

ตัวอย่างการอ่านค่าแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (DC.V.) ที่ย่านวัดต่างๆ จากหลักการง่ายๆ คือ
ตัวอย่างที่ 1 @ ย่านวัด 1,000 V.DC (1,000/50 = เฉลี่ยขีดละ 20 V.) คือ เมื่อเข็มชี้ขึ้นทุกๆ 1 ขีด จะอ่านค่าแรงดันได้ 20 V. ที่ย่านวัด 1,000 V. นี้
จากรูป สเกลบนหน้าปัดมีทั้งหมด 50 ขีด แต่ขณะวัด เข็มชี้ที่ 15 ขีด อ่านค่าได้ 300 V.DC. วิธีคิดแบบง่ายๆ ไม่ต้องท่องจำ แต่ให้จำหลักการก็พอ
ค่าแรงดันที่เราอ่านได้ = (ย่านวัดแรงดันที่เราตั้ง/จำนวนขีดบนสเกลหน้าปัด) X จำนวนขีดที่เข็มชี้ขึ้นขณะเราวัด
ในตัวอย่างนี้ ย่านวัดที่เราตั้งคือ 1,000 V.
จำนวนขีดบนสเกลหน้าปัด มีทั้งหมด 50 ขีด
จำนวนขีดที่เข็มชี้ขึ้นขณะเราวัด คือ 15 ขีด ดังนั้น
ลองคำนวณ ดูนะครับ ค่าแรงดันที่เราอ่านได้ = (1,000/50) X 15 = 300 V.DC. เราจึงอ่านค่าได้ 300 V. ครับ
แต่ถ้าเอาแบบไม่คำนวณ ก็ให้ดูสเกล 10 V.ก็ได้ครับ สมมติในใจว่า 10 V.ก็คือ 1,000 V. นั้นเอง เลข 2 ก็คือ 200 V. แต่เข็มชี้เกิน 2 ไป 5 ขีด นับไปได้เลยครับ ขีดละ 20 V. x 5 ขีด = 100 V. แล้วนำไปรวมกับ เลข 2 ซึ่งก็คือ 200 V. เราจึงอ่านค่าได้ 100 V. + 200 V. = 300 V. ครับ