มาต่อกันนะครับ คลื่นทุกชนิดต้องมีคุณสมบัติ 4 อย่างนะครับ
๑. การสะท้อน (reflection) เกิดจากคลื่นเคลื่อนที่ไปกระทบสิ่งกีดขวาง แล้วเปลี่ยนทิศทางกลับสู่ตัวกลางเดิม
๒. การหักเห (refraction) เกิดจากคลื่นเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่ต่างกัน แล้วทำให้อัตราเร็วเปลี่ยนไป
๓. การเลี้ยวเบน (diffraction) เกิดจากคลื่นเคลื่อนที่ไปพบสิ่งกีดขวาง ทำให้คลื่นส่วนหนึ่งอ้อมบริเวณของสิ่งกีดขวางแผ่ไปทางด้านหลังของสิ่งกีดขวางนั้น
๔. การแทรกสอด (interference) เกิดจากคลื่นสองขบวนที่เหมือนกันทุกประการเคลื่อนที่มาพบกัน แล้วเกิดการซ้อนทับกัน ถ้าเป็นคลื่นแสงจะเห็นแถบมืดและแถบสว่างสลับกัน ส่วนคลื่นเสียงจะได้ยินเสียงดังเสียงค่อยสลับกัน
จากคุณสมบัติทั้ง ๔ นี้นั้น ในการออกแบบการติดตั้ง วางแผนการทำงาน ควรอย่างยิ่งที่จะต้องนำมาประกอบการพิจารณาครับ
ยกตัวอย่างที่ผมประสบกับตัวเองนะครับ เรื่องมีอยู่ว่าผมทำงานค่อนข้างจะใหญ่งานหนึ่ง ในพื้นที่ภาคอิสานตอนบน เป็นงานแต่งงานของบุตรคหบดีในจังหวัดนั้น อลังการมากๆ ปูพรมแดงผ่านสนามกีฬาตามแนวกึ่งกลางเลยครับ
ปลายพรมที่หน้าเวทีมีโต๊ะบุคคลระดับสำคัญที่มาเป็นสักขีพยานครับ(ซึ่งมีอายุมากด้วย) ผมถูกคำสั่งให้หลบมุมออกไปจากแนวเส้นกลางพอสมควร ด้วยความที่คู่บ่าว-สาวเป็นผู้ชื่นชอบชีวิตค่ำคืน บรรยากาศของงานเลยมีวงดนตรีจากผับชื่อดังมาเล่นในงานแบบเอามันส์เข้าว่า
ตำแหน่งที่ผมอยู่คือจุดที่ย่านความถี่ต่ำมีการแทรกสอดแบบหักล้างครับ ... ฮาเลยครับ ทำในหูฟังคร่าวๆ ใช้ได้ในระดับหนึ่ง มองดูคนหนุ่มคนสาวก็เต้นกันไป คนสูงวัยนั่งดมยาหอมครับ ถอดถูฟังออก งงครับ ทำไมกระเดื่องกับกีตาร์เบสเสียงมันไม่มีเนื้ออย่างนี้ แถมยังเบาด้วย เลยจัดให้ครับ เพิ่มความดังอีกนิดนึงซะงั้นครับ....ฮาเลย
จากนั้นพี่ชายเจ้าบ่าววิ่งตาเหลือกมาบอกว่า "พี่ๆพ่อผมหอบรับประทานแล้ว โต๊ะ VIP ถึงขั้นแก้วไวน์ล้มเลย เสียงหนักมากไปแล้วพี่" ผมถึงนึกได้ว่าเอาแล้วสิ อยู่จะบอดซะงั้น
จากนั้นผมจึงทำในหูฟังเป็นหลักสำหรับงานนั้น เพราะว่าบางทีถึงเราจะตั้ง FOH อยู่หน้าเวที มันก็ไม่ได้หมายความว่าเราตั้งอยู่ในจุดที่ควรตั้งเสมอ เรื่องนี้เป็นไปตามคุณสมบัติของคลื่นเพียงบางข้อเท่านั้นครับ ยังมีเรื่องสนุกอีกมากมายครับ.....
นี่คือภาพประกอบเรื่องการแทรกสอดนะครับ เปิดใจแล้วจะเข้าใจครับว่า หากมีแหล่งกำเนิดเสียงแบบเดียวกันตั้งแต่สองแหล่งขึ้นไป เป็นไปไม่ได้เลยที่เสียงจะไม่มีจุดดัง จุดเบาหรือที่เรากล่าวกันว่าจุดบอดครับ......

กำหนดให้.........จุดสีดำ คือ จุดที่เป็น ยอดคลื่น แทรกสอด ยอดคลื่น ผล คือ เสียงดังขึ้นครับ
จุดสีขาว คือ จุดที่เป็น ท้องคลื่น แทรกสอด ท้องคลื่น ผล คือ เสียงดังขึ้นครับ
จุดสีขาวกับดำ คือ จุดที่เป็น ยอดคลื่น แทรกสอด ท้องคลื่น ผล คือ เสียงเบาลงครับ นี่ล่ะคือจุดบอด
แล้วการที่เราพูดกันว่ามันเฟสกันๆ ส่วนหนึ่งก็เรื่องนี้ล่ะครับ พอเห็นภาพมั๊ยครับ อธิบายมันย๊าว ยาวครับ ฮ่าๆๆๆ ดูอีกภาพประกอบกันนะครับ.........
จากข้างต้นก็คงเข้าใจต่อไปได้ว่า ทำไมการปรับแต่ง EQ ถึงต้องดูเป็นงานๆไปครับ เพราะจุดที่ความถี่มันเสริมกันมันขึ้นอยู่กับระยะห่างของแหล่งกำเนิดด้วยนะครับ ว่ามันเป็นช่วงของความยาวคลื่นของความถี่ไหน.............
เห็นภาพมากขึ้นมั๊ยครับ อ้อ...มีอะไรก็แนะนำกันเข้ามานะครับ เพื่อให้เกิดการสื่อสารแบบสองทาง ร่วมเรียนรู้ไปพร้อมๆกันครับ เดี๋ยวมาต่ออีกครับ ยังมีอีกเยอะสำหรับพื้นฐานที่ควรทราบครับ
อ้อ....มาต่อๆอีกนิดนึง ส่วนมากการรับรู้สภาพเรื่องแทรกสอดนั้น ส่วนมากมักจะรับรู้ได้ชัดเจนที่ความถี่ต่ำ เพราะว่า ความถี่ต่ำเป็นความถี่ที่มีความยาวคลื่นยาวครับ ตั้งแต่ 100 Hz ลงไป มีความยาวคลื่นมากกว่า 3 เมตรครับ จุดดัง จุดเบาชัดเจนครับ อีกเหตุผลคือ พลังงานครับ ความยาวคลื่นมาก, ความถี่น้อย มีพลังงานสูงครับ สร้างความสั่นสะเทือนได้ดีเลยสัมผัสได้ชัดเจนจากการสั่นสะเทือนด้วย....... ขอบคุณที่เข้ามาอ่านครับ