ความคิดเห็นจากอินเทล (ประเทศไทย)จาก ข้อมูลที่เราได้ทราบภายหลัง โดยการเปิดเผยจากอินเทล (ประเทศไทย) ทำให้เราได้ทราบว่า ปัญหาของ "ปลอม" นั้นมีมานาน และกระทำกันในหลายๆ รูปแบบ อย่างในบทความนี้ กล่อง "ปลอม" ที่ทำขึ้น จะระบาดอยู่ในประเทศจีน ซึ่งมีโรงงานผลิตกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ส่วนวิธีการอื่นๆ ที่พบบ่อยก็คือ การนำเอากล่องซีพียู "จริง" ที่เหลือใช้จากการประกอบเครื่องมาใส่ซีพียูที่เป็นรุ่นที่ต่ำกว่า ซึ่งผ่านการทำให้ "วงจรเสียหาย" จนไม่สามารถตรวจสอบได้ แล้วส่งกลับไปเคลมกับอินเทล เพื่อรับซีพียูรุ่นที่สูงกว่าเดิม (รุ่นเดียวกับที่ระบุหน้ากล่อง) กลับมาขายอีกที นอกจากนี้ยังมีส่วนของซีพียูแบบที่นำเข้าอย่างไม่ถูกต้อง (Gray market) ซึ่งราคาก็จะต่ำกว่าหลักหลายร้อยบาท กลเม็ดอีกประการหนึ่งก็คือ การซื้อ-ขายซีพียูเพื่อ "ฟอกเงิน" ก็มีไม่น้อย อินเทลได้ประมาณการว่า ซีพียูที่มีขายอย่างไม่ถูกต้องในตลาดเมืองไทยนี้มีมากถึง 30% เลยทีเดียว
จะ เห็นได้ว่า การทำปลอมหรือนำเข้าแบบต่างๆ จะมุ่งไปที่การ "เพิ่มส่วนต่าง" เพื่อให้ผู้ขายได้กำไรมากขึ้น ข่าวดีก็คือ ไม่มีการปลอมซีพียู หรือ ทำ "รีมาร์ก" แต่อย่างใด และถึงแม้ว่าซีพียูที่นำเข้าแบบนี้จะเป็นของแท้ แต่สิ่งที่สร้างความเสียหายแก่ผู้ซื้อก็คือ การรับประกันที่ไม่ถูกต้องและไม่ถูกรับรองโดยอินเทลประเทศไทย โดยสินค้าของแท้ที่ซื้อกับตัวแทนจำหน่ายที่แต่งตั้งโดยอินเทลอย่างถูกต้อง จะได้รับประกันนานถึง 3 ปีทันที ขณะที่ซีพียูที่ไม่ถูกต้องนั้น อย่างดีก็คือรับประกันแค่ 1 ปีหรือไม่ได้รับการรับประกันเลย
สติ๊กเกอร์รับประกันแบบใหม่ เพื่อความมั่นใจยิ่งขึ้น
ช่วง นี้หลายๆ ท่านที่เดินหาซื้อซีพียูอินเทลรุ่นใหม่ๆ อาจได้พบกับสติ๊กเกอร์รับประกันหน้าตาแปลกๆ ลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมสีส้ม ติดอยู่บริเวณมุมบนซ้ายด้านหน้ากล่อง สติ๊กเกอร์ดังกล่าวคือแคมเปญใหม่ของอินเทลประเทศไทย ที่ทำขึ้นเพื่อให้แตกต่างจากสินค้าที่ขายโดยผู้ค้ารายอื่นๆ ที่ไม่ใช่ดิสตริบิวเตอร์ที่ถูกต้องของอินเทล โดยรูปแบบสติ๊กเกอร์แบบเต็มๆ จะเป็นดังภาพข้างล่างนี้
