Tigger Sound
สังคมออนไลน์คุณภาพของคนรักเครื่องเสียง
ทดสอบเสียง HK1.1 By Tiggersound https://www.facebook.com/tiggersound/videos/10218510874389162

ข้อคิดจาก.........ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

0 สมาชิก และ 5 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9017
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com




Tuesday, 9 April 2013

ธรรมะกับการลงทุน


การลงทุนกับธรรมะซึ่งเป็นเรื่องของศาสนาพุทธนั้นดูเหมือนจะห่างไกลกันมาก  เนื่องจากการลงทุนโดยเฉพาะในตลาดหุ้นนั้นมักจะถูกมองว่าเป็นเรื่องของการต่อสู้แย่งชิง  เป็นเรื่องของกิเลสตันหาซึ่งจะก่อให้เกิดทุกข์ซึ่งเป็นสิ่งที่ศาสนาพุทธสอนให้รู้จักวิธีการหลีกเลี่ยง  เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ  ศาสนาพุทธนั้นคนมักเชื่อกันว่าเป็นศาสนาที่สอนให้คนรู้จัก  “พอเพียง”  ในขณะที่คนเล่นหุ้นหรือนักลงทุนนั้น  ส่วนใหญ่หวังจะรวยอย่างรวดเร็ว  ดังนั้น  ถ้าจะพูดกันเรื่องการลงทุนแล้วเราก็ไม่ควรจะพูดถึงเรื่องธรรมะซึ่งเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเช่นนั้นหรือ?  คำตอบของผมก็คือ  ไม่ใช่  ผมคิดว่าหลักธรรมะนั้นสามารถนำมาใช้กับการลงทุนได้  มีประโยชน์  และที่จริงอาจจะไม่มีอะไรขัดกันเลย  ลองมาดูกัน

              ธรรมะสำหรับผมแล้ว  ผมยึดถือแนวทางของท่านพุทธทาสซึ่งสอนเรื่องธรรมะในแนวทางที่  “เป็นวิทยาศาสตร์” มากกว่าใคร ๆ   ว่าที่จริงท่านบอกว่าธรรมะนั้นก็คือ  “ธรรมชาติ” ซึ่งเป็นเรื่องที่มีเหตุผล  สิ่งต่าง ๆ  ในโลกนั้นสามารถอธิบายได้ด้วยกฎของธรรมชาติไม่มีใครสามารถที่จะฝืนมันได้  แต่ถ้าเรารู้ว่าอะไรคือธรรมชาติของสิ่งต่าง ๆ  เราก็จะสามารถปรับหรือทำตัวให้สอดคล้องกับมันและเราก็จะประสบความสำเร็จและพ้นจาก  “ทุกข์”  ได้  ตัวอย่างง่าย ๆ ที่อาจจะยกขึ้นมาพูดก็เช่น  น้ำนั้นโดยธรรมชาติแล้วจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ  ดังนั้นน้ำฝนจากภาคเหนือของไทยซึ่งเป็นที่สูงก็จะต้องไหลลงสู่ภาคกลางที่เป็นที่ต่ำและออกสู่ทะเลในที่สุด   แต่เนื่องจากปริมาณน้ำที่มีมากเมื่อสองปีก่อนประกอบกับทางน้ำหรือแม่น้ำมีไม่เพียงพอน้ำจึงท่วมอย่างรุนแรง  วิธีแก้ก็คือการกันน้ำบางส่วนไม่ให้ไหลมาเร็วเกินไป  อาจจะด้วยการสร้างเขื่อนเพิ่มหรือหาพื้นที่ “แก้มลิง” รับน้ำบางส่วนไม่ให้ไหลลงมา  นอกจากนั้นก็อาจจะต้องสร้างหรือขยายแม่น้ำหรือคลองที่จะให้น้ำไหลผ่านลงทะเลอย่างเร็วที่สุด  และนี่ก็คือการใช้ธรรมะในการทำงานแก้ปัญหาและ “ดับทุกข์”  ในกรณีแบบนี้การ  “สวดมนต์” แล้วไม่ทำอะไรจึงไม่ใช่เรื่องของ  “ธรรมะ”  แต่การทำโครงการอย่างที่กล่าวถึงคือการ  “ปฏิบัติธรรม”  อย่างแท้จริง

             ในเรื่องของการลงทุนหรือหุ้นนั้น  ผมคิดว่าเราต้องศึกษา “ธรรมะ” หรือธรรมชาติของหุ้นให้รู้แจ้งเสียก่อนว่าอะไรทำให้หุ้นมีราคาหรือมูลค่าเพิ่มขึ้น  อะไรทำให้บริษัทจ่ายปันผลเป็นเงินสดให้เรามากขึ้นซึ่งจะทำให้ผลตอบแทนของเรามากขึ้น   คำตอบก็คือ  ในระยะยาวแล้ว  หุ้นจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถ้าบริษัทมีผลประกอบการหรือกำไรเพิ่มขึ้นและเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  ซึ่งก็จะทำให้บริษัทสามารถจ่ายปันผลเพิ่มมากขึ้นตามกันไป  ผลก็คือ  ถ้าเราถือหุ้นหรือเป็นเจ้าของ  เราก็จะได้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว   ดังนั้น  ถ้าเราต้องการลงทุนและได้ผลตอบแทนที่ดีหรือเหมาะสม  วิธีก็คือ  เราต้องซื้อหุ้นของบริษัทที่จะมีผลประกอบการดีขึ้นเรื่อย ๆ  ในระยะยาว  แล้วเราก็ถือหุ้นตัวนั้นไว้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องสนใจเรื่องของดัชนีตลาดหรือราคาหุ้นในระยะสั้น  และนี่ก็คือการ  “ปฏิบัติธรรม”  ในเรื่องของการลงทุนในหุ้น

             ธรรมะหรือธรรมชาติของหุ้นในระยะสั้นนั้นดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องของ  “ความผันผวน”  นั่นคือหุ้นจะปรับตัวขึ้นลงซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยมากมายทั้งจากภายในบริษัทและนอกบริษัทอาทิเรื่องของ  ผลประกอบการ  เรื่องของเศรษฐกิจ  การเมือง และอื่น ๆ  ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ  ดังนั้น  การที่หุ้นจะขึ้นหรือลงในระยะสั้น ๆ  จึงบอกได้ยาก  จริงอยู่  บางคนอาจจะมีความสามารถมากกว่าคนอื่น  ดังนั้น  เขาอาจจะสามารถคาดการณ์ได้ถูกต้องมากกว่าผิด  และดังนั้น  เขาก็สามารถทำผลตอบแทนจากการลงทุนได้ดี  แบบนี้ก็อาจจะบอกว่าเขารู้ธรรมะของการลงทุนในระยะสั้นและปฏิบัติธรรมในการลงทุนได้เหมือนกัน  อย่างไรก็ตาม  ธรรมะของหุ้นในระยะสั้นนั้น  จากการพิสูจน์โดยทางสถิติที่เป็นวิทยาศาสตร์ก็ไม่ยั่งยืนเท่าไรนัก  นั่นคือ  อาจจะเป็นจริงเป็นบางช่วงบางเวลาและเปลี่ยนแปลงไปได้เร็วซึ่งทำให้ไม่คุ้มที่จะทำเมื่อคิดถึงค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหุ้นที่สูงเนื่องจากการซื้อขายบ่อย

              เรื่องที่สองของธรรมะที่พระพุทธเจ้าสอนก็คือ  การเดินสายกลาง   นี่คือหนทางที่ดีในการดำเนินชีวิต  ทางสายกลางนั้นแปลว่ามันไม่ใช่วิธีที่  “สุดโต่ง”  ทั้งด้านมากและน้อย   การทำอะไรมากเกินไปนั้นย่อมทำให้เกิดความเครียดและจะเป็นทุกข์ไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไร   ตรงกันข้าม  การทำอะไรที่ “หย่อน”  เกินไปนั้นก็ไม่ดีเช่นกัน  เนื่องจากมันจะทำให้ชีวิตเรา  “ไร้ความหมายหรือไร้คุณค่า”  ซึ่งก็จะทำให้เราเป็นทุกข์เช่นเดียวกัน  นอกจากนั้น  ผลที่ได้จากการใช้ชีวิตแบบนี้ก็อาจจะไม่เพียงพอในการที่จะทำให้เรามีชีวิตที่ดี   ถ้ามาประยุกต์กับการลงทุนในหุ้นแล้ว   ผมคิดว่าธรรมะของการลงทุนก็คือ  เราควร “เดินสายกลาง”  นั่นก็คือ  เราจะต้องออกแบบพอร์ตของเราให้เหมาะสมในแง่ที่ว่ามันจะไม่เสี่ยงเกินไปในขณะเดียวกันเราก็ต้องไม่กลัวจนเกินไปจนทำให้เราไม่กล้าลงทุนในหุ้นมากพอ    การลงทุนที่เสี่ยงเกินไปนั้น  แม้ว่าอาจจะทำให้เรารวยได้เร็ว  แต่ก็มีโอกาสที่จะทำให้เกิดหายนะ  แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร  ในระหว่างที่เราลงทุนอยู่นั้น เราอาจจะเกิดความเครียดได้บ่อย ๆ  ซึ่งนี่คือบ่อเกิดของทุกข์  เช่นเดียวกัน  การไม่กล้าเสี่ยงเลยก็จะทำให้เราได้ผลตอบแทนที่ต่ำมากและบางทีก็ติดลบเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่จะ “กินเงิน” ของเราตลอดเวลาอย่างไม่รู้ตัว  สุดท้ายมันก็เป็นความทุกข์เช่นเดียวกัน

              เป็นเรื่องยากที่จะบอกว่าแค่ไหนคือ  “สายกลาง” ของแต่ละคน  กฎง่าย ๆ  ของผมก็คือ  จะต้องเป็นพอร์ตที่เรารู้ถึงความเสี่ยงว่าในสถานการณ์ที่เลวร้ายเราจะเหลือเท่าไร  และเราถือแล้วสบายใจไม่มีความเครียดที่จะต้องคอยเฝ้าดูตลาดเกือบจะทุกวันหรือทุกชั่วโมง  โดยหลักการแล้วทางสายกลางในการลงทุนนั้นจะต้องมีการ  “กระจายความเสี่ยง” อย่างเหมาะสม  และโดยทั่วไป  การที่เราถือหุ้นน้อยตัวเกินไป  เช่นถือเพียง 2-3 ตัว  หรือใช้มาร์จินในการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ เช่น  มีมาร์จินถึง 30-40% ของพอร์ตก็ต้องถือว่าเราไม่เดินสายกลาง  เช่นเดียวกัน  การไม่ลงทุนในหุ้นเลยหรือลงทุนน้อยมากไม่ถึง 5-10%  แบบนี้ก็เรียกว่าไม่ปฏิบัติธรรมในการลงทุนเหมือนกันแม้ว่าเราจะรู้สึกสบายใจและไม่เครียด

               ประเด็นสุดท้ายในเรื่องของธรรมะที่ผมคิดว่านำมาใช้กับการลงทุนได้เป็นอย่างดีและต้องถือว่าเป็น  “คำสอนหลัก”  ของท่านพุทธทาสอีกเรื่องหนึ่งก็คือเรื่อง  “ตัวกู ของกู”  หรือการติดยึดว่าเราเป็นเจ้าของสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นวัตถุ  ความมั่งคั่ง  ชื่อเสียง  เราจึงทำทุกอย่างที่จะได้มันมา   เราเสียใจเมื่อต้องเสียมันไป  จิตใจของเราหมกมุ่นอยู่กับมันมากเกินไป  ประเด็นนี้ว่าที่จริงเกี่ยวเนื่องกับความโลภอยากได้ใคร่ดีจนสามารถที่จะทำสิ่งที่ผิดครรลองครองธรรม  ซึ่งในกรณีของการลงทุนก็อาจจะเกี่ยวกับการปั่นหุ้น  การชี้นำให้คนอื่นมาซื้อหุ้นที่ตนเองลงทุนโดยหวังที่จะขายหุ้นที่ตนเองถืออยู่ในราคาที่สูง  การปล่อยข่าวที่เป็นเท็จเกี่ยวกับหุ้นเพื่อที่จะสร้างราคาหุ้นให้ผิดไปจากความเป็นจริง  ต่าง ๆ  เหล่านี้ผมคิดว่าเป็นเรื่องของการที่ไม่มีธรรมะในการลงทุนซึ่งในที่สุดก็จะทำร้ายหรือทำลายตัวเอง
            การติดยึดเรื่อง  ตัวกู ของกู ยังอาจจะทำให้เราไม่สามารถควบคุมอารมณ์ในการซื้อขายหุ้นได้  เช่น  ในยามที่หุ้นขึ้นแรงเราอาจจะอยากขายทำกำไรเพื่อที่จะ “ยึดเม็ดเงิน” ไว้   เช่นเดียวกัน  ในยามที่หุ้นลงแรง  เราก็อาจจะกลัวว่าเงินจะหายจึงรีบขาย   นอกจากนั้น  ถ้าเราคิดว่าเงินจากหุ้นที่ถืออยู่นั้น  เป็น “ของกู”  การที่มันอาจจะหายหรือลดไปมากก็อาจจะทำให้เราเสียใจมาก  เช่นเดียวกัน  ในบางครั้งที่เงินในพอร์ตหุ้นโตขึ้นมาก  เราก็อาจจะดีใจเกินเหตุ  ลักษณะแบบนี้จะไม่ทำให้เรามีความสุขจากการลงทุนและผมเชื่อว่าทำให้การลงทุนของเราด้อยลงไป  ผมคิดว่าในการอยู่กับหุ้นระยะยาวหรือลงทุนระยะยาวนั้น  อย่าไปคิดว่าหุ้นเหล่านี้มันเป็น  “ของกู”  แม้ว่าในทางกฎหมายแล้วเราจะเป็นเจ้าของ  ถ้าทำได้แบบนี้  เราจะลงทุนหุ้นอย่างสบายใจ  ถ้าพอร์ตหรือหุ้นมันขึ้น  เราก็ดีใจ  ถ้ามันลง ก็ช่างมัน  มันไม่ใช่ “ของกู” ถ้าเราได้วิเคราะห์และพิจารณาไตร่ตรองดีแล้ว  What ever will be, will be.

Posted by nivate at 1:23 PM in โลกในมุมมองของ Value Investor 

ที่มา :
http://portal.settrade.com/blog/nivate/2013/04/09/1275



ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9017
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com


Wednesday, 24 April 2013

โชว์ห่วย


การพยายาม “เปลี่ยนภาพ” ร้านขายของจิปาถะหรือร้านสะดวกซื้อแบบดั้งเดิมที่เรียกกันว่าร้านโชว์ห่วยของกระทรวงพาณิชย์โดยการจัดร้านและปรับปรุงบริการใหม่และเปลี่ยนคำเรียกใหม่ว่าเป็นร้าน  “โชว์สวย”  นั้น  ผมคิดว่าคงไม่สามารถทำให้ร้านโชว์ห่วยซึ่งมีภาพของความเก่า  ล้าสมัย  และบริการไม่ดี  เปลี่ยนไปเป็นร้านที่ทันสมัย  บริการดี  และน่าเข้าไปใช้บริการได้  เหตุผลไม่ใช่เพราะว่าร้านเหล่านี้จะปรับปรุงตัวเองไม่ได้  แต่เพราะว่ามันไม่คุ้มที่จะทำเนื่องจากต้นทุนในการปรับปรุงร้านนั้นอาจจะสูงเกินไป  ระบบข้อมูลในการควบคุมสต็อกสินค้าและการเก็บเงินแพงเกินไป  ค่าจ้างพนักงานสูงเกินไป  และอื่น ๆ  อีกมาก  สิ่งต่าง ๆ  เหล่านี้สำหรับร้านค้าปลีกดั้งเดิมที่มักจะมีร้านเดียวและบริหารโดยเจ้าของและคนในครอบครัวไม่สามารถทำได้อย่างคุ้มค่าเปรียบเทียบกับร้านค้าปลีกสมัยใหม่ที่มีร้านค้าเป็นเครือข่ายนับร้อยหรือนับพันสาขา   ดังนั้น  โชว์ห่วยซึ่งคนไปแปลความหมายว่าเป็นร้านที่  “ห่วย”  จึงยังจะแย่ต่อไป   เพราะมันเป็นเรื่องของ  “โครงสร้าง”  ที่  “แก้ไม่ได้”  แต่ถ้าถามว่าแล้วในที่สุดจะ  “ตาย”  หรือหมดไปไหม  คำตอบก็คือ  มันก็คงไม่ล้มหายตายจากไปหมด  พวกเขาก็จะยังอยู่ได้ในแบบที่เหมาะสม  แต่ก็จะไม่ดีหรือรุ่งเรืองหรือเติบโตขึ้น

            ที่ผมเกริ่นเรื่องของร้านโชว์ห่วยนั้น  ที่จริงไม่ได้ตั้งใจที่จะพูดถึงร้านหรือธุรกิจสะดวกซื้อเลย   เพียงแต่อยากจะเชื่อมโยงถึงธุรกิจหรือบริษัทอื่น ๆ  ที่โดยธรรมชาติของมันจริง ๆ  แล้วก็ไม่ใช่ธุรกิจที่ดีเด่นอะไรเลยแม้ว่าบางบริษัทจะใหญ่โตเป็นกิจการระดับประเทศ  และถ้าจะพูดไปก็อาจจะเป็นกิจการที่  “ห่วย” เหมือนกันในแง่ที่ว่ามันมีกำไรน้อย  ผลประกอบการไม่แน่ไม่นอน  และอื่น ๆ  อีกหลายอย่าง  และนี่ก็เช่นเดียวกัน  มันไม่ใช่เรื่องที่เกิดจากผู้บริหารหรือเจ้าของไม่มีความสามารถ   แต่มันเป็นเรื่องของโครงสร้างที่  “แก้ไม่ได้”  และก็เช่นเดียวกัน  พวกเขาไม่ล้มหายตายจากไป  แต่ก็ยากที่จะเจริญรุ่งเรืองไปได้มาก ๆ   ถ้าเป็นหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์  โอกาสที่มูลค่าของหุ้นจะสูงเมื่อเทียบกับมูลค่าทางบัญชีในระยะยาวก็มักจะมีน้อย  ในทางวิชาการแล้วเราเรียกธุรกิจเหล่านี้ว่าบริษัทที่ผลิตและขายสินค้าที่เป็นโภคภัณฑ์   โดยที่วิธีสังเกตว่าบริษัทไหนจะเป็น “บริษัทโชว์ห่วย”  นั้น  เราอาจจะดูจากข้อมูลบางอย่างดังต่อไปนี้

            ข้อแรกก็คือ  บริษัทมีกำไรน้อยเมื่อเทียบกับยอดขาย  หรือ Profit Margin ต่ำ  สิ่งนี้เกิดขึ้นเนื่องจากกิจการขายสินค้าที่เป็นโภคภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติเหมือนกับสินค้าของคู่แข่ง  ดังนั้น  การแข่งขันจึงต้องอาศัยราคาเป็นหลักทำให้ราคาสินค้าลดลงจนเหลือกำไรที่ต่ำที่สุดที่ธุรกิจจะยังอยู่ได้  คำว่าต่ำนั้นโดยทั่วไปผมมองอยู่ที่กำไรต่อยอดขายที่ต่ำกว่า 5%  และนี่คือตัวเลขตัวแรก  แต่ก็ยังไม่ใช่เงื่อนไขว่าทุกบริษัทที่มีมาร์จินต่ำกว่า 5% จะต้อง “โชว์ห่วย” เสมอไป  ต้องดูอย่างอื่นประกอบด้วย

            ข้อสองคือ  กำไรในระยะยาวเช่นตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปถ้ามองย้อนหลังก็จะพบว่ามีความไม่แน่นอนค่อนข้างสูง  บางปีกำไรดีมาก  แต่บางปีก็อาจจะขาดทุนหรือกำไรตกลงไปมาก  ส่วนใหญ่แล้วกำไรที่ขึ้น ๆ  ลง ๆ  มักจะมาจากราคาสินค้าที่ปรับตัวขึ้นลงตามอุปสงค์และอุปทานที่เปลี่ยนแปลงไปรวดเร็วในแต่ละปี  สำหรับผมแล้ว  ถ้ากำไรผันผวนมากในช่วงเวลาแค่ 5 ปีที่ผ่านมา  ผมก็มักจะหลีกเลี่ยงบริษัทเหล่านี้

           ตัวเลขอีกตัวหนึ่งที่สำคัญและเป็นตัวที่บอกว่ามันอาจจะเป็นกิจการที่  “โชว์ห่วย” ก็คือ  กำไรต่อส่วนของผู้ถือหุ้นที่ต่ำโดยเฉพาะที่ต่ำกว่า 10% เป็นส่วนใหญ่ในช่วง 5-10 ปี ที่ผ่านมา  เพราะนี่คือเหตุผลที่บริษัทหรือถ้าจะพูดให้ถูกต้องก็คือ  ผู้ถือหุ้นหรือเจ้าของไม่ควรลงทุนเนื่องจากมันไม่คุ้มที่จะเสี่ยงถ้าเอาเงินของตัวเองลงไปในบริษัทแล้วได้ผลตอบแทนไม่ถึง 10% ต่อปี

           ข้อสี่ก็คือ  ในการดูตัวเลขหลาย ๆ ปี เช่น 5 ปีย้อนหลัง  บางทีผมก็อาจจะดูตัวเลขกำไรโดยรวมด้วยว่า 5 ปีที่ผ่านมาบริษัทมีกำไรรวมกันเท่าไร  ซึ่งบางครั้งก็พบว่าในบางปีบริษัทขาดทุนอย่างหนักจนทำให้กำไรรวมในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานั้นมีน้อยมากแม้ว่ากำไรในปีหลัง ๆ  จะดูน่าประทับใจ  แบบนี้ผมก็จะต้องระวังเป็นพิเศษเหมือนกันว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร  ถ้ามันเป็นเรื่องของธุรกิจหลักมันก็อาจจะเป็นตัวบอกเหมือนกันว่านี่เป็นสัญญาณของกิจการ  “โชว์ห่วย” ที่กำไร 4 ปี ต้องหมดไปกับการขาดทุนเพียงปีเดียว

            ข้อห้าเป็นเรื่องเชิงคุณภาพที่จะบอกว่ามันเป็นกิจการที่แย่หรือไม่ก็คือ  จำนวนผู้ผลิตหรือคู่แข่งในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูงที่เข้ามาแข่งขันในตลาดเดียวกัน  นี่อาจจะรวมถึงคู่แข่งหรือสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศด้วย  ถ้าดูแล้วคู่แข่งมีเต็มไปหมด  แบบนี้ก็ต้องสงสัยว่ามันจะเป็นกิจการในกลุ่ม  “โชว์ห่วย”  ที่อาจจะทำกำไรได้ยาก

            ข้อหก  ลองคิดดูว่าสินค้าที่บริษัทขายนั้น  คนซื้อจะมีความภักดีต่อยี่ห้อมากน้อยแค่ไหน  หรือคนสนใจในเรื่องของโปรโมชั่นหรือราคามากกว่า  ถ้าเป็นอย่างหลัง  โอกาสก็คือบริษัทเป็นผู้ผลิตหรือขายสินค้า  “โชว์ห่วย”  ที่มักจะไม่สามารถทำกำไรที่ดีกว่าปกติได้

            ข้อเจ็ด  ในบางครั้งบริษัท  “โชว์ห่วย”  อาจจะมีข้อมูลดีมากติดต่อกันอาจจะถึง 4-5 ปี จนทำให้เราเข้าใจผิดว่าเป็นบริษัท  “โชว์สวย”  ที่จริงบริษัทเหล่านี้อาจจะดียิ่งกว่าบริษัทที่ดีเยี่ยมด้วยซ้ำเนื่องจากตัวเลขทุกตัวเติบโตขึ้นแรงต่อเนื่องกันหลายปี  แต่ข้อมูลทางด้านคุณภาพบอกว่ามันน่าจะเป็นบริษัท “โชว์ห่วย”  เหตุผลที่ตัวเลขดีติดต่อกันหลายปีนั้นอาจจะเกิดจากสถานการณ์ผิดปกติบางอย่างเช่น  เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านของอุปสงค์-อุปทาน อย่างที่ไม่มีคนคาดคิดมาก่อนและการปรับตัวของกำลังการผลิตทำไม่ได้เร็วพอ  ดังนั้น  ราคาสินค้าอาจจะเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องยาวนานหลายปีทำให้บริษัทมีกำไรอย่างน่าประทับใจจนคนเข้าใจคุณสมบัติของบริษัทผิดไป

               ข้อสุดท้ายคือกรณีที่ตัวเลขบางตัว  เช่น  กำไรต่อยอดขายอาจจะไม่สูง  เช่นเดียวกับกำไรต่อส่วนของผู้ถือหุ้นที่อาจจะปริ่ม ๆ  ที่ 10% ต้น ๆ    นอกจากนั้น  ตัวสินค้าที่ขายก็อาจจะดูเหมือนว่าเป็นสินค้าที่คนไม่ติดยึดยี่ห้อแต่เน้นราคามากกว่า  เช่นเดียวกัน  คู่แข่งที่มีศักยภาพก็มีอยู่มาก  ดูไปแล้วก็อาจจะบอกว่ามันน่าจะเป็น  “โชว์ห่วย”   อย่างไรก็ตาม  ตัวเลขกำไรมีความสม่ำเสมอปีแล้วปีเล่าและอาจจะมีแนวโน้มค่อย ๆ  เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน  ในกรณีแบบนี้เราอาจจะต้องดูลึกลงไปอีกหน่อยว่าบางทีบริษัทอาจจะมี  “Local Monopoly”  หรือมีพลังทางตลาดเนื่องจากสถานที่ตั้งของกิจการหรือร้านค้าที่ทำให้คู่แข่งไม่สามารถมาแข่งขันได้หรือเปล่า  เพราะในกรณีแบบนี้  ลูกค้าที่อยู่ในรัศมีการเดินทางอาจจะต้องการใช้บริการจากบริษัทมากกว่าจะเดินทางไปหาบริการจากคู่แข่ง  ผลก็คือ  การแข่งขันโดยใช้ราคาก็ไม่ถึงกับรุนแรงจนหากำไรไม่ได้
              การที่จะสรุปว่าหุ้นหรือกิจการตัวไหนน่าจะเป็น  “โชว์ห่วย” หรือตัวไหนน่าจะเป็น  “โชว์สวย”  นั้น  นอกจากการดูข้อมูลด้านตัวเลขและข้อมูลด้านคุณภาพดังที่กล่าวมาแล้ว  บางทีเราก็อาจจะต้องดูอย่างอื่น ๆ  ที่ผมนึกไม่ถึงหรือรายละเอียดที่ไม่สามารถเขียนได้หมด  จริงอยู่  กิจการหรือบริษัทหลาย ๆ  แห่งนั้นมี  “หลักฐาน” ทั้งที่เป็นตัวเลขและคุณสมบัติอย่างอื่นบอกว่ามันเป็น  “โชว์ห่วย”  แต่หลาย ๆ  บริษัทก็ไม่ชัด  และหลายบริษัทก็อาจจะเป็นข้อยกเว้นเนื่องจากเหตุผลพิเศษอย่างอื่นทำให้มันไม่ใช่  เมื่อได้ข้อสรุปชัดเจนแล้ว  เราก็สามารถตัดสินใจซื้อหรือขายหุ้นตัวนั้นได้โดยอิงอยู่กับคุณค่าที่ควรจะเป็นของมันนั่นก็คือ   หุ้น  “โชว์ห่วย” เราจะให้มูลค่าที่สูงมากไม่ได้  คิดจากค่า PE และเฉพาะอย่างยิ่ง PB ที่ต้องไม่สูง  มิฉะนั้นเราอาจจะเสียหายเมื่อในที่สุดตัวตนที่แท้จริงของกิจการปรากฏออกมา         

Posted by nivate at 11:04 AM in โลกในมุมมองของ Value Investor

ที่มา:
http://portal.settrade.com/blog/nivate/2013/04/24/1280


ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9017
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com


Wednesday, 29 April 2013

หุ้นที่(จะ)ใหญ่ที่สุดในตลาด


งานอดิเรกอย่างหนึ่งของผมก็คือ  ดูว่าบริษัทไหนในตลาดหุ้นของแต่ละประเทศมี  Market Cap. หรือมีมูลค่าตลาดของหุ้นใหญ่ที่สุด  และหลาย ๆ  ครั้งก็ดูบริษัทที่ใหญ่รอง ๆ  ลงมา   นอกจากนั้น  ผมก็ชอบที่จะดูว่าในอดีตนั้น  บริษัทไหนเคยเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดหรือใหญ่มาก ๆ  และเดี๋ยวนี้พวกเขายังใหญ่อยู่ไหม  เพราะข้อมูลนี้จะช่วยบอกถึง  “วิวัฒนาการ” ทางเศรษฐกิจและบริษัทจดทะเบียนหรือหุ้นว่าจะไปทางไหน  ถ้าจะพูดให้ตรงประเด็นก็คือ  ในอนาคตบริษัทไหนจะมีโอกาสเติบโตจนกลายเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดหรือใหญ่มากในตลาดหลักทรัพย์  และถ้าเรารู้  เราก็สามารถลงทุนซื้อและถือหุ้นตัวนั้นในระยะยาวได้  ลองเริ่มต้นจากตลาดสหรัฐซึ่งมีข้อมูลยาวนานและหาได้ง่ายดู

         ในปัจจุบันหุ้นที่ใหญ่ที่สุดในตลาดสหรัฐนั้นก็คือ  หุ้นของแอปเปิลคอมพิวเตอร์และหุ้นของบริษัทเอ็กซอนที่ผลิตน้ำมันที่สลับกันเป็นหมายเลขหนึ่ง  เอ็กซอนนั้นจริง ๆ  แล้วก็เคยเป็นหมายเลขหนึ่งมานานแล้ว  น่าจะหลายสิบปีมาแล้วและก็คงจะเป็นบริษัทหมายเลขหนึ่งในหลาย ๆ  ครั้งที่ราคาน้ำมันวิ่งขึ้นไปสูงหรือมีวิกฤติน้ำมันที่ทำให้บริษัทมีกำไรสูงมากและทำให้มูลค่าหุ้นสูงลิ่ว  ประเด็นก็คือ  พลังงานนั้นเป็นสิ่งที่คนทุกคนต้องบริโภคและมีการใช้จ่ายค่อนข้างมากมาตลอดน่าจะตั้งแต่เกือบร้อยปีก่อนที่เริ่มมีการใช้รถยนต์  ดังนั้น  ยอดขายของบริษัทน้ำมันจึงมีมูลค่าสูงมากตลอดมา  นอกจากนั้น  บริษัทที่จะผลิตน้ำมันเองก็ต้องมีขนาดใหญ่มากส่งผลให้มูลค่าหุ้นของบริษัทน้ำมันมีขนาดสูงลิ่วมาตลอด  ผลก็คือ  บริษัทน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอย่างเอ็กซอนจึงติดอันดับหนึ่งมาบ่อยครั้งและผมเชื่อว่ามากกว่าทุกบริษัท

          เมื่อโลกเปลี่ยนไป  คนอเมริกันร่ำรวยขึ้นมาก  พวกเขาเริ่มใช้จ่ายกับสินค้าไฮเท็คมากขึ้นเรื่อย ๆ  โดยเฉพาะที่เป็นผลิตภัณฑ์เคลื่อนที่ได้อย่างไอโฟนและไอแพด  หุ้นของแอปเปิลที่เป็นหมายเลขหนึ่งของอุตสาหกรรมจึงกลายเป็นหุ้นที่ใหญ่ที่สุดของอเมริกันและโลกได้ในช่วงเร็ว ๆ  นี้แม้ว่าเมื่อประมาณซักสิบกว่าปีที่ผ่านมามันยังเป็นเพียงบริษัทเล็ก ๆ  บริษัทหนึ่งในตลาดหุ้น

         ถ้าเรามองประวัติศาสตร์ของหุ้นหมายเลขหนึ่งย้อนหลังไปไกล ๆ   เราก็จะพบว่าหุ้นที่เป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดของตลาดหุ้นอเมริกานั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ  ตามยุคสมัยของเศรษฐกิจ  เมื่อสมัยที่คนอเมริกันเริ่ม “ขับรถยนต์”  กันทั้งประเทศ  หุ้นของเจนเนอรัลมอเตอร์หรือ GM ที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์หมายเลขหนึ่งของอเมริกาน่าจะเคยเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุด  แต่หลังจาก “ยุคทอง”  ของรถยนต์ผ่านไปเนื่องจากการแข่งขันจากรถยนต์ต่างประเทศ  หุ้น GM ก็ไม่เคยกลับมายิ่งใหญ่อีกเลย

         ยุคที่คนอเมริกันหันมาใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่ออำนวยความสะดวกในบ้านกันทุกบ้าน  หุ้นเจนเนอรัลอีเล็กทริกหรือ GE ก็น่าที่จะเคยเป็นหุ้นที่ใหญ่ที่สุดในตลาด   การใช้จ่ายเกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นอิ่มตัวไปนานแล้ว  GE  เองก็ตกอันดับไปนานแล้วแต่ปัจจุบันก็ยังคงใหญ่มาก  แต่นี่เป็นเพราะ GE ได้หันไปทำกิจการอย่างอื่นที่ยังทำรายได้มากและยังมีคนจ่ายเงินซื้อบริการมากพอสมควรเช่น  การทำเครื่องยนต์ของเครื่องบินและการทำธุรกิจการเงินที่มีขนาดใหญ่ทีเดียว   อย่างไรก็ตาม  โอกาสกลับมาเป็นที่หนึ่งนั้นน่าจะหมดไปแล้ว

         เมื่อเข้าสู่ยุคคอมพิวเตอร์  แน่นอน  IBM  ซึ่งเป็นหมายเลขหนึ่งนั้นก็น่าจะเคยเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุด  เพราะแทบทุกธุรกิจก็ต้องใช้คอมพิวเตอร์  แต่ต่อมาเมื่อคอมพิวเตอร์กลายเป็นสิ่งที่คนธรรมดาทุกคนต้องใช้  และการใช้นั้นต้องอาศัยซอฟท์แวร์  หุ้นของไมโครซอฟท์ซึ่งเป็นหมายเลขหนึ่งที่โดดเด่นครอบงำธุรกิจนี้จึงกลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าที่มากที่สุดในตลาดและในโลกทั้ง ๆ  ที่ก่อนหน้านั้นไม่กี่ปีบริษัทยังทำงานกันใน  “โรงรถ”

         ย้อนหลังไปซัก 15-20 ปีที่ผ่านมา  วอลมาร์ทซึ่งสามารถเอาชนะคู่แข่งที่เหนือกว่าในด้านของการค้าปลีกสมัยใหม่และเติบโตขึ้นมาเรื่อย ๆ  โดยอาศัยกลยุทธการ  “ขายถูกทุกวัน”  จนสามารถสร้างเครือข่ายที่มียอดขายมโหฬารสูงที่สุดในโลกและมากกว่าบริษัทน้ำมันที่มียอดขายสูงมากตลอดมา  ก็กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุด  แม้ว่าปัจจุบันมันตกอันดับไปแล้ว  แต่มูลค่าตลาดของวอลมาร์ทก็น่าจะยังสูงต่อไปเนื่องจากมูลค่าธุรกิจของโมเดิร์นเทรดเองนั้นก็จะยังสูงต่อไปตราบที่เศรษฐกิจยังขยายตัวเพราะทุกคนยังต้องกินต้องใช้ทุกวันและรูปแบบธุรกิจอื่นก็ยังไม่สามารถมาทดแทนได้

          สถาบันการเงินโดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์นั้น  ถ้ามองย้อนหลังไปในประวัติศาสตร์ก็จะพบว่ามันเป็นกิจการที่มีขนาดใหญ่มากและมีมูลค่าตลาดสูงมากและเป็นอันดับหนึ่งมาเป็นครั้งเป็นคราวแม้ว่าในระยะหลังโอกาสที่จะเป็นอันดับหนึ่งอีกคงจะน้อยลงไปมากแล้ว  เหตุผลก็ชัดเจนว่าคนมีเงินและต้องฝากธนาคารรวมถึงต้องมาใช้บริการของธนาคารพาณิชย์นั้นมีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  ตามความเจริญทางเศรษฐกิจที่ยังเพิ่มขึ้นอยู่  อย่างไรก็ตาม  สถาบันการเงินนั้นเป็นกิจการที่อันดับหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่งไม่ได้หมายความว่ามันจะรักษาอันดับของตนเองไว้ได้โดยเฉพาะเวลาที่เกิดวิกฤติขึ้น   ดังนั้น  เราก็จะเห็นว่าช่วงเวลาหนึ่งซิตี้แบงค์อาจจะเป็น “ราชันย์”  ต่อมาเราอาจจะเห็นแบงค์ออฟอเมริกาที่ยิ่งใหญ่

          กลับมาที่ตลาดหุ้นไทย   ผมลองนึกดูอย่างคร่าว ๆ  แล้วก็คิดว่าในช่วงแรก ๆ  ของการเปิดตลาดหลักทรัพย์  กิจการที่น่าจะมีมูลค่าตลาดสูงสุดน่าจะเป็นแบงค์อันดับหนึ่งของประเทศซึ่งก็คือธนาคารกรุงเทพในยุคนั้น  หุ้นแบงค์ยังน่าจะเคยใหญ่ที่สุดในตลาดมาเป็นครั้งเป็นคราวจนมาถึงยุคหลังที่ประเทศเจริญขึ้นและคนหันมาบริโภคสิ่งอื่น ๆ  โดยเฉพาะพลังงานมากขึ้นทำให้หุ้นของแบงค์ตกอันดับไปและอาจจะไม่มีโอกาสกลับมาใหญ่ที่สุดอีก   อย่างไรก็ตาม  กลุ่มแบงค์ก็น่าจะเป็นกิจการที่ใหญ่มากไปอีกนานเหมือนอย่างในตลาดหุ้นสหรัฐ

          เมื่อประเทศเข้าสูโหมดการพัฒนาเศรษฐกิจ  มีการสร้างสาธารณูปโภคและการสร้างที่อยู่อาศัยมากมาย  หุ้นที่เกี่ยวกับการก่อสร้างก็ย่อมมีโอกาสที่จะกลายเป็นหุ้นอันดับหนึ่ง  ดังนั้น  หุ้นของปูนใหญ่ซึ่งมีขนาดใหญ่ครอบงำอุตสาหกรรม  จึงน่าจะเคยเป็นหุ้นที่มีมูลค่าอันดับหนึ่งของประเทศในช่วงหนึ่ง  อย่างไรก็ตาม  เมื่อเศรษฐกิจไทยก้าวมาสู่ระดับที่ใกล้จะเป็นเศรษฐกิจที่  “พัฒนาแล้ว”  การใช้จ่ายทางด้านของการก่อสร้างก็น่าจะลดลงเมื่อเทียบกับการใช้จ่ายอย่างอื่น  ดังนั้น  โอกาสที่ธุรกิจในกลุ่มก่อสร้างจะกลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในตลาดอีกก็น่าจะยาก

           ธุรกิจพลังงานของไทยนั้น  เริ่มกลายเป็นบริษัทอันดับหนึ่งมาหลายปีแล้วโดยบริษัทปตท. ซึ่งครอบงำธุรกิจนี้สามารถรักษามูลค่าหุ้นเป็นอันดับหนึ่งอย่างที่ไม่มีใครแซงได้มานานหลายปี   อย่างไรก็ตาม  พลังของ “เศรษฐกิจใหม่” กำลังเข้ามาแทนที่  หุ้นที่อาจจะมีโอกาสกลายเป็นหุ้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศในเวลาไม่นานก็คือธุรกิจสื่อสารที่เป็นโมไบล์หรือมือถือและแน่นอนหุ้นที่ใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมก็คือหุ้นของ ADVANC ที่มีมูลค่าหุ้นใกล้เข้ามาทุกที
           มองไกลออกไปในอนาคต  การหาหุ้นที่จะมีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศหรือหุ้นที่จะมีขนาดใหญ่มาก ๆ นั้นคือ  “รางวัลอันสูงสุด”  สำหรับนักลงทุนระยะยาว  เพราะถ้าเรารู้หรือคาดการณ์ถูก  การลงทุนถือหุ้นตัวนั้นไว้จะให้ผลตอบแทนที่ดีมากโดยที่ไม่ต้องทำอะไรเลย  เพียงแต่ซื้อแล้วถือเก็บไว้  รอเวลาให้มันเติบโตไปเรื่อย ๆ

ที่มา:
http://portal.settrade.com/blog/nivate/2013/04/29/1282


ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9017
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com
TK

<a href="http://www.youtube.com/v/eSNylitN3MU" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube.com/v/eSNylitN3MU</a>

<a href="http://www.youtube.com/v/57KKn7keqZ0" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube.com/v/57KKn7keqZ0</a>


ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9017
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com



Tuesday, 7 May 2013
บทเรียนจากกรุงปร้าก


ช่วงสงกรานต์ผมได้ไปท่องเที่ยวสาธารณรัฐเชคโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรุงปร้ากที่เป็นเมืองหลวงของประเทศ  และเช่นเคย  นอกจากความบันเทิงหย่อนใจแล้ว  ผมก็มักจะ “วิเคราะห์”  ถึงประวัติศาสตร์  ความเป็นไป  สถานะปัจจุบัน  และคิดไปถึงอนาคตว่าประเทศหรือดินแดนที่ผมกำลังเดินอยู่นั้นจะเป็นอย่างไรต่อไป      แต่มันคงไม่มีความหมายมากนักหากผมจะไม่โยงมาว่าข้อมูลที่ผมได้จากการศึกษาเมืองปร้ากนั้นมันมีความหมายอะไรกับเมืองไทย  ลองมาดูกัน

            ข้อแรกที่ผมเห็นก็คือ  กรุงปร้ากนั้นดูเหมือนจะยังเป็นเมือง  “โบราณ”  เพราะอาคารบ้านเรือนและร้านค้าต่าง ๆ  นั้นส่วนใหญ่มากเป็นตึกเก่าที่อาจจะสร้างมาแล้วหลายร้อยปี  หรือบางแห่งอาจจะเป็นพันปี  ตึกเหล่านี้มีความสวยงามเต็มไปด้วยศิลปะแต่ที่สำคัญยังใช้งานอยู่ในปัจจุบัน  และก็แน่นอนว่าทุกอย่างภายในอาคารนั้นมีการปรับปรุงและใส่เครื่องมือและอุปกรณ์ของโลกสมัยใหม่ที่ทำให้มันทันสมัยและมีประสิทธิภาพในการอยู่อาศัยและทำงานในโลกสมัยใหม่  ข้อนี้ถ้าจะพูดไปก็มีความละม้ายคล้ายกับเมืองหลวงของหลายประเทศในยุโรปที่มีการอนุรักษ์อาคารและของเก่า ๆ  ไว้   ซึ่งผลพลอยได้ที่สำคัญก็คือ  ทำให้เมืองสวยและน่าท่องเที่ยว  ความแตกต่างของกรุงปร้ากเมื่อเทียบกับเมืองอื่น ๆ  ในยุโรปก็คือ  ปร้ากนั้นแทบไม่มีตึกสูงเลย  และบ้านเรือนที่อยู่อาศัยก็ไม่แออัด นี่ทำให้ปร้ากนั้นเป็นเมือง “สบาย ๆ”  ที่ดูผ่อนคลาย   เมืองอาจจะไม่มีอะไรที่  “ยิ่งใหญ่” ระดับโลก  แต่มันก็มีทุกอย่างครบ  ไล่ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ของโบฮีเมียนไปจนถึงการแสดงละครเวทีและโอเปร่าชั้นนำไปถึงพิพิธภัณฑ์ที่มีอยู่มากมายและสถานที่ช็อปปิงของที่ระลึกที่สวยงามน่าสนใจ  และนี่ทำให้การท่องเที่ยวน่าจะเป็นรายได้หลักอย่างหนึ่งของเชค

           สิ่งที่ทำให้ผมทึ่งอย่างหนึ่งเมื่อเดินตามสถานที่ท่องเที่ยวของปร้ากก็คือ  ร้านนวดแบบไทยซึ่งเสนอการนวดทุกประเภทเช่น  นวดแผนโบราณ  นวดน้ำมันหรือนวดฝ่าเท้า  โดยพนักงานที่ผมดูแล้วก็น่าจะเป็นคนไทยที่เดินทางไปจากเมืองไทยเป็นส่วนใหญ่  ราคาค่านวดนั้นถ้าใช้มาตรฐานของฝรั่งแล้วก็ถือว่าไม่แพง  ราคาเริ่มต้นอาจจะ 300-400 บาทไทย ไม่ต่างจากเมืองไทยมากนัก  เพียงแต่เวลาอาจจะสั้นกว่า  สิ่งที่ทำให้ผมทึ่งนั้นไม่ใช่ว่าเจอร้านนวดไทย  แต่ผมทึ่งเพราะมันมีค่อนข้างมากและเห็นทั่วไปหมด  ผมคิดว่าร้านนวดนั้นน่าจะเป็นเป็นธุรกิจที่ดีมากในเมืองท่องเที่ยวในแถบประเทศยุโรปที่มีอากาศหนาวเย็นที่คนเดินเที่ยวกันมากและจะรู้สึกเมื่อยอยากพักนวด  การที่มีร้านนวดแบบไทยที่นักท่องเที่ยว  “ทั่วโลก”  เห็นและคุ้นเคยนั้น  ผมคิดว่าเป็น  “ทรัพย์สิน” ที่ประเทศไทยควรใช้ให้เป็นประโยชน์  ผมมองไปว่าธุรกิจการนวดนั้นเราน่าจะทำให้มันเป็น  “ธุรกิจใหญ่”  ที่ไทยสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพในประเทศและสามารถส่งออกได้ทั่วโลกตามเมืองท่องเที่ยวสำคัญ ๆ    ผมเองยัง “ฝัน”ว่าน่าจะมีบริษัทที่มุ่งมั่นทำร้านนวดไทยให้เติบโตและสามารถนำเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นที่ผมจะซื้อหุ้นลงทุนได้ด้วย

            ข้อสังเกตเรื่องที่สองที่ทำให้ผมรู้สึกทึ่งก็คือ  ผมได้มีโอกาสใช้บริการคนขับรถของสถานทูตไทยในกรุงปร้าก  เขาเป็นคนหนุ่มอายุน่าจะซัก 30 เศษ ๆ ที่หน้าตาดีและการศึกษาก็น่าจะดีด้วย  ผมไม่รู้ว่ารายได้เขาเป็นอย่างไร  แต่ก็คงเดือนละหลายหมื่นบาทตามอัตราค่าแรงของคนขับรถในประเทศที่ “เจริญแล้ว” อย่างเชค  ผมทึ่งเพราะเขาสามารถพูดได้หลายภาษาซึ่งแน่นอนรวมถึงภาษาอังกฤษที่พูดได้คล่องแคล่ว  สามารถอำนวยความสะดวกต่าง ๆ  ที่จำเป็นสำหรับนักท่องเที่ยวหรืองานอื่น ๆ  ที่ “นาย” จะใช้  เช่น  จองตั๋วดูคอนเสิร์ต  แนะนำและพาไปแหล่งท่องเที่ยวหรือร้านอาหารที่น่าสนใจได้  ว่าที่จริงเขาคงทำได้อีกหลาย ๆ อย่างรวมถึงการ “รับแขก”  การแต่งตัวของเขานั้นดูดีเท่า ๆ  กับหรือดีกว่าเราที่เป็นแขกซะอีก   เมื่อได้คุยกันเขาบอกว่าเขาชอบเมืองไทยมากและมาพักผ่อนที่ประเทศไทยทุกปี ปีละครั้งโดยการเก็บเงินจากรายได้พิเศษเช่นค่าโอทีจากการขับรถ เป็นต้น   และนี่คือสิ่งที่ผม “ทึ่ง” ที่ว่าพนักงานขับรถของสถานทูตไทยในเชคนั้น  สามารถเที่ยวเมืองไทยได้ทุกปี  แต่พนักงานขับรถสถานทูตเชคในไทยนั้น  ผมเชื่อว่าไม่สามารถไปเที่ยวเชคได้  อย่าว่าแต่ทุกปีเลย

           ประเด็นก็คือ  ถ้าเราเชื่อว่างานอย่างเดียวกันน่าจะมีคุณค่าเท่ากันหรือใกล้เคียงกันไม่ว่าจะอยู่ในประเทศไหน  พนักงานขับรถไทยก็น่าจะสามารถไปเที่ยวต่างประเทศไกล ๆ ได้ซักปีละครั้งตามพนักงานขับรถเชค  แต่นี่ไม่ใช่  ดังนั้น  อาจจะแปลว่า  คนขับรถเชคมีหรือได้รับคุณค่าสูงเกินไป  หรือถ้าจะพูดแบบนักลงทุนก็เรียกว่า  Over Valued  หรือไม่ก็คนขับรถไทยได้รับคุณค่าหรือเงินรายได้น้อยเกินไป  หรือถ้าพูดแบบหุ้นก็คือ  Under Valued  แต่ก็อาจจะมีคนเถียงว่า  “คุณภาพ”  ของคนขับรถเชคนั้นสูงกว่าคนขับรถไทยมากเนื่องจากเหตุผลข้างต้นที่บอกว่าคนขับรถเชคนั้นสามารถทำอะไรต่าง ๆ ได้เหนือกว่าคนขับรถไทยมาก  ดังนั้น  “ราคา” ของคนขับรถเชคนั้นสมเหตุผลแล้วเช่นเดียวกับคนขับรถไทยที่ทำงานอย่างอื่นไม่ค่อยได้นอกจากขับรถ

           ในความรู้สึกของผมที่ต้องวิ่งหาคนขับรถที่บ้านในเมืองไทยอยู่เรื่อย ๆ  เพราะคนขับรถมักจะไม่อยู่นานเพราะเขาอยากไปขับแทกซี่หรือหางานอื่นทำ  แต่ในเวลาเดียวกัน  คนขับรถที่เชคนั้น  เมื่อได้งานแล้วก็มักจะต้อง  “เกาะไว้ให้แน่น” เพราะงานแบบนี้อาจจะหายากโดยเฉพาะในยามที่เศรษฐกิจกำลังตกต่ำลงเรื่อย ๆ   ผมคิดว่า  มองโดยเปรียบเทียบแล้ว  คนขับรถเชคน่าจะ Over Value กว่าคนขับรถไทย  และถ้าเป็นหุ้น  เราก็คงต้อง  Switch หรือขายหุ้นคนขับรถเชคและมาซื้อหุ้นคนขับรถไทย  เพราะในที่สุดแล้ว  ทุกอย่างก็ต้องวิ่งไปสู่  “พื้นฐาน” ความหมายก็คือ  ในอนาคต  คนขับรถเชคก็อาจจะมาเที่ยวเมืองไทยได้น้อยลง  อาจจะ 2 ปีครั้ง  ในขณะที่คนขับรถไทยอาจจะไปเที่ยวเชคได้ 3 ปีต่อครั้ง

           ที่ผมยกเรื่องคนขับรถมาพูดนั้น  เพื่อที่จะนำไปสู่ภาพใหญ่ที่ว่า  ไม่ว่าจะเป็นอาชีพอะไร  มันก็น่าจะมีความสัมพันธ์คล้าย ๆ  กันนั่นคือคนเชคก็อาจจะบริโภคได้น้อยลงเมื่อเทียบกับคนไทย  ถ้ามองจากตัวเลขก็คือ  เศรษฐกิจเชคจะโตช้ากว่าเศรษฐกิจไทยไปเรื่อย ๆ  ในระยะเวลาหนึ่ง  หรือไม่ก็ค่าเงินของเชคอาจจะปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเงินบาททำให้คนเชคมาเที่ยวเมืองไทยได้น้อยลงในขณะที่คนไทยไปเที่ยวเชคได้มากขึ้น  และสุดท้ายก็คือ  ประเทศไทยก็อาจจะกลายเป็น  “ประเทศพัฒนาแล้ว”  ใกล้เคียงกับเชคโดยที่รายได้หลักของไทยอาจจะมาจากอุตสาหกรรมที่หลากหลายรวมถึงการท่องเที่ยวและมีชื่อเสียงในด้านของการเป็นประเทศที่ให้บริการ  “นวด”  ที่โดดเด่นคล้าย ๆ กับอิตาลีที่มีเรื่องของแฟชั่นหรือฝรั่งเศสที่มีไวน์เป็นสินค้าที่โดดเด่น ในขณะที่เชคเองก็ยังคงโดดเด่นเรื่องการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบางอย่างเช่นเรื่องของ  นาโนเทคโนโลยีหรือการแพทย์บางด้าน เป็นต้น
           สุดท้ายที่ผมไม่ใคร่ได้เห็นในกรุงปร้ากก็คือ  เรื่องของข่าวและความเคลื่อนไหวของธุรกิจและตลาดหุ้น  ตามร้านหนังสือซึ่งผมมักจะต้องแวะเยี่ยมเยือนทุกเมืองที่ไปนั้น  หนังสือเกี่ยวกับธุรกิจและหุ้นดูเหมือนจะมีน้อย  ซึ่งนี่แตกต่างจากกรุงเทพที่เรามีหนังสือหุ้นออกใหม่หรือแม้แต่เก่าที่ได้รับความนิยมสูง  หรือแม้แต่ประเทศในเอเซียอย่างสิงคโปร์หรือมาเลเซียที่ผมไปก็มักจะพบว่าชั้นที่เกี่ยวกับธุรกิจและหุ้นจะมีหนังสือดังอยู่พอสมควร  และนี่ทำให้ผมสรุปว่า  เมืองไทยเรานั้น  ยังเป็นประเทศที่กำลังเติบโตคึกคักและยังน่าจะโตต่อไปพอสมควรและนี่ก็เอื้ออำนวยต่อการลงทุนโดยเฉพาะของชาว VI ทั้งหลาย

Posted by nivate at 9:40 AM in โลกในมุมมองของ Value Investor

ที่มา:
http://portal.settrade.com/blog/nivate/2013/05/07/1285
[/quote]


ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9017
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com


Monday, 13 May 2013
หาผู้ชนะ


ถ้าจะถามผมว่าหลักการเลือกหุ้นที่สั้นที่สุดของผมคืออะไร  คำตอบของผมมีแค่ 3 คำ  “หาผู้ชนะ”  ความหมายก็คือ  ในการที่จะเลือกหุ้นลงทุนนั้น  สิ่งที่ผมพิจารณามากที่สุดก็คือ  ผมอยากได้บริษัทที่จะเป็นผู้ชนะในการขายผลิตภัณฑ์เหนือคู่แข่งทั้งหมด  ยิ่งชนะมากก็ยิ่งดี  พูดง่าย ๆ  คนเลือกผลิตภัณฑ์ของเรามากกว่าคู่แข่งมาก  หรือคนเลือกที่จะเข้าร้านของเรามากกว่าร้านคู่แข่งมาก  ลูกค้าใช้ผลิตภัณฑ์หรือใช้บริการของเราด้วยความเต็มใจเนื่องจากสินค้าของเราดีกว่าและมีคุณค่ามากกว่าสำหรับเงินแต่ละบาทเมื่อเทียบกับคู่แข่ง   ผมต้องการลงทุนในบริษัทที่กำลังชนะ  บริษัทที่ชนะแล้วและจะชนะต่อไปอีกนาน  พูดแบบวิชาการหน่อยก็คือ  ผมชอบบริษัทที่มีการตลาดดีเยี่ยมและเหนือกว่าคู่แข่งมาก  ผมชอบบริษัทที่คู่แข่งไม่มีทาง  “ตามติด”  บริษัทของเราด้วยเหตุผลอะไรก็ตามรวมถึงเหตุผลที่ว่า  “มันไม่คุ้มที่จะทำ”  เนื่องจากยอดขายอาจจะไม่สูงพอ  ซึ่งทำให้บริษัทเราก็จะ “ทิ้งห่าง” เขาเพิ่มขึ้นไปอีก

           แน่นอนว่าผมคงไม่ได้ดูเฉพาะเรื่องของการขายหรือการตลาด  ผมยังอยากเห็นการผลิตหรือการให้บริการที่ดีเยี่ยมของบริษัทที่ผมอยากลงทุน  ถ้าเป็นการผลิตหรือเป็นสินค้า  ผมก็อยากจะดูว่ามาตรฐานของสินค้าดีแค่ไหนหรืออร่อยแค่ไหนหรือสะอาดพอไหมหีบห่อสวยงามและแข็งแรงพอหรือเปล่า  ถ้าเป็นธุรกิจบริการโดยเฉพาะที่ผมสามารถใช้บริการได้ผมก็อยากจะเห็นบริการที่รวดเร็วถูกต้องและพนักงานมีสีหน้ายิ้มแย้มและเต็มใจให้บริการ  ผมคิดว่าถ้าการตลาดดีเยี่ยมแต่การผลิตหรือให้บริการไม่ดี  ในอนาคตความนิยมของลูกค้าก็จะค่อย ๆ  ตกลงและคู่แข่งก็จะเข้ามาแทนที่บริษัทได้

          เรื่องของการเงินเองนั้น  ผมก็อยากจะเห็นบริษัทมีฐานะทางการเงินที่ดี  มีหนี้กู้ยืมน้อย ๆ หรือไม่มีเลย  ถ้าบริษัทมีเงินสดมากก็ยิ่งดีขึ้นไปอีก  บริษัทที่มีฐานะทางการเงินที่ดีนั้นผมคิดว่าจะสามารถทนทานต่อภาวะวิกฤติที่อาจจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ก็สามารถฉวยโอกาสในการซื้อหรือขยายกิจการที่จะเป็นประโยชน์ต่อบริษัท

          กระบวนการในการหาผู้ชนะนั้นเราจะต้องเริ่มต้นด้วยการดูว่าอะไรเป็นปัจจัยในการแข่งขันหรือการต่อสู้ของบริษัทกับคู่แข่ง  ซึ่งทำให้เราต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าใครคือคู่แข่งของบริษัทจริง ๆ  เพราะบ่อยครั้งเราอาจจะคิดผิดหรือมองไม่ครบก็ได้  ตัวอย่างเช่น  ร้านเครือข่ายสะดวกซื้อสมัยใหม่นั้น  คู่แข่งนอกจากจะเป็นเครือข่ายร้านสะดวกซื้อด้วยกันแล้ว   มันยังรวมถึงร้านโชว์ห่วยที่มีอยู่นับแสน ๆ รายทั่วประเทศ  นอกจากนั้น  ก็ยังมีคู่แข่งแบบอ้อม ๆ  ที่เป็นร้านแบบ “มินิมาร์ท”  ที่อาจจะขายอาหารสดด้วย    เมื่อพบคู่แข่งชัดเจนแล้ว  สิ่งที่จะต้องมองก็คือ  อะไรคือปัจจัยที่จะทำให้ชนะในการต่อสู้แข่งขัน?

          โดยทั่วไปแล้ว  สิ่งสำคัญที่จะทำให้ได้ชัยชนะนั้นก็คือตัวผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบโจทย์หรือแก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้มากกว่าหรือเป็นสิ่งที่ลูกค้าชอบมากกว่า  แต่ในภาวะปัจจุบันที่การผลิตก้าวหน้าขึ้นไปมากการมีสินค้าที่เด่นกว่าคู่แข่งจริง ๆ ก็ทำได้ยาก  ปัจจัยที่สำคัญกว่าก็อาจจะเป็นเรื่องของการสร้างภาพพจน์ให้คนรู้สึกว่าอยากใช้หรือบริโภคสินค้าผ่านการโฆษณาอาจจะมีความสำคัญมากกว่า   นอกจากเรื่องของภาพพจน์แล้ว  การจัดจำหน่ายก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน  สินค้าที่มีช่องทางการขายมากกว่าหรือมีพื้นที่ในชั้นวางของของห้างร้านมากกว่าก็จะได้เปรียบและเป็นปัจจัยในการแข่งขันที่สำคัญ  ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ก็เป็นหน้าที่ที่เราจะต้องวิเคราะห์ให้ออกและลงความเห็นว่าใครจะเป็นผู้ชนะและใครจะเป็นผู้แพ้

          ในด้านของบริษัทหรือธุรกิจการบริการเองนั้น  ปัจจัยในการแข่งขันก็อาจจะแตกต่างออกไปจากธุรกิจของสินค้า   โดยหลักการก็คือ  บริษัทที่สามารถตอบโจทย์ของลูกค้าได้ดีที่สุดก็จะได้เปรียบและมีโอกาสเป็นผู้ชนะสูงกว่า  ตัวอย่างเช่น  ถ้าเป็นธุรกิจขายความสะดวกในการซื้อสินค้าเล็ก ๆ  น้อย ๆ  ซึ่งมักจะรวมถึงอาหารหรือน้ำดื่ม  บริษัทที่สามารถให้บริการได้ครบถ้วนและอยู่ใกล้กับลูกค้ามากที่สุดก็จะได้เปรียบในการแข่งขัน  หรือในกรณีของการขายสินค้าราคาถูก  บริษัทหรือร้านที่สามารถเสนอสินค้าที่มีราคาถูกและอยู่ไม่ไกลเกินไปก็จะมีโอกาสเป็นผู้ชนะ เป็นต้น

           ธุรกิจแต่ละอย่างอาจจะมีปัจจัยในการแข่งขันไม่เหมือนกัน  หน้าที่ของเราก็คือ  กำหนดให้ได้ว่าปัจจัยนั้นคืออะไร  เสร็จแล้วก็ดูว่าบริษัทที่กำลังแข่งขันกันอยู่นั้นใครมีทรัพยากรมากที่สุดและเขาได้ใช้ทรัพยากรนั้นในการแข่งขันมากน้อยแค่ไหน  กฎของการแข่งขันก็คือ  ใครมีทรัพยากรมากกว่าและทุ่มเข้าไปในจุดที่เป็น  “สนามรบ”  อย่างถูกต้องมีโอกาสที่จะชนะสูงกว่า   เราเองต้องคอยสังเกตประสิทธิผลของปัจจัยต่าง ๆ  ที่ถูกนำมาใช้   ถ้าเราเองเป็นคนใช้บริการอยู่ด้วยเป็นประจำเราก็อาจจะมีข้อมูลนี้  ถ้าเรารู้สึกพอใจมากกับสินค้าหรือบริการและก็เห็นถึงการตอบรับของลูกค้ารายอื่น ๆ  จำนวนมาก  แบบนี้ก็อาจจะเป็นตัวบอกว่าในที่สุดบริษัทนี้ก็น่าจะเป็นผู้ชนะ   ว่าที่จริงถ้าเราทำไปเรื่อย ๆ   จนชำนาญ  ถึงวันหนึ่งเราก็จะสามารถบอกได้จาก  “ความรู้สึก” ว่า  บริษัทไหนหรือสินค้าไหนจะเป็นผู้ชนะ

           ผมเองตั้งแต่กลายเป็นนักลงทุนแบบ VI  ที่เน้นการลงทุนในบริษัทที่เป็นผู้ชนะและเป็นบริษัทที่  ยิ่งใหญ่แนวซุปเปอร์สต็อกนั้น  ผมก็ได้สร้างนิสัยส่วนตัวที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งก็คือ  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรในสังคม  เศรษฐกิจ  การเมือง  และหุ้น  ผมมักจะต้องวิเคราะห์ถึงการแข่งขันหรือ  “สงคราม”  ผมจะดูว่าในแต่ละเรื่องใครกำลัง “แข่งขัน” หรือ  “รบ”  กับใคร  ปัจจัยอะไรเป็นตัวที่จะชี้ขาดว่าใครจะชนะ  และที่สำคัญ  ทรัพยากรของใครมีมากกว่าและเขาใช้มันถูกต้องหรือไม่  เสร็จแล้วผมก็  “ลงความเห็น”  ว่าใครน่าจะชนะ  ทั้งหมดนี้  ผมต้องศึกษาประวัติศาสตร์ในแต่ละเรื่องด้วยว่า  ประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในที่อื่น  โดยเฉพาะในต่างประเทศมันเป็นอย่างไร   เพราะประวัติศาสตร์นั้นมันมีพลังสูงมาก  มันบอกว่าแนวโน้มในอนาคตของบ้านเราจะเป็นอย่างไร

          นิสัยการ “หาผู้ชนะ”  ของผมนั้นมากขึ้นเรื่อย ๆ  ผมรู้สึกสนุกกับการทำนายว่า  ใครจะชนะ?  ไม่ใช่เฉพาะแต่เรื่องธุรกิจหรือหุ้น  ผมดูทุกอย่างตั้งแต่การเมืองว่าพรรคไหนหรือกลุ่มไหนจะชนะ   เรื่องของสถานศึกษาว่าโรงเรียนไหนหรือมหาวิทยาลัยไหนจะโดดเด่นขึ้นและแห่งไหนจะตกต่ำลง  บางทีก็มองไปถึงเรื่องของประเทศต่าง ๆ  ในโลกว่าประเทศไหนจะรุ่งเรืองประเทศไหนจะค่อย ๆ  ดับลง    ไล่ไปจนถึงว่าดาราคนไหนของไทยจะดังมากกว่าคนอื่นและดังในด้านไหนเช่น เป็น  ดาราที่โดดเด่นในด้านของการเป็น ดาราเซ็กซี่หรือเป็นแบบไทย ๆ  หรือเป็นแบบน่ารักแบบวัยรุ่น  ต่าง ๆ  เหล่านี้  ถ้าจะถามว่ามีประโยชน์อะไรกับการลงทุนโดยเฉพาะในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับหุ้นโดยตรง  คำตอบของผมก็คือ  หลาย ๆ  เรื่องคงไม่เกี่ยวแต่ผมก็อดไม่ได้ที่จะคิดเพราะมันเป็นนิสัยที่ติดตัวไปแล้ว   อย่างไรก็ตาม  หลาย ๆ  เรื่องก็อาจจะเกี่ยวข้องในระดับภาพใหญ่ของการลงทุน   เช่น  ความก้าวหน้าของไทยจะเป็นอย่างไรในอนาคต?  นี่ก็เป็นเรื่องที่เราต้องคิดเพราะมันกระทบกับบริษัทที่เราลงทุนในระยะยาว  เช่นเดียวกับเรื่องของการเมืองการปกครองที่ก็สำคัญต่อความเจริญก้าวหน้าและความมั่นคงของประเทศและบริษัทที่เราลงทุนเช่นเดียวกัน
           เขียนจนเกือบถึงบรรทัดสุดท้ายแล้วก็ทำให้ผมนึกถึงคำพูดของ ชาร์ลี มังเกอร์ หุ้นส่วนสำคัญของบัฟเฟตต์ที่พูดว่า  ความรู้ในการลงทุนนั้นมาจากหลากหลายวิชา  เราต้องเอามาสอดประสานกันเพื่อที่จะได้เข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ  ที่จะนำไปสู่การลงทุนที่ดี  ผมเองคิดว่า  นี่คงเป็นสิ่งที่ชาร์ลีแนะนำ
Posted by nivate at 2:02 PM in โลกในมุมมองของ Value Investor

ที่มา:
http://portal.settrade.com/blog/nivate/2013/05/13/1289


ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9017
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com


Monday, 21 May 2013
Appreciate Thailand


คนไทยจำนวนไม่น้อยโดยเฉพาะที่เป็นคนร่ำรวยมีเงินทองในระดับเศรษฐีหรือคนที่เป็นคนชั้นกลางระดับสูงที่มีรายได้มากและกำลังสะสมความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  มักจะชอบวิจารณ์หรือบางทีถึงกับก่นด่าว่าประเทศไทยนั้นมีเรื่องที่  “แย่ ๆ” มากมายที่กำหนดหรือสร้างขึ้นโดย  “รัฐ”   นักการเมืองเองก็เอาแต่กอบโกยหาผลประโยชน์เข้าตัวเองหรือไม่ก็ใช้เงินที่ได้จากภาษีที่มาจากคนที่ทำงานมีรายได้สูงเอาไปแจกจ่ายให้กับฐานเสียงของตนเองซึ่งเป็นประชาชนที่มีรายได้ต่ำโดยไม่เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ  แต่ส่วนที่ “ดี ๆ”   ของประเทศไทยนั้นดูเหมือนว่าจะมาจาก “คนไทย”  และ “ขนบธรรมเนียม” ต่าง ๆ  ของคนไทยที่ทำให้ประเทศนี้  “น่าอยู่”  มากกว่าที่อื่นใดในโลก

           ผมเองคงไม่ไปถกเถียงในเรื่องของรายละเอียดต่าง ๆ  ของการทำงานของรัฐไทยว่าดีเลวอย่างไร  ว่าที่จริงผมเองก็เคยมีความคิดแบบนั้น  แต่หลังจากที่ผมกลายเป็นนักลงทุนเต็มตัวและกลายเป็นคนที่มีเงินมากอยู่เหมือนกันและเงินเหล่านี้ล้วนเกิดหรือถูกสร้างขึ้นในประเทศไทยโดยคนไทยโดยเฉพาะที่เป็นคนมีเงินน้อยและภายใต้กฎเกณฑ์ของคนส่วนใหญ่ของประเทศที่มีเงินน้อยเช่นกัน  ผมเริ่มจะรู้สึกว่าสิ่งที่ผมเคยคิดว่า “แย่ ๆ”  นั้นมันอาจจะไม่จริง  ตรงกันข้าม  ผมคิดว่าผม “โชคดี” ที่เกิดและทำงานหากินในประเทศไทย   ผมรู้สึกแบบที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า  “Appreciate ประเทศไทย”  นั่นคือ  ผมรู้สึกขอบคุณประเทศไทย  รู้สึกพึงพอใจที่ได้เป็นคนไทยและลงทุนในประเทศไทย  รู้สึกเห็นคุณค่าของประเทศไทย  และผมคิดว่าผมไม่ใช่คนเดียวที่คิดอย่างนั้น  เพราะผมมีเพื่อนหรือรู้ว่าชาวต่างชาติจำนวนมากที่เป็นคน  “มีสตางค์”  นั้น  ไม่ได้  “โชคดี”  อย่างเรา  พวกเขาถูก  “ลิดรอน” ความมั่งคั่งด้วยภาษีและการกระทำหรือนโยบายหลายอย่างที่ทำให้ความมั่งคั่งที่มาจากหยาดเหงื่อและแรงงานลดลงจนบางที “ไม่รู้จะทำอย่างไร”

           ตัวอย่างเช่นชาวเมริกันนั้น  ไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ที่ไหนและทำงานที่ไหนในโลก  พวกเขาจะต้องถูกรัฐเก็บภาษีอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยเลี่ยงไม่ได้  เพื่อนนักลงทุนชาวอเมริกันของผมที่ลงทุนในตลาดหุ้นไทยคนหนึ่งบอกกับผมว่าแต่ละปีเขาต้องเสียภาษีนับสิบล้านบาทให้กับรัฐบาลอเมริกันจากผลตอบแทนที่เขาได้จากการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทั้ง ๆ  ที่เขาไม่ได้ทำงานหรือมีรายได้ในอเมริกาเลย   ว่าที่จริงเขาแทบไม่ได้กลับอเมริกาเลยบางทีเป็นปี ๆ   สำหรับเขาในเวลานี้แล้ว  เมืองไทยคือบ้าน  เขามีความสุขในการใช้ชีวิตและลงทุนในตลาดหุ้นไทยและคงอยู่ไปเรื่อย ๆ ตลอดไป   ผมถามเขาว่าสรรพากรของอเมริกาจะรู้ได้อย่างไรว่าเรากำไรจากการซื้อ-ขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ไทย  เขาตอบว่า  ถ้าเขาโกงภาษีและถูกจับได้ก็ต้องติดคุก  ดังนั้นเขาไม่เสี่ยงแน่นอน  ผมถามต่อว่าทำไมไม่แปลงสัญชาติอย่างที่ดาราหรือคนดังที่มีรายได้มากอย่าง จิม โรเจอร์ นักลงทุนทำกรณีแปลงสัญชาติเป็นคนสิงคโปร์  เขาบอกว่าเขาก็ทำ  แต่การ “ยกเลิก” สัญชาติอเมริกันนั้น  คุณก็จะต้องจ่ายภาษีทั้งหมดที่คุณกำไรจากหุ้นแม้ว่าคุณจะไม่ได้ขายมัน   ซึ่งนั่นก็จะเป็นเงินมหาศาล  อาจจะเป็นร้อย ๆ ล้านบาท  เห็นหรือยังครับว่าการเป็นนักลงทุนส่วนบุคคลของคนอเมริกันนั้นมันยากเข็ญแค่ไหน?  โชคดีที่ผมไม่ใช่คนอเมริกัน!

           ถ้าคุณเป็นคนญี่ปุ่นและมีทรัพย์สินมาก  เวลาคุณตาย  รัฐก็จะเก็บภาษีจากทรัพย์มรดกของคุณอย่างหนัก  ดังนั้น  ความมั่งคั่งที่คุณสร้างขึ้นมาด้วยน้ำพักน้ำแรงตลอดชีวิตก็จะถูกรัฐเอาคืนไปเหลือถึงลูกหลานน้อยไปมาก   เช่นเดียวกัน  การมีทรัพย์สินที่มีมูลค่าตลาดสูงซึ่งรวมถึงบ้านที่เราใช้อยู่อาศัยนั้น  ทุกปีก็จะถูกเก็บภาษีทรัพย์สินที่หนักหนาสาหัส  นี่คือสิ่งที่เป็นในประเทศที่เจริญแล้วแทบจะทั่วโลก  ดังนั้น  แม้ว่าในบางครั้งคุณจะไม่ได้ทำอะไรกับทรัพย์สินที่มีค่าที่เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง  คุณก็จะถูกเก็บภาษีซึ่งยิ่งเวลานานไปความมั่งคั่งของคุณก็จะค่อย ๆ  ลดลงไปเรื่อย ๆ     ทั้งเรื่องภาษีมรดกและภาษีทรัพย์สินเป็นรายจ่ายหรือต้นทุนของความมั่งคั่งที่ในประเทศไทยยังไม่มี    ดังนั้น  สำหรับคนที่ร่ำรวยโดยเฉพาะที่มีที่ดินมากเขาควรจะต้อง  Appreciate ประเทศไทย

           ผมยังมีเพื่อนชาวต่างชาติที่ไปลงทุนในตลาดหุ้นเวียตนามในช่วงเร็ว ๆ นี้   เขาเล่าว่าหุ้นมีราคาถูกมาก PE ของบริษัทชั้นนำที่ดี ๆ  มีค่าไม่เกิน 10 เท่า  และเศรษฐกิจกำลังเติบโต  เขาทำกำไรจากหุ้นได้ไม่เลวนักแต่ปัญหาก็คือเรื่องของเงินเฟ้อและค่าเงินรวมถึงกฎระเบียบต่าง ๆ  ที่ยังค่อนข้างยุ่งยาก  ผลก็คือ  บางทีก็ขาดทุน   อย่างไรก็ตาม  เขาก็ยัง “เข้า-ออก”  ตลาดหุ้นเวียตนามเป็นระยะแบบนักเก็งกำไร   แต่ถ้ามองในฐานะของคนเวียตนามเองผมคิดว่าการเป็นคนมีเงิน  รวมถึงการเป็นนักลงทุนในตลาดหุ้นนั้น  คงจะไม่สะดวกสบายหรือให้ผลตอบแทนที่ดีนักเมื่อคำนึงถึงว่าดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อยังสูงลิ่วซึ่งทำลายค่าเงินตลอดเวลา   ค่าเงินด่องเองก็ไม่มีเสถียรภาพและลดค่าลงเรื่อย ๆ  ทำให้กำลังซื้อสินค้าจากต่างประเทศหรือการไปเที่ยวต่างประเทศของคนเวียตนามที่ “มีสตางค์” ลดต่ำลง  นอกจากนั้น  ถ้าเข้าใจไม่ผิด  การเป็นคนรวยในสังคมเวียตนามเองก็ยังเป็นสถานะที่ “ถูกเพ่งเล็ง” จากทางการหรือสังคมอยู่  ซึ่งทำให้ชีวิตคนรวยนั้นอาจจะไม่สดใสเท่ากับคนรวยของไทยที่มักจะเป็นที่นิยมชมชอบของคนในสังคม    ดังนั้น  คนที่มีฐานะดีควรที่จะ Appreciate ประเทศไทย

           ผู้บริหารชาวต่างชาติที่ถูกส่งมาจากบริษัทแม่ที่มาทำงานในกิจการของบริษัทที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยที่เรียกว่า Ex-Pat โดยเฉพาะที่เป็นคนญี่ปุ่นนั้น  ส่วนใหญ่แล้วจะมีความสุขมากที่ได้มาทำงานในไทย  เพราะชีวิตและมาตรฐานความเป็นอยู่ของพวกเขาจะดีและสูงขึ้นมาก   พวกเขามีรถหรูพร้อมคนขับรถ  มีแม่บ้านรับใช้  มีบ้านหรู  และมีสิ่งอื่น ๆ  อย่างกับ “ราชา”   ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาไม่มีในประเทศของตนเอง  ดังนั้น  เวลาที่ผู้บริหารชาวญี่ปุ่นได้รับการคัดเลือกให้มาทำงานในไทย  พวกเขาจะดีใจมาก  แต่ในวันที่พวกเขาถูกเรียกตัวกลับนั้น  บางคนบอกว่าพวกเขาแทบจะร้องไห้   การมีเงินนั้น  คุณสามารถซื้ออะไรหลาย ๆ  อย่างในประเทศไทยที่มีราคาถูกมากเทียบกับประเทศที่เจริญแล้วอีกหลายประเทศ  ตัวอย่างเช่นมันแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะจ้างแม่บ้านอยู่ดูแลรับใช้ในญี่ปุ่นแม้ว่าคุณจะมีเงินค่อนข้างมาก  ดังนั้น  เราควร  Appreciate ประเทศไทย

            ถ้าจะให้หรือจัดอันดับกันแล้ว  ผมคิดว่าประเทศไทยนั้น  น่าจะเป็นเมืองที่เป็น  “เพื่อน” กับคนที่ร่ำรวยหรือฐานะดีมีความมั่งคั่งสูงมากที่สุดแห่งหนึ่งมองจากด้านของระบบภาษี  กฎเกณฑ์ และสภาวะทางเศรษฐกิจ  รวมถึงขนบประเพณีวัฒนธรรม  ถ้าจะมีประเทศไหนที่โดดเด่นกว่าเมืองไทยชัดเจนนั้น  ผมคิดว่าน่าจะเป็นสิงคโปร์ที่เขามีการแก้ไขปรับปรุงระบบภาษีและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ  เพื่อให้ประเทศเป็นแหล่งดึงดูดคนมีเงินทั่วโลกเข้ามาเพื่อเพิ่มพลเมืองและสร้างประเทศให้มีความก้าวหน้าและมั่งคั่งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ    จุดอ่อนของไทยและของสิงคโปร์ในแง่ของการใช้ชีวิตนั้นน่าจะอยู่ที่เรื่องของภูมิอากาศที่ค่อนข้างร้อนตลอดปีซึ่งผมคิดว่ามีส่วนทำให้เกิดความหงุดหงิดได้ง่ายและทำให้กิจกรรมหลาย ๆ  อย่างนอกอาคารไม่รื่นรมย์
            ในฐานะของการเป็นคนไทยและเป็นนักลงทุนนั้น  ผมคิดว่าแม้ว่าเราจะมีปัญหาและความขัดแย้งมากมายในสังคม การเมือง และความคิดในเรื่องของการกำหนดกฎเกณฑ์ทางด้านกฎหมายและเรื่องอื่น ๆ  อีกมากมายจนหลาย ๆ  คนอาจจะรู้สึกว่าประเทศไทยนั้นมี  “ความเสี่ยงของประเทศ”  ค่อนข้างสูง  แต่ผมก็ยังคิดว่านับจนถึงวันนี้ประเทศไทยเองก็ยังไม่เคยที่จะหลุดเข้าไปอยู่ใน  “แดนสนธยา”  ที่นักลงทุนหรือคนที่สร้างความมั่งคั่งให้ตนเองซึ่งส่งเสริมให้ประเทศก้าวหน้าในแนวทางทุนนิยมไม่สามารถเติบโตอย่างมั่นคงได้  ผมเองก็ได้แต่หวังว่าประเทศไทยจะยังรักษาสถานะแบบนี้ได้ต่อไปได้อีกยาวนาน  และตราบใดที่มันยังเป็นแบบนั้น  ผมเองก็อยากจะบอกความรู้สึกของผมว่า  ผม  Appreciate ประเทศไทยอันเป็นที่รักที่ทำให้ผมมีวันที่ดี ๆ  เช่นในวันนี้ในฐานะของนักลงทุน

Posted by nivate at 10:39 AM in โลกในมุมมองของ Value Investor


ที่มา:
http://portal.settrade.com/blog/nivate/2013/05/21/1292



ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9017
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com



Monday, 27 May 2013
โรงเรียนสอนเปียโน




ภรรยาผมเป็นครูสอนเปียโนและก็ยึดอาชีพนี้มาตลอดตั้งเรียนจบมหาวิทยาลัยใหม่ ๆ   นับถึงวันนี้ก็ประมาณ 30 ปีแล้ว   ดังนั้นผมจึงรู้อะไรเกี่ยวกับการเรียนการสอนเปียโนอยู่บ้างแม้ว่าโดยส่วนตัวจะไม่มีความสามารถทางด้านดนตรีเลยไม่ว่าจะเป็นเปียโนหรือดนตรีอย่างอื่น  เหตุผลที่ผมไม่มีความสามารถหรือความรู้เกี่ยวกับดนตรีเลยส่วนหนึ่งก็คือ  ในช่วงวัยเด็กฐานะทางบ้านผมจนมากทำให้เราไม่สามารถที่จะซื้อเครื่องดนตรีไม่ว่าชนิดไหนมาเล่นได้  ดนตรีในสมัยนั้นยังถือว่าเป็น  “สิ่งฟุ่มเฟือย”  และเปียโนนั้นเป็น  “ราชา”  ของดนตรีที่หรูหราและฟุ่มเฟือยที่สุด   เพราะเครื่องเปียโนมีราคาแพงมาก  นอกจากนั้น  การเล่นเปียโนให้เป็นและเก่งนั้นต้องอาศัยการเรียนและการฝึกฝนอย่างหนักและนานมากแถมค่าเรียนก็แพงกว่าการเรียนดนตรีอย่างอื่น

          ในช่วงประมาณ 20 ปีที่ผ่านมาและเป็นช่วงที่ลูกผมยังเล็กอยู่นั้น  ผมจำได้ว่าเป็นช่วงที่การเรียนเปียโนเริ่มเป็นที่นิยมขึ้นมาก  ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะลูกของคนยุค “เบบี้บูม” ที่เป็นคน “เจน Y” เริ่มเกิด  พ่อแม่ของเด็กยุคนี้เริ่มจะมีฐานะดีขึ้นเนื่องจากการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทย  พวกเขามีลูกน้อยและอยาก  “สร้างลูกให้เป็นอัจฉริยะ”  หรือทำให้ลูกมีความสามารถและมีความ  “สุนทรี” กับ  “ศิลปะ” และพวกเขามีความเชื่อว่าดนตรีนั้นมีอิทธิพลอย่างสูงต่อพัฒนาการของเด็ก  ดังนั้น  การให้ลูกเรียนเปียโนจึงเป็นสิ่งที่คนทำกันมาก  บ้านไหนของคนที่มีรายได้ค่อนข้างสูงที่ลูกสาวไม่เรียนเปียโนนั้น   บางทีอาจจะถูกมองว่าเชยหรือไม่ค่อยทันสมัยไปเลย  และนั่นคือยุค “บูม” ของการเรียนการสอนเปียโน  โรงเรียนสอนดนตรีที่มีเปียโนเป็นคลาสใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นมาก  ครูเปียโนมีงานสอนเต็มเวลาไม่ต้องง้อโรงเรียนหรือนักเรียนเลย

            เวลาผ่านไปจนถึงช่วงเร็ว ๆ  นี้   สังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปมาก  วัฒนธรรม “ป็อบ”  เข้ามาแทนที่วัฒนธรรม  “รุ่นเก่า”  คน “รุ่นใหม่” ต้องการ  “ย่นระยะเวลาแห่งความสำเร็จ”  ในชีวิตให้เหลือสั้นที่สุด  ดังนั้นอะไรที่ทำได้เร็วใช้เวลาน้อยจึงเข้ามาแทนที่สิ่งที่ต้องใช้เวลามาก  คนรุ่นใหม่ไม่สามารถรอหรือต้องทุ่มเทความพยายามมากเกินไปในการที่จะ  “ประสบความสำเร็จในชีวิต”  ดังนั้น  การเรียนเปียโนจึงค่อย ๆ  จางหายไปในแวดวงคนรุ่นใหม่  และนี่ก็อาจจะรวมไปถึงกิจกรรมทางศิลปะที่ต้องใช้เวลามากในการฝึกฝนเช่น  การเต้นบัลเล่ต์ หรือกิจกรรมอื่น ๆ  ในทำนองเดียวกัน

           เด็กรุ่นใหม่เขาไปเรียนอะไรกัน?  ผมเองก็ไม่ทราบรายละเอียดมากนักแต่สิ่งหนึ่งที่ภรรยาผมบอกก็คือ  พวกเขาไปเรียนการร้องเพลงสมัยใหม่แบบที่ผู้เข้าแข่งขันประกวดแนว  AF หรือ อะแคเดมี อะวอร์ด ทำกัน  บางคนก็ไปเรียนการแสดงเผื่อว่าจะได้มีโอกาสเข้าไปแข่งขันหรือเข้าวงการบันเทิงในอนาคต  ดนตรีเองก็อาจเน้นไปในเครื่องดนตรีที่สอดคล้องกับดนตรีสมัยใหม่ที่สามารถโชว์ได้เช่นกีตาร์หรือกลองเป็นต้น  ส่วนเปียโนนั้น  ดูเหมือนว่านักเรียนจะค่อย ๆ  ลดลงเรื่อย ๆ  และโรงเรียนเองก็อาจจะไม่ทำกำไรอย่างที่เคยและอาจจะต้องลดขนาดลงเนื่องจากค่าเช่าพื้นที่ในห้างที่มีราคาเพิ่มขึ้นทุกปี  มองไปแล้วนี่คืออุตสาหกรรมที่กำลังค่อย ๆ  ตกต่ำลงอย่างไม่หวนกลับ

            ผมถามต่อว่าแล้วใครหรือกิจการอะไรจะมาแทนที่โรงเรียน  คำตอบก็คือ  น่าจะเป็น  “ร้านเสริมความงาม”  ซึ่งเห็นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ   เพราะเดี๋ยวนี้คนไปเสริมเติมแต่งร่างกายให้สวยงามขึ้นมาก  ถ้าอยู่ในแวดวงบันเทิงแล้วแทบจะทุกคนต้องทำ  คนธรรมดาเดี๋ยวนี้ก็ทำกันมากเพราะรู้สึกว่าทำแล้ว “เห็นผลทันที”  คนไม่รู้สึกว่าการทำศัลยกรรมหรือเติมสารต่าง ๆ  เข้าไปในร่างกายเป็นความเสี่ยงอะไรมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับความสวยงามที่จะได้รับแถมราคาก็สมเหตุผล   สถานเสริมความงามนั้นสามารถที่จะจ่ายค่าเช่าที่แพง ๆ  ได้ในขณะที่โรงเรียนสอบเปียโนนั้นรับไม่ไหว   เหตุผลหลักก็คือ  ธุรกิจเสริมความงามนั้นกำลังเป็นธุรกิจที่เติบโตมีคนเข้าเต็มร้านในขณะที่โรงเรียนสอนเปียโนนั้นเป็นธุรกิจที่กำลังตกต่ำนักเรียนน้อยลงเรื่อย ๆ

            ผมนึกต่อไปถึงเรื่องของโรงเรียนสอนหนังสือสายสามัญตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษา  แล้วก็ทำให้ผมเข้าใจว่าทำไม  “โรงเรียนติว” จึงเจริญรุ่งเรืองและอยู่ได้มายาวนานมากแถมทำกำไรได้เป็นกอบเป็นกำ  เหตุผลก็คือ  พวกเขาสอนเร็ว  มีเป้าหมายชัดเจนเพื่อให้สามารถทำข้อสอบได้ดีขึ้นทำคะแนนได้สูงขึ้นและสามารถสอบเข้าโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงมากขึ้น  นี่คือสิ่งที่ตรงกับความคิดของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการอะไรที่เร็วและได้ผลทันที  เขาไม่ต้องการอะไรที่อาจจะหนักแน่นและอาจจะมีประโยชน์มากกว่าหรือดีกว่าในอนาคตที่ยังมองไม่เห็น   การประสบความสำเร็จหรือมีชื่อเสียงตั้งแต่อายุยังน้อยของ  “ไอดอล” ที่พวกเขาเห็นจากสื่อสมัยใหม่ที่เปิดกว้างนั้น   ทำให้พวกเขาต่างก็ต้องการที่จะเดินทาง  “สายตรง”  พวกเขาคิดว่าการ “สร้างฐาน” ที่หนักแน่นนั้นอาจจะเสียเวลาเกินไป

            ที่เขียนมาซะยืดยาวนั้นหลายคนอาจจะตั้งคำถามว่ามันเกี่ยวอะไรกับการลงทุน  คำตอบของผมก็คือ  ผมกำลังจะอธิบายว่านี่คือการวิเคราะห์หุ้นหรือกิจการที่กำลังค่อย ๆ  ถดถอยลงอย่างต่อเนื่องและยาวนาน  มันกำลังตกต่ำลงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมและสภาวะแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยและในที่สุดธุรกิจก็อาจจะอยู่ไม่ได้  ในลักษณะแบบนี้โอกาสที่กิจการจะฟื้นตัวกลับมาอาจจะยากไม่เหมือนอุตสาหกรรมที่เป็นวัฏจักรที่ในที่สุดธุรกิจก็จะกลับมาดีได้อีก

            ถ้าลองมาดูธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ในช่วงเร็ว ๆ  นี้  ก็จะพบว่ามีธุรกิจหลายอย่างประสบกับปัญหายอดขายไม่เพิ่มและกำไรตกลงมาอย่างน่าใจหายทั้ง ๆ  ที่เคยเป็นกิจการที่รายได้เติบโตโดดเด่นรวมถึงกำไรที่โตต่อเนื่องเป็นหุ้นที่เป็นขวัญใจของนักลงทุนแบบ VI  แต่ในขณะนี้ต้องเผชิญกับคำถามสำคัญที่ว่าธุรกิจนั้นกำลังตกอยู่ในสภาวะที่จะตกต่ำลงยาวนานจนยากที่จะฟื้นตัวกลับมาหรือไม่  ตัวอย่างก็เช่น  ธุรกิจขายเครื่องและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ไม่อิงอยู่กับธุรกิจที่เกี่ยวข้องหรือใกล้เคียงอย่างอื่นเลยที่กำลังถูกแย่งชิงจากผู้ขายสมาร์ทโฟนและแทบเล็ตรวมถึงจากผู้ผลิตและผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือเองที่มาเปิดร้านแข่ง   อีกธุรกิจหนึ่งก็คือ  ธุรกิจร้านขายหนังสือที่เป็นเล่มมีหน้าร้านขนาดใหญ่ที่กำลังถูกแย่งลูกค้าโดยสื่ออิเล็คโทรนิกส์อื่น ๆ ที่มีประสิทธิภาพสูงและขายถูกกว่าทำให้คนอ่านหนังสือเล่มน้อยลงไปเรื่อย ๆ    หรือธุรกิจผลิตและขายถ่านหินที่กำลังถูกคุกคามจากก๊าซธรรมชาติและแหล่งพลังงานทดแทนอื่น ๆ  ที่สะอาดและบางทีราคาก็ถูกกว่าทำให้ปริมาณการใช้ถ่านหินไม่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับราคาที่อาจจะไม่ปรับตามราคาพลังงานอย่างอื่นเท่ากับที่เคยเป็นมา  ซึ่งอาจจะส่งผลให้ธุรกิจนี้ตกต่ำต่อเนื่องยาวนาน
            เป็นเรื่องยากที่จะบอกได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าธุรกิจไหนที่เราสงสัยจะกลายเป็นธุรกิจตะวันตกดินแน่นอนในช่วงต้น ๆ  ของยอดขายและกำไรที่ตกต่ำลง  ส่วนใหญ่แล้วเราจะรู้ชัดเจนก็ต่อเมื่อเวลามันผ่านไปยาวนานและยอดขายและกำไรมันลดลงไปมากจนกิจการแทบจะไปไม่ไหวแล้ว  ซึ่งถ้าถึงวันนั้น  ราคาหุ้นก็อาจจะตกไปมากจนทำให้การลงทุนกลายเป็นหายนะ  หน้าที่ของเราในฐานะนักลงทุนก็คือ  เราต้อง  “รู้สึกตัว”  ให้เร็วที่สุดว่าเกิดอะไรขึ้นกับอุตสาหกรรม?  มีการเปลี่ยนแปลงอะไรหรือที่ทำให้ยอดขายและผลประกอบการออกมาไม่เป็นไปตามคาด?  การได้ “สัมผัส” กับธุรกิจโดยตรงจะช่วยเราได้มาก

Posted by nivate at 10:48 AM in โลกในมุมมองของ Value Investor


ที่มา:
http://portal.settrade.com/blog/nivate/2013/05/27/1293




ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9017
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com



Monday, 3 June 2013
Economies of Scale



ในการวิเคราะห์หุ้นหรือเรื่องราวเกี่ยวกับเศรษฐกิจนั้น  ผมคิดว่าหลักการของ  Economies of Scale (EOS)  หรือ  “การประหยัดเนื่องมาจากขนาด” เป็นสิ่งที่สำคัญมาก  ว่าที่จริงสำหรับผมแล้ว  นี่เป็นแนวความคิดหรือหลักการที่ผมใช้มากที่สุด  เหตุผลก็เพราะว่าขนาดนั้นมักจะก่อให้เกิดความได้เปรียบที่ยั่งยืนมากกว่าเรื่องอื่น ๆ  รวมถึงเรื่องของยี่ห้อหรือคุณภาพหรือคุณสมบัติอื่น ๆ  อีกมาก   จริงอยู่กิจการหลายอย่างนั้นอิงอยู่กับเรื่องของยี่ห้ออย่างยิ่งยวดตัวอย่างเช่นสินค้าระดับหรูหราสุด ๆ  แบบ Super Luxury เช่นกระเป๋าหลุยส์วิตตอง แต่ถ้ามองกันให้ลึกลงไปก็จะพบว่ายังมีปัจจัยที่สำคัญทาบซ้อนอยู่นั่นก็คือความจริงที่ว่า  ในบรรดากระเป๋าที่อยู่ในกลุ่มหรูสุด ๆ  นั้น  หลุยส์วิตตองน่าจะเป็นรายใหญ่ที่สุดและน่าจะใหญ่กว่าเบอร์สองมาก  และนี่ก็ทำให้เกิด EOS  ซึ่งก็คือ  มันทำให้กระเป๋าหลุยส์วิตตองได้เปรียบคู่แข่งในแง่ที่มันสามารถมีรูปแบบที่หลากหลายกว่าคู่แข่งเพราะมันคุ้มที่จะทำ  มันทำให้หลุยส์วิตตองมีร้านค้ามากกว่าซึ่งทำให้ผู้คนเห็นมันทั่วโลกซึ่งเท่ากับเป็นการ  “โฆษณาสินค้า” ที่กว้างขวางกว่าคู่แข่ง  ซึ่งนี่ทำให้ยี่ห้อของหลุยส์วิตตองแข็งแกร่งขึ้นเรื่อย ๆ  หรือไม่ตกลงไป  ซึ่งก็เท่ากับว่ามันทำให้ความได้เปรียบทางด้านของยี่ห้อของหลุยส์วิตตองมีความยั่งยืน   EOS ยังทำให้การผลิตของหลุยส์วิตตองมีราคาต่อหน่วยต่ำกว่าคู่แข่งและทำให้บริษัทกำไรมากขึ้นเมื่อเทียบกับคู่แข่ง  กำไรนี้ทำให้กิจการมีเงินสดหรือฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งที่ทำให้สามารถต่อสู้กับการคุกคามต่าง ๆ  ได้ดีกว่าคู่แข่ง  นี่ช่วยรับประกันว่ากระเป๋าหลุยส์วิตตองไม่ถดถอยได้ง่าย ๆ

           ธุรกิจโทรศัพท์มือถือหรือผมอยากจะเรียกว่า  “คอมพิวเตอร์เคลื่อนที่” นั้น   ถ้ามองแบบผิวเผินก็จะดูเหมือนว่าแข่งขันกันด้วยเทคโนโลยีและแนวคิดของการใช้งานหรือการออกแบบไม่ได้แข่งกันที่ “ขนาด” ของกิจการ  แต่นี่เป็นเรื่องจริงหรือ?   ในช่วงหนึ่งที่โนเกียเป็น “ราชัน”  นั้น  ยอดขายของโนเกียน่าจะสูงมาก   อย่างไรก็ตาม  มันไม่น่าจะ “ชนะขาด”  หรือใหญ่กว่าคู่แข่งอันดับรองมากนัก  จุดด้อยก็คือ  ตลาดในประเทศอย่างฟินแลนด์นั้นเล็กนิดเดียวทำให้โนเกียต้องพึ่งตลาดต่างประเทศเกือบทั้งหมด  และนี่เป็นข้อเสียเปรียบที่สำคัญพอสมควรและทำให้แอปเปิลซึ่งในช่วงแรกโดดเด่นขึ้นมาด้วยเทคโนโลยีและแนวคิดก้าวขึ้นมาแทนที่อย่างรวดเร็วและกลายเป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่โตที่สุดในธุรกิจมือถือ  แต่ขนาดของแอปเปิลเองนั้น  เอาเข้าจริง ๆ  ก็ไม่ได้ทิ้งห่างจากรายที่รองลงมามากจนได้เปรียบชัดเจน  ว่าที่จริงซัมซุงนั้นน่าจะมียอดขายมากกว่าแอปเปิลด้วยซ้ำในขณะนี้   ผลก็คือ  แอปเปิลเองก็ไม่สามารถ  “ครอบงำ”  และได้เปรียบคู่แข่งอย่างยั่งยืนในธุรกิจเมื่อเปรียบเทียบกับหลุยส์วิตตอง  อย่างไรก็ตาม  การที่บริษัทแอปเปิลมีกำไรมากมายและเก็บเงินสดไว้  “มโหฬาร” ก็เป็นสิ่งที่การันตีว่าแอปเปิลคงไม่แพ้ง่าย ๆ  เพราะเงินเป็นอาวุธสำคัญในการแข่งขันทุกด้านรวมถึงเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ที่จะใช้ในการต่อกรกับคู่แข่ง

            ถ้าลองมองกว้างขึ้นมาในระดับของประเทศ  EOS เองก็มีส่วนสำคัญในการแข่งขันซึ่งจะส่งผลไปถึงการพัฒนาการทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ   มีการพูดกันในช่วงก่อนหน้านี้ว่าประเทศที่จะก้าวหน้าเร็วในช่วงต่อไปจนกลายเป็นพลังทางเศรษฐกิจสำคัญของโลกในอนาคตก็คือประเทศในกลุ่ม BRIC ซึ่งประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย  อินเดีย  และจีน  เหตุผลมีการพูดกันมากมายแต่ปัจจัยร่วมกันอย่างหนึ่งของทั้งสี่ประเทศก็คือ  มันคือประเทศที่มีคนมากที่สุดและมีปัจจัยในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างอื่นค่อนข้างพร้อม  ต่อมาก็มีการเพิ่มเติมขึ้นว่าประเทศอย่างอินโดนีเซียหรือไนจีเรียก็จะเจริญเติบโตเร็วและมีความสำคัญในระดับโลกมากขึ้น   เหตุผลก็คือ  นี่คือประเทศที่มีพลเมืองมากมายและจำนวนคนนับวันจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากอัตราการเกิดยังสูงลิ่วกว่าประเทศอื่นมาก

           การมีคนมากนั้นทำให้ประเทศพัฒนาเร็วได้อย่างไร?  ทำไมในสมัย 40-50 ปีก่อนประเทศที่มีคนมากจึงไม่เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ?  คำตอบของผมก็คือ  การพัฒนาทางเศรษฐกิจนั้นก็คือการพัฒนาหรือก่อตั้งธุรกิจเพื่อผลิตสินค้าหรือบริการขายให้คนอื่นที่มีเงินซื้อ   ดังนั้นมันต้องการความรู้หรือเทคโนโลยีในการผลิต  มันต้องการผู้ประกอบการที่มีเงินและมีความสามารถ  และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือมันต้องมีแรงงานมาผลิต   ในอดีตนั้น  ประเทศที่มีคนมากดังกล่าวนั้นอาจจะมีเทคโนโลยี  เงิน  และผู้ประกอบการไม่เพียงพอที่จะผลิตสินค้าที่มีคุณค่าที่ดีได้  นอกจากนั้น  คนที่มีเงินพอที่จะซื้อสินค้าเองที่มักเป็นคนในประเทศก็อาจจะมีอย่างจำกัด  ทำให้การพัฒนาทำได้ช้า   แต่ในยุคปัจจุบันที่เป็นโลกาภิวัฒน์ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่าง--ยกเว้นคน—สามารถเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนของประเทศโดยง่ายเพื่อที่จะหาผลตอบแทนที่สูงที่สุด  ปัจจัยการผลิตต่าง ๆ  เช่น  เทคโนโลยี   เงินและผู้ประกอบการทั่วโลกจึงวิ่งไปหาประเทศที่มีคนมาก  ไม่ใช่เพื่อที่จะหาแรงงานอย่างเดียว  แต่ยังหาตลาดของสินค้าและบริการต่าง ๆ  ด้วย  ดังนั้น  ประเทศที่มีคนมากจึงได้รับการลงทุนต่าง ๆ  มากมาย  ตัวอย่างเช่นจีนที่กลายเป็นแหล่งผลิตรถยนต์ที่ใหญ่โตที่สุด  เช่นเดียวกับอินโดนีเซียที่ในอนาคตก็จะผลิตรถยนต์ไม่น้อยทั้ง ๆ  ที่ประเทศยังไม่ก้าวหน้ามากนักแต่มันคุ้มค่าที่จะทำเนื่องจาก “ขนาด” ของตลาด

             การประหยัดเนื่องจากขนาดหรือ EOS นั้น  ในอดีตที่ผมเคยเรียนในมหาวิทยาลัยเมื่อหลายสิบปีก่อนนั้น  ภาพของมันมักจะอิงอยู่กับขนาดของโรงงานที่ผลิตสินค้าที่จับต้องได้  แนวความคิดหลักก็คือ  โรงงานที่ใหญ่กว่าจะมีต้นทุนต่อหน่วยต่ำกว่าโรงงานขนาดเล็ก  แต่เมื่อขนาดของโรงงานหรือกิจการใหญ่ถึงจุดหนึ่ง  การประหยัดเนื่องจากขนาดก็จะหมดไป  และถ้าทำให้ใหญ่ไปกว่านั้นอีก  บางทีต้นทุนกลับจะเพิ่มขึ้น   ดังนั้น  โรงงานในแต่ละอุตสาหกรรมจึงมีขนาดที่  “เหมาะสม”  โดยที่โรงงานขนาดที่เล็กเกินไปในที่สุดก็ค่อย ๆ  ต้องปิดตัวลง  คำว่าโรงงานใหญ่ได้เปรียบจึงมีความหมายน้อยลงไปมาก  แนวความคิดเรื่อง EOS ก็น่าจะลดความสำคัญลงไปมาก  อย่างไรก็ตาม  ในด้านของธุรกิจบริการนั้นผมคิดว่า EOS ยังมีความสำคัญและน่าจะสำคัญยิ่งขึ้นไปอีกเพราะธุรกิจบริการสมัยใหม่นั้นต้องอาศัยระบบไอทีและการตลาดในสัดส่วนที่มากขึ้นเรื่อย ๆ   ต้นทุนเหล่านี้จะต้องถูก  “กระจาย”  หรือจัดสรรให้กับลูกค้าแต่ละคนหรือยอดขายแต่ละบาทที่ทำได้   ดังนั้น  ยิ่งลูกค้าหรือยอดขายมาก  ต้นทุนของสินค้าหรือของบริษัทก็ถูกลง  กำไรของบริษัทก็มากขึ้น  หรือไม่กิจการก็สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันกับคู่แข่งขันที่มีขนาดเล็กกว่ามาก
             ประเด็นสุดท้ายก็คือ  EOS ของบริษัทนั้นจะแปลงเป็นกำไรและราคาหุ้นของบริษัทในตลาดได้มากน้อยแค่ไหน?  นี่เป็นสิ่งที่ไม่สามารถกำหนดเป็นการทั่วไปได้อย่างแน่นอน  แต่ละธุรกิจเองก็ไม่เหมือนกัน  ถ้าเป็นอุตสาหกรรมการผลิต  โอกาสก็เป็นไปได้ว่าขนาดอาจจะมีผลไม่มาก  โดยทั่วไปในธุรกิจบริการนั้น  ผมคิดว่ายิ่งธุรกิจมีขนาดใหญ่ขึ้น  ต้นทุนต่อหน่วยหรือผลดีที่จะได้รับก็มากขึ้น  บริษัทที่มีขนาดของธุรกิจที่ใหญ่พอนั้น   นอกจากจะมีต้นทุนต่ำลงแล้ว   พวกเขาก็สามารถมี  “ลูกเล่น”  ได้สารพัดทั้งทางด้านการตลาด  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่  การส่งเสริมการขาย  และการสร้างภาพพจน์ที่ดีในแง่ของการเป็นผู้นำ   จากการสังเกตของผมนั้น  กำไรของบริษัทที่มี  EOS ที่ดีมากเทียบกับคู่แข่งนั้นจะสูงกว่าบริษัทที่เป็นรองมาก  ส่วนราคาหุ้นหรือมองจากค่า  PE  ก็มักจะสูงกว่า  มูลค่าตลาดหรือ  Market Cap. ของหุ้นที่มีขนาดใหญ่กว่ามากนั้นมักจะสูงกว่าคู่แข่งระดับรองหลายเท่า   ดังนั้น  ในการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียนทุกครั้ง  การมองไปถึง  EOS  จึงเป็นสิ่งที่ควรต้องทำ

Posted by nivate at 9:59 AM in โลกในมุมมองของ Value Investor


ที่มา:
http://portal.settrade.com/blog/nivate/2013/06/03/1296




ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9017
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com


Monday, 10 June 2013
รู้เขา-รู้เรา เล่นหุ้นร้อยครั้งชนะเจ็ดสิบครั้ง

เรื่องของการลงทุนนั้นหลายคนจะพูดว่ามันเหมือนกับการรบ   ดังนั้น  กลยุทธ์และปรัชญาของสงครามสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการลงทุนหรือการเล่นหุ้นได้  และถ้าพูดถึงเรื่องนี้แล้วดูเหมือนว่ากฎแห่งการยุทธ์ที่โด่งดังที่ทุกคนคุ้นเคยที่สุดก็คือ  “รู้เขา-รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” ของซุนหวู่ ปราชญ์แห่งสงครามชาวจีน   ในฐานะที่ศึกษาเรื่องของประวัติศาสตร์และกลยุทธ์ของสงครามมาบ้างบวกกับการที่อยู่ในตลาดหุ้นและการลงทุนมานาน   ผมเองคิดว่ากฎแห่งสงครามข้อนี้ใช้ได้   แต่ถ้าจะพูดให้ตรงความเป็นจริงไม่พูดโอเวอร์เพื่อเน้นหลักการผมอยากจะปรับคำเป็นว่า  “รู้เขา-รู้เรา  เล่นหุ้นร้อยครั้ง  ชนะเจ็ดสิบครั้ง”  ในกรณีของการลงทุนหรือการเล่นหุ้นซึ่งไม่มีทางที่เราจะเล่นร้อยชนะร้อย   ว่าที่จริงผมคิดว่าซุนหวู่เองก็ไม่ได้คิดว่ารบร้อยครั้งต้องชนะร้อยครั้ง  โลกนี้มีเรื่องที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นเสมอไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสงครามหรือหุ้น

           คำว่า “รู้เขา” นั้น  ในเรื่องของหุ้นผมคิดว่ามีอยู่สองเรื่องนั่นก็คือ  เขาคนแรกก็คือ Mr. Market หรือ “นายตลาด”  ตามคำพูดของ เบน เกรแฮม ซึ่งก็คือนักลงทุนโดยรวมในตลาดหุ้นหรือพูดง่าย ๆ  ก็คือตลาดหุ้นนั่นเอง   เราจะต้องรู้ว่าตลาดหุ้นนั้นมี  “พฤติกรรม” หรือ  “กลยุทธ์ในการเล่นหุ้น”  อย่างไร   ถ้าเราเชื่อ เบน เกรแฮม  ตลาดหุ้นนั้นมักจะ  “คุ้มดี คุ้มร้าย”  อยู่เรื่อย ๆ  เอาแน่อะไรไม่ได้  บางทีในช่วงที่  “อารมณ์ดี” เป็นพิเศษ  พวกเขาก็แห่กันเข้ามาซื้อหุ้นให้ราคาหุ้นสูงลิ่วเกินกว่าพื้นฐานไปมาก  แต่ในบางช่วงที่เกิดอาการ “หดหู่” อย่างหนัก  พวกเขาก็เทขายหุ้นจนราคาต่ำกว่าพื้นฐานไปมาก  หน้าที่ของเราก็คือ  เราต้องรู้และฉกฉวยประโยชน์จากพฤติกรรมของพวกเขาแทนที่จะดีใจหรือตกใจและทำตาม

          แต่ถ้าเราเชื่อนักวิชาการตลาดหุ้น  พวกเขาก็จะบอกว่านักลงทุนหรือนักเล่นหุ้นในตลาดนั้นต่างก็มีเหตุผล  นั่นก็คือ  เขาจะซื้อหุ้นในราคาที่เหมาะกับพื้นฐานของมันเสมอเช่นเดียวกับคนที่ขายหุ้น  แน่นอน  ความเห็นหรือการวิเคราะห์ว่ามูลค่าพื้นฐานคือเท่าไรนั้นคนสองคนอาจจะมองไม่เหมือนกันและนั่นคือเหตุผลว่าทำไมจึงมีการซื้อและขายหุ้นเกิดขึ้น  อย่างไรก็ตาม  โดยเฉลี่ยแล้วความคิดของนักลงทุนเกี่ยวกับมูลค่าของหุ้นแต่ละตัวก็มักจะถูกต้องเช่นเดียวกับดัชนีตลาดหุ้นที่เป็นตัวแทนของหุ้นทั้งหมดที่จะสะท้อนพื้นฐานของตลาด  ส่วนการที่บางครั้งราคาหุ้นขึ้นไปสูงมากหรือตกต่ำลงมากนั้นเป็นเพราะว่าพื้นฐานของกิจการหรือภาวะทางการเงินเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรุนแรงทำให้นักลงทุนซื้อหรือขายหุ้นมาก  ไม่ใช่เรื่องที่นักลงทุนหรือนักเล่นหุ้นอารมณ์ดีหรืออารมณ์หดหู่แต่อย่างใด

           การรู้จัก “นายตลาด” หรือ “รู้เขา”  นั้น  จะช่วยให้เราตัดสินใจลงทุนหรือเล่นหุ้นได้ดีขึ้นแน่นอน  ประเด็นก็คือ  ถ้าเราสรุปว่าภาวะตลาดเป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดเดาได้  อาจจะเนื่องจากเพราะคนในตลาดหุ้นเป็นคนที่มีอารมณ์ “แปรปรวน”  ทำให้คาดเดายาก  หรือคนในตลาดอาจจะมีเหตุผลเป็นนักลงทุนที่มีข้อมูลและความสามารถวิเคราะห์สูงแต่เนื่องจากภาวการณ์แวดล้อมเช่นเรื่องของเศรษฐกิจ  การเงิน และตลาดการเงินระหว่างประเทศ มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วตลอดเวลา  ดังนั้น  การที่เราจะพยายามไปฉกฉวยประโยชน์จากภาวะตลาดจึงอาจจะไม่มีประโยชน์อะไร

             “เขา”  อีกคนหนึ่งที่เราจะต้องรู้ก็คือ  บริษัทจดทะเบียนหรือหุ้น  นี่คือเขาที่เราจะต้องรู้ก่อนที่จะเข้าไปลงทุน  สิ่งที่จะต้องรู้ก็คือ  เขาหรือบริษัทเป็นอย่างไร?  ทางหนึ่งที่จะใช้ในการเรียนรู้เขาก็คือ  การกำหนดหรือบอกให้ได้ว่าบริษัทอยู่ในหุ้นกลุ่มไหนใน 6 กลุ่ม ตามแนวทางของ ปีเตอร์ ลินช์ นั่นคือ  บริษัทเป็นกิจการที่โตช้า  โตเร็ว  วัฏจักร  แข็งแกร่ง ฟื้นตัว หรือมีทรัพย์สินมาก  ถ้าเรารู้  การลงทุนซื้อและขายหุ้นตัวนั้นก็ทำได้ง่าย  เพราะพวกเขาก็จะมีพฤติกรรมของราคาหรือการให้ผลตอบแทนที่พอจะคาดการณ์ได้  แต่การวิเคราะห์ว่าหุ้นแต่ละตัวควรจะเป็นกิจการประเภทไหนนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย  บ่อยครั้งเราก็เข้าใจผิดเนื่องจากเรายังศึกษาไม่ลึกพอ  เช่น  เราดูแต่ข้อมูลที่เป็นตัวเลขในระยะเวลาสั้นอาจจะเพียง 2-3 ปี แล้วก็สรุปโดยไม่ได้ดูปัจจัยทางคุณภาพซึ่งต้องใช้เหตุผลทางธุรกิจซึ่งประกอบไปด้วยการตลาด  การผลิต  การเงิน  การแข่งขัน  และอื่น ๆ  อีกมาก   หนทางที่จะเข้าใจหรือ “รู้เขา”  ในแง่ของตัวบริษัทนั้น  วิธีที่ดีก็คือ  หลังจากศึกษาข้อมูลด้านคุณภาพอย่างดีแล้ว   เราจะต้องศึกษาข้อมูลที่เป็นตัวเลขย้อนหลังให้ยาวที่สุดเพื่อที่จะยืนยันหรือพิสูจน์ว่าความคิดหรือการวิเคราะห์ทางด้านคุณภาพของเราถูกต้อง ตัวอย่างเช่น  ถ้าเป็นกิจการโตเร็ว  ข้อมูลยอดขายและกำไรควรที่จะมีแนวโน้มโตขึ้นทุกปีอย่างมั่นคงไม่มีปีไหนถดถอยเป็นต้น

            การ “รู้เรา”  นั้น  หมายความว่าต้องรู้ว่าเราเป็นคนที่มีแนวทางการลงทุนหรือเล่นหุ้นอย่างไร  วิธีการนั้นเป็นแนวทางที่ถูกต้องในแง่ของทฤษฎีและประวัติศาสตร์หรือไม่?  นอกจากนั้น  ในทุกครั้งที่ตัดสินใจซื้อหรือขายหุ้น  เรารู้หรือไม่ว่าเรากำลังทำอะไรหรือทำอย่างไรอยู่?   บางคนอาจจะคิดว่าการ  “รู้เรา”  นั้นไม่เห็นจะยาก  เราก็ต้องรู้อยู่แล้วว่าเราคิดหรือทำอะไรไม่ใช่หรือ?  ผมเองคิดว่าไม่ใช่!

           คนจำนวนมากรวมถึงคนที่เรียกตัวเองว่า  VI  คิดว่าเขาเป็น  “นักลงทุน”  ซึ่งเน้นลงทุนโดยอิงกับพื้นฐานหรือผลประกอบการระยะยาวของบริษัท   แต่สิ่งที่เขาทำมาตลอดนั้นก็คือการซื้อและขายหุ้นเปลี่ยนตัวอย่างรวดเร็วเป็นนิจสิน  ในกรณีแบบนี้  เราก็ควรจะต้องรู้ตัวหรือ  “รู้เรา”  ว่า  เราเป็น  “นักเก็งกำไร”  เพียงแต่เราอาศัยผลประกอบการที่อาจจะกำลังดีขึ้นมาเก็งกำไร

           การ “รู้เรา” อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญก็คือ  “อัตราความกล้าเสี่ยงของเรา”  ว่าอยู่ในระดับไหน?  นี่ก็เช่นเดียวกัน  อย่าบอกหรือคิดว่าเราเป็นคน  “อนุรักษ์นิยม”  เป็นคนที่เน้นความปลอดภัยสูงไม่ชอบเสี่ยงถ้าพฤติกรรมตามปกติของเรานั้นมันขัดแย้งกัน   ตัวอย่างเช่น  เรามักจะลงทุนในหุ้นน้อยตัวมากหุ้นเพียง 2-3 ตัวมีสัดส่วนเป็น 70-80%  ของพอร์ตขึ้นไปเกือบตลอดเวลา  แถมใช้มาร์จินหรือกู้เงินมาซื้อหุ้นอีกหลายสิบเปอร์เซ็นต์  แบบนี้จะบอกว่าเราเน้นความปลอดภัยไม่ได้   อย่างไรก็ตาม  การที่จะสามารถวิเคราะห์ได้อย่างปราศจากความลำเอียงนั้นบางทีก็เป็นเรื่องยากอยู่เหมือนกัน   เหตุก็เพราะคนเรามักมีความเชื่อมั่นตนเองสูง  ดังนั้น  เรามักไม่ยอมรับว่าพอร์ตของเรามีความเสี่ยงสูง  เรามักจะคิดว่า  “เรารู้ดี”  เรารู้ว่าที่เราทำอยู่นั้นสำหรับคนที่ไม่รู้จริงอาจจะเสี่ยง   แต่สำหรับเราแล้วเรารู้ว่าหุ้นตัวนั้นดีมากมี Margin of Safety สูง  และดังนั้นมันจึงไม่เสี่ยง

             การ “รู้เรา”  ประเด็นสุดท้ายก็คือ  ในเรื่องสถานการณ์เฉพาะจุด  นั่นก็คือ  ในบางช่วงหรือบางสถานการณ์ที่ “ผิดปกติ”  เราอาจจะทำอะไรบางอย่างที่  “ออกนอกกรอบ” พฤติกรรมหรือแนวความคิดที่ไม่ถูกต้องหรือไม่สอดคล้องกับปรัชญาหรือแนวทางของตนเอง  ตัวอย่างเช่น  ในยามที่หุ้นตกหนักมากและเราดูว่าหุ้นถูกและมีความปลอดภัยสูง  เราอาจจะใช้มาร์จินบางส่วนมาซื้อหุ้น   หรือเราอาจจะมีหุ้นบางตัวมากเกินไปในพอร์ต  กรณีแบบนี้เราต้องรู้ว่ามันอาจจะอันตราย  และดังนั้นในไม่ช้าเมื่อมีโอกาสเราก็ควรจะต้องปรับพอร์ตให้กับมาสู่สถานะปกติ เป็นต้น
             การ “รู้เรา”  นั้น  บ่อยครั้งเป็นเรื่องยากยิ่งกว่าการ  “รู้เขา”  เนื่องจากการมีความ  “ลำเอียง” ในเรื่องของการวิเคราะห์ตนเอง  แต่ถ้าเราจะประสบความสำเร็จในระยะยาวแล้วละก็  ผมคิดว่าเราจะต้องมีสติและรู้ตัวตลอดเวลา  เท็คนิคที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ  ในการลงทุนนั้นเราจะต้อง  “ถ่อมตัว”  อย่างจริงใจ  เตือนตัวเองว่า  เราอาจจะแพ้ได้เสมอ  อย่างที่จอร์จ โซรอส พูดว่า  “I am not invincible”   

Posted by nivate at 11:04 AM in โลกในมุมมองของ Value Investor


ที่มา:
http://portal.settrade.com/blog/nivate/2013/06/10/1299



ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9017
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com


Monday, 17 June 2013
เลือดนองตลาด



ช่วงประมาณ 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมานั้นดูเหมือนว่าตลาดหุ้นจะมีการปรับตัวลงมาแรงจนน่าตกใจ  ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ตกลงมาจากประมาณ  1640 กว่าจุดเหลือ 1465 จุดในวันที่ 14 มิถุนายน 2556 ซึ่งเป็นการตกลงมาเกือบ 200 จุดหรือลดลงประมาณ 10%    ในบางช่วงนั้น  บางวันหุ้นตกลงมาถึง 5%  และยังตกติดต่อกันอีกหลายเปอร์เซ็นต์ในวันต่อมาแม้ว่าจะมีการ “รีบาวด์”  เป็นระยะ ๆ  บางทีในวันเดียวกัน  เหตุผลที่หุ้นตกลงมานั้น  นักวิเคราะห์ต่างก็บอกว่าเป็นเรื่องของการที่สหรัฐอเมริกามีภาวะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นดังนั้นมาตรการ QE ซึ่งคอยอัดฉีดเงินเข้าระบบการเงินทุกเดือนอาจจะต้องลดลงซึ่งจะทำให้สภาพคล่องทางการเงินที่เคยไหลมาลงทุนในตลาดหุ้นเอเซียต้องถูกถอนกลับ  ผลก็คือ  นักลงทุนเทขายหุ้นและทำให้หุ้นตกลงมาอย่างหนักทั่วเอเซีย  ตัวเลขการขายหุ้นสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นของไทยก็ฟ้องว่ามีการขายหุ้นจริงคิดเป็นหลายหมื่นล้านบาทตั้งแต่ต้นปี   วันที่หุ้นตกอย่างหนักบางวันก็เห็นว่านักลงทุนต่างชาติขายสุทธิมากถึง 5-6 พันล้านบาท   ปรากฏการณ์หุ้นตกครั้งนี้ผมมีความคิดและข้อสังเกตหลาย ๆ  อย่างที่อยากจะพูด

          เรื่องแรกก็คือ  การตกของหุ้นในรอบนี้ที่ดูเหมือนว่าจะรุนแรงนั้น  ว่าที่จริงดัชนีหุ้นก็ยังสูงกว่าดัชนีเมื่อสิ้นปีที่ผ่านมาที่อยู่ที่ 1392 จุด  ดังนั้น  สำหรับคนที่  “มองยาว”  อย่างผมซึ่งมักจะดูดัชนีเป็นปี ๆ  แล้ว  ผมไม่ได้คิดว่าหุ้นตกอะไรเลย  เพราะเมื่อผ่านมาประมาณเกือบครึ่งปีของปีนี้หุ้นก็ยังขึ้นมาประมาณ 5%  เมื่อรวมกับปันผลประมาณเกือบ 3%  ผลตอบแทนจากการลงทุนหุ้นในตลาดหลักทรัพย์โดยรวมยังสูงถึง 8%  และถ้าเราคาดว่าหุ้นก็จะมีผลประกอบการแบบเดิมในครึ่งปีที่เหลือ   เราก็คูณด้วย 2  ก็จะได้ว่าหุ้นปีนี้อาจจะให้ผลตอบแทนถึง 16% ซึ่งเป็นอัตราผลตอบแทนที่ดีเลิศ  ดังนั้น  เราจะเสียอกเสียใจไปทำไมถ้าเราเป็นนักลงทุนระยะยาว?   คนที่จะกลุ้มใจและอาจจะเสียหายหนักน่าจะเป็นคนที่เพิ่งเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นในช่วงเร็ว ๆ   นี้ก่อนหุ้นจะตก   หรือไม่ก็เป็นคนที่ทุ่มเงินเข้ามาลงทุนมากในช่วงนี้   อย่างไรก็ตาม  คนที่มีหุ้นเต็มพอร์ตมาตลอดและถือหุ้นระยะยาวเองก็คงรู้สึกเศร้าอยู่เหมือนกันที่เห็นเงินในพอร์ต  “หาย”  หรือลดลงไปมากในช่วงเวลาสั้น ๆ   คำแนะนำหรือคำปลอบประโลมใจของผมก็คือ  นี่คือสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นถ้าเราอยู่ในตลาดหุ้นมานาน  วอเร็น บัฟเฟตต์ เองถึงกับบอกว่า   ถ้าคุณไม่สามารถมองเห็นพอร์ตหรือราคาหุ้นลดลงไปถึง 50% ได้  คุณก็ไม่ควรอยู่ในเกมของการลงทุน

          เรื่องที่สองก็คือ  การตกของหุ้นในรอบนี้เป็นสิ่งที่ผมเคยคาดไว้หรือไม่?   คำตอบก็คือ  ผมเองคิดไว้ตั้งแต่ปลายปีที่แล้วว่าปีนี้น่าจะเป็นปีที่หุ้นอาจจะไม่ดี  ว่าที่จริงผมเองคิดว่ามีโอกาสที่ผลตอบแทนของปีนี้จะ  “ติดลบ”  ด้วยซ้ำ  เหตุผลของผมก็คือ  ตลาดหุ้นไทยย้อนหลังไปถึงปี 2552 หรือ 4 ปีที่ผ่านมานั้นให้ผลตอบแทนที่  “สุดยอด” นั่นคือ  ปี 2552 หุ้นขึ้นมา 63%  ปี 53 หุ้นขึ้นอีก 41%  ส่วนปี 54 นั้น หุ้นนิ่งเท่ากับปี 53 หรืออาจจะเรียกว่า  “หยุดพัก”  หลังจากนั้นในปี 55  หุ้นก็เริ่มวิ่งใหม่  ขึ้นมาอีก 36%   จากดัชนีสิ้นปี 51 ที่ประมาณ 450 จุดขึ้นมาเป็น 1392 เมื่อสิ้นปี 55 หรือขึ้นมาสูงเป็นกว่า 3 เท่าในเวลา 4 ปี  ซึ่งเป็นสถิติที่ตลาดไทยไม่เคยเจอ  และถ้าปี 56 ตลาดหุ้นขึ้นมามากอีก  มันก็เป็นอะไรที่  “สุดโต่ง”  เมื่อเทียบกับสถิติ “ระยะยาว”  ของตลาดหุ้นไทยที่ผลตอบแทนประจำปีที่เป็นบวกต่อปีที่ผลตอบแทนเป็นลบนั้น  เป็นแค่ 60:40  และผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีเป็นแค่ประมาณ 10%   ดังนั้น  ความหวังของผมในตอนสิ้นปี 2555 ก็คือ  ดัชนีตลาดในปี 2556 จะไม่เป็นลบ  แต่การณ์กลับเป็นว่า  เพียง 3-4 เดือนของปี 2556 ตลาดก็ขึ้นไปแล้วเกือบ 20%  ซึ่งทำให้ผมคิดว่า  การ “ปรับตัว”  น่าจะเกิดขึ้นได้เสมอ  ก็ได้แต่หวังว่าผลตอบแทนเมื่อสิ้นปีนี้จะไม่เป็นลบ

          เรื่องต่อมาก็คือ  ผมได้ทำอะไรเมื่อหุ้นตกลงมาแรง?  คำตอบก็คือ  ผมไม่ได้ทำอะไรเลย  ว่าที่จริงในทุกครั้งที่หุ้นตกแรงไม่ว่าจะในปีไหนหรือตกจากสาเหตุอะไร  ผมไม่เคยที่จะขายหุ้น  ผมคิดว่าในยามที่คนกำลัง “ขวัญผวา”  และเทขายหุ้นเหมือนฟ้าจะถล่มนั้น  หุ้นย่อมจะต้องตกเกินความเป็นจริง  ดังนั้น  ถ้าเราขายหุ้นในวันนั้น  เราก็จะขายได้ต่ำกว่าความเป็นจริง  ผมคิดว่าถ้าเราคิดว่าพื้นฐานของกิจการเปลี่ยนจริง ๆ  เราก็รอขายในอีก 2- 3 วันที่คนหายตื่นตระหนกจะดีกว่า   ถ้าจะว่าไป  ในทุกครั้งที่เกิด “แพนิค”  หลังจากนั้นก็จะต้องมีการ  “รีบาวด์” ให้เราขายได้เสมอ  แต่ในกรณีที่พื้นฐานไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง  ผมก็ไม่ทำอะไร  บางทีถ้าหุ้นตัวที่เราสนใจตกลงมามากจนคุ้มค่า   ผมก็จะเข้าไปซื้อเท่าที่จะหาเงินมาได้

          เรื่องที่สี่ก็คือ  ในระดับดัชนีขณะนี้  มองไปข้างหน้าเราสามารถลงทุนระยะยาวโดยการเข้ามาซื้อหุ้นได้หรือไม่?   นี่เป็นคำถามที่ตอบยาก  ประเด็นก็คือ  ในภาวะที่หุ้นร้อนแรงมาก แม้ว่าจะปรับตัวลงมาบ้าง)  ผมเองคิดว่าหุ้นที่มีราคาถูกมาก ๆ  นั้นหาได้ค่อนข้างยากหรือไม่ก็เป็นหุ้นที่อาจจะถูกแต่ก็มีความเสี่ยงบางอย่างที่อาจจะสูงสำหรับผม   ดังนั้น  ถ้าผมยังไม่มีหุ้นอยู่เลยหรือมีหุ้นจำนวนน้อยและมีเงินสดเหลือมาก  ผมก็คงจะ  “รอ”  หรือไม่ก็เลือกหุ้นบางตัวที่มีความปลอดภัยสูงและก็คงไม่เข้าไปลงทุนมากมายอะไรนัก   ผมคิดว่ายังน่าจะมีเวลาที่หุ้นจะตกต่ำลงมากกว่านี้  หรือไม่เราก็อาจจะพบหุ้นบางตัวที่โดดเด่นขึ้นมาจนมีคุณค่าและเป็นหุ้นที่มี Margin of Safety สูงพอที่เราจะลงทุนได้อย่างสบายใจ  จำไว้ว่าเราไม่มีแรงกดดันอะไรที่จะต้องตัดสินใจในสิ่งที่เราไม่แน่ใจ  อย่าลืมว่า วอเร็น บัฟเฟตต์ เองนั้น  บ่อยครั้ง  นั่งทับเงินสดเป็นพัน ๆ ล้านเหรียญ เป็นปี ๆ
          คำถามสุดท้ายก็คือ  ถ้าเรามีหุ้นอยู่เต็มพอร์ต   เราควรทยอยขายออกไปไหมเพื่อ “ลดความเสี่ยง”  เหนือสิ่งอื่นใด  เราได้กำไรมามากแล้วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  ควรไหมที่เราจะ “ล็อก” กำไรหรือเม็ดเงินไว้  รอดูให้ทุกอย่าง “คลี่คลาย”  แล้วค่อยกลับมาลงทุนใหม่?   สำหรับคำถามนี้ผมเองยอมรับว่าตอบไม่ได้เหมือนกัน  จริงอยู่  ผมเองก็คิดว่าหุ้นในเวลานี้ไม่ถูกหรือบางทีอาจจะแพงด้วยซ้ำ  แต่ถ้าเราขายไปแล้วถือเงินสดหรือลงทุนในตราสารหนี้ก็ตาม  ผลตอบแทนที่ได้ก็จะต่ำมากอาจจะเพียง 2-3%  ในขณะที่การลงทุนในหุ้นนั้นอาจจะไม่ดี   แต่พอร์ตเราก็ยังอาจจะพอไปได้ให้ผลตอบแทนอาจจะ 4-5% แม้ว่าดัชนีตลาดอาจจะติดลบ  ในกรณีแบบนี้   การถือหุ้นไว้ก็ยังดีกว่า   และเมื่อตลาดเริ่มฟื้นตัว  พอร์ตของเราก็อาจจะเดินหน้าต่อไป  ดังนั้น  ดู ๆ  แล้ว  การที่จะขายหุ้นเพื่อถือเงินสดนั้น  อาจจะไม่ให้ประโยชน์อะไรและอาจจะทำให้พลาดอย่างแรงกรณีที่หุ้นไม่ได้ปรับลดดังคาด  และถ้าหากว่าหุ้นกลับขึ้นไปโดยที่เราไม่กล้ากลับเข้าไปในตลาดเร็วพอ  ความเสียหายก็จะเพิ่มทวีคูณ   ด้วยเหตุผลดังกล่าว  ผมจึงมักจะ “อดทน” ถือหุ้นไว้แม้ในใจจะหวั่นว่าหุ้นอาจจะปรับตัวลงหนักได้ตลอดเวลา       

Posted by nivate at 1:22 PM in โลกในมุมมองของ Value Investor

ที่มา:
http://portal.settrade.com/blog/nivate/2013/06/17/1303



ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9017
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com


Monday, 24 June 2013
สื่อสายฟ้าแลบกับการลงทุน

ตั้งแต่มีระบบอินเตอร์เน็ตที่ทรงประสิทธิภาพผ่านระบบโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์แบบพกพาได้แล้ว   ผมก็เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ  มากมายเกิดขึ้นในโลก  ในทางสังคมนั้น  เหตุการณ์อะไรที่เกิดขึ้นแล้วคน  “ประทับใจ” ก็จะเกิดการส่งต่อด้วยวิธีการต่าง ๆ  ผ่านระบบสื่อที่เป็นธุรกิจและ “สื่อสังคม” ทันทีราวกับ  “สายฟ้าแลบ”   ผลก็คือ  มันก็กลายเป็น  “Talk of the town”  หรือเรื่องที่คนพูดถึงและวิจารณ์กันอย่างกว้างขวางและส่งผลกระทบต่อไปเป็นทอด ๆ  บางเรื่องก็ทำให้คน  “ดังในชั่วข้ามคืน”  อย่างกรณีของนักร้องเกาหลีที่เต้นแบบ  “กังนัมสไตล์”  จนคนทั่วโลกคลั่งไคล้  ในทางตรงกันข้าม  มันก็อาจจะทำให้ธุรกิจหรือคนเกิดความเสียหายอย่างรุนแรงได้เช่นกัน

          ในทางการเมืองนั้น  เหตุการณ์  “อาหรับสปริง”  และการชุมนุมอีกหลายอย่างเช่น  “Occupy Wall Street” ที่คนประท้วง “ความโลภและความเลวร้าย” ของระบบตลาดทุนในสหรัฐนั้น  ก็เป็นผลจากระบบของ  “สื่อสังคมแบบสายฟ้าแลบ” ที่ทำให้คนออกมารวมตัวกันเพื่อต่อต้านสิ่งที่พวกเขาคิดเหมือนกันและมีความคิด  “รุนแรง” กับเรื่องดังกล่าว  โดยที่คนเหล่านี้อาจจะมีจิตวิทยาหรือความเชื่อของตนที่มีมานาน  หรืออาจจะเป็นคนที่ได้รับข้อมูลที่ถูกส่งมาจากคนที่มีความคิดและความเชื่ออย่างนั้นมาอย่างต่อเนื่องทำให้เขาคล้อยตามและเข้าร่วมชุมนุมด้วย  ผลก็คือ  ม็อบนั้นเกิดเร็วและแรงกว่าที่เคยเป็นมาในอดีตที่คนไม่สามารถส่งต่อหรือติดต่อความคิดและการนัดหมายกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          ในทางเศรษฐกิจและการเงินเองนั้น  ผลกระทบจาก  “ข้อมูลสายฟ้าแลบ” นั้น  ส่งผลให้ระบบการเงินที่เป็นตัวแทนของเศรษฐกิจจริงเกิดการปั่นป่วนรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ   มติการประชุมของธนาคารกลางของประเทศเศรษฐกิจชั้นนำเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกานั้นถูกส่งต่อทันทีไปทั่วโลก   คนที่มีอำนาจในการตัดสินใจทางเศรษฐกิจและการลงทุนแทบทุกประเทศต่างก็  “React” หรือตอบสนองโดยการปรับกลยุทธ์ทางด้านของอัตราดอกเบี้ย  อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน  และนโยบายในการจัดงบประมาณของประเทศ  ผลก็คือ  ในบางครั้งตลาดก็เกิดความปั่นป่วนเนื่องจากการ “เคลื่อนย้าย”  ของเม็ดเงินอย่างรวดเร็วอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

          ช่วงเร็ว ๆ  นี้  ตลาดหุ้นทั่วโลกเกิดความผันผวนรุนแรงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด  โดยเฉพาะตลาดหุ้นไทยนั้น  บางวันดัชนีตกลงไปกว่า 40 จุดหรือประมาณ 3% ในช่วงเช้า  แต่พอถึงตอนบ่ายดัชนีกลับปรับตัวขึ้นเป็นประมาณเท่าเดิมได้  เช่นเดียวกัน  ในบางวันนั้นดัชนีเริ่มจากการบวกมากมายแต่แล้วก็กลับเป็นลบมากมายได้ในเวลาอันสั้น  ความผันผวนนั้นกว่า 5% ภายในวันเดียว  สำหรับคนที่ซื้อขายระยะสั้น ๆ  นั้น  การขาดทุนหรือกำไรต่อวันนั้นสูงลิ่วแทบจะไม่เคยปรากฏมาก่อน  เหตุผลนั้นไม่ใช่เรื่องที่มาจากต่างประเทศเพียงอย่างเดียว  “สื่อสายฟ้าแลบ”  ที่เพิ่งพัฒนาขึ้นในเมืองไทยเพียง 2-3 ปีนี้มีผลต่อนักลงทุนมหาศาล   นักลงทุน   ว่าที่จริงก็เกือบทุกคนในสังคมของคนที่มีเงินรุ่นใหม่ในปัจจุบันนั้น   ต่างก็พกโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนหรือแทบเล็ตติดตัวตลอดเวลา  สายตาของพวกเขานั้น  ถ้าไม่ได้ทำงานหรือดูอย่างอื่นอยู่ก็จะอ่านข้อมูลข่าวสารที่มีคนส่งเข้ามาเป็นระยะ   เช่นเดียวกับที่บางครั้งเขาก็เป็นคนส่งข้อมูลที่เขาคิดหรือได้รับมาอีกต่อหนึ่งออกไปสู่คนอื่นอีกมากมายได้ด้วยการกดแป้นพิมพ์เพียงครั้งเดียว  ผลก็คือ  ทุกคนซื้อขายหุ้นกันตามข่าวสารนั้นและทำให้หุ้นผันผวนอย่างรวดเร็ว  “ตามข่าว”

          คนที่เป็น  “VI” นั้นควรที่จะต้องเข้าใจว่าปรากฏการณ์ของ “สื่อสายฟ้าแลบ”  และข่าวหรือข้อมูลต่าง ๆ  ที่ถูกส่งออกไปว่ามันอาจจะมีทั้งเรื่องจริงเป็นเรื่องที่ถูกต้อง  หรือมันเป็นเรื่องที่ไม่จริงไม่ถูกต้องที่คนเข้าใจผิด  หรือมันเป็นเรื่องที่ไม่จริงไม่ถูกต้องและคนที่ส่งออกไปก็รู้แต่ต้องการให้มันมีผลต่อราคาหุ้นที่ตนถืออยู่หรือต้องการซื้อหรือขาย  ความสามารถในการที่จะแยกแยะหรือรับรู้ข่าวสารและข้อมูลที่ถูกต้องเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งของการลงทุน   ในภาวะปัจจุบันนั้น  ผมคิดว่าการหาข้อมูลนั้นง่ายมาก  เราแทบไม่มีต้นทุนอะไรเลยโดยเฉพาะหลังจากกำเนิดของกูเกิ้ล  แต่การที่จะเลือกรับเฉพาะข้อมูลที่ถูกต้องนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก  บางทีอาจจะยากกว่าในสมัยก่อนที่การผลิตข้อมูลและส่งออกไปมีราคาแพงมากเนื่องจากสื่อที่เป็นมหาชนนั้นมีจำกัด ดังนั้น  ข้อมูลที่ไม่มีคุณภาพหรือไม่ถูกต้องจึงไม่สามารถผลิตและส่งออกมาได้ง่าย   แต่ในปัจจุบันนั้น  ทุกคนสามารถส่งข้อมูลให้คนเป็นร้อยเป็นพันได้และไม่มีใครมากรองหรือกีดกันข้อมูลนั้นเลย  ดังนั้น  ข้อมูลที่ท่วมท้นในตลาดหุ้นและการลงทุนในปัจจุบันจึงอาจจะมีที่ถูกต้องและมีคุณค่าในการใช้เวลาอ่านเพียง 1 ใน 10 หรือน้อยกว่านั้น  และถ้าเราอ่านไปเรื่อยโดยไม่แยกแยะเราก็ไม่ได้อะไร  ที่ยิ่งแย่ก็คือ  เราอาจจะรับในสิ่งที่ผิดหรือถูก  “ล้างสมอง” ให้เชื่อในสิ่งที่ผิดซึ่งจะทำให้แนวทางการลงทุนของเราไม่ประสบความสำเร็จ

          ถ้าจะลองมาดูว่าแต่ละวันเรารับอะไรมาบ้างและเรามีปฏิกริยาอย่างไรกับมันก็จะช่วยให้เราสามารถปรับปรุงตัวเองให้เป็น VI ที่ดีขึ้นได้

          สิ่งแรกก็คือ  ข่าวต่าง ๆ  ที่มักเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นโดยไม่มีความเห็นประกอบ  นี่ส่วนมากก็มักจะเป็นเรื่องของตัวเลข  เช่น ดัชนีหุ้น  ตัวเลขกลุ่มผู้ซื้อขายหุ้นแต่ละกลุ่ม  สิ่งต่าง ๆ  เหล่านี้มักไม่เป็นปัญหา  แต่เหตุผลต่าง ๆ  ที่มักจะมีการอธิบายประกอบนั้น  เราก็ต้องระวังว่ามันอาจจะไม่จริงแต่เป็นความเห็นของนักวิเคราะห์เราก็อาจจะฟังแบบผ่าน ๆ  เนื่องจากมันอาจจะไม่มีประโยชน์อะไรนักเพราะความเห็นหรือแม้แต่ความจริงที่ผ่านไปแล้วมักจะไม่มีผลอะไรกับราคาหุ้นในอนาคต

          ข้อมูลต่อมาที่มีมากมายไม่แพ้กันทุกวันก็คือ  การ “เชียร์หุ้น”  ทั้งซื้อหรือขายของนักวิเคราะห์และนักลงทุนที่อาจจะเป็นเพื่อนกับเราหรือที่เราได้รับผ่านเพื่อน  ว่าที่จริง เดี๋ยวนี้จะเป็นใครก็ไม่มีความหมายอะไรเพราะมันผ่านมาถึงเราได้ตลอด  ประเด็นก็คือ  การ “แนะนำหุ้น”  แทบจะทุกรายการนั้น  ผู้แนะนำนั้นต่างก็มี  “ผลประโยชน์ส่วนตัว” ทั้งสิ้น   บางทีก็อาจจะขัดแย้งกับคนที่เขาอยากให้ได้รับข่าวสาร  เช่น  แนะนำให้ซื้อในราคาสูงเพื่อเขาจะได้ขาย  หรือถึงบางคนไม่ต้องการขายแต่เขาก็อยากให้หุ้นที่เขาแนะนำขึ้นอยู่ดีถ้าเขาซื้อครบแล้ว   บางคน  เช่นนักวิเคราะห์เองนั้น  พวกเขาอาจจะไม่ได้มีหุ้นหรือต้องการทำกำไรจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นโดยตรง  แต่พวกเขาก็ต้องการให้คนซื้อขายหุ้นบ่อยขึ้นเพื่อที่บริษัทเขาจะได้ค่าคอมมิสชั่นหรือได้ธุรกิจอื่นเพิ่ม  ผลประโยชน์ของเขาก็คือ  เงินเดือนและโบนัสและชื่อเสียงในการที่แนะนำถูกต้อง--ในระยะสั้น

          ข้อมูลที่มีมากอีกอย่างหนึ่งก็คือ  “ข่าวลือ”  นี่ก็เป็นข่าวหรือเป็นข้อมูลที่ “ขายได้”  ในแง่ที่ทำให้คนเข้ามาอ่านหรือมารับเนื่องจากคนชอบฟังเรื่องที่ “ปิดลับ” หรือยังไม่ปรากฏต่อสื่อที่เป็น “ทางการ”  แต่เป็นเรื่องที่น่าสนใจและมีผลกระทบต่อราคาหุ้น  ตัวอย่างมีมากมายรวมถึงเรื่องเช่น  การเทคโอเวอร์  การแจกหุ้นเพิ่มทุนหรือวอแรนต์ และเรื่องอื่น ๆ  อีกสารพัดเช่น  หุ้นตัวนั้นหรือตัวนี้มี “เซียน” กำลังเก็บหรือขาย  นี่ก็เป็นเรื่องของข้อมูลที่ฟังได้แต่จริง ๆ  แล้วผมคิดว่ามีประโยชน์น้อยมาก  ข้อแรกก็คือ  มันอาจจะเป็นเรื่องที่ไม่จริงโดยเฉพาะถ้ามันไม่มีสัญญาณอย่างอื่นประกอบ  ข้อสองถ้ามันจริงแต่ตอนที่มันมาถึงเราคนอีกจำนวนมากที่อยู่ในระบบ  “สื่อสายฟ้าแลบ”  ก็รู้กันหมดแล้วซึ่งทำให้มันไม่มีประโยชน์ในแง่ของการลงทุน

          ทั้งหมดนั้นก็คือ “เสี้ยวเดียว” ของปรากฏการณ์ “ใหม่” ของโลกและประเทศไทยที่เราจะต้องเรียนรู้และรับกับมัน  เราหลีกเลี่ยงไม่ได้แต่เราไม่จำเป็นที่จะต้องทำตามคนส่วนใหญ่  ผมเองนั้นพยายามที่จะไม่เปิดรับข้อมูลมากเกินไป  เราต้องกรองเอาเฉพาะข้อมูลที่เป็นประโยชน์  เราต้องเป็นคนเลือกและ  แสวงหาข้อมูลที่จะรับ  มิฉะนั้น  เราอาจจะกลายเป็น “เหยื่อ” ของคนที่มีเป้าหมายที่จะทำให้เราเชื่อในข้อมูลของเขา

Posted by nivate at 9:56 AM in โลกในมุมมองของ Value Investor

ที่มา:
http://portal.settrade.com/blog/nivate/2013/06/24/1306




ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9017
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com
ปันผลคือพื้นฐานหุ้น

ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร



หลักการหรือหัวใจของ Value Investment หรือการลงทุนแบบเน้นคุณค่า ก็คือ การหามูลค่าที่ควรจะเป็นหรือมูลค่า ?พื้นฐาน? ของหุ้น

จากนั้นก็ดูว่าราคาหุ้นในตลาดเป็นเท่าไร ถ้าราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานที่คำนวณได้ก็ให้ซื้อ ถ้าราคาหุ้นสูงกว่ามูลค่าพื้นฐานก็ให้ขาย เพราะนักลงทุนแบบ VI เชื่อว่าในที่สุดราคาหุ้นจะวิ่งเข้าหามูลค่าพื้นฐานเสมอ

คำถามสำคัญมีอยู่ 2 ข้อ นั่นคือ หนึ่ง มูลค่าพื้นฐานคืออะไร มาจากไหน อะไรเป็นตัวกำหนดมูลค่าพื้นฐานของหุ้น พูดง่ายๆ คำนวณมูลค่าพื้นฐานอย่างไร ข้อสอง เมื่อไรเล่าที่ราคาจะวิ่งเข้าหาพื้นฐาน เป็นไปได้ไหมที่ราคาหุ้นอาจจะไม่สะท้อนพื้นฐานเป็นระยะเวลานานมาก เผลอๆ ตลอดไป กลายเป็นหุ้นที่อาจจะ ?ถูกตลอดกาล? และถ้าเป็นอย่างนั้น VI จะได้อะไร

คำตอบทั้งสองข้อนั้นเกี่ยวเนื่องกัน นั่นคือ คำตอบของข้อแรกก็จะตอบคำถามของข้อสองได้ คำถามที่ว่ามูลค่าพื้นฐานคืออะไรนั้น ถ้าจะตอบ ก็คือ เป็นมูลค่าปัจจุบันของหุ้นที่เหมาะสม เมื่อเทียบกับผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นจะได้จากบริษัทตลอดไป และผลตอบแทนที่ว่านั้น ก็คือ ?ปันผล? ในอนาคตทั้งหมดของบริษัท

ถ้าจะพูดให้เห็นภาพที่เข้าใจได้ง่ายไม่เป็นวิชาการ ก็คือ ?เป็นราคาหุ้นที่เรายินดีที่จะจ่ายเงินซื้อเพื่อเก็บกินปันผลไปตลอดชีวิต โดยที่เราจะไม่ขายหรือเป็นหุ้นที่เราไม่สามารถขายได้? ดังนั้น เวลาที่ผมจะซื้อหุ้น ผมจะต้องคิดว่าราคาที่ผมจ่ายนั้น ผมยินดีหรือไม่ที่จะเก็บมันไว้ตลอดชีวิต เพื่อรับปันผล ถ้าคำตอบ คือ ?ไม่เอา? นั่นก็แปลว่า ราคานั้นสูงเกินไป อาจจะเป็นเพราะผมไม่แน่ใจว่าปันผลจะลดลง หรืออาจจะเป็นเพราะว่าผมกลัวว่าอนาคตบริษัทอาจจะเจ๊ง หรือธุรกิจตกต่ำลงมากและจ่ายปันผลน้อยลงเรื่อย ๆ ซึ่งผมจะ ?ไม่มีทางออก? แต่ถ้าคำตอบของผมก็คือ ?เอา? นั่นก็แปลว่าผมมั่นใจในตัวบริษัทว่าจะยังดีต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ปันผลในอนาคตนั้นมีโอกาสสูงที่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ความเสี่ยงที่ธุรกิจจะตกต่ำลงมีน้อยมาก ดังนั้น ผมยินดีซื้อและถือหุ้นตัวนั้นตลอดชีวิต

แน่นอน ในชีวิตจริง เราไม่จำเป็นที่จะต้องถือหุ้นตลอดชีวิตเพื่อเก็บกินปันผล แต่เวลาพิจารณาซื้อหุ้นโดยอิงกับ ?มูลค่าพื้นฐาน? ของหุ้น เราจะต้องคิดว่าเราจะต้องเก็บหุ้นไว้ตลอดชีวิตจริงๆ ถ้าเราคิดว่าเราสามารถขายได้ทุกนาที หรือเราสามารถขายได้ถ้า ?สถานการณ์เปลี่ยน? หรือแม้แต่เราจะขายเมื่อ ?บริษัทโตเต็มที่แล้ว? ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นใน 3-4 ปีข้างหน้า แบบนี้แสดงว่าเรายังไม่ได้ซื้อหุ้นโดยอิงกับมูลค่าพื้นฐานจริงๆ เราอาจจะ ?เก็งกำไร? โดยอาจจะอิงกับปัจจัยพื้นฐานบางส่วนเท่านั้น

นอกจากเรื่องของปันผลในอนาคตแล้ว ปัจจัยที่สำคัญอีกตัวหนึ่งในการคำนวณหามูลค่าพื้นฐานของหุ้น ก็คือ ?อัตราคิดลด? ซึ่งก็คือ อัตราผลตอบแทนที่เราต้องการในการลงทุนซื้อหุ้นตัวนั้น อัตราผลตอบแทนนี้จะคล้ายๆ กับอัตราดอกเบี้ยที่เราได้ถ้าเราเอาเงินไปฝากธนาคารหรือลงทุนซื้อพันธบัตรซึ่งเราจะได้ผลตอบแทนที่แน่นอนเช่นปีละ 1% หรือ 3-4% ตามลำดับ แต่การลงทุนในหุ้นนั้น เราจะได้ปันผลที่มีอัตราไม่แน่นอนขึ้นกับผลกำไรของบริษัท ดังนั้น เราจึงต้องการผลตอบแทนที่สูงกว่าโดยเฉลี่ยเช่นอาจจะได้ผลตอบแทนประมาณปีละ 10%

ปัจจัยสำคัญตัวสุดท้ายที่สำคัญมาก ก็คือ อัตราการเติบโตหรือการเพิ่มขึ้นของเงินปันผลในอนาคต นี่คือ สิ่งที่จะทำให้มูลค่าหุ้นสูงหรือต่ำอย่างมีนัยสำคัญ เพราะถ้าปันผลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เราก็จะได้ผลตอบแทนมากขึ้นทุกปีหรือเกือบทุกปี ยิ่งนานปันผลก็ยิ่งเพิ่มขึ้น บางทีผ่านไป 15-20 ปี เงินปันผลแต่ละปีอาจจะเพิ่มขึ้นเท่ากับเงินค่าหุ้นที่เราจ่าย ถ้าเป็นแบบนี้มูลค่าของหุ้นก็จะมาก แต่ถ้าปันผลไม่โตเลย เคยได้เท่าไร ผ่านไป 5-10 ปีก็ยังได้ปันผลเท่าเดิม แบบนี้หุ้นก็จะมีมูลค่าน้อย

ผมคงไม่อธิบายวิธีคำนวณหามูลค่าพื้นฐานตามวิชาการซึ่งเป็นเรื่องที่ยากเกินไป แต่จะลองให้แนวคิดในการพิจารณาลงทุนซื้อหุ้นโดยใช้หลักการของ ?มูลค่าพื้นฐาน? ดังที่ได้กล่าวมา โดยสมมติว่าเราพบหุ้นตัวหนึ่งที่ทำธุรกิจโมเดิร์นเทรดหรือค้าปลีกสมัยใหม่ ซึ่งผมเห็นว่าเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีผลประกอบการที่สม่ำเสมอ และคาดการณ์ผลประกอบการไม่ยากนัก

บริษัท ก. มีกำไรปีละ 0.40 บาทต่อหุ้น จ่ายปันผลปีละ 0.30 บาท ราคาหุ้นเท่ากับ 10 บาทต่อหุ้น เราคาดว่ากิจการของบริษัทนี้จะเติบโตขึ้นประมาณปีละ 10% ไปได้เรื่อยๆ โดยที่บริษัทไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มทุน เพราะฐานะทางการเงินดีมากไม่มีหนี้สินจากสถาบันการเงินเลย ถามว่ามองโดยพื้นฐานเราควรซื้อหุ้นบริษัทนี้หรือไม่

ก่อนอื่นลองคำนวณดูว่าในปีแรกที่เราลงทุนนั้น เราจ่ายเงินค่าหุ้น 10 บาท และได้ปันผล 0.30 บาทเท่ากับว่าเราได้ปันผลปีแรก 3% ดูแล้วก็อาจจะไม่น่าจูงใจอะไร เพราะเราลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลซึ่งไม่มีความเสี่ยงเลยเรายังได้ดอกเบี้ยประมาณ 4% แต่เนื่องจากกำไรของบริษัทน่าจะเพิ่มขึ้นได้ปีละ 10% ซึ่งน่าจะทำให้บริษัทสามารถจ่ายปันผลได้เพิ่มขึ้นปีละ 10% เช่นกัน ดังนั้น ปีที่สองปันผลน่าจะเป็น 3.3% และปีที่สามน่าจะเป็น 3.63% ปีที่สี่เท่ากับประมาณ 3.99 หรือ 4% ซึ่งเท่ากับพันธบัตรแล้ว หลังจากนั้น อัตราก็จะสูงกว่าไปเรื่อยๆ พอถึงปีที่ 10 ปันผลก็เท่ากับ 8.56% และเมื่อถึงปีที่ 37 ซึ่งอาจจะเป็นปีที่เราเกษียณ ปันผลที่ได้ในแต่ละปีอาจจะเป็น 10 บาท เท่ากับราคาหุ้นในวันนี้ และทำให้เราเกษียณอย่างมีความสุข เหนือสิ่งอื่นใด ก็คือ ตั้งแต่ปีที่ 4 ของการถือหุ้น เราก็ได้ผลตอบแทนดีกว่าการลงทุนในตราสารการเงินอื่นๆ แล้ว ดังนั้น เราจึงคิดว่าราคาหุ้น ก. ที่ 10 บาท เป็นราคาหุ้นที่เหมาะสมกับพื้นฐานในแง่ของเราและเรายินดีที่จะซื้อมัน

คำถามต่อมา ก็คือ ถ้าราคาหุ้น ก. ที่ 10 บาทซึ่งเราคิดว่าถูก แต่ถ้าถือแล้วมันไม่ขึ้นทั้งที่กำไรและปันผลของบริษัทก็ดีขึ้นตามที่คาดแต่ราคาหุ้นกลับไม่ขึ้นสักทีเป็นเวลาหลายปี แบบนี้เราควรจะขายทิ้งไหม คำตอบก็คือ ไม่จำเป็น จำไว้ว่าถ้าเรา ?ลงทุนตามพื้นฐาน? และมั่นใจว่าสิ่งที่เราคาดการณ์ไว้ถูกต้อง เราก็ถือมันไป

ผลตอบแทนของเรานั้น เราต้องคิดว่ามันไม่จำเป็นที่จะต้องอาศัยนักลงทุนคนอื่นในการมาซื้อหุ้นต่อจากเราในราคาที่สูงขึ้น แต่มันมาจากปันผลที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ของบริษัท แต่เชื่อผมเถอะครับว่า ในที่สุดแล้ว คนจะต้องเห็นว่าบริษัทดีและเข้ามาซื้อหุ้นทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น ผมเองเคยถือหุ้นมา 3-4 ปีโดยที่ราคาไม่ไปไหน แต่พอมันวิ่ง มันก็ขึ้น ?ชดเชย? ช่วงเวลาที่มันนิ่งในเวลาอันรวดเร็ว ประเด็นสำคัญ ก็คือ VI ต้อง ?รอเป็น? ว่าที่จริง การที่หุ้นไม่ขึ้นเลยทั้งๆ ที่บริษัทดีขึ้นหรือจ่ายปันผลมากขึ้นเรื่อยๆ นั้น กลับเป็นโอกาสที่เราจะซื้อหุ้นเพิ่ม และทำกำไรมากขึ้น


ปันผลคือพื้นฐานหุ้น

ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โลกในมุมมองของ VALUE INVESTOR

วันที่ 14 กันยายน 2553

ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/home/d...%E0%B8%99.html

ขอบคุณแหล่งข้อมูลครับ


ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9017
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com




Tuesday, 2 July 2013

แรงปรารถนา


ในช่วงนี้  หรือที่จริงก็เกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ  เรื่อยมา  มีข่าวเกี่ยวกับเรื่องของพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังเข้าไปเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่เป็นของ  “ฆราวาส”  เช่น  การท่องเที่ยวและใช้สิ่งของหรูหราฟุ่มเฟือยหรือการเกี่ยวพันกับผู้หญิงในแบบที่ไม่เหมาะสม   หรือที่ดีขึ้นมาก็คือ  ละเพศบรรพชิตก่อนที่จะอยู่กินกับผู้หญิงที่ได้เข้ามาใกล้ชิดในช่วงที่ยังเป็นพระอยู่   เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อย ๆ  และก็คงจะเกิดขึ้นต่อไปเรื่อย ๆ  เหตุผลก็เพราะว่า  ความรักและกามารมณ์    รวมถึงการท่องเที่ยวและการใช้ของหรูนั้นเป็นเรื่องของ  “ความต้องการที่รุนแรง” ของมนุษย์ที่แม้แต่พระก็  “ขัดขืน”  ยาก  เพราะมันอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นแค่ใน “สมอง”  ที่เราอาจจะคิดและฝืนมันได้   แต่มันเกิดขึ้นใน  “ยีน” ของคนเราที่ต้องการมันซึ่งบ่อยครั้งสมองก็  “เอาไม่อยู่”

            Mission หรือ “ภารกิจ” หลักของมนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งนั้นก็เช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตที่เป็นสัตว์อย่างอื่นนั่นก็คือ  หนึ่ง  จะต้องเอาตัวรอด  ซึ่งก็คือจะต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นและหลีกเลี่ยงการถูกกินหรืออันตรายอื่น ๆ  และสอง  จะต้องสืบพันธุ์ขยายเผ่าพันธุ์หรือยีนของตนเองให้มากที่สุด  ส่วนเรื่องวิธีการที่จะทำให้ได้อย่างนั้นน่าจะต้องถือว่าเป็น “ภารกิจรอง” ยกตัวอย่างเช่น  มีคนเคยสงสัยว่าทำไมอดีตประธานาธิบดีคลินตันจึง  “เสี่ยง”  การสูญเสียตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกเพียงเพื่อที่จะได้  “มีเซ็กส์”  กับเด็กฝึกงานคนหนึ่ง  คำตอบของนักวิชาการคนหนึ่งซึ่งผมลืมชื่อไปแล้วก็คือ  นี่เป็นข้อสงสัยของคนที่ไม่เข้าใจเรื่องของชีววิทยาที่แท้จริง   สำหรับนักวิชาการท่านนี้แล้ว  การที่คน “ดิ้นรน” เพื่อที่จะเป็นประธานาธิบดีนั้น  จริง ๆ  ไม่ใช่จุดสุดท้ายหรือเป้าหมายสุดท้ายของเขา  สิ่งที่เขาต้องการจริง ๆ  ก็คือ  การมีโอกาสมีเซ็กส์เพื่อที่จะสืบทอดเผ่าพันธุ์หรือยีนของเขาต่างหาก  พูดง่าย ๆ  การเป็นประธานาธิบดีนั้นเป็นหนทางสู่การมีอำนาจ  การมีอำนาจเป็นหนทางสู่การอยู่รอดและการสืบพันธุ์ซึ่งเป็นภารกิจหลัก  ดังนั้นการมีเซ็กส์ของคลินตันจะเรียกว่าเป็นเรื่องที่เสี่ยงไม่ได้ในทางชีววิทยา

             ผมเกริ่นมายาวเพื่อที่จะบอกว่าเราจะต้องเข้าใจเรื่องของ  “ความต้องการที่แรงกล้า”  ของคนเพื่อที่จะได้รู้ว่าสินค้าอะไรจะขายดี  บริษัทไหนที่จะมีโอกาสทำกำไรมากและเติบโตได้ดีหรือเป็น  “ซุปเปอร์สต็อก”  ประเด็นหลักก็คือ  อะไรก็ตามที่สนองตอบต่อการเอาตัวรอดและการสืบพันธุ์ของคนหรือถ้าจะให้ถูกต้องกว่าก็คือ “ยีน” ที่ดีขึ้น  สิ่งนั้นก็จะเป็นที่ต้องการมากขึ้น  แต่เคล็ดลับของการดูว่าอะไรคือ “ความต้องการที่แรงกล้า” ของคนนั้น  เราจะต้องมอง  “ย้อนหลัง”  กลับไปยังอดีตที่โลกยังไม่เจริญและมนุษย์ผู้ชายยังมีหน้าที่ล่าสัตว์และมนุษย์ผู้หญิงอยู่ถ้ำเลี้ยงลูกและเก็บของป่าเพื่อประทังชีวิตที่ยากลำบากมาก  พฤติกรรมดังกล่าวนั้นดำรงอยู่มานานนับเป็นหมื่นหรือแสนปีซึ่งทำให้มัน  “ติดอยู่ในยีน” ซึ่งยังดำรงอยู่ในร่างกายของมนุษย์จนทุกวันนี้ส่งผลให้เรามีความสามารถและความต้องการอย่างที่เราเป็นในสังคมปัจจุบัน

นั่นก็คือ

            หนึ่ง  มันทำให้คนเราโดยเฉพาะผู้ชายชอบมีเซ็กส์และมีบ่อย ๆ  มากกว่าผู้หญิงที่จะต้องมั่นใจว่าถ้ามีเซ็กส์และมีลูก  ลูกจะต้องมีโอกาสรอดเพราะผู้ชายที่เป็นพ่อนั้นมีความสามารถ (สมัยก่อนก็คือการล่าสัตว์ สมัยนี้อาจจะเป็นการแสดง  การเล่นกีฬา  การบริหารหรือการลงทุน)  มีปัญญาที่จะหาเลี้ยงครอบครัวได้  สรุปก็คือ  ผู้ชายชอบผู้หญิงสวย เพราะผู้หญิงสวยคือคนที่มีสุขภาพดีมีหุ่นดีซึ่งจะมีลูกง่าย)  ส่วนผู้หญิงชอบผู้ชายที่ความสามารถสูง  รวยและเป็นผู้นำ  รวมถึงถ้าตัวสูงก็จะดีเพราะคนตัวโตมักล่าสัตว์ได้ดี)  ประเด็นเรื่องนี้ทำให้สินค้าเกี่ยวกับความสวยงาม  เช่น  เสื้อผ้าสตรี กระเป๋า เครื่องประดับ  เครื่องสำอาง  สถานเสริมสวยทั้งหลายรวมถึงการศัลยกรรมความงามนั้น   เป็นธุรกิจที่ดี  เพราะมันเพิ่มโอกาสให้ผู้หญิงในการสืบต่อเผ่าพันธุ์  มันจึงเป็นความปรารถนาที่แรงกล้าที่ผู้หญิงยินดีจ่าย  ธุรกิจในส่วนของผู้ชายที่น่าจะเป็นความต้องการที่แรงกล้าอาจจะเป็นเรื่องของรถสปอร์ตหรู  มอเตอร์ไซค์แบบหรู  ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเร็ว  การแข่งขันกีฬา  และอุตสาหกรรมเกี่ยวกับเรื่องของเซ็กส์ทั้งหลาย  เพราะผู้ชายนั้นเป็น “นักล่า”  ดังนั้น  เขามักชอบอะไรที่เป็นเรื่องของความเร็วและการต่อสู้  ซึ่งก็คือการแข่งขันต่าง ๆ  เช่นฟุตบอลพรีเมียร์ลีก ในปัจจุบัน

            สอง  ในเรื่องของการ “เอาตัวรอด”  นี่ก็มีสินค้ามากมายที่คนยินดีจ่าย  อาหารและการกินนั้น  แน่นอน  เป็นธุรกิจที่ดีเพราะมันเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต  คนชอบกินอาหารที่มีโปรตีนสูง  เช่นเดียวกับแคลลอรี่สูง  อาหารที่อุดมไปด้วยไขมันหรือหวานคืออาหารที่  “อร่อย” ในยีนของคน   การเอาตัวรอดของคนในสมัยก่อนนั้นยังรวมถึงการพยายาม “ลดการใช้พลังงาน”  ให้ต่ำลงเพราะอาหารในยุคดึกดำบรรพ์ไม่ได้หาได้ง่าย   ดังนั้น  นี่น่าจะทำให้คนเรา  “ชอบสบาย”  ไม่ชอบทำงานหนัก  เขาชอบที่จะ  “ล่า” สัตว์โดยใช้ความพยายามที่น้อยที่สุด  ดังนั้น  สินค้าของจำเป็นในชีวิตที่ตอบโจทย์เรื่องราคาที่ถูก  สามารถจับจ่ายในที่เดียว  หรือร้านที่ให้ความสะดวกสบายในการซื้อหาจึงเป็นธุรกิจที่ดี

             สาม  เรื่องของความตายนั้นเป็นสิ่งที่คนพยายามหลีกเลี่ยงมากที่สุด  ดังนั้น  อะไรที่สามารถลดความเสี่ยงหรือยืดอายุให้ยาวขึ้นย่อมเป็นธุรกิจที่ดี  ธุรกิจยา  โรงพยาบาล  อาหารเพื่อสุขภาพ  และอื่น ๆ  ต่างก็เป็นธุรกิจที่คนยอมจ่ายแพง ๆ   ถ้าเขามีเงินพอ

             สี่  เรื่องบางอย่างที่คนอาจจะไม่คิดว่าเกี่ยวพันกับความต้องการที่แรงกล้าเช่นกันก็คือ  เรื่องของการเดินทางท่องเที่ยวไปในที่ไกล ๆ  เหตุผลที่คนชอบเดินทางนั้น  เป็นเพราะนี่จะช่วยเพิ่มโอกาสที่คนจะเอาตัวรอดและมีคู่ได้ดีขึ้น  ลองคิดดูว่าถ้ามนุษย์ไม่เดินทางออกไปไกล ๆ  เขาก็คงไม่สามารถขยายเผ่าพันธุ์ไปได้มากเนื่องจากอาหารจะจำกัด  การอยู่แต่ในบริเวณหรือหมู่บ้านแคบ ๆ  พวกเขาก็อาจจะต้องแต่งงานกันเองซึ่งทำให้ยีนนั้นไม่หลากหลายและไม่สามารถต้านทานโรคร้ายบางอย่างได้ ผลก็คือในที่สุดเผ่าพันธุ์ก็อาจจะหมดไป   ดังนั้น  คนจึงชอบเดินทางไปสถานที่ใหม่ ๆ  และนี่ทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องนั้นเติบโตไปเรื่อย ๆ  ซึ่งรวมถึงธุรกิจการบิน  โรงแรม  และอื่น ๆ

           ธุรกิจสุดท้ายที่ผมจะพูดถึงก็คือ ธุรกิจของหรูหราฟุ่มเฟือย  นี่คือ สินค้าที่คนปรารถนาอย่างแรงกล้า  ผมคิดว่าของหรูที่มีราคาแพงนั้นคนต้องการเพราะว่ามันเป็นเครื่องบ่งบอกถึง “ความมั่งคั่ง” หรือความสำเร็จของคนใช้ที่มีปัญญาซื้อของเหล่านั้น  ดังนั้น  มันจึงเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้เพศตรงข้ามเข้ามาหาได้ดีที่สุดอย่างหนึ่ง  ดังนั้น  มันจึงมักเป็นธุรกิจที่ดี
           ก่อนที่จะจบผมจำเป็นที่จะต้องเตือนด้วยว่า  เวลาเราดูว่ามันเป็นธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่ดีนั้น  เรื่องที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือ  ต้องดูว่าบริษัทไหนที่สามารถสนองตอบต่อความปรารถนาที่แรงกล้านั้นได้แบบโดดเด่นมากและเหนือกว่าคู่แข่งเนื่องจากความได้เปรียบในเชิงโครงสร้างอย่างยั่งยืนหรือไม่  ถ้าไม่ใช่  บริษัทก็อาจจะไม่มีค่าอะไรมากนัก  แต่ถ้าใช่  บริษัทนั้นก็จะมีคุณค่ามาก  และสุดท้ายก็คือ  การวิเคราะห์ในบทความนี้ผมหวังว่าจะไม่ทำให้นักการศาสนา  นักสิทธิมนุษยชนหรือคนที่เป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีเข้าใจผิดว่าผมเป็นคนไม่มีศีลธรรมหรือเหยียดผิวหรือเพศ  เพราะสิ่งต่าง ๆ  เหล่านั้นเป็นเรื่องจริงทางธรรมชาติ  เป็นเรื่องของประวัติหรือวิวัฒนาการของมนุษย์ที่ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงเท่านั้นเอง

Posted by nivate at 11:35 AM in โลกในมุมมองของ Value Investor

ที่มา :
http://portal.settrade.com/blog/nivate/2013/07/02/1308



ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9017
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com



Monday, 8 July 2013

คุณค่า(ทางจิตใจ) VS ราคา


ในแวดวงของนักลงทุนแบบแบบ Value Invesment นั้น  คำสองคำที่เราพูดถึงอยู่เสมอก็คือ  Value กับ Price หรือ  คุณค่า  กับ ราคา   “คุณค่า”  นั้นก็คือสิ่งที่เราจะได้จากการถือทรัพย์สินนั้น  พูดง่าย ๆ  เราจะได้อะไรจากทรัพย์สินนั้น  ซึ่งในเรื่องของหลักทรัพย์ที่เป็นหุ้นก็คือ  ปันผลที่เราจะได้ตลอดอายุของการลงทุนหรือตลอดไป    ส่วน “ราคา” ก็คือสิ่งที่เราจะต้องจ่ายในการซื้อทรัพย์สินดังกล่าว  หน้าที่หลักของเราก็คือ  ประเมินดูว่าคุณค่าหรือมูลค่าของหุ้นตัวนั้นควรจะเป็นเท่าไรโดยหาจาก  “มูลค่าปัจจุบัน” ของปันผลที่จะได้รับในอนาคตทั้งหมด  แล้วก็นำมาเปรียบเทียบกับราคา  หากมูลค่าสูงกว่าราคาเราก็ซื้อ  แต่ถ้ามูลค่าต่ำกว่าราคา  เราก็ขาย  เพราะเราเชื่อว่าในระยะยาวแล้ว  ราคาจะวิ่งเข้าไปหามูลค่าที่แท้จริงเสมอ  ในเรื่องของการลงทุนในหุ้นนั้น  มูลค่าหรือคุณค่าของหุ้นมีเพียงหรือควรจะมีเพียงอย่างเดียวนั่นก็คือปันผลที่จะได้รับเป็นเงินสด  คุณค่าอย่างอื่นที่ไม่ใช่ตัวเงินและมักจะไม่สามารถนำมาคำนวณเป็นตัวเงิน  เช่น  ชื่อเสียงหรือความรู้สึกทางจิตใจนั้น   เราจะไม่นำมาคิด

         แต่ในโลกที่กว้างออกไป  “คุณค่า” นั้น  ไม่ได้มีเฉพาะเรื่องของเงิน  คุณค่าทางด้าน  “จิตใจ” ก็มีอยู่มากพอที่จะทำให้คนยอมจ่าย  “ราคา”  เพื่อที่จะได้มันมา  หรือถ้าจะพูดอีกแบบหนึ่งก็คือ  คนแต่ละคนจะประเมินดู  “คุณค่าทางด้านจิตใจ” ที่เขาจะได้รับทั้งหมด  แล้วนำมาเปรียบเทียบกับ  “ราคาหรือเม็ดเงิน” ที่เขาจะต้องจ่าย  ถ้าคุณค่านั้นสูงกว่า  เขาก็จะ  “ซื้อ”   แต่ถ้าไม่  เขาก็อาจจะขายถ้าสามารถขายได้   ประเด็นที่สำคัญที่สุดที่ทำให้คุณค่าทางจิตใจนั้นแตกต่างจากคุณค่าที่เป็นเม็ดเงินก็คือ  คุณค่าทางจิตใจนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของแต่ละคน  ของสิ่งเดียวกันสำหรับคนหนึ่งอาจจะมีคุณค่ามาก  แต่สำหรับอีกคนหนึ่งมันอาจจะไม่มีค่าอะไรเลย  ลองมาดูกันว่าใน “ตลาด” ที่ขาย  “คุณค่าทางจิตใจ” ของประเทศไทยเรานั้นมีอะไรบ้างที่น่าสนใจ

          ในเมืองไทยที่สังคมยังค่อนข้างติดยึดกับระบบ  “ศักดินา” ที่แบ่งคนเป็น  “ชนชั้น” ตามฐานันดรต่าง ๆ  นั้น  ทำให้ยศถาบรรดาศักดิ์และตำแหน่งเป็นสิ่งที่คนต่างก็แสวงหา  คนมักจะยกย่องเชิดชูคนที่มีฐานะและตำแหน่งที่เป็นทางการสูงโดยที่ไม่ใคร่สนใจว่าคน ๆ  นั้นจะมีความรู้ความสามารถหรือมีคุณธรรมจริง ๆ หรือไม่  ดังนั้น  คนที่มีปัญญา  มีความรู้ความสามารถ  หรือเพียงแต่มีเงินจึงต้องการ  “หัวโขน” มาประดับด้วย  หัวโขนหรือตำแหน่งที่เป็น  “ทางการ”  จึงเป็นสิ่งที่มีค่า  เป็น  Value  สำหรับคนหลาย ๆ  คน  และดังนั้น  พวกเขาจึงยินดีที่จะจ่ายเงินซื้อเป็น “ราคา”  ที่หลากหลายขึ้นอยู่กับ “หัวโขน”  แต่ละแบบ   และนี่ก็เป็นที่มาของเรื่องการ  “ขายปริญญา”ของ  “มหาวิทยาลัย” ที่ไม่ได้มีมาตรฐาน  หรือไม่ก็เป็นปริญญากิตติมศักดิ์ที่มอบให้แต่ผู้รับต้อง  “จ่ายเงิน”   นอกจากนั้น  ในอดีตเราก็เคยมีกรณี  “เครื่องราช”  ที่คนต้องจ่ายเงินให้กับคนที่จัดการทำเรื่องหลอกลวงว่ามีการบริจาคเงินให้กับวัดเพื่อเสนอขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้กับคนที่ต้องการได้เครื่องประดับนี้โดยที่ตนไม่สมควรได้

          อาหารเสริมเป็นธุรกิจที่ใหญ่มาก  ผู้ผลิตมีตั้งแต่บริษัทระดับโลกไปยันกิจการครอบครัวขนาดเล็กที่ไม่มีการค้นคว้าวิจัยอะไรเลย  “คุณค่า” ของอาหารเสริมจำนวนมากที่จะมีต่อร่างกายนั้นยังมีข้อสงสัยอยู่มาก  หมอหรือนักวิชาการจำนวนมากที่ผมรู้จักหรือได้อ่านบทความนั้นบอกว่าอาหารเสริมส่วนใหญ่นั้นไม่มีประโยชน์อะไรเลยนอกจากความรู้สึกทางใจที่ว่ามันช่วยให้สุขภาพดีขึ้น  อย่างไรก็ตามคนจำนวนมากรวมทั้งผมต่างก็ดูว่ามีอาหารเสริมหลายอย่างที่ผมซื้อเพราะมัน  “คุ้มค่า”  คนจำนวนมากคิดว่าคุณค่าของมันเหนือกว่าราคาที่จ่าย  คุณค่าที่ว่านี้ก็คือการมีสุขภาพที่ดีขึ้นสำหรับเขานั้น  คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายมาก   สำหรับผมเอง  ผมก็ไม่ได้เชื่อมากนักว่าอาหารเสริมที่ผมกินนั้นจะช่วยให้สุขภาพผมดีมากมายอะไร  อย่างไรก็ตาม  เงินที่ผมจ่ายนั้น  ก็น้อยนิดเมื่อเทียบกับทรัพย์สินที่ผมมี  ดังนั้น เทียบแล้ว Value เหนือ Price และนี่เป็นเหตุผลที่อาหารเสริมนั้นเป็นธุรกิจที่เติบโตมาก

         การพยากรณ์เหตุการณ์ในอนาคตเป็นธุรกิจที่ใหญ่โตไม่น้อยไปกว่าอาหารเสริม  ไล่ตั้งแต่การดูหมอและการผูกดวงชะตาต่าง ๆ    การวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค  ไปจนถึงการคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจของนักเศรษฐศาสตร์ทั้งหลาย  นี่ก็เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่นักวิชาการมีการศึกษาและพบว่าการคาดการณ์ทั้งหลายดังกล่าวนั้นไม่มีความถูกต้องแม่นยำพอที่จะมีประโยชน์ในการตัดสินใจอะไรเลย   แต่คนจำนวนมากก็ยังยอมจ่ายเงินไปเพื่อซื้อการคาดการณ์เหล่านั้น  พวกเขาเห็น  “คุณค่า”  ของมัน  คนบางคนเชื่อว่าการคาดการณ์นั้นมีความถูกต้องและจะทำให้สามารถนำไป “ทำเงิน” และคุ้มค่ากับราคาที่จ่าย   คนบางคนนั้นได้  “คุณค่าทางจิตใจ”  นั่นก็คือ  มันทำให้เขารู้สึกสบายใจที่มีคนมาช่วย  “รับภาระทางใจ”  ต่อการตัดสินใจของเขา   ในกรณีที่เกิดความผิดพลาดเขาก็สามารถที่จะอ้างได้ว่าเขาตัดสินใจโดยได้ใช้ข้อมูลและความเห็นของคนที่เชี่ยวชาญในการพยากรณ์อนาคตอย่างรอบคอบแล้ว

          Value หรือคุณค่าของ  “ที่ปรึกษา” ทางธุรกิจนั้น  บ่อยครั้งก็ไม่ได้มีคุณค่าที่ทำให้ธุรกิจดำเนินงานได้ดีขึ้นคุ้มค่ากับค่าที่ปรึกษาที่สูงลิ่ว  เจ้าของหรือผู้บริหารสูงสุดของบริษัทหรือหน่วยงานเองนั้นส่วนใหญ่น่าจะรู้ดีกว่าที่ปรึกษาที่เป็นคนนอกและเพิ่งเข้ามาศึกษาการทำงานของบริษัทจากการสอบถามพนักงานภายในบริษัทเอง   แต่ประเด็นอาจจะไม่ได้อยู่ตรงนั้น  ประเด็นอาจจะอยู่ที่ว่าคุณค่าของที่ปรึกษาในสายตาของคนจ้างซึ่งเป็นผู้บริหารอาจจะอยู่ที่ว่า  ที่ปรึกษานั้นเป็นผู้ที่จะบอกให้แต่ละหน่วยงานในบริษัททำตามเนื่องจากพวกเขาเป็น  “ผู้เชี่ยวชาญคนนอก”  ที่ไม่มี  “การเมืองในบริษัท”  ที่ทำให้ทุกฝ่ายยอมรับได้ง่ายกว่า  นอกจากนั้น  หากเกิดมีอะไรผิดพลาด  ผู้บริหารก็ยังมีข้ออ้างว่าที่ปรึกษาได้แนะนำไว้ไม่ใช่ความผิดของฝ่ายบริหารทั้งหมด

          ตลาดพระเครื่องน่าจะเป็นตลาดที่  “คุณค่าทางด้านจิตใจ”  มีบทบาทสำคัญในทรัพย์สินที่มีตัวตนและเปลี่ยนมือได้  “คุณค่า” ของพระเครื่องแต่ละรุ่นนั้นเปลี่ยนแปลงไปได้ด้วยปัจจัยหลาย ๆ  อย่าง  เช่น  ถ้าเกิดอุบัติเหตุแล้วคนที่ห้อยพระเครื่องบางองค์รอดปลอดภัยอย่าง  “มหัศจรรย์”  คุณค่าในสายตาของคนเล่นพระเครื่องในพระรุ่นนั้นก็อาจจะสูงขึ้นมากและทำให้  “ราคา”  ค่าเช่าพระองค์นั้นวิ่งสูงขึ้นด้วย  แต่ถ้าถามว่าพระเครื่องรุ่นนั้นช่วยให้  “แคล้วคลาด”  ได้จริงหรือเปล่า?  คงไม่มีใครตอบได้จริง ๆ   

            Value ของบริษัทจัดการกองทุนรวมหรือผู้บริหารกองทุนรวมนั้น  ในต่างประเทศเช่นในสหรัฐอเมริกามีการศึกษากันมากและพบว่า  ผู้จัดการกองทุนรวมส่วนใหญ่มีคุณค่าในแง่ของการเลือกหุ้นที่ถูกต้องน้อยไม่คุ้มค่ากับค่าบริหารกองทุนที่คิดค่อนข้างสูงอาจจะ 3-4% ต่อปีของสินทรัพย์สุทธิ  อย่างไรก็ตาม  คนจำนวนมากก็ยังใช้บริการยอมจ่ายค่าบริหารกองทุนในอัตราสูงแทนที่จะซื้อกองทุนอิงดัชนีที่ไม่ต้องเลือกหุ้นและคิดค่าบริหารกองทุนต่ำกว่ามาก   เหตุผลนั้นอาจจะเป็นเพราะคนยังเชื่อว่ามีกองทุนรวมที่มีฝีมือหรือคุณค่าสูงในการเลือกหุ้นเพราะพวกเขาเห็นว่ากองทุนนั้นมีผลงานที่ดีเด่นในช่วงเร็ว ๆ  นี้   ความหวังที่จะได้กำไรดี ๆ  และการ “ยกความรับผิดชอบ” ให้กับบริษัทจัดการการลงทุนที่  “มีผลงานโดดเด่น”  ทำให้พวกเขายอมจ่าย “ราคา”  ที่อาจจะสูงกว่าคุณค่าที่แท้จริงของ บลจ. นั้น
           ที่เขียนมาทั้งหมดนั้น  ประเด็นสำคัญที่สุดที่ผมต้องการจะบอกก็คือ  ในฐานะของ VI  เราจะต้องเป็น  “ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับ Value” หรือคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ  เมื่อเทียบกับ ราคา ที่เราจะจ่าย  และเราต้องเข้าใจด้วยว่า Value นั้นมีหลายรูปแบบและในสายตาของแต่ละคนก็อาจจะไม่เท่ากันถ้ามันไม่ใช่ Value ที่เป็นเม็ดเงิน  ความเข้าใจเหล่านี้จะทำให้เราใช้เงินได้คุ้มค่าขึ้น  ทั้งทางด้านของการลงทุนและในด้านการใช้จ่ายอย่างอื่นของชีวิต
 

ที่มา :
http://portal.settrade.com/blog/nivate/2013/07/08/1311