Tigger Sound

เครื่องเสียง ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า มือสอง และอุปกรณ์ ที่เกี่ยวกับเครื่องเสียง จากสมาชิก
=> ห้องเตือนภัย ในเรื่องต่างๆ กลโกงของพวก 18 มงกุฏ => ข้อความที่เริ่มโดย: mixmusicrama2 ที่ มกราคม 31, 2015, 12:42:48 am

หัวข้อ: การซื้อ-ขายต้องรู้ทันกลโกงรูปแบบต่างๆ "รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม"ปลอดภัยไว้ก่อน
เริ่มหัวข้อโดย: mixmusicrama2 ที่ มกราคม 31, 2015, 12:42:48 am
ในโลกดิจิตอลออนไลน์"การขายสินค้าออนไลน์"เราผู้ซื้อ-ผู้ขายต้องก้าวให้ทันกลโกง ก่อนวันนั้นจะมาถึงอย่างไม่รู้ต้ว ด้วยวิธีการป้องกันที่จะนำเสนอเป็นข้อๆดังนี้...

1). ระวังหลักฐานโอนเงินปลอม

สำหรับผู้ลงขายสินค้าอย่าชะล่าใจเมื่อได้เห็นสลิปการโอนเงินที่ผู้ซื้อส่งมาเป็นหลักฐาน เพราะกลโกงใหม่ล่าสุดของมิจฉาชีพคือการปลอมหลักฐานการโอนเงิน หรือสลิปการโอนนั่นเอง โดยมิจฉาชีพมักจะเลือกผู้ขายที่ขายสินค้าหลายชนิด หรือมีช่องทางการขายหลากหลายช่องทาง จากนั้นจะใช้โปรแกรมด้านกราฟฟิกตัดต่อภาพให้ออกมาเสมือนว่าเป็นสลิปจริงๆ แต่ไม่มีการโอนเงินเข้าบัญชีผู้ขายจริง

***หากผู้ขายตรวจสอบเพียงสลิปการโอนเงิน แล้วจัดส่งของไปให้ ท่านก็จะเสียทรัพย์ไปฟรีๆ***

ปัญหานี้ป้องกันได้!

ไม่ว่าท่านจะเป็นผู้ขายรายใหญ่ หรือรายย่อย เมื่อผู้ซื้อแจ้งว่าชำระเงินแล้ว ท่านควรตรวจสอบบัญชีธนาคารของท่านว่ามีเงินจำนวนดังกล่าวเข้ามาจริง ตรงตามที่ผู้ซื้อแจ้งมาหรือไม่ เสียเวลานิดหน่อย แต่ไม่เสียรู้ และไม่เสียทรัพย์ให้เจ็บใจด้วยครับ

2). เจาะลึกกลโกงของมิจฉาชีพออนไลน์

พฤติกรรมที่น่าสงสัยและเข้าข่ายเป็นกลุ่มมิจฉาชีพ มีดังนี้

1). ขายสินค้าราคาถูกกว่าท้องตลาดมากเกินไป
     
2). หลอกล่อให้โอนเงินค่าสินค้าล่วงหน้าโดยไม่ให้หลักฐานเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือแต่อย่างใด
     
3). เมื่อโอนเงินแล้ว ผู้ขายจะหายตัวไป ไม่รับโทรศัพท์ และปิดโทรศัพท์หนีในที่สุด
     
4). เปลี่ยนชื่อ และเบอร์โทรศัพท์ไม่ซ้ำกัน ทำให้ยากต่อการติดตาม
     
5). นัดเจอเพื่อดูสินค้า แล้วขอรับสินค้าก่อนโดยอ้างว่าจะโอนเงินให้ภายหลัง
     
6). ปลอม SMS จากทางธนาคาร เพื่อหลอกว่าโอนเงินให้แล้ว แต่แท้จริงยังไม่ได้โอนเงิน หรือหลอกว่าโอนเงินเกินให้ช่วยโอนเงินคืน

***อย่างไรก็ดีมิจฉาชีพมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบกลโกงไปเรื่อยๆ และมีความซับซ้อนยากที่จะป้องกันมากขึ้น ดังนั้นการนัดเจอเพื่อดูสินค้าและชำระเงินซึ่งหน้าจึงเป็นวิธีการที่ปลอดภัยที่สุดครับ

จะทำอย่างไรเมื่อถูกโกง

1). บันทึกรายละเอียดของประกาศนั้น ไว้เป็นหลักฐาน โดยเซฟหน้าประกาศนั้นและ print ออกมาเป็นเอกสาร
2). เตรียมหลักฐานการโอนเงิน , เลขที่บัญชีธนาคาร , หลักฐานการติดต่อระหว่างคุณกับมิจฉาชีพ เช่น e-mail , เบอร์โทรศัพท์ หรือหมายเลขพัสดุ
3). แจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ สน.ท้องที่ที่คุณไปโอนเงิน ว่า “ถูกฉ้อโกง” เพื่อลงบันทึกประจำวัน และออกใบแจ้งความเพื่อดำเนินคดี
4). นำใบแจ้งความ ส่งให้ผู้ดูแลเว็บไซต์ เพื่อขอหมายเลข IP ของมิจฉาชีพ (หมายเลข IP สามารถใช้แกะร่องรอยและขยายผลในการจับกุมได้)
    นำเอกสารข้อ 1-4 ส่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ท้องที่ที่แจ้งความ เพื่อออกหมายจับ และพาไปจับกุมตัว หรือ ส่งให้กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (http://www.tcsd.in.th)

คำแนะนำ : ต้องแจ้งกับเจ้าหน้าที่ว่า "ขอให้เจ้าหน้าที่ดำเนินคดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุด" อย่าแจ้งเพียงว่า แจ้งความไว้เป็นหลักฐาน (ถ้าแจ้งความไว้เป็นหลักฐานเฉยๆ เจ้าหน้าที่ตำรวจอาจเพิกเฉย เพราะถือว่าการแจ้งแบบนี้แปลว่าเจ้าทุกข์จะดำเนินการทางศาลด้วยตนเอง)

3). เตือนคนขาย ระวังอาจตกเป็นแพะไม่รู้ตัว

ผู้ขายหลายท่านอาจเคยติดต่อกับผู้ซื้อ และได้รับการร้องขอหลักฐานจากผู้ขาย โดยผู้ซื้อมักจะบอกว่าไม่เชื่อใจคนขาย กลัวโดนโกง จึงอยากขอหลักฐานบัตรประชาชนของคนขาย ซึ่งตรงนี้ก็เป็นสิทธิ์ที่ผู้ซื้อทั่วไปจะทำได้ แต่มิจฉาชีพหลายรายอาศัยช่องโหว่ตรงนี้เอง อ้างว่าสนใจสินค้า หลังจากได้เอกสารส่วนตัวของผู้ขายแล้วก็ชิ่งหนีหายไป หลังจากนั้นก็นำเอกสารเหล่านี้ไปแอบอ้างว่าเป็นตนเอง เพื่อใช้โกงคนอื่นต่อไป ดังนั้นผู้ซื้อที่ติดต่อกับมิจฉาชีพเมื่อเกิดปัญหาจึงนำเอกสารที่ได้รับซึ่งเป็นข้อมูลของผู้ขายรายแรกไปแจ้งความ กลายเป็นว่าผู้ขายรายนั้นโดนตำรวจออกหมายเรียกแทนที่โจรตัวจริงไปเลย

สิ่งที่ทีมงานอยากแนะนำ คือ

สำหรับผู้ขาย : หากผู้ซื้อเรียกร้องขอหลักฐานส่วนบุคคล ผู้ขายสามารถให้ได้ครับ แต่ควรทำการคาดทับว่าใช้เพื่อเป็นหลักฐานการขายสินค้าอะไร ลงขายที่......หมายเลขประกาศใด เบอร์ติดต่ออะไร ลงข้อมูลอย่างละเอียดชัดเจน ก็จะช่วยป้องกันผู้อื่นเอาข้อมูลไปแอบอ้างได้ครับ

หากเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นกับคุณแล้ว ทำอย่างไรดี?

ผมขอแนะนำให้คุณไปแจ้งความเป็นหลักฐานไว้เพื่อป้องกันตนเองครับ โดยแจ้งกับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าคุณได้ลงประกาศขายสินค้าอะไร ที่เว็บไหน และได้มีการให้หลักฐานอะไรกับผู้ซื้อไปบ้าง ซึ่งคุณพบว่ามีผู้นำเอาหลักฐานของคุณไปใช้แอบอ้างหลอกลวงผู้อื่น คุณจึงมาขอแจ้งให้เจ้าหน้าที่บันทึกไว้เป็นหลักฐานว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำของมิจฉาชีพ และพร้อมจะให้ความร่วมมือกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องการข้อมูลเพิ่มเติม (ทั้งนี้การแจ้งความเท็จถือเป็นความผิดทางอาญามีโทษจำคุก หรือปรับ หรือทั้งจำและปรับ)

สำหรับผู้ซื้อ : แม้ว่าคุณจะร้องขอหลักฐานส่วนบุคคลของผู้ขาย(เจ้าของสินค้า)แล้ว ก็ไม่ได้แปลว่าคุณไม่โดนโกงชัวร์ๆ เพราะบางทีคุณอาจจะได้หลักฐานปลอม ฉะนั้นหากคุณประสงค์ที่จะโอนเงินให้ผู้ขายจริงๆ (ผมไม่แนะนำครับ อยากให้นัดเจอกันมากกว่า) ควรดูว่าชื่อบัญชีธนาคารตรงกับเอกสารที่คุณได้รับหรือไม่ เบอร์ที่ใช้ติดต่อตรงกับในรูปหรือไม่ หากไม่ตรงไม่ว่าผู้ขายจะอ้างว่าเป็นบัญชีญาติพี่น้องอะไรก็ตาม เราแนะนำว่าคุณไม่ควรไว้วางใจไม่ว่ากรณีใดทั้งสิ้น เพราะนั่นจะทำให้คุณเสี่ยงต่อการโดนโกง โดยที่ตามจับใครไม่ได้เลย

***การซื้อขายออนไลน์จะปลอดภัยได้ก็ต่อเมื่อเราทุกคนต่างร่วมมือกันช่วยกันดูแลครับ***

4). เทคนิคการซื้อ-ขายสินค้าอย่างปลอดภัย


(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2015/01/30/60930_1422641673.jpg)

กรณีที่ตกลงซื้อขายโดยใช้วิธี "พัสดุเก็บเงินปลายทาง" (พกง.) เราขอแนะนำดังนี้

(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2015/01/30/60930_1422641908.jpg)

5). ตรวจสอบข้อมูลก่อนโอนเงิน

ไม่อยากถูกโกง ควรอ่าน!

1). อย่าโอนเงินหรือมัดจำล่วงหน้า ผู้ซื้อ-ผู้ขายควรนัดเจอกัน และตรวจสอบสินค้าก่อนชำระเงิน
     
    ก่อนทำการซื้อ-ขาย ควรขอข้อมูลจากผู้ขาย เช่น ชื่อ ที่อยู่  เบอร์โทรศัพท์ อีเมล์ เลขที่บัตรประชาชน และเลขที่บัญชี พร้อมทั้ง ชื่อบัญชี ภาษาไทย + ภาษาอังกฤษ ให้ชัดเจน เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้ไปค้นหาใน Google  ดูว่ามีฟีดแบ็คจากผู้อื่นแจ้งเตือนไว้หรือไม่หากเคยมีการโกงไว้ในเว็บอื่นๆ จะเห็นผู้ซื้อคนอื่นๆ โพสต์เตือนเอาไว้ เป็นข้อมูลเล็กน้อยที่เราจะสามารถตรวจสอบได้ก่อนโอนเงิน
     
2). ถ้าต้องโอนเงินให้ก่อน ควรขอเบอร์โทรศัพท์บ้านของผู้ขาย และโทรเช็คว่ามีตัวตนอยู่จริง
     
    กรณีอ้างว่าเป็นร้านค้า ให้ขอหลักฐาน เบอร์โทรศัพท์ของร้าน ทะเบียนการค้า หรือข้อมูลอื่นๆ ที่เป็นการยืนยันว่าเป็นร้านค้าจริง ๆ
     
3). ถ้าชื่อบัญชีไม่ตรงควรระวังและตรวจสอบข้อมูลจากผู้ขายโดยละเอียด ให้ขอเบอร์โทรบ้าน และโทรเช็คก่อนทุกครั้ง

ข้อสังเกตพฤติกรรมการโกงของมิจฉาชีพ

1. แจ้งให้ผู้ซื้อโอนเงินครึ่งหนึ่งของราคาสินค้าก่อน ซึ่งหลังจากโอนเงินไปแล้วกลับไม่สามารถติดต่อได้ หรือไม่ส่งสินค้าให้ผู้ซื้อ

2. ผู้ขายจะแจ้งว่าส่งของ (กล่องเปล่า) ให้ทางไปรษณีย์แล้ว และให้ผู้ซื้อทำการตรวจสอบรหัส EMS ผ่านเว็บไปรษณีย์ไทย เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ซึ่งในกรณีนี้ ผู้ซื้อได้เช็ครหัส EMS และโทรสอบถามเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ต้นทางแล้วยืนยันว่าผู้ขายส่งของจริง ทำให้ผู้ซื้อหลงเชื่อและโอนเงินไปให้ พอได้รับกล่องพัสดุจริงๆ จะเป็นกล่องเปล่า

3. ส่งสินค้าที่ไม่ตรงตามที่ลงขายไว้ เช่น สั่งซื้อโทรศัพท์มือถือ แต่ส่งขวดน้ำหรือก้อนหินมาให้แทน เป็นต้น