Tigger Sound

สินค้าเครื่องเสียง จากสมาชิกร้านค้า ทั่วไทย
=> ตลาดกลาง การค้า เครื่องเสียง และอุปกรณ์ทุกชนิด จากร้านค้า ที่ร่วมสนับสนุน => K-ONE Music Tel.081-9817904 => ข้อความที่เริ่มโดย: K-ONE Music Tel.081-9817904 ที่ สิงหาคม 18, 2017, 03:16:41 pm

หัวข้อ: ....เมื่อ D4 ไม่กลัวไฟตก มันต้องทำแบบนี้... (ภาค 2 )
เริ่มหัวข้อโดย: K-ONE Music Tel.081-9817904 ที่ สิงหาคม 18, 2017, 03:16:41 pm
…D-4 ปัญหาที่แก้การรีเซ๊ตเมื่อไฟตกอย่างถาวร 100 %...
…ALESIS D-4 DRUM MODULE ยอดฮิตตลอดกาลครับ ที่ยังเป็นที่นิยมสำหรับผู้ที่ยังเดินทางมากับแนวเสียงที่ไม่ใช่ตระกูลซาวด์ฟร้อน ปัญหาของ D-4 ที่เป็นบ่อยๆมากที่สุดก็คือ ถ้าไฟตกต่ำกว่า 200 โวลท์หรือมีการกระชากยุบตัวอย่างเร็ว เช่นตอนเบสกระแทกแรงๆ ไฟเมนจะยุบตัวใยช่วงเสี้ยววินาที D-4 จะรีเซ็ตตัวเองตลอดเป็นที่น่ารำคาณ เพื่อนสมาชิกบางท่านบอกก็เพิ่มหม้อแปลงให้ไฟสูงขึ้นสิครับ ความเป็นจริงเพิ่มได้ครับก็สามารถใช้ได้ในกรณีไฟตกมันก็จะชดเชยให้พอดี แต่อย่าลืมคิดนะครับว่าในช่วงเวลาปรกติล่ะ เมื่อเราเพิ่มไฟให้มากขึ้นที่หม้อแลง เมื่อไฟมาสูงมากกว่า 220 โซลท์ ก็จะให้ให้ D-4 มีอาการฮัมครับ นี่ล่ะที่แก้กันไม่ตก เพราะระบบไปของ D-4 มีการแปลงไฟแบบ HALF-WAVE Regtifier คือการใช้ไฟเฟสเดียวก็คือ 9 โวลท์ แต่มาแปลงไฟให้เป็น บวก/ลบ 12 โวลท์ นั่นเองตามรูปครับ


(https://www.uppic.org/image-7317_59966C91.jpg)


....เราจะเห็นได้ว่า เขาจะใช้ DIODE 1N-4003 มาทำหน้าที่แปลงไฟแบบครึ่งคลื่นเท่านั้น ทางด้านบวกจะใช้ C-1000 ไมโคร 2 ตัว มาทำหน้าที่ฟิลเตอร์ เพราะด้านไฟบวกจะมีการกินไฟมากมาย ทั้ง ROM / RAM / EPROM / OPAMP ต่างๆอีกหลายตัว รวมถึงหน้าจอ+หลอดไฟอีกด้วย และยิ่งแปลงไฟแบบครึ่งคลื่นจะทำให้รับกระแสไฟได้น้องลงไปอีก จึงทำให้ภาคไฟด้านบวกต้องการแรงดันที่คงที่เขาจึงมีการลดแรงดันด้านขาเข้าผ่าน IC-7805 เพื่อสร้างไฟ + 5 โวลท์เพื่อเลี้ยงอุปกรณ์ต่างๆดังที่ได้แจ้งมาแล้วข้างต้น....
...ผมเคยแก้ปัญหาโดยการใช้สวิทชิ่ง ดั่งที่ได้กล่าวมาเมื่อครั้งก่อนก็ได้รับความนิยมทำตามกันมาหลายท่านก็เป็นที่ยอมรับได้ดีทีเดียว แก้ปัญหาได้ดีกว่านั่นคือข้อดี แต่ข้อเสียก็คือ ทำยาก ใช้อุปกรณ์มากมาย ใช่งบประมาณสูง และทำได้เฉพาะช่างที่ชำนาณพอควร ผมก็จึงคิดและออกแบบใหม่ครับ เพื่อลดปัญหาเหล่านี้ให้ง่ายขึ้นและประหยัดมากขึ้นช่างมือใหม่ๆก็ทำได้ครับ...
....ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีได้พัฒนาอุปกรณ์ต่างๆให้มีขนาดเล็กลง ถ้าใครได้ติดตามข่าวสารด้านเทคโนโลยีมากๆ ก็จะเห็นได้ว่าเดี๋ยวนี้มีอุปกรณ์ตัวช่วยมากมายเต็มตลาดที่ทะลักเข้ามาจากจีน ก็ต้องขอขอบคุณเพื่อนบ้านเราที่ให้เราได้ใช้ของถูกซื้อจากจีนอย่างเดียว จนพวกพวกคิดกันไม่เป็นและก็ไม่รู้ว่าจะคิดไปทำไม ยังไงก็สู้เขาไม่ได้ทุกกรณี ไม่ว่าค่าแรง เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆสู้ไม่ไหว ขอเป็นผู้ตามใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดก็พอครับ ทำให้มันคุ้มค่ากับที่เสียเงินไปก็พอครับ...


...อย่างเช่นการแก้ปัญหาของ D-4 รีเซ๊ตเมื่อไฟตก เราก็จะใช้เจ้าตัว STEP-UP CONVERTER ครับ ตามรูป...


(https://www.uppic.org/image-BA7F_59966C91.jpg)



...เจ้า CONVERTER จากจีนมีขนาดเล็กครับ ราคาไม่แพงเหมือนเมื่อก่อนใหม่ๆตัวละ 2-300 ร้อยบาทเลยทีเดียวล่าสุดราคาอยู่ในช่วง 70-120 บาท แล้วแต่บางร้านนะครับ มีทั้ง STEP-UP / STEP-DOWN มีทั้งแบบไหลตามโวลท์ขึ้นก็มีหรือแบบไม่มองอินพุทเลยก็มี เราก็เลือกดูครับ มีหลายขนาดมาก เราก็จะเลือกให้เหมาะกับงานครับ ส่วนในโครงงานนนี้ผมเลือกตัวเล็กขนาด 3 แอมป์ เป็นแบบ STEP-UP CONVERTER ครับราคาที่ 70 บาท แต่ยังไม่เข้าใจ STEP-DOWN กลับถูกกว่า แต่ก็คิดว่าต่อไปก็คงจะถูกพอๆกันครับ...


....เราจะเอา STEP-UP ใส่ตรงไหน ก็อธิบายได้ตามรูปครับ เราจะทำการตัดลายปริ้นที่แผงของ D-4 ออกตามรูปนะครับ เพราะอย่างที่ผมอธิบายมาแล้วว่า D-4 ด้านไฟบวกหลังหัวของไดโอด 1N-4003 จะมี C – 1000 ไมโคร 2 ตัว ต่อขนานกันอยู่ เราก็จะตัดลายปริ้นออกตามรูปครับ...



(https://www.uppic.org/image-7A2E_5996738C.jpg)



(https://www.uppic.org/image-3988_5996738C.jpg)



…เราจะแยก C-1000 ไมโครเป็น 2 ช่วง ก็คือช่วงตัวแรก จะเป็นการเลกกูเตอร์เพื่อจ่ายไฟเข้าที่ + ของ STEP-UP ก่อน 1 ช่วง และ C-1000 ไมโคร ตัวที่ 2 จะเป็นช่วงฟิลเตอร์หลังขาออกของ STEP-UP อีกทีครับ เพราะว่าช่วงไฟออก + 12 โวลท์นั้นจะจ่ายไปเลี้ยงวงจรต่างๆมากมายและไปเข้าเร็กกูเรเตอร์ เบอร์ 7805 เพื่อจ่ายเข้ากับไอซีอีกมากมายอีกช่วงหนึ่งครับ....
...เมื่อเสร็จแล้วเราก็เอาตัว STEP-UP ที่เราได้มาทำการบัดกรีสายไฟเข้าๆไปครับ เอาแค่ 3 เส้นพอครับก็คือ ไฟเข้า / กราวด์ / ไฟออก เท่านั้นพอครับ เมื่อต่อสายไฟเสร็จแล้วทั้ง 3 เส้น เราก็จะปรับแรงดันที่ขาออกก่อนครับให้ได้แรงดันที่ประมาณ 12-12.5 โวล?ก็ได้ครับ โดยที่ไฟขาเข้าอินพุทนั้นอาจจะป้อนแค่ 9-11 โวล์ก็พอ เพื่อที่จะให้ STEP-UP ได้ออกฤทธิ์บ้างแล้วปรับให้ไฟออกที่ 12 โวลท์ตามที่เราต้องการครับ...


(https://www.uppic.org/image-B4ED_59968561.jpg)

(https://www.uppic.org/image-28D6_59968561.jpg)


...หลังจากที่เราปรับแรงดันขาออกได้ตามต้องการแล้ว เราก็บัดกรีเข้ากับยอร์ดของ D-4 ตามรูปครับ เช็คสาย อิน – เอ้า – กราวด์ ให้ถูกต้องครับ จัดการวางสายให้เป็นระเบียบเรียบร้อย แล้วก็ประกอบบอร์ดเข้าที่เดิมได้เลยครับ...


(https://www.uppic.org/image-EBD7_5996A2C9.jpg)


(https://www.uppic.org/image-AC29_59968561.jpg)

(https://www.uppic.org/image-9F4F_59968561.jpg)

...หลังจากประกอบเรียบร้อยแล้วก็ถึงช่วงสุดท้ายครับ ก็จะอธิบายถึงการทำงานของ STEP-UP นิดครับ ตัว STEP-UP นี้ก็เป็นการทำงานแบบสวิทชิ่งที่มี PWM มันอยู่ในตัวครับ ตัวมันเองจะมีการกระชากกระแสเพื่อสตาร์ทตัวเองเพื่อให้วงจรเริ่มทำงาน เพียงแค่มีอินพุทเข้าไป แรงดันที่ขาออกก็จะถูกสวิทชิ่งขึ้นไปตามแรงดันที่เราปรับไว้แล้วครับ แต่เมื่อเรานำมันประกอบเข้าไปในบอร์ดของ D-4 แล้วนั้น อุปกรณ์ที่ต่อร่วมต่างๆนั้นก็เหมือนโหลดดีๆนั่นเองครับ ก็จะบอกอีกนิดว่า พลังงานของหม้อแปลงที่ควรใช้น่าจะมากกว่า 1.5 แอมป์นะครับหรือสัก 15 วัตต์ขึ้นไปโดยเน้นที่เอ้าพุท AC ที่ 9 โวลท์ กระแสที่ 1.5 แอมป์ ขึ้นไปครับ ซึ่งตรงนี้ก็สำคัญมากครับ เพราะถ้ากระแสต่ำอาจจะบูตตัว STEP-UP สตาร์ทไม่ออกได้ครับ ก็อย่าเพิ่งตกใจ เพราะหม้อแปลงที่เป็นตัวเดิมๆของมัน ไม่น่าจะเกิน 10 วัตต์ครับ หรือประมาณแค่ 1 แอมป์เท่านั้นมันถึงสตาร์ทเจ้า STEP-UP ไม่ได้ครับ...
...ข้อสงสัยของเพื่อนสมาชิกบางท่านที่ยังไม่เข้าใจ...
...บางท่านบอกว่าการที่ไฟตกนั้นทำไมเราไม่เปลี่ยนหม้อแปลงขนาด 9 โวลท์ให้มีกระแสมากขึ้น วัตต์ก็จะได้เพิ่มมากขึ้น ตรงนี้ขอตอบเลยว่า ต่อให้ท่านเอาหม้อแปลง 5 แอมป์มาใช้ และไฟออกที่ 9-10 โวลท์มาใช้ก็ไม่แตกต่างครับ เพราะเมื่อไฟตกไฟขาออกที่ 9 โวลท์ก็ตกเหมือนกัน จึงทำให้ไฟ + / - 12 โวลท์ ตกตามไปด้วยซึ่งไม่มีประโยชน์ครับ ฉะนั้นการแก้ปัญหาที่ถูกต้องก็คือทำอย่างไรก็ได้ ที่จะต้องรักษาแรงดันขาออกให้คงที่และเสถียนนั้นเอง...
...ส่วนอีกข้อหนึ่งนั่นก็คือ ทำไมเราไม่เพิ่มโวลท์ขาออกจาก 9 โวลท์ ให้เป็น 12 โวลท์หรนือ มากกว่านั้น ข้อกำหนดของแหล่งจ่ายไฟของ ALESIS D-4 ก็คือ 9 โวลท์ที่ 750-1000 มิลิแอมป์ครับ ฉะนั้น 9 โวลท์คูณด้วย 1.44 ก็เท่ากับ 12.96 โวลท์ที่เป็น DC ไปเลี้ยงวงจร ถ้าหากเกินไปกว่านี้ จะเกิดการฮัมที่เอ้าพุททั้ง 4 ช่องครับ เพราะว่าถ้าโวลท์สูงมากเกินไป อุปกรณ์อีเล็กทรอนิคในแผงจะรับแรงดันไม่ไหวภาคจ่ายไฟจะเกิดการดร๊อปที่ไดโอดมากขึ้น เจ้า D-4 ก็จะฮัม ถ้าแรงดันน้อยเกินไปหรือไฟตก เจ้า D-4 ก็จะรีเซ๊ตตัวเอง นี่ก็คือเหตุผลของการ DIY ที่จะให้ D-4 นั้นทำงานได้เต็มประสิทธิภาพครับ บางท่านถามว่าแล้วเมืองนอกเขาเล่นกันยังไงได้ ผมก็ตอบเลยว่า ถ้าไฟบ้านเราตกขนาดนี้ เป็นเมืองนอกการไฟฟ้าคงถูกฟ้องร้องกันไปหมดแล้วล่ะครับ เพราะเมืองนอกไฟเขานิ่งมาก การออกแบบวงจรของเขาๆก็ว่าเสถียนที่สุดแล้วล่ะครับ แต่พอเจอไฟฟ้าเมืองไทย ฝาหรั่งร้องกันเป็นแถวครับ...

(https://www.uppic.org/image-C401_59968561.jpg)

(https://www.uppic.org/image-9F4F_59968561.jpg)


...ขอแถมท้ายอีกนิดครับว่าทำไมผมคิดที่จะแก้ไขไฟเฉพาะด้านไฟบวกอย่างเดียว ตรงนี้ก็อธิบายได้ว่า กำลังไฟฟ้าทั้งหมดที่ผมตรวจเช็คดู ไฟ – 12 โวลท์นั้น มีการใช้กำลังไฟฟ้าน้อยมากครับ ไม่ถึง 1 ใน 10 ของภาคจ่ายไฟด้านบวกครับ ก็คือเรามองได้ว่า ไฟทั้ง + และ – ของวงจรนั้น ส่วนใหญ่ไปเลี้ยงภาคออปแอมป์ที่ต้องการกำลังไฟน้อยมากครับ ส่วนไฟด้าน + นั้น ต้องไปลดให้เหลือ + 5 โวลท์อีก เพื่อไปเลี้ยงพวก ROM / EPROM / RAM หน้าจอหลอดไฟต่างๆมากมายครับ ฉะนั้นไฟด้าน + จึงมีความสำคัญมากกว่าเพราะกินกระแสมากกว่านั่นเองครับ ผมจึงเลือกไฟด้าน + 12 โวลท์เท่านั้นส่วนด้านไฟ – 12 โวลท์เราก็ปล่อยไว้เท่านั้นไม่เป็นไรครับเพราะช่วงที่ไฟตกหรือกระชากนั้นทางด้านไฟ – ยังคงทำงานอยู่ได้เพราะการชาร์ทและดีสชาร์ตของ C-1000ไมโครด้านไฟลบยังสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ...

...ผลที่ได้จากการ DIY ภาค 2 ของผมนี้ข้อดีก็คือ เราไม่ต้องไปดัดแปลงเครื่องมากครับ ไม่ต้องเปลี่ยนสายไฟใหม่ ขั่ว AC-9 โวลท์เราก็ใช้ขั่วเดิมครับ สิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาก็มี 2 อย่างก็คือ หม้อแปลง 9 โวลท์ขนาดมากกว่า 1.5 แอมป์ขึ้นไป และ STEP-UP ตัวน้อยๆราคาประมาณ 70 บาท ครับ บวกกับฝีมือตัวเองเข้าไปเท่านั้นครับ เราก็จะได้ D-4 ที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นไม่รีเซ๊ตให้กวนใจอีก จากการทดลองผมเคยปรับไฟให้ตกที่ 180 โวลท์ D-4 ก็ยังทำงานได้ปรกติดีครับ...

...เดี๋ยวนี้พวก STEP-UP / STEP-DOWN สามารถนำไปดัดแปลงทำอะไรได้อีกมากมายครับ ถ้าเรามีความรู้มีความเข้าใจในการทำงานของพวกมัน และเดี๋ยวนี้ยิ่งราคาถูกลงมาก ฉะนั้นเราจึงนำไปดัดแปลงแก้ไขในอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆให้ทำงานได้เสถียนมากขึ้น มันก็อยู่ที่เราคิดนี่ล่ะครับ

หัวข้อ: Re: ....เมื่อ D4 ไม่กลัวไฟตก มันต้องทำแบบนี้... (ภาค 2 )
เริ่มหัวข้อโดย: l2amba ที่ สิงหาคม 18, 2017, 03:30:20 pm
สุดยอดครับ ..