ผมก็มึนตี๊บเหมือนพี่อำนาจเหมือนกัน แต่จะพยายาม ..
ขอต่อแบบต้วมเตี้ยมอีกหน่อย..
จากการเพิ่มหรือลดทีละ 3dB จะมีการเปลี่ยนแปลงตามตัวอย่าง ขอใช้ตัวเลขลงตัวตรงๆ คือ
1. ถ้าเลื่อน Slide Fader เพิ่มจาก 0 เป็น 3dB
ที่กราฟ 0dB สัดส่วน = 1 : ที่ 3dB สัดส่วน = 2 (จาก 1 กลายเป็น 2) หรือเพิ่มเท่าตัว
2. ถ้าเลื่อน Slide Fader เพิ่มจาก 3 เป็น 6dB
ที่กราฟ 3dB สัดส่วน = 2 : ที่ 6dB สัดส่วน = 4 (จาก 2 กลายเป็น 4) ก็เพิ่มเท่าตัวเหมือนเดิม
3. ถ้าเลื่อน Slide Fader เพิ่มจาก 0 เป็น 10dB
ที่กราฟ 0dB สัดส่วน = 1 : ที่ 10dB สัดส่วน = 10 (จาก 1 กลายเป็น 10) หรือเพิ่ม 10 เท่าตัว
4. ถ้าเลื่อน Slide Fader ลดจาก 0 เป็น -3dB
ที่กราฟ 0dB สัดส่วน = 1 : ที่ -3dB สัดส่วน = 1/2 (จาก 1 กลายเป็น 1/2) หรือเป็นการลดครึ่งหนึ่ง
5. ถ้าเลื่อน Slide Fader ลดจาก -3dB เป็น -6dB
ที่กราฟ -3dB สัดส่วน = 1/2 : ที่ -6dB สัดส่วน = 1/4 (จาก 1/2 กลายเป็น 1/4) ก็ลดครึ่งหนึ่งเหมือนเดิม
6. ถ้าเลื่อน Slide Fader ลดจาก 0dB เป็น -10dB
ที่กราฟ 0dB สัดส่วน = 1 : ที่ -10dB สัดส่วน = 1/10 (จาก 1 กลายเป็น 1/10) จะเป็นการลดสัญญาณไป 10 เท่า

สิ่งที่ได้มาอีกหน่อยคือ
- การเพิ่มขึ้น เป็นการทวีคูณสัดส่วนตามค่า log 10
- เพิ่มไป 3dB เท่ากัน ณ จุดที่ต่างกัน แต่ค่าที่เพิ่มมันไม่เท่ากัน แต่เป็นทวีคูณเหมือนเดิม เช่นเราอาจเพิ่มจาก 1.5dB > 4.5dB (เพิ่ม 3dB) ก็เป็นทวีคูณจาก 1.5dB เช่นกัน
- ทุกๆ 10dB มีการเพิ่ม 10 เท่า ค่า dB จึงเป็นค่าที่กระทัดรัด สามารถนำไปอธิบายสัดส่วนใหญ่ๆ ได้ดี เพราะที่ 60dB ค่าสัดส่วนจะไปถึง 1 ล้านเท่า (หรือ 10 ยกกำลัง 6) เมื่อเทียบกับ 0dB
- การลดลง กลับเป็นการลดลงทีละครึ่งส่วน
- ดังนั้นกราฟนี้แทบจะไม่มีค่าสัดส่วนเป็น 0 ได้เลย
- ผมสังเกตุเห็นตัวเลขทั้ง + และ - ของ 3,6,9,12..dB เป็นค่า default ใน parameter ต่างๆของเครื่องเสียง เครื่องปรุง บ่อยๆ ก็พอเดาได้ว่าทำไมต้องใช้เลขนี้ แต่ไม่ใช่ซีเรียสว่าต้องเป็นเลขนี้ เขาตั้งมาให้เราปรับแต่งเท่านั้น..
Sound pressure คือแรงดันของเสียงที่แพร่กระจายมาถึงหูเรา(ความดัง) วัดสัดส่วนได้จากไมโครโฟน เป็นแรงดันของเสียงต่อพื้นที่(square) เขาจึงคำนวนสูตรพลังงานที่ทำให้เกิดเสียงได้เท่ากับ pressure ยกกำลัง 2 (square)
ถ้าต้องการเพิ่มพลังงานเสียงเป็นกี่เท่าก็ต้องคูณด้วย square root จำนวนเท่านั้น เช่น ถ้าต้องการเพิ่ม 2 เท่า จะเท่ากับ P คูณด้วย square root 2 : และถ้าต้องการลดพลังงานเสียงเป็น 2 เท่าหรือครึ่งหนึ่ง ก็จะเท่ากับ P หารด้วย square root 2 : (สามเท่าก็ root 3 , สี่เท่า ก็ root 4 เป็นต้น)
ให้ P = Power = พลังงานที่ทำให้เกิดเสียง (เป็นไปตามสูตร Sound Presure)
I = Identical Sound = ชุดเครื่องเสียงที่ทดลอง (เช่นจำนวน Amp + ลำโพง ที่ใช้)
L = Level = แรงดันสัญญาณเข้า หรือค่า dB (ค่าจากการปรับ +,-)
ดังนั้นการที่จะทำให้เกิดความแตกต่างของความดังของเสียงจึงกระทำได้หลายๆ อย่างคือ
1. เพิ่มกำลังขับ (P) หรือ Power ของเครื่องเสียง (โดยที่ใช้ ลำโพงเท่าเดิม และเร่งเสียงเท่าเดิม)
2. เพิ่มจำนวนเครื่องเสียงและลำโพง (I) (โดยใช้กำลังขับเท่าเดิม และเร่งเสียงเท่าเดิม)
3. เพิ่มความแรงสัญญาณ (L) (โดยใช้กำลังขับเท่าเดิม และลำโพงเท่าเดิม)
หรือตลอดจนทำทั้ง 3 อย่างรวมกันถ้าจำเป็น
ถ้าเราแบ่งหรือลดเสียงออกทีละครึ่งไปเรื่อยๆ ไม่ว่าจะจากการลดพลังงานที่ P , หรือจากการลดจำนวนเครื่องเสียง/ลำโพง , หรือจากการลดระดับของสัญญาณ จะมีอะไรเกิดขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบการลดแต่ละอย่าง มันควรมีเหตุผลอะไรที่ต้องเลือกทำอย่างนั้น หรือทำอย่างไรจะดีที่สุด ประหยัดเงินซื้ออุปกรณ์ , ประหยัดพลังงานไฟฟ้าหรือลดภาระเครื่องขยายให้มากที่สุด ลองดูตามตารางการแบ่งด้านล่าง

ถ้ามีเครื่องเสียง 3 ชุดที่ให้เสียงได้เท่าๆ กัน 3 แบบ ดังนี้
ก. เครื่องเสียง 100 วัตต์ ลำโพง 1 ตู้ เปิดดังเต็มที่ (P)
ข. เครื่องเสียงอีก 4 ชุด ลำโพง 4 ตู้ กี่วัตต์ก็ได้ เร่งเท่าๆกัน เปิดให้ดังรวมเท่ากับข้อ 1. (4I)
ค. เครื่องเสียง 400 วัตต์ ลำโพง 1 ตู้ เร่งไม่ต้องไม่สุดแต่ให้ดังเท่ากับข้อ 1. หรือ 2. (L)
ฉะนั้นถ้าในข้อ ค. ผมลดสัญญาณลงมา 6dB เหมือนเขาบอกว่าจะเท่ากับการปิดเครื่องเสียงในข้อ ข. ไป 3 ตัว(เหลือ 1 ส่วน 4) หรือเท่ากับเปลี่ยนไปใช้เครื่องเสียงแค่ 50 วัตต์ ในข้อ ก.

การ Pan ลำโพง ซ้ายสุดขวาสุด ก็เป็นการแบ่งเสียงทีละครึ่ง มีการเพิ่มลดเกี่ยวข้องกับตัวเลข 3dB นี้อย่างไร ?
และถ้าท่านต้องการคุมเสียงให้คลุมพื้นที่เป็น 2 เท่า ท่านจะใช้วิธีการใด ?