Tigger Sound
สังคมออนไลน์คุณภาพของคนรักเครื่องเสียง
ทดสอบเสียง HK1.1 By Tiggersound https://www.facebook.com/tiggersound/videos/10218510874389162

อยากรู้เรื่องการใช GATE คับ

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ samsanstudio

  • มือเบส
  • ***
    • กระทู้: 67
ในการเล่นดนตรีสดเราจะตั้ง GATE ยังไงคับในการคุมเสียงกลองชุด ขอความรู้ประดับสมองหน่อยนะคับหรือท่านได๋มีรูปภาพตัวอย่างก็ขอบคุณเป็นอย่างสูงคับ


                                                          ขอบคุณคับ
นายจตุรงค์  ไชยแสง<br />แซมซั่นธุรกิจบันเทิง<br />ศูนย์รวมความบันเทิง ลำซิ่ง ลำหมู่ ลำคู่ ลำกลอน เครื่องเสียง เวที<br />ด้วยราคาเป็นกันเอง ราคาลดได้คุณภาพลดไม่ได้<br />99 ม 7 ต.ดงแคนใหญ่ อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร 35180 โทร 099-6706136


ออฟไลน์ hot pakthongchai

  • มือกีตาร์
  • ****
    • กระทู้: 316
เอาด้วยคนครับ
นายสิทธิชัย  แปจะโปะครับ  97/1 หมู่ที่2 บ้านธงชัย ต.เมืองปัก อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา 30150  ติดต่อ  087-8801414


ออฟไลน์ samanchai

  • มือปืนรับจ้างทั่วราชอาณาจักร
  • ท่านผู้ชม
  • **
    • กระทู้: 28
น่าจะยกมาซักยี่ห้อหนึ่งนะครับ เพราะแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อศัพย์ที่ใช้มันไม่เหมือนกัน
นายธนวัฒน์  ไชโย  samanchai_se@hotmail.com   
2หมู่ที่3 ต.ดงอีจาน อ.โนนสุวรรณ  จ.บุรีรัมย์  31110

ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้/ที่ทำงาน  สวนอาหารตะวันงาม ( ริมอ่างเก็บน้ำหนองทะลอก ) ถนนนางรอง-ลำปลายมาศ  ต.นางรอง  อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์  31110 โทร.080-1587734


ออฟไลน์ โป้ง อุบลฯ

  • มือกีตาร์
  • ****
    • กระทู้: 147


COMPRESSOR/LIMITER
(คัดลอกตำรามาให้อ่าน)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมระดับความดังของเสียง ไม่ให้สัญญาณเสียงที่ออกไปมีความแรงมากเกินไป รวมทั้งทำหน้าที่อื่นๆด้วย ซึ่งหน้าที่การทำงานภายในเครื่องจะประกอบด้วยหน้าที่การทำงานหลัก 3 ส่วน ดังนี้



1. EXPANDER/GATE

ทำหน้าที่ขยายและเปิดประตู[GATE] ให้สัญญาณเข้ามาในเครื่องตามความต้องการของผู้ใช้ ว่าจะให้สัญญาณที่มีระดับความแรงมากน้อยเท่าไรที่จะให้เครื่องเริ่มทำงาน โดยมีปุ่มปรับต่างๆในส่วนนี้คือ



1.1 ปุ่ม THRESHOLD เป็นปุ่มปรับเพื่อให้เครื่องเริ่มทำงานและหยุดทำงาน หน่วยที่ปรับมีค่าเป็น dB เช่นเราปรับตั้งค่าไว้ที่ -45 dB หมายความว่า สัญญาณเสียงที่มีระดับสัญญาณต่ำกว่า -45dB เครื่องจะไม่ทำงาน ซึ่งจะทำให้ไม่มีสัญญาณใดๆผ่านเครื่องออกไปได้ และเครื่องจะเริ่มทำงานเมื่อระดับสัญญาณมีค่าสูงกว่า -45 dB ค่าที่เราตั้งเพื่อให้เครื่องเริ่มทำงานนี้เรียกว่า "ค่าเทรชโฮลด์"

อย่างไรก็ตามถ้าเราปรับไว้ที่ตำแหน่งต่ำสุดหรือ OFF หมายความว่า สัญญาณที่มีระดับสุดแค่ไหนก็ตามก็สามารถผ่านเข้าไปในเครื่องได้ นั่นคือสัญญาณจะผ่านเข้าไปได้ทั้งหมดตลอดเวลานั่นเอง



การจะตั้งค่าเทรชโฮลด์เป็นเท่าไรนั้น ขึ้นอยู่กับว่าเราใช้เครื่องนี้ควบคุมเสียงอะไร เช่น ถ้าต้องการควบคุมเสียงสำหรับไมค์นักร้อง หรือควบคุมเสียงทั้งระบบ ให้ตั้งค่านี้ที่จุดต่ำกว่า -45 dB เพราะต้องให้ระดับเสียงเบาๆออกไปได้ แต่ถ้าควบคุมเสียงของไมค์กลองกระเดื่อง กลองสแนร์ หรือไฮแฮต ก็ให้ตั้งค่าที่สูงกว่า -45 dB ซึ่งมีค่าไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความดังของกลองหรือเครื่องดนตรีชิ้นนั้นๆ



1.2 ปุ่ม RELEASE เป็นปุ่มสำหรับหน่วงเวลา คือหลังจากที่ประตู[GATE] เปิดให้สัญญาณเข้ามาในเครื่องแล้ว ถ้าไม่มีสัญญาณใดๆเข้ามาอีกหรือสัญญาณมีค่าต่ำกว่าค่าเทรชโฮลด์ที่ตั้งไว้ เกทก็จะปิด ส่วนอื่นๆของเครื่องก็ไม่ทำงาน ระยะเวลาที่ใช้ในการปิดเกทอีกครั้งหลังจากไม่มีสัญญาณเข้ามาแล้วนั้นเราเรียกระยะเวลานี้ว่า "Release Time" ปุ่มที่ทำหน้าที่ปรับระยะเวลานี้คือปุ่ม RELEASE ค่าที่บอกไว้ที่เครื่องคือ Fast หมายความว่าเกทจะปิดอย่างรวดเร็วหลังจากหมดสัญญาณ และ Slow หมายความว่า เกทจะหน่วงเวลาไว้ระยะหนึ่งจึงค่อยปิด ระยะเวลาเร็วหรือช้าแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับเราที่จะปรับตั้งค่าไว้



ค่า Release Time ของเกทนี้จะตั้งเป็นเท่าไรก็ขึ้นอยู่กับเสียงที่เราใช้งาน เช่นไมค์สำหรับเสียงพูดหรือเสียงนักร้อง ให้ปรับไว้ที่ประมาณบ่ายสองโมง [Slow] เพราะเสียงคนเราจะมีปลายหางเสียงเช่น เสียงตัว สิ. ,สี่.. ,ซิ... ,ซี...เอส....เฮช....ทู...ฯลฯ.. เป็นต้น ปลายหางเสียงเหล่านี้จะได้ไม่ขาดหายไป

ส่วนการปรับเสียงจากเครื่องดนตรีเช่นเสียงกลองกระเดื่อง ถ้าเราไม่ต้องการเสียงกระพือหลังจากที่เราที่เหยียบลงไปที่หน้ากลองลูกแรก ก็ให้เวลาในการปิดเกทเร็วขึ้น[Fast] หรือเสียงไฮแฮตถ้าเราไม่ต้องการให้มีปลายหางเสียงมากเกินไป ให้เสียงซิบๆๆ..ซี่ๆๆ..ซิบๆๆ...ดีขึ้นก็ให้ปิดเกทให้เร็วขึ้นเพื่อปลายหางเสียงที่เบาๆจะได้ถูกตัดออกไป

**อย่างไรก็ตามปุ่มRELEASE ในส่วนของภาคEXPANDER/GATE นี้ ในเครื่องบางรุ่นอาจจะไม่มี และบางรุ่นทำเป็นสวิทช์กดให้เลือก**



1.3 ปุ่ม RATIO เป็นปุ่มทำหน้าที่ปรับลดระดับเสียงลงเป็นอัตราส่วนของ dB เมื่อเทียบค่ากับ 1 เช่น 1:1หมายความว่าสัญญาณจะไม่ถูกลดระดับเลย , 2:1หมายความว่าสัญญาณที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นเท่าไหร่ก็ตามจะถูกทำให้ลดลงสองเท่า

**อย่างไรก็ตามปุ่ม RATIO นี้ในส่วนของภาคEXPANDER/GATE ในเครื่องบางรุ่นอาจจะไม่มี**



2. COMPRESSOR

ทำหน้าที่กดระดับสัญญาณให้ลดลงในอัตราส่วนตามค่าที่เราได้ปรับตั้งไว้ หน้าที่การทำงานของปุ่มปรับต่างๆในส่วนของภาคคอมเพรสเซอร์นี้มีดังนี้



2.1 ปุ่ม THRESHOLD เป็นปุ่มสำหรับตั้งค่าจุดเริ่มการกดสัญญาณ(จุดเทรชโฮลด์) เช่นเราตั้งค่าไว้ที่ 0 dB สัญญาณจะเริ่มลดลงที่ 0 dB และถ้าปรับตั้งไว้ที่ -10 dB ก็หมายความว่าสัญญาณเสียงจะเริ่มลดลงที่จุด -10 dB (ค่าติดลบมากเสียงจะลดลงมาก)

การลดลงของสัญญาณเสียงที่จุดเทรชโฮลด์นี้ ถ้าเป็นการลดลงอย่างรวดเร็วทันทีทันใด เราเรียกว่า ฮาร์ดนี[Hard-Knee] และถ้าให้เสียงที่ถูกกด[Compress] ค่อยๆลดลงเพื่อให้เสียงฟังดูนุ่มขึ้นเราเรียกว่า ซอฟต์นี[Soft-Knee] ซึ่งมีปุ่มให้กดเลือกใช้งานได้ แต่ปุ่มนี้จะมีชื่อเรียกทางการค้าที่แตกต่างกันไป เช่น

ยี่ห้อ dbx เรียกปุ่มนี้ว่า Over Easy

ยี่ห้อ Behringer เรียกปุ่มนี้ว่า Interactive Knee



การตั้งค่า THRESHOLD

เสียงดนตรี เสียงพูด และเสียงร้องเพลงทั่วๆไป จะตั้งค่าไว้ที่ 0 dB

เสียงร้องเพลงประเภท เฮฟวี่ ร็อค ฮิปพอฟ หรือเพลงวัยรุ่นประเภท แหกปากตะโกนร้อง ก็ตั้งไว้ที่ -10 dB ถึง -20 dB ให้ปรับหมุนฟังดูค่าที่เหมาะสมไม่ดังหรือค่อยจนเกินไป



2.2 RATIO เป็นปุ่มสำหรับทำหน้าที่ปรับลดระดับเสียงลงมีค่าเป็นอัตราส่วนจำนวนเท่าต่อ 1 ซึ่งจะทำงานสัมพันธ์กับค่าเทรชโฮลด์ที่ตั้งไว้คือ



[1] เมื่อตั้งค่าอัตราส่วนไว้ที่ 1:1 สัญญาณด้านออกจะไม่ถูกกดลงเลย

[2] เมื่อตั้งค่าอัตราส่วนไว้ที่ 2:1 สัญญาณออกจะถูกกดให้ลดลง 2เท่า เมื่อสัญญาณเข้าเพิ่มขึ้น 1dB เช่นสัญญาณเข้า +20dB สัญญาณออกจะถูกกดให้ลดลงเหลือ +10dB

[3] เมื่อตั้งค่าอัตราส่วนไว้ที่ 4:1 สัญญาณออกจะถูกกดให้ลดลง 4เท่า เมื่อสัญญาณเข้าเพิ่มขึ้น 1dB เช่นสัญญาณเข้า +20dB สัญญาณออกจะถูกกดให้ลดลงเหลือ +5dB

[4] Infinite (หมุนตามเข็มนาฬิกาสุด) สัญญาณด้านออกจะถูกกดให้ลดลงเท่ากับค่าเทรชโฮลด์ที่ตั้งไว้



การตั้งค่า RATIO

เสียงพูด เสียงร้องเพลงทุกแบบ เสียงเครื่องดนตรีทั่วไป ปรับตั้งไว้ที่ 2:1 ถ้าตั้งให้ลดมากไปจะทำให้เหมือนเสียงเกิดอาการวูบวาบกระโดดไม่คงที่



2.3 ATTACT เป็นปุ่มสำหรับปรับตั้งค่าหน่วงเวลาของการเริ่มต้นกดสัญญาณ[compress] จะช่วยทำให้เสียงมีความหนักแน่นดีขึ้น มีหน่วยเวลาเป็น มิลลิวินาที[mSEC] เสียงพูด เสียงเพลงดนตรีทั่วไป ให้ตั้งค่าไว้ที่ประมาณ 40-50 mSEC เพลงคลาสสิค หรือเพลงที่มีความฉับไวของดนตรี ให้ตั้งไว้ที่ประมาณ 25-30 mSEC



2.4 RELEASE เป็นปุ่มสำหรับปรับตั้งค่าหน่วงเวลาช่วงหยุดการกดสัญญาณ จะทำให้น้ำเสียงนุ่มน่าฟังขึ้น มีหน่วยเวลาเป็นวินาที [SEC] เสียงพูด เสียงดนตรีทั่วไปให้ตั้งไว้ที่ 1.5-2 SEC



2.5 OUTPUT GAIN เป็นปุ่มปรับลดหรือเพิ่มระดับความแรงของสัญญาณด้านขาออกของเครื่องให้มีค่าลดลงหรือเพิ่มขึ้นได้ โดยมีค่าปรับได้ตั้งแต่ -20dB ถึง +20dB ในการใช้งานปกติให้ปรับค่าไว้ที่ 0 dB



3. LIMITER

ลิมิตเตอร์ทำหน้าที่รักษาระดับสัญญาณด้านขาออกของเครื่องให้มีความแรงสูงสุดได้ไม่เกินค่าที่ตั้งไว้ เช่นตั้งไว้ที่ 0dB สัญญาณขาออกก็จะออกได้สูงสุดไม่เกิน 0dB หรือตั้งไว้ที่ +5dB สัญญาณขาออกก็จะออกได้สูงสุดไม่เกิน +5dB เป็นต้น



การตั้งค่าLIMITER

เสียงพูด เสียงร้องเพลงทุกประเภท ให้ตั้งค่าไว้ที่ 0dB

เสียงดนตรี กลองกระเดื่อง กีต้าร์เบส ให้ตั้งค่าไว้ที่ +5dB ถึง +10dB

เสียงเครื่องดนตรีอื่นๆ ตั้งค่าไว้ที่ 0dB





การต่อใช้งานเครื่อง COMPRESSOR

การต่อใช้งานเครื่องคอมเพรสเซอร์สามารถต่อใช้งาน ตามลักษณะประเภทของงานและตามความต้องการของผู้ใช้ได้ 4 แบบ ดังนี้



1. การต่อแบบ Channel Insert

การต่อแบบนี้เป็นการต่อใช้งานที่ดีที่สุด เพราะจะทำให้เราสามารถปรับแต่งเสียงของคอมเพรสเซอร์ แต่ละแชลแนลได้อย่างอิสระ ทั้งเสียงจากไมโครโฟนสำหรับนักร้อง และเสียงจากเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นที่แยกจากกัน



2. การต่อแบบ Group Insert

การต่อแบบนี้จะใช้คอมเพรสเซอร์ จำนวน 2 เครื่อง [4Ch] ในกรณีที่มิกเซอร์มี 4 กรุ๊ป คือ Group 1-2-3-4 ก็ให้เราจัดกรุ๊ป 1-2 เป็น ไมค์เสียงร้องทั้งหมด และกรุ๊ป 3-4 เป็นเสียงดนตรีทั้งหมด



3. การต่อแบบ Mix Insert

การต่อแบบนี้ใช้คอมเพรสเซอร์ 1เครื่อง [2Ch] ต่อที่ตำแหน่ง Mix Insert ของเครื่องมิกเซอร์ เป็นการต่อใช้งานเพื่อควบคุมเสียงทั้งหมดที่ถูกต่อเข้าที่มิกซ์ การปรับแต่งเสียงก็จะปรับโดยรวมๆกลางๆ



4. การต่อแบบ MIXER to COMPRESSOR

การต่อแบบนี้เป็นการต่อแบบที่ง่าย สะดวก และประหยัดที่สุด เพราะเป็นการต่อที่นำเอาสัญญาณเอาท์พุทจากมิกเซอร์มาเข้าอินพุทของเครื่องคอมเพรสเซอร์ และออกจากคอมเพรสเซอร์ไปเข้าเครื่องอีควอไลเซอร์

การปรับแต่งเสียงก็เป็นการปรับแบบรวมๆกลางๆ เพราะทุกเสียงผ่านคอมเพรสเซอร์ทั้งหมด




ตำราอีกเล่ม


COMPRESSOR/LIMITER

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมระดับความดังของเสียง ไม่ให้สัญญาณเสียงที่ออกไปมีความแรงมากเกินไป รวมทั้งทำหน้าที่อื่นๆด้วย ซึ่งหน้าที่การทำงานภายในเครื่องจะประกอบด้วยหน้าที่การทำงานหลัก 3 ส่วน ดังนี้

1. EXPANDER/GATE

ทำหน้าที่ขยายและเปิดประตู (GATE) ให้สัญญาณเข้ามาในเครื่องตามความต้องการของผู้ใช้ ว่าจะให้สัญญาณที่มีระดับความแรงมากน้อยเท่าไรที่จะให้เครื่องเริ่มทำงาน โดยมีปุ่มปรับต่างๆในส่วนนี้คือ

1.1 ปุ่ม THRESHOLD เป็นปุ่มปรับเพื่อให้เครื่องเริ่มทำงานและหยุดทำงาน หน่วยที่ปรับมีค่าเป็น dB เช่นเราปรับตั้งค่าไว้ที่ -45 dB หมายความว่า สัญญาณเสียงที่มีระดับสัญญาณต่ำกว่า -45dB เครื่องจะไม่ทำงาน ซึ่งจะทำให้ไม่มีสัญญาณใดๆผ่านเครื่องออกไปได้ และเครื่องจะเริ่มทำงานเมื่อระดับสัญญาณมีค่าสูงกว่า -45 dB ค่าที่เราตั้งเพื่อให้เครื่องเริ่มทำงานนี้เรียกว่า "ค่าเทรชโฮลด์"

อย่างไรก็ตามถ้าเราปรับไว้ที่ตำแหน่งต่ำสุดหรือ OFF หมายความว่า สัญญาณที่มีระดับสุดแค่ไหนก็ตามก็สามารถผ่านเข้าไปในเครื่องได้ นั่นคือสัญญาณจะผ่านเข้าไปได้ทั้งหมดตลอดเวลานั่นเอง

การจะตั้งค่าเทรชโฮลด์เป็นเท่าไรนั้น ขึ้นอยู่กับว่าเราใช้เครื่องนี้ควบคุมเสียงอะไร เช่น ถ้าต้องการควบคุมเสียงสำหรับไมค์นักร้อง หรือควบคุมเสียงทั้งระบบ ให้ตั้งค่านี้ที่จุดต่ำกว่า -45 dB เพราะต้องให้ระดับเสียงเบาๆออกไปได้ แต่ถ้าควบคุมเสียงของไมค์กลองกระเดื่อง กลองสแนร์ หรือไฮแฮต ก็ให้ตั้งค่าที่สูงกว่า -45 dB ซึ่งมีค่าไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความดังของกลองหรือเครื่องดนตรีชิ้นนั้นๆ

1.2 ปุ่ม RELEASE เป็นปุ่มสำหรับหน่วงเวลา คือหลังจากที่ประตู GATE เปิดให้สัญญาณเข้ามาในเครื่องแล้ว ถ้าไม่มีสัญญาณใดๆเข้ามาอีกหรือสัญญาณมีค่าต่ำกว่าค่าเทรชโฮลด์ที่ตั้งไว้ เกทก็จะปิด ส่วนอื่นๆของเครื่องก็ไม่ทำงาน ระยะเวลาที่ใช้ในการปิดเกทอีกครั้งหลังจากไม่มีสัญญาณเข้ามาแล้วนั้นเราเรียกระยะเวลานี้ว่า "Release Time" ปุ่มที่ทำหน้าที่ปรับระยะเวลานี้คือปุ่ม RELEASE ค่าที่บอกไว้ที่เครื่องคือ Fast หมายความว่าเกทจะปิดอย่างรวดเร็วหลังจากหมดสัญญาณ และ Slow หมายความว่า เกทจะหน่วงเวลาไว้ระยะหนึ่งจึงค่อยปิด ระยะเวลาเร็วหรือช้าแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับเราที่จะปรับตั้งค่าไว้

ค่า Release Time ของเกทนี้จะตั้งเป็นเท่าไรก็ขึ้นอยู่กับเสียงที่เราใช้งาน เช่นไมค์สำหรับเสียงพูดหรือเสียงนักร้อง ให้ปรับไว้ที่ประมาณบ่ายสองโมง [Slow] เพราะเสียงคนเราจะมีปลายหางเสียงเช่น เสียงตัว สิ. ,สี่.. ,ซิ... ,ซี...เอส....เฮช....ทู...ฯลฯ.. เป็นต้น ปลายหางเสียงเหล่านี้จะได้ไม่ขาดหายไป

ส่วนการปรับเสียงจากเครื่องดนตรีเช่นเสียงกลองกระเดื่อง ถ้าเราไม่ต้องการเสียงกระพือหลังจากที่เราที่เหยียบลงไปที่หน้ากลองลูกแรก ก็ให้เวลาในการปิดเกทเร็วขึ้น Fast  หรือเสียงไฮแฮตถ้าเราไม่ต้องการให้มีปลายหางเสียงมากเกินไป ให้เสียงซิบๆๆ..ซี่ๆๆ..ซิบๆๆ...ดีขึ้นก็ให้ปิดเกทให้เร็วขึ้นเพื่อปลายหางเสียงที่เบาๆจะได้ถูกตัดออกไป

**อย่างไรก็ตามปุ่มRELEASE ในส่วนของภาคEXPANDER/GATE นี้ ในเครื่องบางรุ่นอาจจะไม่มี และบางรุ่นทำเป็นสวิทช์กดให้เลือก**

1.3 ปุ่ม RATIO เป็นปุ่มทำหน้าที่ปรับลดระดับเสียงลงเป็นอัตราส่วนของ dB เมื่อเทียบค่ากับ 1 เช่น 1:1หมายความว่าสัญญาณจะไม่ถูกลดระดับเลย , 2:1หมายความว่าสัญญาณที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นเท่าไหร่ก็ตามจะถูกทำให้ลดลงสองเท่า

**อย่างไรก็ตามปุ่ม RATIO นี้ในส่วนของภาคEXPANDER/GATE ในเครื่องบางรุ่นอาจจะไม่มี**

2. COMPRESSOR

ทำหน้าที่กดระดับสัญญาณให้ลดลงในอัตราส่วนตามค่าที่เราได้ปรับตั้งไว้ หน้าที่การทำงานของปุ่มปรับต่างๆในส่วนของภาคคอมเพรสเซอร์นี้มีดังนี้

2.1 ปุ่ม THRESHOLD เป็นปุ่มสำหรับตั้งค่าจุดเริ่มการกดสัญญาณ(จุดเทรชโฮลด์) เช่นเราตั้งค่าไว้ที่ 0 dB สัญญาณจะเริ่มลดลงที่ 0 dB และถ้าปรับตั้งไว้ที่ -10 dB ก็หมายความว่าสัญญาณเสียงจะเริ่มลดลงที่จุด -10 dB (ค่าติดลบมากเสียงจะลดลงมาก)

การลดลงของสัญญาณเสียงที่จุดเทรชโฮลด์นี้ ถ้าเป็นการลดลงอย่างรวดเร็วทันทีทันใด เราเรียกว่า ฮาร์ดนี (Hard-Knee) และถ้าให้เสียงที่ถูกกด(Compress) ค่อยๆลดลงเพื่อให้เสียงฟังดูนุ่มขึ้นเราเรียกว่า ซอฟต์นี(Soft-Knee) ซึ่งมีปุ่มให้กดเลือกใช้งานได้ แต่ปุ่มนี้จะมีชื่อเรียกทางการค้าที่แตกต่างกันไป เช่น

ยี่ห้อ dbx เรียกปุ่มนี้ว่า Over Easy

ยี่ห้อ Behringer เรียกปุ่มนี้ว่า Interactive Knee

การตั้งค่า THRESHOLD

เสียงดนตรี เสียงพูด และเสียงร้องเพลงทั่วๆไป จะตั้งค่าไว้ที่ 0 dB

เสียงร้องเพลงประเภท เฮฟวี่ ร็อค ฮิปพอฟ หรือเพลงวัยรุ่นประเภท แหกปากตะโกนร้อง ก็ตั้งไว้ที่ -10 dB ถึง -20 dB ให้ปรับหมุนฟังดูค่าที่เหมาะสมไม่ดังหรือค่อยจนเกินไป

2.2 RATIO เป็นปุ่มสำหรับทำหน้าที่ปรับลดระดับเสียงลงมีค่าเป็นอัตราส่วนจำนวนเท่าต่อ 1 ซึ่งจะทำงานสัมพันธ์กับค่าเทรชโฮลด์ที่ตั้งไว้คือ

(1) เมื่อตั้งค่าอัตราส่วนไว้ที่ 1:1 สัญญาณด้านออกจะไม่ถูกกดลงเลย

(2) เมื่อตั้งค่าอัตราส่วนไว้ที่ 2:1 สัญญาณออกจะถูกกดให้ลดลง 2เท่า เมื่อสัญญาณเข้าเพิ่มขึ้น 1dB เช่นสัญญาณเข้า +20dB สัญญาณออกจะถูกกดให้ลดลงเหลือ +10dB

(3) เมื่อตั้งค่าอัตราส่วนไว้ที่ 4:1 สัญญาณออกจะถูกกดให้ลดลง 4เท่า เมื่อสัญญาณเข้าเพิ่มขึ้น 1dB เช่นสัญญาณเข้า +20dB สัญญาณออกจะถูกกดให้ลดลงเหลือ +5dB

(4) Infinite (หมุนตามเข็มนาฬิกาสุด) สัญญาณด้านออกจะถูกกดให้ลดลงเท่ากับค่าเทรชโฮลด์ที่ตั้งไว้

การตั้งค่า RATIO

เสียงพูด เสียงร้องเพลงทุกแบบ เสียงเครื่องดนตรีทั่วไป ปรับตั้งไว้ที่ 2:1 ถ้าตั้งให้ลดมากไปจะทำให้เหมือนเสียงเกิดอาการวูบวาบกระโดดไม่คงที่

2.3 ATTACT เป็นปุ่มสำหรับปรับตั้งค่าหน่วงเวลาของการเริ่มต้นกดสัญญาณ(compress) จะช่วยทำให้เสียงมีความหนักแน่นดีขึ้น มีหน่วยเวลาเป็น มิลลิวินาที(mSEC) เสียงพูด เสียงเพลงดนตรีทั่วไป ให้ตั้งค่าไว้ที่ประมาณ 40-50 mSEC เพลงคลาสสิค หรือเพลงที่มีความฉับไวของดนตรี ให้ตั้งไว้ที่ประมาณ 25-30 mSEC

2.4 RELEASE เป็นปุ่มสำหรับปรับตั้งค่าหน่วงเวลาช่วงหยุดการกดสัญญาณ จะทำให้น้ำเสียงนุ่มน่าฟังขึ้น มีหน่วยเวลาเป็นวินาที (SEC) เสียงพูด เสียงดนตรีทั่วไปให้ตั้งไว้ที่ 1.5-2 SEC

2.5 OUTPUT GAIN เป็นปุ่มปรับลดหรือเพิ่มระดับความแรงของสัญญาณด้านขาออกของเครื่องให้มีค่าลดลงหรือเพิ่มขึ้นได้ โดยมีค่าปรับได้ตั้งแต่ -20dB ถึง +20dB ในการใช้งานปกติให้ปรับค่าไว้ที่ 0 dB

3. LIMITER

ลิมิตเตอร์ทำหน้าที่รักษาระดับสัญญาณด้านขาออกของเครื่องให้มีความแรงสูงสุดได้ไม่เกินค่าที่ตั้งไว้ เช่นตั้งไว้ที่ 0dB สัญญาณขาออกก็จะออกได้สูงสุดไม่เกิน 0dB หรือตั้งไว้ที่ +5dB สัญญาณขาออกก็จะออกได้สูงสุดไม่เกิน +5dB เป็นต้น

การตั้งค่าLIMITER

เสียงพูด เสียงร้องเพลงทุกประเภท ให้ตั้งค่าไว้ที่ 0dB

เสียงดนตรี กลองกระเดื่อง กีต้าร์เบส ให้ตั้งค่าไว้ที่ +5dB ถึง +10dB

เสียงเครื่องดนตรีอื่นๆ ตั้งค่าไว้ที่ 0dB

การต่อใช้งานเครื่อง COMPRESSOR

การต่อใช้งานเครื่องคอมเพรสเซอร์สามารถต่อใช้งาน ตามลักษณะประเภทของงานและตามความต้องการของผู้ใช้ได้ 4 แบบ ดังนี้

1. การต่อแบบ Channel Insert

การต่อแบบนี้เป็นการต่อใช้งานที่ดีที่สุด เพราะจะทำให้เราสามารถปรับแต่งเสียงของคอมเพรสเซอร์ แต่ละแชลแนลได้อย่างอิสระ ทั้งเสียงจากไมโครโฟนสำหรับนักร้อง และเสียงจากเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นที่แยกจากกัน

2. การต่อแบบ Group Insert

การต่อแบบนี้จะใช้คอมเพรสเซอร์ จำนวน 2 เครื่อง [4Ch] ในกรณีที่มิกเซอร์มี 4 กรุ๊ป คือ Group 1-2-3-4 ก็ให้เราจัดกรุ๊ป 1-2 เป็น ไมค์เสียงร้องทั้งหมด และกรุ๊ป 3-4 เป็นเสียงดนตรีทั้งหมด

3. การต่อแบบ Mix Insert

การต่อแบบนี้ใช้คอมเพรสเซอร์ 1เครื่อง (2Ch) ต่อที่ตำแหน่ง Mix Insert ของเครื่องมิกเซอร์ เป็นการต่อใช้งานเพื่อควบคุมเสียงทั้งหมดที่ถูกต่อเข้าที่มิกซ์ การปรับแต่งเสียงก็จะปรับโดยรวมๆกลางๆ

4. การต่อแบบ MIXER to COMPRESSOR

การต่อแบบนี้เป็นการต่อแบบที่ง่าย สะดวก และประหยัดที่สุด เพราะเป็นการต่อที่นำเอาสัญญาณเอาท์พุทจากมิกเซอร์มาเข้าอินพุทของเครื่องคอมเพรสเซอร์ และออกจากคอมเพรสเซอร์ไปเข้าเครื่องอีควอไลเซอร์

การปรับแต่งเสียงก็เป็นการปรับแบบรวมๆกลางๆ เพราะทุกเสียงผ่านคอมเพรสเซอร์ทั้งหมด

compressor
...........พูดเปรียบเทียบกันง่าย ๆ compressor เป็นอุปกรณ์ที่ทำก๋วยจั๊บน้ำใส.....ให้เป็นก๋วยจั๊บน้ำข้น......(ฮาครับ....มีคนเปรียบเทียบอย่างนี้จริง ๆ )
.......จำเป็นต้องมีไหม...หลายคนสอบถาม.....จำเป็นครับ....ไม่งั้นเขาคงไม่ทำขายหรอก...(โอ...ช่างเป็นคำตอบที่มักง่าย..จริง ๆ )
........แต่ถ้ามีแล้ว...ใช้ไม่ถูก..ก็อย่ามีดีกว่าครับ.....บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้เรื่อง compressor เบื้องต้น...แก่ผู้ที่ยังไม่รู้บางแง่...บางมุมของ compressor
....ส่วนท่านที่รู้แจ้งเห็นจริงแล้ว...ก็ผ่าน....หรือจะแบ่งปันในส่วนลึก ๆ ของcompressor บ้างก็ได้ครับ
........ในส่วนแรก..ที่ปุ่มปรับที่เขียนว่า ratio (ในวงเหลืองรูปล่าง) หมายถึงการกำหนดอัตราส่วนในการ compress (บีบอัดสัญญาณเสียง)
.....ส่วนรูปบน.....เป็นการแสดงภาพการบีบอัด...รูปซ้ายมือสุด...เป็นการบีบอัดในอัตราส่วน 1.5 ต่อ 1 ...สังเกตสัญญาณที่เกินกว่าเกณฑ์(เส้นสีดำ)...จะถูกกดลงมานิดหนึ่ง(ในวงสีแดง)
.....ในรูปกลาง...เป็นการบีบอัดในอัตราส่วน 3 ต่อ 1 ...สังเกตสัญญาณที่เกินกว่าเกณฑ์(เส้นสีดำ)...จะถูกกดลงมา..มากหน่อย(ในวงสีชมพู)
.....ในรูปขวามือ...เป็นการบีบอัดในอัตราส่วน ต่อ 1(infinity) ...สังเกตสัญญาณที่เกินกว่าเกณฑ์(เส้นสีดำ)...จะถูกกดลงมา..มากที่สุด(ในวงสีน้ำเงิน)
……..นี่เป็นเบื้องต้น....ที่นำเสนอท่าน.....ในการใช้ compressor ของท่านให้เกิดประโยชน์สูงสุดครับ
......เวลาหมดครับ.....พบกับคราวหน้า.....ขอให้มีงานท่วมเดือนทุกวงครับ...สาธุ

…..threshold (วงสีชมพู)เป็นการปรับค่าอ้างอิงเพื่อให้เครื่องทำงานตามค่าอ้างอิงตัวนี้
.....จากรูปครับ....ปุ่มปรับ threshold ถ้าเราปรับค่านี่ให้สูง(ค่อนมาทาง+10...ถึง+20)จะเป็นการกำหนดให้เครื่อง ตั้งค่าเกณฑ์(เหมือนตั้งกำแพง)ไว้สูง...สังเกตเส้นที่ลูกศรสีเขียวชี้ครับ.....เส้นนี้จะเป็นค่าที่ไว้เปรียบเทียบกับสัญญาณเสียง(สัญญาณไฟฟ้า)ที่เข้ามาว่าเกินเกณฑ์นี้ไหม......ถ้าเกินเส้นนี้ กระบวนการ compressor จะทำงานครับ......จะกด...จะดันมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับค่า ratio ที่เราตั้งไว้(ในวามเห็นที่แล้ว)......แต่สรุปแล้วเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการสัญญาณไฟฟ้า(ส่วนที่เกินเกณฑ์)ที่ออกมาก็จะไม่ต่ำกว่าเส้น threshold ครับ
..........ส่วนกรณีที่เราตั้งค่า threshold ไว้ต่ำ ๆ (ค่อนมาทาง -10...-20...-40...)เกณฑ์(กำแพง)ก็เตี้ยลงมา(รูปด้านขวามือครับ)..........ศรชี้สีฟ้านั่นแหละครับ
......เมื่อเกณฑ์ในการอ้างอิงเตี้ย......สัญญาณเสียงที่เป็นสัญญาณไฟฟ้าค่าน้อย ๆ (เบา ๆ)ก็ต้องถูกเข้ากระบวนการ compress ด้วย.....มากน้อยแล้วแต่ค่า ratio ที่เราตั้งไว้เช่นกัน
...........แล้วจะตั้งค่าไหนดีล่ะ..............อันนี้ต้องขึ้นอยู่กับเครื่องมือของคุณ.......set threshold ต่ำไปเสียงออกมาก็เบา........สูงไปก็...ดังเกิน...ลำโพงขาด....แอมป์ไหม้.......เสียงแตก....เสียงบี้...พร่า........
........เอางี้.....เริ่มจากค่าต่ำ ๆ ก่อน.....แล้วค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนไม่เกิดอาการที่เขียนมาบรรทัดที่แล้ว....สำหรับค่า ratio ก็ลองตระโกนดัง ๆ ใส่ mic ...หรืออัดเครื่องดนตรีแรง ๆ ให้มันทำการลดสัญญาณ.....แล้วสังเกตผลรวมที่ mixer ว่ามัน peak หรือไม่.....ปรับแต่งที่ละนิด เดี๋ยวก็ได้ค่าที่เหมาะสมกับเครื่องของเราเองหละครับ...ขอย้ำนะครับว่า....เป็นค่าที่เหมาะสมกับเครื่องของเรา....จบครับ
......คราวหน้าก็ถึงเรื่องปุ่มปรับ ATTACK(วงสีแดง) และ RELEASE(วงสีน้ำเงิน)…ครับ...รอนิดนึง

compressor ภาค 2
........คราวที่แล้วผมเขียนเรื่องการปรับปุ่ม ratio ของ compressor ตั้งแต่ความเห็นที่ 1 โน่น(อื้อฮือ...นานจนลืมไปแล้ว)...ว่าการปรับค่าratio มีผลอย่างไรต่อการทำงาน
.......วันนี้ผมนำรูปคลื่นเสียงจริง ๆ ที่ยังไม่ถูกบีบอัดโดยกระบวนการ compressor หรือ limiter ให้คลื่นเสียงที่เกินกว่าเกณฑ์ที่เราตั้งไว้..(รูปบน...ในวงสีเขียวทั้งบนและล่าง....คลื่นเสียงจะมีทั้งบนและล่าง....เรียกว่าคลื่น + และคลื่น -)....จะเห็นว่ามีส่วนที่เกินกว่าเกณฑ์ที่เรากำหนดไว้(สมมุติว่าเราตั้งเกณฑ์ที่...ไม่ให้เกิน 50)
......รูปล่างครับ....เมื่อคลื่นเสียงชุดนี้ผ่านกระบวนการแล้ว....จะเห็นว่าในส่วนที่เคยเกินเกณฑ์ 50จะถูกบีบอัด...ลดทอนจนไม่เกินเกณฑ์ที่เราตั้งไว้.......
......ประโยชน์ที่ได้ก็คือเสียงที่จะออกไปที่ลำโพงจะไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้.....ทำให้เสียงที่ออกมาไม่แตกพร่า....หรือลำโพงขาด....แอมป์ไหม้
....และถ้าเป็นวงจรที่ถูกออกแบบมาดี ๆ หน่อยเสียงที่ผ่านกระบวนการนี้จะเป็นเสียงที่ดีขึ้น...หนักแน่นขึ้น..นิดหน่อย...ขอย้ำว่านิดหน่อยนะครับ.............หรือที่ภาษานักดนตรีเรียกว่า...เสียงมันเหนียวขึ้น

..........มาว่ากันถึงเรื่องปุ่มปรับ attack ที่ compressor
......จากรูปด้านบนเป็นปุ่มปรับค่า compressor ของ behringer ปุ่มปรับที่ชื่อว่า ATTACK ..(วงสีแดงลูกศรแดง)..เป็นการปรับแต่งให้กระบวนการบีบอัดทำงานในทันทีทันใดที่...มีการตรวจพบเสียงที่เกินกว่าเกณฑ์......หรือจะให้เครื่องยังไม่ทำงานในทันที..(หน่วงเวลาการทำงานออกไปอีก)การหน่วงเวลาที่ให้มาหน่วงเวลาได้ถึง..300 msec..ในรุ่นนี้
......สรุปว่าปุ่ม attack มีไว้เพื่อกำหนดให้กระบวนการบีบอัดสัญญาณ...ทำงานในทันที....หรือไม่ทำงานในทันที...โดยยืดเวลาออกไป....และยืดการทำงานออกไป..เท่าไร
.......จากรูปล่าง....ถ้าเราปรับ attack ค่าต่ำ ๆ (ทำงานเร็ว ๆ ที่ตรวจพบ).... ส่วนเกินของเสียงในพื้นที่วงแดงจะถูกบีบอัด
..........ถ้าค่า attack ค่ากลาง ๆ ....ส่วนเกินของเสียงในพื้นที่วงสีน้ำเงิน..จะถูกบีบอัด
..........ถ้าค่า attack ตั้งค่าไว้สูง ๆ (หน่วงเวลามาก ๆ )....ส่วนเกินของเสียงในพื้นที่วงสีเหลืองจะถูกบีบอัด
……การบีบอัดและการลดทอนจะรายงานให้ทราบโดยแสดงออกมาเป็นแถบไฟในกรอบเหลี่ยมสีชมพู...รูปบน
......ลอง ๆ ทำความเข้าใจดูนะครับ.....จบเรื่อง attack
.....ขึ้นเรื่อง release
.....release เป็นปุ่มปรับเพื่อให้กระบวนการบีบอัดหยุดทันทีที่หมดเสียงที่เกินเกณฑ์......หรือจะให้เครื่องหน่วงเวลาการบีบอัดออกไปอีก......สังเกตได้ง่าย ๆ จากแถบไฟในกรอบเหลี่ยมสีชมพู(GAIN REDUCTION)......ถ้าเราปรับ release ไว้ที่ค่าต่ำ ๆ จะหมายถึง...เมื่อบีบอัดแล้ว...หยุดการบีบอัดทันที่....สังเกตแถบไฟจะแสดง...และจะหดหายไปในทันที
......ถ้าเราปรับค่า release ไว้สูง ๆ .....สังเกตแถบไฟที่ขึ้นมาตอนเกิดการบีบอัด ...จะไม่ลดลงในทันที.......แต่จะค่อย ๆ ลดลงช้า ๆ (ช้ามาก...ช้าน้อย...ขึ้นอยู่กับค่า release)...
........แล้วจะปรับอย่างไรล่ะ....ให้เหมาะสม.....อันนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างที่เกิดขึ้นบนเวที..ขณะนั้น......เสียงนักร้องที่กระแทกกระทั้น....ความเร็วของเพลง....ชนิดของเครื่องดนตรีที่จะทำการ compress .......ความไวของไมโครโฟน........และอื่นๆ...เป็นองค์ประกอบ
.....คงต้องแนะนำว่าต้องพึ่งตัวเองแล้วละครับ...ในการปรับแต่ง.....แต่งให้เหมาะสมกับเครื่องบนเวทีของคุณนั่นแหละเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุด...โดยอาศัยหลักการทำงานที่ผมเขียน...มาเป็นหลักเกณฑ์ในการปรับแต่ง
..........ลองดูนะครับ

GATE คืออะไร

......แปลตรงตัวก็คือประตูที่เปิด – ปิดได้....sound engineer ทั่วไปนิยมใช้gate ในการปิด..กั้นสัญญาณเสียงจากแหล่งต่าง ๆ ให้เปิด(ดัง)และให้ปิด(ไม่ดัง)โดยอัตโนมัติ

........gate มีส่วนสำคัญในการปรบแต่งคือการปรับค่า threshold หมายถึงเกณฑ์ในการกำหนดให้..ปิด....เหมือนความสูงของกำแพงที่กั้นเสียงไว้….(ดูรูปขวามือในกรอบสี่เหลี่ยมค่าthreshold ตั้งค่าไว้ที่ความสูงของแถบสีเทา) เส้นประไข่ปลาแทนความดังของสัญญาณเสียงที่ผ่านมา .....ถ้าเสียงเบา...เตี้ยกว่ากำแพง...gateจะปิด...ผลคือเสียงนั้นจะไม่ออกมาสู่ลำโพง

.........เหนือกำแพงคือแถบดำ ๆ ...คือเกณฑ์ที่เสียงดังจนข้ามกำแพง threshold เข้าสู่แถบดำ....gate จะเปิด....ผลที่ตามมาคือเสียงที่ดังระดับนั้นจะถูกปล่อยให้ผ่านออกลำโพงครับ

..........gate นิยมใช้กับไมค์ที่รับเสียงกลองสด ๆ คิดดู ที่ tom 1อยู่ใกล้ กลองsnare มากที่สุด เวลามือกลองตี snare เสียงกลองsnare ย่อมดังเข้า ไมค์ tom 1แน่นอน ถ้าเราไม่มีgateกั้นไว้ที่ tom 1 2 3 ก็จะได้เสียง snare ที่ไม่สะอาด จึงจำเป็นต้องใช้ gate กับชุดกลอง

....เฉพาะชุดกลอง 1ชุดที่ผ่านมาใช้ ไมค์ปาเข้าไปก็ 8 ตัวแล้ว ถ้าไม่มีgate เสียงจะรบกวนกันเอง........ผลรวมที่ PA ไม่สะอาดเท่าที่ควร....คิดดูตามหลักความจริง ตี snare 1ที เสียงเข้าไมค์7-8ตัวแน่ะ....ฉะนั้นใน concert ทั่ว ๆ ไปจึงจำเป็นต้องใช้ gate ด้วยประการฉะนี้....ถ้ายังไม่มีตังค์ไม่เป็นไรแก้ไขโดยการใช้ไมค์ที่รับเฉพาะทางครับ.....คราวหน้าจะแนะนำวิธีเลือกไมค์ให้เหมาะเฉพาะงาน

.....บางวงมีปัญหา...มีเสียงฮัม(hum)หรือเสียงรบกวนอื่น ๆ ออก PA แล้วแก้ปัญหาโดยการใช้ gate ตัดเสียงก่อนออกลำโพง.....ครับเสียงเงียบจริง ๆ ครับเวลาไม่มีการพูด....เงียบจริง ๆ ......แต่พอพูดปุ๊บ...gate เปิดเสียงพูดและเสียง ฮัมก็ร่วมกันออกลำโพงลั่นไปหมด...ฟังดูน่ารำคาญจัง....นับเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุครับ

.........ควรแก้ปัญหาที่ต้นเหตุครับ...โดยการค้น....หา....สาเหตุที่มัน ฮัม ให้เจอครับแล้วจัดการขจัดเสียงรบกวนเหล่านั้นให้ได้....เสียงจากเครื่องเสียงที่เรารัก...มันก็จะสะอาดจน....ดมพิสูจน์ได้ครับ

.....รูปซ้ายมือเป็นวิธีต่อ gate เข้าที่ช่องmixer ที่ 2 โดยต่อที่ช่อง insert โดยใช้สาย แบบ Y ถ้าสงสัยให้กลับไปอ่านความเห็นที่ 41 ได้เลยครับ (ที่รูปจะเห็นช่องที่ 1 ของmixer ต่อกับkeyboard ก็มีการเสียบต่อกับ effect โดยใช้การต่อแบบ insert เหมือนกัน)…นอกจาก gate แล้ว...พวก compressor หรือ limiter ก็ควรใช้ที่ช่อง insert เหมือนกันครับ
 
  บันทึกการเข้า 
 
 
 
admin
รูปคือความทรงจำ
suwitchot
Hero Member

 ออฟไลน์

กระทู้: 595


อนุรักษ์และสร้างสรรค์ผลงาน


   Re: การใช้งานและการปรับตั้งค่า COMPRESSER-GATE-LIMITER
&laquo; ตอบ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2010, 09:46:45 PM &raquo; 

--------------------------------------------------------------------------------
INSERT(แต่ละช่อง) และ MIX INSERT ของ mixer soundcraft คืออะไร

  Insert หมายถึงการสอดแทรก ในที่นี้ใช้สำหรับตัดต่อสัญญาณที่เข้ามาเพื่อนำสัญญาณนั้น (input) ไปผ่านกระบวนการต่าง ๆ ก่อนที่จะส่งสัญญาณนั้น ๆ กลับมาและส่งออกไป (out put)

ช่อง insert ต้องใช้สาย Y คือสายที่ด้านหนึ่งเป็นแจ็ค phone แบบstereo 1 ตัว ที่ปลายสุด(ปล้องที่ 1 )ต่อสายออกไป 1 เส้นที่ปลายสายต่อกับแจ็ค phone แบบ mono 1 ตัว(เรียกว่าสาย send) เป็นสายที่ต่อไปเข้า input ของเครื่องมืออื่น ๆ เช่น EQ- compressor -gate -effect และอื่น ๆ .....ส่วนที่ปล้องที่ 2 ของแจ็ค stereo ต่อสายอีก 1เส้น โดยที่ปลายต่อกับแจ็คแบบ mono 1ตัว(เรียกว่าสาย return)...เป็นสายที่ต่อไปเข้าout put ของเครื่องมือที่กล่าวมาแล้ว สายนี้จะมีหัวแจ็ค 3 หัว เหมือน อักษร Y

...อย่างนี้นะโยม สมมุตินะว่าช่องไมค์ ตัวที่ 1 โยมต้องการเอาสัญญาณเสียงร้องไปผ่านcompressor ก่อน(เหมือนทำก๋วยจั๊บน้ำใสให้เป็นน้ำข้น..น่ะโยม) ก็เอาสาย y เสียบที่ช่อง insert โดยเอาส่วนที่เป็นแจ็ค stereo เสียบนะ...โยม ....แล้วเสียบสาย send เข้าที่input ของเครื่องมือนั้น ๆ และเสียบสาย return ที่ out putของเครื่องมือนั้น ๆ

.....เท่านี้แหละโยม สัญญาณจากไมค์(เฉพาะช่องนั้น)ก็จะถูกตัดต่อให้ไปผ่านcompressorก่อนและย้อนกลับมาในช่องเดียว....อามิต..ตา.พุทธ

....สำหรับช่องmix insert ก็เช่นกัน...โยม เพียงแต่เป็นการนำสัญญาณที่เรา mix จนดีแล้ว..ไปผ่านเครื่องมือต่อไป....ที่วัดอาตมาใช้ช่องนี้ตัดต่อไปยัง EQ ก่อนออกไปยัง crossover...โยมด้วยเหตุผลที่ว่า สัญญาณก่อนจะออกไปcrossover นั้นจะผ่านไปยัง EQ ก่อนโดยวีธี insert นี้จะแสดงผลว่าสัญญาณที่ผ่าน eq แล้วนั้น สัญญาณจะแรงเกิน(clip)หรือไม่...โยม...โดยมันจะแสดงผลที่ไฟแท่ง ๆ นั่นแหละ

.....ขณะเดียวกันกรณีที่โยมใช้ หูฟัง(headphone) ในการset sound เสียงที่ดังในหูฟังนั่นแหละคือเสียงที่ผ่าน EQ แล้วโยม....นี่แหละข้อดีของการใช้ insert .......ใช้เถอะโยม...เพราะมันเป็นการใช้ของ ๆ เราอย่างคุ้มค่า....แล้วโยมจะรักเครื่องมือของโยม(กว่าโยมผู้หญิง)

เท่านี้ก่อนโยม.....ไปฉันเช้าก่อน..เดี๋ยวไม่ทันเณร
 
 
บ่งปันเรื่องการ set mixer
ปัญหา ที่ mixer ช่องที่จะใช้ mic จะปรับgain อย่างไร แค่ไหนถึงดี และเหมาะสม
......คำแนะนำ (อ้างถึงคู่มือการปรับgain ของsound craft )อันดับแรกปรับปุ่ม ทุ้ม กลาง แหลม( low mid high )ไว้ที่ เที่ยง (เทียบกับนาฬิกา )หรือที่ 0 dB (ทำไมต้อง 0 เรื่องนี้ต้องคุยกันยาว ๆ ครับ)ส่วนปุ่มที่เป็น paramatic ไม่ต้องปรับครับไม่มีผลใด ๆ เมื่อ low mid high อยู่ในตำแหน่ง 0 dB
...เลื่อนslide ที่ช่องนั้น ไปที่ 0 dB เลื่อน slide ของ out put ไปที่ 0 dB เช่นกัน เสียบครับเสียบ...สายไมค์เสียบ ไมค์ด้วยครับ(ผมใช้Shure sm58 ครับ ด้วยเหตุผล 1เป็นที่ยอมรับ 2ราคาพอหาเงินซื้อได้ ส่วนใครจะใช้สุดยอดกว่านี้ตามสบายเลยครับ) ปรับgain ประมาณ บ่าย1-2โมงครับ จ่อไมค์ห่างปาก2-3นิ้ว ตระโกน เลยโยม หรือร้องเพลงแบบกระชากเสียงดัง ๆ ถ้ากลัวเสียงแหบแห้ง เอาอย่างอาตมาซี่......อาตมาอม...โบตัน...ช่วงตะโกน ตา...โยม..ตาน่ะ เหลือบดูไฟที่แสดงผลที่ขึ้นเป็นแท่ง ๆ น่ะ ว่ามันถึงไฟแดงหรือไม่ ทางsoundcraft เขาอนุญาตว่า ให้มันswing ได้ 1 -2 ดวง(สีแดง) ถ้าไม่ถึง เร่งgainเลยโยม ถ้าเกิน ลดซี่โยม gain น่ะ
.......เสร็จแล้วครับช่องไมค์ เรื่องนี้อาตมาขอบิณฑบาตเถิดโยม เรื่องเร่งgain มาก ๆ เลื่อนslide ขึ้นนิดเดียว ดังลั่นเลย น่ะ ขอเถิด นึกว่าสงสาร mixer มันเถอะ ไม่นานหรอก slide ช่องนั้นจะสึกกร่อน(เป็นตามด) หรือขาดเลย เวลาใช้งานพอโยมเลื่อนslide ผ่านจุดนี้ มันจะเกิดเสียง แกรก กราก ออกลำโพงน่ารำคาญ หรือtweeter อาจขาดเลยก็ได้ในกรณีที่เป็นเครื่องเสียงชุดใหญ่ แล้วจะมาโทษว่า mixer ยี่ห้อนี้ไม่ดี ..ไม่ทน ไม่ได้นะ...โยม
.......สากลนิยม set slide ไว้ที่ 0 dB (ง่าย ๆ ก็คือ ที่ 0 dBเนี่ย สัญญาณเข้ามา 100% จะออกไปที่ out put 100%)ไม่ถูกกั้นจนสัญญาณไฟฟ้าทำลายจุดสัมผัสของ slide
…ก่อนจบตอน 1 ฝากไว้ว่า ถ้าใคร(มือใหม่)สามารถ set ให้ทุกช่องของ mixer เป็น 0 dB หมดทุกช่อง ทั้ง in put และ out put(ที่ input โยมก็ไปเล่นลูกเล่นที่ gainดังที่กล่าวมาแล้ว ซิโยม ส่วนที่ out put โยมก็ไปเล่นลูกเล่น ดัง – เบา ที่ EQ , compressor ,crossover...ซีโยม)
...ถ้าทำได้ดังที่ว่า โยมกำลัง turn pro ขั้นที่ 1 ของการ set mixer แล้วละ (ทางพระ เรียก ใกล้บรรลุแล้ว)
และที่สำคัญ mixer ตัวนี้จะอยู่กับเราไปอีกนาน แสน นาน เหมือน ฮองเฮา ของตาสอน ...อา..มิต..ตา..พุทธ
Tip ......จำไว้ sound ที่ออกมาจะดีได้ เราต้องมีแหล่งกำเนิดที่ ดีก่อน แหล่งกำเนิดเสียง เช่น นักร้องต้องเสียงดี (ไม่ดีให้ไปขนตู้ลำโพงแทน) เสียงกีตาร์ เสียงกลอง เสียงจาก sound module
.......พบกันใหม่คราวหน้า เรื่อง set กลองและเบส ของ8850 ให้ออกคนละทางกับเสียงดนตรีอื่น ๆ ครับ......อาตมาไปฉันเพลก่อนละเดี๋ยวไม่ทันเณร......เจริญพร
...ว่าง ๆ มาปวดหัวกับทฤษฏี “ทำไมต้อง delay เสียงต่ำ(ให้ช้าลง)” ของ RANE

……หาเรื่องให้ปวดหัวกันอีกแล้วกับทฤษฏีของ rane ยี่ห้อหนึ่งอเมริกา...ผู้ผลิต crossoverที่มีผู้ใช้มากไม่แพ้ยี่ห้ออื่น ๆ

....RANE ได้แอบอ้าง(ตามรูปบน)....ว่าตู้ลำโพงตู้หนึ่งประกอบด้วยลำโพงเสียงแหลมและเสียงต่ำ...โดยที่ว๊อยซ์คอล์ย(ขดลวดและแผ่นที่สั่นกำเนิดเสียง)ของลำโพงเสียงแหลมและเสียงต่ำไม่อยู่ในแนวเดียวกัน(จากรูปเสียงต่ำอยู่หน้าเสียงแหลม)....ทำให้เสียงต่ำวิ่งออกหน้าไปก่อนเสียงแหลม....ผลที่เกิดขึ้น(รูปเส้นประรูปไข่)...เสียงรวมจะกระดกขึ้น....มิติการฟังเรื่องความคมชัดและเรื่องความหนักแน่นจะไปรวมอยู่ข้างบนนู่นแน่ะ......เขาว่างั้นนะครับ(น่าจะจริงผมเคยไปset เครื่องของคนอื่นซึ่งเครื่องใหญ่มาก .....มันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ )

........ทางRANE เสนอความคิดเห็นและวิธีแก้ไขดังนี้

.......1.จัดลำโพงให้ว๊อยซ์คอล์ยทั้งแหลม...กลาง...ต่ำ...อยู่ในแนวเดียวกัน

........2.ถ้าทำตามข้อ 1 ไม่ได้....ให้delay (ทำให้เสียงช้าลง)เสียงที่อยู่ข้างหน้าให้ช้าลง....เพื่อรอเสียงอื่น ๆ ให้วิ่งหรือเดินทางไปพร้อม ๆ กัน

.......ดูรูปล่าง...จะเห็นว่าให้ set ค่า delay เสียงต่ำให้ช้าลง(แน่นอนปุ่มปรับนี้ที่ crossover ของrane ต้องมีแน่ ๆ เลย)

........เมื่อปรับให้เสียงต่ำช้าลงแล้ว..ก็เปรียบเสมือนว่าว๊อยซ์คอล์ยของเสียงต่ำเลื่อนมาอยู่ในแนวเสียงแหลม(เปรียบ...เสมือน..นะครับ)

.....ผลที่เกิดขึ้นคือ...เสียงรวมจะถูกกดลงอยู่ในแนวระนาบ....ระดับหูคนฟัง.........เยี่ยมครับงานนี้....work ครับเจ้านาย

.......นี่เป็นเรื่องราวที่ผมนำเสนอเป็นแนวในการพิจารณาแก่ผู้อ่านครับ.....เผื่อไปตรงกับวงใด....หรือบางวงไม่เคยสังเกต.....หรือบางวงเกิดปัญหานี้แล้วไม่รู้จะแก้อย่างไร.......ก็เชิญพิจารณาเอาเถิดครับ

.........แต่ปัจจุบันอาจเกิดปัญหานี้น้อยมาก.....เพราะเสียงแหลมที่มีขายทั่วไป...ปาก horn(ปากบาน ๆ )ไม่ค่อยยาวเหมือนรุ่นแรก ๆ เดี๋ยวนี้สั้นลงมาก(เรียกว่ารุ่น CD horn)....แต่อย่างไรก็ลอง ๆ สำรวจระบบตู้ลำโพงของท่านดูบ้างนะครับว่าเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับแนวทฤษฏีของRANE เค้า.....ลองดูนะครับ
 
ใส่ใจกับ stage monitor กันหน่อย...โยม

......monitor เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลให้นักร้อง นักดนตรี ได้ยิน ...ได้ตรวจสอบงานของตนเองที่ผลิตออกไป

และเป็นการสร้างอารมณ์(fill)ให้กับศิลปิน

.....ฉนั้น monitor จึงมีความจำเป็น และต้องแสดงผลที่ดี...น่าจะที่สุดด้วย...โยม....จึงควรที่โยมจะต้องเฟ้นหาและ set monitor ให้ดีเทียบเท่า....หรือดีกว่า PAเลยทีเดียว....อาตมาเคยได้ยินศิลปินวงนึง(ที่หัวโล้น ๆ มีเครา...ใส่แว่นดำ ๆ บอกว่า....ข้างล่าง (PA)จะเป็นอย่างไรก็ช่าง...ขอให้ข้างบน( Monitor และ side fill)มันส์...ไว้ก่อน..

......ชุดmonitor ที่ต้องใช้(ขอย้ำว่าต้องใช้โยม) 1.ตู้ลำโพง monitor (ลำโพงหาเกรด ดี ๆ หน่อย เสียงแหลม(horn – tweeter เกรดดี ๆ เช่นกัน)ถ้าโยมจะซื้อก็เลือกรุ่นที่มีรหัส M ต่อท้าย.....2.EQ...โยม..จำเป็นมาก ๆ โยม จะmono หรือstereo ก็ตามแต่ตังค์ของโยม(ที่วัดอาตมาใช้ monitor แบบstereo เพื่อมิติที่กว้างหน้าเวทีและให้อารมณ์กับนักร้องที่ดี) สากลนิยม 31 แบนด์...โยมเพื่อความละเอียดในการ set และควรเลือก set แบบ 12 dB (กรณีที่มี mode ให้เลือกระหว่าง 6 หรือ 12 dB)เพื่อการ cut ความถี่ที่ต้องการลด จะได้มีผลมาก ๆ ......โยม ......3 ....cut ความถี่ที่สูงกว่า 6-8 K ให้ลดลง เพราะย่านนี้ ไม่ค่อยใช้และลำโพงไม่ค่อยตอบสนอง ถ้าจะให้ตอบสนองก็ต้อง boost มาก ๆ ซึ่งโอกาสเกิดการหอน(feedback) ก็มากตามมาด้วย...โยม....

................กรณีมีนักร้องเดี่ยวหน้าเวที่.....โยมก็set ให้เสียงร้องนำหน้าเสียงดนตรีไว้

...............กรณีวงของโยมมีแด็นเซอร์...ก็ set ให้เสียงดนตรีโดยเฉพาะเสียงกลองและเบสนำ ๆ หน่อยเพื่อให้อารมณ์แก่แด็นเซอร์....จะได้เต็นมันส์...มันส์....ไงโยม

.............ถ้าเป็นวงเล่นสด...ก็อีกรูปแบบหนึ่ง โดยแยกmonitor เป็นชุด ๆ และเลือกให้เสียงต่างไปออกตามชุดนั้น ๆ ตามความต้องการของนักดนตรี เช่น ชุดmonitor ของมือกลองก็น่าจะให้เสียงกลองมาก ๆ หน่อย เสียงเบสด้วยเพราะเป็นของคู่กัน....โยม เสียงร้อง....แล้วแต่แกจะร้องขอ......เท่านี้วงของโยมก็มีmonitor ที่สมบูรณ์แล้ว...โยม
ปุ่ม 100 (LOW CUT) ที่Mixer (ปุ่มแบบกด มีเลข 100 หรือ 80 อยู่มีเสันปิดด้านหน้าและด้านบน)...มีไว้ทำไม......ควรใช้อย่างไร..

.....โยม ๆ ที่ใช้ mixer บางรุ่น บางยี่ห้อ แล้ว เห็นปุ่มนี้คงจะเกิดคำถามขึ้นว่า...จะใช้อย่างไร....เมื่อไร...มีไว้ทำไม...ทำไมต้องมี...กดปุ่มดีมั๊ย....ไม่กด..ดีกว่า..

.....ปุ่มนี้เขาเรียกว่าปุ่ม low cut โยม..เอาไว้ตัดเสียงต่ำ ๆ ที่ต่ำกว่า 100Hz (หรือ 80 Hz) ทิ้งไป....ปุ่มนี้ถ้ามี..ก็จะมีทุกช่องของ mixer เพื่อให้ผู้ใช้เป็นผู้เลือกใช้ตามความเหมาะสม...โยม

.....ข้อเสนอแนะของอาตมานะ..โยม..ยังงี้โยม...ถ้าโยมใช้ช่องนี้สำหรับ mic เสียงร้อง โยมก็ควรกดปุ่มนี้ลงเสีย(ตัดเสียงที่ต่ำกว่า 100 Hzทิ้งไป....มีเหตุผลโยม...อย่าเพิ่งสงสัย..เหตุผลของพระ..สัม..ม...เอ๊ย..อาตมาคือ...

...........1. นักร้องส่วนใหญ่ไม่ว่าหญิงหรือชาย...เสียงต่ำไม่ถึงนี้หรอก....ยกเว้นถ้าโยมสันติ ลุนเผ่..หรือโยมธานินทร์..หรือโยมสุเทพ วงศ์กำแหง มาร่วม jam ด้วย...ก็ต้องเปิดให้โยมแก...เพราะเสียงแกต่ำจริง ๆ โยม..เปิดให้เถอะ

...........2.กดปุ่มนี้แล้วเป็นการลดโอกาสที่จะเกิดเสียง ..พรึ่บ..(pop)..เวลาพูด..ได้โยม สังเกตเครื่องเสียงตามงานวัด..งานบุญเถอะโยม..โฆษกพูดไป...เสียงก็ออกลำโพง..พรึ่บ ๆ ควบคู่ไปด้วย...น่าอภิรมณ์จริง...

.....3.เป็นการลดโอกาสที่จะเกิดเสียงหอน(ย่านต่ำ)ที่ monitor และชุดลำโพง PAได้...หอน(feedback) บ่อย ๆ งานหน้าเจ้าภาพไม่หานะ...เอ้อ

.......แต่ถ้าโยมใช้ช่องนี้กับเครื่องดนตรีอื่น ๆ เช่น เสียงจาก sound module เสียงกลองสด เสียงเบสสด โยมก็ต้องยกปุ่มนี้ไว้เพราะเครื่องดนตรีเหล่านี้มี่ความถี่ย่านต่ำ.....ก็สมควรให้เขาผ่านไปนะ..โยม..นะ
มาเรื่อง set effect กันอีกครั้ง

.....ผมเคยลงเรื่องวิธีการต่อ effect ในความเห็นที่ 80 ที่ผ่านมา ก็อดนำเรื่องแนวความคิดเรื่องของreverb มาเสนอไม่ได้เพราะเป็นเรื่องที่น่าคิดสำหรับคนรักดนตรีอย่างเรา ๆ

.... จากภาพนะครับ....เสียงก้อง(แบบชิดกันมาก ๆ ...ถ้าห่าง ๆ กันเรียกว่าEcho) หรือที่เรียกว่าreverb เป็นเสียงที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

ที่ที่มีผนังแข็งสะท้อนเสียงเข้าหูผู้ฟัง ห้องแคบ เสียงจะก้องชิดกันมากๆ ....ห้องกว้าง...เสียงจะชิดกันไม่มาก.....ฝาผนังที่ห่างจากแหล่งกำเนิดเสียงมากๆ เสียงที่สะท้อนกลับมาจะห่างมากเรียกว่า Echo …..ไม่แปลกเลย...เมื่อเราร้องเพลงในห้องน้ำ...จะรู้สึกว่าเสียงเราเพราะกว่าร้องกลางแจ้ง...เพราะว่าเรามีreverbธรรมชาติช่วยให้เพราะขึ้น

........ด้วยเหตุนี้เองจึงมีการทำeffectขึ้นมาขายเรา....แอ่น....แอ๊น

..........ผู้ผลิตแนะนำว่าeffectที่ผลิตขึ้นช่วยให้การร้องเพลงกลางแจ้ง(งานกลางแจ้ง)ไพเราะเพราะพริ้งเหมือนร้องในห้องน้ำ....ห้องนอน...ห้องชมconcert.....ห้องประชุม(hall)

.......นี่คือเหตุผลของการผลิต......ปัญหาของเราก็คือ.....ถ้าเราไปเล่นดนตรีในห้องแคบ ๆ ล่ะ....เราควรใช้effect อย่างไร

........คำแนะนำจากผู้ผลิตบอกว่า.....เนื่องจากห้องแคบ ๆ ที่เราไปเล่นน่ะ ...มันมีreverb ธรรมชาติของมันอยู่แล้ว....จึงควรsetค่าreverbให้มันสั้นลง(ค่าreverb time)......คือให้เสียงมันสั้นที่สุดครับ แต่อย่าลดความดังของeffect(ในกรณีที่คุณset effectแบบ stereo)

เพราะมันจะทำให้เสียงร้องแคบและกระจุกอยู่ตรงกลาง....รวมกับเสียงเครื่องดนตรีครับ

..........ที่ผู้ผลิตแนะนำว่าให้set ค่าreverb time ให้สั้นที่สุด...เพราะเสียงที่ออกไปถ้ามี reverb ที่ยาว ...แล้วห้องแคบ ๆ ก็สะท้อนเสียงกลับไป...กลับมาจนเกิด เสียงreverbที่มากมายจนฟังไม่ได้ศัพท์

.....อย่าลืมนะครับ...ห้องแคบ อย่าลดความดังของeffect แต่ให้ลด reverb time ลงแทน

.........กรณีที่วงของท่านใช้ delay หรือ Echo ...ก็เช่นกันครับ.....ลดค่า delay time ลงเช่นกันครับ......

..........เท่านี้ก่อนนะครับขอให้ทุกวงมีงานเข้ามาจน.....รับไม่ไหว...ได้ตังค์เยอะ ๆ จะได้ไป update sound module….เปลี่ยน mixer ซื้อ effect รุ่นใหม่ ๆ...ที่ TOKAIMUSIC โฉมใหม่...ใหญ่กว่าเดิม...กับการบริการที่ประทับใจเหมือนเดิม
 

วิธีใช้compressor 3630 อย่างง่าย(แต่มีประสิทธิภาพ)
........คงเป็นการต่อยอด...อาจารย์วิริยะ ที่ท่านได้เขียนเรื่อง compressor มาเผื่อแผ่พวกเรา บังเอิญผมใช้3630 อยู่(เพิ่งสอยมาจากโตไก...2-3เดือน...เหมาะครับ..เหมาะมาก ๆ เพราะที่วงก็ได้นักร้องที่มี power มหาศาลมาประจำวงพอดี....แกร้องที...ตู้แทบแตก....ก็ได้3630 นี่แหละ...สกัดกั้นเอาไว้)...
......สำหรับผมเลือกใช้แบบเสียบสาย insert ที่ช่อง mic ครับ....เสียบได้ 2 ช่อง (mic2ตัว) เพราะเจ้า 3630.....เป็นสเตอริโอครับ (สวิชท์วงสีชมพูถูกยกไว้...ไม่ได้กด)
.......ที่ปุ่ม threshold และปุ่ม out put ไว้ที่ 0 dB เพราะต้องการสัญญาณที่เข้ามาเท่าไร....ออกเท่านั้น.....ปุ่ม..ratio จัดใว้ที่ ขวาหมด(อินฟีนิตี้ :1 เพื่อจะได้กำจัดเสียงที่ดังเกินออกไห้หมด....ก่อนที่มันจะทำลายลำโพงเรา)
....ที่ปุ่ม hard knee(วงสีน้ำเงิน) กดลง...หรือไม่ก็ได้ตามรสนิยม(hard knee ...กดเสียงลงอย่างรวดเร็ว......soft knee จะปลดปล่อยเสียงที่ดังออกไปนิดนึง...แล้วจึงกด....ก็เลือกเอาตามชอบนะครับ)
....ปุ่ม bypass ไม่ต้องกด ....ถ้ากด...3630จะไม่ทำการcompressor ให้(ซื้อมาทำไม)
.....ที่ปุม input เป็นปุ่มที่ให้ท่านเลือกเอาว่าจะให้ไฟที่เป็นแถว.....แสดงinput หรือ out put ......ถ้าเป็นผมผมจะไม่กดปุ่มนี้....เพราะผมจะดู out put
…….ที่ปุ่ม peak (อันนี้สำคัญมาก........เพราะวันนี้ผมจะแนะนำสำหรับที่ที่ยังใช้ไม่ค่อยเป็น........บางคนปรับไว้ตรงกลางหมด....แกบอกว่าset ค่ากลางๆ ไว้......อูย....ไม่ได้นะครับcompressor นะครับ

ไม่ไช่ power amp )

....คือผมแอบไปอ่านคู่มือ...เจอ....และเหมาะสำหรับท่านที่ยังไช้ไม่ค่อยเป็น.....คือปุ่มนี้....ถ้าท่านไม่กดลง(rms)มันจะตรวจสัญญาณเสียงเกินเชิงไฟฟ้า....แล้วมันจะกดเสียงให้อัตโนมัติ.....หมายความว่า...ถ้าปุ่มนี้ไม่ถูกกด.(rms)....compressor ตัวนี้จะทำงานให้ท่านอัตโนมัติ.....ปุ่ม attack…..และปุ่ม release ก็ไม่ต้องปรับ(วงกลมสีเหลือง).......ปิดได้เลยครับ..2ปุ่มนี้....ง่ายจัง
......ส่วนภาค gate ถ้าเครื่องเสียงท่านไม่มีเสียง HUM (เสียงฮัม) จนน่าเกียจ...ก็ไม่ต้องใช้.......ถ้ามีเสียงฮัม....ก็ปรับใช้ได้.....แต่.ที่จริงควรแก้ที่ต้นเหตการฮัมดีกว่า
.................สรุป....ผมต้องการแนะนำให้ท่านที่ยังใช้3630 ไม่คล่อง...หรือไม่ถูก.....ได้ใช้3630 ได้ง่ายขึ้นครับ
วิธีใช้compressor 3630 อย่างง่าย(แต่มีประสิทธิภาพ)ต่อ

.....วิธีนี้....นักร้องที่รับเข้ามาใหม่(คนที่มีpower มหาศาลคนเดิม)...แกจะตะโกนอย่างไร.....ลำโพงของเราก็ไม่ถูกทำลาย.....เพราะcompressor มันจัดการลดทอน(reduce)สัญญาณลงโดยอตโนมัติ..สังเกตจากแถวไฟสีแดงที่เรียกว่า gain reduction ที่พุ่งไปทางซ้าย........ไฟแถวนี้แหละที่แสดงการลดทอนสัญญาณ.....พยายามตกแต่งให้พอเหมาะกับเครื่องของเรา......
.........เวลามีตลกมาเล่น....compressor จำเป็นมากครับ...เพราะตลก...เป็นกลุ่มคนที่มี power ของเสียงที่แรงเป็นพิเศษ.........อ้อ....การที่ไฟแถว GAIN REDUCTION ไม่จำเป็นต้องวิ่งกับนักร้องทุกคน..นะครับ......นักร้องคนใดที่มี power ของเสียงน้อย ๆ .....ไฟแถวนี้ก็จะไม่ขึ้น(โถ...จะไปกดเสียงแกทำไม.....เสียงแกยิ่งเบา ๆ อยู่)....ไม่ต้องไปเสียเวลา ...วอรี่มัน
นายธีระศักดิ์     ผุดผ่อง<br />สถานีไฟฟ้าแรงสูงอุบลราชธานี 1 เลขที่ 388/18 ม.23 ต.ขามใหญ่ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ธ.กรุงไทย สาขาอุบลฯ เลขที่บัญชี 313-189937-9 <br />โทร 0862560702<br />teerasak.pu@egat.co.th


ออฟไลน์ pladao

  • ติดดิน...แต่อินเตอร์
  • สมาชิก
  • *
    • กระทู้: 20
สวัสดีครับพี่โป้ง  ห่างหายนานน่ะครับ

สบายดีบ่ครับผม
นายเสถียร  นิลบุตร 
ที่ทำงาน  โรงเรียนบ้านสมสะอาด  อำเภอเลิงนกทา  จังหวัดยโสธร 35120
บ้าน 158/2 บ้านบัวขาว  ตำบลบัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 46110

hs4qdd 145.275 Mhz   Tel.089-8421121
pladaopt@hotmail.com


ออฟไลน์ mitr

  • มีตังค์น้อย ก็ค่อยๆซื้อสะสมกันไป
  • นักร้อง
  • ******
    • กระทู้: 3108
อิอิ...ถ้ามีคำว่าโยม...
แสดงว่าเอามาจากเว็ปโตไค
พิสิฏฐ์ อินทรัตน์ 081-0939871 บัณฑิตวิทยาลัย ม.สงขลานคริทร์ ขั้น 10 อาคาร 2 ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ (LRC) อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 ธ.ไทยพาณิชย์ ม.สงขลานครินทร์ บ/ชออมทรัพย์ 565-407235-2


ออฟไลน์ โป้ง อุบลฯ

  • มือกีตาร์
  • ****
    • กระทู้: 147
สวัสดีครับพี่โป้ง  ห่างหายนานน่ะครับ

สบายดีบ่ครับผม
ไม่ค่อยสบายจ้า งานเยอะ ออก ตจว.ใช้หนี้ตอนเรียน ฮิๆ redface
นายธีระศักดิ์     ผุดผ่อง<br />สถานีไฟฟ้าแรงสูงอุบลราชธานี 1 เลขที่ 388/18 ม.23 ต.ขามใหญ่ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ธ.กรุงไทย สาขาอุบลฯ เลขที่บัญชี 313-189937-9 <br />โทร 0862560702<br />teerasak.pu@egat.co.th


ออฟไลน์ โป้ง อุบลฯ

  • มือกีตาร์
  • ****
    • กระทู้: 147

ตัวอย่างของทีมออบิตอุบลฯครับ
http://www.tiggersound.com/webboard/index.php?topic=96472.0
นายธีระศักดิ์     ผุดผ่อง<br />สถานีไฟฟ้าแรงสูงอุบลราชธานี 1 เลขที่ 388/18 ม.23 ต.ขามใหญ่ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ธ.กรุงไทย สาขาอุบลฯ เลขที่บัญชี 313-189937-9 <br />โทร 0862560702<br />teerasak.pu@egat.co.th


ออฟไลน์ ugrich

  • มือกลอง
  • *****
    • กระทู้: 780
ผมดูจากสัญญาณไฟครับ DBX274  ตั้ง เทรโช โดยสังเกตเวลาตี่กลองเกตตัวที่ตัดจะ ทำงานให้สัญญาณเข้า ถ้าตีใบอื่น จะไม่เข้าครับ ตั้งค่าเปิด ปิดเกต เร็วช้า แล้วแต่ว่าเป็นกลองตัวใหน  ยาวไปคราง ก็ให้เกตสั้นลง ด้วนไป ก็ให้ ปิดช้าลงหน่อย  ต้องลองกับของจริงๆครับ เวลามีงานท่านก็คอยสังเกตดูแล้วค่อยๆปรับครับ ทำได้แน่ และจะเข้าใจกว่าท่องไปว่าตัวใหนตั้งเท่าไรนะครับ นักดนตรี แต่ละงาน แต่ละคนเล่น แต่ละเครื่อง มันต้องตั้งทุกครั้งครับ ตั้งแล้วตั้งเลยไม่น่าจะได้ เพราะองประกอบเสียงมันเปลี่ยนไป ถูกผิดก็ว่ากันไป ใช้อยู่แบบนี้ละครับ
นาย อุกริช ทองชิว หจก.ซี.ไอ.เอส.เอนจิเนียจิ่ง เลขที่ 48/1 หมู่ 4 ตำบล ท่าทราย อำเภอ เมือง จังหวัด สมุทรสาคร 74000 TEL : 081-5707283  ธ.กสิกรไทย  565-2-00269-4


ออฟไลน์ aaudio619

  • ฝันให้ไกล แล้วไปให้ถึง
  • สมาชิก
  • *
    • กระทู้: 13
ตอนนี้กำลังดูใจกันอยู่ครับกับเจ้าdbx166xl
จิรวิทย์ สมแคร้ว 67/6 ม.11 ต.บ่อพลอย อ.บ่อพลอย
จ.กาญจนบุรี 71160 tel 081-0145988
email : a.audio619@gmail.com


ออฟไลน์ weerayoot

  • เครื่องเสียงบ้านนอก
  • มือกลอง
  • *****
    • กระทู้: 816
รบกวนผู้รู้อธิบาย ปุ่มต่างๆใน Quad gate DBX 1074 ว่าใช้อย่างไร
1.Filter
2.Threshold
3.Depth
4.Release
ขอบคุณมากครับ
นาย วีรยุทธ์  พลสุวรรณ 70 ม.16 ต.อากาศ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร 47170  ธ.กรุงไทย 444-0-23371-6 /  https://www.facebook.com/profile.php?id=100001013070696


ออฟไลน์ swang chalon

  • จะอยู่ร่วมกัน ด้วยความซื่อสัตย์
  • มือกีตาร์
  • ****
    • กระทู้: 386

ออฟไลน์ ไม้เอก มิวสิค

  • มือกลอง
  • *****
    • กระทู้: 560
ขอบคุณครับ
กวินท์ เสฏฐปัญโญ Tel.098-4511563
87/1 ถ.กาญจนวนิช ต.บ้านพรุ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90250
ธ.ไทยพานิชย์ 509-2650706   ธ.กรุงไทย 686-0091266