารถทดแทนกันได้

คงต้องทำความเข้าใจในเรื่อง Time Alignment ก่อนครับ

สิ่งที่จะพูดคุยกันต่อไปนี้ เป็นเรื่อง การทำ Time Alignment ให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่านในระบบเสียง  ซึ่งเป็น
ข้อแตกต่างระหว่างครอสอนาล็อก กับครอสดิจิตอล  โดยที่ครอสอนาล็อกไม่สามารถทำได้ครับ

สำหรับท่านที่ใช้ครอสดิจิตอลอยู่  เท่าที่ผมเคยไปเห็นมา หลาย ๆ ท่านยังไม่เคยทำ Time Alignment ให้กับ
ตู้ลำโพงระหว่างย่านเสียงต่ำ กับเสียงกลาง - แหลม กันเลย  ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างมาก  เพราะ
หากท่านได้ทำ Time Alignment ให้กับตู้ในระบบของท่านได้ถูกต้องแล้ว จะทำให้คุณภาพของเสียงในระบบ
ของท่านดีขึ้นอย่างที่ท่านแทบจะไม่เชื่อหูกันเลยทีเดียว

อะไรคือการทำ Time Alignment ให้กับตู้ลำโพงในระบบ ?

คิดว่าหลาย ๆ ท่านคงเคยได้ยิน หรือ รับฟังมากันบ้างว่า เสียงต่ำ เดินทางช้ากว่า เสียงกลาง และ แหลม

ผมขออนุญาตแสดงความคิดเห็นแบบฟันธงกันเลยทีเดียวว่า  เสียงทุกย่านเดินทางด้วยความเร็วเท่ากันครับ

อ้าว... ถ้างั้นแล้วทำไมเสียงในระบบของตู้ย่านต่าง ๆ ถึงเดินทางมาถึงหูของคนฟังไม่พร้อมกันหล่ะ  เหตุผล
หลัก ๆ มีอยู่ 3 ประการดังนี้

1. การทำงานของตัวตู้ในแต่ละแบบ จะเกิดการหน่วงเวลาของเสียงไม่เท่ากัน
2. ตำแหน่งของดอกลำโพง หรือ ตัวตู้ ซึ่งมักจะติดตั้ง หรือวางอยู่ไม่เป็นระนาบเดียวกัน
3. ค่าหน่วงเวลาในวงจรฟิลเตอร์ของครอสที่เราใช้กำหนดจุดแบ่งความถี่   โดยที่ฟิลเตอร์แต่ละย่าน จะมีค่า
หน่วงเวลาไม่เท่ากัน

ซึ่งใน 3 เหตุผลข้างต้น  สิ่งที่ทำให้เกิดการหน่วงเวลาของเสียงในแต่ละย่านมากที่สุดคือ ข้อ 3  ครับ

ทีนี้ก็มาถึงประเด็นว่าแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าตู้แต่ละย่าน จะต้องทำการปรับตั้งค่า Delay Time เท่าไหร่เพื่อ
ให้เสียงเดินทางมาถึงหูของผู้ฟังพร้อมกัน

ถ้าท่านมีโปรแกรม Smaartlive , RTA Mic. ตลอดจนสามารถใช้งานโปรแกรมเป็น ก็จะสามารถวัดเองได้ไม่
ยากเย็นแต่ประการใด  แต่หากไม่มีหรือมีแต่ใช้ไม่เป็นหล่ะ จะทำเช่นไรดี?

จากประสบการณ์ของผม (อีกแหละ) ที่ทำการวัดค่า Delay Time ของตู้ลำโพงย่านต่าง ๆ (โดยที่ตัดความถี่
ผ่านครอสมาแล้ว)  พอจะให้ไกด์ไลน์คร่าว ๆ ได้ประมาณนี้ครับ (ตู้ทุกตัวอยู่ในตำแหน่งระนาบเดียวกัน)

ตู้ย่านเสียงต่ำ (Low) จะมีค่าหน่วงเวลามากที่สุด (หลังจากผ่านการแบ่งย่านความถี่จากครอสมาแล้ว)
ตู้ย่านเสียงกลาง (Mid) จะมีค่าหน่วงเวลาน้อยกว่าตู้เสียงต่ำอยู่โดยประมาณ 5ms ~ 10ms
ตู้ย่านเสียงสูง (High) จะมีค่าหน่วงเวลาน้อยกว่าตู้เสียงกลางอยู่เพียงเล็กน้องประมาณ 0.5ms ~ 1ms

นั่นก็คือทั้ง ๆ ที่เราวางตู้ไว้ในระนาบเดียวกันแล้วก็จริง แต่เมื่อเปิดฟังเสียง เราจะได้ยินเสียงแหลมมาก่อน
ตามด้วยเสียงกลาง และ เสียงต่ำ เสมือนว่าเราวางตู้ลำโพงไว้ตามภาพ


(http://upic.me/i/2h/delalytime-1.jpg) (http://upic.me/show/43228434)

ซึ่งจากปรากฎการณ์ข้างต้น ทำให้เสียงที่ได้จากระบบของเราก่อนทำ Time Alignment ขาดมิติ และพลัง
ในการเสริมกันของเสียงแต่ละย่าน ถ้าจะเปรียบก็เสมือนท่านนำเอาข้าวเหนียวปั้นเล็ก ๆ สามปั้นมาปาใส่
หัวเพื่อน ทีละปั้น    

แต่หากว่าเราทำ Time Alignment ให้กับระบบของเราได้ถูกต้อง ก็เปรียบเสมือนท่านเอาข้าวเหนียวทั้ง
สามปั้นมาปั้นรวมกันเป็นปั้นเดียวแล้วปาใส่หัวเพื่อน  ท่านคิดว่าแบบไหนเพื่อนจะเจ็บกว่ากันครับ


ผมมี Tip แบบบ้าน ๆ แนะนำถึงวิธีการตั้งค่า Delay Time ให้กับตู้ กลาง-แหลม กับ ตู้ซับ
โดยไม่ต้องใช้โปรแกรม Smaartlive แต่อย่างใด  ท่านลองเอาไปใช้กันดูครับ  โดยที่สามารถ
ลองได้จากหน้างานจริงเลยครับ ไม่ต้องยกตู้มาลองเดี๋ยวเอวจะเสีย แม่บ้านจะบ่น 5555

ก่อนอื่นให้ลองฟังเสียงจากระบบเดิมของท่านที่ยังไม่ได้ตั้งค่า Delay Time ว่าเสียงคิกของกระเดื่อง
ในจังหวะเดียวกับที่นักดนตรีตีไฮแอทนั้น  ในระบบเดิมนั้นเป็นเช่นไร?

ต่อจากนั้นให้ลองปรับค่า Delay Time ของ Output ย่านกลาง-แหลมขึ้นไปเรื่อย ๆ ทีละ 1ms
แล้วลองฟังดูเปรียบเทียบถึงความแตกต่าง (โดยทั่วไปจะค่า Delay Time ที่ทำให้กับตู้กลาง-แหลม
มักจะไม่เกิน 10ms)

ถ้าค่า Delay Time ที่เราตั้งให้กับตู้กลาง-แหลม มันตรงกับค่า Delay ที่เกิดขึ้นจากระบบของ
เราเป๊ะ   ท่านจะได้ยินเสียงคิกของกระเดื่อง กับเสียงไม้กระทบไฮแอท ในจังหวะเดียวกัน
และประสานกันอย่างลงตัว  ซึ่งที่ถูกต้องก็ควรจะเป็นเช่นนั้น 

เมื่อท่านสามารถตั้งค่า Delay Time ได้ตรงตามจริง  เสียงโดยรวมทั้งระบบจะเกิดพลังขึ้น
อีกอย่างน้อย 30% เลยทีเดียวครับ




จัดอบรมใหม่เลยครับเฮีย  แต่ผมขอเป็นตอนปิดเทอมนะอิอิ
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: sam_aj ที่ มีนาคม 01, 2013, 01:53:34 pm
ขอถามเฮียต่อน่ะครับว่า จาก
                 ที่บอกว่าค่าหน่วงเวลาในวงจรฟิลเตอร์ของครอสที่เราใช้กำหนดจุดแบ่งความถี่โดยที่ฟิลเตอร์แต่ละย่านจะมีค่าหน่วงเวลาไม่เท่ากัน แสดงว่าเราจะต้องเลือก filter type จากครอสดิจิตอลในแต่ละย่านความถี่ (Low mid hi) เป็นชนิดเดียวกันใช่ไหมครับ เช่น เราจะต้องเลือก Filter type
เป็น Linkwitz riley ทั้ง Low Mid Hi ก็จะต้องเป็น Linkwitz riley(ผมเข้าใจถูกหรือเปล่าครับ) ไม่สามารถเลื่อก
ย่าน Low  เป็น  Linkwitz riley
ย่าน Mid  เป็น  Bessel
ย่าน HI   เป็น  Butterworth ใช่ไหมครับ

ไม่จำเป็นครับ จะเลือกเป็นแบบไหนก็ได้ครับ ไม่เกี่ยวกับต้องเป็นแบบเดียวกัน

 smileyy
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: saranachonx ที่ สิงหาคม 10, 2013, 03:30:15 pm
ความรู้ใหม่อีกแล้วขอบคุณครับ   brow brow brow 
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: nuttsou ที่ สิงหาคม 10, 2013, 04:51:10 pm
ได้ความรู้เพิ่มเยอะเลย
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: sarawutsound ที่ สิงหาคม 10, 2013, 05:08:23 pm
ยังปรับในส่วนพวกEQครับ พวกค่า OCT. Q ความกว้าง ไม่ค่อยได้เลยครับ กำลังพยายามทำความเข้าใจกับมัน frusty
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: wanway ที่ สิงหาคม 10, 2013, 05:36:20 pm
ขอบคุณมากครับ ผมซื้อตัว aj260 มายังปรับไม่ถูกได้อ่านบทความนี้จะลองดูอีกซักตั้งครับ
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (ดิจิตอล,เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: Tom Nongbua ที่ สิงหาคม 21, 2013, 11:32:15 am
ขอบคุณมากครับอาจารย์
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (ดิจิตอล,เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: jeerapanjarat@yahoo.com ที่ สิงหาคม 22, 2013, 08:12:16 am
ความรู้เยี่ยม ๆ สำหรับมือใหม่่ของผม ขอบคุณครับ
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (ดิจิตอล,เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: terdcub ที่ สิงหาคม 22, 2013, 09:09:47 am
ถึงผมไม่มีครอส ดิจิตอล แต่หลักการกับความรู้บางอย่างผมว่าน่าจะนำมาใช้ได้ ขอบคุณอย่างสูง ครับ
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (ดิจิตอล,เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: nuttsou ที่ สิงหาคม 22, 2013, 10:37:28 am
ผมเห็นบทความดีๆ นานๆไปรูปหาย เลยขออนุญาติเจ้าของกระทู้จัดเก็บเป็น file doc และขอแชณืให้สมาชิกเราด้วย เห็นควรอย่างไรบอกด้วย
http://www.4shared.com/office/wQ_Xk4Jj/__by__part1.html
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (ดิจิตอล,เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: prasit_asa ที่ กันยายน 11, 2013, 11:48:27 am
ขอบคุณมากครับ สำหรับความรู้ที่นำมาเติมเต็มให้กับเพื่อนๆ ทุกท่าน  ขอให้สุขภาพแข็งแรง มีความสุขและรำรวยเงินทอง ตลอดไป ครับเฮีย เฮงๆๆๆ ครับ smiley4 smiley4 smiley4
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (ดิจิตอล,เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: Mr_addy ที่ กันยายน 12, 2013, 11:05:25 am
ขอบคุณมากครับ
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (ดิจิตอล,เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: mixd4 ที่ ตุลาคม 26, 2013, 09:08:47 pm
ขอบคุณมากครับสำหรับความรู้ที่ดีมากๆ..
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (ดิจิตอล,เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: mza2012 ที่ ตุลาคม 31, 2013, 12:57:15 pm
ขอบคุณสำหรับความรู้มากมากครับเฮีย เว็บนี้มีแต่การแบ่งปันจริงจริง
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (ดิจิตอล,เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: Dr.Nong ที่ พฤศจิกายน 07, 2013, 06:50:24 am
ขอบคุณครับเฮีย เยี่ยมเลยครับความรู้ และขอบคุณคุณฉัตรชัยที่รวมเป็นwordให้ครับ
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (ดิจิตอล,เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: aseskk ที่ พฤศจิกายน 24, 2013, 07:50:31 am
สุดยอดเลยครับลองทำดูแล้วแจ่มเลย
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (ดิจิตอล,เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: kikie_34 ที่ ธันวาคม 02, 2013, 11:18:45 am
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับเฮีย
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (ดิจิตอล,เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: THE BACK UP SOUND ที่ ธันวาคม 02, 2013, 11:35:03 am
AJ-480 ซื้อมาแทน AJ-260 ตัวเก่า ตัวใหม่นี้ภาคจ่ายไฟเป็นแบบ Switching ไม่กลัวไฟตก คุณภาพกับราคาที่ลงทุนไป ไม่เสียดายตังเลย 
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (ดิจิตอล,เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: seses12345 ที่ ธันวาคม 03, 2013, 09:51:41 pm
ขอบคุณครับ
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (ดิจิตอล,เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: boombeem_kitsada ที่ ธันวาคม 19, 2013, 03:44:47 pm
ขอบคุณครับ  smileyy  smiley4
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (ดิจิตอล,เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: thanesh ที่ มกราคม 30, 2014, 06:00:21 pm
ขอบคุณครับ ความรู้เต็มเลย จะเอาไปฝาก "ลูกเพชรSound ลอดช่องอยุธยา" smiley4
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (ดิจิตอล,เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: tnj ที่ มีนาคม 04, 2014, 05:00:45 pm
เฮียแซมครับ  ผมขอรบกวนสอบถามการใช้คอสดิจิตอลเพื่อตัดความถี่กับตู้ aj 

b1000 หน่อยนะครับ คือตอนนี้ผมมีตู้ aj b1000 ทั้งหมด 8 ใบครับ แล้วใช้

คอส dbx 260 ผมควรจะตัดความถี่ด้าน LPF เท่าไหร่ครับ และย่าน HPF เท่า

ไหร่ครับ ถึงจะได้ประสิทธิ์ถาพของตู้ b1000  อย่างเต็มที่ครับ ขอบคุณมากครับ
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (ดิจิตอล,เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: arnat_2529 ที่ มีนาคม 25, 2014, 08:54:21 pm
ขอบคุณครับเฮีย
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (ดิจิตอล,เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: อ้วนชัย มิวสิค ★ ที่ เมษายน 06, 2014, 09:44:53 pm
ขอบคุณครับ ความรู้ทั้งนั้น
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (ดิจิตอล,เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: Ought ที่ กรกฎาคม 09, 2014, 10:46:53 pm
 ขอบคุณครับ smiley4
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (ดิจิตอล,เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: อาร์ม ลูกน้ำกว๊าน ที่ กรกฎาคม 09, 2014, 11:02:21 pm
ขอบคุณมากครับ smiley4
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (ดิจิตอล,เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: นะอุบล SOUND ที่ กรกฎาคม 12, 2014, 09:06:05 am
ผมเห็นบทความดีๆ นานๆไปรูปหาย เลยขออนุญาติเจ้าของกระทู้จัดเก็บเป็น file doc และขอแชณืให้สมาชิกเราด้วย เห็นควรอย่างไรบอกด้วย
http://www.4shared.com/office/wQ_Xk4Jj/__by__part1.html

ขอบคุณเฮีย และพี่ฉัตรชัย สำหรับความรู้และบทความดีๆ ครับ  smiley4
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสŭ
เริ่มหัวข้อโดย: uyindee ที่ เมษายน 23, 2015, 11:41:07 pm
ขอบคุณเฮียมากเลยครับ
สรุปว่า คลื่นเสียง ความถี่ต่างๆ เดินทางเร็วเท่ากัน
แต่ที่มันช้า มันช้าในวงจร filter ใช่มั้ยครับ


ขอเสริมครับ

 เดินทางเร็วเท่ากัน  ถูกต้องครับ ถ้าเราวัดด้วย mode 0 degree ซึ่งหมายความว่าวัดตำแหน่งในรูปคลื่นที่ระดับ 0 dB ของกราฟตามแนวแกน y
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2015/04/23/14656_1429805378.jpg)

จากภาพ กราฟ บน เป็นกราฟแสดงย่านความถี่สูง   ส่วนกราฟล่างเป็นกราฟแสดงย่านความถี่ต่ำ
กำหนดให้ แหล่งกำเนิดเสียงปล่อยสัญญาณออกพร้อมกัน ในหน่วยเวลาเดียวกัน คลื่นเสียงเดินทางได้ระยะเท่ากัน นั้นหมายถึงความเร็วของเสียงเท่ากันนั้นเอง
   แต่หากเราพิจารณาตามลักษณะของคลื่น ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของการเสริมกันของคลื่น  แล้วเสริมกันอย่างไร

(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2015/04/23/14656_1429805625.jpg)

   จากภาพซายมือสุดของแหล่งกำเนิดเสียง 2 แหล่งที่มีความถี่เดียวกัน ปล่อยออกมาพร้อมกัน ลักษณะคลื่นแบบเดียวกัน  เกิดการเสริมกัน ผล เป็นกราฟล่างสุด แอมปริจูดเพิ่มขึ้น  ในทำนองกลับกันภาพที่สอง การปล่อยสัญญาณคลื่นเดียวกันแต่ระดับ Degree ต่างกัน รูปคลื่นต่างกันแบบตรงข้าม  ผลกราฟล่าง หักล้างกัน
   คลื่นเดียวกันแต่หน่วงการปล่อย(Delay) รูปคลื่นต่างกัน เกิด phase out กลายเป็นว่าหักล้างกัน ความดังก็ลดลงซิ..
   การวัดความเร็วของคลื่นเพื่อการเสริมกันของคลื่นเมื่อระยะเวลาที่คลื่นมีค่าแอมปริจูตสูงขึ้น(+ dB) จาการเฟสซิฟ (phase shift)
  เมื่อกลับพิจารณาภาพกราฟบนสุด ที่ระดับ 90 degree จะพบว่าท้องคลื่นของกราฟความถี่สูงจะถึงเส้นชัยก่อน... ก่อนที่ท้องคลื่นสูงสุดของกราฟความถี่ต่ำจะถึง
   ท้องคลื่นสูงทั้ง 2 ความถี่ตรงกันกลายเป็นเฟสซิฟตามความประสงค์ มันจะดังขึ้น
 การดังขึ้นไม่ได้หมายความว่าดังดี แต่ดังแรงขึ้น บางช่วงก็ดังเบาเฟสเอ้าก็เป็นได้...
   ขึ้นอยู่กับแบบทางกายภาพของตู้ลำโพง มีการหน่วงมวลอากาศตั้งแต่ภายในตู้้แล้ว
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2015/04/23/14656_1429806544.jpg)
   ความเร็วของเสียงไม่ได้เกิดจากลม.... แต่เกิดจากจังหวะการอัด ขยายของมวลอากาศ  ความถี่ต่ำใช้ช่วง(ปริมาตร)มวลอากาศมาก  มันจึงใช้เวลามากกว่าในการบีบอัดอากาศ ในทิศทางตามยาว  จึงเรียกคลื่นเสียงเป็นคลื่นประเภทตามยาวครับ

   สรุป  เสียงความถี่ต่ำช้ากว่าเพราะลักษณะการเกิดตามกายภาพของคลื่นตัวมันเองมากกว่า(ที่ไม่ใช่ Mode 0 degree)
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (ดิจิตอล,เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: uyindee ที่ เมษายน 24, 2015, 12:03:20 am
การตัดแบ่งหน้าที่ของตู้ลำโพงตามคำแนะนำของเฮียแจ่มเลย ในกรณีทีเราใช้ตู้กำโพงหลาย ๆ ใบมาซ้อนกันปล่อยความถี่เดียวกัน หากเกิดการทับซ้อนย่านความถี่มากไป ความชัดเจนจะลดต่ำลง
    ปัญหาค่าของมุมกระจายของคลื่นเสียงตามกายภาพของคลื่นความถี่ต่างกันย่อมส่งผลต่อความคมชัดของเสียง การเป็นเสมือนตู้ลำโพงใบเดียวก็ยากมากขึ้น
    บ่อยครั้งที่ผมเห็นลำโพงพวงใหญ่แบบ้าน ๆ เรียงกันมาก แต่เสียงความถี่ของตัวโน้ตที่ต้องการกับดังเบา ตัวโน้ตอื่นที่ไม่ต้องการโคตรแสบหู บาดหู หรือ ตื้อ ๆ ไป
    เห็นเอาลำโพง Aj ps15 ข้างละ 2 ใบ เปิดโหมด spl ไปสุด ๆ เลย ยังดังกว่าเลย เคลียร์แจ่มกว่า อย่าหาว่าชมเลย
เห็นใน แฟนคลับ เฟสบุคเขาโพสกัน
   สรุป การตัดแบ่งความถี่ตามหน้าที่ของตู้ลำโพงจึงเป็นทางเลือกที่ควรจัดการเป็นกรณีต้น ๆ ของการออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพแอกคูสติกของพื้นที่นั้น ๆ เป็นลำดับต้น ๆ เลย smiley4
   
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (ดิจิตอล,เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: sompet ที่ พฤษภาคม 15, 2015, 02:25:12 pm
ขอบคุณมากครับ....ผมก็เล่นครอสดิจิตอลอยู่...เริ่มเข้าใจมากขึ้น  ก่อนนี้ก็ปรับตามใจตัวเอง
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (ดิจิตอล,เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: shutterav17 ที่ พฤษภาคม 20, 2015, 01:37:29 pm
ขอบคุณมากครับ ข้อมูลดีๆ smiley4
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (ดิจิตอล,เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: tiontoon ที่ กันยายน 26, 2015, 01:36:39 pm
ผมใช้ jbl 260ยังปรับไม่ได้ดีเหมือนกัน รีดมันยังออกมาไม่สุด เริ่มพอเข้าใจบ้างแล้วขอบคุณครับ
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (ดิจิตอล,เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: thira ที่ กันยายน 30, 2015, 11:29:01 am
ขอบคุณครับ
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (ดิจิตอล,เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: wongpech ที่ ตุลาคม 02, 2016, 06:21:39 pm
ทำไมผมมาดูไม่มีภาพนะ
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (ดิจิตอล,เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: ฝันให้ไกล ไปให้ถึง ที่ ตุลาคม 02, 2016, 07:30:39 pm
สงสัยจะเป็นที่เวปฝากภาพครับท่านหรืออะไรซักอย่างครับ แต่ของผมเห็นภาพครับ เปิดกับโน๊ตบุ๊ค แต่ลองเข้าดูกับโทรศัพท์กลับมองไม่เห็นภาพครับผม  smiley4
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (ดิจิตอล,เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: kumkultoy ที่ ตุลาคม 20, 2016, 09:14:05 pm
ขอบคุณครับผม
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (ดิจิตอล,เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: soondata ที่ พฤศจิกายน 10, 2016, 02:16:15 pm
ขอบคุณครับ สำหรับความรู้ดีๆๆละเอียดมาก
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (ดิจิตอล,เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: Phaisarn@ลำพูน ที่ ตุลาคม 11, 2017, 07:43:18 am
แจ่มๆ
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (ดิจิตอล,เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: kob-it ที่ ตุลาคม 25, 2017, 09:06:40 pm
ขอบคุณครับเฮีย
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (ดิจิตอล,เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: ST SOUND PROJECT ที่ มิถุนายน 01, 2018, 10:42:30 am
ขอบคุณมากๆครับ ได้รู้มากขึ้น มือใหม่ครับ
หัวข้อ: Re: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (ดิจิตอล,เบื้องต้น)
เริ่มหัวข้อโดย: babayaka ที่ กรกฎาคม 18, 2019, 03:15:39 pm
ขอบคุณมากครับ         คลิ๊กเลยเพื่อคำว่าที่สุด (https://www.ufa2019.com)