ตลาดนัดมีเครื่องโฆษณาว่าทำให้ประหยัดไฟฟ้าบ้าน หรือมิเตอร์หมุนช้าลง วางขาย บอกเวลาใช้ให้เสียบเครื่องไว้ที่ปลั๊กตัวเมียในบ้านไว้เฉยๆ มีหลายขนาดตามการใช้ไฟฟ้า
เห็นวางขายตัวละ 200 กว่าบาท แค่เสียบเครื่องนี้เข้ากับปลั๊กไฟบ้าน ก็จะประหยัดไฟ 10-30% ในใบโฆษณาเขียนว่า
-สามารถปรับแต่งแรงดันและคลื่นไฟฟ้าที่เกิดอย่างรุนแรงอย่างกระทันหัน
-เก็บสะสมพลังงานในส่วนที่ใช้ไม่หมด
-กะเทาะคาร์บอนของสายไฟตลอดเวลาเพื่อให้กระแสผ่านสะดวก
-ปรับแต่งแฟกเตอร์กำลังลดความสินเปลืองกระแสไฟ
--------------------------------------------------------------------------------
จุดสังเกตุ
ผู้ขาย จะนำโหลดไส้ มาทดลองให้ดูเท่านั้น แต่จะไม่เอาหลอดนีออนมาทดลอง
--------------------------------------------------------------------------------
กำลังไฟฟ้าในระบบไฟฟ้ากระแสสลับทั่วไป สามารถแบ่งออกได้เป็นสองส่วนคือ
1. กำลังไฟฟ้าที่ใช้งาน หรือกำลังงานจริง (active or real power) มีหน่วยเป็นกิโลวัตต์ (kW) ซึ่งจะเป็นกำลังงาน
ที่เครื่องจักรอุปกรณ์จะนำไปใช้งานจริง เช่น เปลี่ยนเป็นความร้อน แสงสว่าง หรือไปเป็นทอร์กที่ใช้ในการ
ขับเคลื่อน
2. กำลังรีแอคตีฟ (reactive power ,Q (VAR) ) เป็นพลังงานที่ใช้สร้างสนามแม่เหล็ก เพื่อเป็น ตัวกลางในการ
แปรรูปพลังงานในอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น มอเตอร์ , หม้อแปลง , หลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ ล้วนแล้วแต่ต้อง
การกำลังรีแอกตีฟในการทำงานทั้งสิ้น แต่พลังงานจริงๆ ที่ได้รับจากอุปกรณ์ เหล่านี้ ไม่ได้เกิดจากกำลัง
รีแอกตีฟ แต่เกิดจากกำลังไฟฟ้าที่ใช้งาน ดังนั้นถ้าในโรงงานมีอุปกรณ์เหล่านี้ จำนวนมาก ความต้องการ
กำลังรีแอกตีฟก็จะมากขึ้นด้วย กำลังรีแอกตีฟจะส่งผลให้กระแส ไฟฟ้าที่ไหลเข้าอุปกรณ์มีค่ามากขึ้น ซึ่งการ
เพิ่มขึ้นของกระแสไฟฟ้าจะส่งผลเสียกับระบบไฟฟ้าดังนี้
2.1 อุปกรณ์ป้องกันระบบไฟฟ้าในโรงงานจะต้องมีอัตราพิกัดการทนกระแสสูงขึ้นตาม
2.2 กระแสไฟฟ้าที่ไหลในสายไฟฟ้าจะมีค่าสูงขึ้น ทำให้เกิดการสูญเสียในสายไฟฟ้ามากขึ้น รวมถึงเกิด
แรงดันตกคร่อมในสายไฟฟ้าสูงขึ้นตาม
2.3 เมื่อกระแสไฟฟ้าทั้งโรงงานเพิ่มสูงขึ้น หม้อแปลงซึ่งเป็นตัวจ่ายกระแสไฟฟ้าก็จะต้องทำงานหนักขึ้น
และทำงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพเท่าใดนัก
3. อุปกรณ์หรือเครื่องจักรกลไฟฟ้านั้นต้องการผลรวมแบบเวกเตอร์ของกำลังงานทั้งสองส่วนนี้ จะได้กำลังงาน
ปรากฏ (apparent power ) มีหน่วยเป็นกิโลโวลต์แอมแปร์ (kVA) ซึ่งก็คือกำลัง งานที่ต้องจ่ายให้กับเครื่องจักร
หรืออุปกรณ์ไฟฟ้านั้น ๆ ค่ากำลังงานปรากฏ จะมีค่าเท่ากับค่าแรงดันคูณกับค่ากระแส ค่านี้วัดออกมาในรูปของ
ค่า RMS หากในระบบไฟฟ้ามีการใช้ค่า กำลังรีแอกตีฟ อยู่ จะทำค่ากำลังงานปรากฏ มากกว่าค่ากำลังไฟฟ้า
ที่ใช้งานเสมอ ค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์ ( power factor , pf ) ก็คือค่าอัตราส่วนระหว่างกำลังงานจริงต่อกำลังงาน
ปรากฏ โดยค่านี้จะทำให้เราทราบว่าเครื่องจักรอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือระบบไฟฟ้าต่างๆ นั้นใช้กำลังงานจริงเป็น
..ส่วนเท่า ไร ค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์สูง ย่อมแสดงถึงประสิทธิภาพในการใช้งานเครื่องจักรอุปกรณ์ หรือระบบ
นั้นสูงตามไปด้วย ค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์ จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0 - 1
--------------------------------------------------------------------------------
เครื่องประหยัดไฟมีอยู่จริงคับ แต่จะใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เป็นประเภทมอเตอร์ (ที่มีขดลวด) เช่น ปั๊มน้ำ แอร์รุ่นเก่า เป็นต้น เป็นการแก้ค่า PF ให้มีค่าเท่ากับ 1 หรือใกล้เคียง ซึ่งจะต้องคำนวณจากโหลดที่ใช้ด้วย
--------------------------------------------------------------------------------
เครื่อง Power saver ลดค่าไฟได้จริงครับ อาศัยหลักการทางวิศวกรรมไฟฟ้า
จริงๆแล้วในอาคารที่มีขนาดใหญ่เช่น โรงแรม, คอนโด, โรงงาน, ห้างสรรพสินค้า หรือ อาคารอื่นๆ ที่มีการใช้ไฟมาก ผู้ออกแบบระบบไฟฟ้าจะ ออกแบบให้มีอุปกรณ์ช่วยปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลัง (Power factor controler, P.F.) ตามที่กำหนดโดยการไฟฟ้า คือต้องพยายามให้มีค่า P.F. ใกล้ค่า 1 ที่สุด เพื่อให้อาคารนั้นๆ ใช้กระแสไฟฟ้าได้เต็มประสิทธิภาพ ไม่มีการสูญเสียในอุปกรณ์มาก โดยเฉพาะอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีขดลวดเป็นส่วนประกอบหลัก (Inductive load)
ถ้าโหลดในระบบไฟฟ้ามีค่า P.F.สูง จะเป็นผลดีกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ผลิตไฟฟ้ามา 100% ต้องใช้ให้ได้เกือบ 100% ต้องให้มีการสูญเสียน้อยที่สุด จะได้ไม่เป็นภาระกับการไฟฟ้า ที่จะต้องใช้ทุนมหาศาลในการผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นการช่วยชาติโดยตรง
แต่สำหรับอาคารประเภทบ้านพักอาศัยซึ่งมีการใช้ไฟน้อย การไฟฟ้าไม่ได้มีข้อกำหนดเรื่องการปรับปรุง ค่า P.F. แต่ได้มีการรณรงค์ให้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ 5 แทน เพื่อช่วยลดภาระของการไฟฟ้า
--------------------------------------------------------------------------------
นายวิฑูร สุขพูล พาณิชย์จังหวัดนครปฐมเปิดเผยว่าในระยะปลายปี 2547 ได้มีผู้แอบอ้างขายอุปกรณ์ประหยัดไฟวางขายย่านคลองถม บ้านหม้อ หรือบางทีก็เร่ขายตามตลาดนัดต่าง ๆ ใกล้แหล่งชุมชน โดยแอบอ้างสรรพคุณว่าเป็นอุปกรณ์สามารถช่วยประหยัดไฟได้ 10-30 เปอร์เซ็นต์ อุปกรณ์ดังกล่าวมีหลายรูปแบบ บางแบบมีลักษณะคล้ายที่เสียบปลั๊กไฟ ใช้เสียบกับปลั๊กไฟที่บ้าน บางชนิดเป็นกล่องสี่เหลี่ยม ราคาขายอันละ 100-200 บาท จนถึงประมาณ 30,000 บาท ซึ่งผู้จำหน่ายจะใช้วิธีหว่านล้อมต่าง ๆ นานา เช่น นำมิเตอร์ไฟฟ้าจำลองมาให้ดู แล้วทดลองเสียบปลั๊กอุปกรณ์พลังงาน เพื่อให้ผู้ซื้อเห็นว่ามิเตอร์ไฟฟ้าเดินช้าลง ซึ่งแท้จริงแล้วมีการดัดแปลงมิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับแสดงประกอบการขาย
แต่จากการทดสอบพบว่าอุปกรณ์ดังกล่าวไม่ทำให้ค่ากระแสไฟฟ้าลดลงแต่อย่างใด
และผู้ขายยังแอบอ้างผลการตรวจสอบจากสถาบันต่าง ๆ ในหลายประเทศด้วยกัน ทั้งในทวีปยุโรป เอเชีย รวมถึงประเทศไทย ซึ่งในข้อเท็จจริงไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นเอกสารจริงหรือเท็จ แต่เอกสารที่กลุ่มดังกล่าวอ้างว่าเป็นเอกสารรับรองจากการไฟฟ้านครหลวงนั้น ทางการไฟฟ้าฯ ได้มีการยืนยันว่าเอกสารดังกล่าวไม่ใช่เอกสารรับรองหรือรับประกัน แต่เป็นเพียงผลการทดสอบและวัดค่าทางไฟฟ้า ซึ่งตามปกติบริษัทหรือผู้ใช้ไฟฟ้า สามารถส่งตัวอย่างอุปกรณ์ที่ต้องการทราบรายละเอียดมาให้การไฟฟ้านครหลวงทดสอบได้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลว่าอุปกรณ์นั้น ๆ มีค่าทางไฟฟ้าอย่างไรบ้าง แต่ใบรายงานผลการทดสอบไม่ได้เป็นใบรับประกันหรือใบรับรองอุปกรณ์หรือสินค้านั้น ๆ การกระทำดังกล่าวถึงว่าเป็นการหลอกลวงผู้บริโภค
เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ร่วมกับกองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ และการไฟฟ้านครหลวง จึงได้เข้าตรวจค้นและจับกุมร้านค้าที่จำหน่ายเครื่องประหยัดไฟ ณ ตลาดคลองถม โดยได้ทำการยึดของกลางมาเพื่อประกอบการดำเนินคดี และได้แจ้งข้อหาผู้กระทำความผิด ดังนี้
1. กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 52 กรณีการจำหน่ายสินค้าที่ควบคุมฉลากไม่ถูกต้อง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. เป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 271 กรณีมีเจตนาขายสินค้าโดยการหลอกลวงด้วยประการใด ๆ ให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในคุณภาพแห่งของนั้นอันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
จึงใคร่ขอเตือนประชาชนผู้บริโภคทุกท่าน โปรดระมัดระวังอย่างหลงเชื่อซื้อสินค้าดังกล่าวไปใช้ถ้าพบเห็นสินค้าประเภทนี้วางขายอยู่ที่ใด หรือพบเห็นสินค้าหรือบริการที่น่าสงสัยว่าจะเป็นอันตรายหรือหลอกลวง สามารถแจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ทราบได้ทางโทรศัพท์สายด่วนผู้บริโภค 1166
..
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครปฐม
เมษายน 2548
--------------------------------------------------------------------------------
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เตือนระวังถูกหลอกลวงขายสินค้าเครื่องประหยัดไฟฟ้าฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ย้ำ ผู้ฝ่าฝืนจำหน่ายมีความผิดต้องระวางโทษทั้งจำทั้งปรับ นายพงษ์ศักดิ์ วังเสมอ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เปิดเผยว่า จังหวัดแพร่ได้รับแจ้งจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคว่า ได้ดำเนินการตรวจสอบบริเวณคลองถม เซ็นเตอร์ ซึ่งมีกลุ่มบุคคลทำการจำหน่ายประเภทอุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้าให้แก่ประชาชน โดยมีการกล่าวอ้างว่า สามารถประหยัดค่าบริการไฟฟ้าได้ร้อยละ 10 -14 รวมถึงมีการแสดงฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยที่สินค้าดังกล่าวจำหน่ายตั้งแต่ราคา 99 บาท ถึง 3,500 บาท ทั้งนี้ทางการไฟฟ้านครหลวงได้ทำการตรวจสอบแล้วพบว่าไม่สามารถประหยัดไฟฟ้าได้ตามที่กล่าวอ้าง และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มิได้ให้รับรองฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 แต่อย่างใด ซึ่งการกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นการหลอกลวงผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจึงร่วมกับกองบังคับการทะเบียน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ดำเนินการตรวจสอบและจับกุมผู้จำหน่ายในข้อหาขายสินค้าฉลากเป็นเท็จ ตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค 2522 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงขอเตือนประชาชนอย่าได้หลงเชื่อและซื้ออุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้าดังกล่าว หากพบมีการฝ่าฝืนแจ้งต่อกลุ่มงานยุทธศาสตร์ฯ สำนักงานจังหวัดแพร่ งานคุ้มครองผู้บริโภค โทรศัพท์ 0-5453-1750
--------------------------------------------------------------------------------
จับพ่อค้าคลองถมหัวใสหลอกขายเครื่องประหยัดไฟจากจีน พร้อมยึดของกลางมูลค่า1.5 แสน เผยขายเครื่องละ 3.5 พัน อ้างประหยัดไฟได้ 10-40 เปอร์เซ็น
วันนี้ ( 17 พ.ย.2552) ที่ กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) เมื่อเวลา 15.00 น.
-พล.ต.ต.จตุรงค์ ภุมรินทร์ ผบก.ปคบ.พร้อมด้วย
-พ.ต.อ.กฤศ โบสุวรรณ รอง ผบก.ปคบ.
-พ.ต.อ.การุณย์ บัวเผื่อน ผกก.1 บก.ปคบ.
-นายจิรชัย มูลทองโร่ย รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และ
-นายชเนศ เลิศวณิช ผอ.กองคดีค่าไฟฟ้า การไฟฟ้านครหลวง แถลงข่าวจับกุม
1. นายวิทยา สิทธิเดชเดชากุล
2. น.ส.ภัทราภร นรคง
3. นายสุธีร์ อินทรทิพย์
4. นายคมสันต์ ใจยาเขียวแก้ว
5. น.ส.แดง แก้วกองสี และ
6. นายธราดล บุญสอน
พร้อมของกลาง
เครื่องประหยัดไฟฟ้า จำนวน 160 เครื่อง มูลค่าประมาณ 1.5 แสนบาท
จับกุมได้ที่บริเวณแผงค้าภายในตลาดคลองถมเซ็นเตอร์ ถนนมหาจักร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม.
พล.ต.ต.จตุรงค์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้มี ประชาชนร้องเรียนว่าได้ซื้อเครื่องประหยัดไฟฟ้าที่อ้างว่าจะช่วยประหยัดไฟได้ 10-40% ในราคา 3,500 บาท จากตลาดคลองถม แต่ภายหลังนำมาใช้แล้วกลับไม่เป็นดังที่กล่าวอ้าง จึงร้องเรียนไปยังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ก่อนมีการประสานให้ตำรวจ บก.ปคบ.สืบสวนติดตามจับกุมผู้กระทำความผิด นอกจากนี้สินค้าดังกล่าว ทางการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เคยตรวจสอบแล้วพบว่าไม่สามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ซึ่งถือว่าเป็นการหลอกลวงผู้บริโภค
พล.ต.ต.จตุรงค์ กล่าวต่อว่า จากการตรวจสอบของกลางพบว่ามีการนำเข้ามาจากประเทศจีน โดยไม่มีฉลากสินค้า บางส่วนที่มีฉลากก็แสดงฉลากไม่ถูกต้อง ตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่องลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุม พ.ศ.2541 ทั้งนี้ ชุดจับกุมได้แจ้งข้อหา
ตามความผิด พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2541 มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
สอบสวนเบื้องต้นผู้ต้องหาทั้งหมดให้การรับสารภาพ
พล.ต.ต.จตุรงค์ กล่าวอีกว่า ทาง กฟน.ตรวจสอบแล้วว่าเครื่องดังกล่าวไม่สามารถช่วยประหยัดไฟได้จริงตามที่มีการกล่าวอ้าง ที่ผ่านมาก็มีการติดตามจับกุมมาโดยตลอดแต่ก็ยังไม่หมด ซึ่งหลังจากนี้ทาง บก.ปคบ.จะร่วมกับ สคบ.และ กฟน.ดำเนินการแบบไตรภาคีติดตามปราบปรามอย่างต่อเนื่องเพราะถือว่าเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคอย่างมาก


