Tigger Sound
สังคมออนไลน์คุณภาพของคนรักเครื่องเสียง
ทดสอบเสียง HK1.1 By Tiggersound https://www.facebook.com/tiggersound/videos/10218510874389162

" เสียงย่านความถี่ไหนเร็วที่สุด และช้าที่สุด "

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ boy029

  • มือกลอง
  • *****
    • กระทู้: 401
ช่วยสรุปหน่อยครับ ฮิๆ
นายจักรพันธ์ โมรา ที่อยู่ 27 บ้านหัวตะพาน หมู่ 14 ต.แพรกศรีราชา อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท 17140 เลขบันชี ธนาคารกสิกรไทย สาขาสรรคบุรี 186-2-27799-2
บอย พลาซ่า 0862141202


ออฟไลน์ tok8kil6ibpk

  • WAVE ENGINE AUDIO + ALAB AUDIO
  • ท่านผู้ชม
  • **
    • กระทู้: 36
    • V.L.SOUND&LIGHT LTD.,PART.

เนื่องจากยังได้พบเห็นความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับเรื่องความเร็วของคลื่นเสียงอยู่บ่อยๆ จึงได้นำเรื่อง "ความเร็วของคลื่นเสียง" มารวมไว้ในชุดบทความ "ศาสตร์แห่งเส้นเสียง" เพื่อปูพื้นฐานความเข้าใจที่ถูกต้องสำหรับผู้สนใจเกี่ยวกับเครื่องเสียงและอคุสติค

เริ่มจากต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า "คลื่นเสียง – Sound Wave" ก็คือการสั่นไหวเชิงความดัน (Pressure Disturbance) ซึ่งจะเคลื่อนที่ไปในตัวกลาง (Medium) ด้วยลักษณะกิริยาการส่งผ่านพลังงานจากการสั่นไหวระหว่างอนุภาค (Particle) ที่อยู่ติดชิดกันของตัวกลางนั้น

ดังนี้คำว่า "ความเร็วของคลื่นเสียง – Speed of sound wave" ก็จะหมายถึงความเร็วของการส่งผ่านการสั่นไหวที่ว่านี้ โดยจำนวนรอบการสั่นไหวของอนุภาคตัวกลางในหนึ่งหน่วยเวลาก็คือ "ความถี่ – Frequency" ของระรอกคลื่นนั่นเอง



ความเร็วของคลื่นคือระยะที่ "จุดหนึ่งจุดใดบนช่วงคลื่น" เคลื่อนไปในห้วงเวลาหนึ่ง

ความเร็ว (V) = ระยะทาง (S) / เวลา (T)

แต่ความเร็วในการเคลื่อนที่ของคลื่นจะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของตัวกลางที่ระรอกคลื่นนั้นเคลื่อนที่ผ่านไป โดยคุณสมบัติหลักๆ ของตัวกลางที่มีผลต่อความเร็วของคลื่นก็คือ "ความเฉื่อย – Inertia" และ "ความยืดหยุ่น – Elastic"

ในกรณีของตัวกลางที่เป็นก๊าซ (Gases) ก็จะมีความหนาแน่น (Density) ซึ่งเป็นคุณสมบัติหลักทางความเฉื่อยที่มีผลต่อความเร็วในการส่งผ่านคลื่นเสียง หากปัจจัยอื่นๆ เหมือนกันแล้ว คลื่นเสียงจะเดินทางผ่านก๊าซที่มีความหนาแน่นน้อยได้เร็วกว่าตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากกว่า

ส่วนกรณีของตัวกลางที่เป็นของแข็งนั้น ตัวกลางที่มีความเหนียวแน่นสูงเช่นเหล็กจะมีความสามารถในการส่งผ่านคลื่นเสียงได้เร็วกว่าตัวกลางที่มีความหยุ่นอ่อนเช่นยาง

ทั้งนี้ปัจจัยจากความยืดหยุ่นจะมีผลต่อความเร็วของเสียงมากกว่าปัจจัยจากความเฉื่อย ด้วยเหตุนี้ความเร็วของเสียง (V) ที่เดินทางผ่านของแข็ง (Solids) จะมากกว่าของเหลว (Liquids) และในของเหลวจะมากกว่าก๊าซ (Gases)

V solids > V liquids >V gases

ด้วยเหตุนี้ความเร็วของเสียงที่เดินทางในอากาศ (Air) จึงขึ้นกับคุณสมบัติของมวลอากาศ ซึ่งคุณสมบัติหลักที่มีผลต่อความเร็วเสียงก็คืออุณหภูมิและความดันของอากาศ

ความดันของอากาศจะส่งผลต่อความหนาแน่นของมวลอากาศ (คุณสมบัติทางความเฉื่อย) ในขณะที่อุณหภูมิจะส่งผลต่อความรุ่นแรงของปฏิกิริยาระหว่างอนุภาคของอากาศ (คุณสมบัติทางความยืดหยุ่น) ซึ่งหมายความว่าหากคิดเฉพาะผลจากอุณหภูมิของอากาศต่อความเร็วของเสียงแล้ว อากาศที่มีระดับอุณหภูมิที่สูงกว่าจะยอมให้เสียงเดินทางผ่านไปได้เร็วกว่า ตามสมการ

V = 331 + 0.6T

โดย T คือค่าอุณหภูมิของอากาศในหน่วยองศาเซลเซียส และ V คือความเร็วในหน่วยเมตร/วินาที เช่นอากาศที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส (ในห้องปรับอากาศทั่วๆ ไปเช่นห้องฟังเพลง) เสียงจะเดินทางได้ด้วยความเร็วประมาณ 346 เมตร/วินาที หรือประมาณ 1,245 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

จากบทความเรื่อง "เสียงทุ้ม-เสียงแหลม" นั้น ความถี่ 1 Hz จะหมายถึงการสั่นไหว (Vibration) ของอนุภาคตัวกลางจำนวน 1 รอบใน 1 วินาที (Second) หรือ

1 Hz = 1 Vibration / 1 Second

ซึ่งการสั่นไหว 1 รอบนี้ คลื่นจะเคลื่อนที่ไปได้เท่ากับ 1 ความยาวคลื่น (L) พอดี และหากใน 1 วินาทีมีการสั่นไหว 2 รอบก็จะได้ความถี่เท่ากับ 2 Hz โดยคลื่นจะเคลื่อนที่ไปได้ 2 ความยาวคลื่น...ในระยะทางโดยรวม (S) เท่าเดิม (ด้วยความเร็วเท่าเดิม) เป็นอย่างนี้เรื่อยไป ดังนั้น

1 Hz = 1 Vibration / 1 Second โดย S = 1 x L1

2 Hz = 2 Vibration / 1 Second โดย S = 2 x L2

n Hz = n Vibration / 1 Second โดย S = n x Ln



เมื่อ S = n x L หากหารด้วยเวลา 1 วินาที จะได้ว่า

S/1 Second = n/1 Second x L

ซึ่ง S/1 Second ก็คือความเร็ว V และ n/1 ก็คือความถี่ F นั่นเอง ดังนั้น

V = F x L

แปลความหมายได้ว่า

ความเร็วของคลื่น = ความถี่ x ความยาวคลื่น

ในกรณีของคลื่นเสียงนั้น ตามปกติแล้วจะใช้สมการนี้เพื่อหาค่าความยาวคลื่นของความถี่ที่ต้องการ โดยจะเริ่มจากการหาค่าความเร็วของเสียง (ซึ่งเป็นค่าคงที่) จากสมการ V = 331 + 0.6T ให้ได้เสียก่อน เช่นหากจะคำนวณต่อจากตัวอย่างข้างบน คลื่นเสียงที่ความถี่เท่ากับ 60 Hz จะมีความยาวคลื่นเท่ากับ 346/60 = 5.76 เมตร (ที่อุณหภูมิอากาศเท่ากับ 25 องศาเซลเซียส)

ทั้งนี้สมการ V = F x L นี้จะเป็นเพียงความสัมพันธ์เชิงคณิตศาสตร์ของคลื่นเท่านั้น มิได้หมายความว่าความเร็วของคลื่น เช่นคลื่นเสียงนั้นจะแปรเปลี่ยนไปตามค่าความถี่ หรือ ค่าความยาวคลื่นแต่อย่างใด

แต่ก็ยังพบเห็นมีผู้เข้าใจผิดๆ ในเรื่องนี้กันอยู่เนืองๆ และยังมีการส่งต่อความเข้าใจผิดๆ ผ่านการบอกเล่าหรือการตอบปัญหาเกี่ยวกับอคุสติคในบางแห่งบางที่ ทำนองว่า เสียงแหลมความถี่สูงมีความเร็วมากกว่าเสียงทุ้มความถี่ต่ำ ทั้งที่จริงๆ แล้วจะมีความเร็วไม่ต่างกัน ซึ่งได้สร้างความเข้าใจผิดๆ ออกไปในวงกว้าง เนื่องจากนักเล่นโดยทั่วไปมักจะยึดถือคำตอบจากตัวบุคคลที่คิดว่าน่าเชื่อถือได้ จึงต้องถือให้เป็นปัญหาของผู้ที่ตอบซึ่งควรต้องหมั่นศึกษาในเรื่องที่เป็นหลักวิทยาศาสตร์หรือธรรมชาติมากกว่าการตอบไปตามแต่ที่ตนเองจะคิด, รู้สึกหรือคาดเดาไปเอง
ข้อมูลที่ผมไปเจอมาครับนำมาให้อ่านเล่นๆครับ loveit


เยี่ยมเลยครับสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับเพื่อนรวมงานกันครับ  ทุกคนจะได้เข้าใจสิ่งที่ถูกต้อง

จริงๆ แล้วเสียงทุกความถี่มีความเร็วเท่ากันหมดครับ ดังที่คุณบอสและkrison อธิบายนั้นแหละครับ

ผมช๊อบชอบ บรรยากาศแบบนี้ทำให้อดไม่ได้ที่เข้ามาดูเข้ามาอ่าน ดีครับใครรู้อารายช่วยๆ บอกกันอีกครับป๋ม
ง่วงนอนมากมากแล้ว ผมว่าผมไม่ต้องเฉลยอะไรก็ได้ ก็มีคนที่รู้ มาตอบให้หมดแระ

ผมอยากให้คนที่ยังมีข้อสงสัย เช่น อ้าวแล้วทำไมปกติเสียงแหลม กับ 12 หรือ 15 นิ้ว พอวัดดีเลย์แล้ว มันไม่เท่ากันล่ะ เอ๊ๆๆๆๆๆๆๆ ทำไมน่อ หรือ อื่นๆ มาถามกันมากครับ เป็นบรรยากาศที่ดีของการแลกเปลี่ยนความรู้กันครับ จะได้มช่วยกันแก้ข้อสงสัยและทำให้เรามีความเข้าใจมากขึ้น

สังคมไทยจะน่าอยู่ถ้าคนไทยรักกัน อิอิ               
นาย มณฑล สุริยา 08-9770-2078
V.L.SOUND&LIGHT LTD.,PART.
1 ซ.ราชมรรคา 2 ถ.ราชมรรคา ต.สนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
TEL : 034-250-736 FAX : 034-210-462
WEBSITE : www.vlsound.com


ออฟไลน์ tok8kil6ibpk

  • WAVE ENGINE AUDIO + ALAB AUDIO
  • ท่านผู้ชม
  • **
    • กระทู้: 36
    • V.L.SOUND&LIGHT LTD.,PART.
โห คุณบอลงานเยอะจัง

อธิบายเรื่องwavelangthจบ

รบกวนสอบถามคุณบอลเกี่ยวกับv-doscต่อเลยครับ
กราฟนั่นเป็นปากเสียงแหลมใช่มั๊ยครับ แต่ละเส้นมันคืออะไรครับ ยิ่งดูยิ่งงง


Horizontal Frequency Response of WST LA


Vertical Frequency Response of WST LA


อันนี้เป็น Frequency Response ของ VDOSC ณ องศาต่างๆ กราฟบน Horizontal
กราฟล่าง Vertical  ที่องศาต่างๆ 0 5 10 15 20 25 30 35 40 ......

อันนี้พอดีผมเอามาดูว่า จิงแล้วมันตรงกับ เสปกที่ในเวปไซด์ เขาแจ้งหรือเปล่า มุมกระจายของ Ver กับ Hor กี่องศา จุดติดเสียงแหลมประมาณ 1300 Hz ช่ายหรือไม่  ครับป๋ม
นาย มณฑล สุริยา 08-9770-2078
V.L.SOUND&LIGHT LTD.,PART.
1 ซ.ราชมรรคา 2 ถ.ราชมรรคา ต.สนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
TEL : 034-250-736 FAX : 034-210-462
WEBSITE : www.vlsound.com


ออฟไลน์ ถาวร

  • มือเบส
  • ***
    • กระทู้: 58
    • PLC Home Automation
     ขอบคุณครับ ขอสงสัยตามความรู้สึกอีกซักหน่อยครับ..
     อ่านเรื่อง Damping Factor ท่านหนึ่ง เกิดมีอีกหนึ่งมุมมองว่า ถ้าให้สัญญาณความถี่ "สูง กลาง ต่ำ" มาพร้อมๆ กัน แต่Power Amp และลำโพง มันจะให้เสียงออกมาได้พร้อมกันหรือไม่.. ขนาดระยะไม่มากในตู้เดียวกันก็ยังมีผล(คิดมากไปหรือเปล่า)



     ถ้าตามความรู้สึกทั่วไป ลำโพงเสียงต่ำมันกรวยมีมวลมาก ต้องใช้พลังงานมากในการเริ่มให้มันสั่นเมื่อมีสัญญาณเสียง และก็ต้องใช้พลังงานมากอีกเช่นกันเพื่อให้มันหยุดเมื่อหมดสัญญาณ จึงอาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่งหรือเปล่าที่ทำให้เสียงมาไม่พร้อมกัน..

     จริงๆ หูเราก็คงไม่สามารถรับรู้ในเรื่องความเร็วดังกล่าวได้ แต่ Phase Axis หรือแกนของเฟสที่เปลี่ยนไปเราอาจรับรู้ความไพเราะได้ สุดท้ายไม่ว่าจะ Delay เพราะเหตุระยะทาง , คุณสมบัติลำโพง หรือคุณสมบัติ Power Amp  การมี Time Delay น่าจะแก้ปัญหาดังกล่าวได้ กำลังเริ่มเล่นและศึกษาเรื่องพวกนี้อยู่พอดี..
ถาวร แสงฤทธิ์
ตำรวจภูธรภาค 8 เลขที่ 88/8 ม.5 ถ.เทพกระษัตรีย์ ต.ไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต 83110
ธนาคารกรุงไทย 808-1-96142-9  โทรศัพท์ 081 8928627


ออฟไลน์ ampman

  • สมาชิก
  • *
    • กระทู้: 3
ถูกต้องที่สุด  เสียงไม่ว่าจะ เสียงต่ำ กลาง แหลม เดินทางในอากาศใช้เวลาเท่ากัน แล้วอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เสียงที่ออกจากลำโพงเสียง ต่ำ กลาง แหลม มาถึงหูเราไม่พร้อมกัน 

เรื่องนี้เข้าใจว่าการอธิบายในเชิงทฤษฎีมากเกินไป  จะทำให้คนฟัง ฟังแล้วเข้าใจได้ยากกว่า  จึงบอกแค่เพียงผ่าน ๆ ว่าสัญญาณเสียงในแต่ละย่านเดินทางด้วยความเร็วไม่เท่ากันด้วน ๆ     ( แต่ไม่ได้บอกว่าเดินทางผ่านอะไร  ทุกคนจึงเข้าใจไปว่าเดินทางผ่านอากาศ   จึงเกิดข้อวิเคราะห์ตามมาเหมือนในกระทู้นี้ )

ซึ่งหากอธิบายขยายความต่อไปว่าสัญญาณเสียงในแต่ละย่านเมื่อผ่านวงจรกรองความถี่เสียง BAND PASS FILTER แล้วจะเกิดค่า Propagation Delay แตกต่างกัน  โดยสัญญาณเสียงที่ผ่านวงจรกรองความถี่ย่านเสียงต่ำ  จะเกิดค่า Propagation Delay มากที่สุด  ทำให้สัญญาณเสียงย่านต่ำที่ถูกถ่ายทอดต่อไปยังพาวเวอร์แอมป์ไปถึงช้าที่สุด  และทำให้ตู้ลำโพงเสียงต่ำทำงานช้าที่สุด  จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เราได้ยินเสียงต่ำช้าที่สุดไปด้วยโดยปริยาย  ซึ่งหากอธิบายกันยืดยาวในลักษณะนี้จะเกิดคำถามตามกันมามากมายว่า  อะไรคือ BAND PASS FILTER  อะไรคือ Propagation Delay  นี่จึงเป็นที่มาของเรื่องที่วิเคราะห์กันอยู่ในกระทู้นี้ครับ
Backstage แก่ ๆ


ออฟไลน์ nimit terbo

  • ฟังทุกเสียงที่ผ่านโสต
  • มือกลอง
  • *****
    • กระทู้: 913
 
ถูกต้องที่สุด  เสียงไม่ว่าจะ เสียงต่ำ กลาง แหลม เดินทางในอากาศใช้เวลาเท่ากัน แล้วอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เสียงที่ออกจากลำโพงเสียง ต่ำ กลาง แหลม มาถึงหูเราไม่พร้อมกัน 

เรื่องนี้เข้าใจว่าการอธิบายในเชิงทฤษฎีมากเกินไป  จะทำให้คนฟัง ฟังแล้วเข้าใจได้ยากกว่า  จึงบอกแค่เพียงผ่าน ๆ ว่าสัญญาณเสียงในแต่ละย่านเดินทางด้วยความเร็วไม่เท่ากันด้วน ๆ     ( แต่ไม่ได้บอกว่าเดินทางผ่านอะไร  ทุกคนจึงเข้าใจไปว่าเดินทางผ่านอากาศ   จึงเกิดข้อวิเคราะห์ตามมาเหมือนในกระทู้นี้ )

ซึ่งหากอธิบายขยายความต่อไปว่าสัญญาณเสียงในแต่ละย่านเมื่อผ่านวงจรกรองความถี่เสียง BAND PASS FILTER แล้วจะเกิดค่า Propagation Delay แตกต่างกัน  โดยสัญญาณเสียงที่ผ่านวงจรกรองความถี่ย่านเสียงต่ำ  จะเกิดค่า Propagation Delay มากที่สุด  ทำให้สัญญาณเสียงย่านต่ำที่ถูกถ่ายทอดต่อไปยังพาวเวอร์แอมป์ไปถึงช้าที่สุด  และทำให้ตู้ลำโพงเสียงต่ำทำงานช้าที่สุด  จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เราได้ยินเสียงต่ำช้าที่สุดไปด้วยโดยปริยาย  ซึ่งหากอธิบายกันยืดยาวในลักษณะนี้จะเกิดคำถามตามกันมามากมายว่า  อะไรคือ BAND PASS FILTER  อะไรคือ Propagation Delay  นี่จึงเป็นที่มาของเรื่องที่วิเคราะห์กันอยู่ในกระทู้นี้ครับ

เอามาเยอะๆเลยครับ ข้อมูลดีๆ จากหลายๆท่าน จะได้เกิดประโยชน์กับมวลสมาชิก

                               ขอบคุณมากๆ ครับ
นิมิตร เทียนพันธ์ 15/1 ม.5 ต.วังหิน อ.เมือง จ.ตาก รหัส 63000    089-8397876 081-6559716 ธ.กรุงไทย สาขาตาก ออมทรัพย์ 603-0-35624-0


ออฟไลน์ เอ็มครับ

  • ท่านผู้ชม
  • **
    • กระทู้: 27
  • Line 087-494-4046 099-191-5164
ถูกต้องที่สุด  เสียงไม่ว่าจะ เสียงต่ำ กลาง แหลม เดินทางในอากาศใช้เวลาเท่ากัน แล้วอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เสียงที่ออกจากลำโพงเสียง ต่ำ กลาง แหลม มาถึงหูเราไม่พร้อมกัน 

เรื่องนี้เข้าใจว่าการอธิบายในเชิงทฤษฎีมากเกินไป  จะทำให้คนฟัง ฟังแล้วเข้าใจได้ยากกว่า  จึงบอกแค่เพียงผ่าน ๆ ว่าสัญญาณเสียงในแต่ละย่านเดินทางด้วยความเร็วไม่เท่ากันด้วน ๆ     ( แต่ไม่ได้บอกว่าเดินทางผ่านอะไร  ทุกคนจึงเข้าใจไปว่าเดินทางผ่านอากาศ   จึงเกิดข้อวิเคราะห์ตามมาเหมือนในกระทู้นี้ )

ซึ่งหากอธิบายขยายความต่อไปว่าสัญญาณเสียงในแต่ละย่านเมื่อผ่านวงจรกรองความถี่เสียง BAND PASS FILTER แล้วจะเกิดค่า Propagation Delay แตกต่างกัน  โดยสัญญาณเสียงที่ผ่านวงจรกรองความถี่ย่านเสียงต่ำ  จะเกิดค่า Propagation Delay มากที่สุด  ทำให้สัญญาณเสียงย่านต่ำที่ถูกถ่ายทอดต่อไปยังพาวเวอร์แอมป์ไปถึงช้าที่สุด  และทำให้ตู้ลำโพงเสียงต่ำทำงานช้าที่สุด  จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เราได้ยินเสียงต่ำช้าที่สุดไปด้วยโดยปริยาย  ซึ่งหากอธิบายกันยืดยาวในลักษณะนี้จะเกิดคำถามตามกันมามากมายว่า  อะไรคือ BAND PASS FILTER  อะไรคือ Propagation Delay  นี่จึงเป็นที่มาของเรื่องที่วิเคราะห์กันอยู่ในกระทู้นี้ครับ


เชิญ ต่อครับ     รอฟัง รออ่านอยู่
ซ่อมตู้เย็น ซ่อมแอร์ ล้างแอร์   ซ่อมปั๊มน้ำ แก้ไข เดินท่อประปา คลอง 1 2 3 4 5 6 7 8 9 ปทุมธานี รังสิต ลำลูกกา   อส.บ.เทคโนโลยีวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์กำลัง PNT-11 พระนครเหนือ  ช่างบอส ลำลูกกาโทร 087-494-4046 099-191-5164 Line 0874944046


ออฟไลน์ ampman

  • สมาชิก
  • *
    • กระทู้: 3


เชิญ ต่อครับ     รอฟัง รออ่านอยู่

ผมไม่มีอะไรจะเพิ่มเติมหรอกครับเพราะมันยากเกินกว่าที่จะอธิบายโดยตัวหนังสือ   เพียงแค่อยากทวงติงเรื่องที่กำลังวิเคราะห์กันอยู่ว่ามันมีนัยอย่างอื่นลึก ๆ บางอย่างแฝงอยู่โดยที่เราคิดไปไม่ถึง  หากแต่เพียงแค่เราวิเคราะห์กันอย่างผิวเผินแล้วไปสร้างทฤษฎีอื่น ๆ ขึ้นมาหักล้างกับสิ่งที่เราคิดว่าไม่ใช่  มันจะยิ่งพากันสร้างความเข้าใจผิด ๆ กันไปยกใหญ่ครับ
Backstage แก่ ๆ


ออฟไลน์ LOP_Sound System

  • นักร้อง
  • ******
    • กระทู้: 1868
  • ข้าราชการไทย ทำงานรับใช้แผ่นดิน ใต้เบื้องพยุคลบาท
    • องค์การบริหารส่วนตำบลแคน
ถูกต้องที่สุด  เสียงไม่ว่าจะ เสียงต่ำ กลาง แหลม เดินทางในอากาศใช้เวลาเท่ากัน แล้วอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เสียงที่ออกจากลำโพงเสียง ต่ำ กลาง แหลม มาถึงหูเราไม่พร้อมกัน 

เรื่องนี้เข้าใจว่าการอธิบายในเชิงทฤษฎีมากเกินไป  จะทำให้คนฟัง ฟังแล้วเข้าใจได้ยากกว่า  จึงบอกแค่เพียงผ่าน ๆ ว่าสัญญาณเสียงในแต่ละย่านเดินทางด้วยความเร็วไม่เท่ากันด้วน ๆ     ( แต่ไม่ได้บอกว่าเดินทางผ่านอะไร  ทุกคนจึงเข้าใจไปว่าเดินทางผ่านอากาศ   จึงเกิดข้อวิเคราะห์ตามมาเหมือนในกระทู้นี้ )

ซึ่งหากอธิบายขยายความต่อไปว่าสัญญาณเสียงในแต่ละย่านเมื่อผ่านวงจรกรองความถี่เสียง BAND PASS FILTER แล้วจะเกิดค่า Propagation Delay แตกต่างกัน  โดยสัญญาณเสียงที่ผ่านวงจรกรองความถี่ย่านเสียงต่ำ  จะเกิดค่า Propagation Delay มากที่สุด  ทำให้สัญญาณเสียงย่านต่ำที่ถูกถ่ายทอดต่อไปยังพาวเวอร์แอมป์ไปถึงช้าที่สุด  และทำให้ตู้ลำโพงเสียงต่ำทำงานช้าที่สุด  จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เราได้ยินเสียงต่ำช้าที่สุดไปด้วยโดยปริยาย  ซึ่งหากอธิบายกันยืดยาวในลักษณะนี้จะเกิดคำถามตามกันมามากมายว่า  อะไรคือ BAND PASS FILTER  อะไรคือ Propagation Delay  นี่จึงเป็นที่มาของเรื่องที่วิเคราะห์กันอยู่ในกระทู้นี้ครับ


นี่ละครับที่เป้นเหตุผลว่าทำไม ต้องการการทำดีเลย์ให้กับระบบใหญ่ๆๆ
หากไปยืนฟังใกล้ๆๆ เสียงมันก้มาถึงหูเราพร้อมๆๆกันละครับ
แต่ไปยืนฟังไกลๆๆลองดู (ซัก 100 เมตร ขึ้น..) จะได้ยินถึงความต่างกันของเสียงมากเลยแร่ะ

นายพัลลภ  ศิริอามาตย์
อบต.แคน ต.แคน อ.วาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม 44120
DTAC : 087-4519516
ธนาคารกรุงไทย 409-0-87279-0 ออมทรัพย์ สาขามหาสารคาม
กสิกรไทย 363-2-67597-5 ออมทรัพย์ วาปีปทุม


ออฟไลน์ tok8kil6ibpk

  • WAVE ENGINE AUDIO + ALAB AUDIO
  • ท่านผู้ชม
  • **
    • กระทู้: 36
    • V.L.SOUND&LIGHT LTD.,PART.
ขอบคุณครับป๋ม สำหรับข้อมูล พอดีก็มีคนรู้จักอธิบายส่วนนี้ให้ฟังบ้างแล้ว ผมเองก็ไม่เคยทดสอบ และสังเกตุเรื่องนี้เท่าใดนัก

แต่ไม่ว่าจะเป็นระบบเล็ก หรือใหญ่ ก็ควรมีการทำ aliment เรื่องดีเลย์ครับ เพราะเรื่องของ Delay ในตู้เนื่องจากต่ำแหน่งดอก  และ ตำแหน่งของการติดตั้งตู้ลำโพง ระหว่าง ตู้ mid/high และ sub

ตอนนี้ก็กำลังนั่งทดลองเรื่องที่ คุณ ampman บอกอยู่น่าสนใจ  ได้ผลยังไงจะมาเล่าสู่กันฟังนะครับ
นาย มณฑล สุริยา 08-9770-2078
V.L.SOUND&LIGHT LTD.,PART.
1 ซ.ราชมรรคา 2 ถ.ราชมรรคา ต.สนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
TEL : 034-250-736 FAX : 034-210-462
WEBSITE : www.vlsound.com


ออฟไลน์ ช่างแอ้ด™

  • Over feel ..Trust me
  • ทิกเกอร์ทีม ช่างใหญ่
  • นักร้อง
  • *****
    • กระทู้: 2230
  • as it should be ..
    • Fbook
โอ้ว์ เรื่องเริ่มยาวแระ   ตามมาชมครับ

เมื่อกาลก่อนผมก่ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ ว่าเฟสลิเนียร์คืออะไร
แล้วทำไมอิเล็กทรอนิกส์ครอสไฮโซสมัยพระเจ้าเหาถึงทำบัฟเฟอร์เสียงแหลมทำแล้วทำอีกหลาย stage
เรื่องการเดินทางของความถี่มันจะช้าเร็วอยู่ที่ว่ามันเดินทางผ่านอะไร ...โดนจริงๆ  คุณแอมแมน !!กระทู้สองไม่ทำมะดา ๕๕๕

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกตัวมันมีสัญชาติญาณการตอบสนองต่อการกระทำอยู่ครับ มีจริงๆน่ะ พอใช้เยอะๆก็เชื่องช้า
น่าจะหมายถึง Propagation Delay ที่ว่า ???  อุดมคติของผมมันคล้ายๆกับค่า Latency ของการประมวลผล

เอาเป็นว่าต้องใช้เครื่องมือสุดโต่งวัดจึงจะมองภาพได้ง่าย  อย่างบ้านๆก็ใช้โสตประสาท หูกับมือพอเนียนๆ แล้วก็กระดกแก้วยาวไปครับ  brow


ออฟไลน์ เอ็มครับ

  • ท่านผู้ชม
  • **
    • กระทู้: 27
  • Line 087-494-4046 099-191-5164
โอ้ว์ เรื่องเริ่มยาวแระ   ตามมาชมครับ

เมื่อกาลก่อนผมก่ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ ว่าเฟสลิเนียร์คืออะไร
แล้วทำไมอิเล็กทรอนิกส์ครอสไฮโซสมัยพระเจ้าเหาถึงทำบัฟเฟอร์เสียงแหลมทำแล้วทำอีกหลาย stage
เรื่องการเดินทางของความถี่มันจะช้าเร็วอยู่ที่ว่ามันเดินทางผ่านอะไร ...โดนจริงๆ  คุณแอมแมน !!กระทู้สองไม่ทำมะดา ๕๕๕

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกตัวมันมีสัญชาติญาณการตอบสนองต่อการกระทำอยู่ครับ มีจริงๆน่ะ พอใช้เยอะๆก็เชื่องช้า
น่าจะหมายถึง Propagation Delay ที่ว่า ???  อุดมคติของผมมันคล้ายๆกับค่า Latency ของการประมวลผล

เอาเป็นว่าต้องใช้เครื่องมือสุดโต่งวัดจึงจะมองภาพได้ง่าย  อย่างบ้านๆก็ใช้โสตประสาท หูกับมือพอเนียนๆ แล้วก็กระดกแก้วยาวไปครับ  brow

แม่นแล้ว อ้าย    ตอนนี้ หัวเรื่อง ถูกแยกเป็นสองประเด็น อย่างชัดเจน

แรกเริ่มเดิมที หัวกระทู้ ที่เจ้าของ กระทู้ตั้งขึ้นมานั้น  ก็ถามแค่ว่า ความถี่ไหน เร็ว-ช้าที่สุด..........จบประเด็น

แน่นอนครับ ว่าในสมมุติฐาน เราต้องกำหนดวิธีการเดินทางของความถี่เหล่านั้นเพื่อเป็น จุดอ้างอิง

  มาประเด็นที่ 2 คือการได้ยินของเราจริง ๆ ว่าทำไม ทำไม ทำไม เราทั้งหลายได้ยิน ความถี่เสียงแต่ล่ะ ค่าไม่เท่ากัน  สิ่งที่จะ แสดงความคิดเห็นกันต่อไป น่าจะเป็นประเด็นนี้มากกว่า 

ดั่งที่ ท่าน  แอมแมน  และป๋าแอ้ด  ได้กว่าว  เริ่มใว้แล้ว ว่า กว่า เสียงที่ออกมาจาก จุด เริ่มต้น มาจบที่ ดอกลำโพง  แต่ล่ะความถี่ ไม่ได้เดินมา ในถนนสายเดียวกัน อิเล็กตรอนแต่ล่ะค่า แต่ล่ะย่าน ต้องเจอกับ สิ่งกีดขวาง นานาชนิด ที่แตกต่างอันออกไป  ซึ่งเป็นผลทำให้ ถึงที่หมาย ปลายทาง ไม่พร้อมกัน


ข้าน้อย ขอคาราว่ะ
ชิมิชิมิ
ซ่อมตู้เย็น ซ่อมแอร์ ล้างแอร์   ซ่อมปั๊มน้ำ แก้ไข เดินท่อประปา คลอง 1 2 3 4 5 6 7 8 9 ปทุมธานี รังสิต ลำลูกกา   อส.บ.เทคโนโลยีวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์กำลัง PNT-11 พระนครเหนือ  ช่างบอส ลำลูกกาโทร 087-494-4046 099-191-5164 Line 0874944046


ออฟไลน์ Int_Soundlight

  • สมาชิก
  • *
    • กระทู้: 9
สุดยอด เห็นแสงสว่างเลย ใครที่ไม่เข้าใจ ลองอ่านให้ดีแล้วคิดให้ลึกๆครับ
ขอบคุณสำหรับความรู้เลย
นาย วรวุฒิ  แซ่คู 919/79 ม.10 ต.นครสวรรค์ ตก<br />อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000<br />เบอร์โทรศัพท์ 0861194636 - 0854854713


ออฟไลน์ mitr

  • มีตังค์น้อย ก็ค่อยๆซื้อสะสมกันไป
  • นักร้อง
  • ******
    • กระทู้: 3108
ขอบคุณครับ
พิสิฏฐ์ อินทรัตน์ 081-0939871 บัณฑิตวิทยาลัย ม.สงขลานคริทร์ ขั้น 10 อาคาร 2 ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ (LRC) อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 ธ.ไทยพาณิชย์ ม.สงขลานครินทร์ บ/ชออมทรัพย์ 565-407235-2


ออฟไลน์ เอ็มครับ

  • ท่านผู้ชม
  • **
    • กระทู้: 27
  • Line 087-494-4046 099-191-5164
อยากฟังเหตุผล  ของท่านอื่นๆ บ้างค่ะ
ซ่อมตู้เย็น ซ่อมแอร์ ล้างแอร์   ซ่อมปั๊มน้ำ แก้ไข เดินท่อประปา คลอง 1 2 3 4 5 6 7 8 9 ปทุมธานี รังสิต ลำลูกกา   อส.บ.เทคโนโลยีวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์กำลัง PNT-11 พระนครเหนือ  ช่างบอส ลำลูกกาโทร 087-494-4046 099-191-5164 Line 0874944046