Tigger Sound

ห้องสมุด คลังความรู้ต่างๆ ในแวดวงเครื่องเสียง
=> ห้องสมุด ทิกเกอร์ซาวด์ เครื่องเสียง ตู้ลำโพง ระบบเสียง แสงสี และอุปกรณ์อื่นๆ => ข้อความที่เริ่มโดย: ถาวร ที่ พฤศจิกายน 26, 2010, 08:14:42 am

หัวข้อ: decibel (dB) หน่วยวัดที่น่าศึกษา
เริ่มหัวข้อโดย: ถาวร ที่ พฤศจิกายน 26, 2010, 08:14:42 am
    เป็นเพราะอยากเข้าใจระบบเสียงให้มากขึ้น เลยต้องศึกษาทำความเข้าใจเองดูก่อนจากเว็บนี้ http://www.animations.physics.unsw.edu.au/jw/dB.htm (http://www.animations.physics.unsw.edu.au/jw/dB.htm) แปลยากและซับซ้อนพอสมควร จึงต้องค่อยๆ นำมาเสนอตามความเข้าใจของผม เผื่อหลงทางจะได้มีครูมาช่วยทักท้วง ครับ..

    Bel เป็นหน่วยวัดเสียง ตั้งเป็นเกียรติให้แก่ Alexander Graham Bell ที่คิดค้นเรื่องโทรศัพท์ ซึ่งก็มิใช่แปรค่าตัวเองได้โดยตรง นั่นคือตัวเลขที่แสดงบอกไม่ได้ว่าเสียงดังเทาไหร่ แต่จะสัมพันธ์กับเรื่องที่จะวัด(งงๆ หน่อย..นะ)นั่นคือจะบอกเมื่อตอนเปลี่ยนค่าหรือขยับสไล้ด์ ว่าเพิ่มขึ้น-ลดลงเท่าไหร แล้วแปรค่าออกมาเป็นสัดส่วน หรือ ratio จากค่าเดิมก่อนเปลี่ยนค่าหรือก่อนขยับสไลด์ ซึ่งมันเป็นค่า log ของเลข 10 ยกกำลัง x เมื่อ plot เป็นกราฟ จะได้ตามภาพ

(http://tiggersound2.com/upload/imagesMember/2010/11/26/12002_1290731558.jpg)

   คำว่า “deci” ที่เราคุ้นๆ คือค่า 1/10 หรือ 0.1 เมื่อรวมกันจึงเป็นคำว่า decibel ตัวย่อคือ dB แล้วเปลี่ยนกราฟใหม่ให้ลงตัวขึ้น จะได้ไม่ต้องมีจุดทศนิยม ดังนี้

(http://tiggersound2.com/upload/imagesMember/2010/11/26/12002_1290731613.jpg)

    ใช้วัดได้ทั้งเสียง_dB สัญญาณ_dBu แรงดัน_dBV กำลังงาน_dBA ความเข้มเสียง dBWm ฯลฯ เพราะใช้กราฟสัดส่วนเดียวกัน 
 
    สิ่งแรกที่ผมได้คำตอบคือ
    1 ทำไมที่ สไลด์โวลุ่ม จึงไม่เป็นค่า linear เชิงเส้น (จากค่าต่ำสุดมาที่ 0db มีระยะทางยาว เร่งได้เยอะ กราฟจะชันมากค่อยๆขนานแกน Y และจาก 0dB ถึงสูงสุดเร่งได้ไม่มาก กราฟจะเริ่มลาดมากขึ้น ค่อยๆขนากกับแกน X)
    2 ทำไมค่า 0dB จึงไม่ได้หมายความว่าไม่มีเสียง ก็เพราะว่ามันมีค่าสัดส่วน = 1 หรือสัญญาณที่เกิดเท่ากับสัญญาณที่ถูกอ้างอิง (10 ยกกำลัง 0 เท่ากับ 1 นั่นคือ ถ้าไม่ขยับสไล้ด์เสียงก็ดังเท่านั้น)
    3 ทีนี้ถ้าเราตั้งสไล้ด์แต่ละช่องให้เท่ากับ 0 รอไว้ แล้วเพิ่ม-ลด Gain ให้เสียงดังพอเหมาะใกล้เคียงที่ต้องการ การรูดลงจะมีพื้นที่ให้ทำงานมากตั้งได้ละเอียดดี แต่การรูดขึ้นจะมีพื้นที่น้อย ซึ่งก็ไม่ค่อยได้เพิ่มอยู่แล้ว ทำให้ใช้งานสไล้ดโวลุ่มได้เต็มพื้นที่มากที่สุด

     แค่นี้ก่อน เริ่มซับซ้อน ในทางวิชาการหลายคนอาจไม่อยากศึกษา แต่มันตอบอะไรได้ดี มีอะไรที่น่าสนใจและอาจเป็นประโยชน์เรื่องเครื่องเสียงของพวกเราเหมือนกัน..
หัวข้อ: Re: decibel (dB) หน่วยวัดที่น่าศึกษา
เริ่มหัวข้อโดย: ถาวร ที่ พฤศจิกายน 26, 2010, 04:21:20 pm
ต่ออีกซักหน่อยครับ
(http://tiggersound2.com/upload/imagesMember/2010/11/26/12002_1290731613.jpg)

     ต่อไปผมจะขอยกตัวอย่างการขยายเสียงแบบง่ายๆนะครับ ไม่ต้องคิดมากเรื่องผลกระทบอื่นๆ เช่นบริเวณ ความถี่ อุปกรณ์ อุณหภูมิ ระยะห่าง การต่อ เครื่องมือ ฯลฯ แม้กระทั่งหูแต่ละคนซึ่งไม่เท่ากัน ในที่นี้ให้ถือว่าเท่ากันไว้ก่อน
     ดังนั้นจากกราฟนี้ ถ้าเราเปิด Power amp บิดที่ตำแหน่งใดๆ ก็ได้ แล้วเร่งสัญญาณ Mixer ไว้ที่ 0 db เสียงมันจะดังเท่าใดก็ไม่ต้องสนใจ ให้ถือว่ากำลังขับขณะนั้นมีสัดส่วนเป็น 1 เท่า  คำถามคือ

     1. ถ้าอยู่ที่ 0 dB แล้วปรับขึ้นอีก +3dB ดูว่ากำลังจะเป็นเท่าใด  และถ้าปรับลง -3dB กำลังจะเป็นเท่าใด (มีเฉลยในภาพอยู่แล้ว)
     2. การเพิ่มทุกๆ 3dB (+3,+6,+9,+12,+15 ...) มีผลอย่างไร
     3. การลดทุก 3dB (-3,-6,-9,-12,-15 ...) มีผลอย่างไร
     
หัวข้อ: Re: decibel (dB) หน่วยวัดที่น่าศึกษา
เริ่มหัวข้อโดย: Cybermen Audio101 ที่ พฤศจิกายน 30, 2010, 08:20:31 pm
ได้ความรู้อีกแล้ว
หัวข้อ: Re: decibel (dB) หน่วยวัดที่น่าศึกษา
เริ่มหัวข้อโดย: ถาวร ที่ ธันวาคม 01, 2010, 07:23:24 am
    ผมก็มึนตี๊บเหมือนพี่อำนาจเหมือนกัน แต่จะพยายาม ..

    ขอต่อแบบต้วมเตี้ยมอีกหน่อย..
    จากการเพิ่มหรือลดทีละ 3dB จะมีการเปลี่ยนแปลงตามตัวอย่าง ขอใช้ตัวเลขลงตัวตรงๆ คือ
        1. ถ้าเลื่อน Slide Fader เพิ่มจาก 0 เป็น 3dB
           ที่กราฟ 0dB สัดส่วน = 1 : ที่ 3dB สัดส่วน = 2 (จาก 1 กลายเป็น 2) หรือเพิ่มเท่าตัว
        2. ถ้าเลื่อน Slide Fader เพิ่มจาก 3 เป็น 6dB
           ที่กราฟ 3dB สัดส่วน = 2 : ที่ 6dB สัดส่วน = 4 (จาก 2 กลายเป็น 4) ก็เพิ่มเท่าตัวเหมือนเดิม
        3. ถ้าเลื่อน Slide Fader เพิ่มจาก 0 เป็น 10dB
           ที่กราฟ 0dB สัดส่วน = 1 : ที่ 10dB สัดส่วน = 10 (จาก 1 กลายเป็น 10) หรือเพิ่ม 10 เท่าตัว
        4. ถ้าเลื่อน Slide Fader ลดจาก 0 เป็น -3dB
           ที่กราฟ 0dB สัดส่วน = 1 : ที่ -3dB สัดส่วน = 1/2 (จาก 1 กลายเป็น 1/2) หรือเป็นการลดครึ่งหนึ่ง
        5. ถ้าเลื่อน Slide Fader ลดจาก -3dB เป็น -6dB
           ที่กราฟ -3dB สัดส่วน = 1/2 : ที่ -6dB สัดส่วน = 1/4 (จาก 1/2 กลายเป็น 1/4) ก็ลดครึ่งหนึ่งเหมือนเดิม
        6. ถ้าเลื่อน Slide Fader ลดจาก 0dB เป็น -10dB
           ที่กราฟ 0dB สัดส่วน = 1 : ที่ -10dB สัดส่วน = 1/10 (จาก 1 กลายเป็น 1/10) จะเป็นการลดสัญญาณไป 10 เท่า

(http://image.ohozaa.com/i/g82/N3KMgY.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/wMuJwqBtcVhE0e58)

     สิ่งที่ได้มาอีกหน่อยคือ
     - การเพิ่มขึ้น เป็นการทวีคูณสัดส่วนตามค่า log 10
     - เพิ่มไป 3dB เท่ากัน ณ จุดที่ต่างกัน แต่ค่าที่เพิ่มมันไม่เท่ากัน แต่เป็นทวีคูณเหมือนเดิม เช่นเราอาจเพิ่มจาก 1.5dB > 4.5dB (เพิ่ม 3dB) ก็เป็นทวีคูณจาก 1.5dB เช่นกัน
     - ทุกๆ 10dB มีการเพิ่ม 10 เท่า ค่า dB จึงเป็นค่าที่กระทัดรัด สามารถนำไปอธิบายสัดส่วนใหญ่ๆ ได้ดี เพราะที่ 60dB ค่าสัดส่วนจะไปถึง 1 ล้านเท่า (หรือ 10 ยกกำลัง 6) เมื่อเทียบกับ 0dB
     - การลดลง กลับเป็นการลดลงทีละครึ่งส่วน
     - ดังนั้นกราฟนี้แทบจะไม่มีค่าสัดส่วนเป็น 0 ได้เลย
     - ผมสังเกตุเห็นตัวเลขทั้ง + และ - ของ 3,6,9,12..dB เป็นค่า default ใน parameter ต่างๆของเครื่องเสียง เครื่องปรุง บ่อยๆ ก็พอเดาได้ว่าทำไมต้องใช้เลขนี้ แต่ไม่ใช่ซีเรียสว่าต้องเป็นเลขนี้ เขาตั้งมาให้เราปรับแต่งเท่านั้น.. 

     Sound pressure คือแรงดันของเสียงที่แพร่กระจายมาถึงหูเรา(ความดัง) วัดสัดส่วนได้จากไมโครโฟน เป็นแรงดันของเสียงต่อพื้นที่(square) เขาจึงคำนวนสูตรพลังงานที่ทำให้เกิดเสียงได้เท่ากับ pressure ยกกำลัง 2 (square)
     ถ้าต้องการเพิ่มพลังงานเสียงเป็นกี่เท่าก็ต้องคูณด้วย square root จำนวนเท่านั้น เช่น ถ้าต้องการเพิ่ม 2 เท่า จะเท่ากับ P คูณด้วย square root 2  :  และถ้าต้องการลดพลังงานเสียงเป็น 2 เท่าหรือครึ่งหนึ่ง  ก็จะเท่ากับ P หารด้วย square root 2  : (สามเท่าก็ root 3 , สี่เท่า ก็ root 4 เป็นต้น)

     ให้  P = Power = พลังงานที่ทำให้เกิดเสียง (เป็นไปตามสูตร Sound Presure)
          I = Identical Sound = ชุดเครื่องเสียงที่ทดลอง (เช่นจำนวน Amp + ลำโพง ที่ใช้) 
          L = Level = แรงดันสัญญาณเข้า หรือค่า dB (ค่าจากการปรับ +,-)

     ดังนั้นการที่จะทำให้เกิดความแตกต่างของความดังของเสียงจึงกระทำได้หลายๆ อย่างคือ
     1. เพิ่มกำลังขับ (P) หรือ Power ของเครื่องเสียง (โดยที่ใช้ ลำโพงเท่าเดิม และเร่งเสียงเท่าเดิม)
     2. เพิ่มจำนวนเครื่องเสียงและลำโพง (I) (โดยใช้กำลังขับเท่าเดิม และเร่งเสียงเท่าเดิม)
     3. เพิ่มความแรงสัญญาณ (L) (โดยใช้กำลังขับเท่าเดิม และลำโพงเท่าเดิม)
     หรือตลอดจนทำทั้ง 3 อย่างรวมกันถ้าจำเป็น

     ถ้าเราแบ่งหรือลดเสียงออกทีละครึ่งไปเรื่อยๆ ไม่ว่าจะจากการลดพลังงานที่ P , หรือจากการลดจำนวนเครื่องเสียง/ลำโพง , หรือจากการลดระดับของสัญญาณ จะมีอะไรเกิดขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบการลดแต่ละอย่าง มันควรมีเหตุผลอะไรที่ต้องเลือกทำอย่างนั้น หรือทำอย่างไรจะดีที่สุด ประหยัดเงินซื้ออุปกรณ์ , ประหยัดพลังงานไฟฟ้าหรือลดภาระเครื่องขยายให้มากที่สุด ลองดูตามตารางการแบ่งด้านล่าง

 (http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/01/31/12002_1359634719.jpg)

     ถ้ามีเครื่องเสียง 3 ชุดที่ให้เสียงได้เท่าๆ กัน 3 แบบ ดังนี้
       ก. เครื่องเสียง 100 วัตต์ ลำโพง 1 ตู้ เปิดดังเต็มที่ (P)
       ข. เครื่องเสียงอีก 4 ชุด ลำโพง 4 ตู้ กี่วัตต์ก็ได้ เร่งเท่าๆกัน เปิดให้ดังรวมเท่ากับข้อ 1. (4I)
       ค. เครื่องเสียง 400 วัตต์ ลำโพง 1 ตู้ เร่งไม่ต้องไม่สุดแต่ให้ดังเท่ากับข้อ 1. หรือ 2. (L)

     ฉะนั้นถ้าในข้อ ค. ผมลดสัญญาณลงมา 6dB เหมือนเขาบอกว่าจะเท่ากับการปิดเครื่องเสียงในข้อ ข. ไป 3 ตัว(เหลือ 1 ส่วน 4) หรือเท่ากับเปลี่ยนไปใช้เครื่องเสียงแค่ 50 วัตต์ ในข้อ ก.

(http://image.ohozaa.com/i/840/zyFxyS.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/wMuLJgoIFpnE6WJY)

     การ Pan ลำโพง ซ้ายสุดขวาสุด ก็เป็นการแบ่งเสียงทีละครึ่ง มีการเพิ่มลดเกี่ยวข้องกับตัวเลข 3dB นี้อย่างไร ?

     และถ้าท่านต้องการคุมเสียงให้คลุมพื้นที่เป็น 2 เท่า ท่านจะใช้วิธีการใด ?
หัวข้อ: Re: decibel (dB) หน่วยวัดที่น่าศึกษา
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างแอ้ด™ ที่ ธันวาคม 01, 2010, 10:36:24 am
ขอบคุณครับ

ค่อนข้างเข้าใจยาก สเกลมันไม่ขึ้นลงแบบลิเนียร์แบบเทียบบรรยัติไตรยางค์ แต่เป็นอัลกอริทึม

จำง่ายๆครับ เริ่มจากศูนย์เท่านั้น เพิ่มค่าขึ้นทีละ 3 คือเพิ่มจำนวน 1 เท่าจากของเดิมที่มีอยู่
จาก 0 ไปถึง 3 คือ เพิ่ม 1 เท่าเทียบจาก 0   และจาก 3 ไปถึง 6 คืออีกเท่าตัวของจากเดิมที่มี 3

ส่วนทางด้านลบอาจจะเห็นภาพเปลี่ยนแปลงน้อยกว่าดูจากที่พี่ถาวรอธิบายคือตามภาพกราฟที่เส้นขาลง
การลดลงที่เริ่มจาก 0 ทุกๆ 3 คือ 1 เท่าเช่นกันจากค่าเดิมก่อนหน้า ค่อยๆดูอ่านและทำความเข้าใจ เดียวถึงบางอ้อ

*จำไว้ว่าเมื่อนับ 10 ครั้งแรก คือ10เท่าของกำลังที่เพิ่มหรือลดลง เป๊ะครับ

เอ้อ งงงดีแท้  kisss
หัวข้อ: Re: decibel (dB) หน่วยวัดที่น่าศึกษา
เริ่มหัวข้อโดย: ถาวร ที่ ธันวาคม 01, 2010, 04:16:27 pm
     จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเราแบ่งเสียงออกทีละครึ่งไปเรื่อยๆ แล้วค่า dB หรือ สัดส่วนกำลัง P จะเป็นอย่างไร ลองดูตามตารางการแบ่งด้านล่าง
     ให้  P = Power = สัดส่วนกำลังที่ใช้ (ค่าสัดส่วนที่ได้จากกราฟ)
          I = Identical Sound = ชุดเครื่องเสียงที่ทดลอง (จำนวนจริง)
          L = Level = แรงดันสัญญาณเข้า หรือค่า dB (ค่าจากการปรับ +,-)
     (http://tiggersound2.com/upload/imagesMember/2010/12/01/12002_1291160589.gif)

     การ Pan ลำโพง ซ้ายสุดขวาสุด ก็เป็นการแบ่งเสียงทีละครึ่ง มีการเพิ่มลดเกี่ยวข้องกับตัวเลข 3dB นี้อย่างไร

     เอ้าค่อยๆต่ออีกหน่อยครับ..

     ถ้ามองจากตารางที่เขาคิดไว้ให้แล้ว(จากเว็บต้นตำหรับ เขาจะมีที่มาที่ไป) สมมุติให้ทุกอย่างเริ่มจาก 1 ส่วน และสัญญาณเริ่มที่ L หรือ L = 0dB (มุมล่างซ้ายสุด)
     การลดสัญญาณ -3db จะเท่ากับการลดชุดเครื่องเสียงไปกึ่งหนึ่ง(I=I/2 หรือเท่ากับ 1/2) แต่ไม่ได้ลดกำลังงานกึ่งหนึ่งตามไปด้วย (P=P/รากที่ 2 ของ 2 หรือเท่ากับ 1/1.414213 = .70) หรือร้อยละ 70 ของกำลังเดิม ลดไปร้อยละ 30 เท่านั้น
     หากต้องการลดกำลังครึ่งหนึ่ง กลับจะต้องทำการลดแรงดันสัญญาณไปถึง -6dB ค่า P จึงลดเหลือ P/2 และชุดเครื่องเสียงก็ลดไปถึง 1/4 เท่า จึงเป็นข้อมูลสำคัญในการพิจารณาเรื่องพลังงานที่ใช้

     ส่วนเรื่องการ Pan ลำโพง ซ้ายสุดขวาสุด อันนี้ผมโยงมาจากคู่มือของ MACKIE ที่บังเอิญอ่านเจอ เห็นมันใช้ทฤษฏีเดียวกัน มันระบุว่า เมื่อ Pan มาที่ตรงกลาง จะทำการลดสัญญาณลง -3dB แล้วจ่ายให้ Main L/R , Group1-2 หรือ Group3-4 รับไปดำเนินการต่อ แต่ถ้าเริ่มบิดไปทางซ้ายหรือขวาก็จะค่อยๆเพิ่มกลับมา จนถึงซ้ายสุดหรือขวาสุดก็จะอยู่ในระดับปกติที่ผ่าน Gain ขยายมา(ไม่ลดสัญญาณ) เพื่อทำให้ระดับเสียงที่ได้ยินยังดังเท่าเดิมหรือใกล้เคียงที่สุด ต่างเพียงมิติซ้าย-ขวาของแหล่งเสียงเท่านั้น
 (http://tiggersound2.com/upload/imagesMember/2010/12/01/12002_1291193455.jpg)

     ตารางและข้อมูลที่นำเสนอเป็นเรื่องการแบ่งลดทีละครึ่ง(หรือการรูดลงอย่างเดียว) ทีนี้ถ้าเราเพิ่มชุดเครื่องเสียงเหมือนเดิมเข้ามาอีก 1 ชุด และลำโพงอีก 1 ตัว แล้วป้อนสัญญาณเดียวกัน จะเป็นการ Double Level(+6dB) หรือ Double Power(+3dB) ..

     งงหน่อยนะ.. นอกจากไม่ linear แล้ว ที่สไล้ด์เดียวกันดูเหมือนการรูดลงใช้สูตรหนึ่ง การรูดขึ้นใช้อีกสูตรหนึ่ง ถ้าเข้าใจและคล่องกับกราฟแล้ว เมื่อคิดเปลี่ยนระดับสัญญาณ เราจะเริ่มจากตำแหน่งไหนที่สไล้ด์ก็ได้ เพียงแต่ดูว่าขยับขึ้นไป(+) หรือลดลง(-) กี่ dB แล้วแปรค่าสัดส่วนจากจุดที่แล้วมาได้เลย โดยคิดว่ามันคือ 0dB
     จึงมองแค่ +10 / -10 dB ตามกราฟที่เห้นนี้ก็น่าจะเพียงพอแล้ว เพราะเราจะปรับหรือแต่งสัญญาณเสียงแต่ละครั้งคงไม่เกินนี้..
หัวข้อ: Re: decibel (dB) หน่วยวัดที่น่าศึกษา
เริ่มหัวข้อโดย: ถาวร ที่ ธันวาคม 03, 2010, 11:06:53 am
     คำถามที่แล้วผมขอค้างไว้ก่อนแล้วกัน.. ผมเสนอทฤษฏีมาพอสมควรแล้ว อยากให้ทดลองในเชิงปฏิบัติการบ้าง โดยฟังเสียงการเปลี่ยนแปลงการลดค่า dB ขนาดต่างๆ ให้เปรียบเทียบกับความรู้สึกการได้ยิน(loud)ของตัวเอง ว่าแปรไปตามระดับของสัญญาณ(dB)ที่มาจากการปรับ หรือสัดส่วนของกำลัง(ratio)ตามสูตรหรือไม่ โดยขอให้ไปที่เว็บนี้ http://www.animations.physics.unsw.edu.au/jw/dB.htm (http://www.animations.physics.unsw.edu.au/jw/dB.htm) แล้วกดฟังเสียงแต่ละภาพตามคำอธิบายทีละอัน
     (อยากยกมาให้ทดลองกดฟังที่นี้เลย แต่ผมทำไม่เป็น ดู source code แล้วไม่เข้าใจ ตอนนี้ก็รบกวนอ่านให้เข้าใจก่อน แล้วไปทดลองฟังเสียงที่ link ดังกล่าว หรือคลิ๊ก link ที่ภาพ ท่านใดทำเป็นช่วยด้วยก็ดี)

(http://tiggersound2.com/upload/imagesMember/2010/12/01/12002_1291220781.jpg) (http://www.animations.physics.unsw.edu.au/jw/dB.htm)
     1.เมื่อไปที่เว็บดังกล่าวแล้วเลื่อนลงมาเรื่อยๆ เจอภาพแรกนี้แล้วกด play บริเวณที่วงสีแดงไว้ เป็นการให้ลองฟังเสียง white noise ที่ถูกลดสัญญาณลูกละ -3dB จำนวน 20 ลูกใน 14 วินาที เราจะรู้สึกว่าเสียงค่อยๆลดลงไปเรื่อยๆ เป็นลักษณที่ฝรั่งเรียกว่า Decay ใช้เป็น parameter หนึ่งของอุปกรณ์ Reverb นั่นเอง จะลดตามกราฟสีแดง
       ถ้ามองเรื่องกำลัง สัญญาณที่ 1 กับที่ 2 จะต่างกัน 30%  แต่ถ้าสัญญาณที่ 1 กับสัญญาณที่ 3 จะต่างกัน 50%  จึงให้สังเกตุว่า การเพิ่มกำลัง 2 เท่า ไม่ได้ทำให้รู้สึกว่าเสียงดังต่างกัน 2 เท่าด้วยเลย

(http://tiggersound2.com/upload/imagesMember/2010/12/03/12002_1291346918.jpg) (http://www.animations.physics.unsw.edu.au/jw/dB.htm)
     2. ลองอีกภาพหนึ่ง เป็นภาพที่ลดลงทีละ 1dB ในแต่ละลูก  ลองฟังเสียงดูเป็นระดับความแตกต่างที่ต้องใช้การสังเกตหรือจับผิดกันเลยทีเดียว คือเรายอมรับว่าสัญญาณแรกซ้ายสุด กับสัญญาณสุดท้ายขวาสุด มีความต่างกัน แต่สัญญาณที่ 1-2-3 หรือที่ติดๆ กันมันแยกไม่ออกเลย
        ดังนั้นจึงเป็นข้อคิดที่ว่า การเพิ่มสัญญาณ 1dB เหมือนกับไม่เป็นผลอะไร แต่เราเพิ่มกำลังให้ระบบถัดไปถึง 26% โดยไม่รู้ตัวเลยทีเดียว

(http://tiggersound2.com/upload/imagesMember/2010/12/03/12002_1291347221.jpg) (http://www.animations.physics.unsw.edu.au/jw/dB.htm)
     3. การทดลองสุดท้าย เป็นภาพที่เขาตั้งประเด็นว่าจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าให้สัญญาณลดลงน้อยกว่า 1dB จากเหตุผลที่ 1dB มันจำแนกความแตกต่างได้ยากอยู่แล้ว โดยทดลองที 0.3dB  ซึ่งก็ยังอาจจะบอกได้อยู่ว่าสัญญาณแรก กับสัญญาณสุดท้ายมันแตกต่างกันนิดหน่อย แต่ยากที่จะสังเกตุว่าเป็นการการค่อยๆลดลง(Decay) เมื่อฟังอย่างต่อเนื่อง  ลองหลับตาฟังดู
       และการเพิ่ม 0.3dB นี้ เราควรทราบว่าต้องเพิ่มกำลัง 7%

     ระดับความดังที่ผ่านอากาศมาถึงหู จึงต้องใช้เครื่องมือวัด , มี Standard level มาเทียบ ต้องขออภัยที่อาจทำให้สับสนไปบ้าง แต่มันน่าศึกษาดี น่าจะมีประโยชน์บ้าง..
หัวข้อ: Re: decibel (dB) หน่วยวัดที่น่าศึกษา
เริ่มหัวข้อโดย: ถาวร ที่ ธันวาคม 04, 2010, 08:02:18 am
ค่อนข้างเข้าใจยาก สเกลมันไม่ขึ้นลงแบบลิเนียร์แบบเทียบบรรยัติไตรยางค์ แต่เป็นอัลกอริทึม

     ขอบคุณที่ช่วยทำความเข้าใจครับ..
 
     ในชีวิตประจำวัน สมองเราคุ้นเคยกับค่าลิเนียร์ การเทียบสัดส่วนแบบบัญญัติไตรยางค์ ตลอดจนเลขฐาน 10 
     กำลังฝึกสมองให้สัมผัสกับสิ่งที่แตกต่างออกไป ลองเขียนบนกระดาษแล้วรู้สึกทบทวนแก้ไขไม่ได้ดีเหมือนค่อยๆเติมใสทีละท่อนในเว็บบอร์ดนี้ มันยังมีต่ออีกหลายตอนเหมือนกัน หรืออาจจะตันไปไม่รอดเมื่อไหร่ก็ได้ จึงต้องขออภัยหากรบกวนท่านใด..
หัวข้อ: Re: decibel (dB) หน่วยวัดที่น่าศึกษา
เริ่มหัวข้อโดย: briologies ที่ ธันวาคม 09, 2012, 11:04:18 am
ขอบคุณครับ smiley4
หัวข้อ: Re: decibel (dB) หน่วยวัดที่น่าศึกษา
เริ่มหัวข้อโดย: mitr ที่ มกราคม 02, 2013, 03:11:47 pm
ขอบคุณครับ
อันไหนที่มันไม่คุ้นๆก็จะมึนไปได้นานแหละครับ
หัวข้อ: Re: decibel (dB) หน่วยวัดที่น่าศึกษา
เริ่มหัวข้อโดย: PLE-T-BAND.LB ที่ มกราคม 19, 2013, 08:57:03 am
ลึกซึ้งมากครับ ขอบคุณครับ แต่ก็งงครับ
หัวข้อ: Re: decibel (dB) หน่วยวัดที่น่าศึกษา
เริ่มหัวข้อโดย: cheewinsitta ที่ มกราคม 29, 2013, 11:52:02 pm
ขอบคุณครับ  smiley4  smiley4  smiley4
หัวข้อ: Re: decibel (dB) หน่วยวัดที่น่าศึกษา
เริ่มหัวข้อโดย: ถาวร ที่ มกราคม 31, 2013, 11:36:35 pm
     หลังจากพากันมึนไปพอสมควร กลับมาเรื่องง่ายๆใกล้ตัวที่เล่นกันอยู่ดีกว่า คือเมื่อเราพอจะรู้สูตรการเพิ่ม-ลด ระดับสัญญาณที่มีหน่วยเป็น dB แล้ว ทีนี้ ณ ที่ตําแหน่ง 0dB หรือ Unity ของระบบต่างๆ มีความสำคัญอย่างไร? ผมว่ามันน่าสนใจเหมือนกัน มันต้องมีเหตุผลที่มันไม่อยู่ท้ายสุด แต่มาอยู่ระหว่างทาง..

     Unity เป็นตำแหน่งที่วงจร ณ ส่วนนั้นๆ ไม่ทำการลด หรือขยายสัญญาณที่เข้ามาตามหน้าที่ของมัน จะมีอยู่ที่ปุ่มต่างๆ เช่น ปุ่ม Gain สำหรับขยาย-ลดสัญญาณให้เหมาะสมกับระบบ , ปุ่ม EQ สำหรับเพิ่ม-ลด เฉพาะช่วงความถี่ หรือความถี่ที่ต้องการ , ปุ่ม Fader สำหรับ เพิ่ม-ลด สัญญาณแต่ละ Channel เพื่อส่งไปส่วนของ Group หรือ Main Mix แต่หน้าที่จริงๆเป็นการ Fade เสียงให้เข้าหรือออกจากการผสมหรือ Mixed เสียง เป็นต้น

     ถ้าเราอยากรู้ว่าสัญญาณที่เข้ามาที่ Input แรงเหมาะสมแค่ไหน แล้วเราจะต้องปรับ Gain เท่าไหร่ ผมจะเลื่อน Slide Fader ลดลงสุดก่อน ส่วนปุ่ม EQ ปรับให้ไปที่ Unity เป็นจุดเริ่มต้นการตั้งค่า เช่น เราต่อไมโครโฟนไว้ที่ Channel 1 ปรับทุกอย่างให้อยู่ที่ Unity ลด Gain ให้สุดหรือให้อยู่ที่ unity (ไม่ลด-ไม่ขยายสัญญาณ) แล้วกดปุ่ม PFL (Pre-Fader Listen) หรือ Solo เพื่อใช้ Headphone ฟัง แล้วให้สัญญาณไปแสดงที่ LED level meter เมื่อทดลองพูดไมค์เราก็จะทราบว่า สัญญาณแรงพอหรือไม่ (ฟังจากเสียง และดูจากไฟ level meter) ถ้าไม่พอก็ให้เร่ง Gain ดูให้ไฟ level ขึ้นมาเคลื่อนไหวที่บริเวณ 0dB

(http://image.ohozaa.com/i/ec1/6G6OTY.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/wM2ptxxHw2q7RUZx)

     ที่ต้องการให้เราใช้การเร่งที่ Gain ก่อนก็เพราะว่าวงจรขยายเสียง หรือ Pre-amp ที่จุดดังกล่าวนั้นเป็นวงจรที่สำคัญ ได้รับการคัดเลือกจากบริษัทผู้ผลิตว่าเป็นวงจรขยายสัญญาณเสียงดีที่สุดของ Mixer นั้นๆแล้ว เพราะจะมี Gain ขยายที่สูง แต่มีการ Distortion ของสัญญาณน้อยที่สุด เหมาะสำหรับปรับสัญญาณเสียงจากระบบอื่นๆที่เข้ามา ให้เหมาะสมกับระบบต่อๆไปภายใน Mixer ซึ่งจะต้องมีการปรุงแต่งสัญญาณนี้ต่อไป และปุ่ม Gain ในบางรุ่นเพิ่มได้ถึง 60dB (หรือขยายได้ 1,000,000 เท่า อย่างที่เคยบอกไว้) เหมาะสำหรับขยายสัญญาณต่ำๆ เช่นไมโครโฟน ตัวอย่าง Mixer ยี่ห้อ Mackie รุ่นหนึ่ง เขาให้ชื่อว่า ONYX MIC PREAMPS และยังใช้เป็นชื่อรุ่นของ Mixer ด้วย

(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/02/02/12002_1359784794.jpg)

     วงจรขยายดังกล่าวแตกต่างกับวงจรการแต่งเสียงที่จุดอื่นๆ เช่น ที่ EQ , Pan , Aux , Chanel Fader หรือที่ Main Mix Master ไม่จำเป็นต้องมี Gain ขยายมาก แค่ระหว่าง + - 10 ถึง 15dB เท่านั้นก็พอ ผมคิดว่าเหมาะสำหรับการปรับแต่ง ก็น่าจะเพียงพอแล้วสำหรับหน้าที่ ณ จุดนั้นๆ ซึ่งไม่ทำให้เกิน Headroom ..
     ยกเว้นส่วนที่เป็นกลุ่มของ Fader ที่มี Gain เพิ่มสัญญาณประมาณ + 10 แต่ Gain ลดสัญญาณมากจนถึง Infinity ไปเลย (เหมือนปิดเสียง) วัตถุประสงค์อันนี้เพียงเพื่อ Fade สัญญาณเข้า-ออกจากการผสมหรือ Mixed เสียงเท่านั้น ถ้าตั้งค่าที่ปุ่ม Gain ไว้ดีแล้ว กรณีต้องการให้ผสมเสียงเข้ามาในระบบ(Fade In)ก็ดันไปที่ Unity  ถ้าต้องการตัดเสียงออกให้หมด(Fade Out)ก็ลดลงสุดไปที่ Infinity หรือจะให้ออกไม่หมดผสมเสียงบางส่วนก็แล้วแต่ระดับที่ต้องการ เป็นไปตามชื่อของมันคือ "Fader" เพียงเพื่อการผสมหรือ Mixed เสียงนั่นเอง
     ถ้าเราตั้งได้มาตรฐานเดียวกันทุก Channel เราสามารถกวาดสายตาดูสไลด์ Fader ครั้งเดียวก็จะได้รู้ทันทีว่าช่องไหนที่ Fade-in , Fade Out หรือ Fade Out ไปเท่าไหร่ ณ เวลานั้นๆ  แต่ถ้าเราตั้งแบบไม่มีกฎเกณฑ์ เอาแค่ฟังเสียงแล้วใช้ได้ ที่สไล้ด์ Fader มันก็จะขึ้นๆลงๆ สลับกันไปตามระดับเสียงที่วัดหรือได้ยินจากหูอย่างเดียว และบอกอะไรเราไม่ได้

(http://image.ohozaa.com/i/c37/dimH4A.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/wM7zp03W1irKZxFP)

     แต่ส่วนที่เป็นสไล้ด์ของ Main Mix ที่เราอาจประมาณได้ว่าเป็นเหมือน "Volume" เพราะไม่ได้ไปผสมกับใครแล้ว แต่ก็ควรปรับให้ได้ Unity เหมือนกัน แล้วไปเพิ่ม-ลดที่ Power Amp เอาเอง ปรากฎตามหัวข้อ Other Nuggets of Wisdom ข้างต้นได้ระบุเอาไว้ ..

     ภาพ Level Diagram ในคู่มือของ MACKIE ONYX แสดงให้เห็นภาพรวมว่าทางเดินของเสียงใน Mixer ตัวหนึ่งๆ มีจุดไหนบ้างที่ใช้ในการปรับเพิ่ม-ลด สัญญาณเสียง และเขามีแนวทางการปรับระดับสัญญาณอย่างไร
     - ถ้าหัวลูกศรไปทางขวา ผมเข้าใจว่าเป็นการปรับระดับสัญญาณเพื่อเข้าสู่จุดนั้นๆ เช่น Gain , Assign
     - ถ้าหัวลูกศรไปทางซ้าย ผมเข้าใจว่าเป็นการปรับแต่งตามความเหมาะสม เช่น EQ , Fader ,

(http://image.ohozaa.com/i/564/kjDDtF.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/wVbbb6Y4lqOZ1ts4)

     Channel Fader และ Main Mix Fader (ในกรอบสีน้ำเงิน)ความจริงมันก็มีทั้งขยาย(+10 dB) และลด(ลบถึง Infinity) แต่ทำไม Diagram นี้แสดงค่าตั้งแต่ 0dB ขึ้นไป ไม่แสดงการลดค่าซึ่งลดได้ถึง Infinity (ปิดเสียง) ผมไม่แน่ใจว่าเขาสื่อให้ทราบในเรื่องอะไร หรือเขาแสดงให้ดูเฉพาะการ Fade-in (หรือเขาลืมเขียนไว้) แต่เวลาใช้งานจริงผมก็ตั้งไว้ที่ Unity หรือ Fade-in อยู่แล้ว ถ้าต้องการตัดเสียงผมใช้วิธีกดปุ่ม Mute แทน และอีกกรณีคือใช้ Fade เสียงเข้าหรือออก เราจึงจะปรับในพื้นที่ที่ต่ำกว่าตำหน่ง Unity ดังกล่าว.. และหากไม่มีสัญญาณต่อที่ Channel Input นั้นๆ ผมจึงเลื่อนสุดมาที่ Infinity..

     การ Pan (จากภาพเป็นจุดที่ต่อจาก Fader) ตำแหน่งตรงกลางหรือให้เสียงออกทั้ง L และ R จะเป็นการลดสัญญาณข้างละ -3dB ก็จะได้เสียงเท่ากับ 1 หน่วยอย่างที่เคยบอกไว้ คือเป็นเรื่อง Identical Sound นั่นเอง ถ้า Pan มาที่ข้างใดข้างหนึ่ง จะปิดเสียงอีกข้างและเพิ่มข้างที่ Pan ให้อีก +3dB ผลลัพธ์ของเสียงจากลำโพงข้างเดียวก็ยังเท่ากับ 1 หน่วยเหมือนเดิม

     Input ส่วนที่เป็นไมค์ (ในวงแดงด้านบน) เขารู้ว่าเป็นสัญญาณที่อ่อนมันจะต้อง Trim up อย่างเดียว จึงไม่จำเป็นต้องออกแบบให้มี Trim down (ไม่จำเป็นต้องทำให้มี Unity อยู่ตรงกลาง) และยัง up ได้ถึง 60dB  จากภาพเหมือนจะบอกว่า สัญญาณไมค์จะเข้ามาแรงเท่าไหร่ก็แล้วแต่ ให้ Trim up ไปที่ระดับ 0dB เพื่อส่งให้ระบบต่อไป

     ส่วน Input ที่เป็นสัญญาณอื่นๆ (ในวงแดงด้านล่าง) เขารู้ว่ามันมีทั้งสัญญาณที่แรง และ สัญญาณที่อ่อน จึงมีทั้ง Trim up และ Trim down (เมื่อรวม -20dB และ +40dB มันก็อยู่ในช่วง 60dB เท่าเดิม เพราะใช้วงจร Preamps เดียวกัน ย้ายจุด Unity เท่านั้น) จากภาพเหมือนจะบอกอีกแล้วว่า เข้ามาเท่าไหร่ก็ตาม ให้ Trim up/Trim down ไปที่ 0dB เพื่อส่งให้ระบบต่อไป เหมือนกัน

     ถ้าเป็นไมโครโฟนผมจะใช้ Preamps scale ขยาย +60dB (หรือในวงแดงด้านบน)
     ถ้าเป็นสัญญาณอย่างอื่น ผมจะเลือกใช้ Preamps scale แบบ ลด -20 ขยาย +40 dB ก่อน
       - กรณีสัญญาณเข้ามาแรง ถ้าลด -20dB แล้วยังแรงอยู่ ให้ไปลดที่ต้นกำเนิดเสียง เช่นถ้ามาจากคอมฯ ก็ลดที่ Speaker
       - กรณีสัญญาณเข้ามาอ่อน ถ้าเราขยายเต็มที่ +40dB แล้วก็ยังไม่ถึง 0dB ก็จึงไปเลือกใช้ Scale +60dB

      ดังนั้นปุ่ม Gain ใน Mixer หลายๆ รุ่น จึงมี 2 Scale ให้เลือกทำงาน  โดยการกดปุ่ม Pad ยี่ห้ออื่นๆ รุ่นอื่นๆ อาจใช้ชื่อแตกต่างกันไป

     การ Set ระดับสัญญาณเสียงที่เข้ามาครั้งแรก ผมจะให้ความสำคัญก่อนที่จะทำอย่างอื่น ถ้า Set ไม่เหมาะสมตั้งแต่แรกแล้ว ส่วนที่เหลือก็จะไม่เหมาะสมตามๆ กันไปจนออกลำโพง เช่น สมมติว่ารับสัญญาณจากคอมฯ เปิดเสียงมาแรง แล้วเราลดที่ Gain ที่ -15db และก็ไม่ได้เช็คว่ายังคงแรงเกินไปอยู่ ที่ Channel Fader ก็ต้องขยับเพียงนิดเดียว เห็นบางคนเล่นตำแหน่ง Fader ที่บริเวณ -30 , -40dB โดยที่เสียงยังดังเต็มที่อยู่เลย เป็นความเชื่อของผมนะครับว่าสัญญาณเริ่ม Distortion ทั้งที่ Gain และที่ Fader เพราะผมคิดว่าการ Distortion ไม่ได้เกิดจากการเพิ่มหรือการขยายสัญญาณเพียงอย่างเดียว มันเกิดจากการลดสัญญาณด้วยเหมือนกัน

     ส่วนหลังจาก Set ระดับสัญญาณให้เหมาะสม หรือเรียกว่า Optimize Sonic Performance แล้ว ก็เป็นเรื่องการปรับแต่งเสียงตามความชอบ เขายังบอกอีกข้อหนึ่งในเรื่อง Set the Levels ว่า .. หลังจากปรับแต่งสัญญาณเช่น EQ หรืออุปกรณ์ที่ Insert เข้ามาต่างๆ ตามชอบแล้วให้ยอนกลับไปดูเรื่อง Gain อีกครั้งด้วย เช่น ในช่องหนึ่งช่องใด เราแต่งหรือเล่นไปเล่นมาสัญญาณมันแรงเกินไปจนต้องลดสัญญาณช่องดังกล่าวที่ Fader ให้มาอยู่ที่ -5dB ผมคิดว่าเราควรไปลดที่ Gain ลง -5dB แล้วดัน Fader กลับมาที่ Unity เหมือนเดิม จึงอยากให้ทำให้ชินเป็นอัตโนมัติไปเลย .

(http://image.tiggersound.com/upload/imagesMember/2013/02/02/12002_1359786295.jpg)

      เราเคยชินกับเครื่องเสียงบ้านตามปกติ Scale ที่ลูกบิดเร่งจาก 0 ที่ซ้ายสุด ตรงกลางครึ่งหนึ่ง และ 10 ที่ขวาสุด จึงควรทำความเข้าใจว่า 0dB และ Unity คืออะไร แล้วการปรับแต่งจะเป็นระบบมากยิ่งขึ้น (ถ้าผมเข้าใจผิดทักท้วงด้วยนะครับ จะได้แก้ไข) จึงเป็นทฤษฎีที่ขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ..
หัวข้อ: Re: decibel (dB) หน่วยวัดที่น่าศึกษา
เริ่มหัวข้อโดย: M-ONE ที่ กุมภาพันธ์ 01, 2013, 11:08:48 am
   ขอขอบคุณท่านอาจารย์ ถาวร เป็นอย่างสูง ที่นำเสนอข้อมูลดีๆมีประโยชน์และตรงกับการใช้งานจริง.ขอบคุณมากครับ...
หัวข้อ: Re: decibel (dB) หน่วยวัดที่น่าศึกษา
เริ่มหัวข้อโดย: amuchit ampron ที่ กุมภาพันธ์ 01, 2013, 06:43:15 pm
ขอบคุณคับ smiley4
หัวข้อ: Re: decibel (dB) หน่วยวัดที่น่าศึกษา
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างแอ้ด™ ที่ เมษายน 16, 2013, 09:51:26 pm
นานมาก  ..

พื้นฐานคนเล่นระบบกำลัง,สัดส่วนการขยาย ที่ทุกคนควรทำความเข้าใจ หากจับใจความได้แล้ว
การเชื่อมต่อสัญญาณเข้าในระบบทุกอย่างจะทำงานได้ประสิทธิภาพสูงสุด
จะไม่พบปัญหาไม่เกิดการ input overload ,Peak Overdrive และได้รับ Dynamic สัญญาณที่ดี

ความต่างของหน่วยย่อย.
http://www.jimprice.com/prosound/db.htm

ตัวแปลงสูตร*
http://designtools.analog.com/dt/dbconvert/dbconvert.html

* อิมพีแดนซ์ของสายสัญญาณเสียงมาตรฐานทั่วไปจะอยู่ที่ 50 โอห์ม  ถ้าคำนวณค่าต่างจากนี้ db ในระบบสายเสียงจะผิดเพี๊ยนไป
เพราะฉะนั้นการใช้งานจริงมีผลกับสายสัญญาณที่นำมาใช้ในระบบอีกด้วย

หัวข้อ: Re: decibel (dB) หน่วยวัดที่น่าศึกษา
เริ่มหัวข้อโดย: ถาวร ที่ เมษายน 19, 2013, 01:10:12 am
- ผมขอนำเสนออีกเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวกับ Decibel (dB) อีกเหมือนกัน คือคำว่า "Headroom"

- Headroom เป็น Specification หนึ่งของอุปกรณ์เสียงทุกชิ้น ตั้งแต่แหล่งกำเนิดเสียง กล่องเสียง เส้นเสียงในคอเรา , ไมค์ , Mixer , เครื่องปรุง , Preamps , Power Amp , ลำโพง , Live Sound  จนมาถึง หูเรา ทุกชิ้นมีค่า Headroom เป็นของตนเอง

- Headroom เป็นค่าที่บอกความสามารถว่าสามารถรับสัญญาณที่เกินระดับจากค่าปกติทั่วไป โดยสามารถคงรูปสัญญาณไม่ผิดเพี้ยนที่อาจเกิดจากการ Clip จึงเหมือนเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยของระบบหรืออุปกรณ์เสียงชิ้นนั้นๆ

(http://image.ohozaa.com/i/9c7/NNje9w.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/wMhHKFSevfBLLaDo)

- เช่น กรณีที่เป็นสัญญาณเสียง เราจะนับตั้งแต่ค่าที่เราใช้งานปกติ (ถ้าเราตั้งประมาณที่ 0dB ตามหลักการ มันก็เริ่มจาก 0dB แต่ถ้าท่านใช้งานที่ +6dB หรือที่ -3dB มันก็เริ่มจากจุดนั้นๆ เหมือนกัน) 
- หรือ กรณีที่เป็นระดับความดังของเสียง เขาจะประมาณว่านับตั้งแต่ 100dB ขึ้นไป (แต่ถ้าท่านให้มันดังปกติที่จุดไหน มันก็จะเริ่มจากจุดนั้น) ทั้งสองกรณีดังกล่าวจึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของ Headroom (ตามภาพที่ไป Copy เขามา)
 
- และจุดที่สัญญาณเริ่มเพี้ยนจากการ Clip แต่ละอุปกรณ์ นับว่าเป็นจุดสูงสุดของ Headroom เช่นกัน

(http://image.ohozaa.com/i/98b/tZ5C01.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/wOn3Uz71LiFKfDDU)

- ดังนั้น Headroom ก็คือพื้นที่ที่เหลือจากที่เราใช้งานปกติ ไปจนถึงจุดสูงสุดนั่นเอง

(ถ้าผิดเพี้ยนไปก็ช่วยเสริมเติม แก้ไขให้ด้วย ผมเข้าใจตามที่คิดที่อ่านมาเท่านั้น)

- ถ้าแปลตรงๆ มันก็เหมือนเพดานห้อง คนที่จะเข้ามาก็ควรจะต่ำกว่าเพดานดังกล่าว ถึงจะเข้ามาได้หมดทั้งตัว ถ้าสูงเกินไป ส่วนที่เกินจะถูกตัดหาย หรือถูก Clip ออกไป คนที่เข้ามาก็อาจจะหัวแหว่ง หรือหัวขาดได้
- และเมื่อสมมุติว่าเข้ามาในห้องนั้นๆ ได้เต็มทั้งตัวแล้ว ช่วงว่างจากหัวเราขึ้นไปจนถึงเพดาน นั่นแหละคือพื้นที่ของ Headroom ยังมีเพื้นที่เหลือให้แสดงความสามารถกระโดดโลดเต้นภายในห้องนั้นๆ ได้อีก เช่น เครื่องดนตรี ศิลปิน มีระดับสัญญาณ/ความถี่ขึ้นลงต่างกัน และดนตรีก็ยังมีอีกหลายชิ้น ถ้ามีมากกว่า 1 ชิ้นในเวลาเดียวกัน สัญญาณที่ Mix จะสูงกว่าระดับเดิมในแต่ละช่องแน่ แต่ก็เพียงชั่วเวลาหนึ่งเท่านั้น นี่แหละคือการกระโดดโลดเต้นที่กล่าวไว้ ซึ่งสัญญาณก็คงไม่ได้กระโดดโลดเต้นเพียงห้องเดียวหรืออุปกรณ์เดียว มันจะต้องวิ่งไปทุกห้องทุกๆอุปกรณ์จนออกลำโพง เราก็ต้องติดตามไปดูระดับสัญญาณดังกล่าวด้วย คงเปรียบได้กับสัญญาณนะครับ..

(http://image.ohozaa.com/i/53f/nGK29y.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/wMsFVv07cWG5gz0s)

- ถ้ากลัว Peak หรือกระโดดโลดเต้นไม่ได้ทั่วทุกห้อง ทำไมไม่ลดระดับสัญญาณที่เข้ามาให้ต่ำลงกว่า 0dB ละ จะได้เหลือ Headroom เยอะๆ คำตอบคือ Noise Floor ของทุกเครื่องปรุงมันมีอยู่ (ประมาณ - 80dB แล้วแต่ยี่ห้อ) จะเร่งหรือลดระดับมันก็มีอยู่เท่าเดิม แต่ถ้าผ่านเข้าไปอีกระบบหนึ่งมันจะกลายเป็นสัญญาณที่พร้อมขยายทันที มันคือสัญญาณรบกวนภายในที่เกิดจากอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ , อุณหภูมิ หรือการออกแบบวงจร ฯลฯ ถ้าเราใช้สัญญาณเสียงต่ำเท่าใด มันจะมีสัดส่วนของ Noise Floor ต่อสัญญาณเสียงจริงๆมากเท่านั้น และสุดท้ายตรงที่ Power Amp มี Gain ขยายสูงมาก สัดส่วนนั้นๆก็จะถูกขยายด้วย ฟังดีๆก็น่าจะได้ยิน

- เหตุที่ ณ ตำแหน่ง 0dB ถือว่าเป็น Optimize Gain เหตุผลก็คือ
   1) ไม่เพิ่ม/ขยายสัญญาณ ซึ่งเป็นจุดที่มีการ Distortion น้อยที่สุด
   2) ระดับสัญญาณสูงกว่าค่า Noise Floor มาก เพียงพอที่ทำให้สัดส่วนของ Noise Floor กับสัญญาณปกติมีน้อยมาก (เสียงจี่ , ฮัม มันเป็นอีก Noise หนึ่งนะ)
   3) ระบบแปลงสัญญาณ Analog to Digital ของเครื่องปรุง Digital สามารถทำงานได้อย่างแม่นยำกว่าการป้อนด้วยสัญญาณต่ำๆ
   4) และก็ยังมีพื้นที่สำหรับแกว่งขึ้น-ลงของสัญญาณได้อีกภายใน Headroom ของมันโดยที่ไม่ถูก Clip

- Headroom ดูมันก็พื้นๆ ธรรมดาๆ ง่ายๆ แต่มันมีความสำคัญอย่างไร มันบอกอะไรได้บ้าง

- ประการแรก ผมคิดว่าทุกเครื่องมี Headroom เป็น Spec ของตนเองเป็นพื้นที่สำรองเพื่อรองรับสัญญาณที่มีระดับสูงที่จะเข้ามาได้ เช่น กรณีเรา Mix เสียง 2 สัญญาณแล้วเกิดสัญญาณใหม่ที่มีระดับสูงขึ้น หรือ Processor ของ Room นั้นๆ แต่งให้สัญญาณมีระดับสูงขึ้น (Reproduce) เพราะสัญญาณเสียงมันคงไม่ได้ราบเรียบ หรือนิ่งที่ 0dB หรือที่ระดับที่เราใช้ปกติได้ตลอดเวลา มันก็จะวิ่งขึ้น-ลงตลอดเวลา บางกรณีก็ต้องใช้ระดับสัญญาณที่สูงในชั่วขณะ เช่น เสียงที่กระแทกกระทั้น หรือ Sound Effect ต่างๆ ถ้าเราไม่มีพื้นที่ดังกล่าวเพียงพอเพื่อรองรับมัน จะเกิดการ Clip แน่นอน ..

- ประการต่อมา Head Room ที่ต่างกันคงบอกไม่ได้ว่าดีกว่ากันหรือไม่ บอกได้เพียงว่าถ้าต่างกันมากๆ อาจมีปัญหาเมื่อนำมาอยู่ใน System เดียวกัน ถ้าอุปกรณ์ หรือเครื่องปรุงที่สัญญาณต้องต่อพ่วงกัน ระดับสัญญาณมีความสำคัญ มันจะต้องวิ่งจาก Room หนึ่ง ไปยังอีก Room หนึ่งต่อเนื่องกันไปจนออกไปที่ Output สุดท้าย  Headroom ของแต่ละอุปกรณ์ ถ้ามีความต่างกัน Headroom ทั้งระบบน่าจะเป็น Headroom ของอุปกรณ์ตัวที่มี Headroom ต่ำที่สุด ..

- ความรู้เรื่อง Decibel นี้ คงไม่ได้ทำให้เสียงดีขึ้นจากหน้ามือเป็นหลังมือนะครับ แต่ทำให้ท่านรู้จักระบบ ใช้งานให้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น ตลอดจนทราบและแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดเท่านั้น ..
หัวข้อ: Re: decibel (dB) หน่วยวัดที่น่าศึกษา
เริ่มหัวข้อโดย: mitr ที่ เมษายน 02, 2014, 05:22:27 pm
ขอมาร์คไว้ก่อน
หัวข้อ: Re: decibel (dB) หน่วยวัดที่น่าศึกษา
เริ่มหัวข้อโดย: prasit_asa ที่ เมษายน 03, 2014, 12:20:45 pm
ขอขอบคุณในน้ำใจ ที่ห่วงใยเพื่อนๆ ของเรา นำสิ่งดีๆ มาฝาก  อ่านแรกๆ มึนๆหัวนิดหน่อย smiley4 smiley4 smiley4 แต่พอติดตามเรื่อยๆ เริ่มน่าสนใจขึ้นเรื่อยๆ จนสุดท้ายได้ความรู้ดีมากๆ ครับ ผมเป็นคนไม่ค่อยชอบตัวเลขเลย เห็นสูตรที่เป็นตัวเลขทีไรต้องผ่านทุกที  ขอบคุณอีกครั้งครับ ขอให้มีสุขภาพแข็งแรง มีเงินใช้ไม่ขาดมือ รำ่รวยตลอดไป เด้อ ครับ smiley4 smiley4 smiley4
หัวข้อ: Re: decibel (dB) หน่วยวัดที่น่าศึกษา
เริ่มหัวข้อโดย: อ้วนชัย มิวสิค ★ ที่ เมษายน 06, 2014, 10:00:35 pm
ขอบคุณครับ แรกๆก็งงๆ...หลังๆมา....ยิ่งงงไปใหญ่ เฮ้อออ... brow brow brow brow