ไปทำงานเลี้ยงครับ เก็บภาพมาฝากกันครับ แบบสบาย ๆ ที่อยุธยาครับ

มาเริ่มกันที่เวที กันครับ 16 เมตร ลึก 7.2 เมตร ( ไม้ 3แผ่น ปูตามยาว ) ระบบไฟ ก็ ประมาณ 60 ดวง มูฟวิ่งเฮด 8 ตัว โฟลโล่ 1 ตัว สโตรป สโมค ....บันใดขึ้นลง 2 ด้าน ขึ้นลงสะดวกครับ

การยึดและค้ำยัน เพื่อความแข็งแรง ปัจจุบัน ลมค่อนข้างเอาแน่นอนไม่ได้ ซึ่งถ้าเกิดประมาทอาจจะล้มเอาง่าย ๆ ครับ

ภาพรวม ๆ ของเวที เรื่องของไม้พื้น เท่าที่ทำจะมีอยู่สองแบบ คือแบบแรก ไม้หุ้มขอบเหล็ก และก็ไม้ตีโครง ซื่ง ก็สามารถใช้ได้เหมือนกัน แต่ต่างกันที่การวางเหล็กคานรองคือ ถ้าเป็นแบบ ไม้หุ้มขอบเหล็ก ต้องวางเหล็กล่องลองไม้เยอะหน่อย ค่าเฉลี่ย 5 แถว สำหรับไม้ 1 แผ่น ถ้าเป็นไม้ตีโครง ก็สามารถวาง 3 ตัว หรือ 4 ก็ได้ ( เหล็กกล่องลองไม้ )

ทาวเวอร์สำหรับแขวนลำโพง การเว้นช่องก็แล้วแต่ขนาดของลำโพงครับ ว่าเราจะให้มันห่างกันแค่ใหน แต่ว่าสำคัญคือเรื่องของการยึด และค้ำครับ สำหรับของ A4 TEAM เราจะแขวนลำโพง 2 แบบ คือ 1.แขวนในนั่งร้านไปเลย 2. แขวนช่องกลางระหว่างนั่งร้าน ซึ่งจะเชื่อมกับแผงข้างของเวที ส่วนเรื่องความสูง ก็ตามขนาดของแผงข้างเวที ครับ

พร้อมแล้วสำหรับการขึ้นตู้

มาดูเรื่องมอนิเตอร์กันข้าง ส่วนใหญ่แล้ว ถ้าเป็นงานเลี้ยงไม่ซีเรียสมาก หรือไม่มีศิลปินมากมาย เป็นงานเลี้ยงธรรมดา เราจะวางมอนิเตอร์อย่างเดียว ไม่ต้องมี ไซค์ฟิลล์ (หรือประมาณว่า พี เอ บนเวทีครับ ที่วางด้านซ้ายและขวา ของเวที สำหรับเติมเสียงให้เต็มบนเวที ให้ทั้งนักร้อง นักดนตรี แด็นเซอร์)
สวนมอนิเตอร์ เราก็จะทำเป็น 4 aux คือ 1.ตรงกลางเวที ( ร้อง ) 2.ด้านซ้ายเวที ( คีบอร์ด กีตาร์ ) 3.ด้านขวาเวที ( เบส เครื่องเป่า ) 4.ด้านหลัง ( กลอง )

การวางมอนิเตอร์ สามารขยับได้ตามความต้องการของนักดนตรี

สำหรับเครื่องเป่า พร้อมการวางไมค์ เพื่อรอนักดนตรี

มอนิเตอร์สำหรับกลอง บางครั้งเราอาจจะเติมซับเข้าไปเพื่อความสมบูรณ์ของเสียงให้กับมือกลอง ซึ่งก็ทำเป็น 2 ทาง หรือปรับที่ พาวเวอร์สำหรับซับ เป็นโลว์ก็ได้ ถ้ากรณีพาวเวอร์มีสวิตท์

บางครั้งถ้าเป็นวงลูกทุ่งเป็นไปได้ก็เผื่อไมค์ไปเยอะหน่อยก็ดี ถ้าเป็นไปได้ ก็ของแท้มันทำงานง่ายหน่อยลงทุนทีเดียว แต่ถ้ามันจำกัด ก็ว่ากันตามงบ มีเอาไว้ก่อนได้เปรียบครับ เหลือดีกว่าขาด สายไมค์ก็เช่นกันครับ มีไว้เยอะ ๆ ขดนึง พันกว่าบาท ได้ 10 เส้น มีไว้อย่างน้อย เป็นต่อครับ

ต่อมาก็เป็นเรื่องของไมค์จ่อพวกเครื่องดนตรีครับ อ้อ ขาไมค์ ก็เช่นกันมีไว้เยอะ ก็ดี ถ้าเรื่องไมค์ ก็จะแบ่งเป็น 3 ส่วน คึอ 1.สำหรับกลอง 2.สำหรับเครื่องดนตรี 3.สำหรับพิธีกร ควรจะมีสักเท่าใหร่ดี อย่างกลองก็ครบชุด ก็จะเป็น 1.กระเดื่อง 2.สแนร์ 3.ไฮแฮท 4.ทอม 1 5.ทอม 2 6.ทอม 3 7-8 .สำหรับ โอเวอร์เฮด หรือแฉครับ ส่วนรุ่นและยี่ห้อก็แล้วแต่งบประมาณครับ มีให้เลือกมากมาย หรือโทรไปถามร้านที่บ้านหม้อ พวก ๆ เราเยอะแยะครับ ร้าน P-SOUND หรือร้านเฮียภู ก็ตามสะดวกคับ
ส่วนที่ 2 พวกไมค์ จับเครื่องดนตรี พื้น ๆ ก็ sm 58 ครับ
ส่วนที่ 3 ไมค์พวกพิธิกร ก็จะใช้เป็นไมค์ลอย เราควรจะมีไว้ สัก 3-4 ตัวครับ เป็นพื้น ๆ สำหรับเครื่องเช่า ....

มาดูเรื่อง PA กันบ้างครับ งานนี้เราใช้ลำโพงข้างละ 6 เซ็ทต่อข้าง ความหมายก็คือ 1 ข้างจะมี Mid -hi 6 ใบ Sub 6 ใบครับ เราก็ใช้พาวเวอร์ สำหรับขับ Hi 3 Ch. สำหรับ ขับ Mid 3 Ch. ขับ Sub 3Ch. นั่นคือต่อข้าง ที่เหลือก็จะเป็นสำหรับมอนิเตอร์ 2 ตัว 4 Ch. เท่ากับว่าเราใช้พาวเวอร์ 11 ตัวครับ สำหรับทั้งระบบ

อธิบายเพิ่มเติมอีกหน่อย เราลิงค์ลำโพง 2 ใบ ต่อพาวเวอร์ 1 ข้างครับ

มาดูเรื่องคอนโทรลกันบ้าง วันนี้เราบอกว่าเราทำงานแบบง่าย ๆ สบาย ๆ ใช้มิกส์ 32 ช่องของเม็คกี้สำหรับงานนี้จำนวนช่องเพียงพอกับการทำงานครับ จากนั้นก็จะเข้า EQ เข้า controler งานนี้ใช้ของ AJ -480 ทำงานง่ายสะดวกมาก แต่เราก็ยังมีเครื่อง ครอส สำรองซึ่งเป็นอนาล๊อค สำหรับกรณีเกิดปัญหาติดแร็คเอาไว้เสมอ ที่เหลืออย่างอื่น ก็เป็นคอมเพรสเซอร์ เกท อย่างละ 4 Ch.เพียงพอสำหรับการใช้งาน และก็ Effect สำหรับร้อง และเครื่องดนตรีบางอย่าง นอกจากนั้นก็เป็น EQ สำหรับมอนิเตอร์ บนเวที 4 CH. ตามที่เราวางเอาไว้ครับ ทุกอย่างไม่ได้ซับซ้อนครับพื้น ๆ ครับ

EQ For PA

EQ Monitor

เครื่องเล่น CD Player สัก 2 เครื่อง DVD สักเครื่อง ก็สะดวกสำหรับการทำงานแล้วครับ

อ้อ มีไฟส่องทำหรับทำงานหน่อยก็ดีจะได้สะดวก ไฟส่องมิกส์ของเราครับ

งานเริ่มแล้วครับขอทำงานก่อน ว่ากันไป

เป็นการทำงานที่ง่าย ๆ ครับ ไม่ได้ซับซ้อนอะไรมากมาย เห็นว่าเป็นประโยชน์ ก็ลองนำไปใช้ดูครับ แต่ถ้าไม่ได้เรื่องก็อย่าใส่ใจครับ ดูรูปไปเพลิน ๆ แล้วกันครับ

เราทำงานกันเป็นทีมครับ
TM PRODUCTION ( บี้ )
A4 TEAM
SON TEAM
TEE+ GENNERATOR
ฝากไว้ด้วยแล้วกันครับ พี่น้อง..........
