Tigger Sound

ห้องสมุด คลังความรู้ต่างๆ ในแวดวงเครื่องเสียง
=> ห้องสมุด ทิกเกอร์ซาวด์ เครื่องเสียง ตู้ลำโพง ระบบเสียง แสงสี และอุปกรณ์อื่นๆ => ข้อความที่เริ่มโดย: sittichai1334@hotmail.co. ที่ สิงหาคม 25, 2013, 10:08:48 pm

หัวข้อ: การเร่งเพาเวอร์แอมป์ ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: sittichai1334@hotmail.co. ที่ สิงหาคม 25, 2013, 10:08:48 pm
ใช้กลางแจ้งงานเครื่องไฟผมเร่งสุดทุกตัว อยากทราบว่าที่ถูกต้องควรจะเร่งที่เท่าไหร่ครับ ที่เที่ยง หรือบ่ายสาม ผมกลัวดังไม่เท่ากัน
รบกวนด้วยนะครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: แป้มมิวสิค ที่ สิงหาคม 26, 2013, 06:12:20 am
เร่ง 5 โมงเย็นเลยครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: wutsound ที่ สิงหาคม 26, 2013, 06:50:39 am
ผมเปิดสุดครับ ปรับที่ครอสเอา
แต่บางครั้งก็ไม่สุดนะส่วนมากจะเป็นแอมป์กลางแหลม ถ้าขี้เมาตะโกนดังๆ smiley4 smiley4
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: คนพระจันทร์ ที่ สิงหาคม 26, 2013, 07:30:25 am

ให้นึกถึงรถยนต์นะครับ

สตาร์ทเครื่อง  ติด  เดินเบา  พร้อมขับเคลื่อนรถ

เกียร์หนึ่งเหยียบคันเร่งเดินหน้า

เกียร์สอง สาม สี่ ห้า  ถนนโล่งค่อยเหยียบคันเร่งมิด


เหยียบคันเร่งมิดแล้วค่อยสตาร์ทเครื่อง  น่ากลัวจัง
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: บ้านดนตรี ที่ สิงหาคม 26, 2013, 07:43:55 am
..เร่งสุดเลยครับ..เพราะถ้าเร่งไม่สุดก็เหมือนการไปกั๊กกำลัง- ประสิทธิภาพของพาวเวอร์ไว้ ทำให้ไม่ได้กำลัง- ประสิทธิภาพสูงสุด ตามสเป็คที่ขาแจ้งมา.
...ไม่เชื่อลองเล่นแบบเร่งวอลลุ่มจนสุด กับเร่งไม่สุด แล้วฟังดู..ท่านจะรู้สึกด้วยตัวเองว่ามันดังแรง-เบาต่างกันมาก
..การเปิดพาวเวอร์นั้นต้องเปิดสวิชแล้วทิ้งไว้สักพักให้ระบบโปรเทคทำงานก่อน  หรืออาจจะใจเย็นทิ้งไว้นานๆสัก2- 3 นาที แล้วจึงเร่งวอลลุ่มไปจนสุด..เวลาจะปิดเครื่องก็ลดวอลลุ่มลงมาจนสุด แล้วทิ้งไว้สักพักจึงปิดสวิช
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: คนพระจันทร์ ที่ สิงหาคม 26, 2013, 08:34:45 am

ถ้าทีมงานวิศวกรออกแบบพาวเวอร์แอมป์ทุกยี่ห้อในโลกนี้

ต้องการให้ผู้ใช้ "เร่งวอลลุ่มสูงสุด" เค้าก็คงไม่ออกแบบให้มีวอลลุ่มมาคั่นหรอกครับ
การเพิ่มอุปกรณ์หมายถึงต้นทุน 

การมีวอลลุ่มมันต้องมีวัตถุประสงค์  อาจจะในแง่  Input Impedance
ในแง่ความปลอดภัย ฯลฯ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: คนพระจันทร์ ที่ สิงหาคม 26, 2013, 09:26:12 am
พื้นฐานที่เป็นสากล 

ซึ่งเมื่อนำมาปฏิบัตย่อมมีประโยชน์กับผู้ใช้ 


(http://image.ohozaa.com/i/89c/GEvsD3.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/x2Ukp6dhUCFWLZIH)
(http://image.ohozaa.com/i/ee6/DIj4RB.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/x2Ukkuuqe4atBlTm)

(http://image.ohozaa.com/i/c0c/XUsDvu.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/x2UkoKeBDfF8uhyB)


ทิ้งท้ายเพื่อความสบายใจ


(http://image.ohozaa.com/i/0a6/GpARPt.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/x2UmV4RmGrA5IQiT)



ที่มาครับ


http://www.crownaudio.com/media/pdf/amps/137467.pdf
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: vnatham ที่ สิงหาคม 26, 2013, 10:35:01 am
ผมก็เร่งไม่สุดน๊ะ  กลัวครับ ป๊อด
บางครั้งเผลอทำอะไร ลืมลดสไลด์ลง ตู้กระจุย
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: MILDMUSIC ที่ สิงหาคม 26, 2013, 10:37:31 am
ผมว่าวอลลุ่มของเพาเวอร์มันก็เป็น GAIN เหมือนกัน สำคัญที่สุดน่าจะอยู่ที่การ Balance ทั้งระบบครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: krisadadh ที่ สิงหาคม 26, 2013, 11:16:24 am

ถ้าทีมงานวิศวกรออกแบบพาวเวอร์แอมป์ทุกยี่ห้อในโลกนี้

ต้องการให้ผู้ใช้ "เร่งวอลลุ่มสูงสุด" เค้าก็คงไม่ออกแบบให้มีวอลลุ่มมาคั่นหรอกครับ
การเพิ่มอุปกรณ์หมายถึงต้นทุน 

การมีวอลลุ่มมันต้องมีวัตถุประสงค์  อาจจะในแง่  Input Impedance
ในแง่ความปลอดภัย ฯลฯ

ผมสงสัยนิดนึง..แล้วแอมป์ที่ไม่มีวอลลุ่มล่ะครับทำไง
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: บ้านดนตรี ที่ สิงหาคม 26, 2013, 11:22:23 am
เคยมีการตั้งกระทู้เรื่องนี้มาแล้ว ตามไปดูที่นี่ได้ครับ (  กระทู้นี้ยาวและมีหลายหน้าหน่อยนะครับ)

http://www.tiggersound.com/webboard/index.php?topic=204291.0;wap2

...และฝากเรื่องการปรับระบบให้บารานซ์ กัน เพราะมันเกี่ยวเนื่องกับการปรับเร่งปุ่มวอลลุ่มของอุปกรณ์ทุกตัว รวมทั้งพาวเวอร์แอมป์ ไปให้พิจารณาด้วยครับ

http://www.tiggersound.com/webboard/index.php?topic=53297.0
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: นันท์นภัส มิวสิค นาน้อย น่าน ที่ สิงหาคม 26, 2013, 08:13:52 pm
เคยมีความคิดเดิมๆ ครับ คือเร่งประมาณบ่ายสองถึงสาม  ปรับเสียงไม่เคยมีความลงตัว  เลยแหกความคิดดูมั่ง โดยเร่งสุดทุกตัว  ตอบโจทย์ได้เลยครับ เรื่องของเสียง
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างแอ้ด™ ที่ สิงหาคม 26, 2013, 08:59:09 pm

ถ้าทีมงานวิศวกรออกแบบพาวเวอร์แอมป์ทุกยี่ห้อในโลกนี้

ต้องการให้ผู้ใช้ "เร่งวอลลุ่มสูงสุด" เค้าก็คงไม่ออกแบบให้มีวอลลุ่มมาคั่นหรอกครับ
การเพิ่มอุปกรณ์หมายถึงต้นทุน 

การมีวอลลุ่มมันต้องมีวัตถุประสงค์  อาจจะในแง่  Input Impedance
ในแง่ความปลอดภัย ฯลฯ
  เห็นด้วยตามนี้ครับ

...ชอบตรงที่วางภาพทิ้งท้ายเพื่อความสบายใจ  sinister

...เพาเวอร์แอมป์ที่ออกแบบใช้ในระบบ PA ,Touring แท้จริงจะมีที่หมุนตรงนี้ทุกตัว ?

หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: popteam ที่ สิงหาคม 26, 2013, 10:56:33 pm
ผมดูจากไฟเป็นหลัก อันนี้เชื่อถือได้ไหมครับ ผมเล่น4CHไฟแสดงมันไม่เท่ากัน
โดยปกติเร่งสุด เพราะคิดว่ามันเป็นR จะได้ไม่ดรอปสัญญาณ เร่งมิกน้อยลง ไม่ให้คลิปแต่ต้นทาง
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: dada... ที่ สิงหาคม 27, 2013, 07:08:13 am
ไม่เสมอไปหรอกครับ เพาว์เวอร์บางตัวบางยี่ห้อ ก็มีอัตราการขยายสูงมากอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องเร่งสุดหรอกครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: ปาย1095 มิวสิค ที่ สิงหาคม 27, 2013, 08:24:05 am
ข้อนี้ ยังหาข้อสรุปไม่ได้ ตามหลักต้องหมุนจนสุด (เขาว่ามา)  บางงาน ผมก็หมุนจนหมดบางงาน ก็บ่ายสาม  บางงานก็เที่ยง ดูสถานที่ คน เป็นหลัก

เถียงกันจนตาย ทุกคนถูกหมดครับ 

 ลองหมุนๆ s 1200 หมดๆ ดูซิ (ขับเสียงกลาง) เสียงกลางท่านมีสิทธิ์กลับบ้าน เก่า 80 %
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: rousseau9 ที่ สิงหาคม 27, 2013, 11:53:18 am
ผมลองมาหมดแล้วแบบบ้านๆ  แล้วแต่สถานการณ์ ที่สำคัญ สัญญาณ in put ต้องเหมาะสม ไม่เบา ไม่แรงจนเกินไป ลองเองครับจึงจะรู้
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: บ้านดนตรี ที่ สิงหาคม 27, 2013, 12:48:49 pm

ถ้าทีมงานวิศวกรออกแบบพาวเวอร์แอมป์ทุกยี่ห้อในโลกนี้

ต้องการให้ผู้ใช้ "เร่งวอลลุ่มสูงสุด" เค้าก็คงไม่ออกแบบให้มีวอลลุ่มมาคั่นหรอกครับ
การเพิ่มอุปกรณ์หมายถึงต้นทุน 

การมีวอลลุ่มมันต้องมีวัตถุประสงค์  อาจจะในแง่  Input Impedance
ในแง่ความปลอดภัย ฯลฯ
  เห็นด้วยตามนี้ครับ

...ชอบตรงที่วางภาพทิ้งท้ายเพื่อความสบายใจ  sinister

...เพาเวอร์แอมป์ที่ออกแบบใช้ในระบบ PA ,Touring แท้จริงจะมีที่หมุนตรงนี้ทุกตัว ?





"""ต้องกลับไปอ่านโจทย์เจ้าของกระทู้ก่อนว่าเขาบ่งประเด็นถึงการใช้งานสนามกลางแจ้ง
...การมีปุ่มวอลลุ่มนั้นผมคิดว่า จุดมุ่งหมายหนึ่งเพื่อป้องกันสัญญาณกระแทกขณะเปิด- ปิดเครื่อง... ซึ่งการเร่งวอลลุ่มไปจนสุดขณะใช้งาน จะไม่มีผลตรงประเด็นนี้ถ้าการเปิดปิดเครื่องทำถูกขั้นตอน คือก่อนปิดก็ลดวอลลุ่มลงมาจนสุด  ..ก่อนเปิดก็ลดวอลลุ่มลงมาจนสุด และเมื่อเปิดเครื่องแล้วก็รอจนระบบโปรเทคทำงานแล้วเร่งวอลลุ่มไปจนสุด
..ส่วนประเด็นที่บางท่านบอกว่าเร่งไม่ต้องสุด บางท่านเห็นว่าเร่งจนสุด บางท่านว่าสัญญาณเครื่องบางยี่ห้อ รุ่น ขยายมากอยู่แล้วไม่ต้องเร่งจนสุด..มันก็ถูกทุกคน ..แต่มันขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการใช้งาน และสถานที่
..ถ้าเร่งไม่สุดแล้วท่านได้พลัง กำลัง ความดัง ครอบคลุมพื้นที่งานได้หมด +ให้เนื้อเสียง คุณภาพเสียง ที่ท่านพอใจแล้ว ก้ไม่ต้องเร่งจนสุดก็ได้
....แต่ถ้าเป็นงานสนามกลางแจ้งตามโจทย์ที่เจ้าของกระทู้ตั้งมา..ผมคิด เชื่อว่าการเร่งไม่สุด จะไม่ได้พลัง กำลัง ความดัง มากพอเท่าที่เจ้าของระบบต้องการแน่นอน เพราะพาวเวอร์ไม่ได้แสดงคุณภาพ ประสิทธิภาพสูงสุดตามคุณสมบัติของมันที่มีอยู่ออกมา เลยทำให้เจ้าของพาลคิดไปว่า พาวเวอร์ยี่ห้อนั้นๆไม่ดี ไม่แรงพอ ตามสเป็คที่บอกมา
...ถ้าท่านเร่งวอลลุ่มพาวเวอร์แอมป์ไม่สุด แล้วไม่ได้ความแรง ความดังพอตามที่ต้องการ ท่านก็จะไปเร่งที่ปุ่ม Gain +สไลด์วอลลุ่มในไลน์มิกเซอร์ + In put- Out put ของครอส จนเกิดสัญญาณล้น-พีค..พาลพาให้พาวเวอร์แอมป์คลิป..จนอาจจะทำให้ดอกลำโพงขาดไหม้ เสียหายได้..นั่นเพราะการปรับระบบไม่สมดุลย์ ไม่พอดี ไม่ลงตัวกัน
...
...หลัการของระบบที่ดี ที่ควรจะเป็นคือ การทำให้ การปรับใช้อุปกรณ์ทุกชิ้นในระบบให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มกำลัง เต็มประสิทธิภาพ คุณภาพมากที่สุด..และต้องมีความสมดุลย์ พอดีกัน.จะทำให้ได้ระบบที่ดัง แรง มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และให้เนื้อเสียงที่ดี และมีความเสถียร ไม่แกว่งไม่คลิป ไม่พีค
...นั่นหมายถึงท่านต้องปรับระบบหน้า PA ของระบบเครื่องเสียง+อุปกรณ์ทุกชิ้นของท่านให้ลงตัว สมดุลย์กันนั่นแหละครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: คนพระจันทร์ ที่ สิงหาคม 27, 2013, 06:24:57 pm
ระบบเสียง  ถือว่าเป็นงานทางด้านวิทยาศาสตร์ นะครับ
มีที่มาที่ไป สามารถอธิบายเหตุอธิบายผลได้  และสามารถพิสูจน์ได้

ดังนั้นการจัดการหรือการใช้งานเพื่อควบคุมให้เป็นไปอย่างถูกต้องมันมีวิธีใช้งาน
ซึ่งจะต้องมีคู่มือมาให้ตอนที่ซื้อ  หรือต้องหาอ่านจนเข้าใจ

ระบบเสียงเป็นการทำงาน  ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางในลักษณะ  I/O
หรือ  Input/Output  ต่อเนื่องไปเรื่อย  ซึ่งมันมีข้อตกลงเป็นสากลในแง่สเปคต่างๆ

ส่วนเรื่องของเสียงดนตรีมันเป็นงานศิลป์ 
เสียงดนตรีที่มีคุณภาพมีองค์ประกอบหลายอย่างด้วยกัน
อาทิ ต้องมีความเป็นดนตรีสูง 
และความเป็นดนตรีสูงนั้นจะต้องมีองค์ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง 

มิใช่ความดังอย่างเดียว 

ในเรื่องของเสียง  เราแยกคุณภาพ กับประสิทธิภาพของเครื่องออกจากกัน
คุณภาพของเสียงเราว่าทั้งระบบ  ตั้งแต่ไฟฟ้าจนถึงระบบลำโพง
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: max_medkku ที่ สิงหาคม 27, 2013, 07:12:54 pm
ขอถามเพิ่มเติมครับ
1เร่ง volume แอมป์จนสุด gain จาก mixer ตํ่า มาเข้าที่amp แล้วamp clip(กระพริบเล็กน้อย)
2เร่ง volume แอมป์ไม่สุด gain จาก mixer สูง มาเข้าที่amp แล้ว amp clip(กระพริบเล็กน้อย)
แบบไหน เสียงดัง กว่ากัน แบบไหนเสียงดีกว่ากัน
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: คนพระจันทร์ ที่ สิงหาคม 27, 2013, 07:22:19 pm
ขอถามเพิ่มเติมครับ
1เร่ง volume แอมป์จนสุด gain จาก mixer ตํ่า มาเข้าที่amp แล้วamp clip
2เร่ง volume แอมป์ไม่สุด gain จาก mixer สูง มาเข้าที่amp แล้ว amp clip
แบบไหน เสียงดัง กว่ากัน แบบไหนเสียงดีกว่ากัน แบบไหนเสียงรบกวน(noise)น้อยกว่า



มันจะอยู่ในเรื่องของ  Decibel Scale  นะครับ

พลังงานเป็น  Watt

แรงดันเป็น    Volt

ซึ่งมันจะมีสูตรในการคำนวน  บังเอิญผมจำไม่ได้ต้องเปิดตำราอีกที
และมันจะมี Impedance ของลำโพงมาเกี่ยวข้องด้วย

ส่วนที่ถามผมขออนูญาตไม่ตอบ  เพราะไม่รู้จริงๆ  ครับ

แหมคุณหมอก็ 
รู้เรื่องเกนดีที่สุดในประเทศไทยแล้วยังแกล้งถาม  เล่นซะผมเขินเลย
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: max_medkku ที่ สิงหาคม 27, 2013, 09:04:44 pm
ขอถามเพิ่มเติมครับ
1เร่ง volume แอมป์จนสุด gain จาก mixer ตํ่า มาเข้าที่amp แล้วamp clip
2เร่ง volume แอมป์ไม่สุด gain จาก mixer สูง มาเข้าที่amp แล้ว amp clip
แบบไหน เสียงดัง กว่ากัน แบบไหนเสียงดีกว่ากัน แบบไหนเสียงรบกวน(noise)น้อยกว่า



มันจะอยู่ในเรื่องของ  Decibel Scale  นะครับ

พลังงานเป็น  Watt

แรงดันเป็น    Volt

ซึ่งมันจะมีสูตรในการคำนวน  บังเอิญผมจำไม่ได้ต้องเปิดตำราอีกที
และมันจะมี Impedance ของลำโพงมาเกี่ยวข้องด้วย

ส่วนที่ถามผมขออนูญาตไม่ตอบ  เพราะไม่รู้จริงๆ  ครับ

แหมคุณหมอก็ 
รู้เรื่องเกนดีที่สุดในประเทศไทยแล้วยังแกล้งถาม  เล่นซะผมเขินเลย

ตามสูตรสมัยเรียน physics เลยครับ
P คือ กำลัง
V คือ แรงดันไฟฟ้า
Z คือ ความต้านทาน (impidance)
I คือ กระแส

P=IV=I2Z=V2/Z
ส่วน ระดับความเข้มของเสียง(dB) = 10log{[P/4(3.14)R2]/10-12} ;R=ระยะห่างจากแหล่งกำเนิดเสียง(m)

แตในทางปฏิบัติแล้วนำใช้ยากครับ
ควรใช้สูตรนี้คำนวนเพื่อเลือก power amp ที่เหมาะสมกับ scale งานครับ

dBW = Lreq - Lsens + 20 * Log (D2/Dref) + HR

W = 10 to the power of (dBW / 10)

โดย
Lreq = required SPL at listener
Lsens = loudspeaker sensitivity (1W/1M)
D2 = loudspeaker-to-listener distance
Dref = reference distance
HR = desired amplifier headroom
dBW = ratio of power referenced to 1 watt
W = power required

ป๋ามะละกอชมเกินไปแล้วครับ มิกล้าๆ แหะๆๆ  ผมเป็นแค่มือสมัครเล่นเล่นเท่านั้นครับ smileyy
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: sittichai1334@hotmail.co. ที่ สิงหาคม 27, 2013, 09:41:37 pm
ผมว่าวอลลุ่มคงเอาไว้เบาเสียงตอนใช้ในห้องมั้ง เพราะมิคและเครื่องปรุงต่างๆจะกี่งานเราก็ปรับเหมือนเดิม ผมใช้แต่กลางแจ้งครับ กลางคืนดึกหน่อยจะเบาเสียงที่แอมครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: max_medkku ที่ สิงหาคม 27, 2013, 10:16:42 pm
คำตอบจาก page FAQs ของcrown amplifier ครับ คงตรงประเด็นชัดเจนสำหรับกระทู้นี้



Q : Should I have the level controls on my amplifier turned all the way up?


A : It depends on the system and how much gain you have prior to the amplifier .The level control can be thought of as an input attenuator. It does not limit the power available from the amplifier. With the level controls turned down the amplifier can still reach full rated output power, it just takes more drive level from your mixer to achieve it. Generally, you should set the mixer's individual channel fader and master gain to 0 dB, then adjust the amplifier level controls to the desired sound level.

ที่มา : http://www.crownaudio.com/kb/entry/15/
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างแอ้ด™ ที่ สิงหาคม 27, 2013, 10:50:35 pm
ขอถามเพิ่มเติมครับ
1เร่ง volume แอมป์จนสุด gain จาก mixer ตํ่า มาเข้าที่amp แล้วamp clip(กระพริบเล็กน้อย)
2เร่ง volume แอมป์ไม่สุด gain จาก mixer สูง มาเข้าที่amp แล้ว amp clip(กระพริบเล็กน้อย)
แบบไหน เสียงดัง กว่ากัน แบบไหนเสียงดีกว่ากัน
ุม
มันดังเท่ากันครับ แต่รายละเอียดเสียง 2 ดีกว่า  เฮดรูมที่อินพุทมากกว่า และขยาย noise ต่ำกว่า
ตปท.เขาจึงมักจะเลือกใช้ค่า input sensitivity มากๆ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: บ้านดนตรี ที่ สิงหาคม 28, 2013, 12:25:35 am
..บางครั้งการใช้ออกงานจริง เผชิญกับสถานะการณ์จริง ในหลากหลายลักษณะงาน หลายพื้นที่งาน ตั้งแต่งาน In door เล็กๆจนถึงขนาดใหญ่..งาน Out door เล็กๆ ไปจนถึงงานสนาม  PA เต็มรูปแบบ และบางครั้งเป็นงานแบบชาวบ้านเทคกลางดิน ดิ้นกลางแปลง มีนักร้องแบบบู๊ๆ และแขกเมาๆ ฯลฯ แบบไทยๆชนบท รากหญ้า
...มันคงไม่ได้ลงลึกไปถึงรายละเอียดตามทฤษฎี หลักวิชาการ หลักการศาสตร์ของเสียงมากมาย ตามที่ท่านบอกกล่าวมาหรอกครับ..มันเป็นงานที่ต้องการพลังเสียงที่ต้อง ดังแรง หนักแน่น กระหึ่ม กว้าง เร้าใจครอบคลุมพื้นที่งาน + พื้นที่รอบๆงานให้ได้มากที่สุด
....ยิ่งถ้าสามารถทำปรับ มิกซ์ระบบระบบให้มีเสียงที่มีทั้งความดัง ความแรง และมีคุณภาพเนื้อเสียง ลงตัว สมดุลย์กันทั้ง Low mid Hight จนทำให้เสียงที่ออกมาโดยรวมแจ่มๆ + กับการเล่นดนตรี +ระบบไมค์-FX +นักร้องที่สร้างประทับใจแก่เจ้าภาพ+แขกแล้วละก็หมายถึงงานนั้นประสบผลสำเร็จได้ทั้งเงินและกล่อง
...จากประสบการของผมที่เล่นระบบเครื่องเสียงไฮเอนในบ้านมานานตั้งแต่เด็กรุ่นๆ ที่เรียกกันว่าพวกหูทอง..มาจนถึงเล่นระบบเครื่องเสียง PA ทำงานดนตรี มาสิบกว่าปีนั้นผมคิดว่าเจ้าของระบบเครื่องเสียงทุกคนจะเป็นแบบเดียวกับผมคือ..เมื่อเราออกงานสนามจริงๆสิ่งที่เจ้าของระบบส่วนมากจะต้องคำนึงถึงก็คือทำอย่างไรจะให้เสียงที่ได้จากระบบเสียงของเราออกมาแรง ดัง คลอบคลุมพื้นที่ได้มากที่สุด และมีเนื้อ โทนเสียง Low ที่หนักแน่น กระชับ กว้าง กระหึ่ม.. mid มีน้ำหนัก หนา โปร่ง กว้างกระจายมีหางเสียงที่คม.( ย่านนี้จะมีระบบเสียงไมค์+FX ด้วย). Hight  คมใส ชัดเจน สะอาด ฯลฯ ....และที่สำคัญระบบมีความสมดุลย์ลงตัวกัน ไม่มีพีค ไม่มีคลิป ไม่มีเสียงรบกวนจี่ ฮัมให้กังวลใจ
..และจากประสบการของผมนั้นผมพบว่าการเร่งปุ่มวอลลุ่มพาวเวอรืแอมป์จนสุดช่วยในเรื่องเหล่านี้ได้มากมาย
...ตัวอย่างงานต่างๆบางส่วนที่ผมเคยทำมา และทุกๆงานเร่งวอลลุ่มพาวเวอร์แอมป์ทุกตัวจนสุด  และผมจะเน้น เลือกใช้พาวเวอร์แอมป์ที่มีกำลังขับสูงทุกตัว ทั้งเสียง Low ( 2600 วัตต์ที่/ข้าง 4 โอห์ม-3000 วัตต์/ข้างที่ 2โอห์ม ).. mid ( 1200 วัตต์/ข้างที่ 4 โอห์ม-1500 วัตต์/ข้างที่ 2 โอห์ม)...hight ( 600 วัตต์/ข้างที่ 4 โอห์ม ) .โดยปรับมิกช์ระบบทั้งระบบตั้งแต่ มิกเซอร์-Compressor-EQ-Cross-FX จนสมดุลย์ ลงตัวครับ

..งานประเพณีลอยกระทงของ อ. บ้านธิ ลำพูน

(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/08/27/891_1377623223.jpg)
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/08/27/891_1377623289.jpg)
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/08/27/891_1377623312.jpg)
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/08/27/891_1377623332.jpg)
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/08/27/891_1377623350.jpg)

งานเกษียณอายุราชการปีที่ผ่านมา

(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/08/27/891_1377623387.jpg)
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/08/27/891_1377623432.jpg)
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/08/27/891_1377623474.jpg)
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/08/27/891_1377623500.jpg)

..งานแต่งงานไฮโซในห้องแกรนด์

(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/08/28/891_1377656573.jpg)
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/08/28/891_1377656653.jpg)
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/08/28/891_1377656686.jpg)
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/08/28/891_1377656717.jpg)
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/08/28/891_1377656749.jpg)

เวทีกาดมั่ว งานเทสกาลชิมไวน์ ลำพูน

(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/08/27/891_1377623536.jpg)
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/08/27/891_1377623583.jpg)
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/08/27/891_1377623612.jpg)
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/08/27/891_1377623638.jpg)

งานแต่งงานในชนบทแถวๆเชียงใหม่มีนักร้องแบบโจ๊ะๆ

(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/08/27/891_1377623672.jpg)
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/08/27/891_1377623726.jpg)

.งานขึ้นบ้านใหม่มีนักร้องแบบโจ๊ะๆ

(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/08/27/891_1377623976.jpg)
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/08/27/891_1377623997.jpg)

งานขึ้นบ้านใหม่มีนักร้องแบบโจ๊ะๆ...งานนี้ใช้ระบบแบบ 2 ทาง

(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/08/27/891_1377624088.jpg)
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/08/27/891_1377624114.jpg)
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/08/27/891_1377624134.jpg)




หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: max_medkku ที่ สิงหาคม 28, 2013, 10:04:42 pm
ขอถามเพิ่มเติมครับ
1เร่ง volume แอมป์จนสุด gain จาก mixer ตํ่า มาเข้าที่amp แล้วamp clip(กระพริบเล็กน้อย)
2เร่ง volume แอมป์ไม่สุด gain จาก mixer สูง มาเข้าที่amp แล้ว amp clip(กระพริบเล็กน้อย)
แบบไหน เสียงดัง กว่ากัน แบบไหนเสียงดีกว่ากัน
ุม
มันดังเท่ากันครับ แต่รายละเอียดเสียง 2 ดีกว่า  เฮดรูมที่อินพุทมากกว่า และขยาย noise ต่ำกว่า
ตปท.เขาจึงมักจะเลือกใช้ค่า input sensitivity มากๆ

ขอบคุณมากครับช่างแอ้ด ที่ช่วยชี้แนะ

ถ้าเป็นเช่นนั้น power rate สูงสุดที่ amp สามารถขับออกมาได้นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับ การเร่งvolume สุด หรือไม่สุด

ซึ่งสอดคล้องกับ บทความของ crown ที่ผมได้ยกมา
คำตอบจาก page FAQs ของcrown amplifier ครับ คงตรงประเด็นชัดเจนสำหรับกระทู้นี้



Q : Should I have the level controls on my amplifier turned all the way up?


A : It depends on the system and how much gain you have prior to the amplifier .The level control can be thought of as an input attenuator. It does not limit the power available from the amplifier. With the level controls turned down the amplifier can still reach full rated output power, it just takes more drive level from your mixer to achieve it. Generally, you should set the mixer's individual channel fader and master gain to 0 dB, then adjust the amplifier level controls to the desired sound level.

ที่มา : http://www.crownaudio.com/kb/entry/15/

ซึ่งแปลแบบงูๆปลาๆ ได้ใจความดังนี้

"ถาม : ผมควรจะหมุน level control ของ amplifier ขึ้นจนหมดหรือไม่

ตอบ : มันขึ้นอยู่กับระบบและ gain ที่คุณมีก่อนที่จะเข้าสู่ amplifier โดยปุ่ม level control นี้ เปรียบเสมือนกับ input attenuator(ปุ่มลดสัญญาณ input) ซึ่งปุ่มนี้ไม่ได้เป็นตัวจำกัด พลังงานที่ได้จาก power amp
       เมื่อปุ่ม level control ถูกปรับลดลง power amp ยังสามารถให้ อัตรากำลังได้เต็มที่ โดยการเร่งสัญญาณจาก mixerของคุณเพื่อที่จะขับpower amp ให้ได้กำลังสูงสุด
       โดยทั่วไปนั้น คุณควรจะ ตั้งค่า channel fader และ master gain ให้เท่ากับ 0 dBu จากนั้นปรับปุ่ม level control ของ amplifier เพื่อปรับและออกแบบระดับความดังของเสียง"

ดังนั้นการที่เราปรับปุ่ม level control หรือปุ่ม volume ของ amp ไม่สุดไม่ได้หมายความว่าเราไปกั๊ก กำลังampไว้ เรายังสามารถใส่ gain จาก mixer เข้าไป เพื่อที่จะขับให้ power amp ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: MILDMUSIC ที่ สิงหาคม 28, 2013, 10:58:28 pm
ผมว่าลองย่อขนาดของ PA แล้วลองมาเล่นให้ห้องที่ไม่มีเสียงจากภายนอกมารบกวน กรณี ถ้าเราสามารถรีด gainก่อนเข้า amplifierได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่แล้ว การเร่งแอมป์จนสุดกับไม่สุดผมว่ารายละเอียดของเสียงต่างกันนิดหน่อยนะ ลองดูได้ครับ ส่วนจะให้ดังคลุมทุกพี้นที่ไหมน่าจะอยู่ที่พลังงานที่เรามีและการปล่อยออกไปกับสิ่งแวดล้อมที่มาช่วยซับเสียง(ความเห็นส่วนตัวไม่อิงวิชาการนะครับ)
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: M-ONE ที่ สิงหาคม 28, 2013, 11:19:04 pm
ขอถามเพิ่มเติมครับ
1เร่ง volume แอมป์จนสุด gain จาก mixer ตํ่า มาเข้าที่amp แล้วamp clip(กระพริบเล็กน้อย)
2เร่ง volume แอมป์ไม่สุด gain จาก mixer สูง มาเข้าที่amp แล้ว amp clip(กระพริบเล็กน้อย)
แบบไหน เสียงดัง กว่ากัน แบบไหนเสียงดีกว่ากัน
ุม
มันดังเท่ากันครับ แต่รายละเอียดเสียง 2 ดีกว่า  เฮดรูมที่อินพุทมากกว่า และขยาย noise ต่ำกว่า
ตปท.เขาจึงมักจะเลือกใช้ค่า input sensitivity มากๆ

ขอบคุณมากครับช่างแอ้ด ที่ช่วยชี้แนะ

ถ้าเป็นเช่นนั้น power rate สูงสุดที่ amp สามารถขับออกมาได้นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับ การเร่งvolume สุด หรือไม่สุด

ซึ่งสอดคล้องกับ บทความของ crown ที่ผมได้ยกมา
คำตอบจาก page FAQs ของcrown amplifier ครับ คงตรงประเด็นชัดเจนสำหรับกระทู้นี้



Q : Should I have the level controls on my amplifier turned all the way up?


A : It depends on the system and how much gain you have prior to the amplifier .The level control can be thought of as an input attenuator. It does not limit the power available from the amplifier. With the level controls turned down the amplifier can still reach full rated output power, it just takes more drive level from your mixer to achieve it. Generally, you should set the mixer's individual channel fader and master gain to 0 dB, then adjust the amplifier level controls to the desired sound level.

ที่มา : http://www.crownaudio.com/kb/entry/15/

ซึ่งแปลแบบงูๆปลาๆ ได้ใจความดังนี้

"ถาม : ผมควรจะหมุน level control ของ amplifier ขึ้นจนหมดหรือไม่

ตอบ : มันขึ้นอยู่กับระบบและ gain ที่คุณมีก่อนที่จะเข้าสู่ amplifier โดยปุ่ม level control นี้ เปรียบเสมือนกับ input attenuator(ปุ่มลดสัญญาณ input) ซึ่งปุ่มนี้ไม่ได้เป็นตัวจำกัด พลังงานที่ได้จาก power amp
       เมื่อปุ่ม level control ถูกปรับลดลง power amp ยังสามารถให้ อัตรากำลังได้เต็มที่ โดยการเร่งสัญญาณจาก mixerของคุณเพื่อที่จะขับpower amp ให้ได้กำลังสูงสุด
       โดยทั่วไปนั้น คุณควรจะ ตั้งค่า channel fader และ master gain ให้เท่ากับ 0 dBu จากนั้นปรับปุ่ม level control ของ amplifier เพื่อปรับและออกแบบระดับความดังของเสียง"

ดังนั้นการที่เราปรับปุ่ม level control หรือปุ่ม volume ของ amp ไม่สุดไม่ได้หมายความว่าเราไปกั๊ก กำลังampไว้ เรายังสามารถใส่ gain จาก mixer เข้าไป เพื่อที่จะขับให้ power amp ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
ครับน่าจะถูกต้องตามหลักการและเหตุผล..และจุดประสงค์ทีเขาได้ออกแบบและติดตั้งมาให้เรา..คือผู้ใช้ได้ปรับใช้ตามความเหมาะสมของสัญญาณที่จะเข้าเพาเวอร์แอมป์...สัญญาณที่ว่านี้คือสัญญาณที่ดีมีพร้อมทุกองค์ประกอบ พร้อมที่จะทำการขยายให้แรงขึ้นตามความพอใจที่เราต้องการ..ถ้าสัญญาณมาแรงเราก็ลดลง..ถ้าสัญญาณมาเบาเราก็เพิ่มขึ้น..ตามแต่ที่เราต้องการก็แค่นี้เอง...
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: บ้านดนตรี ที่ สิงหาคม 29, 2013, 09:34:17 pm
ขอถามเพิ่มเติมครับ
1เร่ง volume แอมป์จนสุด gain จาก mixer ตํ่า มาเข้าที่amp แล้วamp clip(กระพริบเล็กน้อย)
2เร่ง volume แอมป์ไม่สุด gain จาก mixer สูง มาเข้าที่amp แล้ว amp clip(กระพริบเล็กน้อย)
แบบไหน เสียงดัง กว่ากัน แบบไหนเสียงดีกว่ากัน
ุม
มันดังเท่ากันครับ แต่รายละเอียดเสียง 2 ดีกว่า  เฮดรูมที่อินพุทมากกว่า และขยาย noise ต่ำกว่า
ตปท.เขาจึงมักจะเลือกใช้ค่า input sensitivity มากๆ

ขอบคุณมากครับช่างแอ้ด ที่ช่วยชี้แนะ

ถ้าเป็นเช่นนั้น power rate สูงสุดที่ amp สามารถขับออกมาได้นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับ การเร่งvolume สุด หรือไม่สุด

ซึ่งสอดคล้องกับ บทความของ crown ที่ผมได้ยกมา
คำตอบจาก page FAQs ของcrown amplifier ครับ คงตรงประเด็นชัดเจนสำหรับกระทู้นี้



Q : Should I have the level controls on my amplifier turned all the way up?


A : It depends on the system and how much gain you have prior to the amplifier .The level control can be thought of as an input attenuator. It does not limit the power available from the amplifier. With the level controls turned down the amplifier can still reach full rated output power, it just takes more drive level from your mixer to achieve it. Generally, you should set the mixer's individual channel fader and master gain to 0 dB, then adjust the amplifier level controls to the desired sound level.

ที่มา : http://www.crownaudio.com/kb/entry/15/

ซึ่งแปลแบบงูๆปลาๆ ได้ใจความดังนี้

"ถาม : ผมควรจะหมุน level control ของ amplifier ขึ้นจนหมดหรือไม่

ตอบ : มันขึ้นอยู่กับระบบและ gain ที่คุณมีก่อนที่จะเข้าสู่ amplifier โดยปุ่ม level control นี้ เปรียบเสมือนกับ input attenuator(ปุ่มลดสัญญาณ input) ซึ่งปุ่มนี้ไม่ได้เป็นตัวจำกัด พลังงานที่ได้จาก power amp
       เมื่อปุ่ม level control ถูกปรับลดลง power amp ยังสามารถให้ อัตรากำลังได้เต็มที่ โดยการเร่งสัญญาณจาก mixerของคุณเพื่อที่จะขับpower amp ให้ได้กำลังสูงสุด
       โดยทั่วไปนั้น คุณควรจะ ตั้งค่า channel fader และ master gain ให้เท่ากับ 0 dBu จากนั้นปรับปุ่ม level control ของ amplifier เพื่อปรับและออกแบบระดับความดังของเสียง"

ดังนั้นการที่เราปรับปุ่ม level control หรือปุ่ม volume ของ amp ไม่สุดไม่ได้หมายความว่าเราไปกั๊ก กำลังampไว้ เรายังสามารถใส่ gain จาก mixer เข้าไป เพื่อที่จะขับให้ power amp ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
ครับน่าจะถูกต้องตามหลักการและเหตุผล..และจุดประสงค์ทีเขาได้ออกแบบและติดตั้งมาให้เรา..คือผู้ใช้ได้ปรับใช้ตามความเหมาะสมของสัญญาณที่จะเข้าเพาเวอร์แอมป์...สัญญาณที่ว่านี้คือสัญญาณที่ดีมีพร้อมทุกองค์ประกอบ พร้อมที่จะทำการขยายให้แรงขึ้นตามความพอใจที่เราต้องการ..ถ้าสัญญาณมาแรงเราก็ลดลง..ถ้าสัญญาณมาเบาเราก็เพิ่มขึ้น..ตามแต่ที่เราต้องการก็แค่นี้เอง...


..เปรียบง่ายๆมันก็เหมือนปุ่ม Gain ในไลน์มิกเซอร์นั่นแหละ..ท่านจะลดมาสเตอร์วอลลุ่ม และวอลลุ่มในสไลด์ลง แล้วเร่งเพิ่มที่ปุ่ม Gain ในไลน์.
....หรือท่านจะลดปุ่ม Gain ในไลน์มิกเซอร์ลง แล้วเพิ่มวอลลุ่มสไลด้ในไลน์+มาสเตอร์วอลลุ่ม... ความดังก็จะได้ออกมาพอๆกัน.
..สำหรับงานเล็กๆ งาน Indoor ที่ระบบสามารถครอบคลุมพื้นที่งานได้หมด จะปรับวอลลุ่มพาวเวอรืหมด หรือไม่หมดก็ไม่มีปัญหา
.แต่ก็.ปฎิเสธไม่ได้ว่าเวลาลดปุ่มวอลลุ่มที่พาวเวอร์แอมป์ลงแล้ว ในขณะที่ไม่ได้ปรับปุ่มที่อุปกรณ์อื่นเพิ่ม แล้วทำให้เสียงที่ออกมาเบาลง...
...
...แต่ถ้าพูดถึงงานสนาม PA เต็มรูปแบบ.
.....ถ้าเป็นเครื่องเสียงระบบใหญ่ๆที่ใช้จำนวนพาววเวอร์แอมป์มากๆแท่น+ตู้จำนวนมากๆตู้ เพื่อช่วยทำให้ได้เสียงดังได้ตามต้องการ จะทำตามทฤษฎี หลักการที่ว่าก็ได้ เพราะกำลัง ความดังของเสียงมันสามารถครอบคลุมพื้นที่งานได้อยู่แล้ว
....แต่ระบบเครื่องเสียงรากหญ้า  ขนาดกลาง-เล็ก โดยทั่วไปของคนไทยนั้น..มักจะไม่เหมือนระบบใหญ่ๆมาตรฐานทั่วไป..แต่ใช้แอมป์ขับจำนวนน้อยแท่น+ตู้จำนวนน้อยตู้...แต่ต้องการให้ได้เสียงที่ดัง แรง หนักแน่น กระหึ่ม ครอบคลุมพื้นที่งานได้มากที่สุด..ซึ่งประเด็นนี้ถ้าไปปรับลดวอลลุ่มพาวเวอร์แอมป์ลง แล้วไปปรับเพิ่ม Gain อื่นๆชดเชย โดยเฉพาะ Gain ในไลน์มิกเซอร์...ผลที่จะตามมาคือสัญญาณที่มาถึงพาวเวอร์แอมป์จะมีอาการพีค ล้น จนทำให้พาวเวอร์แอมป์เกิดการคลิปตามมาอย่างมโหฬาร..สุดท้ายดอกลำโพงจะเสียหาย ขาดไหม้กลางงาน ทำให้งานเสียหายได้ง่ายๆ
..
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: max_medkku ที่ สิงหาคม 29, 2013, 11:40:23 pm

..เปรียบง่ายๆมันก็เหมือนปุ่ม Gain ในไลน์มิกเซอร์นั่นแหละ..ท่านจะลดมาสเตอร์วอลลุ่ม และวอลลุ่มในสไลด์ลง แล้วเร่งเพิ่มที่ปุ่ม Gain ในไลน์.
....หรือท่านจะลดปุ่ม Gain ในไลน์มิกเซอร์ลง แล้วเพิ่มวอลลุ่มสไลด้ในไลน์+มาสเตอร์วอลลุ่ม... ความดังก็จะได้ออกมาพอๆกัน.
..สำหรับงานเล็กๆ งาน Indoor ที่ระบบสามารถครอบคลุมพื้นที่งานได้หมด จะปรับวอลลุ่มพาวเวอรืหมด หรือไม่หมดก็ไม่มีปัญหา
.แต่ก็.ปฎิเสธไม่ได้ว่าเวลาลดปุ่มวอลลุ่มที่พาวเวอร์แอมป์ลงแล้ว ในขณะที่ไม่ได้ปรับปุ่มที่อุปกรณ์อื่นเพิ่ม แล้วทำให้เสียงที่ออกมาเบาลง...
...
...แต่ถ้าพูดถึงงานสนาม PA เต็มรูปแบบ.
.....ถ้าเป็นเครื่องเสียงระบบใหญ่ๆที่ใช้จำนวนพาววเวอร์แอมป์มากๆแท่น+ตู้จำนวนมากๆตู้ เพื่อช่วยทำให้ได้เสียงดังได้ตามต้องการ จะทำตามทฤษฎี หลักการที่ว่าก็ได้ เพราะกำลัง ความดังของเสียงมันสามารถครอบคลุมพื้นที่งานได้อยู่แล้ว
....แต่ระบบเครื่องเสียงรากหญ้า  ขนาดกลาง-เล็ก โดยทั่วไปของคนไทยนั้น..มักจะไม่เหมือนระบบใหญ่ๆมาตรฐานทั่วไป..แต่ใช้แอมป์ขับจำนวนน้อยแท่น+ตู้จำนวนน้อยตู้...แต่ต้องการให้ได้เสียงที่ดัง แรง หนักแน่น กระหึ่ม ครอบคลุมพื้นที่งานได้มากที่สุด..ซึ่งประเด็นนี้ถ้าไปปรับลดวอลลุ่มพาวเวอร์แอมป์ลง แล้วไปปรับเพิ่ม Gain อื่นๆชดเชย โดยเฉพาะ Gain ในไลน์มิกเซอร์...ผลที่จะตามมาคือสัญญาณที่มาถึงพาวเวอร์แอมป์จะมีอาการพีค ล้น จนทำให้พาวเวอร์แอมป์เกิดการคลิปตามมาอย่างมโหฬาร..สุดท้ายดอกลำโพงจะเสียหาย ขาดไหม้กลางงาน ทำให้งานเสียหายได้ง่ายๆ
..

แสดงว่าคุณยังไม่ทราบหลักการ balance gain ของระบบที่ถูกต้องนะครับ จึงทำให้เกิดอาการ peak ของสัญญาณที่ amp
ยิ่งบิด volume amp จนสุด gain ที่ mixer ยังไม่ถึง 10 dBu ก็ทำให้  amp clip แล้ว

ไม่ว่าจะเป็นจะรากหญ้าหรือรากแก้ว อุปกรณ์จำกัดหรือไม่จำกัด ก็มีหลักการเดียวกันครับ

ผมมีวิธี setup ระบบแบบง่ายๆมานำเสนอครับ เพื่อที่จะ balance gain ของระบบไม่ให้ clipหรือ peak และสามารถรีดเอาความสามารถและประสิทธิภาพของเครื่องเสียงของท่านให้แสดงออกมาได้สูงสุด ว่างๆก็ลองไปทำตามดูนะครับ



ผมจะทำตามขั้นตอนดังนี้ครับ

1. ต่ออุปกรณ์ทุกชิ้น ให้เรียบร้อย ยกเว้น สายลำโพงที่ต่อจากก้นแอมป์
2. เปิดเครื่อง CD->mixer->EQ->cross over- >Power amplifier
3. เลื่อน slide master และ slide ch fader ของ CD  ไว้ที่ ระดับ U (unity)  EQ gain ที่ 0 dBu ส่วน power amp ยังไม่หมุน Volume ครับ
4. เปิด CD เลือกเพลงอะไรก็ได้ ที่มีเสียงดนตรีครบทุกย่านความถี่
5. หมุน Ch gain ของCD หมุนจน master VU meter clip แล้วค่อยๆลด gain ลงจนเกือบ clip
6. สังเกต LED meter ของ EQ (กด on ให้EQทำงาน) ถ้ายังไม่clip ให้เพิ่ม gain ของ EQ จน meter ของ EQ clip แล้วลดลงมาให้เกือบ clip เช่นเดียวกับ mixer
    - แต่ถ้า EQ clip ก่อนที่ VU meter ของ mixer จะclip ให้ปรับสัญญาณที่ mixer ให้ เกือบclip ก่อน แล้วจึงลด gain ของ EQ ลงจนเกือบ clip
7. สังเกตที่ input meter ของ cross over (ปรับจุดตัด crossover ให้เรียบร้อยก่อน) balance input gain ให้ได้เหมือนที่กล่าวมา ถ้าได้แล้วให้สังเกต ที่ output meter ของ crossover แต่ละ band
    จะสังเกตว่าสัญญาณจะไม่สูงจนclip เหมือน input เนื่องจากสัญญาณถูกแบ่งพลังงานตามจุดตัด cross over แต่ละ band
เราอาจจะเร่ง gain ที่ output ของแต่ละ band เพื่อชดเชยให้เกือบ clip หรือไม่เร่งก็ได้

8. หมุน Volume ของ amp ตามเข็มนาฬิกา จน สัญญาณ clip กระพริบ พอดี ทั้ง 2 ch จากนั้น ปรับลดลงจนเกือบ clip เช่นกัน จำตำแหน่งที่ volume amp ใ้ห้ดี
หรือ
ถ้า crossover ของเรา ที่ output แต่ละ band มี limiter ก็เปิด function นี้แล้วปรับ threshole ให้สัญญาณที่ amp ไม่ clip

9. จากนั้น ปิด CD ปิด Amp แล้วต่อสายลำโพงเข้ากับก้น amp แล้วเปิดใหม่ หมุน volume amp ไว้ที่ตำแหน่งเดิม(ที่สัญญาณเกือบ clip พอดี)

     ทำอย่างนี้กับ amp ทุกตัวในระบบ ไม่ว่าจะเป็น Low mid high หรือ monitor aux

10.  ทดสอบไมค์ หรือ เปิด เพลง slide fader ที่ 0 dBu แล้วหมุนเพิ่ม gain ทดสอบไมค์หรือ CD กด PFL แล้วให้สังเกตสัญญาณที่ meter จนกว่าจะได้ 0 dBu แล้วใช้สัญญาณระดับนี้เป็นจุดอ้างอิง ที่ฟังได้พอดีไม่ดังไม่เบาเกินไป ถ้าดังเกินไป แสดงว่า power amp ของเรามีกำลังเหลือเฟือ สำหรับ งานนั้นๆ ให้ balance output ของ cross over แต่ละ band จนได้ low mid high ที่สมดุลโดยการปรับลดลงในแต่ละ band
แต่ถ้าเบาไป ลองเร่งgain เพิ่มอีก จนmeter อ่านได้สัก 6 dBu ถ้าดังใช้ได้ก็ไม่ต้องทำอะไร แต่ถ้าเร่งแล้วเสียงยังเบาแสดงว่า ระบบของเรายังมี power amp หรือลำโพง ไม่พอให้หามาเพิ่มอีก ไม่ต้องไปดันทุรังบิด volume amp เพิ่มเพราะถ้าเพิ่ม มากกว่านี้ clip แน่ๆ

* ถ้าจะให้ดี ใช้ pink noise เป็นตัว generate สัญญาณ แทนการเปิด CD เพราะ พลังงานจะเท่ากันทุกความถี่

ถ้าทำได้อย่างนี้ก็ไม่ต้องกังวลว่า amp ของเราจะ clip เพราะสัญญาณที่แรงจาก mixer เพราะถ้าที่mixer ไม่ clip amp เราก็ไม่มีทาง clip

ที่ผมปรับอย่างนี้เพราะผมยึดหลัก Gain structure ครับ ใช้วิธีนี้ set up gain เพื่อ ง่ายต่อการ ปรับ เครื่องมือทั้ง Board mixer และ outboard (Gate/ compressor/Effect/EQ/Cross over/Aux monitor และอื่นๆ) ซึ่งต้องได้ gain ที่เหมาะสม โดยเฉพาะ พวก compressor/Gate สัญญาณ input ต้องได้จาก mixer หากสัญญาณมาน้อย จะทำให้ dynamic range น้อยลงด้วย

ฝากรูปทิ้งท้ายให้ดูและพิจารณาครับเดี๋ยววันพรุ่งนี้จะอธิบาย เรื่อง gain structure ให้ทุกท่านได้เข้าใจครับ

(http://dc703.4shared.com/img/rSrmaPhz/s7/0.4447044659467023/gain.JPG?async&0.11626463980599433)

สุดท้ายนี้ก็ขออาราธนา พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงธรรมกาลามสูตร ว่าด้วย วิธีปฏิบัติต่อสิ่งที่ตนสงสัย

อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา (มา อนุสฺสเวน)
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสีบๆกันมา (มา ปรมฺปราย)
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ (มา อิติกิราย)
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำรา หรือคัมภีร์ (มา ปิฏกสมฺปทาเนน)
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก (มา ตกฺกเหตุ)
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะอนุมาน (มา นยเหตุ)
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล (มา อาการปริวิตกฺเกน)
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว (มา ทิฏฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา)
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ (มา ภพฺพรูปตาย)
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา (มา สมโณ โน ครูติ)

หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: บ้านดนตรี ที่ สิงหาคม 30, 2013, 12:19:08 am
10.  ทดสอบไมค์ หรือ เปิด เพลง slide fader ที่ 0 dBu แล้วหมุนเพิ่ม gain ทดสอบไมค์หรือ CD กด PFL แล้วให้สังเกตว่า สัญญาณที่ meter จนกว่าจะได้ 0 dBu แล้วใช้สัญญาณระดับนี้เป็นจุดอ้างอิง ที่ฟังได้พอดีไม่ดังไม่เบาเกินไป ถ้าดังเกินไป แสดงว่า power amp ของเรามีกำลังเหลือเฟือ สำหรับ งานนั้นๆ ให้ balance output ของ cross over แต่ละ band จนได้ low mid high ที่สมดุลโดยการปรับลดลงในแต่ละ band
แต่ถ้าเบาไป ลองเร่งgain เพิ่มอีก จนmeter อ่านได้สัก 6 dBu ถ้าดังใช้ได้ก็ไม่ต้องทำอะไร แต่ถ้าเร่งแล้วเสียงยังเบาแสดงว่า ระบบของเรายังมี power amp หรือลำโพง ไม่พอให้หามาเพิ่มอีก ไม่ต้องไปดันทุรังบิด volume amp เพิ่มเพราะถ้าเพิ่ม มากกว่านี้ clip แน่ๆ

..ข้อนี้แหละครับที่มันไปสอดคล้องกับที่ผมแสดงความคิดเห็นมาว่าระบบรากหญ้าทั่วไปมักจะเป็นระบบที่ไม่ใหญ่ ใช้จำนวนพาวเวอร์แอมป์+ตู้น้อย ( แถมบางครั้งใช้พาวเวอร์แอมป์ที่มีกำลังขับน้อย) แต่ต้องการความดัง ความแรงให้ได้ดังใจ..
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างแอ้ด™ ที่ สิงหาคม 30, 2013, 11:25:57 am
รูปที่คุณหมอเอามาประกอบ แสดงได้ชัดเจนครับ   .. เอวัง 
  .. ทุกขัง อนัตตา เมื่อลำโพงกลับบ้านเก่า
   .. ก็ว่ากันไปครับ นานาจิตตัง
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: คนพระจันทร์ ที่ สิงหาคม 30, 2013, 11:47:31 am


ผมบอกแล้วไงว่าคุณหมอนั้นเก่งเรื่องเกนมากๆ  ในประเทศไทย

และเก่งล้ำหน้าในเรื่องดิจิตอลซึ่งกำลังจะกลายเป็นระบบเสียงในอนาคตด้วยครับ

หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: anurukburanon ที่ สิงหาคม 30, 2013, 01:30:08 pm
มันก็แค่โวลุ่มขาเข้าเท่านั้นครับ  ไม่เกี่ยวข้องกับกำลังขับของเพาเวอร์แอมป์

ส่วนเรื่องที่ว่าเร่งแอมป์น้อย เลยต้องเร่งเกนเยอะ เลยทำให้ไมค์หอน  อันนั้นก็อีกเรื่องหนึ่งครับ

.......

เร่งแอมป์หมด แต่เร่งมิกซ์น้อย ระวังเรื่องน๊อยซ์กันด้วยนะครับ

ยังมีเรื่องสัดส่วนระหว่างสัญญาณกับน๊อยซ์อีกครับ

ปล.ผิดพลาดประการใดช่วยแก้ด้วยครับ  ผมเด็กกำลังหัดเดิน  ศึกษาไว้ก่อน เผื่อวันหน้าจะมีบ้าง หลังจากเป็นคอยวอยมาหลายปี
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: max_medkku ที่ สิงหาคม 30, 2013, 04:53:38 pm
อันนี้ เป็นทฤษฎี Gain structure ครับ ซึ่งสำคัญมากสำหรับการใช้งาน sound reinforcement   ลองไปอ่านๆดู เพื่อมาปรับการใช้งานเครื่องมือเราได้ประสิทธิภาพมากขึ้น

http://www.communitypro.com/files/literature/tech%20notes/GAIN_ADV_TECH.pdf
อันนี้ guide ของ mackie  http://www.mackie.com/pdf/CMRefGuide/Tips_Ch4.pdf
http://mikeriversaudio.files.wordpress.com/2010/10/gainstructure.pdf


แต่ก่อนผมมีปัญหาเรื่องการปรับ gain ซึ่งเคยปรับแบบที่ บางท่านส่วนใหญ่ปรับกัน คือปรับ volume amplifier ให้สุด เพื่อที่จะให้ ได้ gain น้อยๆ ไมค์จะได้ไม่หอน อันนี้ผมลองแล้วก็ยังหอนเหมือนเดิมครับ
ถ้า gain น้อย ทำอะไรก็ไม่ถนัด เช่น sent monitor Aux gain ก็จะน้อยตามด้วย ถ้า monitor amp ไม่แรง เร่งAuxจนสุด ก็ไม่ดังครับ แถมยังหอนซ้ำอีก ทีนี้ก็ไปกด EQ ลง ยิ่งไม่เหลือ gain นักร้อง-นักดนตรี ก็ไม่ได้ยินอีก ทุกท่านเคยประสบเหล่าปัญหานี้ไหมครับ
    อันนี้เล่าประสบการณ์ที่เคยเจอมาครับ
พอใช้หลัก gain structure เข้ามาปรับ ผลที่ออกมาดีขึ้นผิดหูผิดตา นักร้อง-นักดนตรีบอกว่า เสียงmonitor ดังเกินไป ทั้งที่ใช้ชุด monitor ตัวเดิม เรื่อง หอน ค่อยไปปรับที่ EQ อีกที ตอน set up  Monitor

อีกเรื่องที่อาจต้องทำความเข้าใจกันใหม่ เรื่อง ปุ่ม Volume ของ Amp ครับ ที่จริงแล้วมันไม่ใช่ปุ่ม volume แต่มันคือ ปุ่ม input attenuator ใช้ลด gain ขาเข้าของ power amp หรือคิดง่ายๆ มันก็คือปุ่ม gain ของ amp ถ้ายิ่งบิดจนสุด ก็จะทำให้ gain ขาเข้า power amp มากขึ้น แต่ในขณะที่เราเปิด ปุ่ม volume amp จนสุด gain ที่ออกจาก mix เพียง 6 dBu ก็ทำให้ amp clipได้แล้วครับ ทำให้เรา ได้ gain ที่ mixer น้อย แต่เสียงดัง
ถามว่า gain mixer น้อยแล้วเกิดอะไรขึ้น  ก็กระทบกับ อุปกรณ์ out board ของเราดังที่ผมอธิบายข้างต้นไปแล้ว แถมได้ Noise มาด้วย  ดังรูป

(http://dc703.4shared.com/img/rSrmaPhz/s7/0.4447044659467023/gain.JPG?async&0.11626463980599433)

สังเกตถ้า gain น้อย ไป เราจะได้ Noise เพิ่ม อีก

จากรูป จะมีคำว่า dynamic range/ Signal to noise ratio/ Head room ซึ่งคุ้นๆ กันมั้ยครับ โดยเฉพาะ คำว่า signal to noise ratio กับ Head room มักจะเจอใน คู่มือตรง technical specification คำพวกนี้หมายถึงอะไร เกี่ยวข้องอะไรกับการ set  up ระบบ ของเรา  

Dynamic range คือ ระดับสัญญาณตั้งแต่ noise floor จนถึง clip ซึ่งเครื่องมือแต่ละชิ้น mixer/ EQ/ cross over/ Power amp จะมีค่าต่างกัน โดย mixer จะมีมากที่สุด เพื่อที่จะปรับแต่ง gain เพื่อ ป้อนไปสู่เครื่องมืออื่นๆได้ดี

Signal to noise ratio คือ ระดับสัญญาณตั้งแต่ noise floor จนถึง ระดับ 0 dB

Head room คือระดับ สัญญาณ ตั้งแต่ 0 dB จนถึง clip level ซึ่งใน mixer แต่ละ ยี่ห้อ ก็ไม่เท่่ากัน อยู่ที่ประมาณ 20-24 dB ส่วนนี้สำคัญมากสำหรับงาน PA มันคือเพดานที่เราจะสามารถปรับ mix balance sound ต่างๆให้คงอยู่ระดับนี้

จะเห็นว่า ระดับที่เหมาะสมของการปรับ Gain ไมค์ - เครื่องดนตรีต่างๆ ไม่ใช่ให้อยู่ที่ 0 dB ทั้งหมด ระดับที่เหมาะสมควรอยู่ที่ -12 ถึง +6 dB แล้วแต่ความต้องการใช้ gain ในการปรับแต่ง

คงมีหลายท่านสงสัยว่า อ้าวแล้วพวกที่เขาเปิดเพลงเสียงดัง เกิน 100 dB ล่ะ มันใช้หน่วยเดียวกันกับ mixer เราหรือเปล่า ทำไมเปิดแค่ 0 dB ที่ mixer แล้วชาวบ้านว่าดังไป ถ้าเปิด 100 dB จะไม่เป็นประสาทหูเสื่อมหรือ  ซึ่งอันนี้มันคนละความหมายกันครับ ความดังที่เราได้ยิน เราเรียกว่า ระดับความเข้มของเสียง (Sound Pressure Level) มีหน่วยเป็น decibel (dB) ใช้เขียนสื่อความหมายว่า dB SPL
ใช้อ้างอิงคนละแบบกับ mixer ของเรา

สำหรับอุปกรณ์เครื่องเสียง ของเรา หน่วย dB ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น

0 dBu ใช้เทียบกับ แรงดันไฟฟ้า ที่ตกคร่อม ความต้านทาน 600 โอห์ม แล้วได้พลังงาน 1 mW จากกฎของ โอห์ม P=V2/R จะได้ V=รากที่สองของ P x R คือ
0 dBu = 0.775 Vrms  (มักใช้ใน studio recording level (pro audio))
(เดิมนั้น หน่วย dBu เขียนเป็น dBv แต่เพื่อไม่ให้สับสนกับ dBV จึงเปลี่ยนสัญลักษณ์เป็น dBu)

0 dBV ใช้เทียบ แรงดัน 1 Vrms (ส่วนใหญ่ใช้ใน home recording level (consumer audio))

0 dBVU เป็นหน่วยที่นิยมใช้เพื่อเทียบ scale VU meter ของ main output mixer ซึ่งปกติโดยทั่วไป = +4 dBu แต่ที่ VU ของ mixer จะอ่านว่า 0 dB
0 dBVU = +4 dBu = 1.228 Vrms

ดังนั้นถ้า specification ของ mixer มี Head room 24dBu ที่  0 dB ของ VU จะเท่ากับ +4dBu mixer จะมี scale ถึงแค่ 20 dBu (24-4)

สูตรเปลี่ยน หน่วยระหว่าง  dBu กับ Vrms
(http://www.sengpielaudio.com/FormulaLevelToVolt.gif)
(http://www.sengpielaudio.com/FormulaVoltToLevel.gif)
V0 คือ 0 dBu = 0.775 Vrms
 
แผนภูมิเปรียบเทียบ dBu/dBV และ Vrms

(http://www.audio2u.com/wp-content/uploads/2007/09/conversion.jpg)

ถ้าจะเปลี่ยนหน่วย ระหว่าง dBu กับ dBV อันนี้ความสัมพันธ์เป็น linear เนื่องจากเป็น logarithmic scale เหมือนกัน

ใช้สูตร dBV=dBu+2.2

(http://www.jtc.org/uploads/images/Audiogram-Familiar-Sounds.jpg)

รูปนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ระดับความเข้มของเสียง กับ ความถี่ของเสียง ให้ดูแล้วคิดตามนะครับ

จะมีคำว่า Sound Pressure Level (SPL) คือ ระดับความเข้มเสียง(ความดัง)ที่วัดได้ในสิ่งแวดล้อม ซึ่งอ้างอิงกับระยะที่เราฟัง ห่างจากแหล่งกำดนืดเสียง หน่วยเป็น dB SPL

สำหรับ การออกแบบความดังของเสียงใน scale งานต่างๆนั้น
Desired SPL ควร จะไห้ได้ประมาณนี้ครับ

New age: 60-70 dB
Folk: 75-90 dB
Jazz: 80-95 dB
Classical: 100 dB
Pop: 90-95 dB
Rock: 95-110 dB
Heavy metal: 110 dB

งาน PA แบบ out door ควรมี SPL สูงสุด 110-115 dB ฟังแล้วไม่เมื่อยหู
งาน indoor แบบงานแต่งในหอประชุม SPL สูงสุด 85-95 dB

ซึ่ง SPL เราวัดได้โดยใช้ SPL meter วัด
(http://image.made-in-china.com/2f0j00VMREcvdnrPob/Digital-Sound-Level-Meter-S4001-.jpg)


ในงาน PA out door ควรมีระดับความดังอยู่ที่ 90-100 dB คือระดับที่ควรใช้เป็นระดับอ้างอิง 0 dB ใน mixer ของเรา เช่น เราปรับ สัญญาณจาก signal generator ให้ได้ 0 dB ที่ mixer เปิด amp เรียบร้อย ปรับ output ที่ cross over จากนั้นใช้ SPL meterวัดที่จุดอ้างอิงของเรา(จุดที่เราmixอยู่) ปรับจนได้ 95 dB เป็นระดับอ้างอิง ที่ 0 dBu ของ mixer ถ้า mixer ของเรา Headroom มี 22 dBu เราจะได้ SPL ระบบของเรา 117 dB(95+22)

แต่ความเป็นจริงในทางปฏิบัติ เราคงไม่มี SPL meter มาวัดกัน ดังนั้น Desired SPL ที่ 0 dBu ของ mixer คงต้องใช้ จุดที่เรา mix เสียง เป็นจุดอ้างอิง ฟังเสียงแล้วว่าความดังระดับนี้เหมาะกับกาลเทศะ

หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: montrevej ที่ สิงหาคม 30, 2013, 07:07:40 pm
ทุกอย่างเป็นทฤษฎี ไม่ใช่ เขาบอกว่า เขาเล่าว่า ....
ทฤษฎี มีความหมายว่า...http://th.wikipedia.org/wiki/ทฤษฎี
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: ควร โคราช ที่ สิงหาคม 30, 2013, 07:20:40 pm
สุดยอดความรู้สำหรับรากหญ้าเลยครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: นัฐ ซาวด์ ที่ สิงหาคม 30, 2013, 08:18:25 pm

..เปรียบง่ายๆมันก็เหมือนปุ่ม Gain ในไลน์มิกเซอร์นั่นแหละ..ท่านจะลดมาสเตอร์วอลลุ่ม และวอลลุ่มในสไลด์ลง แล้วเร่งเพิ่มที่ปุ่ม Gain ในไลน์.
....หรือท่านจะลดปุ่ม Gain ในไลน์มิกเซอร์ลง แล้วเพิ่มวอลลุ่มสไลด้ในไลน์+มาสเตอร์วอลลุ่ม... ความดังก็จะได้ออกมาพอๆกัน.
..สำหรับงานเล็กๆ งาน Indoor ที่ระบบสามารถครอบคลุมพื้นที่งานได้หมด จะปรับวอลลุ่มพาวเวอรืหมด หรือไม่หมดก็ไม่มีปัญหา
.แต่ก็.ปฎิเสธไม่ได้ว่าเวลาลดปุ่มวอลลุ่มที่พาวเวอร์แอมป์ลงแล้ว ในขณะที่ไม่ได้ปรับปุ่มที่อุปกรณ์อื่นเพิ่ม แล้วทำให้เสียงที่ออกมาเบาลง...
...
...แต่ถ้าพูดถึงงานสนาม PA เต็มรูปแบบ.
.....ถ้าเป็นเครื่องเสียงระบบใหญ่ๆที่ใช้จำนวนพาววเวอร์แอมป์มากๆแท่น+ตู้จำนวนมากๆตู้ เพื่อช่วยทำให้ได้เสียงดังได้ตามต้องการ จะทำตามทฤษฎี หลักการที่ว่าก็ได้ เพราะกำลัง ความดังของเสียงมันสามารถครอบคลุมพื้นที่งานได้อยู่แล้ว
....แต่ระบบเครื่องเสียงรากหญ้า  ขนาดกลาง-เล็ก โดยทั่วไปของคนไทยนั้น..มักจะไม่เหมือนระบบใหญ่ๆมาตรฐานทั่วไป..แต่ใช้แอมป์ขับจำนวนน้อยแท่น+ตู้จำนวนน้อยตู้...แต่ต้องการให้ได้เสียงที่ดัง แรง หนักแน่น กระหึ่ม ครอบคลุมพื้นที่งานได้มากที่สุด..ซึ่งประเด็นนี้ถ้าไปปรับลดวอลลุ่มพาวเวอร์แอมป์ลง แล้วไปปรับเพิ่ม Gain อื่นๆชดเชย โดยเฉพาะ Gain ในไลน์มิกเซอร์...ผลที่จะตามมาคือสัญญาณที่มาถึงพาวเวอร์แอมป์จะมีอาการพีค ล้น จนทำให้พาวเวอร์แอมป์เกิดการคลิปตามมาอย่างมโหฬาร..สุดท้ายดอกลำโพงจะเสียหาย ขาดไหม้กลางงาน ทำให้งานเสียหายได้ง่ายๆ
..

แสดงว่าคุณยังไม่ทราบหลักการ balance gain ของระบบที่ถูกต้องนะครับ จึงทำให้เกิดอาการ peak ของสัญญาณที่ amp
ยิ่งบิด volume amp จนสุด gain ที่ mixer ยังไม่ถึง 10 dBu ก็ทำให้  amp clip แล้ว

ไม่ว่าจะเป็นจะรากหญ้าหรือรากแก้ว อุปกรณ์จำกัดหรือไม่จำกัด ก็มีหลักการเดียวกันครับ

ผมมีวิธี setup ระบบแบบง่ายๆมานำเสนอครับ เพื่อที่จะ balance gain ของระบบไม่ให้ clipหรือ peak และสามารถรีดเอาความสามารถและประสิทธิภาพของเครื่องเสียงของท่านให้แสดงออกมาได้สูงสุด ว่างๆก็ลองไปทำตามดูนะครับ



ผมจะทำตามขั้นตอนดังนี้ครับ

1. ต่ออุปกรณ์ทุกชิ้น ให้เรียบร้อย ยกเว้น สายลำโพงที่ต่อจากก้นแอมป์
2. เปิดเครื่อง CD->mixer->EQ->cross over- >Power amplifier
3. เลื่อน slide master และ slide ch fader ของ CD  ไว้ที่ ระดับ U (unity)  EQ gain ที่ 0 dBu ส่วน power amp ยังไม่หมุน Volume ครับ
4. เปิด CD เลือกเพลงอะไรก็ได้ ที่มีเสียงดนตรีครบทุกย่านความถี่
5. หมุน Ch gain ของCD หมุนจน master VU meter clip แล้วค่อยๆลด gain ลงจนเกือบ clip
6. สังเกต LED meter ของ EQ (กด on ให้EQทำงาน) ถ้ายังไม่clip ให้เพิ่ม gain ของ EQ จน meter ของ EQ clip แล้วลดลงมาให้เกือบ clip เช่นเดียวกับ mixer
    - แต่ถ้า EQ clip ก่อนที่ VU meter ของ mixer จะclip ให้ปรับสัญญาณที่ mixer ให้ เกือบclip ก่อน แล้วจึงลด gain ของ EQ ลงจนเกือบ clip
7. สังเกตที่ input meter ของ cross over (ปรับจุดตัด crossover ให้เรียบร้อยก่อน) balance input gain ให้ได้เหมือนที่กล่าวมา ถ้าได้แล้วให้สังเกต ที่ output meter ของ crossover แต่ละ band
    จะสังเกตว่าสัญญาณจะไม่สูงจนclip เหมือน input เนื่องจากสัญญาณถูกแบ่งพลังงานตามจุดตัด cross over แต่ละ band
เราอาจจะเร่ง gain ที่ output ของแต่ละ band เพื่อชดเชยให้เกือบ clip หรือไม่เร่งก็ได้

8. หมุน Volume ของ amp ตามเข็มนาฬิกา จน สัญญาณ clip กระพริบ พอดี ทั้ง 2 ch จากนั้น ปรับลดลงจนเกือบ clip เช่นกัน จำตำแหน่งที่ volume amp ใ้ห้ดี
หรือ
ถ้า crossover ของเรา ที่ output แต่ละ band มี limiter ก็เปิด function นี้แล้วปรับ threshole ให้สัญญาณที่ amp ไม่ clip

9. จากนั้น ปิด CD ปิด Amp แล้วต่อสายลำโพงเข้ากับก้น amp แล้วเปิดใหม่ หมุน volume amp ไว้ที่ตำแหน่งเดิม(ที่สัญญาณเกือบ clip พอดี)

     ทำอย่างนี้กับ amp ทุกตัวในระบบ ไม่ว่าจะเป็น Low mid high หรือ monitor aux

10.  ทดสอบไมค์ หรือ เปิด เพลง slide fader ที่ 0 dBu แล้วหมุนเพิ่ม gain ทดสอบไมค์หรือ CD กด PFL แล้วให้สังเกตสัญญาณที่ meter จนกว่าจะได้ 0 dBu แล้วใช้สัญญาณระดับนี้เป็นจุดอ้างอิง ที่ฟังได้พอดีไม่ดังไม่เบาเกินไป ถ้าดังเกินไป แสดงว่า power amp ของเรามีกำลังเหลือเฟือ สำหรับ งานนั้นๆ ให้ balance output ของ cross over แต่ละ band จนได้ low mid high ที่สมดุลโดยการปรับลดลงในแต่ละ band
แต่ถ้าเบาไป ลองเร่งgain เพิ่มอีก จนmeter อ่านได้สัก 6 dBu ถ้าดังใช้ได้ก็ไม่ต้องทำอะไร แต่ถ้าเร่งแล้วเสียงยังเบาแสดงว่า ระบบของเรายังมี power amp หรือลำโพง ไม่พอให้หามาเพิ่มอีก ไม่ต้องไปดันทุรังบิด volume amp เพิ่มเพราะถ้าเพิ่ม มากกว่านี้ clip แน่ๆ

* ถ้าจะให้ดี ใช้ pink noise เป็นตัว generate สัญญาณ แทนการเปิด CD เพราะ พลังงานจะเท่ากันทุกความถี่

ถ้าทำได้อย่างนี้ก็ไม่ต้องกังวลว่า amp ของเราจะ clip เพราะสัญญาณที่แรงจาก mixer เพราะถ้าที่mixer ไม่ clip amp เราก็ไม่มีทาง clip

ที่ผมปรับอย่างนี้เพราะผมยึดหลัก Gain structure ครับ ใช้วิธีนี้ set up gain เพื่อ ง่ายต่อการ ปรับ เครื่องมือทั้ง Board mixer และ outboard (Gate/ compressor/Effect/EQ/Cross over/Aux monitor และอื่นๆ) ซึ่งต้องได้ gain ที่เหมาะสม โดยเฉพาะ พวก compressor/Gate สัญญาณ input ต้องได้จาก mixer หากสัญญาณมาน้อย จะทำให้ dynamic range น้อยลงด้วย

ฝากรูปทิ้งท้ายให้ดูและพิจารณาครับเดี๋ยววันพรุ่งนี้จะอธิบาย เรื่อง gain structure ให้ทุกท่านได้เข้าใจครับ

(http://dc703.4shared.com/img/rSrmaPhz/s7/0.4447044659467023/gain.JPG?async&0.11626463980599433)

สุดท้ายนี้ก็ขออาราธนา พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงธรรมกาลามสูตร ว่าด้วย วิธีปฏิบัติต่อสิ่งที่ตนสงสัย

อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา (มา อนุสฺสเวน)
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสีบๆกันมา (มา ปรมฺปราย)
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ (มา อิติกิราย)
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำรา หรือคัมภีร์ (มา ปิฏกสมฺปทาเนน)
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก (มา ตกฺกเหตุ)
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะอนุมาน (มา นยเหตุ)
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล (มา อาการปริวิตกฺเกน)
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว (มา ทิฏฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา)
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ (มา ภพฺพรูปตาย)
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา (มา สมโณ โน ครูติ)


ผมลองทำตามนี้แล้วครับ แจ่มเลยครับ พรุ่งนี้ออกงานเดี๋ยวลองแบบเต็มๆ ยาวๆ ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: max_medkku ที่ สิงหาคม 30, 2013, 10:09:42 pm
มาต่อกันครับ

(http://dc614.4shared.com/img/zZ2dHNsb/s7/0.33066254089932956/db_online.JPG?async)

-จากรูป ด้านซ้ายมือคือ dynamic range ในอุดมคติ ของ อุปกรณ์ Electronic = 120 dBu มี Head room 30 dBu และ signal to noise ratio(SNR) 90 dBu
- รูปกลาง Dynamic range เป็นอุปกรณ์ ชนิดหนึ่ง สมมติ ว่าเป็น mixer มี 105 dbu โดยมี Head room 24 dBu และ SNR 81 dBu
- รูปขวาคือ Dynamic range ของ หูมนุษย์ มี 120 dB SPL

เทียบจาก ซ้ายไปขวา 0 dBu ของ mixer ถ้าเราปรับให้ได้ เท่ากับ 80 dB SPLโดยใช้ SPL meterวัด ที่ Head room สูงสุดของ mixer(+24dBu) จะได้ 114 dB SPL

(http://upic.me/i/ge/pudb2.jpg) (http://upic.me/show/45689601)

รูปที่2

รูปนี้ บางท่านโดยส่วนใหญ่ชอบปรับกันครับ คือ ให้ สัญญาณ input จาก mixer ไป Signal processor (เช่น EQ/Cross over) ไป Amplifier เป็น 0 dB
(mixer ตั้งไว้ที่ 0 dB cross over /EQ bypass 0 dB และ amp บิดสุดเต็มกำลัง โดย Amp ตัวนี้ให้ระดับความดังที่ 120 dB SPL)

ซึ่งโดยส่วนใหญ่ Amp จะมี Head room ที่ต่ำกว่าชาวบ้านเขาอยู่แล้วครับ คือ 6 dBu หรือ ประมาณ 1.55 Vrms
ดูนะครับว่าเกิดอะไรขึ้น

(http://upic.me/i/q0/modb3.jpg) (http://upic.me/show/45690020)

ไอ้หยา....
Dynamic range รวม ของระบบ เราเหลือแค่ 65 dBu
เหลือ Head room แค่ 6 dBu !!!

นั่นคือ ถ้า เราต้องการฟัง สบายๆ ที่ SPL= 80 dB เราต้องเร่ง gain ที่ mix แค่ - 30 dBu

แต่ถ้าเราต้องการ คง gain ไมค์ ที่ mixer ไว้ที่ ไว้ที่ 0 dBuให้มันดูดี ว่าระบบเรา มาตรฐาน 0 dBu (กด PFLดูแล้วmeter อ่านได้ 0 dBuแล้วชื่นใจ) เราต้อง ลด slide master fader หรือ slide channel fader ลงไป - 30 กว่าๆจึงจะได้ระดับเสียงที่ 80 dB SPL
แต่ผลที่ตามมา จะทำ gain output จาก mixer ออกมาแค่ -30 กว่าๆ dB (VU meter ของ Main mix อ่านได้ -30 dBu)และเสี่ยงกับ Noise ที่จะเกิดขึ้นกับระบบด้วย เช่นเสียงเดินบนเวที เสียงคนข้างๆคนที่ถือไมค์คุยกัน

ขอเสริมในเรื่องของ Head room ของ power amp อีกนิดนะครับ เราจะทราบค่าของมันได้จาก specification ในคู่มือ
เช่น ยกตัวอย่าง amp crown รุ่น xti มี Sensitivity(Vrms) for full rate power ที่ 4 โอห์ม เท่ากับ 1.4 V
หมายความว่า เมื่อเราบิด volume amp จนสุด สัญญาณที่จะสามารถขับ amp ตัวนี้ได้กำลังสูงสุดคือ 1.4 V ที่ load 4 โอห์ม หรือคิดเป็น dBu จะเท่ากับ 5.14dBu ซึ่งจะทำให้ power amp clipพอดี และถ้าต่อ output จาก mixerที่มี Headroom +24 dBu โดยตรง สัญญาณจาก mixer แค่ 6 dBu ก็ทำให้amp ตัวนี้ทำงานเต็มกำลังแล้ว แต่ขณะเดียวกันเราจะเสีย headroom ของระบบไป 18 dBu (24-6)

อีกวิธีที่ใช้สังเกต Headroom ของ ampคือ switchปรับ sensitivity ด้านหลัง amp เช่น 0.775 V, 1.4V หรือ 26dB คุ้นๆกันไหมครับ จากรูปจะอยู่ด้านล่างขวา
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/08/30/35980_1377873166.jpg)

ตัวเลขพวกนี้หมายความว่าอย่างนี้ครับ
ถ้าปรับ ไว้ที่ 0.775V หมายความว่า เมื่อเราเร่ง volume amp จนสุด สัญญาณที่ให้ full rate power คือ 0 dBu และ Headroom ของampตัวนี้จะเท่ากับ 0 dBu
1.4V พูดไปแล้วขอข้ามนะครับ
ส่วน 26 dB หมายถึง การปรับsensitivity แบบ fixed gain โดยสัญญาณ input ของ amp ที่ 0 dBu(0.775 Vrms)จะถูกขยายให้เป็น 26 dBu ที่ output เสมอ
ส่วน Headroom นั้นขึ้นกับ อัตราขยายสูงสุดของ amp ตัวนั้น

จะเห็นว่า ถ้าสัญญาณ 0 dBu เท่ากัน แล้วปรับ ไว้ที่ 0.775V กำลังที่ขับออกมาจะเสียงดังกว่าเพื่อน ในทางกลับกัน amp ก็clip ง่ายกว่า และได้ Headroom น้อย

ทีนี้เราจะเลือกปรับ sensitivity อย่างไรให้เหมาะกับระบบของเรา
ให้พิจารณาดังนี้ครับ ถ้า mixer ของเรา Norminal output ตามspecification เป็น 0 dBu ก็จะเหมาะสมกับ 0.775V
ถ้า Norminal output คือ +4dBu ก็ควรเลือก 1.4V ซึ่งmixer มาตรฐานทุกวันนี้ส่วนใหญ่ให้ outputที่ +4dBu


สำหรับค่า SNR ของ power amp ดูได้จาก specificationในคู่มือ

ส่วนวิธีดู mixer ว่ามี Headroom(HR) เท่าไรนั้นให้ดูจาก specification เช่น ให้ ค่า SNR กับ Dynamics range(DR) ถ้ามันไม่บอกเราตรงๆก็จับ DR-SNR = HR
หรือ สังเกตที่  main meter ว่ามี scale สูงสุดเท่าไร ถ้าค่าสูงสุด คือ 20 dB แสดงว่า มี HR +24dBu (ที่ 0dBVU=+4dBu)
ถ้า ค่าสูงสุดคือ 16 dB แสดงว่า HR=+20dBu

หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: max_medkku ที่ สิงหาคม 30, 2013, 10:54:28 pm
ดังนั้น เพื่อให้ได้ Head room และ dynamic range สูงสุด เพื่อที่จะง่ายต่อการ ควบคุมระบบเสียงของเรา ผมจะอธิบายขยายความ กระทู้ที่ผมเขียนไว้ก่อนหน้านี้ให้เห็นภาพ ประกอบกับเหตุผล ให้เข้าใจดังนี้ครับ


(http://upic.me/i/pp/yvdb4.jpg) (http://upic.me/show/45691365)

ต่อเครื่องทั้งระบบทุกอย่างให้ครบ ยกเว้น สายลำโพงที่ต่อกับ amp

เปิด mixer แล้วให้ master slide อยู่ที่ 0 dB
จากนั้น ปล่อยสัญญาณจาก signal generator (ถ้ามี) โดยใช้ Pink noise ออกมาที่ out put ของ mixer ให้ Level meter เกือบ clip ดังรูปข้างบน แล้ว trim gain output ของmixer โดยใช้ปุ่ม trim gain(ส่วนใหญ่จะมีใน Digital mixer) ลดลง 4 dBu จะได้ HRของ mixer เท่ากับ HR ตามอุดมคติ แต่ถ้าไม่มี ปุ่มtrim gain ก็ไม่เป็นไรครับ แค่ทำให้ สัญญาณจาก mixer output peak ก็แล้วกัน
ถ้าไม่มี signal Gen ก็ใช้เพลงอะไรก็ได้ที่มีเสียงดนตรีออกครบทุกความถี่

(http://upic.me/i/zq/5tdb5.jpg) (http://upic.me/show/45691451)

-แต่เนื่องจาก Head room ของ signal processor ของเรา มีแค่ +18dBu จึงรับ สัญญาณจาก mixer ที่มี Head room ถึง 26 dBu ไม่ไหว จึงเกิดอาการ clip ค้างก่อน



(http://upic.me/i/b0/3qdb6.jpg) (http://upic.me/show/45691515)


ดังนั้น เราต้องลด Gain input ของ signal processors ลง 8 dB meter จึงจะเกือบ clip
สังเกตที่ amp ที่มี Head room อันน้อยนิด ถ้าเปิดเครื่องไว้แล้วบิดจนสุด สัญญาณจาก crossover มาแรงขนาดนี้ ต้อง clip แดงแจ๋ แน่นอน
ฉะนั้นต้องหมุน Volume amp(Gain input attenuator) ไว้ที่ตำแหน่งต่ำสุดก่อน จากนั้น ค่อยๆ ปรับขึ้นจน ไฟ clip ของ amp กระพริบ พอดีก็จะได้แบบรูปข้างล่าง หรือปรับลด volume amp ลงจน ไฟ clipกระพริบ ในกรณีที่บิดไว้ตำแหน่งขวาสุด แล้วให้จำตำแหน่งนี้ไว้ว่าเป็นตำแหน่งที่ปลอดภัยกับ amp ของเรา เวลาไป set up งานครั้งต่อไปก็ให้หมุนมาตำแหน่งนี้ ที่ต้องทำเช่นนี้เพราะ power amp ของเราส่วนใหญ่ไม่มี scale เป็น dBu ให้เห็น


(http://upic.me/i/dt/sjdb8.jpg) (http://upic.me/show/45691652)  


-จากรูปจะเห็นได้ว่า Dynamic range ของระบบเราเพิ่มเป็น 85 dBu จากเดิม 65 dBu  
-Head room ได้เพิ่มเป็น 26 dBu เท่ากับของ mixer
- โดยมีระดับความดัง ที่ 0 dBu ของ mixer เทียบกับ Acoustic SPL อยู่ที่ประมาณ 94 dB SPL (เส้นสีน้ำเงิน)
ถ้าระดับความเข้มเสียงต้องการ ในงานนั้นๆ (Desired SPL)คือประมาณ 80 dB SPL (เส้นสีเขียว) เราก็สามารถลด ได้ทั้ง Main fader ของ mixer ลง - 14 dBu  หรือลดที่ Gain ของ EQ ก็ได้  ดังนั้นถ้าเรา set ได้อย่างนี้ เราก็ไม่จำเป็นต้องลด volume ของ amp อีก
แต่ที่ดีที่สุดคือ ลดที่ตำแหน่ง cross over output จะดีที่สุดเพราะ เราต้องการ ใช้ Gain ที่สูงและเหมาะสม ในภาค input ของ cross over เพื่อปรับแต่ง parameter ต่างๆในภาคinput เช่น compressor(ในกรณี เป็น digital crossover)

สังเกตแล้วคิดตามนะครับ ถ้าเราลด Main fader จะทำให้ Gain ทีไปที่ EQ และ Crossover ลดลง ซึ่งจะทำให้ยากต่อการ ปรับแต่ง EQ และ Function ต่างๆใน cross over เช่น Compressor/gate/ Limiter ค่าต่างๆที่เราตั้งไว้ ก็ไม่ทำงาน เพราะ Gain ยังไม่ถึงระดับ Threshold ที่ตั้งไว้ แต่ถ้าเราใช้วิธีการลด output volume ของ cross over ก็จะไม่มีผลกระทบกับ gain input ของ cross over


-ถ้าเราต่อ Aux sent monitor หรือ sub group เราก็ต้อง set gain แบบนี้ทั้งระบบ เหมือนกัน คือให้ clip เท่ากัน ทุกๆอุปกรณ์ในระบบ

ถ้า set gain monitor ได้อย่างนี้ก็ไม่มีปัญหาเรื่องเสียงmonitor ดังเบา
ที่ผ่านมาบางท่านรวมทั้งตัวผมเองเน้นที่ power amp ระบบ PA มากแล้วปรับ amp ระบบ PA จนสุดทำให้ได้ gain ที่ mixer น้อยเกินไป ส่งผลกระทบไปถึง ระบบ monitor ที่ใช้ gain ค่าเดียวกัน ถ้าpower amp ของ monitor กำลังน้อย แล้ว gain ยังน้อยอีก จึงทำให้ เกิดปัญหาmonitor ไม่ค่อยดัง ทั้งๆที่ power amp ของmonitor ก็บิด volume จนสุด

สุดท้ายคือ การใส่ Limiter ให้กับ amp ของเรา เพื่อป้องกัน ความเสียหายที่จะเกิดกับ amp และ ลำโพง
ง่ายๆ คือ เมื่อเราปรับสัญญาณให้ amp clip เรียบร้อยแล้ว ไปที่ output ของ cross over (Digital cross over) เปิด function Limiter แล้วปรับลด threshold ลงจนสังเกตได้ว่าอาการ clip ของ amp ไม่ค้าง หรือ ไม่ให้กระพริบ
จากนั้นทำอย่างนี้กับ ทุกๆ Output ของcross over Low-mid-high ทำทีละ  band เท่านี้ก็เสร็จการ set up ระบบของเราแล้วครับ

หาก set ได้อย่างนี้แล้ว เสียงยังไม่ดังจุใจท่่าน ทุกอย่างเปิด clip จนหมด แต่เสียงยังไม่ดัง การแก้ปัญหาคือ หา Power amp และตู้ลำโพงมาเพิ่มครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: max_medkku ที่ สิงหาคม 31, 2013, 12:49:49 am
ตัวปัญหาสำหรับการ setup gain ให้เป็นแบบ peak to peak นั้น คือ cross over ครับ
กล่าวคือ Cross over ไม่ได้เป็นเป็นอุปกรณ์ที่เป็น Unity gain เหมือน EQ/gate/compressor ซึ่งอุปกรณ์ที่เป็น Unity gain คือสัญญาณเข้าเท่าไรก็ออกเท่านั้น (หากไม่ได้ปรับแต่งใดๆ)
แต่ cross over จะมีการแบ่งพลังงานจากสัญญาณขาเข้า ตาม band ต่างๆ ที่เราได้ตั้งค่าจุดตัดไว้(filter) จึงทำให้สัญญาณขาออกสูญเสียพลังงานแตกต่างกันในแต่ละ band โดยปกติเมื่อเปรียบเทียบกับภาคinputของcross over gainของoutput จะต่ำกว่า

สมมติว่า 3 way cross over เราตั้งจุดตัด ความถี่ Low,mid,high ไว้ที่ 40-120Hz, 120-2kHz, 2kHz-16KHz ตามลำดับ
ถ้าเราปล่อย pink noise จาก mixer เข้าที่ input cross over จนเกือบ clip จะสังเกตเห็น gain meter ของ Low ต่ำสุด mid จะ gain มากที่สุด

วิธีคำนวน พลังงานที่สูญเสียไปจากการแบ่งจุดตัด ทำได้ดังนี้ครับ
1. เอา 2 คูณค่าความถี่ที่ต่ำที่สุดของแต่ละ band คูณไปเรื่อยๆจนได้ค่าใกล้เคียงกับ ค่าความถี่สูงสุดของ band นั้นๆแล้วจำจำนวนครั้งที่คูณจนได้ค่าสูงสุดไว้ (จำนวนครั้งที่คูณนี้คือค่า octave ทั้งหมดของband นั้นๆ)เช่น Low 40 คูณ 2 จำนวน n ครั้ง แล้ว เท่ากับ 120 เขียนเป็นสมการได้ดังนี้ครับ

                                                   40(2n)=120
                                                         2n = 3
take Log เข้าไป ทั้ง 2 ข้างของสมการ.          log[2n]=log3
                                                           n(log2)=log3
                                                                    n=log3/log2=0.48/0.3
                                                                   n= 1.6
คิดทั้ง 3 band จะได้ n ของแต่ละ band (octave) ดังนี้คือ  [1.6, 4, 3]

2. เอาจำนวน octave ของทุก band บวกกัน จะได้ 1.6+4+3=8.6
3. เอา octave รวมที่หาได้ ไปหาร ค่า octave ของแต่ละ band จะได้ [0.19, 0.47, 0.35]
4. take Log เข้าไป จะได้ log0.19, log0.47, log0.35 >>> [-0.72, -0.33, -0.46]
5. เอา 10 ไปคูณ จะได้ [-7.2, -3.3, -4.6]

ค่าที่ได้จะเป็นค่า dBu ที่สูญเสียไปในแต่ละ band ; low mid high ตามลำดับคือ -7.2dBu,-3.3dBu และ -4.6dBu
ให้ปรับเพิ่มoutput gain เพื่อชดเชย ตามband ต่างๆ คือ +7.2,+3.3 และ +4.6 ก็จะทำให้สัญญาณที่ cross over output clip พอดีเมื่อปล่อยสัญญาณ pink noise จาก mixer มา

ที่แสดงให้เห็นนี้เป็นวิธีคำนวนโดยละเอียดเพื่อที่จะนำไปตั้งค่า gain ของ cross over output โดยเฉพาะ Digital Cross over ซึ่งมีความละเอียดและสามารถ save ค่าได้
ในทางปฏิบัติ ส่วนใหญ่ใช้ analog cross over การปรับแบบง่ายๆคือ เมื่อ input ของ cross over clip พอดี ก็เร่ง gain output ของ แต่ละ band จน clip พอดีเช่นกัน ซึ่งไม่ต้องเสียเวลามาคำนวนให้ยุ่งยาก
หลังจากที่Set gain ของ Cross over ได้แล้วก็ไปset power amp ตามขั้นตอนที่ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้ แล้วใส่ limiter ของcross over แต่ละ band เพื่อเป็นการป้องกัน การ clip ของ power amp อีกชั้นหนึ่ง (ในกรณี digital cross over)


ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเพียงการ Setup gain ให้เหมาะสมเท่านั้น
ยังเหลือที่จะต้อง setup ต่ออีก เช่น
- EQ เพื่อปรับ Room acoustic resonance
- EQ Monitor/ gain before feedback
- การ Balance sound ต่างๆ
- การปรับ Dynamic Gate / compessor

ต้องทำให้เร็วให้คล่องครับ
ลองนำไปใช้ดูนะครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: คนพระจันทร์ ที่ สิงหาคม 31, 2013, 07:15:28 am

ขอบพระคุณมากครับ

เรื่อง  เกน นี่

Sound Engineer เรียนเป็นเทอม

ฝึกปรือตลอดชีวิตละครับ

ผมเซฟไว้แล้ว 
เอาไปเรียบเรียงใหม่  เขียนเป็นตำราขายได้เลย  พูดเล่นครับของเค้ามีลิขสิทธฺ์
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: anurukburanon ที่ สิงหาคม 31, 2013, 12:08:47 pm
อยากเรียนซาวด์เอ็นบ้างจัง แต่ไม่รู้จะมีใครรับผมทำงานไหม ไม่รู้ว่าที่ไหนเขารับสมัครงานบ้างครับ

เพราะเริ่มรู้สึกว่าเรียนมหาลัยมันยากมาก โดยเฉพาะคณิตและฟิสิกส์
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: คนพระจันทร์ ที่ สิงหาคม 31, 2013, 12:29:18 pm

เอ็นจิเนียร์  =   วิศว

Sound Engineer

อืมต้องมีพื้นฐานคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ พอควรนะครับ
ทั้งสองศาสตร์เป็นวิชชาที่ว่าด้วยเหตุผล  ของจริงล้วน
คณิตศาสตร์สอนคนให้มีเหตุผล
วิทยาศาสตร์ฟิสิกส์  สอนความเป็นจริงตามธรรมชาติ

มันช่วยให้ทำงานด้าน Sound  ถูกต้องแม่นยำขึ้นครับ

ต้องฝึกตัวเองให้รักวิทยาศาสตร์ 
เพราะมันเป็นรองแค่ ศิลปศาสตร์เท่านั้น
สมัยโบราณวิทยาศาสตร  เป็นสาขาวิชาหนึ่งในวิชาศิลปศาสตร์ครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: ปาย1095 มิวสิค ที่ สิงหาคม 31, 2013, 02:02:16 pm
เรื่อง การเร่งวอลลุ่มแอมป์  ฮ่าๆไม่นึกว่า จะยาวขนานนี้  ยอม
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: barron ที่ สิงหาคม 31, 2013, 08:39:42 pm
ขอบคุณคุณหมอ ได้ความรู้มากเลยครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: vnatham ที่ กันยายน 02, 2013, 09:44:39 am
ความรู้มากมายจริงๆ กระทู้นี้
ปรกติ ผมจะพยายามปรับเกนทุกอย่างให้ได้ 0 db
- ไมค์สัญญาณเข้า (Input Gain) ผมจะเช็ค PFL ให้อยู่ใกล้เคียง 0 db
- สัญญาณเสียงดนตรี (Input Gain) ผมจะเช็ค PFL ให้อยู่ใกล้เคียง 0 db
- master slide เร่งไว้ 0 db
- เพาเวอร์แอมป์เร่งประมาณ บ่ายสองบ่ายสาม

แต่หลังจากอ่านกระทู้นี้แล้ว คงต้องกลับไปนั่งไล่ Gain ใหม่



หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: somsak.sam1 ที่ กันยายน 02, 2013, 11:18:21 am
แอมป์ขับเบส  เร่ง สุด ๆ ไปเลย ขับกลาง  ลดลงมาหน่อย เสียงแหลม เร่งเที่ยงตรง(เดี๋ยวขาดก่อน)  สุดท้ายแล้วแต่ความเหมาะสม+การฟัง ครับ smiley4
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: vnatham ที่ กันยายน 02, 2013, 01:15:02 pm
แอมป์ขับเบส  เร่ง สุด ๆ ไปเลย ขับกลาง  ลดลงมาหน่อย เสียงแหลม เร่งเที่ยงตรง(เดี๋ยวขาดก่อน)  สุดท้ายแล้วแต่ความเหมาะสม+การฟัง ครับ smiley4

ลองกลับไปอ่านหน้าที่ 3 ครับ ว่าทำไมไม่ควรเร่งสุด
จริงๆคือต้องเช็ค Gain output ทั้งระบบให้เหมาะสมครับ (มีสอนวิธีเช็คในหน้าที่ 3 เหมือนกัน)

ถ้าอ่านไม่เข้าใจ  ผมสรุปให้ง่ายๆ ดังนี้
-ถ้าเราเร่งแอมป์ไว้สุด แปลว่า สัญณานต้นเสียง(สมมุติว่าผมต่อตรงจาก Mix เลย) เราเร่งไปค่อยๆ เสียงก็ดังเต็มที่ใช่มั้ยครับ
-ถ้าเราเร่ง Mix ไปค่อยๆ  Noise (สัญญาณรบกวน) จะเยอะครับ
-ยิ่งเรามีอุปกรณ์ต่อขั้นระหว่าง Mix กับ Power Amp แล้ว ยิ่ง Noise เยอะ

*หลักการคือ ต้องบาลานซ์ ความแรงของสัญญาณทุกตัวให้เท่าๆกัน คือ ถ้าเราเร่ง Mix จน Clip หรือเกือบ Clip
อุปกรณ์ทุกตัว ก็ต้อง Clip หรือเกือบ Clip ครับ ไล่ไปตั้งแต่ EQ/Cross จนถึง power amp. แปลว่าสัญญาณที่ออกไปจาก MIX ผ่านอุปกรณ์ทุกตัวยัน Power Amp สัญณานบาลานซ์กันแล้ว


ปล.ผมอ่านอยู่นานกว่าจะเข้าใจหลักการ เพราะเดิมผมเข้าใจว่า 0db ของอุปกรณ์ทุกตัว คือบาลานซ์ ซึ่งจริงๆ ไม่ใช่ครับ


หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: max_medkku ที่ กันยายน 02, 2013, 04:13:30 pm
แอมป์ขับเบส  เร่ง สุด ๆ ไปเลย ขับกลาง  ลดลงมาหน่อย เสียงแหลม เร่งเที่ยงตรง(เดี๋ยวขาดก่อน)  สุดท้ายแล้วแต่ความเหมาะสม+การฟัง ครับ smiley4

ลองกลับไปอ่านหน้าที่ 3 ครับ ว่าทำไมไม่ควรเร่งสุด
จริงๆคือต้องเช็ค Gain output ทั้งระบบให้เหมาะสมครับ (มีสอนวิธีเช็คในหน้าที่ 3 เหมือนกัน)

ถ้าอ่านไม่เข้าใจ  ผมสรุปให้ง่ายๆ ดังนี้
-ถ้าเราเร่งแอมป์ไว้สุด แปลว่า สัญณานต้นเสียง(สมมุติว่าผมต่อตรงจาก Mix เลย) เราเร่งไปค่อยๆ เสียงก็ดังเต็มที่ใช่มั้ยครับ
-ถ้าเราเร่ง Mix ไปค่อยๆ  Noise (สัญญาณรบกวน) จะเยอะครับ
-ยิ่งเรามีอุปกรณ์ต่อขั้นระหว่าง Mix กับ Power Amp แล้ว ยิ่ง Noise เยอะ

*หลักการคือ ต้องบาลานซ์ ความแรงของสัญญาณทุกตัวให้เท่าๆกัน คือ ถ้าเราเร่ง Mix จน Clip หรือเกือบ Clip
อุปกรณ์ทุกตัว ก็ต้อง Clip หรือเกือบ Clip ครับ ไล่ไปตั้งแต่ EQ/Cross จนถึง power amp. แปลว่าสัญญาณที่ออกไปจาก MIX ผ่านอุปกรณ์ทุกตัวยัน Power Amp สัญณานบาลานซ์กันแล้ว


ปล.ผมอ่านอยู่นานกว่าจะเข้าใจหลักการ เพราะเดิมผมเข้าใจว่า 0db ของอุปกรณ์ทุกตัว คือบาลานซ์ ซึ่งจริงๆ ไม่ใช่ครับ



ใช่แล้วครับ volume ของ amp ที่เขาออกแบบมา ก็เพื่อต้องการให้เราปรับให้เข้ากับ เครื่องมือของเรา ซึ่ง mixer/EQ/Cross over แต่และยี่ห้อ แต่ละรุ่น มี spec ไม่เหมือนกัน มี Headroom, Dynamic range ที่ต่างกัน
จึงไม่ควร fixed idea ว่า ควรจะปรับgain/volume ไว้ที่ กี่โมงๆ มันขึ้นอยู่กับ เครื่องเสียงในระบบของเรา

หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: somsak.sam1 ที่ กันยายน 02, 2013, 04:38:16 pm
ตอนติดตั้งผมเช็คซาวด์ที่มิกเซอร์ตั้งระความแรงของแต่ละช่องไม่ให้แรงจนพีค smiley4 ส่วนแอมป์ผมเร่งอย่างที่ผมเขียนไว้ไม่สนใจหลักการของใครครับ  เพราะสุดท้ายความแรงทั้งหมดถูกคุมโดยมาสเตอร์ของมิกเซอร์ทุ้มกลางแหลมมิกเซอร์ปรับได้ ถึงแม้จะเร่งแอมป์ไว้เยอะ  ก็ตาม อีคิว ครอส ช่วยปรับแต่งบูส คัทได้ กำลังของเครื่องขยายเสียงก็เป็นส่วนประกอปในการเร่งโวลุ่ม อย่าไปยึดติดมากครับ  สุดท้ายเสียงที่ออกมาจริง ๆ ต้องฟังด้วยหูไม่ใช่เครื่องมือ  หรือฟังจากมอนิเตอร์  อันนี้ส่วนตัวผมนะ smiley4
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: vnatham ที่ กันยายน 02, 2013, 04:53:35 pm
ตอนติดตั้งผมเช็คซาวด์ที่มิกเซอร์ตั้งระความแรงของแต่ละช่องไม่ให้แรงจนพีค smiley4 ส่วนแอมป์ผมเร่งอย่างที่ผมเขียนไว้ไม่สนใจหลักการของใครครับ  เพราะสุดท้ายความแรงทั้งหมดถูกคุมโดยมาสเตอร์ของมิกเซอร์ทุ้มกลางแหลมมิกเซอร์ปรับได้ ถึงแม้จะเร่งแอมป์ไว้เยอะ  ก็ตาม อีคิว ครอส ช่วยปรับแต่งบูส คัทได้ กำลังของเครื่องขยายเสียงก็เป็นส่วนประกอปในการเร่งโวลุ่ม อย่าไปยึดติดมากครับ  สุดท้ายเสียงที่ออกมาจริง ๆ ต้องฟังด้วยหูไม่ใช่เครื่องมือ  หรือฟังจากมอนิเตอร์  อันนี้ส่วนตัวผมนะ smiley4

คริๆๆ  แสดงว่าไม่ได้อ่านที่ผมพิมพ์ไป
ประเด็นคือ เรื่อง Noise (สัญญาณรบกวน) และเรื่อง HeadRoom (มีที่ให้เล่น-ไม่รู้ว่าจะแปลว่ายังไงเหมือนกัน)
ไม่ใช่ประเด็นหู หรือเครื่องมือ หรือแรง/ไม่แรง ดัง/ไม่ดังครับ

ตอนแรก ผมก็เข้าใจผิดเช่นกันว่าเร่งไม่สุดไม่แรง นั่งคิดตามอยู่สองวันจึงตกผลึกความคิด จึงทำความเข้าใจได้ครับ

ส่วนท่านจะปรับเครื่องเสียงท่านยังไง ไม่มีใครว่าอยู่แล้วครับ เพราะเครื่องของท่าน
ประเด็นที่คุยกันคือ ทำไม เพราะอะไร ถกกันด้วยเหตุและผลครับ

 smiley4
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างแอ้ด™ ที่ กันยายน 02, 2013, 05:42:31 pm
0db คือ จุดอ้างอิง  ไม่ใช่จุดที่มีความดังสูงสุด   
ความดังสูงสุดที่ยังไม่คลิปของระบบ จากจุดอ้างอิงจากตัวอย่างภาพเรียกว่า เฮดรูม
...สเปคของเฮดรูม ในระบบอาจจะมีค่าที่สูงได้โดยมีตัวแปรเป็นคาบเวลามาเกี่ยวข้องด้วย 

ถ้าทุกอย่างทำไว้ถูกหลัก การทำงานจะง่ายขึ้นและปัญหาบางอย่างจะลดลงไป  smiley4
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: Ton-Studio ที่ กันยายน 02, 2013, 05:55:44 pm
ผมเคยเร่งสุดเสียงจะมีอาการฮัมออกมาด้วย
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: max_medkku ที่ กันยายน 02, 2013, 06:44:01 pm
ตอนติดตั้งผมเช็คซาวด์ที่มิกเซอร์ตั้งระความแรงของแต่ละช่องไม่ให้แรงจนพีค smiley4 ส่วนแอมป์ผมเร่งอย่างที่ผมเขียนไว้ไม่สนใจหลักการของใครครับ  เพราะสุดท้ายความแรงทั้งหมดถูกคุมโดยมาสเตอร์ของมิกเซอร์ทุ้มกลางแหลมมิกเซอร์ปรับได้ ถึงแม้จะเร่งแอมป์ไว้เยอะ  ก็ตาม อีคิว ครอส ช่วยปรับแต่งบูส คัทได้ กำลังของเครื่องขยายเสียงก็เป็นส่วนประกอปในการเร่งโวลุ่ม อย่าไปยึดติดมากครับ  สุดท้ายเสียงที่ออกมาจริง ๆ ต้องฟังด้วยหูไม่ใช่เครื่องมือ  หรือฟังจากมอนิเตอร์  อันนี้ส่วนตัวผมนะ smiley4

คริๆๆ  แสดงว่าไม่ได้อ่านที่ผมพิมพ์ไป
ประเด็นคือ เรื่อง Noise (สัญญาณรบกวน) และเรื่อง HeadRoom (มีที่ให้เล่น-ไม่รู้ว่าจะแปลว่ายังไงเหมือนกัน)
ไม่ใช่ประเด็นหู หรือเครื่องมือ หรือแรง/ไม่แรง ดัง/ไม่ดังครับ

ตอนแรก ผมก็เข้าใจผิดเช่นกันว่าเร่งไม่สุดไม่แรง นั่งคิดตามอยู่สองวันจึงตกผลึกความคิด จึงทำความเข้าใจได้ครับ

ส่วนท่านจะปรับเครื่องเสียงท่านยังไง ไม่มีใครว่าอยู่แล้วครับ เพราะเครื่องของท่าน
ประเด็นที่คุยกันคือ ทำไม เพราะอะไร ถกกันด้วยเหตุและผลครับ

 smiley4


ครับเป็นตามนั้น ท่านนั่งคิดอยู่ 2 วัน จึงจะเข้าใจได้ อาจเป็นเพราะผม เรียบเรียงไม่ดีหรือเปล่าครับ 555  smiley4

เนื่องจากผมไม่ได้เรียนมาในสายงานนี้โดยตรง กว่าผมจะตกผลึกความคิดได้ดังนี้ก็ ใช้ เวลาอ่านบทความ ในอินเตอร์เน็ต ไม่ต่ำกว่า 10 บทความ  จึงสามารถนำความรู้ที่ได้มาฝึกปฏิบัติ ใช้เวลาเป็น เดือนๆ-ปีๆ นอกจากนี้ยังต้องมีพื้นฐาน เรื่อง ดนตรี คณิต ฟิสิกส์ เรื่อง เสียง คลื่น และไฟฟ้า มาเกี่ยวข้อง กว่าจะได้ความคิดรวบยอดมาเขียน อาจมีสิ่งใดที่ผมเข้าใจถูกหรือผิด ก็พร้อมรับคำติชมจากทุกท่านเพื่อไปปรับปรุงแก้ไข และได้ความรู้เพิ่มเติมไปในตัว


การให้วิทยาทานนั้น ไม่ได้ให้แล้ว จะได้รับกันง่ายๆ
เบื้องต้น เราต้องเปิดใจรับ มีความสนใจ มีพื้นฐานทางความรู้ ใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรอง จึงจะเข้าใจและนำไปใช้ฝึกปฏิบัติได้ครับ smiley4
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: นัฐ ซาวด์ ที่ กันยายน 02, 2013, 07:29:26 pm
ขออนุญาติสอบถามครับ  ถ้าเราตั้ง gain ไว้ถูกต้องแล้ว เราต้องเบาที่ slide หรือที่ gain ในกรณีเปิดเพลง เพราะเพลงบางเพลงเสียงดังไม่เท่ากันครับ  smiley4 smiley4
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: popteam ที่ กันยายน 02, 2013, 08:42:14 pm
ตอนติดตั้งผมเช็คซาวด์ที่มิกเซอร์ตั้งระความแรงของแต่ละช่องไม่ให้แรงจนพีค smiley4 ส่วนแอมป์ผมเร่งอย่างที่ผมเขียนไว้ไม่สนใจหลักการของใครครับ  เพราะสุดท้ายความแรงทั้งหมดถูกคุมโดยมาสเตอร์ของมิกเซอร์ทุ้มกลางแหลมมิกเซอร์ปรับได้ ถึงแม้จะเร่งแอมป์ไว้เยอะ  ก็ตาม อีคิว ครอส ช่วยปรับแต่งบูส คัทได้ กำลังของเครื่องขยายเสียงก็เป็นส่วนประกอปในการเร่งโวลุ่ม อย่าไปยึดติดมากครับ  สุดท้ายเสียงที่ออกมาจริง ๆ ต้องฟังด้วยหูไม่ใช่เครื่องมือ  หรือฟังจากมอนิเตอร์  อันนี้ส่วนตัวผมนะ smiley4

คริๆๆ  แสดงว่าไม่ได้อ่านที่ผมพิมพ์ไป
ประเด็นคือ เรื่อง Noise (สัญญาณรบกวน) และเรื่อง HeadRoom (มีที่ให้เล่น-ไม่รู้ว่าจะแปลว่ายังไงเหมือนกัน)
ไม่ใช่ประเด็นหู หรือเครื่องมือ หรือแรง/ไม่แรง ดัง/ไม่ดังครับ

ตอนแรก ผมก็เข้าใจผิดเช่นกันว่าเร่งไม่สุดไม่แรง นั่งคิดตามอยู่สองวันจึงตกผลึกความคิด จึงทำความเข้าใจได้ครับ

ส่วนท่านจะปรับเครื่องเสียงท่านยังไง ไม่มีใครว่าอยู่แล้วครับ เพราะเครื่องของท่าน
ประเด็นที่คุยกันคือ ทำไม เพราะอะไร ถกกันด้วยเหตุและผลครับ

 smiley4

ช่วยขยายความหน่อยครับ คงต้องอ่านอีกหลายๆรอบ
Noiseไม่ได้เกิดจาก แอมขณะเร่งสุดใช่หรือไม่ 
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: วิชาญ ที่ กันยายน 02, 2013, 09:04:34 pm
ภาษาอังกฤษเยอะ(รากหญ้า)อ่านไม่ออก
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: anurukburanon ที่ กันยายน 02, 2013, 09:06:26 pm
ตอนติดตั้งผมเช็คซาวด์ที่มิกเซอร์ตั้งระความแรงของแต่ละช่องไม่ให้แรงจนพีค smiley4 ส่วนแอมป์ผมเร่งอย่างที่ผมเขียนไว้ไม่สนใจหลักการของใครครับ  เพราะสุดท้ายความแรงทั้งหมดถูกคุมโดยมาสเตอร์ของมิกเซอร์ทุ้มกลางแหลมมิกเซอร์ปรับได้ ถึงแม้จะเร่งแอมป์ไว้เยอะ  ก็ตาม อีคิว ครอส ช่วยปรับแต่งบูส คัทได้ กำลังของเครื่องขยายเสียงก็เป็นส่วนประกอปในการเร่งโวลุ่ม อย่าไปยึดติดมากครับ  สุดท้ายเสียงที่ออกมาจริง ๆ ต้องฟังด้วยหูไม่ใช่เครื่องมือ  หรือฟังจากมอนิเตอร์  อันนี้ส่วนตัวผมนะ smiley4

คริๆๆ  แสดงว่าไม่ได้อ่านที่ผมพิมพ์ไป
ประเด็นคือ เรื่อง Noise (สัญญาณรบกวน) และเรื่อง HeadRoom (มีที่ให้เล่น-ไม่รู้ว่าจะแปลว่ายังไงเหมือนกัน)
ไม่ใช่ประเด็นหู หรือเครื่องมือ หรือแรง/ไม่แรง ดัง/ไม่ดังครับ

ตอนแรก ผมก็เข้าใจผิดเช่นกันว่าเร่งไม่สุดไม่แรง นั่งคิดตามอยู่สองวันจึงตกผลึกความคิด จึงทำความเข้าใจได้ครับ

ส่วนท่านจะปรับเครื่องเสียงท่านยังไง ไม่มีใครว่าอยู่แล้วครับ เพราะเครื่องของท่าน
ประเด็นที่คุยกันคือ ทำไม เพราะอะไร ถกกันด้วยเหตุและผลครับ

 smiley4

ช่วยขยายความหน่อยครับ คงต้องอ่านอีกหลายๆรอบ
Noiseไม่ได้เกิดจาก แอมขณะเร่งสุดใช่หรือไม่ 



อันนั้นก็ส่วนหนึ่งครับ สำหรับแอมป์บางรุ่น

แต่ที่กำลังคุยอยู่นี่หมายถึงน๊อยซ์จากสัญญาณที่มาจากเครื่องปรุงครับ ยังไม่ใช้แอมป์
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: อาร์ม ลูกน้ำกว๊าน ที่ กันยายน 02, 2013, 09:09:39 pm
ขอบคุณครับ ... smiley4
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างแอ้ด™ ที่ กันยายน 02, 2013, 09:13:34 pm
ขออนุญาติสอบถามครับ  ถ้าเราตั้ง gain ไว้ถูกต้องแล้ว เราต้องเบาที่ slide หรือที่ gain ในกรณีเปิดเพลง เพราะเพลงบางเพลงเสียงดังไม่เท่ากันครับ  smiley4 smiley4
fader (slide) คือจุดที่เราใช้ควบคุมขณะปฏิบัติการ  ส่วน gain เอาไว้ทำตอน setup ระบบครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: นัฐ ซาวด์ ที่ กันยายน 02, 2013, 10:01:36 pm
ขออนุญาติสอบถามครับ  ถ้าเราตั้ง gain ไว้ถูกต้องแล้ว เราต้องเบาที่ slide หรือที่ gain ในกรณีเปิดเพลง เพราะเพลงบางเพลงเสียงดังไม่เท่ากันครับ  smiley4 smiley4
fader (slide) คือจุดที่เราใช้ควบคุมขณะปฏิบัติการ  ส่วน gain เอาไว้ทำตอน setup ระบบครับ
ขอบคุณครับ smiley4
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: vnatham ที่ กันยายน 03, 2013, 08:44:27 am
ครับเป็นตามนั้น ท่านนั่งคิดอยู่ 2 วัน จึงจะเข้าใจได้ อาจเป็นเพราะผม เรียบเรียงไม่ดีหรือเปล่าครับ 555  smiley4

เนื่องจากผมไม่ได้เรียนมาในสายงานนี้โดยตรง กว่าผมจะตกผลึกความคิดได้ดังนี้ก็ ใช้ เวลาอ่านบทความ ในอินเตอร์เน็ต ไม่ต่ำกว่า 10 บทความ  จึงสามารถนำความรู้ที่ได้มาฝึกปฏิบัติ ใช้เวลาเป็น เดือนๆ-ปีๆ นอกจากนี้ยังต้องมีพื้นฐาน เรื่อง ดนตรี คณิต ฟิสิกส์ เรื่อง เสียง คลื่น และไฟฟ้า มาเกี่ยวข้อง กว่าจะได้ความคิดรวบยอดมาเขียน อาจมีสิ่งใดที่ผมเข้าใจถูกหรือผิด ก็พร้อมรับคำติชมจากทุกท่านเพื่อไปปรับปรุงแก้ไข และได้ความรู้เพิ่มเติมไปในตัว


การให้วิทยาทานนั้น ไม่ได้ให้แล้ว จะได้รับกันง่ายๆ
เบื้องต้น เราต้องเปิดใจรับ มีความสนใจ มีพื้นฐานทางความรู้ ใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรอง จึงจะเข้าใจและนำไปใช้ฝึกปฏิบัติได้ครับ smiley4

ไม่ใช่หมอเขียนไม่ดีครับ   ผมงงเองครับ ฮ่าๆๆ งงตรงเร่ง ให้พีค ตอนแรกไม่ได้ทำความเข้าใจก่อน แต่ไปอ่านแล้วลองนึกภาพว่ากำลังทำตามที่หมอแนะนำ  ผมงงว่า ทำเพื่ออะไร(ไม่ใช่ว่ามันไม่ดีน๊ะ แต่ งงงงว่าทำอะไรกัน)  เลยถอยออกมาก้าวนึงแล้วทำความเข้าใจก่อนว่าทำไปเพื่ออะไร จึงเข้าใจแล้วทีนี้ไปอ่านการเช็คบาลานซ์ใหม่ก็เข้าใจครับ

เหมือนผมอ่านโจทย์ไปทำตามไป  เลยงง  จริงๆ ต้องอ่านให้จบทั้งหมดก่อนว่า โจทย์ต้องการอะไร ให้เราทำอะไร แล้วค่อยทำหลังจากเข้าใจโจทย์แล้วอะ  หมองงมั้ย  ผมพิมพ์เองยังงงเอง
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: vnatham ที่ กันยายน 03, 2013, 08:55:23 am
ภาษาอังกฤษเยอะ(รากหญ้า)อ่านไม่ออก

ผมสรุปให้เป็นภาษาไทยง่ายๆ ดังนี้ครับ ขอยกคำตอบเดิมมา

-ถ้าเราเร่งแอมป์ไว้สุด แปลว่า สัญณานต้นเสียง(สมมุติว่าผมต่อตรงจาก Mix เลย) เราเร่งไปค่อยๆ เสียงก็ดังเต็มที่ใช่มั้ยครับ

-ถ้าเราเร่ง Mix ไปค่อยๆ  Noise(สัญญาณรบกวน) จะเยอะครับ (ตรงนี้ไงคือประเด็น)

-ยิ่งเรามีอุปกรณ์ต่อขั้นระหว่าง Mix กับ Power Amp แล้ว ยิ่ง Noise เยอะ (ตรงนี้ไงคือประเด็น)


Noise กรณีนี้เกิดจาก เราเร่งสัญญาณเบา Noise จะเยอะ ในทางกลับกัน ถ้าเราเร่งสัญญาณเยอะ Noise จะน๊อยซ์ เอ้ยยน้อย

เคยสังเกตุกันมั้ยครับ
เคยสงสัยกันมั้ยครับ

ผมเคยสงสัย ตอนเปิดเพลง เครื่องเสียงไม่จี่ ไม่ฮัม พอเพลงหมด ได้ยินเสียงจี่ เสียงฮัมชัดเจน  ตอนแรก ผมเข้าใจว่าเสียงจี่เสียงฮัมมีในระบบตลอดเวลา เพียงแต่เราเปิดเพลงดัง เราเลยไม่ได้ยินเสียงฮัม 
 แต่จริงแล้วไม่ใช่ พอเราเปิดเพลง สัญญาณเพลงมาเยอะ สัญญาณรบกวน(จี่ฮัม) เลยน้อย
แต่พอเราปิดเพลง สัญญาณเพลงมาน้อย สัญญาณรบกวนมาเยอะ  แอมป์เลยขยายเสียงสัญญาณรบกวนดังขึ้นไปอีก เราเลยได้ยิน

และนี่คือประเด็นครับ ว่าไม่ควรเร่งแอมป์จนสุด เพราะเราต้องเบาสัญญาณต้นทาง เพราะถ้าเราเร่งทั้งแอมป์สุดทั้ง Mix ให้สูง แอมป์ก็จะคลิปไงครับ เราเลยต้องเบาสไลด์ลง  พอเราเบาสไลด์ลง สัญญาณรบกวนก็มาในระบบกว่าจะมาถึงแอมป์ยังผ่านเครื่องปรุงทั้งหลายอีก เช่น EQ/Cross/Delay/Compressor  สรุปว่า Noise กระจาย


*หลักการคือ ต้องบาลานซ์ ความแรงของสัญญาณทุกตัวให้เท่าๆกัน คือ ถ้าเราเร่ง Mix จน Clip หรือเกือบ Clip
อุปกรณ์ทุกตัว ก็ต้อง Clip หรือเกือบ Clip ครับ ไล่ไปตั้งแต่ EQ/Cross จนถึง power amp. แปลว่าสัญญาณที่ออกไปจาก MIX ผ่านอุปกรณ์ทุกตัวยัน Power Amp สัญณานบาลานซ์กันแล้ว

ตรงนี้นอกจากจะลดสัญญาณรบกวนในระบบแล้ว ที่สำคัญคือได้ HeadRoom เพิ่มขึ้นครับ - คือมีที่ให้เร่งสไลด์เล่นได้ กรณีเสียงไม่ดังพอ และสัญญาณทั้งระบบไม่คลิป --> เรียก HeadRoom
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: vnatham ที่ กันยายน 03, 2013, 09:04:21 am
HeadRoom และการบาลานซ์สัญญาณสำคัญน๊ะครับ มันจะช่วยให้เราทำงานง่ายขึ้น เมื่ออยู่หน้างาน

ผมจะยกตัวอย่างเมื่อสงกรานต์ให้ฟัง (ผมไม่ได้บาลานซ์สัญญาณ เพราะเข้าใจว่า 0db คือบาลานซ์)

- เสียงเบา เร่งสไลด์ขึ้นไป โอเคดังแล้ว มองไปมองมา อ้าวเฮ้ย EQ Clip แล้ว ทำไง ก็เบา Gain EQ ลง
- เอ๊า เสียงค่อยอีก ทำไง เร่ง Gain Cross ขึ้นซิ  มองไปมองมา อ้าวเฮ้ยยยย Amp ขับ Low Clip แล้ว ทำไง เบาวอลลุ่ม Amp low ลง
- เอ๊า low ไม่แน่นอีก เร่ง Cross ตรง low ขึ้นนิด ....

สรุปว่า มือเป็นลิง หมุนโน่น นี่ขาด นั่นเกิน หมุนนั่นโน่นขาดนี่เกิน อยู่ตลอดเวลาครับ เลยเข้าใจคำว่าบาลานซ์สัญญาณเลย
ถ้าเราบาลานซ์ ดีแล้ว เราจะเร่งสไลด์ได้ จนไฟ Peak ที่ Main Slide เกือบจะขึ้น และสัญญาณทั้งระบบไม่ต้องมานั่งหมุนใหม่ครับ
เพราะถ้า Slide เราไม่คลิป ที่เหลือไม่มีทางคลิปครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: boy029 ที่ กันยายน 03, 2013, 09:19:12 am
ความรู้ทั้งนั้นนนนนนนนนนนนน brow brow brow brow brow brow brow brow
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: ืีnutkdd2duo ที่ กันยายน 03, 2013, 01:05:46 pm
เข้ามาเสพความรู้ครับ ขอบคุณอาจารย์ทุกๆท่านครับ  smiley4
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: somsak.sam1 ที่ กันยายน 03, 2013, 03:46:12 pm
เวลาใช้เสียงจริง ๆ สัญญาณมาจากหลายแหล่ง กระเดื่อง กีตาร์ เบส สะแน คีบอร์ด  เครื่องเป่า ฯลฯ ถ้าปรับมิกเซอร์ ทุกช่อง 0 dB หมด เสียงจะออกมาดีใหม  หรือ ออกมาเหมือน  กลองยาว   loveit ผมว่าการปรับมันเสียงสำคัญตั้งแต่ต้นทาง  จนไปถึงเครื่องขยายเสียง  ทางที่ดีเครื่องขยายเสียงควรเป็นยี่ห้อเดียวกันทุกตัว  เพราะอัตราการขยายจะได้เท่ากันทุกเครื่อง redface  บางครั้งต้องยอมให้เสียงเกิน 0 dB  แต่ไม่ให้พีค จนแดงค้างตลอด loveit  สำหรับผมเวลาใช้งานจริงไม่ค่อยมีเวลาเซ็ตเครื่องมาก(ส่วนใหญ่งานรีบ) เอาดังเป็นพอครับ  smiley4
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: max_medkku ที่ กันยายน 04, 2013, 02:05:16 am
เวลาใช้เสียงจริง ๆ สัญญาณมาจากหลายแหล่ง กระเดื่อง กีตาร์ เบส สะแน คีบอร์ด  เครื่องเป่า ฯลฯ ถ้าปรับมิกเซอร์ ทุกช่อง 0 dB หมด เสียงจะออกมาดีใหม  หรือ ออกมาเหมือน  กลองยาว   loveit ผมว่าการปรับมันเสียงสำคัญตั้งแต่ต้นทาง  จนไปถึงเครื่องขยายเสียง  ทางที่ดีเครื่องขยายเสียงควรเป็นยี่ห้อเดียวกันทุกตัว  เพราะอัตราการขยายจะได้เท่ากันทุกเครื่อง redface  บางครั้งต้องยอมให้เสียงเกิน 0 dB  แต่ไม่ให้พีค จนแดงค้างตลอด loveit  สำหรับผมเวลาใช้งานจริงไม่ค่อยมีเวลาเซ็ตเครื่องมาก(ส่วนใหญ่งานรีบ) เอาดังเป็นพอครับ  smiley4

ที่ผมเขียนมาทั้งหมด หมายถึงการ balance gain ก่อนทำงานจริงครับ สัญญาณระดับ 0 dBu เอาไว้ใช้อ้างอิงว่าระบบของเรา ควรมีความดังประมาณไหนจึงจะพอดีเหมาะสมกับสถานการณ์ เช่นถ้าเล่นในห้องประชุม 0 dBu ที่ mixer อาจเท่ากับ ระดับความเข้มเสียง(ความดัง)ที่ 75 dB SPL ณ จุดที่เรา control แต่ถ้าเล่นกลางแจ้ง 0 dBu ที่ mixer อาจดังถึง 90 dB SPL
ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้อง set gain ของเครื่องดนตรีทุกชิ้นไว้ที่ 0 dBu แต่ควรอยู่ที่ระดับ ใกล้เคียง คือตั้งแต่ -12 ถึง +6 dBu หรืออาจมากกว่านั้น ตามรูปในกรอบสี่เหลี่ยม

(http://dc703.4shared.com/img/rSrmaPhz/s7/0.4447044659467023/gain.JPG?async&0.11626463980599433)

ทั้งหมดที่เขียนมาในกระทู้นี้ เราพูดถึงเรื่อง Level คือระดับสัญญาณ ยังไม่ได้อภิปรายกันในแง่ของการปรับแต่ง Toneหรือเนื้อเสียงแต่อย่างใด แต่Level ที่ดีได้ระดับมีผลกับเนื้อเสียงแน่นอนครับ

และการเซทระบบอย่างที่ผมได้กล่าวไปนั้น ไม่จำเป็นต้องทำที่หน้างานให้เสียเวลา สามารถทำเองที่บ้านได้โดยไม่ต้องเปิดเสียงรบกวนชาวบ้าน เพราะแค่เปิดเช็คสัญญาณและปรับปุ่มหมุนตรงนั้น เร่งตรงนี้แล้วให้จำค่าหรือมาร์คจุดที่เหมาะสมกับระบบของเราไว้แค่นั้น ทำครั้งเดียวไม่ต้องไปทำใหม่อีกถ้าเราไม่เปลี่ยนระบบใหม่
ที่หน้างานเราก็แค่หมุน ปุ่มต่างๆไปตำแหน่งที่เรากำหนดไว้แค่นั้น แทบไม่แตกต่างกับการ เซทระบบโดยทั่วไป  ไม่เหมือนการปรับปต่ง EQ ที่เราจะต้องไปปรับที่สถานที่จริงเพื่อแก้ Room Acoustic หรือ gain before feedback ที่ stage monitor

จะพูดถึงการ Balance gain ขณะ mix ดนตรีสดอีกสักหน่อย gain ของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้น ตอนปรับหน้างาน ไม่ได้จำเป็นต้องเท่ากับ 0 dBu เช่น กระเดื่อง สแนร์ ก็อาจจะปรับไว้สัก 6 dBu hihat สัก -2 dBu ไมค์ สัก 0ถึง 3 dBu ขึ้นกับหูเราว่าจะกำหนดความดังและ gain ของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นไว้ที่เท่าไร
 เมื่อ gain นิ่งแล้ว เราก็ ปรับ EQ, gate,compressor และ Effect ให้ได้เสียงตามต้องการ ทุกชิิ้นดนตรี จากนั้น balance เสียงโดยรวมที่ channel fader ถ้ามันดังไปก็ลดที่ fader เบาไปก็เพิ่มที่ fader จะไม่ไปแตะ gain อีก เพราะที่ compressor gate เราได้ตั้ง threshole ไว้ให้เหมาะกับ gainตั้งแต่เริ่มต้นแล้วถ้าเราไปปรับใหม่ย่อมการทบกับ ค่าparameter พวก threshole, Attack, release ได้  นอกจากเราต้องการปรับgain และ thresholeใหม่
เมื่อเล่นรวมกันฟังเสียงโดยรวมว่าอันไหนขาดอันไหนเกินbalance ความดังได้ที่ fader ให้อยู่ใน Headroom ไม่ให้ clip ถ้ามีแนวโน้มว่าจะclip ก็ใส่ compressor หรือ limiter ไว้ที่ main output หรือ submix ทำเหมือนเรากำลัง mixdown เพลงเวลาทำ master เพลงในห้องอัด....เอาแค่เรื่องPa mixing balance คร่าวๆก่อนเดียวจะยาว อิอิ loveit

และจากทฤษฎี เรื่องการ balance gain ใน mixer ควรปรับ gain แต่ละ channel ไว้ที่เท่าไรจึงจะไม่ทำให้ สัญญาณจากmain คลิป
หลักการก็มีอยู่ว่า
-Level ของเสียงเวลารวมกัน ไม่ได้เพิ่มขึ้นแบบตรงๆเป็น linear เช่น 1dB+1dB=2dB
-แต่ คำว่า Decibel มันเป็น ค่าของเลข logarithm ตามสูตร
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/09/03/35980_1378229218.jpg)
โดยที่
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/09/03/35980_1378229270.jpg)
ดังนั้นการรวมกันต้องคำนึงถึง เรื่อง logarithmic function และ wave (phase/coherent) ด้วย
จากทฤษฎีการรวมกันของระดับความเข้มเสียงที่ มีลักษณะ incoherent(randome phase เช่น เสียง guitar กับ keyboard)
ถ้าระดับความเข้มเสียงเท่ากันทั้ง 2 ชิ้น ผลรวมจะเพิ่มขึ้นจากเดิม 3 dB เช่น guitar 60 dB SPL keyboard 60 dB SPL ผลรวมจะเท่ากับ 63 dB SPL
ตามสูตร
 Δ L = 10 × log n  ; n = จำนวนแหล่งกำเนิดเสียงที่มีระดับความเข้มเสียงเท่ากัน(incoherent)

(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/09/03/35980_1378233689.jpg)

จากตัวอย่างด้านบน แทนค่าจะได้ 10 log 2 = 10(0.301)=3dB

นำมาประยุกต์ใช้กับ mixer  ถ้าเรา set gain เครื่องดนตรี2ชิ้นไว้แต่channel เท่ากับ 0 dBu จะได้ผลรวมที่ main meter เท่ากับ 3dBu
ถ้า mixer มี 16 ch โดยแต่ละ ch set gain(PFL) โดยเฉลี่ยไว้ที่ 0 dBu จะได้ผลรวมที่ main meter เท่ากับ
10 log16 = 10 log(24)=4(10)log2 = 40(0.301) = 12.04 dBu

ถ้า mixer มี 32 ch ก็จะได้ 15 dBu

ในทางกลับกัน หากเรา ไม่อยากให้ mixer clip เราควรตั้ง gain โดยเฉลี่ย แต่ละ channel ไว้ที่เท่าไร (target gain)
จะมีสูตรคือ  Δ L = -10 × log n  ; n = จำนวนแหล่งกำเนิดเสียงที่มีระดับความเข้มเสียงเท่ากัน(incoherent)

ถ้า mixer เรามี 16 ch จะได้   Δ L = -12 dBu
หมายความว่า ควร set gain โดยเฉลี่ยให้ ต่ำกว่า clip level อยู่ -12 dBu
ถ้า mixer เรามีclip level หรือ headroom +20 dBu เราควร set gain โดยเฉลี่ย (target gain) ไม่ควรเกิน +8 dBu(20-12) เมื่อเราใช้งาน 16 ch พร้อมกัน
แต่ในความเป็นจริง ถ้า set gain ไว้เท่าๆหมด เสียงร้อง (vox mic) คงจะถูกกลบจากเสียงดนตรี
ดังนั้น วิธีแก้คือ จัดไมค์ร้อง ไว้อีก sub group
เช่น ถ้ามีไมค์ 4 ตัว เราสามารถปรับ gain แต่ละตัว (target gain) ได้สูงถึง +14dBu ใน submix นั้น
  Δ L = -10 log4 = -6
ถ้า sub group มี headroom +20dBu จะได้ 20-6= +14dBu

แต่ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเพียงทฤษฎี การปฏิบัติจริงอาจไม่เป็นไปตามนั้น แต่ควรยึดหลักไว้เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ จะได้รู้ว่าควรปรับไม่ควรปรับ gain ไว้ที่เท่าใด ระบบจะไม่clip

อ่านจนจบแล้วก็กลับมาดูรูปเดิม

(http://dc703.4shared.com/img/rSrmaPhz/s7/0.4447044659467023/gain.JPG?async&0.11626463980599433)

จะเข้าใจว่าทำไม gain โดยทั่วไปไม่ควรเกิน +6 dBu
ซึ่งในรูปนี้ mixer มี Headroom +20 dBu
ถ้าเป็น mixerตัวนี้เป็น mixer รุ่นใหญ่ 32ch คำนวนΔ L = -15  นั่นคือ target gain แต่ละ ch คือไม่ควรเกิน +5 dBu(20-15) ถ้าใช้งานทุกช่องพร้อมกัน ซึ่งใกล้เคียงกับรูปที่ให้มา

ที่มาของสูตร http://www.sengpielaudio.com/calculator-leveladding.htm
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: นัฐ ซาวด์ ที่ กันยายน 04, 2013, 06:46:23 am
เอาอีกๆ ความรู้ทั้งนั้น ขอบคุณครับ... smiley4 smiley4
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: อ.ฉัตรชัย 101 ที่ กันยายน 04, 2013, 09:03:34 am
ตอนติดตั้งผมเช็คซาวด์ที่มิกเซอร์ตั้งระความแรงของแต่ละช่องไม่ให้แรงจนพีค smiley4 ส่วนแอมป์ผมเร่งอย่างที่ผมเขียนไว้ไม่สนใจหลักการของใครครับ  เพราะสุดท้ายความแรงทั้งหมดถูกคุมโดยมาสเตอร์ของมิกเซอร์ทุ้มกลางแหลมมิกเซอร์ปรับได้ ถึงแม้จะเร่งแอมป์ไว้เยอะ  ก็ตาม อีคิว ครอส ช่วยปรับแต่งบูส คัทได้ กำลังของเครื่องขยายเสียงก็เป็นส่วนประกอปในการเร่งโวลุ่ม อย่าไปยึดติดมากครับ  สุดท้ายเสียงที่ออกมาจริง ๆ ต้องฟังด้วยหูไม่ใช่เครื่องมือ  หรือฟังจากมอนิเตอร์  อันนี้ส่วนตัวผมนะ smiley4

คริๆๆ  แสดงว่าไม่ได้อ่านที่ผมพิมพ์ไป
ประเด็นคือ เรื่อง Noise (สัญญาณรบกวน) และเรื่อง HeadRoom (มีที่ให้เล่น-ไม่รู้ว่าจะแปลว่ายังไงเหมือนกัน)
ไม่ใช่ประเด็นหู หรือเครื่องมือ หรือแรง/ไม่แรง ดัง/ไม่ดังครับ

ตอนแรก ผมก็เข้าใจผิดเช่นกันว่าเร่งไม่สุดไม่แรง นั่งคิดตามอยู่สองวันจึงตกผลึกความคิด จึงทำความเข้าใจได้ครับ

ส่วนท่านจะปรับเครื่องเสียงท่านยังไง ไม่มีใครว่าอยู่แล้วครับ เพราะเครื่องของท่าน
ประเด็นที่คุยกันคือ ทำไม เพราะอะไร ถกกันด้วยเหตุและผลครับ

 smiley4


ครับเป็นตามนั้น ท่านนั่งคิดอยู่ 2 วัน จึงจะเข้าใจได้ อาจเป็นเพราะผม เรียบเรียงไม่ดีหรือเปล่าครับ 555  smiley4

เนื่องจากผมไม่ได้เรียนมาในสายงานนี้โดยตรง กว่าผมจะตกผลึกความคิดได้ดังนี้ก็ ใช้ เวลาอ่านบทความ ในอินเตอร์เน็ต ไม่ต่ำกว่า 10 บทความ  จึงสามารถนำความรู้ที่ได้มาฝึกปฏิบัติ ใช้เวลาเป็น เดือนๆ-ปีๆ นอกจากนี้ยังต้องมีพื้นฐาน เรื่อง ดนตรี คณิต ฟิสิกส์ เรื่อง เสียง คลื่น และไฟฟ้า มาเกี่ยวข้อง กว่าจะได้ความคิดรวบยอดมาเขียน อาจมีสิ่งใดที่ผมเข้าใจถูกหรือผิด ก็พร้อมรับคำติชมจากทุกท่านเพื่อไปปรับปรุงแก้ไข และได้ความรู้เพิ่มเติมไปในตัว


การให้วิทยาทานนั้น ไม่ได้ให้แล้ว จะได้รับกันง่ายๆ
เบื้องต้น เราต้องเปิดใจรับ มีความสนใจ มีพื้นฐานทางความรู้ ใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรอง จึงจะเข้าใจและนำไปใช้ฝึกปฏิบัติได้ครับ smiley4
[/quote
หมอเขียนได้ดีครับ ความรู้และ หัวใจในการให้เป็นวิทยาทาน มันจะทำให้ความรุ้ การยกระดับ และการพัฒนากว้างขึ้น  โดยเฉพาะถ้าทุกคนรู้จักให้และเปิดใจให้กว้าง
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: vnatham ที่ กันยายน 04, 2013, 10:10:41 am
ควรแยกประเด็นให้ออกระหว่าง
- การปรับแต่งเสียง (EQ)
- การปรับแต่ง Gain ของแต่ละ CH
- การปรับแต่ง Fader ของแต่ละ CH
- การบาลานซ์ Gain ของแต่ละอุปกรณ์

อย่าเอามารวมเป็นเรื่องเดียวกันครับ

จริงๆ กระทู้นี้เริ่มต้นมาจาก "ควรเร่งแอมป์ไว้สุดหรือไม่"
คำตอบคือ "ไม่ควร"
เหตุผลคือ "การบาลานซ์ Gain ของแต่ละอุปกรณ์" ทำไม่ได้ + มี Noise ในระบบเยอะ + ขาด HeadRoom ในการทำงาน

ส่วนที่บอกว่า "ควร"
เหตุผลคือ "การไม่เร่งสุด จะทำให้ได้กำลัง Power ไม่เต็มที่"

ซึ่งจริงๆ ท่านเหล่านั้นเข้าใจผิดคิดว่า "วอลลุ่ม" คืน "คันเร่ง" ของ Power Amp ซึ่งมันไม่ใช่ครับ
และเข้าใจว่า  "ถ้าเราไม่บิดสุด คือ Power ทำงานไม่สุด" ซึ่งมันไม่ใช่เช่นกัน

ถ้าท่านกลับไปดูวงจรแอมป์ ทุกตัว
ท่านจะเห็นว่า Volume นั้น ถูกต่อเข้าก่อนที่สัญญาณจะถูกส่งไปขยายใน ภาค Power
หรือถ้ามองง่ายๆ กว่านั้น มันก็คือ "Input Gain" ของ Power Amp นั่นเองครับ มีไว้สำหรับ ปรับให้ "Gain Input" ของ
Power Amp นั้น เหมาะสมกับระบบของเรา 

หาได้ใช่ "Out put trim" ของ Power Amp ไม่ (ผมยังไม่เห็นวอลลุ่ม ไปต่อตรงสายลำโพง-ภาค output เลยครับ ถ้ามีขออภัย)

ตราบใดก็ตาม ที่เราสามารถเร่งเสียง จน Power Clip ได้ นั่นแสดงว่า Power ทำงานเต็มกำลังแล้วครับ ไม่ว่าเราจะหมุน "วอลลุ่ม" ไว้ตำแหน่งใดก็ตาม (ไม่จำเป็นต้องสุด) แต่ถ้าเราบิดไว้น้อยเกิน เราเร่งเสียงจาก Mix ไปจนสุดแล้ว แต่ Power ยังไม่คลิป
นั่นแสดงว่า เราหมุน "วอลลุ่ม" ไว้น้อยเกิน  อันนี้ Power จะทำงานไม่เต็มกำลัง "จริง" เพราะเราไม่สามารถเร่งจนมันคลิปได้ แสดงว่ายังมี "กำลังเหลืออยู่"

แล้วตำแหน่งใดเหมาะสมกับระบบเรา ที่เราควรหมุน "วอลลุ่ม" ไว้หล่ะ
คำตอบ คือ ให้กลับไปอ่านหน้าที่ 3 ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับเรื่อง "การบาลานซ์ Gain ของแต่ละอุปกรณ์"

แต่ถ้าขี้เกียจอ่าน หลักการง่ายๆ คือ ถ้าเราเร่ง "Mix" ของเราไปจนเกือบคลิปแล้ว อุปกรณ์ทุกอย่างรวมทั้งแอมป์ด้วย ต้องเริ่มคลิปแล้ว  นั่นแปลว่า สัญญาณเรา บาลานซ์ "Gain" ได้แล้ว และ Power Amp เราทำงาน "เต็มกำลัง" แน่นอน เพราะว่าเราสามารถเร่งมันให้คลิปได้!


ไม่ได้เกี่ยวเรื่อง กลอง สแนร์ เรื่อง EQ เลยครับ ควรแยกประเด็นให้ออก

ไม่งั้น "ไปไหนมา สามวาสองศอก"  ครับ!



และหมอยังได้มาต่อยอด  หลักการบาลานซ์ "Gain" ของแต่ละ CH ของ Mix ด้วยครับ
อันนี้ก็สุดยอดเหมือนกัน

ส่วนเทคนิคการบาลานซ์ Gain Input ของแต่ละ CH ผมจะใช้การ balance ทุก CH ไว้แถวๆ 0db ครับ รวมถึงไมค์ร้องด้วย
เพราะมันง่ายในการทำงาน
อ้าว แล้วแบบนี้ เสียง kick / snare ... มันก็เท่ากันหมดหน่ะซิ
ปล่าวครับ ผมใช้ เทคนิคการเลื่อน fader ไม่เท่ากันครับ
fader kick ผมจะอยู่แถว 0db หรือขึ้นไป +3db
fader snare และอื่นๆ ผมจะตั้งไว้แถวๆ -3db ถึง - 5db แล้วแต่ความชอบหรือไม่ชอบ
จากนั้นเวลาลองเสียงหรือเล่นเพลงจริง ก็ค่อยเลื่อนขึ้นลง ตามใจชอบครับ (ขึ้นลงนิดหน่อย)

อ้าว แบบนี้เสียงร้องก็จม เหมือนที่หมอพูดไว้หน่ะซิ ต้องซื้อมิ๊กอีกตัวเหรอ
ปล่าวครับ ผมใช้วิธีจัดกรุ๊ปเอาครับ
- เครื่องดนตรีทุกชนิด โยนเข้า กรุ๊ป 2
- ไมค์คร้องทุกตัวรวมทั้ง effect นอก โยนเข้า กรุ๊ป 1

แล้วค่อยเลื่อน สไลด์ของ Group 1/Group 2 ตามใจชอบ บางครั้งพี่ชายบอกดนตรีดังไป ก็ลด Group 2 ลง
บางครั้งบอกไมค์ร้องดังไป ก็ ลด Group 1 ลง

ส่วน Main Slide (Master) เลื่อนขึ้นลง ตามระดับความเมาครับ  brow


หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: nimit terbo ที่ กันยายน 04, 2013, 11:01:19 am
ขอต่ออีกประเด็น

                 สัญญาณไฟหน้าเพาเวอร์แอมป์ ทั้งรุ่นเก่า รุ่นใหม่ ถ้ามันคลิปมันมาจากสัญญาณขาเข้า หรือขาออก 
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: vnatham ที่ กันยายน 04, 2013, 11:46:39 am
ขอต่ออีกประเด็น

                 สัญญาณไฟหน้าเพาเวอร์แอมป์ ทั้งรุ่นเก่า รุ่นใหม่ ถ้ามันคลิปมันมาจากสัญญาณขาเข้า หรือขาออก 

ผมเดาล้วนๆเลยน๊ะครับพี่นิมิตร เดาว่าเป็น ขาเข้าครับ
เพราะสายสัญญาณต่างๆ ส่วนมากมันต่อตรงสาย Input Signal
และการออกแบบอุปกรณ์ต่างๆให้ทำงาน กับ low voltage (input) มันง่ายกว่า high voltage (output)

ผมไม่เคยประกอบแอมป์เอง แต่ส่วนมากผมไล่วงจรดูมันประมาณนี้

Input Signal --> เข้าวงจร Balance Input/วงจร Bridge --> เข้าวงจร Volumeและพวก VU Meter
--> เข้าวงจรภาค Drive --> เข้าวงจรภาคขาย --> เข้าวงจร Protect --> เข้าพวก Connector ของสายลำโพง

ดังนั้นถ้ามันคลิป น่าจะคลิปที่ภาค Input ครับ.

ปล.แต่เวลาเขาประกอบแอมป์โชว์กัน ช่างทำแอมป์ เหมือนจะวัดสัญญาณคลิปที่ output เลย
อันนี้ถ้าเป็นช่างประกอบแอมป์ น่าจะตอบได้ครับ ว่ามันคลิปที่ไหน !.
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: สุวิทย์ ★★ ที่ กันยายน 04, 2013, 11:54:56 am
ขอต่ออีกประเด็น

                 สัญญาณไฟหน้าเพาเวอร์แอมป์ ทั้งรุ่นเก่า รุ่นใหม่ ถ้ามันคลิปมันมาจากสัญญาณขาเข้า หรือขาออก 
สัญญาณออกครับ ผมไม่มีความรู้เรื่องของวงจรแต่น่าจะใช่เพราะตอนที่เปิดเพลงอยู่ผมลองลดวอลลุ่มที่หน้าpowerดูสัญญาณsignalมันก็ค่อยๆดับลงครับทั้งๆที่ยังมีสัญญาณเข้าอยู่ปรกติ.
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: pphan ที่ กันยายน 04, 2013, 12:10:00 pm
(แน่น แน่น)  smiley4 smiley4 ความรู้ทั้งนั้น  เข้าใจว่า 0 dB นั้นมันใช่สุดท้ายมันไม่ใช่นี่หน่า
ต้องเริ่มทำความเข้าใจใหม่กับระบบแล้วเรา
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: MILDMUSIC ที่ กันยายน 04, 2013, 12:42:01 pm
ขอต่ออีกประเด็น

                 สัญญาณไฟหน้าเพาเวอร์แอมป์ ทั้งรุ่นเก่า รุ่นใหม่ ถ้ามันคลิปมันมาจากสัญญาณขาเข้า หรือขาออก 
สัญญาณออกครับ ผมไม่มีความรู้เรื่องของวงจรแต่น่าจะใช่เพราะตอนที่เปิดเพลงอยู่ผมลองลดวอลลุ่มที่หน้าpowerดูสัญญาณsignalมันก็ค่อยๆดับลงครับทั้งๆที่ยังมีสัญญาณเข้าอยู่ปรกติ.

เอ แล้วสมมุติว่าพี่สุวิทย์ไม่ไปลดวอลลุ่มที่หน้าpower แต่ไปลดวอลลุ่มมาสเตอร์ที่มิกซ์ลง สัญญาณsignal จะค่อยๆลดลงด้วยหรือเปล่าครับ ผมไม่ค่อยสังเกตุมากนัก จะดูอย่างเดียวคืออย่าพีคและอย่าคลิปค้างเป็นใช้ได้ครับ (ผมอ่านบทความของหมอแล้วว่างๆต้องมาฝึกอีกเยอะครับ)
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: thaicomip ที่ กันยายน 04, 2013, 12:44:45 pm
ขอบคุณครับ ครูคนหนึ่งเลยนับถือครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: nimit terbo ที่ กันยายน 04, 2013, 12:47:47 pm
ตามพี่เชษว่าเลย ต้องรื้อชุดความคิดเดิมๆออกบ้าง แล้วเอาข้อมูลที่ได้รับใหม่ไปบรรจุไว้แล้วปฏิบัติ

             คือคงมีหลายๆท่านในเวปนี้ที่เล่นเครื่องมานาน ทั้งมือเก๋า มือเซียน เราก็อยากไปสัมผัสจุดนั้นบ้าง บางครั้งเราอาจจะได้รับคำชมเชยจากกลุ่มคนฟังหรือกลุ่มคนที่เล่นเครื่องตามระแวกบ้าน ว่าปรับเครื่องได้ดี เสียงออกมาดี ทีนี้เราก็จะรู้ตัวเราเองว่า เฮ้ย!! ไอ้ที่มันดีหน่ะมันต้องมีที่มา-ที่ไป มีหลักวิชาการในการอ้างอิง ต้องสามารถอธิบายได้ ถึงไม่ได้บอกใคร บอกกับตัวเราเองก็ยังดี ช่วยกันสร้างคำถาม สร้างประเด็นครับ ความรู้ความเข้าใจจะตามมา
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: MILDMUSIC ที่ กันยายน 04, 2013, 02:29:36 pm
ครับพี่นิมิตร หลายครั้งตั้งเครื่องเสร็จโดยต้องแข่งกับเวลา (คาราฯยกคนเดียว) ซาวด์เช็ค เสียงดนตรีผ่าน  เสียงไมค์ผ่าน ระดับเสียงดังครอบคลุม ไม่หอน ไม่พีค เสร็จก็นั่งคุมเครื่องนั่งจิบ มีเสียงติบ้างคำชมบ้าง ก็เลยเฉยๆ ที่คุณหมอแม็กอุตส่าห์เสียสละเวลามาแชร์ความรู้ให้สมาชิก ผมอ่านถึง 3 รอบ เป็นศาสตร์เป็นขั้นเป็นตอนที่คุณหมอได้อธิบายและพี่วินัยมาบีบคำอธิบายให้กระชับและเข้าใจดียิ่งขึ้น ผมถึงต้องทบทวนความเข้าใจใหม่และมั่นใจว่าถ้าทำได้อย่างนั้น รายละเอียดของเสียงและวิธีปฏิบัติคงจะดีกว่าเก่าที่ทำอยู่แน่นอนครับ ขอขอบคุณอาจารย์ทุกท่านในที่นี้อีกครั้งครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: anurukburanon ที่ กันยายน 04, 2013, 05:30:04 pm
ขอต่ออีกประเด็น

                 สัญญาณไฟหน้าเพาเวอร์แอมป์ ทั้งรุ่นเก่า รุ่นใหม่ ถ้ามันคลิปมันมาจากสัญญาณขาเข้า หรือขาออก 
สัญญาณออกครับ ผมไม่มีความรู้เรื่องของวงจรแต่น่าจะใช่เพราะตอนที่เปิดเพลงอยู่ผมลองลดวอลลุ่มที่หน้าpowerดูสัญญาณsignalมันก็ค่อยๆดับลงครับทั้งๆที่ยังมีสัญญาณเข้าอยู่ปรกติ.


ไปเบาโวลุ่มตัวนั้นก็คือเบาสัญญาณขาเข้าครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างแอ้ด™ ที่ กันยายน 04, 2013, 08:26:13 pm
ขอต่ออีกประเด็น

                 สัญญาณไฟหน้าเพาเวอร์แอมป์ ทั้งรุ่นเก่า รุ่นใหม่ ถ้ามันคลิปมันมาจากสัญญาณขาเข้า หรือขาออก 

ผมเดาล้วนๆเลยน๊ะครับพี่นิมิตร เดาว่าเป็น ขาเข้าครับ
เพราะสายสัญญาณต่างๆ ส่วนมากมันต่อตรงสาย Input Signal
และการออกแบบอุปกรณ์ต่างๆให้ทำงาน กับ low voltage (input) มันง่ายกว่า high voltage (output)

ผมไม่เคยประกอบแอมป์เอง แต่ส่วนมากผมไล่วงจรดูมันประมาณนี้

Input Signal --> เข้าวงจร Balance Input/วงจร Bridge --> เข้าวงจร Volumeและพวก VU Meter
--> เข้าวงจรภาค Drive --> เข้าวงจรภาคขาย --> เข้าวงจร Protect --> เข้าพวก Connector ของสายลำโพง

ดังนั้นถ้ามันคลิป น่าจะคลิปที่ภาค Input ครับ.

ปล.แต่เวลาเขาประกอบแอมป์โชว์กัน ช่างทำแอมป์ เหมือนจะวัดสัญญาณคลิปที่ output เลย
อันนี้ถ้าเป็นช่างประกอบแอมป์ น่าจะตอบได้ครับ ว่ามันคลิปที่ไหน !.

พอดีผมไม้ใช่ช่างประกอบแอมป์ แต่พอจะบอกได้เท่ที่รู้ครับ  sinister

คือแอมป์พื้นๆ จะทำหน้าที่ขยายรูปสัญญาณไฟฟ้าจากลูกเล็กๆให้เป็นร่างใหญ่ๆ เหมือนซูมภาพถ่าย
ถ้าอินพุทไม่ใช่การโอเวอร์เกนของระบบ แต่รูปสัญญาณเข้าคลิปมา แอมป์ก็จะขยายสัญญาณที่เป็นรูปคลื่นหัวตัด
นั้นไปออกสู่ลำโพง ทั้งๆที่ระดับการขยายขีดความสามารถแอมป์ยังไม่สุด  ดังครับแต่ดังเพี๊ยนๆพร่าแหบ เนื่องจากเกิดความถี่ฮาร์โมนิคอื่นเพิ่มในสัญญาณจริงที่ตรงจุดรูปหัวตัดคลื่นสัญญาณ  ปัญหานี่จะเกิดขึ้นเช่นตัวอย่าง     เมื่อภาคเอาท์พุทของบอร์ดหรือ พวกครอสที่ไดรฟ์เอาพุทได้สูงสุด 0dbv (*หรือปรับไม่ถูกหลัก)  แล้วคุณปรับอินพุทเซนส์ (Sensitivity) ของเพาเวอร์แอมป์ไว้สูงเกิน 0dbv ..เช่น 1.2v ~1.5v  ...
 ...เร่งเกนหน้าเครื่องหมดแอมป์ก็ขยายไม่สุดอยู่ดีครับ

..ส่วนคำถามเรื่องสัญญาณไฟหน้าเครื่องขยาย   แล้วแต่ออกแบบวงจร ไม่แน่นอน
บางตัวก็มั่วเอา ต้องสังเกตเสียงที่แปร่งๆเอาเอง แอมป์บางตัวโชว์ Peakที่ 0db ก็จริงแต่มีคาบเฮดรูม +3db
ส่วนมากพื้นๆจะวัดจากเอาท์พุทเทียบกับแรงดันไฟฟ้าจุดที่สูงสุดที่จ่ายให้วงจร ถ้าเท่ากันก็คือ Peak
 บางยี่ห้อ ที่ออกแบบมาลงตัวอาจจะตรวจจับที่ส่วนภาคหน้าของวงจรขยาย (ดิฟเฟอเรนเชียล,Diff)มาแสดงผล
หรือ บางตัวที่มากกว่านี้จะใช้การตรวจจับเพื่อเปรียบเทียบรูปสัญญาณเข้าออก (AND)นำผลมาแสดงผล
 IOC* ( Input Output Comparator) ,*Crown
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: สุวิทย์ ★★ ที่ กันยายน 05, 2013, 12:03:59 am
ขอต่ออีกประเด็น

                 สัญญาณไฟหน้าเพาเวอร์แอมป์ ทั้งรุ่นเก่า รุ่นใหม่ ถ้ามันคลิปมันมาจากสัญญาณขาเข้า หรือขาออก 

ผมเดาล้วนๆเลยน๊ะครับพี่นิมิตร เดาว่าเป็น ขาเข้าครับ
เพราะสายสัญญาณต่างๆ ส่วนมากมันต่อตรงสาย Input Signal
และการออกแบบอุปกรณ์ต่างๆให้ทำงาน กับ low voltage (input) มันง่ายกว่า high voltage (output)

ผมไม่เคยประกอบแอมป์เอง แต่ส่วนมากผมไล่วงจรดูมันประมาณนี้

Input Signal --> เข้าวงจร Balance Input/วงจร Bridge --> เข้าวงจร Volumeและพวก VU Meter
--> เข้าวงจรภาค Drive --> เข้าวงจรภาคขาย --> เข้าวงจร Protect --> เข้าพวก Connector ของสายลำโพง

ดังนั้นถ้ามันคลิป น่าจะคลิปที่ภาค Input ครับ.

ปล.แต่เวลาเขาประกอบแอมป์โชว์กัน ช่างทำแอมป์ เหมือนจะวัดสัญญาณคลิปที่ output เลย
อันนี้ถ้าเป็นช่างประกอบแอมป์ น่าจะตอบได้ครับ ว่ามันคลิปที่ไหน !.

พอดีผมไม้ใช่ช่างประกอบแอมป์ แต่พอจะบอกได้เท่ที่รู้ครับ  sinister

คือแอมป์พื้นๆ จะทำหน้าที่ขยายรูปสัญญาณไฟฟ้าจากลูกเล็กๆให้เป็นร่างใหญ่ๆ เหมือนซูมภาพถ่าย
ถ้าอินพุทไม่ใช่การโอเวอร์เกนของระบบ แต่รูปสัญญาณเข้าคลิปมา แอมป์ก็จะขยายสัญญาณที่เป็นรูปคลื่นหัวตัด
นั้นไปออกสู่ลำโพง ทั้งๆที่ระดับการขยายขีดความสามารถแอมป์ยังไม่สุด  ดังครับแต่ดังเพี๊ยนๆพร่าแหบ เนื่องจากเกิดความถี่ฮาร์โมนิคอื่นเพิ่มในสัญญาณจริงที่ตรงจุดรูปหัวตัดคลื่นสัญญาณ  ปัญหานี่จะเกิดขึ้นเช่นตัวอย่าง     เมื่อภาคเอาท์พุทของบอร์ดหรือ พวกครอสที่ไดรฟ์เอาพุทได้สูงสุด 0dbv (*หรือปรับไม่ถูกหลัก)  แล้วคุณปรับอินพุทเซนส์ (Sensitivity) ของเพาเวอร์แอมป์ไว้สูงเกิน 0dbv ..เช่น 1.2v ~1.5v  ...
 ...เร่งเกนหน้าเครื่องหมดแอมป์ก็ขยายไม่สุดอยู่ดีครับ

..ส่วนคำถามเรื่องสัญญาณไฟหน้าเครื่องขยาย   แล้วแต่ออกแบบวงจร ไม่แน่นอน
บางตัวก็มั่วเอา ต้องสังเกตเสียงที่แปร่งๆเอาเอง แอมป์บางตัวโชว์ Peakที่ 0db ก็จริงแต่มีคาบเฮดรูม +3db
ส่วนมากพื้นๆจะวัดจากเอาท์พุทเทียบกับแรงดันไฟฟ้าจุดที่สูงสุดที่จ่ายให้วงจร ถ้าเท่ากันก็คือ Peak
 บางยี่ห้อ ที่ออกแบบมาลงตัวอาจจะตรวจจับที่ส่วนภาคหน้าของวงจรขยาย (ดิฟเฟอเรนเชียล,Diff)มาแสดงผล
หรือ บางตัวที่มากกว่านี้จะใช้การตรวจจับเพื่อเปรียบเทียบรูปสัญญาณเข้าออก (AND)นำผลมาแสดงผล
 IOC* ( Input Output Comparator) ,*Crown

นี่ขนาดไม่ใช่ช่างประกอบแอมป์นะครับให้ความรู้ผมซะกระจ่างเลย ขอบคุณมากๆครับจะได้กระจ่างซะที
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: สุวิทย์ ★★ ที่ กันยายน 05, 2013, 12:16:44 am
ขอต่ออีกประเด็น

                 สัญญาณไฟหน้าเพาเวอร์แอมป์ ทั้งรุ่นเก่า รุ่นใหม่ ถ้ามันคลิปมันมาจากสัญญาณขาเข้า หรือขาออก 
สัญญาณออกครับ ผมไม่มีความรู้เรื่องของวงจรแต่น่าจะใช่เพราะตอนที่เปิดเพลงอยู่ผมลองลดวอลลุ่มที่หน้าpowerดูสัญญาณsignalมันก็ค่อยๆดับลงครับทั้งๆที่ยังมีสัญญาณเข้าอยู่ปรกติ.


ไปเบาโวลุ่มตัวนั้นก็คือเบาสัญญาณขาเข้าครับ
555ผมเปิดดูและโทรถามคนผลิตแล้วครับPower NR sound ใช้สัญญาณตรงภาคเอ้าพุทเลยครับ เขาต่อตรงขั้ว+จุดที่จะต่อสายไปเข้าลำโพงมันจะมีrมากั้นก่อนที่จะส่งไปยังชุดไฟบอกสถานะของเครื่องทางด้านหน้าครับผม แต่ที่น้องว่ามามันก็มีเหตุผลนะครับผมคงไปลดเกนอินพุทของpowerแต่ยังไงก็ใช้ไปเหอะครับช่างคนที่ผลิตจะทำมาอย่างไรก็ใช้งานอย่าให้เสียงที่ออกมามันพล่ามันแตกก็OK เก็บเงินเจ้าภาพกลับบ้านได้อย่างสบายใจแล้วล่ะครับผม.
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: anurukburanon ที่ กันยายน 05, 2013, 12:35:35 am
สุดยอดครับ ลงทุนโทรไปถามช่างณรงค์เลย  แถวบ้านผมก็มีเจ้าหนึ่งใช้อยู่ทั้งระบบเลยครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: nimit terbo ที่ กันยายน 06, 2013, 02:14:19 pm
เมื่อคืนลงงานใกล้ๆบ้าน เลยลองเสียเลย ไม่เสียหายอะไรนี่จริงมั๊ย?? ก็แค่รื้อความคิดเดิมๆออกแล้วลองความรู้ที่ได้มาใหม่ ตามความเข้าใจ ตามสติปัญญาที่เรามี จะลองหาค่าเฮดรูมดู ผมเข้าใจว่าค่าเฮดรูมคืออัตราเร่งที่เรายังสามารถเร่งขึ้นไปได้อีก โดยเสียงที่ได้ไม่แตกพร่า ใช่หรือไม่?? วานผู้รู้มาให้ความกระจ่างด้วยครับ

อันดับแรก หลังจากเปิดระบบทั้งหมดเรียบร้อย เดินไปเปิดวอลลุ่มหน้าเพาเวอร์แอมป์แค่ครึ่งหนึ่ง จากเดิมที่เคยบิดสุด
นี่เพาเวอร์ขับเสียงกลาง MUSIC CA1000 ใช้ขับดอก 12"ข้างละ 4 ดอก
(http://image.free.in.th/v/2013/ie/130906012917.jpg) (http://pic.free.in.th/id/1a6c307e0a4a87c10149d23ac9c4fefa)
ภาพที่ลงคือหลังจากที่เซ็ตระบบแล้วลองบิดเพิ่มที่ตำแหน่ง 14 น.

เพาเวอร์แอมป์ขับโลว์ จากที่เคยบิดสุด ลองทิ้งไว้ตามภาพ
(http://image.free.in.th/v/2013/iu/130906013342.jpg) (http://pic.free.in.th/id/6655edd02d448b768d14fedaa9117ea3)
ใช้ขับดอก 21" ในตู้ออร์เดอร์6 ข้างละ 3 ดอก อ้อ!ลืมถ่าย แหลมก็ใช้ Music CA600 ขับ

บนหน้าบอร์ดมิกซ์ยังคงใช้การจัดการเกนท์ บาล้านซ์ซาวด์เท่าๆเดิม คือดันสไลด์มาสเตอร์ไปที่ 0dB ปล่อยสัญญาณจาก CD เข้าช่อง โมโน 2 ช่องซึ่งแพน ซ้าย ขวา ไว้ ยังไม่ดันสไลด์ในช่องนั้นขึ้น ลองกดเช็คความแรงสัญญาณ แล้วบิดปุ่มเกนท์จนสัญญาณขาเข้าไปที่ 0 dB หลังจากนั้นส่งสัญญาณไปออกที่มาสเตอร์ โดยดันสไลด์ในช่องไปที่ 0 dB เช่นกัน ผลที่ได้ โอ้โฮ !!! มีแต่เสียงเบสครับ กลางบาง แหลมแผ่ว เหมือนจวนจะสิ้นใจ มึนงงเลย ทีมงานพากันเดินมามองหน้า วันนี้พี่เขาทำอะไรฟ๊ะ??? อีกแล้ว ลองโน่นลองนี่อีกแล้ว @!$%##^**^$
พบแล้วครับ ครอสครับ ไปดูกัน
(http://image.free.in.th/v/2013/ir/130906015055.jpg) (http://pic.free.in.th/id/b15e19d63683ab163e6ece62a58881de)
จากเมื่อก่อนเราเปิดวอลลุ่มที่เพาเวอร์สุดทุกตัว output ที่ครอสก็เปิดดังนี้ โลว์ บ่าย2-3  กลางเที่ยง แหลมเที่ยง
หลังจากที่ไปลดวอลลุ่มเพาเวอร์จากเปิดสุดเหลือเที่ยง แล้วไม่ได้ขยับ output ที่ครอส (ตามภาพ) เสียงกลางและแหลมเลยจาง บาง เบา อย่างที่บอก หลังจากจัดการขยับ output จากครอสไปที่ 0 dB ทุกย่านแล้วเสียงที่ได้ก็โอเคเหมือนเดิม หลังจากลองฟังหลายๆเพลง หลายๆสไตล์ ก็เดินไปเร่งที่เพาเวอร์จนได้ตามรูปที่แนบมาข้างบน

หน้าบอร์ดมิกซ์ครับ
(http://image.free.in.th/v/2013/ic/130906013535.jpg) (http://pic.free.in.th/id/ef7c9af630505a20b82817c2e44e0de3)
(http://image.free.in.th/v/2013/if/130906020152.jpg) (http://pic.free.in.th/id/123cce75cc34293b75789172d89fc464)
กรุ๊ป 1-2 เสียงดนตรี กรุ๊ป 3-4 เสียงร้อง แล้วโยนออกมาสเตอร์

อีคิวครับ
(http://image.free.in.th/v/2013/ik/130906020434.jpg) (http://pic.free.in.th/id/7f95ee30c8fba9bef7e9cff105e8525a)
สัญญาณ output จากอีคิวขึ้น 2 เม็ด ลองเร่งเกนท์เลยจุด 0dB ได้อีกเล็กน้อย

              สรุปผลที่ได้แตกต่างจากที่เคยทำแบบครั้งเก่าๆดังนี้ ในความดังที่เท่าๆกันเวลาเล่น (จากหูผมน่ะ)
ผมลองดันสไลด์มาสเตอร์ที่มิกซ์ขึ้นไปที่ +10 dB เสียงที่ได้ก็แรงขึ้นและก็ยังคงฟังได้เหมือนเดิม ไม่แตกพร่าแต่อย่างใด หรือลองดันสไลด์ของกรุ๊ป 1-2 และ 3-4 ขึ้นไป (โดยสไลด์มาสเตอร์อยู่ 0dB) เสียงก็แรงขึ้น ไม่เพี้ยนแต่ประการใด หรือลองดันสไลด์ในช่องลายน์ขึ้นจนสุดเช่นลายน์กีต้าร์เวลานักดนตรีโซโล่ ก็ได้ความแรงปรึ๊ดขึ้นมาเลย ไม่ผิดเพี้ยนแต่ประการใด  จากที่เมื่อก่อนขยับเร่งอันไหน ซาวด์มันจะโด่ ล้นออกมาอย่างชัดเจน ไม่เนียนเหมือนครั้งนี้ แต่ก็อย่างว่า เพิ่งลองสนามแรก ยังคงสรุปอะไรไม่ได้ชัดเจนนัก อ่านดูเล่นๆน่ะครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: vnatham ที่ กันยายน 06, 2013, 03:00:06 pm
เมื่อคืนลงงานใกล้ๆบ้าน เลยลองเสียเลย ไม่เสียหายอะไรนี่จริงมั๊ย?? ก็แค่รื้อความคิดเดิมๆออกแล้วลองความรู้ที่ได้มาใหม่ ตามความเข้าใจ ตามสติปัญญาที่เรามี จะลองหาค่าเฮดรูมดู

ผมเข้าใจว่าค่าเฮดรูมคืออัตราเร่งที่เรายังสามารถเร่งขึ้นไปได้อีก โดยเสียงที่ได้ไม่แตกพร่า ใช่หรือไม่?? วานผู้รู้มาให้ความกระจ่างด้วยครับ

ขยายความเพิ่มดังนี้ครับ HeadRoom คือค่าที่เราสามารถเร่งเพิ่มขึ้นไปจาก 0 db โดยที่ระบบยังไม่คลิปครับ
ยกตัวอย่างตามที่พี่บอกคือ พี่เร่งจาก 0db ไปที่ +10 db แล้วอุปกรณ์ทุกตัวยังไม่คลิป
แปลว่าพี่มี Headroom 10db ครับ

จริงๆพี่น่าจะลอง บาลานซ์เกนทุกอุปกรณ์ก่อน ตามที่หมอบอก คือไม่ต้องต่อสายลำโพงครับ
แล้วเร่ง Slide Master ของ Mix ไปจนไฟคลิป แล้วไปหมุนเกนที่อุปกรณ์ไล่ไปตามสัญญาณคือ
-EQ เร่ง Gain จนเริ่มคลิป
-Cross เร่ง Gain จนเริ่มคลิป
  แล้วปรับค่าย่านความถี่ ตามที่หมอแนะนำคือ
   low mid high ตามลำดับคือ +7.2dBu,+3.3dBu และ +4.6dBu
 
-Volume Amp เร่งจนเริ่มคลิป ทุกตัว

แล้วลดสไลด์ลง ค่อยต่อสายลำโพง แล้วลองเปิดเพลง แล้วค่อยไปปรับแต่ง Cross low,mid, hi อีกนิดหน่อย
แล้วลองเล่นเพลงใส่ แล้วเร่งสไลด์ mix master ขึ้นไปจน 0db ฟังเสียง
แล้วลองเร่ง mix master จนไฟ VU mix ขึ้นไปอย่างที่พี่ลองหน่ะครับว่าเสียงเป็นไง

*** เพราะพี่บิด Amp ลงครึ่งนึง แอมป์อาจจะยังมีกำลังเหลืออยู่ก็ได้ครับ เพราะเราไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วแอมป์เมื่อ match ระบบของพี่แล้ว Volume ณ.ตำแหน่งไหน เร่งได้แรงสุดกำลังแอมป์พอดี


หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: MILDMUSIC ที่ กันยายน 06, 2013, 03:40:39 pm
โอ้ พี่นิมิตรลงสนามเอาจริงเลยครับ ค่อยๆทำไปผมว่าเมื่อไหร่บาล๊านซ์ได้ทั้งระบบอย่างที่หมอบอก เสียงคงได้เต็มทุกเม็ด แถมยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์เครื่องเสียงทั้งชุดและก็ยืดอายุซาวด์แมนด้วย (เพราะระบบลงตัว เสียงออกมาดี คนคุมก็มีความสุขทำให้อายุยืนไปอีกเย๊อะ...)
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: nimit terbo ที่ กันยายน 06, 2013, 05:09:33 pm
ครับพี่วินัย งวดหน้าจะลองอย่างละเอียดอีกครั้ง และคงต้องจดรายละเอียดบางอย่างไปทำที่หน้างานด้วย และวันนี้ก็นั่งอ่านรายละเอียดต่างๆในเวปอีกหลายเที่ยว เพื่อสอบความเข้าใจของตนเอง กับสิ่งที่ทำกับระบบเมื่อคืน

พี่เชษลองเมื่อไหร่มาบอกกันบ้างเด้อ แลกเปลี่ยนกัน
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: sam_aj ที่ กันยายน 06, 2013, 05:13:44 pm
อ่านแล้วได้ความรู้เพิ่มเติมดีครับ

จะเปิดวอลลุ่มแอมป์สุด หรือ ไม่สุด ก็คงต้องดูที่อุปกรณ์ในระบบทั้งหมดว่าเป็นเช่นไร?   แต่ไม่ว่าจะเปิดสุดหรือไม่ ค่าเฮดรูมของแอมป์ก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นจากจุดที่แอมป์ทำงานถึงจุดสูงสุดแต่อย่างใด  เฮดรูมที่เพิ่มเป็นเฮดรูมของระบบ ไม่ใช่ของแอมป์  ซึ่งถ้าต้องการเฮดรูมของระบบเทียบกับการทำงานของแอมป์ ก็แนะนำว่าหาแอมป์ที่สามารถปรับ Sensitivity แบบ dB ได้  จะตรงประเด็นกว่าการปรับลดวอลลุ่มหน้าแอมป์ (ตรงนี้เป็นความเข้าใจส่วนตัวของผมเอง)  

แต่การลดวอลลุ่มแอมป์เยอะ ๆ เช่นเปิดแค่เที่ยง หรือ บ่ายโมง เพียงเพราะฟังเขาพูดกันมาว่าจะทำให้ดอกลำโพงไม่ขาดนั้น โดยไม่รู้ว่าอุปกรณ์ในระบบของตัวเองเป็นเช่นไรมีผลเสียมากกว่า การเปิดวอลลุ่มจนสุด ค่อนข้างแน่นอน

อีกอย่าง Mixer ที่กลุ่มรากหญ้าใช้ส่วนใหญ่ ก็มักจะใช้กันแค่ Sub Mixer   ซึ่งมักจะมีเฮดรูมไม่ได้สูงมากมายอะไร คงต้องคำนึงถึงในส่วนนี้ในการทำความเข้าใจกันด้วยครับ

 smiley4

 
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: nimit terbo ที่ กันยายน 06, 2013, 05:47:26 pm
ขอบคุณครับเฮีย ที่เข้ามาประคับประคอง คอยให้ความรู้ครับ เบื้องต้นที่ต้องรู้ก็คือ รู้จักเครื่องตัวเอง ตามที่เฮียบอก
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: Man. United ที่ กันยายน 06, 2013, 05:49:35 pm


ส่วนตัวผมคิดว่ามิกเซอร์และเครื่องปรุงต่างๆ เหมือนปั๊มน้ำครับ มีแรงดัน ส่งออกไป

สายสัญญาณก็เหมือน ท่อน้ำ โล่งๆ ไม่รั่ว ไม่อุดตัน เปรียบเสมือน สายสัญญาณคุณภาพดี ไม่จี่ไม่ฮัม

วอลลุ่มเพาเวอร์แอมป์ก็เหมือน ก๊อกน้ำ เปิดมากน้ำไหลมาก เปิดน้อยน้ำไหลน้อย

    ขณะที่ปั๊มทำงานและส่งน้ำมาเต็มที่ แต่ท่านดันเปิดก๊อกน้ำแค่ครึ่งเดียว น้ำที่ไหลมาจำนวนมาก

ก็คงดันๆกันอยู่ในนั้น รอที่จะออก ปั๊มมันคงจะอึดอัดเต็มที แต่ถ้าเปิดสุด น้ำก็จะวิ่งได้เต็มที่สบายๆ ไม่ติดขัด

ปล.ความคิดส่วนตัวนะครับ ผิดถูกไม่รู้ เชิญท่านอื่นต่อครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: nop_suphan ที่ กันยายน 06, 2013, 06:04:05 pm
อูยยยยยยยส์

ถ้ารู้ว่าคิดจะเล่นเครื่องเสียงทั้งที  ต้องคิดโน่นคิดนี้มากมายผมเลิกไปตั้งแต่ต้นแล้ว

ไม่น่าหลวมตัวมาถึงขั้นนี้เล้ยยยยย  พับเผื่อยเถอะพระคุณเจ้า  ปวดหมองแท้  brow brow
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: Man. United ที่ กันยายน 06, 2013, 06:17:01 pm


ต่ออีกนิดครับ เคยเห็นวงแถวบ้านใช้ s1200 ขับตู้ w ดอก imf 18 นิ้วข้างละ 3 แบบขนาน

เร่งวอลลุ่ม บ่ายโมงนิดๆ เปิดแข่งบอสเทค 2400rms ที่ใช้ 2242 ข้างละ 3 เท่ากันได้แบบน่ามึนมาก

ผมถามเขาว่าทำไมไม่เร่งวอลลุ่มให้สุด เขาบอกว่ามันแรงเกิน เร่งสุดเสียงแตก ฮ่าๆก่อว่ากันไป

(หลายท่านที่เคยใช้ s1200 คงจะรู้ดีว่ามันแมทช์กับดอกโครงปั๊ม)

     สรุปแล้ว ผมก็งงเหมือนกัน ว่าแบบไหนจะดีกว่ากัน แต่ที่ใช้มาตลอดคือเร่งสุดครับ ไม่เคยคิดถึงจุดนี้เลย

สิ่งที่ผมคิดว่ามันมีประโยชน์ของวอลลุ่มก็คือ เอาไว้หรี่เวลาจะปิดแอมป์ เพื่อไม่ให้มันดัง ตุ๊บ ที่ลำโพงครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: max_medkku ที่ กันยายน 06, 2013, 06:23:40 pm
เอามาฝากครับ  noise ชนิดต่างๆ และ wave form ต่างๆ สำหรับ test ระบบ สำหรับท่านที่ไม่มี signal generator

http://www.wavtones.com/functiongenerator.php
http://www.audiocheck.net/testtones_highdefinitionaudio.php


-EQ เร่ง Gain จนเริ่มคลิป
-Cross เร่ง Gain จนเริ่มคลิป
  แล้วปรับค่าย่านความถี่ ตามที่หมอแนะนำคือ
   low mid high ตามลำดับคือ +7.2dBu,+3.3dBu และ +4.6dBu



สำหรับค่า gain ที่ว่านี้ เป็นค่าเฉพาะ สำหรับ การตัด cross over ที่ 40-120Hz,120-2kHz และ 2kHz-16kHz เท่านั้นครับ ตามที่ยกตัวอย่าง
ถ้าตัดไม่เหมือน ก็ต้องคำนวนใหม่ ตามที่ผมได้นำเสนอไปในหน้า 3
แต่ถ้าคำนวนไม่เป็นก็ โพสจุดตัดcross over ของท่านให้ผมคำนวนก็ได้ครับ จะเล่น 2 ทาง 3 ทางหรือ 4 ทางก็ใช้หลักการเดียวกันครับ

สำหรับ Analog x-over อาจไม่มี scale ที่ละเอียด
แค่หมุนoutput แต่ละ band ให้clip ที่ ไฟ LED ของ x-over ก็พอครับ
แล้วค่อยๆเร่งvolume amp จนclip เช่นกัน

เมื่อเรา set เรียบร้อย เปิดเพลงฟัง ถ้าเสียงไหนดังโด่งขั้นมา ก็ลดที่ cross over output เอาครับ แต่ volume amp ไม่ต้องปรับอีก
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: dada... ที่ กันยายน 06, 2013, 06:33:17 pm
ผมว่า มันอยู่ที่เครื่องแต่ละค่ายมากกว่า
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: sam_aj ที่ กันยายน 06, 2013, 06:35:55 pm


ต่ออีกนิดครับ เคยเห็นวงแถวบ้านใช้ s1200 ขับตู้ w ดอก imf 18 นิ้วข้างละ 3 แบบขนาน

เร่งวอลลุ่ม บ่ายโมงนิดๆ เปิดแข่งบอสเทค 2400rms ที่ใช้ 2242 ข้างละ 3 เท่ากันได้แบบน่ามึนมาก

ผมถามเขาว่าทำไมไม่เร่งวอลลุ่มให้สุด เขาบอกว่ามันแรงเกิน เร่งสุดเสียงแตก ฮ่าๆก่อว่ากันไป

(หลายท่านที่เคยใช้ s1200 คงจะรู้ดีว่ามันแมทช์กับดอกโครงปั๊ม)

     สรุปแล้ว ผมก็งงเหมือนกัน ว่าแบบไหนจะดีกว่ากัน แต่ที่ใช้มาตลอดคือเร่งสุดครับ ไม่เคยคิดถึงจุดนี้เลย

สิ่งที่ผมคิดว่ามันมีประโยชน์ของวอลลุ่มก็คือ เอาไว้หรี่เวลาจะปิดแอมป์ เพื่อไม่ให้มันดัง ตุ๊บ ที่ลำโพงครับ

คงต้องดูสเปคของพาวเวอร์แอมป์ประกอบด้วยครับ (ในกรณีที่แจ้งสเปคไม่เป็นไปตามการทำงานจริง ก็จะลำบากสำหรับผู้ใช้งาน)

Sensitivity ของ S1200 ต่ำกว่า 0.775v เยอะมาก  ปล่อยสัญญาณไม่เท่าไหร่ แอมป์ก็ทำงานถึงจุดคลิปสัญญาณ  แต่ไฟ VU ขึ้นแค่เม็ด สอง เม็ด (หากท่านมี ออสิเลทสโคป ก็สามารถจับการทำงานของแอมป์เทียบกับ VU หน้าเครื่องได้)   การลดวอลลุ่มหน้าแอมป์ของ S1200 จึงเป็นการปรับ Sensitivity ของแอมป์ให้สูงขึ้นครับ  แต่ไม่ใช่เอามาเป็นกฎเกณฑ์ในการปรับใช้กับแอมป์รุ่นอื่น ๆ  ว่าจะต้องเหมือนกัน

 smileyy
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: sam_aj ที่ กันยายน 06, 2013, 07:01:34 pm


แต่ก่อนผมมีปัญหาเรื่องการปรับ gain ซึ่งเคยปรับแบบที่ บางท่านส่วนใหญ่ปรับกัน คือปรับ volume amplifier ให้สุด เพื่อที่จะให้ ได้ gain น้อยๆ ไมค์จะได้ไม่หอน อันนี้ผมลองแล้วก็ยังหอนเหมือนเดิมครับ

ถ้า gain น้อย ทำอะไรก็ไม่ถนัด เช่น sent monitor Aux gain ก็จะน้อยตามด้วย ถ้า monitor amp ไม่แรง เร่งAuxจนสุด ก็ไม่ดังครับ แถมยังหอนซ้ำอีก ทีนี้ก็ไปกด EQ ลง ยิ่งไม่เหลือ gain นักร้อง-นักดนตรี ก็ไม่ได้ยินอีก ทุกท่านเคยประสบเหล่าปัญหานี้ไหมครับ

    



เป็นเพราะว่าแอมป์ของชุดมอนิเตอร์ เป็นคนละรุ่นกับ แอมป์ พี เอ (แถมกำลังน้อยเกินไป)  เมื่อท่านปรับ Gain ของชาแนลให้เหมาะสมกับ แอมป์ พี เอ แต่มันไม่ได้เหมาะกับ แอมป์ขับมอนิเตอร์ จึงทำให้เสียงมอนิเตอร์เบาเกินไป และเมื่อปรับให้มอนิเตอร์ดังขึ้น ก็เลยเกิดอาการ ฟีดแบคของไมค์  หากท่านเปลี่ยนมาใช้แอมป์ขับมอนิเตอร์ให้เป็นรุ่นเดียวกับแอมป์ พี เอ  ปัญหานี้ไม่น่าจะเกิดครับ  เพราะที่ไมค์ ฟีดแบค ไม่ได้ ฟีดแบคจากตู้ พี เอ  แต่มันฟีดแบค จากตู้มอนิเตอร์ตะหากครับ

ดังนั้นในระบบใหญ่ ๆ จึงจำเป็นต้องมี Mixer สองชุด คือ มิกซ์มอนิเตอร์ กับ มิกซ์พี เอ แยกการทำงานจากกันเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าว เพราะการ balance gain ของชุด พี เอ กับ มอนิเตอร์ ที่ใช้แอมป์และตู้ต่างชนิดกัน ทำงานได้ยากครับ

 smileyy
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: max_medkku ที่ กันยายน 06, 2013, 07:10:49 pm


แต่ก่อนผมมีปัญหาเรื่องการปรับ gain ซึ่งเคยปรับแบบที่ บางท่านส่วนใหญ่ปรับกัน คือปรับ volume amplifier ให้สุด เพื่อที่จะให้ ได้ gain น้อยๆ ไมค์จะได้ไม่หอน อันนี้ผมลองแล้วก็ยังหอนเหมือนเดิมครับ

ถ้า gain น้อย ทำอะไรก็ไม่ถนัด เช่น sent monitor Aux gain ก็จะน้อยตามด้วย ถ้า monitor amp ไม่แรง เร่งAuxจนสุด ก็ไม่ดังครับ แถมยังหอนซ้ำอีก ทีนี้ก็ไปกด EQ ลง ยิ่งไม่เหลือ gain นักร้อง-นักดนตรี ก็ไม่ได้ยินอีก ทุกท่านเคยประสบเหล่าปัญหานี้ไหมครับ

    



เป็นเพราะว่าแอมป์ของชุดมอนิเตอร์ เป็นคนละรุ่นกับ แอมป์ พี เอ (แถมกำลังน้อยเกินไป)  เมื่อท่านปรับ Gain ของชาแนลให้เหมาะสมกับ แอมป์ พี เอ แต่มันไม่ได้เหมาะกับ แอมป์ขับมอนิเตอร์ จึงทำให้เสียงมอนิเตอร์เบาเกินไป และเมื่อปรับให้มอนิเตอร์ดังขึ้น ก็เลยเกิดอาการ ฟีดแบคของไมค์  หากท่านเปลี่ยนมาใช้แอมป์ขับมอนิเตอร์ให้เป็นรุ่นเดียวกับแอมป์ พี เอ  ปัญหานี้ไม่น่าจะเกิดครับ  เพราะที่ไมค์ ฟีดแบค ไม่ได้ ฟีดแบคจากตู้ พี เอ  แต่มันฟีดแบค จากตู้มอนิเตอร์ตะหากครับ

ดังนั้นในระบบใหญ่ ๆ จึงจำเป็นต้องมี Mixer สองชุด คือ มิกซ์มอนิเตอร์ กับ มิกซ์พี เอ แยกการทำงานจากกันเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าว เพราะการ balance gain ของชุด พี เอ กับ มอนิเตอร์ ที่ใช้แอมป์และตู้ต่างชนิดกัน ทำงานได้ยากครับ

 smileyy

ขอบคุณมากครับเฮีย  สำหรับคำแนะนำ มันเป็นอย่างนั้นจริงๆครับ แต่ติดที่ทุนทรัพย์ไว้มีโอกาส ค่อยขยับขยายครับ
สมัยก่อนผมก็ลองผิดลองถูกเหมือนหลายๆท่านในที่นี้ จึงพยายามค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม ทั้งในและนอกประเทศ smiley4
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: ปาย1095 มิวสิค ที่ กันยายน 06, 2013, 07:26:37 pm


ต่ออีกนิดครับ เคยเห็นวงแถวบ้านใช้ s1200 ขับตู้ w ดอก imf 18 นิ้วข้างละ 3 แบบขนาน

เร่งวอลลุ่ม บ่ายโมงนิดๆ เปิดแข่งบอสเทค 2400rms ที่ใช้ 2242 ข้างละ 3 เท่ากันได้แบบน่ามึนมาก

ผมถามเขาว่าทำไมไม่เร่งวอลลุ่มให้สุด เขาบอกว่ามันแรงเกิน เร่งสุดเสียงแตก ฮ่าๆก่อว่ากันไป

(หลายท่านที่เคยใช้ s1200 คงจะรู้ดีว่ามันแมทช์กับดอกโครงปั๊ม)

     สรุปแล้ว ผมก็งงเหมือนกัน ว่าแบบไหนจะดีกว่ากัน แต่ที่ใช้มาตลอดคือเร่งสุดครับ ไม่เคยคิดถึงจุดนี้เลย

สิ่งที่ผมคิดว่ามันมีประโยชน์ของวอลลุ่มก็คือ เอาไว้หรี่เวลาจะปิดแอมป์ เพื่อไม่ให้มันดัง ตุ๊บ ที่ลำโพงครับ

คงต้องดูสเปคของพาวเวอร์แอมป์ประกอบด้วยครับ (ในกรณีที่แจ้งสเปคไม่เป็นไปตามการทำงานจริง ก็จะลำบากสำหรับผู้ใช้งาน)

Sensitivity ของ S1200 ต่ำกว่า 0.775v เยอะมาก  ปล่อยสัญญาณไม่เท่าไหร่ แอมป์ก็ทำงานถึงจุดคลิปสัญญาณ  แต่ไฟ VU ขึ้นแค่เม็ด สอง เม็ด (หากท่านมี ออสิเลทสโคป ก็สามารถจับการทำงานของแอมป์เทียบกับ VU หน้าเครื่องได้)   การลดวอลลุ่มหน้าแอมป์ของ S1200 จึงเป็นการปรับ Sensitivity ของแอมป์ให้สูงขึ้นครับ  แต่ไม่ใช่เอามาเป็นกฎเกณฑ์ในการปรับใช้กับแอมป์รุ่นอื่น ๆ  ว่าจะต้องเหมือนกัน

 smileyy

เอ้า ผมขาย s 1200 ออกไปหมดแล้ว พึ่งรู้ ทำใมมันแรงดีจริงๆ ทั้งๆที่วัตรก็ไม่เยอะ น่าจะเก็บไว้สักแท่นเผื่อไว้ยามฉุกเฉิน
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: sam_aj ที่ กันยายน 06, 2013, 08:16:34 pm


แต่ก่อนผมมีปัญหาเรื่องการปรับ gain ซึ่งเคยปรับแบบที่ บางท่านส่วนใหญ่ปรับกัน คือปรับ volume amplifier ให้สุด เพื่อที่จะให้ ได้ gain น้อยๆ ไมค์จะได้ไม่หอน อันนี้ผมลองแล้วก็ยังหอนเหมือนเดิมครับ

ถ้า gain น้อย ทำอะไรก็ไม่ถนัด เช่น sent monitor Aux gain ก็จะน้อยตามด้วย ถ้า monitor amp ไม่แรง เร่งAuxจนสุด ก็ไม่ดังครับ แถมยังหอนซ้ำอีก ทีนี้ก็ไปกด EQ ลง ยิ่งไม่เหลือ gain นักร้อง-นักดนตรี ก็ไม่ได้ยินอีก ทุกท่านเคยประสบเหล่าปัญหานี้ไหมครับ

    



เป็นเพราะว่าแอมป์ของชุดมอนิเตอร์ เป็นคนละรุ่นกับ แอมป์ พี เอ (แถมกำลังน้อยเกินไป)  เมื่อท่านปรับ Gain ของชาแนลให้เหมาะสมกับ แอมป์ พี เอ แต่มันไม่ได้เหมาะกับ แอมป์ขับมอนิเตอร์ จึงทำให้เสียงมอนิเตอร์เบาเกินไป และเมื่อปรับให้มอนิเตอร์ดังขึ้น ก็เลยเกิดอาการ ฟีดแบคของไมค์  หากท่านเปลี่ยนมาใช้แอมป์ขับมอนิเตอร์ให้เป็นรุ่นเดียวกับแอมป์ พี เอ  ปัญหานี้ไม่น่าจะเกิดครับ  เพราะที่ไมค์ ฟีดแบค ไม่ได้ ฟีดแบคจากตู้ พี เอ  แต่มันฟีดแบค จากตู้มอนิเตอร์ตะหากครับ

ดังนั้นในระบบใหญ่ ๆ จึงจำเป็นต้องมี Mixer สองชุด คือ มิกซ์มอนิเตอร์ กับ มิกซ์พี เอ แยกการทำงานจากกันเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าว เพราะการ balance gain ของชุด พี เอ กับ มอนิเตอร์ ที่ใช้แอมป์และตู้ต่างชนิดกัน ทำงานได้ยากครับ

 smileyy

ขอบคุณมากครับเฮีย  สำหรับคำแนะนำ มันเป็นอย่างนั้นจริงๆครับ แต่ติดที่ทุนทรัพย์ไว้มีโอกาส ค่อยขยับขยายครับ
สมัยก่อนผมก็ลองผิดลองถูกเหมือนหลายๆท่านในที่นี้ จึงพยายามค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม ทั้งในและนอกประเทศ smiley4


ขอบคุณ คุณหมอเช่นกันที่นำความรู้ดี ๆ มาแบ่งปันกันครับ

ผมขออนุญาตแชร์ความคิดเห็นเล็ก ๆ น้อย ๆ ดังนี้ครับ

การแก้ปัญหาเรื่องไมค์ฟีคแบคให้ได้ผล คือต้องหาพาวเวอร์แอมป์ที่มีกำลังเหมาะสมมาใช้ขับตู้มอนิเตอร์  วิีธีลองง่าย ๆ คือ ยืนพูดหน้าตู้มอนิเตอร์ห่างสักประมาณ 1 เมตร (โดยประมาณ แต่ถ้าเป็นตู้มอนิเตอร์ศิลปิน คงต้องระยะใกล้กว่านั้น) ต่อไมค์เข้ามิกซ์ - เข้าแอมป์ - ไปออกลำโพง  เซทมาสเตอร์สไลด์ที่ 0dB , ชาแนลสไลด์ 0dB แล้วค่อย ๆ ปรับเร่งเกนชาแนลวอลลุ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ จนตู้มอนิเตอร์ให้เสียงได้ดังตามที่เราต้องการ  ถ้าไมค์ไม่ฟึคแบค (คุณภาพ หรือ การตอบสนองความถี่ของไมค์ และตู้มอนิเตอร์ก็มีส่วนเหมือนกัน) ก็แสดงว่าแอมป์ตัวนั้น มีกำลังขับสูงพอสำหรับตู้มอนิเตอร์ครับ แต่ถ้าไมค์ฟีดแบค และท่านคัทอีคิวอย่างไร ก็ไม่เป็นผล  ก็ประเมินในเบื้องต้นได้เลยว่า แอมป์มีกำลังน้อยเิกินไปครับ

ท่านอาจจะบอกว่า ถ้าใช้แอมป์กำลังขับสูง ๆ แล้วเร่งเกนชาแนลไมค์น้อย ๆ ไม่กลัวเรื่อง Noise หรือ  ผมถามว่าท่านกลัวเรื่อง Noise หรือกลัวเรื่อง Feedback มากกว่ากันครับ  คงไม่มีอะไรได้มาฟรี ๆ โดยไม่ได้เสียอย่างหนึ่งอย่างใดไป  ซึ่งท่านก็คงต้องเลือกเอาว่าอยากจะได้อะไร และ จะต้องสูญเสียอะไรไป หล่ะครับ

 smileyy

หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: nop_suphan ที่ กันยายน 06, 2013, 08:57:24 pm
ผมรู้แล้วทำไมเดี๋ยวนี้  มอนหรือพีเอผมไม่เคยหอนเลย  ทั้งๆที่นักร้องผมมันโดดขึ้นโดดลงหน้าเวทีไปรับติบบ่อยๆ

แถมบางที่ลดมือที่ถือไมค์ลง  เอาหัวไมค์แหย่ตู้มอนซ่ะงั้น

เพราะผมใช้ 3000vzขับมอนสองใบ smiley4
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: max_medkku ที่ กันยายน 06, 2013, 09:54:00 pm


แต่ก่อนผมมีปัญหาเรื่องการปรับ gain ซึ่งเคยปรับแบบที่ บางท่านส่วนใหญ่ปรับกัน คือปรับ volume amplifier ให้สุด เพื่อที่จะให้ ได้ gain น้อยๆ ไมค์จะได้ไม่หอน อันนี้ผมลองแล้วก็ยังหอนเหมือนเดิมครับ

ถ้า gain น้อย ทำอะไรก็ไม่ถนัด เช่น sent monitor Aux gain ก็จะน้อยตามด้วย ถ้า monitor amp ไม่แรง เร่งAuxจนสุด ก็ไม่ดังครับ แถมยังหอนซ้ำอีก ทีนี้ก็ไปกด EQ ลง ยิ่งไม่เหลือ gain นักร้อง-นักดนตรี ก็ไม่ได้ยินอีก ทุกท่านเคยประสบเหล่าปัญหานี้ไหมครับ

    



เป็นเพราะว่าแอมป์ของชุดมอนิเตอร์ เป็นคนละรุ่นกับ แอมป์ พี เอ (แถมกำลังน้อยเกินไป)  เมื่อท่านปรับ Gain ของชาแนลให้เหมาะสมกับ แอมป์ พี เอ แต่มันไม่ได้เหมาะกับ แอมป์ขับมอนิเตอร์ จึงทำให้เสียงมอนิเตอร์เบาเกินไป และเมื่อปรับให้มอนิเตอร์ดังขึ้น ก็เลยเกิดอาการ ฟีดแบคของไมค์  หากท่านเปลี่ยนมาใช้แอมป์ขับมอนิเตอร์ให้เป็นรุ่นเดียวกับแอมป์ พี เอ  ปัญหานี้ไม่น่าจะเกิดครับ  เพราะที่ไมค์ ฟีดแบค ไม่ได้ ฟีดแบคจากตู้ พี เอ  แต่มันฟีดแบค จากตู้มอนิเตอร์ตะหากครับ

ดังนั้นในระบบใหญ่ ๆ จึงจำเป็นต้องมี Mixer สองชุด คือ มิกซ์มอนิเตอร์ กับ มิกซ์พี เอ แยกการทำงานจากกันเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าว เพราะการ balance gain ของชุด พี เอ กับ มอนิเตอร์ ที่ใช้แอมป์และตู้ต่างชนิดกัน ทำงานได้ยากครับ

 smileyy

ขอบคุณมากครับเฮีย  สำหรับคำแนะนำ มันเป็นอย่างนั้นจริงๆครับ แต่ติดที่ทุนทรัพย์ไว้มีโอกาส ค่อยขยับขยายครับ
สมัยก่อนผมก็ลองผิดลองถูกเหมือนหลายๆท่านในที่นี้ จึงพยายามค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม ทั้งในและนอกประเทศ smiley4


ขอบคุณ คุณหมอเช่นกันที่นำความรู้ดี ๆ มาแบ่งปันกันครับ

ผมขออนุญาตแชร์ความคิดเห็นเล็ก ๆ น้อย ๆ ดังนี้ครับ

การแก้ปัญหาเรื่องไมค์ฟีคแบคให้ได้ผล คือต้องหาพาวเวอร์แอมป์ที่มีกำลังเหมาะสมมาใช้ขับตู้มอนิเตอร์  วิีธีลองง่าย ๆ คือ ยืนพูดหน้าตู้มอนิเตอร์ห่างสักประมาณ 1 เมตร (โดยประมาณ แต่ถ้าเป็นตู้มอนิเตอร์ศิลปิน คงต้องระยะใกล้กว่านั้น) ต่อไมค์เข้ามิกซ์ - เข้าแอมป์ - ไปออกลำโพง  เซทมาสเตอร์สไลด์ที่ 0dB , ชาแนลสไลด์ 0dB แล้วค่อย ๆ ปรับเร่งเกนชาแนลวอลลุ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ จนตู้มอนิเตอร์ให้เสียงได้ดังตามที่เราต้องการ  ถ้าไมค์ไม่ฟึคแบค (คุณภาพ หรือ การตอบสนองความถี่ของไมค์ และตู้มอนิเตอร์ก็มีส่วนเหมือนกัน) ก็แสดงว่าแอมป์ตัวนั้น มีกำลังขับสูงพอสำหรับตู้มอนิเตอร์ครับ แต่ถ้าไมค์ฟีดแบค และท่านคัทอีคิวอย่างไร ก็ไม่เป็นผล  ก็ประเมินในเบื้องต้นได้เลยว่า แอมป์มีกำลังน้อยเิกินไปครับ

ท่านอาจจะบอกว่า ถ้าใช้แอมป์กำลังขับสูง ๆ แล้วเร่งเกนชาแนลไมค์น้อย ๆ ไม่กลัวเรื่อง Noise หรือ  ผมถามว่าท่านกลัวเรื่อง Noise หรือกลัวเรื่อง Feedback มากกว่ากันครับ  คงไม่มีอะไรได้มาฟรี ๆ โดยไม่ได้เสียอย่างหนึ่งอย่างใดไป  ซึ่งท่านก็คงต้องเลือกเอาว่าอยากจะได้อะไร และ จะต้องสูญเสียอะไรไป หล่ะครับ

 smileyy



ขอบคุณเฮียแซมเป็นอย่างสูงครับ smileyy
ที่แนะนำเทคนิคการเลือก power amp สำหรับ monitor
เป็นอย่างเฮียว่าครับ ถ้ายิ่งมีpower กำลังสูงๆ การใช้gain ที่ monitor ก็น้อย ปัญหาเรื่อง feedback ก็น้อยลง และยังมีกำลังสำรองสำหรับเร่งให้ดังขึ้นอีก การใช้ EQ ในการcut ความถี่feedback ก็น้อยลงหรือแทบจะไม่ต้องปรับเลย ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ยิ่งcutมาก เนื้อเสียงที่ monitor ก็แย่ลง
ปัจจุบันผมให้ความสำคัญเรื่อง monitor เป็นอันดับต้นๆเลยครับ
คิดถึงสมัยตัวเองเล่นดนตรี ถ้าได้monitor ที่ดีได้ยินเสียงชัดเจน ก็จะยิ่งมีอารมณ์ถ่ายทอดเสียงดนตรีออกมา(ภาษาบ้านผมเรียกว่าห่าว)เรื่องrhythm/tempo ก็แม่นมากขึ้น ไม่ต้องไปพะวงว่าเล่นเพลงไปถึงไหนแล้ว ยิ่งเกิดความเครียดในการเล่นดนตรี
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: MILDMUSIC ที่ กันยายน 06, 2013, 10:12:13 pm
ลองเอาตู้ที่ผมซื้อมาจากที่บ้านหม้อมาใช้เป็นมอนิเตอร์ดูสิครับ จะแอมป์ตัวไหนขับก็ตามหมาแถววัดดอนรับรองมากันเพียบ ถ้าจะให้ดีจริง ต้องตู้ AJX715 เลยครับ PA ก็ดี มอนิเตอร์ก็แจ่ม หอนยาก เฮียแซมจะแย้งมั๊ยน๊า อิอิ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: sam_aj ที่ กันยายน 06, 2013, 10:22:04 pm
ลองเอาตู้ที่ผมซื้อมาจากที่บ้านหม้อมาใช้เป็นมอนิเตอร์ดูสิครับ จะแอมป์ตัวไหนขับก็ตามหมาแถววัดดอนรับรองมากันเพียบ ถ้าจะให้ดีจริง ต้องตู้ AJX715 เลยครับ PA ก็ดี มอนิเตอร์ก็แจ่ม หอนยาก เฮียแซมจะแย้งมั๊ยน๊า อิอิ

แหม.. ท่าน ผมก็วงเล็บ ( ) ไว้ให้แล้วนะ กิกิ

 smiley4
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: sam_aj ที่ กันยายน 07, 2013, 01:32:15 pm
ขออนุญาตแชร์จากประสบการณ์ที่ได้ร่วมทำงานกับเพื่อน ๆ หลาย ๆ ทีมงาน ผมขอให้ความเห็นส่วนตัวว่า วอลลุ่มหน้าแอมป์ควรจะเปิดให้สุด  เหตุผลหลัก ๆ คือ

1. ภาคขยายในพาวเวอร์แอมป์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันทำงานตามระดับความแรงสัญญาณที่ภาคอินพุท การลดวอลลุ่มก็คือการลดระดับความแรงสัญญาณก่อนเข้าภาคขยายเท่านั้น

2. การทำงานของวอลลุ่มพาวเวอร์แอมป์ ไม่ได้ทำงานแบบ Linear ดังนั้น การปรับลด หรือ เพิ่ม จึงไม่สามารถทราบได้ว่าเราปรับ ลด หรือ เพิ่ม ความแรงสัญญาณที่กี่ dB

3. เราสามารถทำการปรับลด หรือ เพิ่ม ความแรงสัญญาณก่อนเข้าแอมป์ได้ด้วยครอสอยู่แล้วซึ่งให้ผลแบบเดียวกัน  ยิ่งถ้าเป็นครอสดิจิตอล จะสามารถคอนโทรลได้ละเอียดกว่า แม่นยำกว่า  และการทำงานที่ครอสเพียงตัวเดียว  ง่ายกว่าการไปปรับลดที่หน้าแอมป์แต่ละตัวซึ่งยุ่งยากมากกว่า


หากแต่ว่าถ้าท่านจะทำการปรับลดที่วอลลุ่มหน้าเครื่องแอมป์ก็สามารถทำได้เช่นกัน ขอเพียงแค่ท่านเข้าใจว่าที่ท่านทำการปรับลดนั้นท่านทำเพื่อวัตถุประสงค์ใดอย่างที่คุณหมอ ได้กรุณาแจกแจงให้ทราบกันครับ

 smileyy

 

 
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: max_medkku ที่ กันยายน 10, 2013, 02:46:51 am



อีกวิธีที่ใช้สังเกต Headroom ของ ampคือ switchปรับ sensitivity ด้านหลัง amp เช่น 0.775 V, 1.4V หรือ 25 dB คุ้นๆกันไหมครับ จากรูปจะอยู่ด้านล่างขวา
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/08/30/35980_1377873166.jpg)

ตัวเลขพวกนี้หมายความว่าอย่างนี้ครับ
ถ้าปรับ ไว้ที่ 0.775V หมายความว่า เมื่อเราเร่ง volume amp จนสุด สัญญาณที่ให้ full rate power คือ 0 dBu และ Headroom ของampตัวนี้จะเท่ากับ 0 dBu
1.4V พูดไปแล้วขอข้ามนะครับ
ส่วน 25 dB = สัญญาณ 13.78V อันนี้เป็นแบบ fixed gain แสดงว่า ถ้าสัญญาณ มาถึง 25 dBu หรือ 13.78V amp ถึงจะทำงานได้ full rate และ headroom ของampตัวเดิมเมื่อปรับ switchมาตำแหน่งนี้จะมีค่า 25 dBu

จะเห็นว่า ถ้าสัญญาณ 0 dBu เท่ากัน แล้วปรับ ไว้ที่ 0.775V กำลังที่ขับออกมาจะเสียงดังกว่าเพื่อน ในทางกลับกัน amp ก็clip ง่ายกว่า และได้ Headroom น้อย

ทีนี้เราจะเลือกปรับ sensitivity อย่างไรให้เหมาะกับระบบของเรา
ให้พิจารณาดังนี้ครับ ถ้า mixer ของเรา Norminal output ตามspecification เป็น 0 dBu ก็จะเหมาะสมกับ 0.775V
ถ้า Norminal output คือ +4dBu ก็ควรเลือก 1.4V ซึ่งmixer มาตรฐานทุกวันนี้ส่วนใหญ่ให้ outputที่ +4dBu

ส่วน25 dB เหมาะกับ mixer ที่มี headroom +24dBu ครับ โดยวิธีการเซท คือหมุน volume amp จนสุด สัญญาณที่ mixer clipที่ 24dBu ampก็ยังไม่clip เผื่อ error อีกตั้ง1 dBu
ส่วน mixer ที่มี headroom 20dBu นั้นไม่เหมาะกับ sensitivity 25 dBครับ เพราะ สัญญาณ 20 dBu ไม่สามารถขับamp ตัวนี้ให้ทำงานเต็มที่ได้

สำหรับค่า SNR ของ power amp ดูได้จาก specificationในคู่มือ

ส่วนวิธีดู mixer ว่ามี Headroom(HR) เท่าไรนั้นให้ดูจาก specification เช่น ให้ ค่า SNR กับ Dynamics range(DR) ถ้ามันไม่บอกเราตรงๆก็จับ DR-SNR = HR
หรือ สังเกตที่  main meter ว่ามี scale สูงสุดเท่าไร ถ้าค่าสูงสุด คือ 20 dB แสดงว่า มี HR +24dBu (ที่ 0dBVU=+4dBu)
ถ้า ค่าสูงสุดคือ 16 dB แสดงว่า HR=+20dBu

ขออนุญาตแก้ไขข้อมูล(ตัวหนังสือสีแดง) ที่ผมเคยpostไว้ที่หน้า3นะครับ เนื่องจากผมมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากการแปลภาษาของผมเอง
ถ้าหากเฮียแซม (ผู้ใหญ่ใจดี)  smileyy ไม่ได้ทักท้วงมาผมคงมีความเข้าใจผิดกับ Headroom และ sensitivity แบบfixed gain ต่อไป
จากการที่ผมไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจึงขอแก้ไขดังนี้ครับ

26 dB หมายถึง การปรับsensitivity แบบ fixed gain โดยสัญญาณ input ของ amp ที่ 0 dBu(0.775 Vrms)จะถูกขยายให้เป็น 26 dBu ที่ output เสมอ
ส่วน Headroom นั้นขึ้นกับ อัตราขยายสูงสุดของ amp ตัวนั้น
หุหุ งงกันมั้ยครับ
เดี๋ยวผมจะท้าวความเรื่อง อัตราขยายสัญญาณของ amplifier ให้ทราบก่อนนะครับจะได้มีความเข้าใจมากขึ้น

หลักการทำงานของ amp คือ ขยายสัญญาณไฟฟ้าจากน้อยให้มากขึ้นได้


(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/09/09/35980_1378744592.jpg)

สมมุติว่า amp ตัวหนึ่งสามารถ ขยายสัญญาณ(voltage gain) จาก 1V(input) เป็น 50V(output)ได้
หมายความว่า สัญญาณ outputที่ได้นั้นเป็น 50 เท่าของของinput หากคิดเป็น dB จากสูตร 20 log[V2/V1] จะได้ 20 log(50/1) = 34 dB

แต่ specification sheet ของ amp แต่ละรุ่น บอกกำลังขยาย เป็น watts ทำอย่างไรจึงจะเปลี่ยนให้เป็นหน่วย gain ได้

ดังนั้นจึงต้องใช้ กฎของโอห์ม มาอธิบาย
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/09/09/35980_1378745813.jpg)

ใช้สูตรนี้ครับ P=V2/R เราจะหาค่า กำลัง(watts)จากampตัวนี้ ถ้า amp ตัวนี้ต่อกับ load (ลำโพง) R=8 ohm
จะได้ P=(502)/8=312.5W หรือถ้าต่อกับ load 4 ohm จะได้กำลัง 625W

แต่เนื่องจาก amp ที่ผลิตในปัจจุบันนั้น ใช้สัญญาณมาตรฐานสำหรับอ้างอิง (norminal output)จาก mixer คือ 0dBu(0.775V) หรือ 0dBVU(+4dBu=1.228V)ซึ่งใกล้เคียงกับ 1.4V(5dBu)
ดังนั้นค่า input sensitivity ใน specification sheet จึง เป็น 0.775Vและ1.4V
การตั้งค่า input sensitivity ของ amplifier เป็น0.775V กับ 1.4V นั้น เป็นการตั้งค่าแบบ fixed sensitivity
หากเรา setค่า input sensitivity ของ amp เป็น 0.775Vนั้นหมายความว่า
Power rate สูงสุดที่ amp ขยายได้นั้นต้องการ input 0.775V (ที่ตำแหน่งvolume amp บิดสุด)

ดังนั้นเราจะสามารถหา อัตราขยายของ amp เป็น dB ได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้


(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/09/09/35980_1378748171.jpg)

ถ้าปรับinput sensitivity 0.775V ของ crown MA2402 ที่ load 8 ohm จะคำนวนอัตราขยายเป็น voltage gainได้ดังนี้

จาก P=V2/R
  520=V2/8
   V=64.5V
และจาก

(http://www.sengpielaudio.com/FormulaLevelToVolt.gif)

จะได้
LdB=20log[64.5/V0] ; V0=0.775V

LdB=38.41 dB


ตัวอย่างต่อไป
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/09/09/35980_1378750699.jpg)

ตารางที่ 1 แสดง อัตราขยาย (voltage gain) ของ amplifier รุ่นต่างๆ ตามการปรับค่า input sensitivity
จากตารางที่ 1 จะเห็นว่า ที่ input sensitivity 0.775V MA2404 มีอัตราขยาย 38dB ส่วน MA5002 มีกำลังขยาย 42dB
นั้นหมายความว่า ถ้าสัญญาณ output จาก mixer เป็น 0dBu มาเข้าที่ input ของ ampแต่ละตัว ถ้าบิด volume จนสุด จะได้ full power rate แตกต่างกันตามกำลังขยายสูงสุดของแอมป์แต่ละตัว คือ 520W และ 1,300W ตามลำดับ
และถ้าปรับ switch ไปที่ตำแหน่ง 1.4V ต้องใช้สัญญาณจากmixer +5dBu เพื่อที่จะได้ full power rate เท่ากับ สัญญาณ 0 dBu ที่ ตำแหน่ง 0.775V

แล้วที่ตำแหน่ง input sensitivity 26 dB นั้นหมายความว่าอย่างไร
ที่ตำแหน่งนี้ เป็นการปรับ แบบ fixed gain โดย อ้างอิงจาก input gain 0dBu จะขยาย output gain เป็น 26dB เสมอ
-ถ้าสัญญาณ input 3 dBu จะได้ output gain 29dB (26+3)
-ถ้าสัญญาณ input -10 dBu จะได้ output gain 16dB (26+(-10))


(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/09/09/35980_1378751688.jpg)

ตารางที่2 แสดง input sensitivity ที่เพิ่มขึ้น เมื่อปรับเป็นแบบ fixed gain 26 dB

หากเราต้องการ ใช้gain input เพื่อขับ amp ให้ได้ full power rate จะต้องให้ input voltage ที่แตกต่างกันไปตามpower rate สูงสุดของampแต่ละรุ่น เช่น MA2402 (38dB)จะขับให้ได้ full power rate @ 8 ohm ต้องใช้ voltage gain 3.2V(12dBu)
ส่วน MA 5002VZ(42dB) ต้องใช้ 5.1V(16dBu)
คิดให้ง่ายขึ้นคือ เอาอัตราขยายของ power amp ตัวนั้น ลบจาก 26 dB
MA2402 ; 38-26=12dBu
MA5002VZ ; 42-26=16dBu
ค่าที่หาได้ก็คือ gain ที่เราจะต้องจ่ายจาก mixer เพื่อให้แอมป์แต่ละตัวได้กำลังสูงสุด

ดังนั้นเมื่อเราปรับ sensitivity ให้เป็นแบบ fixed gain 26dB  headroom ของpower amp จะเพิ่มขึ้นแตกต่างกันไปตาม maximum output power rate ของamp แต่ละรุ่น

การปรับ input sensitivity แบบ fixed gain เหมาะสำหรับการใช้งาน power amp หลายๆเครื่องในระบบใหญ่ๆ ที่มีเครื่อง gain controller เพียงตัวเดียว
และ power amp ที่ใช้ในระบบนั้น ไม่จำเป็นต้อง เป็นยี่ห้อหรือรุ่นเดียวกัน ถ้าใช้ input gain เท่ากัน เสียงจะดังเท่าๆกัน
ยกเว้นกำลังสูงสุดของ ampแต่ละตัวไม่เท่ากัน เมื่อเร่งgain ถึงระดับสูงสุดของ amp ตัวกำลังขยายน้อย จะclipก่อน
เช่น

เมื่อเร่ง gain ที่ mixer ได้ 12 dBu MA2402 จะclip ก่อน ส่วน MA5002VZ จะยังไม่clip


สำหรับการ match gain structure ของการปรับ sensitivity แบบ fixed gain ก็เหมือนกับ การปรับทัั่วๆไปดังที่กล่าวมาข้างต้น คือให้สัญญาณ เป็นแบบ peak to peak แล้วปรับลด volume ของampลงจนเกือบclip

หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: nuttsou ที่ กันยายน 10, 2013, 12:02:04 pm
รากหญ้ามึนตึบ แต่ก็ดีกว่าไม่อ่าน ได้ดูว่า 0db ไม่ใช่คำตอบสุกท้านที่เคยเชื่อมา
ต้องกลับไปลองแล้วครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: นัฐ ซาวด์ ที่ กันยายน 10, 2013, 08:17:58 pm
ผมลองกับเครื่องเสียงผมแล้วครับ สิ่งที่ได้
1.เมื่อเพลงจบเสียง จี่-ฮัม จะเบาลงมาก จากของเดิมยืนฟังในระยะเดียวกันจะได้ยิน
2.เสียงชัดเจนขึ้น ทั้งเปิดเพลงและใช้ไมค์ ในขณะที่ volume amp เร่งไม่สุด แต่ดังเท่าเร่งสุด
เป็นความเห็นส่วนตัวครับ ระบบผมไม่ใหญ่มากอาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมดครับ ต้องขอขอบคุณ คุณหมอครับ ที่นำสิ่งดีๆมาแนะนำ และขอบคุณเฮียสมโภชด้วยครับ  smiley4 smiley4
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: vnatham ที่ กันยายน 11, 2013, 08:54:53 am
รากหญ้ามึนตึบ แต่ก็ดีกว่าไม่อ่าน ได้ดูว่า 0db ไม่ใช่คำตอบสุกท้านที่เคยเชื่อมา
ต้องกลับไปลองแล้วครับ

 ตามนั้นครับ 0db ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย แต่ต้องไม่ทิ้งครับ เอาไว้เป็นจุดอ้างอิง ไม่ให้เราหลังทาง
 จากนั้นทำการ matching gain structure แบบ peak to peak ตามที่หมอแนะนำเพื่อ
- ลด noise ในระบบ
- เพิ่ม headroom ในระบบ (ในระบบน๊ะครับไม่ใช่ใน power amp เพราะใน power amp headroom ยังคงเดิม)
- ทำให้เราทำงานง่ายขึ้นครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: sittichai1334@hotmail.co. ที่ กันยายน 11, 2013, 10:03:51 am
จากการที่ผมใด้ตั้งกระทู้สอบถามและใด้อ่านทั้งหมดและได้ลองปรับในบ้านดูจึงทำไห้ผมเข้าใจได้ดังนี้ครับ
ลอลลุ่มเพาเวอ เปรียบเสมือนเกียร์รถครับถ้าเราไปเปิดในที่โล่งๆเหมือนเราขับรถไปตามถนนยาวโล่งๆก็ใส่เกียสุดเลยครับ แต่ถ้าเราขับเข้าซอยหมายถึงเปิดในที่คับแคบควรลดเกีย(วอลลุ่มเพาเวอ)ตามความเหมาะสมเพราะถ้าเปิดสุดจะมีเสียงการทำงานของระบบออกที่ลำโพง ส่วนวอลลุ่มที่มิคเปรียบเสมือนคันเร่งครับมีผ่อนมีเบาตามสถานการ
ปล.เหยียบคันเร่ง(วอลลุ่มมิค)จนมิดที่เกีย1รถก็วิ่งไม่ใด้ความเร็วสูงสุด
    ใส่เกีย5ขับเข้าซอย รถ(ระบบ)ก็วิ่งไม่ราบรื่น
ถามต่ออีกนิดนะครับ เกนที่อีคิวควรตั้งไว้ที่0ใช้มั้ยครับ
ขอบคุณทุกท่านที่ร่วมแสดงความคิดเห็น smiley4
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: nuttsou ที่ กันยายน 11, 2013, 10:52:44 am
ถามหน่อยครับ ผมจะหาจุดที่ดีที่สุดของปรีได้อย่างไร ....อะจ๊าก... เครื่องเสียงกึ่งกลางแจ้ง
ยังใช้ปรีด้วยหรอ คือว่ารากหญ้าตัวจริง ไม่มีตังซื้อคลอส ใช้ปรีไปก่อน  อิอิอิ
ผมเอาปรีขับเบส ตัดเสียงกลางกับแหลมออก ไปที่ s1200  smiley4

หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: sittichai1334@hotmail.co. ที่ กันยายน 11, 2013, 11:24:47 am
เพลงแต่ละเพลงเสียงเบสไม่เหมือนกันครับปรับไว้กลางๆ
โลวปรับไว้ที่บ่ายโมง
มิดโลวซัก11โมง
ส่วนตัวนะครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: vnatham ที่ กันยายน 11, 2013, 11:53:14 am
จากการที่ผมใด้ตั้งกระทู้สอบถามและใด้อ่านทั้งหมดและได้ลองปรับในบ้านดูจึงทำไห้ผมเข้าใจได้ดังนี้ครับ
ลอลลุ่มเพาเวอ เปรียบเสมือนเกียร์รถครับถ้าเราไปเปิดในที่โล่งๆเหมือนเราขับรถไปตามถนนยาวโล่งๆก็ใส่เกียสุดเลยครับ แต่ถ้าเราขับเข้าซอยหมายถึงเปิดในที่คับแคบควรลดเกีย(วอลลุ่มเพาเวอ)ตามความเหมาะสมเพราะถ้าเปิดสุดจะมีเสียงการทำงานของระบบออกที่ลำโพง ส่วนวอลลุ่มที่มิคเปรียบเสมือนคันเร่งครับมีผ่อนมีเบาตามสถานการ
ปล.เหยียบคันเร่ง(วอลลุ่มมิค)จนมิดที่เกีย1รถก็วิ่งไม่ใด้ความเร็วสูงสุด
    ใส่เกีย5ขับเข้าซอย รถ(ระบบ)ก็วิ่งไม่ราบรื่น
ถามต่ออีกนิดนะครับ เกนที่อีคิวควรตั้งไว้ที่0ใช้มั้ยครับ
ขอบคุณทุกท่านที่ร่วมแสดงความคิดเห็น smiley4

อืมม ผมมองต่างน๊ะครับ เรื่อง "ทำงานง่ายขึ้น"
สมมุติว่าเรา Set ระบบเราลงตัวแล้ว
ถ้าเราไปเบา volume ที่ Amp คำถามคือว่า
-Amp low ควรเบาเท่าไหร่
-Amp mid / mid high ควรเบาเท่าไหร่

วิธีที่ง่ายกว่าสำหรับผมน๊ะครับ  เราเบา Slide Master ที่ Mix ลงง่ายกว่าครับ
ไม่ต้องไปปรับระบบใหม่หมด
และอีกอย่าง ถ้าอยากมันส์ ขึ้นมา ก็แค่ดัน Slide Master ที่ Mix ขึ้้นครับ
จะเห็นว่า ทำงานครั้งเดียว ไม่ต้องปรับอะไรอีกเลย. แค่ดันสไลด์ขึ้นลง ตามความต้องการของเสียง ว่าจะเอา "ดัง" ขนาดไหน.

*ความเห็นส่วนตัวล้วนๆ

ส่วนคำถาม "ถามต่ออีกนิดนะครับ เกนที่อีคิวควรตั้งไว้ที่0ใช้มั้ยครับ"
คำตอบ คือ ใช่ครับ แต่ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย

หลังจากเราตั้งทุกอย่างที่ 0db แล้ว (ไม่ใช่เฉพาะ EQ)
เราก็ไล่ matching gain ของ อุปกรณ์ทุกตัว โดยค่อยเร่ง mix ขึ้นไปให้คลิป หรือเกือบคลิป
แล้วดูว่า อุปกรณ์ทุกตัว (รวมทั้ง EQ) ต้องเริ่มคลิปเช่นกันครับ
- ถ้าอุปกรณ์ตัวไหน คลิปก่อน แสดงว่าเกน แรงไป ก็ไปเบาจาก 0db ลง
- ถ้าอุปกรณ์ตัวไหน ยังไม่คลิป แสดงว่าเกน ค่อยไป ก็ไปเพิ่มจาก 0db ขึ้นไปจนเริ่มคลิปพร้อม mix

การไล่ปรับเกน ก็ไล่ปรับ ตามลำดับสายสัญญาณ จาก mix ไปจนสุดปลายทางคือ power amp ครับ

การ clip คือ peak แล้วนั่นเอง หลักการ matching gain นี้ จึงเรียกว่า peak to peak ไงครับ (ตอนแรกผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมต้องเร่ง ให้ peak)




หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: popteam ที่ กันยายน 11, 2013, 05:33:20 pm
จากการที่ผมใด้ตั้งกระทู้สอบถามและใด้อ่านทั้งหมดและได้ลองปรับในบ้านดูจึงทำไห้ผมเข้าใจได้ดังนี้ครับ
ลอลลุ่มเพาเวอ เปรียบเสมือนเกียร์รถครับถ้าเราไปเปิดในที่โล่งๆเหมือนเราขับรถไปตามถนนยาวโล่งๆก็ใส่เกียสุดเลยครับ แต่ถ้าเราขับเข้าซอยหมายถึงเปิดในที่คับแคบควรลดเกีย(วอลลุ่มเพาเวอ)ตามความเหมาะสมเพราะถ้าเปิดสุดจะมีเสียงการทำงานของระบบออกที่ลำโพง ส่วนวอลลุ่มที่มิคเปรียบเสมือนคันเร่งครับมีผ่อนมีเบาตามสถานการ
ปล.เหยียบคันเร่ง(วอลลุ่มมิค)จนมิดที่เกีย1รถก็วิ่งไม่ใด้ความเร็วสูงสุด
    ใส่เกีย5ขับเข้าซอย รถ(ระบบ)ก็วิ่งไม่ราบรื่น
ถามต่ออีกนิดนะครับ เกนที่อีคิวควรตั้งไว้ที่0ใช้มั้ยครับ
ขอบคุณทุกท่านที่ร่วมแสดงความคิดเห็น smiley4

อืมม ผมมองต่างน๊ะครับ เรื่อง "ทำงานง่ายขึ้น"
สมมุติว่าเรา Set ระบบเราลงตัวแล้ว
ถ้าเราไปเบา volume ที่ Amp คำถามคือว่า
-Amp low ควรเบาเท่าไหร่
-Amp mid / mid high ควรเบาเท่าไหร่

วิธีที่ง่ายกว่าสำหรับผมน๊ะครับ  เราเบา Slide Master ที่ Mix ลงง่ายกว่าครับ
ไม่ต้องไปปรับระบบใหม่หมด
และอีกอย่าง ถ้าอยากมันส์ ขึ้นมา ก็แค่ดัน Slide Master ที่ Mix ขึ้้นครับ
จะเห็นว่า ทำงานครั้งเดียว ไม่ต้องปรับอะไรอีกเลย. แค่ดันสไลด์ขึ้นลง ตามความต้องการของเสียง ว่าจะเอา "ดัง" ขนาดไหน.

*ความเห็นส่วนตัวล้วนๆ

ส่วนคำถาม "ถามต่ออีกนิดนะครับ เกนที่อีคิวควรตั้งไว้ที่0ใช้มั้ยครับ"
คำตอบ คือ ใช่ครับ แต่ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย

หลังจากเราตั้งทุกอย่างที่ 0db แล้ว (ไม่ใช่เฉพาะ EQ)
เราก็ไล่ matching gain ของ อุปกรณ์ทุกตัว โดยค่อยเร่ง mix ขึ้นไปให้คลิป หรือเกือบคลิป
แล้วดูว่า อุปกรณ์ทุกตัว (รวมทั้ง EQ) ต้องเริ่มคลิปเช่นกันครับ
- ถ้าอุปกรณ์ตัวไหน คลิปก่อน แสดงว่าเกน แรงไป ก็ไปเบาจาก 0db ลง
- ถ้าอุปกรณ์ตัวไหน ยังไม่คลิป แสดงว่าเกน ค่อยไป ก็ไปเพิ่มจาก 0db ขึ้นไปจนเริ่มคลิปพร้อม mix

การไล่ปรับเกน ก็ไล่ปรับ ตามลำดับสายสัญญาณ จาก mix ไปจนสุดปลายทางคือ power amp ครับ

การ clip คือ peak แล้วนั่นเอง หลักการ matching gain นี้ จึงเรียกว่า peak to peak ไงครับ (ตอนแรกผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมต้องเร่ง ให้ peak)





ตอนแรก เราต้องดันสไล ในไล กับMaster  ไปตำแหน่งใดก่อน ที่จะเร่งเกนครับ ช่วยอธิบายขั้นตอนอย่างง่ายหน่อยครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: boy125 ★★ ที่ กันยายน 11, 2013, 06:10:45 pm
ผมเร่งบ่าย 3 คับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: sakchai2005 ที่ กันยายน 11, 2013, 06:45:32 pm
ผมใช้ L2400 ขับกลางแหลม เร่งที่12น. ปรับอยากมากครับ เพราะว่ากลัวกลางแหลมจะกะจุย แต่มีท่านผู้รู้ท่านหนึ่งเดินผ่านมาL2400เร่งแค่ครึ่งเดียวเค้าบอกว่าจะคุมครอสอยาก..และก็ให้ผมเร่งสนสุดๆๆไปเลย..แล้วเขาก็เดินจากไป  ซักครึ่งชั่วโมงเค้าเดินมาถามว่าเป็นยังไงบ้าง ผมรีบยกมือไหว้อย่างสวยงามครับ ปรับง่ายจริงๆครับ ผมใช้ครอสDBX เค้าบอกว่าไม่ต้องกลัวอยู่ที่ครอสเราทั้งหมด  สุดท้ายทุกวันนี้ผมอัดสุดอย่างเดียวก็ไม่เคยงอแงซักงานครับอุปกรณ์ก็ไม้เคยเสียหายด้วยครับ ซับ5000VZ อัดสุดตลอดครับ...ตามความเห็นของผมอัดสุดปรับง่ายกว่าครับ.. smiley4
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: vnatham ที่ กันยายน 12, 2013, 08:11:54 am
ตอนแรก เราต้องดันสไล ในไล กับMaster  ไปตำแหน่งใดก่อน ที่จะเร่งเกนครับ ช่วยอธิบายขั้นตอนอย่างง่ายหน่อยครับ
เปิดทุกอย่าง รวมทั้ง power amp แล้ว เอาสายลำโพงออก (ไม่ต้องต่อสายลำโพง)

- เอาเสียงอะไรก็ได้ (ให้ดีเป็น pink noise) เข้าช่องไหนก็ได้ Check Gain ให้ PFL อยู่แถวๆ 0db
- ดันสไลด์ในช่องนั้นๆ ไปที่ 0db
- ดันสไลด์ใน Master ไปที่ 0db
- ทุกอย่างที่ต่อจาก mix ไปจนถึง power amp อยู่ที่ 0db
- power amp เร่งสุดก็ได้
*บางคนใช้ compressor/limiter ต่อระหว่าง mix กับ power amp ให้ by pass ก่อนครับ

ขั้นตอนต่อไป
ค่อยๆ ดันสไดล์ master ของ mix ขึ้นไปจนไฟ Peak ขึ้นแล้วลดลงนิดนึงให้กระพริบหรือเกือบติด
แล้วดูว่า อุปกรณ์ทุกตัว (รวมทั้ง EQ) ต้องเริ่มคลิปเช่นกันครับ
- ถ้าอุปกรณ์ตัวไหน คลิปก่อน แสดงว่าเกน แรงไป ก็ไปเบาจาก 0db ลง
- ถ้าอุปกรณ์ตัวไหน ยังไม่คลิป แสดงว่าเกน ค่อยไป ก็ไปเพิ่มจาก 0db ขึ้นไปจนเริ่มคลิปพร้อม mix

การไล่ปรับเกน ก็ไล่ปรับ ตามลำดับสายสัญญาณ จาก mix ไปจนสุดปลายทางคือ power amp ครับ
สุดท้ายที่ power amp ถ้าท่านทำถูกต้องและเร่งไว้สุด ไฟคลิป ต้องขึ้นแดงแจ๋เลยครับ
ให้เบา Volume Power Amp ลงจนไฟคลิป กระพริบ

จำตำแหน่งของ gain ทุกอุปกรณ์ไว้ รวมทั้ง volume power amp เพราะต่อไป ไม่ต้องทำอีก
(ถ้าเราไม่ได้เปลี่ยนระบบ คือต่อทุกอย่างเหมือนเดิม อุปกรณ์ตัวเดิม)



หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: gaipar ที่ กันยายน 12, 2013, 08:27:26 am
ได้ความรู้เพิ่มในการเซทระบบครับ ที่ผ่านมาก็ปูๆ ปลาๆ 
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: popteam ที่ กันยายน 12, 2013, 11:39:38 am
ตอนแรก เราต้องดันสไล ในไล กับMaster  ไปตำแหน่งใดก่อน ที่จะเร่งเกนครับ ช่วยอธิบายขั้นตอนอย่างง่ายหน่อยครับ
เปิดทุกอย่าง รวมทั้ง power amp แล้ว เอาสายลำโพงออก (ไม่ต้องต่อสายลำโพง)

- เอาเสียงอะไรก็ได้ (ให้ดีเป็น pink noise) เข้าช่องไหนก็ได้ Check Gain ให้ PFL อยู่แถวๆ 0db
- ดันสไลด์ในช่องนั้นๆ ไปที่ 0db
- ดันสไลด์ใน Master ไปที่ 0db
- ทุกอย่างที่ต่อจาก mix ไปจนถึง power amp อยู่ที่ 0db
- power amp เร่งสุดก็ได้
*บางคนใช้ compressor/limiter ต่อระหว่าง mix กับ power amp ให้ by pass ก่อนครับ

ขั้นตอนต่อไป
ค่อยๆ ดันสไดล์ master ของ mix ขึ้นไปจนไฟ Peak ขึ้นแล้วลดลงนิดนึงให้กระพริบหรือเกือบติด
แล้วดูว่า อุปกรณ์ทุกตัว (รวมทั้ง EQ) ต้องเริ่มคลิปเช่นกันครับ
- ถ้าอุปกรณ์ตัวไหน คลิปก่อน แสดงว่าเกน แรงไป ก็ไปเบาจาก 0db ลง
- ถ้าอุปกรณ์ตัวไหน ยังไม่คลิป แสดงว่าเกน ค่อยไป ก็ไปเพิ่มจาก 0db ขึ้นไปจนเริ่มคลิปพร้อม mix

การไล่ปรับเกน ก็ไล่ปรับ ตามลำดับสายสัญญาณ จาก mix ไปจนสุดปลายทางคือ power amp ครับ
สุดท้ายที่ power amp ถ้าท่านทำถูกต้องและเร่งไว้สุด ไฟคลิป ต้องขึ้นแดงแจ๋เลยครับ
ให้เบา Volume Power Amp ลงจนไฟคลิป กระพริบ

จำตำแหน่งของ gain ทุกอุปกรณ์ไว้ รวมทั้ง volume power amp เพราะต่อไป ไม่ต้องทำอีก
(ถ้าเราไม่ได้เปลี่ยนระบบ คือต่อทุกอย่างเหมือนเดิม อุปกรณ์ตัวเดิม)




ขอบคุณครับ   smileyy
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างต้น D-Power Project ที่ กันยายน 12, 2013, 12:42:47 pm
ขอบคุณครับ เห็นทางสว่างอยู่รำไรแล้ว smiley4
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: poosittichai ที่ กันยายน 12, 2013, 02:35:21 pm
ตอนแรก เราต้องดันสไล ในไล กับMaster  ไปตำแหน่งใดก่อน ที่จะเร่งเกนครับ ช่วยอธิบายขั้นตอนอย่างง่ายหน่อยครับ
เปิดทุกอย่าง รวมทั้ง power amp แล้ว เอาสายลำโพงออก (ไม่ต้องต่อสายลำโพง)

- เอาเสียงอะไรก็ได้ (ให้ดีเป็น pink noise) เข้าช่องไหนก็ได้ Check Gain ให้ PFL อยู่แถวๆ 0db
- ดันสไลด์ในช่องนั้นๆ ไปที่ 0db
- ดันสไลด์ใน Master ไปที่ 0db
- ทุกอย่างที่ต่อจาก mix ไปจนถึง power amp อยู่ที่ 0db
- power amp เร่งสุดก็ได้
*บางคนใช้ compressor/limiter ต่อระหว่าง mix กับ power amp ให้ by pass ก่อนครับ

ขั้นตอนต่อไป
ค่อยๆ ดันสไดล์ master ของ mix ขึ้นไปจนไฟ Peak ขึ้นแล้วลดลงนิดนึงให้กระพริบหรือเกือบติด
แล้วดูว่า อุปกรณ์ทุกตัว (รวมทั้ง EQ) ต้องเริ่มคลิปเช่นกันครับ
- ถ้าอุปกรณ์ตัวไหน คลิปก่อน แสดงว่าเกน แรงไป ก็ไปเบาจาก 0db ลง
- ถ้าอุปกรณ์ตัวไหน ยังไม่คลิป แสดงว่าเกน ค่อยไป ก็ไปเพิ่มจาก 0db ขึ้นไปจนเริ่มคลิปพร้อม mix

การไล่ปรับเกน ก็ไล่ปรับ ตามลำดับสายสัญญาณ จาก mix ไปจนสุดปลายทางคือ power amp ครับ
สุดท้ายที่ power amp ถ้าท่านทำถูกต้องและเร่งไว้สุด ไฟคลิป ต้องขึ้นแดงแจ๋เลยครับ
ให้เบา Volume Power Amp ลงจนไฟคลิป กระพริบ

จำตำแหน่งของ gain ทุกอุปกรณ์ไว้ รวมทั้ง volume power amp เพราะต่อไป ไม่ต้องทำอีก
(ถ้าเราไม่ได้เปลี่ยนระบบ คือต่อทุกอย่างเหมือนเดิม อุปกรณ์ตัวเดิม)







ชอบแนวพี่วินัยอธิบายมากคับ มือใหม่เข้าใจง่ายดี ขอบคุณคับกับความรู้ดีๆ smiley4
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: vnatham ที่ กันยายน 12, 2013, 05:16:05 pm
ตอนแรก เราต้องดันสไล ในไล กับMaster  ไปตำแหน่งใดก่อน ที่จะเร่งเกนครับ ช่วยอธิบายขั้นตอนอย่างง่ายหน่อยครับ
เปิดทุกอย่าง รวมทั้ง power amp แล้ว เอาสายลำโพงออก (ไม่ต้องต่อสายลำโพง)

- เอาเสียงอะไรก็ได้ (ให้ดีเป็น pink noise) เข้าช่องไหนก็ได้ Check Gain ให้ PFL อยู่แถวๆ 0db
- ดันสไลด์ในช่องนั้นๆ ไปที่ 0db
- ดันสไลด์ใน Master ไปที่ 0db
- ทุกอย่างที่ต่อจาก mix ไปจนถึง power amp อยู่ที่ 0db
- power amp เร่งสุดก็ได้
*บางคนใช้ compressor/limiter ต่อระหว่าง mix กับ power amp ให้ by pass ก่อนครับ

ขั้นตอนต่อไป
ค่อยๆ ดันสไดล์ master ของ mix ขึ้นไปจนไฟ Peak ขึ้นแล้วลดลงนิดนึงให้กระพริบหรือเกือบติด
แล้วดูว่า อุปกรณ์ทุกตัว (รวมทั้ง EQ) ต้องเริ่มคลิปเช่นกันครับ
- ถ้าอุปกรณ์ตัวไหน คลิปก่อน แสดงว่าเกน แรงไป ก็ไปเบาจาก 0db ลง
- ถ้าอุปกรณ์ตัวไหน ยังไม่คลิป แสดงว่าเกน ค่อยไป ก็ไปเพิ่มจาก 0db ขึ้นไปจนเริ่มคลิปพร้อม mix

การไล่ปรับเกน ก็ไล่ปรับ ตามลำดับสายสัญญาณ จาก mix ไปจนสุดปลายทางคือ power amp ครับ
สุดท้ายที่ power amp ถ้าท่านทำถูกต้องและเร่งไว้สุด ไฟคลิป ต้องขึ้นแดงแจ๋เลยครับ
ให้เบา Volume Power Amp ลงจนไฟคลิป กระพริบ

จำตำแหน่งของ gain ทุกอุปกรณ์ไว้ รวมทั้ง volume power amp เพราะต่อไป ไม่ต้องทำอีก
(ถ้าเราไม่ได้เปลี่ยนระบบ คือต่อทุกอย่างเหมือนเดิม อุปกรณ์ตัวเดิม)




ขอบคุณครับ   smileyy

ชอบแนวพี่วินัยอธิบายมากคับ มือใหม่เข้าใจง่ายดี ขอบคุณคับกับความรู้ดีๆ smiley4

ถ้าเข้าใจแล้ว อย่าลืมกลับไปอ่านรายละเอียดในหน้า 3 เด้อ ของหมอเขียนไว้ดีมากๆ
และจริงๆ คงต้องขอบคุณหมอครับ ผมแค่สรุปให้ฟังสั้นๆเฉยๆ

เพราะผมอ่านของหมอแล้ว วันแรกก็งงๆ อยู่ พอวันที่สองก็ยังงงๆ  ไม่ใช่หมอเขียนไม่ดีน๊ะ คือผมงงเอง  redface
แต่พอทำความเข้าใจกับหลักการแล้ว ว่าทำไปเพื่ออะไร จุดประสงค์คือต้องการทำอะไร 
จากนั้นกลับไปอ่านใหม่ ถีงเข้าใจ ฮ่าๆๆๆ

หลังจากนั้นหมอยังเขียนเรื่องปรับ Gain ชดเชยใน Cross ด้วยครับ ควรอ่านทำความเข้าใจกับหลักการชดเชยในแต่ละย่าน(hi,mid,low)
หลังจากนั้นหมอยังเขียนเรื่องปรับ Gain ในแต่ละช่อง(Ch) สัมพันธ์กับ Master Slide ยังไง และยังสัมพันธ์กับคำถามที่ว่า
ทำไม Mix ถึงมี HeadRoom ถึงประมาณ +26db

ผมก็แปลกใจเหมือนกันว่า ทำไม Mix ถึง Peak ที่ +26db ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ ทำไมบางตัว Peak ที่ +3db ถึง +6db เอง
พออ่านของหมอร้องอ๋อเลย


หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: Precha142 ที่ กันยายน 12, 2013, 06:28:53 pm
ขอขอบคุณพี่ พี่ ทุกท่านที่ให้ความรู้ ผมเป็นคนหนึ่งล่ะที่อยากจะเรียนรู้ อีกมากมาย
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: nuttsou ที่ กันยายน 13, 2013, 10:25:55 am
ไปเห็นมาในกระทู้ Supper sound เห็นคลิบแล้วคิดถึงบอร์ดนี้ เห็น VU เข็มมันค้างอยู่ที่เกือบคลิบ
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=tvF7Jy14LpY
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: sarawutsound ที่ กันยายน 13, 2013, 05:59:07 pm
ขอบคุณครับ ความรู้ทั้งนั้น ลองแล้ว แต่ยัง งงๆ ครับ  brow
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: popteam ที่ กันยายน 15, 2013, 10:57:32 pm
ลองทำแล้วครับ ใช้ได้ดีเลยทีเดียว  แต่หน้า3ต้องใช้เวลา
ถามคุณวินัย  อีกสักข้อ  กับโวลลุ่มที่ตัวเครื่องไมค์ลอย  มีวิธีปรับอย่างไรบ้างครับ

หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: vnatham ที่ กันยายน 16, 2013, 08:15:07 am
ลองทำแล้วครับ ใช้ได้ดีเลยทีเดียว  แต่หน้า3ต้องใช้เวลา
ถามคุณวินัย  อีกสักข้อ  กับโวลลุ่มที่ตัวเครื่องไมค์ลอย  มีวิธีปรับอย่างไรบ้างครับ



ผมเร่งประมาณบ่ายโมงครับ แล้วดูว่า เช็ค Gain (PFL) ที่ Mix ว่าโอเคมั้ย ไม่ Peak และไม่เบาเกินไป
ถ้าใช้สาย Balance เร่งประมาณ 9 โมงครับ เพราะสัญญาณมาแรงมาก
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: THE BACK UP SOUND ที่ กันยายน 22, 2013, 02:09:55 am
มันยอดมาดเลยครับ กระทู้นี้ ได้ความรู้เพิ่มอีกเยอะ brow
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: กล้วยหอม ศรีสะเกษ ที่ กันยายน 26, 2013, 01:01:33 am
ความรู้มากเลย
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: w1 ที่ กันยายน 26, 2013, 03:12:03 pm
เอ๊ แล้ว Gain ที่ 0 dB ที่  Digital Mixer กับ Analog Mixer มันเท่ากันหรือเปล่าครับ ผมไม่ค่อยเข้าใจสักเท่าไหร่ (หมายความว่าไฟ Led ที่มิกเซอร์ทั้งสองแสดงที่ 0 dB เท่ากัน เสียงจะดังเท่ากันไหมครับ)
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: max_medkku ที่ กันยายน 26, 2013, 04:06:45 pm
เอ๊ แล้ว Gain ที่ 0 dB ที่  Digital Mixer กับ Analog Mixer มันเท่ากันหรือเปล่าครับ ผมไม่ค่อยเข้าใจสักเท่าไหร่ (หมายความว่าไฟ Led ที่มิกเซอร์ทั้งสองแสดงที่ 0 dB เท่ากัน เสียงจะดังเท่ากันไหมครับ)

ที่ mixer digital ส่วนใหญ่ 0 dB ที่โชว์บน meter จะด้านอยู่บนสุด
จะเป็น 0 dBFS (Decibels relative to full scale) ไม่เท่ากับ 0 dBVU ของ analog mixer
ซึ่งในระบบ digital การวัดระดับสัญญาณค่าที่วัดได้จะอ้างอิงจากค่าสูงสุด
0 dBFS ในระบบดิจิตอล จึงถูกกำหนดให้เป็นค่าสูงสุดของสัญญาณที่วัดได้จากระบบ
ระดับสัญญาณที่วัดได้จะโชว์ที่ meter เป็นค่าติดลบ

(http://i69.photobucket.com/albums/i62/mindbuzza/01vstereolev.jpg)

สำหรับการแปลงค่า dB ในระบบ digital ให้เป็นแบบ analog นั้น ไม่มีสูตรตายตัว ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตว่าเขากำหนด norminal output ของ main meter ว่าจะใช้ค่าใด ตัวอย่างเช่น

EBU R68 is used in most European countries, specifying +18 dBu at 0 dBFS
In Europe, the EBU recommend that -18 dBFS equates to the Alignment Level
European & UK calibration for Post & Film is −18 dBFS = 0 VU
UK broadcasters, Alignment Level is taken as 0 dBu (PPM4 or -4VU)
US installations use +24 dBu for 0 dBFS
American and Australian Post: −20 dBFS = 0 VU = +4 dBu
The American SMPTE standard defines -20 dBFS as the Alignment Level
In Japan, France and some other countries, converters may be calibrated for +22 dBu at 0 dBFS.
BBC spec: −18 dBFS = PPM "4" = 0 dBu
German ARD & studio PPM +6 dBu = −10 (−9) dBFS. +16 (+15)dBu = 0 dBFS. No VU.
Belgium VRT: 0dB (VRT Ref.) = +6dBu ; -9dBFS = 0dB (VRT Ref.) ; 0dBFS = +15dBu.

สำหรับ digital mixer ที่ผมใช้เป็น Yamaha O1V96
เขากำหนดให้ norminal output เป็น+4dBu = -20 dBFS
ดังนั้น 0 dBFS จะเป็น +24 dBu
และถ้าเราต้องการ อ่านค่าสัญญาณ ให้ได้ 0 dBVU จะต้องเร่งสัญญาณให้โชว์ที่ -20 dBFS

ฉะนั้น ต้องกลับไปดูว่า digital mixer ของท่าน มี norminal output เป็นเท่าไร แล้วท่านจะทราบว่า 0dBVU ของท่านอยู่ที่ -....dBFS
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: w1 ที่ กันยายน 26, 2013, 04:58:42 pm
สำหรับ digital mixer ที่ผมใช้เป็น Yamaha O1V96
เขากำหนดให้ norminal output เป็น+4dBu = -20 dBFS
ดังนั้น 0 dBFS จะเป็น +24 dBu
และถ้าเราต้องการ อ่านค่าสัญญาณ ให้ได้ 0 dBVU จะต้องเร่งสัญญาณให้โชว์ที่ -20 dBFS

ฉะนั้น ต้องกลับไปดูว่า digital mixer ของท่าน มี norminal output เป็นเท่าไร แล้วท่านจะทราบว่า 0dBVU ของท่านอยู่ที่ -....dBFS
ขอบพระคุณมากครับคุณหมอ พอดีผมใช้ Mixer yamaha o1v96 รุ่นเดียวกับคุณหมอสบายเลย เพราะไม่้ต้องศึกษาขู้อมูลใหม่
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: ตัวโน๊ต มิวสิค ที่ กันยายน 26, 2013, 07:38:41 pm
ของผมเร่งสุดครับ... smiley4 smiley4....
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: maisystem Fang ที่ ตุลาคม 05, 2013, 12:48:37 pm
 smileyyขอบคุณครับความรู้ล้วนๆมีอะไรที่เรายังไม่รู้มีมากมายขอบคุณอีกครังครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: Dr.Nong ที่ พฤศจิกายน 07, 2013, 12:05:50 pm
อ่าน1รอบพอเข้าใจแต่ยังไม่ลึกซึ้งต้องทบทวนอีกทีอย่างไรก็ต้องขอขอบคุณอาจารย์หมอ พี่วินัย เฮียแซม และท่านอื่นที่มาแลกเปลี่ยนความรู้กัน ช่วยทำให้คนไม่มีความรู้ด้านนี้สักเท่าไหร่กระจ่างขึ้น ขอขอบคุณครับสำหรับความรู้ที่มอบให้ชาวทิกเกอร์ทุกคนครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: sittichai1334@hotmail.co. ที่ พฤศจิกายน 10, 2013, 09:45:15 am
อ่าน1รอบพอเข้าใจแต่ยังไม่ลึกซึ้งต้องทบทวนอีกทีอย่างไรก็ต้องขอขอบคุณอาจารย์หมอ พี่วินัย เฮียแซม และท่านอื่นที่มาแลกเปลี่ยนความรู้กัน ช่วยทำให้คนไม่มีความรู้ด้านนี้สักเท่าไหร่กระจ่างขึ้น ขอขอบคุณครับสำหรับความรู้ที่มอบให้ชาวทิกเกอร์ทุกคนครับ
เข้าเวปนี้แล้วไม่ต้องไปเรียนที่ไหนเลยท่าน
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: 3Y.music ที่ พฤศจิกายน 19, 2013, 02:59:52 pm
ขอบคุณหมอและพี่วินัยมาก ของผมlowคลิปง่ายและตลอดทุกงาน เสาะหาคำตอบมานานแล้วว่าทำไมพอมาอ่านหลายๆรอบเลยรู้ว่าระบบเราต้องทำการบาลานซ์ก่อน เพราะไม่อย่างนั้นจะมีบางสัญญาณที่เกินไปหรือน้อยไป มีความรู้แล้วจะนำไปปรับใช้ต่อไป ขอบคุณมากๆๆครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: Sor marn Music ที่ มกราคม 04, 2014, 09:35:00 am
ขอบคุณ คุณหมอมาก  ที่ให้คำแนะนำทางโทรศัพท์
เป็นทั้งหมอรักษาคนไข้  และ หมอเครื่องเสียง เก่งมากจริง ๆ นับถือ smiley4 smiley4 smiley4
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: punchai44 ที่ มกราคม 06, 2014, 12:09:38 am
ขอคุณมากครับ ผมพึ่งเข้าใจวันนี้ หลังจากที่อ่านแล้ว 2 รอบ 555....ขอบคุณอาจารย์ทุกท่านเลยครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: seses12345 ที่ มกราคม 06, 2014, 08:39:20 am
สุดยอดมากเลย
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: punchai44 ที่ มกราคม 10, 2014, 06:14:34 am
ลองเอาไปใช้งานจริงแล้วครับ สิ่งที่เห็นได้ชัดในระบบของผม คือเร่งเสียงไมค์ได้ แรงขึ้น และมอนิเตอร์ ได้ยินชัดเจนมาก เมื่อก่อน gain ไมค์ ผมไม่ให้เกิน 0dB จะมีปัญหาเรื่องไมค์มาก เสียงเบา พอเร่งหน่อยก็หอน ภาพรวมของระบบมว่าเสียงมันแน่นขึ้นนะ สรุปตอนนี้volume amp ผม balance (เกือบClip) ที่ประมาณบ่าย2 ทั้งlow,mid-h จากเมื่อก่อนเปิดเต็ม แต่ทีcross gain out put ปรับไว้อยู่ที่ 0,-5 (low,mid-h) ขอบคุณความรู้ดีๆ จากอาจารย์ทุกท่านอีกครั้งครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: max_medkku ที่ มกราคม 13, 2014, 02:48:31 pm
การปรับ input sensitivity ของ power amp บางรุ่น อาจเป็นแบบ dip switch เช่น ของ  labgruppen A&J รุ่น FS series เป็นต้น เป็น inputsensitivity แบบ fixed gain 8 step

คือสามารถปรับ input sensitivity ได้ 8 step คือ 23, 26, 29, 32, 35, 38, 41, 44 dB

(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/09/21/76698_1379743107.jpg)

ถ้าเราปรับ dip switch เป็น 32 dB หมายความว่า
- input 0 dB จะได้ output ขยายเป็น 32 dB
- input +4 dB จะได้ output ขยายเป็น 36 dB
- input -6 dB จะได้ output ขยายเป็น 26 dB

แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เครื่องเสียงเราสมควรจะปรับไว้ที่ตำแหน่งไหน

ตามคู่มือที่ให้ไปอ่านเขาบอกว่า
ต้อง รู้ว่า dBSPL ที่เราต้องการ ในงานนั้นๆ ว่าต้องการเท่าไร แล้วมาคำนวนกลับว่า เราควรจะปรับ dip switch ไว้ที่ตำแหน่งใด เพื่อให้เหมาะสมกับ กำลังขับของ power amp และ ดอกลำโพงของเรา

(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/10/16/35980_1381914440.jpg)

(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/10/16/35980_1381914665.jpg)

จากรูปที่ 2
สิ่งที่เราต้องใช้คำนวน เพื่อออกแบบ กำลังของดอกลำโพงที่เหมาะสม(PNOM)โดยใช้ระดับความเข้มเสียง ณ จุดอ้างอิง (target dBSPL) คือ
1. Speaker sensitivity มีหน่วยเป็น dBSPL/W/m (หาดูได้จาก specification sheet ของ ดอกลำโพงของคุณ)
2. DBSPL ณ จุดที่เราต้องการ(target dBSPL)
3. ระยะห่าง จากดอกลำโพง ถึง จุดอ้างอิง (dmeters) มีหน่วยเป็น เมตร

โดยใช้สูตร
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/10/17/35980_1381983715.jpg)

สูตร 2 หาค่ากำลังที่จุดอ้างอิง (PdB-NOM)
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/10/16/35980_1381915165.jpg)

ขอยกตัวอย่าง spec ของ ลำโพงรุ่นหนึ่งมาให้ดูเพื่อ คำนวนนะครับ

(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/10/16/35980_1381915932.jpg)

ตัวอย่างการคำนวน

ถ้า power rate 1200W rms
ที่ระยะ 30 เมตร จะได้ dBSPL
ใช้สูตร (http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/10/17/35980_1381983715.jpg)

DBSPL=98+10log1200 -20log30
= 99.25 dB

(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2014/02/04/35980_1391508095.jpg)

ถ้าเราต้องการ target dBSPL =90 dBSPL ที่ระยะห่าง 30 เมตร โดยใช้ ลำโพงที่ยกตัวอย่าง 1 ดอก(impedance = 8 ohms) วิธีคิดคือ
1. หาค่า PdB-NOM ณ จุดอ้างอิง โดยใช้สูตร (http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/10/16/35980_1381915165.jpg)

PdB-NOM= [90+20log(30)]-98
PdB-NOM = (90+30)-98 = 21.54 W

2.หาค่า PNOMของลำโพง จากสูตร

PNOM=10PdB-NOM/10

PNOM=1021.54/10 = 102.154 = 142.6W

(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/10/17/35980_1381998127.jpg)
PAMP คือ กำลังของ amplifier เวลาเลือก ควรให้มากกว่าหรือเท่ากับ Pmax ของลำโพง เช่น speaker รุ่นนี้ Pmax(RMS)=1200 W การเลือก power amp ควรให้ ได้มากกว่าหรือเท่ากับ 1200 W


ทีนี้เมื่อเราได้ PNOM ก็ไปคำนวน หา voltage output (VNOM) ของ amp ว่าถ้า ขับดอกลำดพงดอกนี้ด้วยกำลังที่เท่ากับ  PNOM จะใช้ voltage เท่าไร
โดยใช้สูตร

V=รากที่สองของ PxR
จะได้ VNOM= รากที่สอง PNOMxR
VNOM= รากที่สอง 142.6x8
VNOM= 33.78 V


เปลี่ยน V เป็น dB ตามสูตร
dBNOM=20log[VNOM/V0] ; V0=0.775V
จะได้
dBNOM=20log (33.78/0.775) = 32.7dB

ถ้าเราใช้ sensitivity แบบ dip switch เราก็ปรับไว้ที่ 32 dB
ดังนั้น เราจะ match สัญญาณจาก mixer 0 dBu เมื่อผ่านมาที่ amp จะขยายเป็น 32 dB ที่ภาค output ของ amp ได้แรงดัน 33.78 V เมื่อต่อกับ speaker 8 ohms ที่มี sensitivity 98dB/W/m และได้กำลัง 142.6 W เมื่อระยะห่างจากจุดกำเนิด 30 เมตร จะมีความเข้มเสียง 90 dB

(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2014/02/04/35980_1391508218.jpg)

เดี๋ยวเรื่อง VPL (Voltage Peak Limiter) จะมาต่อให้อีกทีนะครับ กับ headroom จะมาต่ออีกทีนะครับ



หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: ถาวร ที่ มกราคม 14, 2014, 08:42:59 am
  ขอขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ และขอแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ด้วยคนนะครับ

- เสียงร้อง/ดนตรีแต่ละชิ้น มันแกว่งขึ้นลงๆ ไปตามความถี่ น้ำหนักและจังหวะ ไม่นิ่ง ระดับ 0dB จึงแค่ใช้ประมาณเท่านั้น
- Mixer มันก็มีหลายช่อง บางทีสัญญาณมันก็มาพร้อมๆ ทุกช่อง บางทีมาหลายช่อง บางทีมาบางช่อง บางทีมันก็มาช่องเดียว บางทีมันก็ไม่มีเลย (เงียบ) (สัญญาณจากคอมฯ คาราโอเกาะ เป็นสัญญาณเดียว คือมีการ Mix มาแล้ว)
- บัางทีมีเสียงร้องกระแทก ตะโกนใส่ไมค์ บางจังหวะ กลอง,เครื่องเคาะ ก็จำเป็นให้ดังกว่าปกติ ตามอารมณ์ของดนตรี

- สัญญาณเมื่อรวมกัน(Sum) จะถูกดัดแปลง Voltages/samples แล้วมาออกเป็น Output (Combined signals)
- สัญญาณ 0dB จาก Channel สัญญาณเดียว ไปที่ Main Mix 0dB ก็น่าจะออกที่ 0dB  เพราะไม่ผสมกับใคร
- ถ้าสัญญาณ 0dB สองช่อง mixed กัน มันต้องสูงกว่า 0dB แน่ จะมากหรือน้อยก็เท่านั้น เพราะเราคงไม่ป้อนสัญญาณที่กลับเฟสเข้ามา Mixed จึงไม่มีโอกาสเกิดการหักล้างให้ลดระดับสัญญานลงไป

- ถ้ายิ่งหลายๆสัญญาณเกิดมาพร้อมๆกัน ผลลัพธ์มันก็น่าจะต้องขยับเพิ่มขึ้นไปอีก ถือเป็น Reproduce ของตัว Mixer
- เป็นเหตุการณ์ของสัญญาณที่เพิ่มขึ้นโดยไม่คาดคิด เชื่อว่านี่คือเหตุผลหนึ่งที่ต้องมี Headroom เพื่อเอาไว้รองรับมัน

- คิดว่า ถ้าใช้ Headroom สูงๆที่ Channel หลายช่อง เมื่อรวมสัญญาณที่ Main Mix ณ 0dB อาจถึงจุด Clip ได้ง่ายๆ
  (Headroom มีมากยิ่งดีปลอดภัย มีน้อยต้องระวังการใช้งาน มีมากใช้มากเหลือน้อยก็ต้องระวังเหมือนกัน)

- ส่วนตัวแล้ว แต่ละ Channel ตั้ง Gain ไว้ที่ 0dB บ้าง,ต่ำกว่าบ้างแล้วแต่ชนิดดนตรี บางช่องก็ Peak หน่อย เช่น Drum,Snare เป็น Tempo ช่วงสั้นๆที่ต่อเนื่อง,Bass,เสียงร้องตั้งที่ 0dB เมื่อรวมที่ Main Mix จะวิ่งใน Headroom สูงกว่าเสียงอื่น (จะต่ำหรือจะ Peak Set ที่ Gain แต่สไล้ด์ Channel Fader ยังคงปรับให้อยู่ที่ 0dB เป็นตำแหน่งปฏิบัติการไว้ก่อน) 
- แล้วสัญญาณที่ Main Mix จะแกว่งขึ้นลงตั้งแต่ 0dB และส่วนใหญ่จะล้ำเข้าไปใช้พื้นที่ Headroom มากบ้างน้อยบ้าง
- Processor อื่นๆ มันก็มี Reproduce เป็นของตัวเองเหมือนกัน แต่ความแตกต่างคงไม่เท่า Mixer บางอย่างก็ลดลง
  เช่น Crossover , Compressor , Feedback (การบันทึกเสียงอาจไม่ใช่แบบนี้ก็ได้)

- แต่ละ Channel เหมือนส่วนประกอบอาหารที่เติมเข้ามา ใช้ถ้วยตวงขนาด 0dB เป็นมาตรวัด ชอบรสชาติอย่างไรก็ Mixed เอาเอง เมื่ออร่อยดีแล้ว กินมากน้อยแค่ไหนก็เปิดที่ Sub-Group หรือ Main Mix บริโภคเข้าไป น่าจะใกล้เคียง 

- การเร่ง Gain Input ของ Power Amp เน้นสัญญาณเต็ม จึงไม่เร่งสุดครับ ขึ้นกับการใช้งาน พื้นที่ และกำลังขับ

   smiley4ถ้าผิดพลาดขออภัย หรือหากได้รับความรู้ใหม่ๆ ก็พร้อมที่จะเปลี่ยนแนวความคิดนี้ได้ครับ..
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: sombattsound ที่ กุมภาพันธ์ 01, 2014, 01:30:58 am
ถามแบบไม่รู้จริงๆครับว่า

ผมใช้ YAMAHA  O1V96  mixer

และ Power amp CROWN powertech 2   ขับกลางแหลม ( JBL JRX115 ข้างละ 2 ใบ )

และใช้ power amp craftaudio pv7 ขับเบส ( EV S181 ข้างละ 2 ใบ )

ผมต้องปรับสวิท ที่ 0.77v หรือ 1.4v ครับ  ช่วยตอบด้วยนะครับ

นี่spec ของ crown powertech 2ครับ

 
The following applies to units in Stereo mode with 8-ohm loads and an
input sensitivity of 26 dB unless otherwise specified.
Standard 1 kHz Power: refers to maximum average power in watts at
1 kHz with 0.1% THD.
Full Bandwidth Power: refers to maximum average power in watts
from 20 Hz to 20 kHz with 0.1% THD.
120 VAC, 60 Hz Units:   refers to amplifiers with dedicated transformers
for 120 VAC, 60 Hz power mains.
International Units:    refers to amplifiers with special multi-tap
transformers that make them configurable for several AC mains
voltages and line frequencies.
Performance
Frequency Response:±0.1 dB from 20 Hz to 20 kHz at
1 watt.
Phase Response: ±10 degrees from 10 Hz to 20 kHz at
1 watt.
Signal-to-Noise:A-weighted, better than 105 dB below
full bandwidth power. Better than 100 dB below full
bandwidth power from 20 Hz to 20 kHz.
Total Harmonic Distortion (THD): Less than 0.05% at
full bandwidth power from 20 Hz to 1 kHz increasing
linearly to 0.1% at 20 kHz.
Intermodulation Distortion (IMD):(60 Hz and 7 kHz
4:1) Less than 0.05% from less than 171 milliwatts to full
bandwidth power.
Damping Factor: Greater than 1,000 from 10 Hz to
400 Hz.
Crosstalk
Power-Tech 1: Greater than 75 dB below full bandwidth
power from 50 Hz to 2 kHz, rising linearly to greater than
60 dB at 20 kHz.
Power-Tech 2: Greater than 90 dB below full bandwidth
power from 50 Hz to 2 kHz, rising linearly to greater than
66 dB at 20 kHz.
Power-Tech 3: Greater than 90 dB below full bandwidth
power from 50 Hz to 4 kHz, rising linearly to greater than
70 dB at 20 kHz.
Controlled Slew Rate:Greater than 13 volts/ms.
Voltage Gain: 20:1 ±3% or 26 dB ±0.25 dB at the
maximum level setting.
Power-Tech 1: 54:1 ±12% or 35 dB ±0.5 dB at 0.775-volt
sensitivity; 30:1 ±12% or 30 dB ±1 dB at 1.4-volt
sensitivity.
Power-Tech 2: 66:1 ±12% or 36 dB ±0.5 dB at 0.775-volt
sensitivity; 36:1 ±12% or 31 dB ±1 dB at 1.4-volt
sensitivity.
Power-Tech 3: 84:1 ±12% or 38 dB ±0.5 dB at 0.775-volt
sensitivity; 46:1 ±12% or 33 dB ±1 dB at 1.4-volt
sensitivity.
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: ถาวร ที่ กุมภาพันธ์ 02, 2014, 01:10:43 pm
- เรื่องกำลัง Watt(W) , Gain(dB) , Input Sensitivity(Volt) , Volume(+-dB) มันมั่วๆ ปนๆ กันจนแยกไม่ออกแล้ว

- พยายามหาข้อมูลเรื่อง sensitivity เท่าที่หามาได้มานำเสนอ ดังนี้ครับ..

- Input sensitivity มีค่าที่เป็นมาตรฐานอยู่ 2 ค่าคือ 0.77V ( เป็นมาตรฐาน Signal Processor และ 1.4V เป็นมาตรฐาน Broadcast (เขาว่างั้น)
- เครื่องที่มีปุ่มเลือกก็แสดงว่าเปลี่ยนค่า sensitivity ได้ เครื่องที่ไม่มี ก็แสดงว่า Fixed ค่า sensitivity คงที่
- ค่า sensitivity  0.77V ย่อมต่างกับ 1.4V แน่นอน แต่เราเข้าใจมันอย่างไรเท่านั้น อย่าเข้าใจว่าเป็นกำลังนะ..

- Amp ชนิดเดียวกัน 2 ตัว ตัวหนึ่งที่ตั้ง sensitivity = 0.77V จะต้องการใช้ gain(dB) ที่มากกว่าอีกตัวหนึ่ง ที่ตั้ง 1.4V เพื่อขับ Output ให้ได้กำลังเท่ากัน
- นั่นคือมันต้องการ Input Voltage gain ที่แตกต่างกันเพื่อขยายสัญญาณให้ได้เต็มกำลัง (ต่างยี่ห้อ ต่าง Sensitivity ก็ยิ่งไม่เหมือนกัน เขาจึงให้มีมาตรฐานเอาไว้เผื่ออาจใช้ร่วมกันมั้ง..)

- เปรียบเทียบกับรถยนต์ 2 คัน ยี่ห้อและรุ่นเดียวกัน เครื่องยนต์เหมือนกัน คันหนึ่งเราปรับแต่งคันเร่งให้เหยียบนิดเดียวก็เต็มรอบ แสดงว่าคันที่แต่งคันเร่งมี sensitivity สูง แต่สุดท้ายก็วิ่งได้เร็ว หรือมีกำลังเท่ากัน (น้ำหนักการเหยียบคันเร่งที่กดลงไป ก็คือลักษณะของ Input Sensitivity นั่นเอง)
- จึงมิได้หมายความว่าตั้งค่าแล้ว ตัวใดตัวหนึ่งจะมีกำลังมากกว่าหรือน้อยกว่าอีกตัวหนึ่ง เพียงแต่ว่าเมื่อตั้งค่าแล้ว เอาไปใช้ร่วมกับระบบไหน บรรเลงในระดับเดียวกันหรือเปล่า  (หรือใช้กับคนขับรถที่เป็นคนชอบเหยียบคันเร่งแบบเดียวกันหรือเปล่า..)

- แต่มี Sensitivity อีกอันหนึ่งที่ใช้เป็นค่าอ้างอิงกับค่า Voltage Gain เช่น Crown เห็นอ้างอิงที่ 26dB เพื่อให้บอกค่า Sensitivity ซึ่งก็มีค่าแตกต่างกันตามวงจรที่วิศวกรอออกแบบ และตามกำลังขับ ซึ่งเป็นทางเลือกนอกจาก 0.77V หรือ 1.4V อีกทางเลือกหนึ่ง
- รุ่นที่ Fixed Sensitivity ก็จะมีบอกในเอกสาร Specification โดย Gain เป็นค่า dB และ Sensitivity เป็นค่า Volt เราจำต้องใช้ไปตามนั้น

- 0.77V หรือ 1.4V มันน่าจะใช้กรณีระบบใหญ่ ที่มี Power Amp หลายๆ ตัว หลายๆ กำลัง หรือหลายๆยี่ห้อมาใช้ร่วมกัน มันเอาไว้แก้ปัญหากรณีมีสถานการณ์จำเป็นที่ต้องแก้ไข เช่น Power Amp เสียงกลาง เกิดเสียขณะแสดงสด จำเป็นต้องเปลี่ยน Power Amp ตัวใหม่ต่างรุ่นต่างกำลังกันมาใช้แทนด่วน จำเป็นต้องตั้ง sensitivity หรือ Gain(dB) ให้มีระดับเท่าเดิมหรือใกล้เคียงมากที่สุด ไม่กระทบต่ออุปกรณ์ Processor อื่นๆที่ต่อพ่วงด้วย เช่น limiter จะได้ไม่ต้อง Set ปรับจูนใหม่ให้มากมาย อะไรอย่างนั้น

(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2014/02/02/12002_1391335009.jpg)

- ตัวอย่างข้อมูลยี่ห้อ Crown ตามภาพด้านบน มันมี Sensitivity มาตรฐาน 0.77V กับ 1.4V และ Sensitivity @ 26dB อีก 1 อัน เป็น 3 อันให้เลือก
- หรือจะบอกว่า มันมี Voltage Gain 26dB 1 อัน และ Voltage Gain @ 0.77V กับ 1.4V อีก 2 อันให้เลือก เพื่อให้ทราบกรณีต้องการขับเต็มกำลัง (งงๆ หน่อยนะ เพราะมันมองภาพได้ 2 มุม)
- สมมุติว่าในระบบใหญ่ระบบหนึ่ง Power Amp ทั้งหมดเลือกใช้ 0.77V และต่อมา MA2402 เกิดเสีย จำเป็นต้องเอา MA5002VZ มาแทนชั่วคราว แต่ระหว่างนั้นไม่มีเวลาปรับแต่ง คงต้องใช้ Input Voltage Gain เดิม จึงต้องปรับ Input Sensitivity ของเครื่อง MZ5002VZ ให้เป็น 1.4V ซะ
- นั้นคือเดิมใช้ 38dB เมื่อเปลี่ยน Amp แล้วจะเป็น 37dB ถือว่าค่าใกล้เคียง ทีนี้ Processor อื่นที่ต่อก่อนหน้ามันก็แทบจะไม่ต้องปรับอะไร

- เป็นความเข้าใจส่วนตัวนะครับ ผมว่าเราใช้ค่าปกติที่ 26dB ดีกว่ามั้ง ดูแล้วมันมี Sensitivity สูงกว่าค่ามาตรฐาน จึงต้องการ Voltage Gain น้อย คือ 26dB เท่านั้น ใกล้เคียงกับระดับที่ Mixer ทำได้ แสดงว่าระบบมาตรฐาน ต้องการสัญญาณที่มี Voltage Gain สูงๆ อาจจะเพื่อการประมวลผลที่ดี ระบบใหญ่ที่เราไม่มีโอกาสสัมผัส ไม่รู้ว่าที่เข้าใจมาใกล้เคียงกับที่ถูกต้องจริงๆ หรือเปล่า..
- ถือว่ารับฟังข้อมูลไว้พิจารณานะครับ แปลๆเขามา ยกตัวอย่างเห็นภาพดี อาจแปลผิดไม่ใช่อย่างที่อธิบายนี้ก็ได้ บางส่วนก็พอไปได้ บางส่วนก็ยังไม่ชัดเจน ช่วยกันศึกษาและให้ความเห็นได้ครับ.. smiley4
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: BushPam ที่ กุมภาพันธ์ 07, 2014, 10:41:15 pm
ผมลองทำดูแล้ว พี่หมอ แม๊กซ์  ใช้ได้เลยครับ smiley4

แจ๋วเลยครับ smiley4
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: CLT ที่ มีนาคม 01, 2014, 03:42:40 pm
ขอบคุณครับสำหรับความรู้ดีๆ ที่ช่วยกันแชร์ประสบการณ์มาให้สมาชิกได้เรียนรู้กัน
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: sarawutsound ที่ มีนาคม 14, 2014, 08:28:58 pm
การปรับ input sensitivity ของ power amp บางรุ่น อาจเป็นแบบ dip switch เช่น ของ  labgruppen A&J รุ่น FS series เป็นต้น เป็น inputsensitivity แบบ fixed gain 8 step

คือสามารถปรับ input sensitivity ได้ 8 step คือ 23, 26, 29, 32, 35, 38, 41, 44 dB

(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/09/21/76698_1379743107.jpg)

ถ้าเราปรับ dip switch เป็น 32 dB หมายความว่า
- input 0 dB จะได้ output ขยายเป็น 32 dB
- input +4 dB จะได้ output ขยายเป็น 36 dB
- input -6 dB จะได้ output ขยายเป็น 26 dB

แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เครื่องเสียงเราสมควรจะปรับไว้ที่ตำแหน่งไหน

ตามคู่มือที่ให้ไปอ่านเขาบอกว่า
ต้อง รู้ว่า dBSPL ที่เราต้องการ ในงานนั้นๆ ว่าต้องการเท่าไร แล้วมาคำนวนกลับว่า เราควรจะปรับ dip switch ไว้ที่ตำแหน่งใด เพื่อให้เหมาะสมกับ กำลังขับของ power amp และ ดอกลำโพงของเรา

(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/10/16/35980_1381914440.jpg)

(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/10/16/35980_1381914665.jpg)

จากรูปที่ 2
สิ่งที่เราต้องใช้คำนวน เพื่อออกแบบ กำลังของดอกลำโพงที่เหมาะสม(PNOM)โดยใช้ระดับความเข้มเสียง ณ จุดอ้างอิง (target dBSPL) คือ
1. Speaker sensitivity มีหน่วยเป็น dBSPL/W/m (หาดูได้จาก specification sheet ของ ดอกลำโพงของคุณ)
2. DBSPL ณ จุดที่เราต้องการ(target dBSPL)
3. ระยะห่าง จากดอกลำโพง ถึง จุดอ้างอิง (dmeters) มีหน่วยเป็น เมตร

โดยใช้สูตร
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/10/17/35980_1381983715.jpg)

สูตร 2 หาค่ากำลังที่จุดอ้างอิง (PdB-NOM)
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/10/16/35980_1381915165.jpg)

ขอยกตัวอย่าง spec ของ ลำโพงรุ่นหนึ่งมาให้ดูเพื่อ คำนวนนะครับ

(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/10/16/35980_1381915932.jpg)

ตัวอย่างการคำนวน

ถ้า power rate 1200W rms
ที่ระยะ 30 เมตร จะได้ dBSPL
ใช้สูตร (http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/10/17/35980_1381983715.jpg)

DBSPL=98+10log1200 -20log30
= 99.25 dB

(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2014/02/04/35980_1391508095.jpg)

ถ้าเราต้องการ target dBSPL =90 dBSPL ที่ระยะห่าง 30 เมตร โดยใช้ ลำโพงที่ยกตัวอย่าง 1 ดอก(impedance = 8 ohms) วิธีคิดคือ
1. หาค่า PdB-NOM ณ จุดอ้างอิง โดยใช้สูตร (http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/10/16/35980_1381915165.jpg)

PdB-NOM= [90+20log(30)]-98
PdB-NOM = (90+30)-98 = 21.54 W

2.หาค่า PNOMของลำโพง จากสูตร

PNOM=10PdB-NOM/10

PNOM=1021.54/10 = 102.154 = 142.6W

(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/10/17/35980_1381998127.jpg)
PAMP คือ กำลังของ amplifier เวลาเลือก ควรให้มากกว่าหรือเท่ากับ Pmax ของลำโพง เช่น speaker รุ่นนี้ Pmax(RMS)=1200 W การเลือก power amp ควรให้ ได้มากกว่าหรือเท่ากับ 1200 W


ทีนี้เมื่อเราได้ PNOM ก็ไปคำนวน หา voltage output (VNOM) ของ amp ว่าถ้า ขับดอกลำดพงดอกนี้ด้วยกำลังที่เท่ากับ  PNOM จะใช้ voltage เท่าไร
โดยใช้สูตร

V=รากที่สองของ PxR
จะได้ VNOM= รากที่สอง PNOMxR
VNOM= รากที่สอง 142.6x8
VNOM= 33.78 V


เปลี่ยน V เป็น dB ตามสูตร
dBNOM=20log[VNOM/V0] ; V0=0.775V
จะได้
dBNOM=20log (33.78/0.775) = 32.7dB

ถ้าเราใช้ sensitivity แบบ dip switch เราก็ปรับไว้ที่ 32 dB
ดังนั้น เราจะ match สัญญาณจาก mixer 0 dBu เมื่อผ่านมาที่ amp จะขยายเป็น 32 dB ที่ภาค output ของ amp ได้แรงดัน 33.78 V เมื่อต่อกับ speaker 8 ohms ที่มี sensitivity 98dB/W/m และได้กำลัง 142.6 W เมื่อระยะห่างจากจุดกำเนิด 30 เมตร จะมีความเข้มเสียง 90 dB

(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2014/02/04/35980_1391508218.jpg)

เดี๋ยวเรื่อง VPL (Voltage Peak Limiter) จะมาต่อให้อีกทีนะครับ กับ headroom จะมาต่ออีกทีนะครับ






ขอบคุณอาจารย์มากๆครับ ^^  smiley4
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: arnat_2529 ที่ มีนาคม 19, 2014, 10:18:39 pm
ขอเก็บความรู้ด้วยคนครับ พวกพี่คือสุดยอดอาจารย์เลยครับ ข้าน้อยขอคารวะ 1 จอก
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: saksuriya ที่ มีนาคม 27, 2014, 08:51:31 pm
...เก็บความรู้...
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: Chayut renu ที่ มีนาคม 27, 2014, 10:05:10 pm
ควรแยกประเด็นให้ออกระหว่าง
- การปรับแต่งเสียง (EQ)
- การปรับแต่ง Gain ของแต่ละ CH
- การปรับแต่ง Fader ของแต่ละ CH
- การบาลานซ์ Gain ของแต่ละอุปกรณ์

อย่าเอามารวมเป็นเรื่องเดียวกันครับ

จริงๆ กระทู้นี้เริ่มต้นมาจาก "ควรเร่งแอมป์ไว้สุดหรือไม่"
คำตอบคือ "ไม่ควร"
เหตุผลคือ "การบาลานซ์ Gain ของแต่ละอุปกรณ์" ทำไม่ได้ + มี Noise ในระบบเยอะ + ขาด HeadRoom ในการทำงาน

ส่วนที่บอกว่า "ควร"
เหตุผลคือ "การไม่เร่งสุด จะทำให้ได้กำลัง Power ไม่เต็มที่"

ซึ่งจริงๆ ท่านเหล่านั้นเข้าใจผิดคิดว่า "วอลลุ่ม" คืน "คันเร่ง" ของ Power Amp ซึ่งมันไม่ใช่ครับ
และเข้าใจว่า  "ถ้าเราไม่บิดสุด คือ Power ทำงานไม่สุด" ซึ่งมันไม่ใช่เช่นกัน

ถ้าท่านกลับไปดูวงจรแอมป์ ทุกตัว
ท่านจะเห็นว่า Volume นั้น ถูกต่อเข้าก่อนที่สัญญาณจะถูกส่งไปขยายใน ภาค Power
หรือถ้ามองง่ายๆ กว่านั้น มันก็คือ "Input Gain" ของ Power Amp นั่นเองครับ มีไว้สำหรับ ปรับให้ "Gain Input" ของ
Power Amp นั้น เหมาะสมกับระบบของเรา 

หาได้ใช่ "Out put trim" ของ Power Amp ไม่ (ผมยังไม่เห็นวอลลุ่ม ไปต่อตรงสายลำโพง-ภาค output เลยครับ ถ้ามีขออภัย)

ตราบใดก็ตาม ที่เราสามารถเร่งเสียง จน Power Clip ได้ นั่นแสดงว่า Power ทำงานเต็มกำลังแล้วครับ ไม่ว่าเราจะหมุน "วอลลุ่ม" ไว้ตำแหน่งใดก็ตาม (ไม่จำเป็นต้องสุด) แต่ถ้าเราบิดไว้น้อยเกิน เราเร่งเสียงจาก Mix ไปจนสุดแล้ว แต่ Power ยังไม่คลิป
นั่นแสดงว่า เราหมุน "วอลลุ่ม" ไว้น้อยเกิน  อันนี้ Power จะทำงานไม่เต็มกำลัง "จริง" เพราะเราไม่สามารถเร่งจนมันคลิปได้ แสดงว่ายังมี "กำลังเหลืออยู่"

แล้วตำแหน่งใดเหมาะสมกับระบบเรา ที่เราควรหมุน "วอลลุ่ม" ไว้หล่ะ
คำตอบ คือ ให้กลับไปอ่านหน้าที่ 3 ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับเรื่อง "การบาลานซ์ Gain ของแต่ละอุปกรณ์"

แต่ถ้าขี้เกียจอ่าน หลักการง่ายๆ คือ ถ้าเราเร่ง "Mix" ของเราไปจนเกือบคลิปแล้ว อุปกรณ์ทุกอย่างรวมทั้งแอมป์ด้วย ต้องเริ่มคลิปแล้ว  นั่นแปลว่า สัญญาณเรา บาลานซ์ "Gain" ได้แล้ว และ Power Amp เราทำงาน "เต็มกำลัง" แน่นอน เพราะว่าเราสามารถเร่งมันให้คลิปได้!


ไม่ได้เกี่ยวเรื่อง กลอง สแนร์ เรื่อง EQ เลยครับ ควรแยกประเด็นให้ออก

ไม่งั้น "ไปไหนมา สามวาสองศอก"  ครับ!



และหมอยังได้มาต่อยอด  หลักการบาลานซ์ "Gain" ของแต่ละ CH ของ Mix ด้วยครับ
อันนี้ก็สุดยอดเหมือนกัน

ส่วนเทคนิคการบาลานซ์ Gain Input ของแต่ละ CH ผมจะใช้การ balance ทุก CH ไว้แถวๆ 0db ครับ รวมถึงไมค์ร้องด้วย
เพราะมันง่ายในการทำงาน
อ้าว แล้วแบบนี้ เสียง kick / snare ... มันก็เท่ากันหมดหน่ะซิ
ปล่าวครับ ผมใช้ เทคนิคการเลื่อน fader ไม่เท่ากันครับ
fader kick ผมจะอยู่แถว 0db หรือขึ้นไป +3db
fader snare และอื่นๆ ผมจะตั้งไว้แถวๆ -3db ถึง - 5db แล้วแต่ความชอบหรือไม่ชอบ
จากนั้นเวลาลองเสียงหรือเล่นเพลงจริง ก็ค่อยเลื่อนขึ้นลง ตามใจชอบครับ (ขึ้นลงนิดหน่อย)

อ้าว แบบนี้เสียงร้องก็จม เหมือนที่หมอพูดไว้หน่ะซิ ต้องซื้อมิ๊กอีกตัวเหรอ
ปล่าวครับ ผมใช้วิธีจัดกรุ๊ปเอาครับ
- เครื่องดนตรีทุกชนิด โยนเข้า กรุ๊ป 2
- ไมค์คร้องทุกตัวรวมทั้ง effect นอก โยนเข้า กรุ๊ป 1

แล้วค่อยเลื่อน สไลด์ของ Group 1/Group 2 ตามใจชอบ บางครั้งพี่ชายบอกดนตรีดังไป ก็ลด Group 2 ลง
บางครั้งบอกไมค์ร้องดังไป ก็ ลด Group 1 ลง

ส่วน Main Slide (Master) เลื่อนขึ้นลง ตามระดับความเมาครับ  brow



หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: cannabis ที่ มีนาคม 30, 2014, 05:27:04 pm
สุดยอดครับได้ความรู้เพิ่มและนำไปใช้ในระบบเครื่องเสียง PA smiley4
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: mitr ที่ เมษายน 02, 2014, 05:10:58 pm
พรุ่งนี้ค่อยมาดูต่อครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: อ้วนชัย มิวสิค ★ ที่ เมษายน 06, 2014, 10:28:56 pm
สมัยก่อนที่เคยนิยมแอมป์ประกอบ ไม่ว่าจะประกอบจากช่างหรือประกอบกับเพื่อนๆ ผมได้สอบถามจากช่างฝีมือมาหลากหลายได้คำตอบเรื่องวอลลุ่มว่า มีไว้เพื่อลด และป้องกันการกระแทกของสัญญานในบางขณะเท่านั้น เช่น ตอนเปิดเครื่อง แต่ถ้าเมื่อแอมป์ทำงานในภาวะปกติแล้ว วอลลุ่มก็ไม่มีประโยชน์อะไร(ซึ่งสามารถตัดออกไปก็ได้ไม่ต้องมีก็ได้..) อย่างที่แอมป์หลายๆ รุ่นหลายๆ ยี่ห้อไม่มีวอลลุ่มครับ.. smiley4 smiley4
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: Summaostudio ที่ เมษายน 08, 2014, 03:26:17 pm
สอบถามครับ..
วันนี้ผมลอง Set ระบบแบบ Peak to Peak ดังนี้ครับ
1. ใช้ Yamaha Digital Mixer รุ่น O3D โดยปล่อยสัญญาณ Pink Noise ออกมา และ Master Fader ตั้งไว้ที่ 0 ได้ระดับตามภาพ(ทดสอบแบบ Mono โดยเอาสัญญาณเสียงจาก L
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2014/04/08/56709_1396944595.jpg)

(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2014/04/08/56709_1396944630.jpg)

2.นำสัญญาณเข้าที่ EQ ช่อง 1
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2014/04/08/56709_1396945078.jpg)

(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2014/04/08/56709_1396945103.jpg)

3. Cross ใช้ทดสอบแค่ 2 ทางก่อน คือกลาง กับแหลม
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2014/04/08/56709_1396944732.jpg)

4.ตัด Cross ดังภาพ (ใช้ตัวบนครับ)
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2014/04/08/56709_1396944800.jpg)

5.และไปเร่งโวลลุ่มที่ GX7 เพื่อหาจุดคลิปของสัญญาณ...ปรากฎว่า เร่งจนสุดไม่คลิปเลยครับ(ในภาพปิดเครื่องหลังจากทดสอบแล้วนะครับ)
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2014/04/08/56709_1396944555.jpg)

6.ลองเพิ่ม Master Fader ของ O3D จนสุด ก็ยังไม่คลิปอยู่ดี ...
(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2014/04/08/56709_1396945444.jpg)

แต่ยังไม่ได้ลองกับเพาเวอร์ตัวอื่น
 frusty
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: manynoise ที่ เมษายน 09, 2014, 02:21:21 pm
พี่ Summaostudio ขาดรูป System gain ที่ cross ครับ ^^
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: Summaostudio ที่ เมษายน 09, 2014, 09:47:24 pm
พี่ Summaostudio ขาดรูป System gain ที่ cross ครับ ^^
ปรับไว้ที่ 0 เท่ากันหมดครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: manynoise ที่ เมษายน 10, 2014, 02:56:07 pm
ไม่แน่ใจนักนะพี่ แต่ที่เห็นคือ ที่มิกซ์พี่ก็ยังไม่ peak เลยนี่ครับ
ถ้า pinknoise ในตัวปล่อยเต็มที่ได้แค่นั้น ผมว่าพี่น่าจะลองใช้ pinknoise ข้างนอกปล่อยเข้า chanel มานะครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: sujin wiengin ที่ เมษายน 24, 2014, 10:43:07 am
ขอบคุณทุกท่านครับ smiley4 smiley4
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: LOP_Sound System ที่ เมษายน 24, 2014, 11:59:28 am
sensitivity ที่แอมปืผม มี  0.775v , 0.35v และ 26dB

ต้องทำไงน้อ... ไม่มี  1.4v เหมือนเค้า
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างแอ้ด™ ที่ พฤษภาคม 06, 2014, 07:50:40 pm
sensitivity ที่แอมปืผม มี  0.775v , 0.35v และ 26dB

ต้องทำไงน้อ... ไม่มี  1.4v เหมือนเค้า
แสดงว่าไม่ได้อ่านและทำความเข้าใจหรือก็ยังสับสนไม่เข้าใจวิธีคิด
 .... แอมป์กี่วัตต์ต้องรู้ก่อน 26dB จึงจะหาค่าจาก dBv. ได้   พี่หมอเขียนการคิดทำสรุปไว้ดีแล้วครับ

http://www.jimprice.com/prosound/db.htm
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: LOP_Sound System ที่ พฤษภาคม 14, 2014, 03:31:26 pm
sensitivity ที่แอมปืผม มี  0.775v , 0.35v และ 26dB

ต้องทำไงน้อ... ไม่มี  1.4v เหมือนเค้า
แสดงว่าไม่ได้อ่านและทำความเข้าใจหรือก็ยังสับสนไม่เข้าใจวิธีคิด
 .... แอมป์กี่วัตต์ต้องรู้ก่อน 26dB จึงจะหาค่าจาก dBv. ได้   พี่หมอเขียนการคิดทำสรุปไว้ดีแล้วครับ

ยัง งง ครับ พี่แอ๊ด ....  อ่านสองรอบแล้ว  ผมสับสนในวิธีคิด ..
โทรหาพี่แอ๊ด ได้บ่
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างแอ้ด™ ที่ พฤษภาคม 14, 2014, 09:07:49 pm
เอ้า ยังงง  .. แจกโพย แปลงค่า db gain เป็น voltage gain   

http://www.muzique.com/schem/gain.htm

ตัวอย่าง 26db fix gain = 20 เท่า voltage gain   
สมมติ แอมป์ ขับได้ สูงสุด 80v rms   หรือประมาณ  800 วัตต์ที่ 8 โอมห์ (non clip)
ความต้องการสัญญาณอินพุทเพื่อทำให้ได้กำลังสูงสุด  = 80/20 = 4V.rms = sensitivity (คำตอบ)

ถ้าอินพุทที่ส่งเข้ามาไม่สามารถให้สูงสุดมากกว่า 4V  แอมป์จะทำงานไม่ได้สุด และมีโอกาส clip อินพุท

..กรณี มิกซ์ ยี่ห้อนึง สเปคบอกว่า ให้การขับ output สูงสุด = +21dbu   มันคืออะไร และค่าเท่าไรกันแน่ ที่ได้

ดูอันนี้ .. http://www.sengpielaudio.com/calculator-db-volt.htm

ไม่ต้องปวดหัว เรียนอีกหลายปี  ใส่ค่าเข้าไป กด calculate แปลง  = คำตอบ +21dbu = 8.69v.rms

และ อีกที ...สมมติ แอมป์ เกน 26db ขับได้ สูงสุด 80v rms   หรือประมาณ  800 วัตต์ที่ 8 โอมห์ (non clip)
... แล้วเพาเวอร์แอมป์จะขับได้เต็มกำลังเมือ vu meter กี่ dbu  =ใส่ค่า 4v. rms กด calculate แปลง 
= คำตอบ =~14.26dbu  ..

...วิธีคิดของผม  ประมาณนี้   โทรศัพท์ไว้ติดต่อผู้สาวพู้นเข้าท่ากว่า   +555  smiley4

(http://upic.me/i/gm/dbdbdbd2.jpg)

(http://upic.me/i/7o/1-common-operating-level-ranges.jpg)

(http://upic.me/i/in/baselines-n.jpg)
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: LOP_Sound System ที่ พฤษภาคม 14, 2014, 09:30:37 pm
เอ้า ยังงง  .. แจกโพย แปลงค่า db gain เป็น voltage gain   

http://www.muzique.com/schem/gain.htm

ตัวอย่าง 26db fix gain = 20 เท่า voltage gain   
สมมติ แอมป์ ขับได้ สูงสุด 80v rms   หรือประมาณ  800 วัตต์ที่ 8 โอมห์ (non clip)
ความต้องการสัญญาณอินพุทเพื่อทำให้ได้กำลังสูงสุด  = 80/20 = 4V.rms = sensitivity (คำตอบ)

ถ้าอินพุทที่ส่งเข้ามาไม่สามารถให้สูงสุดมากกว่า 4V  แอมป์จะทำงานไม่ได้สุด และมีโอกาส clip อินพุท

..กรณี มิกซ์ ยี่ห้อนึง สเปคบอกว่า ให้การขับ output สูงสุด = +21dbu   มันคืออะไร และค่าเท่าไรกันแน่ ที่ได้

ดูอันนี้ .. http://www.sengpielaudio.com/calculator-db-volt.htm

ไม่ต้องปวดหัว เรียนอีกหลายปี  ใส่ค่าเข้าไป กด calculate แปลง  = คำตอบ +21dbu = 8.69v.rms

และ อีกที ...สมมติ แอมป์ เกน 26db ขับได้ สูงสุด 80v rms   หรือประมาณ  800 วัตต์ที่ 8 โอมห์ (non clip)
... แล้วเพาเวอร์แอมป์จะขับได้เต็มกำลังเมือ vu meter กี่ dbu  =ใส่ค่า 4v. rms กด calculate แปลง 
= คำตอบ =~14.26dbu  ..

...วิธีคิดของผม  ประมาณนี้   โทรศัพท์ไว้ติดต่อผู้สาวพู้นเข้าท่ากว่า   +555  smiley4

ขอบคุณพี่ช่างแอ๊ดมากๆๆครับ

ต้องทดสอบสนามจริงแล้วแร่ะเอา (ใต้ถุนบ้าน) เอาให้แผ่นดินสะเทือน กับ low 18 ใบ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: non ที่ กรกฎาคม 05, 2014, 05:54:04 pm
 kisss ขอบคุณมากๆครับ (ได้ความเข้าใจมากขึ้นครับ หลังจากเคยทดลองด้วยตัวเองมาก่อนบ้างแล้วครับ) smileyy
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: Ought ที่ กรกฎาคม 09, 2014, 09:16:37 am
ขอบคุณครับ

 smiley4
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: monster ที่ กรกฎาคม 09, 2014, 08:26:36 pm
แจ่มมากครับ ความรู้ทั้งนั้นขอบคุณมากครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: tuvachit111 ที่ กรกฎาคม 09, 2014, 08:39:11 pm
ขอบคุณพี่ช่างแอ๊ดมากๆๆครับ

ต้องทดสอบสนามจริงแล้วแร่ะเอา (ใต้ถุนบ้าน) เอาให้แผ่นดินสะเทือน กับ low 18 ใบ

ผลเป็นไงบ้างครับ ผมอยากรู้ smiley4 smiley4
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: นะอุบล SOUND ที่ กรกฎาคม 25, 2014, 08:01:35 pm
ขอบคุณครับ เดี๋ยวลองมั๊ง  smiley4
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: นะอุบล SOUND ที่ สิงหาคม 08, 2014, 06:54:49 pm
ตอนแรก เราต้องดันสไล ในไล กับMaster  ไปตำแหน่งใดก่อน ที่จะเร่งเกนครับ ช่วยอธิบายขั้นตอนอย่างง่ายหน่อยครับ
เปิดทุกอย่าง รวมทั้ง power amp แล้ว เอาสายลำโพงออก (ไม่ต้องต่อสายลำโพง)

- เอาเสียงอะไรก็ได้ (ให้ดีเป็น pink noise) เข้าช่องไหนก็ได้ Check Gain ให้ PFL อยู่แถวๆ 0db
- ดันสไลด์ในช่องนั้นๆ ไปที่ 0db
- ดันสไลด์ใน Master ไปที่ 0db
- ทุกอย่างที่ต่อจาก mix ไปจนถึง power amp อยู่ที่ 0db
- power amp เร่งสุดก็ได้
*บางคนใช้ compressor/limiter ต่อระหว่าง mix กับ power amp ให้ by pass ก่อนครับ

ขั้นตอนต่อไป
ค่อยๆ ดันสไดล์ master ของ mix ขึ้นไปจนไฟ Peak ขึ้นแล้วลดลงนิดนึงให้กระพริบหรือเกือบติด
แล้วดูว่า อุปกรณ์ทุกตัว (รวมทั้ง EQ) ต้องเริ่มคลิปเช่นกันครับ
- ถ้าอุปกรณ์ตัวไหน คลิปก่อน แสดงว่าเกน แรงไป ก็ไปเบาจาก 0db ลง
- ถ้าอุปกรณ์ตัวไหน ยังไม่คลิป แสดงว่าเกน ค่อยไป ก็ไปเพิ่มจาก 0db ขึ้นไปจนเริ่มคลิปพร้อม mix

การไล่ปรับเกน ก็ไล่ปรับ ตามลำดับสายสัญญาณ จาก mix ไปจนสุดปลายทางคือ power amp ครับ
สุดท้ายที่ power amp ถ้าท่านทำถูกต้องและเร่งไว้สุด ไฟคลิป ต้องขึ้นแดงแจ๋เลยครับ
ให้เบา Volume Power Amp ลงจนไฟคลิป กระพริบ

จำตำแหน่งของ gain ทุกอุปกรณ์ไว้ รวมทั้ง volume power amp เพราะต่อไป ไม่ต้องทำอีก
(ถ้าเราไม่ได้เปลี่ยนระบบ คือต่อทุกอย่างเหมือนเดิม อุปกรณ์ตัวเดิม)

ลองแล้วครับพี่วินัย แอมป์ขับซับ ผมเร่งสุดได้ บ่าย 2 - บ่าย3 คลิปแล้ว แต่แอมป์กลางแหลม หมุนได้แค่ 8 โมง เกินนี้คลิปแล้ว มันผิดปกติหรือเปล่าครับพี่วินัย sinister sinister

เกนไลท์เสียง ลดลงจากคลิป ได้บ่าย2
(http://image.ohozaa.com/i/660/vMLZxC.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xLz7zdf1lmVR0J5V)

- ดันสไลด์ในช่องไลท์เสียงไปที่ 0db
- ดันสไลด์ใน Master ไปที่ 0db
(http://image.ohozaa.com/i/e19/2eKPBn.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xLz7AD9KtMH4vl6e)

ลดEQ หลังจากคลิป  ครอส อิน เอ้า 0db
(http://image.ohozaa.com/i/f2f/PtEamp.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xLz7zVcnUsm4LlkG)

ปรับลดเกนแอมป์ขับ กลาง แหลมหลังจากคลิป ได้ประมาณ 8 โมงเช้า
(http://image.ohozaa.com/i/7e4/U0HQzd.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xLz7zzdHCS2dW4ZX)

ปรับลดเกนแอมป์ เบส หลังจากคลิป ได้ประมาณ บ่าย2 - บ่าย3 โมง (ถ้าทำตามแบบของคุณหมอ ได้ประมาณ 4 - 5 โมงเช้า)

(http://image.ohozaa.com/i/7b9/tLADLU.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xLz7zVcnUq0Lh8OF)
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอแอม
เริ่มหัวข้อโดย: max_medkku ที่ สิงหาคม 11, 2014, 11:03:39 am
ตอนแรก เราต้องดันสไล ในไล กับMaster  ไปตำแหน่งใดก่อน ที่จะเร่งเกนครับ ช่วยอธิบายขั้นตอนอย่างง่ายหน่อยครับ
เปิดทุกอย่าง รวมทั้ง power amp แล้ว เอาสายลำโพงออก (ไม่ต้องต่อสายลำโพง)

- เอาเสียงอะไรก็ได้ (ให้ดีเป็น pink noise) เข้าช่องไหนก็ได้ Check Gain ให้ PFL อยู่แถวๆ 0db
- ดันสไลด์ในช่องนั้นๆ ไปที่ 0db
- ดันสไลด์ใน Master ไปที่ 0db
- ทุกอย่างที่ต่อจาก mix ไปจนถึง power amp อยู่ที่ 0db
- power amp เร่งสุดก็ได้
*บางคนใช้ compressor/limiter ต่อระหว่าง mix กับ power amp ให้ by pass ก่อนครับ

ขั้นตอนต่อไป
ค่อยๆ ดันสไดล์ master ของ mix ขึ้นไปจนไฟ Peak ขึ้นแล้วลดลงนิดนึงให้กระพริบหรือเกือบติด
แล้วดูว่า อุปกรณ์ทุกตัว (รวมทั้ง EQ) ต้องเริ่มคลิปเช่นกันครับ
- ถ้าอุปกรณ์ตัวไหน คลิปก่อน แสดงว่าเกน แรงไป ก็ไปเบาจาก 0db ลง
- ถ้าอุปกรณ์ตัวไหน ยังไม่คลิป แสดงว่าเกน ค่อยไป ก็ไปเพิ่มจาก 0db ขึ้นไปจนเริ่มคลิปพร้อม mix

การไล่ปรับเกน ก็ไล่ปรับ ตามลำดับสายสัญญาณ จาก mix ไปจนสุดปลายทางคือ power amp ครับ
สุดท้ายที่ power amp ถ้าท่านทำถูกต้องและเร่งไว้สุด ไฟคลิป ต้องขึ้นแดงแจ๋เลยครับ
ให้เบา Volume Power Amp ลงจนไฟคลิป กระพริบ

จำตำแหน่งของ gain ทุกอุปกรณ์ไว้ รวมทั้ง volume power amp เพราะต่อไป ไม่ต้องทำอีก
(ถ้าเราไม่ได้เปลี่ยนระบบ คือต่อทุกอย่างเหมือนเดิม อุปกรณ์ตัวเดิม)

ลองแล้วครับพี่วินัย แอมป์ขับซับ ผมเร่งสุดได้ บ่าย 2 - บ่าย3 คลิปแล้ว แต่แอมป์กลางแหลม หมุนได้แค่ 8 โมง เกินนี้คลิปแล้ว มันผิดปกติหรือเปล่าครับพี่วินัย sinister sinister

เกนไลท์เสียง ลดลงจากคลิป ได้บ่าย2
(http://image.ohozaa.com/i/660/vMLZxC.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xLz7zdf1lmVR0J5V)

- ดันสไลด์ในช่องไลท์เสียงไปที่ 0db
- ดันสไลด์ใน Master ไปที่ 0db
(http://image.ohozaa.com/i/e19/2eKPBn.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xLz7AD9KtMH4vl6e)

ลดEQ หลังจากคลิป  ครอส อิน เอ้า 0db
(http://image.ohozaa.com/i/f2f/PtEamp.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xLz7zVcnUsm4LlkG)

ปรับลดเกนแอมป์ขับ กลาง แหลมหลังจากคลิป ได้ประมาณ 8 โมงเช้า
(http://image.ohozaa.com/i/7e4/U0HQzd.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xLz7zzdHCS2dW4ZX)

ปรับลดเกนแอมป์ เบส หลังจากคลิป ได้ประมาณ บ่าย2 - บ่าย3 โมง (ถ้าทำตามแบบของคุณหมอ ได้ประมาณ 4 - 5 โมงเช้า)

(http://image.ohozaa.com/i/7b9/tLADLU.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xLz7zVcnUq0Lh8OF)
ที่มันclip เร็วเพราะ sensitvity ต่ำครับ
ถ้า power amp มีปุ่มปรับ sensitivity ให้เลือก 1.4V ครับ
จะclip ประมาณบ่ายโมง
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอร์แอมป์ ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: นะอุบล SOUND ที่ สิงหาคม 11, 2014, 11:58:46 am
ขอบคุณมากครับ คุณหมอที่ให้คำแนะนำ smiley4
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอร์แอมป์ ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: prangthi ที่ สิงหาคม 15, 2014, 03:13:32 pm
ขอบคุณอาจารย์หลายๆท่านเลยครับ นั่งอ่านอยู่ ชม.กว่าๆ
โวลุ่มที่พาวเวอร์แอมป์ผม กลาง และแหลม ไม่สุด ผมปรับไว้ที่ประมาณ 15 นาฬิกา
เบสปรับไว้สุด ไม่ได้ดูเรื่องค่าบาลานส์เลยครับ กลางและแหลมที่ตั้งไว้แบบนั้น
แค่ให้ลดเสียงรบกวนขณะไม่มีเพลง เท่านั้น เมื่อก่อนบิดสุด จะมีซ่าออกลำโพง
โวลุ่มที่พาวเวอร์แอมป์ช่วยได้ ทำให้ระบบดูดี
เห็นบางเจ้าบิดไว้สุด พอไม่มีเพลง มีซ่าออกลำโพงและดังด้วย
มาอ่านแล้วคงไว้ใช้ลดเสียงรบกวนอย่างเดียวไม่ได้แล้ว คงต้องบาลานส์เกนด้วย
(ผมไปดูคาราบาว เค้ายังเร่งไม่สุดเลยครับ ขนาดแอมป์ไทยชื่อดังๆ ที่เพิ่งเปลี่ยนชื่อนะนั่น )
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอร์แอมป์ ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: kanmusic ที่ สิงหาคม 23, 2014, 12:27:07 am
55ใครจะเร่งสุด ๆ ก็เร่งไปเร้ย แต่ผมไม่เอาสุดแน่ ๆ เคยเจอมาแล้ว ขี้เหล้าเอาเท้าไปเต๊ะสายสัญญาณหลุด แอมพังไปหลายตัวเลย ซ่อมใหม่ก็ราคาเกือบเท่าซืื้อใหม่เลยน๊ะคับ55
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอร์แอมป์ ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: wattanaTP ที่ สิงหาคม 23, 2014, 02:55:29 pm
ความรู้ทั้งนั้นเลย ขอบคูณครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอร์แอมป์ ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: that_phong ที่ กันยายน 06, 2014, 04:40:03 pm
แม้อ่านไปมึนครับ ผมขอแชร์ของผมนะครับ ไม่ได้แย้งใครนะ จะสุดไม่สุดขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมเป็นหลักครับสำหรับผม ปุ่มควบคุมเสียงเพาเวอร์แอมป์นั้นต้องเร่งให้สุดครับ(มันไม่จำเป็นต้องมีก็ได้แต่มีไว้เผื่อฉุกเฉินมันเลยต้องมี)(ถ้าเร่งไม่สุดพวกเพาเวอร์มิกเซอร์ก็ต้องทำปุ่มมาให้เราควบคุมด้วยซิจริงไหมครับ)เราต้องเร่งให้สุดเพราะสัญญาณที่เราส่งมาจากมิกเซอร์ตัวโปรดของเราที่เราได้ทำการปรุงแต่งสัญญาณจนสุดฝีมือนั้นจะได้ไม่ถูกบีบบอัดที่ขาเข้าของเพาเวอร์แอมป์ หมายความว่า ส่งมาหนึ่งร้อยเปอร์เซ็นสัญญาณก็ต้องวิ่งเข้าไปในเพาเวอร์แอมป์หนึ่งร้อยเปอร์เซ็น แต่ถ้าเร่งไม่สุด นั่นหมายความว่าเราเข้าสู่โหมดความเสี่ยงความผิดเพี้ยนของสัญาณที่เราปรุงจนสุดฝีมือแล้ว เสี่ยงยังไง เมื่อเรากั๊กสัญญาณที่ปุ่มเพาเวอร์ทำให้เพาเวอร์ทำงานไม่เต็มที่เราจึงเพิ่มสัญาณจากมิกเซอร์เรามาอีก เพื่อให้ได้เสียงที่อิ่มๆทีนี้สัญาณเราเริ่มจะเลย 0 Db แล้วเริ่มส่งสัญญาณ Distortion ให้เพาเวอร์ขยายสัญญาณของเรา ทีนี้ละระบบของเราเริ่มคลิปทุกๆอุปกรณ์ มิกซ์ อีคิว ครอส คลิปหมดเพราะสัญาณไปโดนกั๊กที่เพาเวอร์แอมป์ แอมป์ก็ขยายแต่สัญญาณดิสทอชั่นให้ลำโพงก็เริ่มหล้าควันเริ่มจ่อที่ลำโพงกับเพาเวอณืแอมป์ละ ที่ลำโพงเราขาดเกิดจากสาเหตุนี้ทั้งนั้นละครับ ผมเริ่มงงกับตัวเองแล้วครับพอละครับ ขอบคุณครับ เปืดสุดครับอย่าคิดเยอะ สรุปคือ เปิดสุดแต่พลขับต้องเหยียบคันเร่งไม่เกินที่กฏหมายกำหนดแค่นี้ระบบท่านไม่มีซ่อมหรอกครับ ผมทำเสียงมา จะของตัวเองจะของผับยังไม่เคยพังซักครั้งครับดีเจก็เปิดลั่นทุกคืนวันเจ้าของร้านก็ถามผม เอ้ยทำไมเครื่องเสียงไม่มีปัญหาต้องซ่อมเหมือนก่อนวะ เออะผมก็ตอบไม่ได้เหมือนกัน
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอร์แอมป์ ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: prateep-ss ที่ กันยายน 07, 2014, 11:43:21 am
ไม่ได้มาเก้บความรู้นานเลยครับ ปัญหามักเกิดกับความมีมาตรฐานไม่เท่ากัน สุดท้ายโวลุ่มก็คือวงจรแบ่งแรงดัน สัญญาณมาในรู้ที่มองไม่เห็น ถ้าไม่ใช้สดคปจับ อะไรประมาณนั้นมั้งครับ ความพอดีและบรรยากาศมันพาเราไป เร่งแค่ไหนสนุกก้เอาแค่นั้นครับ กับตัวเร่งเสียงเพาเวอร
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอร์แอมป์ ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: Sakura97 ที่ พฤศจิกายน 22, 2014, 02:58:22 pm
เข้ามาเก็บครามรู้ ขอบคูณอาจารย์ทุกท่านครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอร์แอมป์ ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: nozztamaxxi ที่ พฤศจิกายน 26, 2014, 12:42:19 am
อ่านทุกวันมาเกือบอาทิตย์ล่ะครับ ค่อยๆอ่านค่อยๆทำความเข้าใจ ผลที่ได้คือ (ระบบผมน่ะครับ)

1.ระบบเสถียรขึ้นครับ คลิป ช้า ทำความดังได้ดีขึ้น โดยไม่คลิป เมื่อก่อนความดังเท่ากัน แดงว่าบ แดงว่าบ ไมค์ได้น้ำหนักไม่งอแง

2.เสียง noise ซ่าส์ๆอ่อนๆหายไปหลังไม่มีสัญญาณเข้าที่พาวเวอร์ จากที่เคยบิดจนสุด มีเสียงซ่าส์ออกมา

3.ทำงานง่ายไม่เสียวแป๊ก โดยอ้างอิง สัญญาณ VU เป็นหลัก ไม่ต้องเหล่เพาเวอร์ให้เมื่อยลูกกะตาครับ

ขอบคุณ อ.หมอ ขอบคุณทุกๆท่าน ขอบคุณทุกคำถาม ขอบคุณทุกคำแย้งครับ ที่ทำให้คำตอบและความเห็นดีๆ ได้เข้ามาประดับสมองกระผมครับ

 smiley4 smiley4 smiley4 smiley4
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอร์แอมป์ ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: LOP_Sound System ที่ ธันวาคม 01, 2014, 04:08:27 pm
ขอบอกว่า .. ทำตามที่พี่หมอแนะนำ ครับ

ท่านจะหมดปัญหา คลิปไว กินดอกลำโพง ...

เสียงดังเท่าเดิม แต่ความที่เป้น ไดนามิคเฮดรูมเพิ่มขึ้น..

แนะนำแอมป์ที่ปรับ sensitive ได้ จะดีมากๆๆ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอร์แอมป์ ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: numza ที่ ธันวาคม 14, 2014, 06:44:02 am
ขอบคุณอาจารย์หลายๆท่านเลยครับ นั่งอ่านอยู่ ชม.กว่าๆ
โวลุ่มที่พาวเวอร์แอมป์ผม กลาง และแหลม ไม่สุด ผมปรับไว้ที่ประมาณ 15 นาฬิกา
เบสปรับไว้สุด ไม่ได้ดูเรื่องค่าบาลานส์เลยครับ กลางและแหลมที่ตั้งไว้แบบนั้น
แค่ให้ลดเสียงรบกวนขณะไม่มีเพลง เท่านั้น เมื่อก่อนบิดสุด จะมีซ่าออกลำโพง
โวลุ่มที่พาวเวอร์แอมป์ช่วยได้ ทำให้ระบบดูดี
เห็นบางเจ้าบิดไว้สุด พอไม่มีเพลง มีซ่าออกลำโพงและดังด้วย
มาอ่านแล้วคงไว้ใช้ลดเสียงรบกวนอย่างเดียวไม่ได้แล้ว คงต้องบาลานส์เกนด้วย
(ผมไปดูคาราบาว เค้ายังเร่งไม่สุดเลยครับ ขนาดแอมป์ไทยชื่อดังๆ ที่เพิ่งเปลี่ยนชื่อนะนั่น )
ผมลองแล้วเหมือนท่านเลย  แต่ของทุกอย่างบ้านๆ ทั้งนั้น ช่องในลายมิกซ์ , มิกส์ ,อีคิว ทำให้คลิป พร้อมกันได้ แต่พาวเอร์แอมป์ ไม่รู้ เพระประกอบเอง  ถ้าแร่งสุดมีเสียงซ่า  ผมเลยเอาไว้ตรงบ่ายสองครับ ไม่มีเสียงซ่า ก็พอ
วอลุ่มพาวเวอร์แอมป์ประกอบมันก็มีหลายค่า แล้วแต่จะเลือกใช้  10k<,50k,100k การเร่งก็ต่างกัน  smiley4

 


 
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอร์แอมป์ ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: techno5 ที่ ธันวาคม 14, 2014, 01:38:04 pm
ขอบคุณอาจารย์หลายๆท่านเลยครับ นั่งอ่านอยู่ ชม.กว่าๆ
โวลุ่มที่พาวเวอร์แอมป์ผม กลาง และแหลม ไม่สุด ผมปรับไว้ที่ประมาณ 15 นาฬิกา
เบสปรับไว้สุด ไม่ได้ดูเรื่องค่าบาลานส์เลยครับ กลางและแหลมที่ตั้งไว้แบบนั้น
แค่ให้ลดเสียงรบกวนขณะไม่มีเพลง เท่านั้น เมื่อก่อนบิดสุด จะมีซ่าออกลำโพง
โวลุ่มที่พาวเวอร์แอมป์ช่วยได้ ทำให้ระบบดูดี
เห็นบางเจ้าบิดไว้สุด พอไม่มีเพลง มีซ่าออกลำโพงและดังด้วย
มาอ่านแล้วคงไว้ใช้ลดเสียงรบกวนอย่างเดียวไม่ได้แล้ว คงต้องบาลานส์เกนด้วย
(ผมไปดูคาราบาว เค้ายังเร่งไม่สุดเลยครับ ขนาดแอมป์ไทยชื่อดังๆ ที่เพิ่งเปลี่ยนชื่อนะนั่น )
ผมลองแล้วเหมือนท่านเลย  แต่ของทุกอย่างบ้านๆ ทั้งนั้น ช่องในลายมิกซ์ , มิกส์ ,อีคิว ทำให้คลิป พร้อมกันได้ แต่พาวเอร์แอมป์ ไม่รู้ เพระประกอบเอง  ถ้าแร่งสุดมีเสียงซ่า  ผมเลยเอาไว้ตรงบ่ายสองครับ ไม่มีเสียงซ่า ก็พอ
วอลุ่มพาวเวอร์แอมป์ประกอบมันก็มีหลายค่า แล้วแต่จะเลือกใช้  10k<,50k,100k การเร่งก็ต่างกัน  smiley4

 


 
คิดเหมือนกันคับ brow smiley4
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอร์แอมป์ ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: adisak ที่ ธันวาคม 28, 2014, 11:16:25 pm
สุดยอดครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอร์แอมป์ ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: อานุ หนองบัวฯ ที่ มกราคม 14, 2015, 12:29:57 pm
เรียน สอบถามคุณหมอ ผู้ให้ความรู้ และคุณวินัย และท่านอื่นๆครับ

ผมมีปัญหา สงสัยครับ
ในกรณี Analog Cross พวก 234xl ทุกๆยี่ห้อ
ไม่มีสัญญาณไฟแสดงให้เห็นว่า สัญญาณมายัง Cross คลิปหรือยัง
และจะปรับ Gain ชดเชยใน Cross ยังไง (low mid high ตามลำดับคือ +7.2dBu,+3.3dBu และ +4.6dBu)

ไขข้อข้องใจให้ด้วยนะครับ

ขอบพระคุณอย่างสูงครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอร์แอมป์ ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: อานุ หนองบัวฯ ที่ มกราคม 16, 2015, 11:13:16 am
เรียน สอบถามคุณหมอ ผู้ให้ความรู้ และคุณวินัย และท่านอื่นๆครับ

ผมมีปัญหา สงสัยครับ
ในกรณี Analog Cross พวก 234xl ทุกๆยี่ห้อ
ไม่มีสัญญาณไฟแสดงให้เห็นว่า สัญญาณมายัง Cross คลิปหรือยัง
และจะปรับ Gain ชดเชยใน Cross ยังไง (low mid high ตามลำดับคือ +7.2dBu,+3.3dBu และ +4.6dBu)

ไขข้อข้องใจให้ด้วยนะครับ

ขอบพระคุณอย่างสูงครับ


เฝ้ากระทู้นี้มา 2 วันแล้วครับ..ยังไม่มีผู้ใจบุญเลยครับ

ขอความอนุเคราะห์ความรู้ด้วยครับ เป็นวิทยาทานนะครับ..

ขอบพระคุณอย่างสูง
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอร์แอมป์ ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: nongvigo ที่ มกราคม 22, 2015, 08:10:41 pm
มาอ่านและคิดตามแต่ล่ะท่าน ขอบคุณครับทุงข้อความ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอร์แอมป์ ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: kkt ที่ มกราคม 26, 2015, 11:20:02 am
ความเห็นผมเร่งสุดครับ เต็มประสิทธิภาพ และดูค่าsensitivity ถ้าสัมพันธ์กันจะดีมาก ถ้าแอมป์ตัวไหนคลิปค่อยไปปรับลดgain powerตัวนั้น ลงอีกที หรือปรับลดวอลลุ่มไม่ค์ หรือลดวอลลุ่มดนตรีในมิกซ์เอาครับ หรือไม่ก็ครอส อย่างนี้จะเป็นระบบคุมง่ายกว่า ระดับ น้ำหนัก เบส กลาง แหลมก็จะสัมพันธ์กัน ความเห็นส่วนตัวและประสบการณ์ครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอร์แอมป์ ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: max_medkku ที่ เมษายน 20, 2015, 12:06:51 am
เพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับ System gain structure ลองดู video นี้ดูครับ redface


https://player.vimeo.com/video/102882834 (https://player.vimeo.com/video/102882834)
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอร์แอมป์ ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: sarawutsound ที่ มกราคม 23, 2016, 01:34:25 am
เข้ามาพยายามทำความเข้าใจอีกรอบครับ :)

ผมมีแอมป์2ตัว
ตัวแรกขับเบส              ตั้งไว้ที่38dB
ตัวที่สองขับกลางแหลม   ตั้งไว้ที่ ????   มันมี 1.0v 1.4v. และ26dB


ถ้าผมต้องการฟิกเกนท์ตัวที่2 (26dB) ให้เท่าตัวที่1(38dB)  ผมต้องเร่งเกนท์ที่คอนโทรลเลอร์ช่วยใช่ไหมครับ



 
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอร์แอมป์ ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: @:dv-sound:@[[ฅนเครื่องไฟ]] ที่ กุมภาพันธ์ 11, 2016, 02:13:13 pm
ผมนั่งอ่านมาหลายกระทู้นะครับ แต่อ่านไม่หมดหรอก ตามที่เข้าใจของแต่ละคน ถูกหมดครับ โดยเฉพาะการอ้างอิงข้อมูลที่เป็นหลักสากล
แต่ผมอยากให้คิดแบบเร็วๆ คือ การปรับระดับเกณฑ์ชอง vr ให้นึกถึงระบบของเราเอง ว่าจุดดีที่สุดอยู่ตรงไหน...
เปรียบเหมือนการขับรถยนต์นะครับ ตามกฏออกรถเกียร์ 1 แต่ในทางปฎิบัติ ใครจะออกเกียร์ 2 ก็ได้ หรือสูงกว่านั้น ตามความถนัด ความพอใจ
แต่ยึดความพอดี ปลอดภัย สมดุล
ขออนุญาติเจ้าของกระทู้ แสดงความคิดเห็นเท่านี้นะครับ ไม่มีใครผิด ไม่มีใครถูก  มีแต่ความพอใจ ของแต่ละคน
ขอบคุณครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอร์แอมป์ ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: krajitrit ที่ กุมภาพันธ์ 11, 2016, 03:03:16 pm
ตามอ่านเก็บความรู้ครับ ....แต่ผมติดไว้นิดหนึ่ง
แอมป์บางยี่ห้อ เร่งสุดไม่ได้ครับ โดยเฉพาะสายพันธ์ุไทย ประกอบเอง ช่างประกอบ
แต่แอมป์ค่ายดังจากต่างประเทศไม่เป็นไร  เร่งสุดได้ครับ
ที่เหลือก็ตามความเหมาะสม....
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอร์แอมป์ ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: 0895909172 ที่ กุมภาพันธ์ 22, 2016, 10:30:47 pm
มาเก็บความรู้หลายรอบแล้ว ของผมเร่งสุดไม่มีเสียงจี่ ถ้าเร่งสุดมีเสียงจี่เกนขยายเยอะ แบบว่าเร่งนิดเดียวก็ดัง
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอร์แอมป์ ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: taonoi16 ที่ กุมภาพันธ์ 23, 2016, 08:28:14 am
ตามอ่านเก็บความรู้ครับ ....แต่ผมติดไว้นิดหนึ่ง
แอมป์บางยี่ห้อ เร่งสุดไม่ได้ครับ โดยเฉพาะสายพันธ์ุไทย ประกอบเอง ช่างประกอบ
แต่แอมป์ค่ายดังจากต่างประเทศไม่เป็นไร  เร่งสุดได้ครับ
ที่เหลือก็ตามความเหมาะสม....
แอมป์ประกอบ ที่เร่งสุด แล้วมีเสียงซ่าหรือรบกวนเล็กๆ อาจเกิดจากการเดินสายต่างๆในเครื่องครับ ผมประกอบเอง เสียซ่ามีน้อยมากครับ ต้องเอาหูใกล้ๆลำโพง(1ฟุต)ถึงได้ยินครับ แล้วอีกส่วน1 การที่โวลุ่มเปิดไม่สุดนั้น มีสัญญาณเสียงบางส่วนจะดร๊อบตรงหน้าสัมผัสของโวลุ่ม ซึ่งข้อดีคือสามารถลดสัญญาณรบกวนได้นิดหน่อย แต่ข้อเสียมีอยู่ 2อย่างแน่ๆ คือ
1.เสียงจะทึบครับ มากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับคุณภาพของโวลุ่มนั้นๆครับ ถ้าใช้ของแพง เสียงจะดร๊อบน้อยมาก(ตัวเปนหมื่นขึ้น)
2.เมื่อใช้ไปนานๆ จะมีฝุ่นเข้าไปหน้าสัมผัส จะมีเสียงโคกคาก เวลาเร่งหรือลดโวลุ่มครับ
เวลาผมประกอบแอมป์ ผมจะต่อโวลุ่มแบบตัวทีครับ ซึ่งจะลดปัญหาต่างๆ ที่บอกมาข้างต้นได้ครับ แต่ข้อเสียงก็คือ การควบคุมความดัง อาจจะยากกว่าเดิมนิด1ครับ แต่คุณภาพเสียงดีกว่าอย่างแน่นอน ลงทุน ไม่ถึงบาท(ไม่รวมค่าแรง)
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอร์แอมป์ ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: indy music sound ที่ กรกฎาคม 29, 2016, 04:34:20 pm
ได้ความรู้เยอะเลยครับ  ต้องเอาไปลองบ้าง ผลเป็นไงจะมาเล่าให้พี่ๆฟังนะครับ แต่ไม่รู้จะทำถูกหรือเปล่าเอาตามความเข้าใจที่มีน้อยนิดละกัน
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอร์แอมป์ ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: @_slayer_@ ที่ กุมภาพันธ์ 27, 2017, 09:26:55 am
ว้าวๆๆ  อาจารย์หมอแม็คผมก็มา  ฮิ้ววววว 


หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอร์แอมป์ ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: zas5799 ที่ กุมภาพันธ์ 28, 2017, 12:53:55 pm
ว้าวๆๆ  อาจารย์หมอแม็คผมก็มา  ฮิ้ววววว

ครูจิ๊บก็มาแล้ว ไม่มาเปิดสายวัดที่นี่มั่งเล่าครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอร์แอมป์ ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: that_phong ที่ พฤษภาคม 01, 2017, 02:19:49 pm
 smiley4
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอร์แอมป์ ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: Sor marn Music ที่ พฤษภาคม 04, 2017, 06:57:00 pm
มาเก็บเอาความรู้ครับ อ่านหลายรอบ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอร์แอมป์ ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: oatspunk ที่ พฤษภาคม 17, 2017, 09:06:25 am
อย่างกรณี cross 234xl ไม่มีไฟคลิปจะเช็คยังไงครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอร์แอมป์ ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: conan99 ที่ มิถุนายน 04, 2017, 07:18:38 pm
มือใหม่ครับ เข้ามาเก็บเอาความรู้ครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอร์แอมป์ ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: that_phong ที่ มิถุนายน 30, 2017, 09:37:01 am
จะเร่งเท่าไหร่ได้หมดครับไม่ใช่ปัญหาแต่อย่างได จะเที่ยง บ่ายสาม บ่ายห้าโมง หรือบิดจนสุดได้หมด แต่ประเด็นสำคัญคือ เมื่อเราป้อนสัญญาณที่ 0 dBu เข้าไปแล้วความดังมันได้อย่างที่เราต้องการหรือเปล่า
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอร์แอมป์ ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: Sumatethep ที่ มกราคม 13, 2019, 04:36:26 pm
 smiley4
ขอบคุณ ขอบคุณ และขอบคุณ
 kisss
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอร์แอมป์ ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: HereL ที่ กุมภาพันธ์ 02, 2019, 12:07:59 pm
Pussy888 มีเกมส์ให้เลือกเล่นมากมาย เช่น เกมส์สล็อต แบล็คแจ็ค  เกมส์รูเลต ไพ่เสือมังกร เกมส์ไพ่โป๊กเกอร์ ได้เงิน เกมส์ยิงปลา เกมส์ม้าแข่งออนไลน์ เกมส์ตู้ม้า ไฮโลออนไลน์

สล็อตออนไลน์ สล็อต เกมส์สล็อตออนไลน์ สล็อตออนไลน์มือถือ สล็อตออนไลน์ได้เงินจริง เกมส์สล็อตออนไลน์มือถือ คาสิโนออนไลน์ เล่น เกมมือถือออนไลน์ เล่นได้ จ่ายจริง มั่นคง ฝาก-ถอน เร็ว บริการตลอด 24 ชม. มีเครดิตฟรีทุกวัน คาสิโนออนไลน์ สล็อต
https://www.pussy888.live/ (https://www.pussy888.live/) เว็บสล็อตออนไลน์ อันดับ 1 ครบเครื่องเรื่อง สล็อตออนไลน์ และ คาสิโนออนไลน์
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอร์แอมป์ ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: madoo45 ที่ มีนาคม 22, 2019, 01:40:30 pm
สุดยอดครับขอบคุณมากครับผม kisss

Gclub (https://www.gclub45.com/)
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอร์แอมป์ ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: decpet ที่ เมษายน 03, 2019, 11:35:35 am
ผมปล่อยสัญญาณที่ 0 dBu แล้วเร่งเพาเวอร์แอมป์ไม่ให้คลิป ส่วนใหญ่จะเผื่อไว้ 3 dbu เผื่อดันครับ
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอร์แอมป์ ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: babayaka ที่ กรกฎาคม 18, 2019, 02:50:59 pm
ขอบคุณมากครับ                  ตามมาครับ (https://www.ufa2019.com)
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอร์แอมป์ ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: MonsterSound ที่ กุมภาพันธ์ 08, 2020, 11:57:50 pm
 smiley4
หัวข้อ: Re: การเร่งเพาเวอร์แอมป์ ,gain ,Sensitivity
เริ่มหัวข้อโดย: ardipe ที่ พฤศจิกายน 11, 2020, 02:47:31 pm
Thx มากๆ นะครับ
https://s2979.com/