เยี่ยมเลยครับ รู้หลักการของคลื่นเสียงแล้ว คราวนี้จะแก้ปัญหาการหักล้างของคลื่นเสียงอย่างไรละครับ ต้องเพิ่มตู้ตรงกลางอีกสักชุดเป็นไงครับ..สำหรับเวทีใหญ่ๆ
ขอตอบเป็นรูปภาพ อาจจะรบกวนพื้นที่กระทู้ อ.ธวัช นิดนึง ขออภัยด้วยนะครับ ^^
อันนี้เป็นภาพจากโปรแกรม DVA Composer ซึ่งมีส่วนที่จำลองแผนภาพการกระจายของคลื่นเสียงในย่านตอบสนองของซับครับ ตู้ที่ทดสอบเป็นรุ่น DVA S30N หน้าเปิดกึ่งฮอน ใช้ดอก Neo RCF ดอกดับเบิ้ล
***บอกอีกทีนะครับ ทฤษฏีนี้ไม่เกี่ยวกับสูตรตู้โดยตรง แต่มีผลอ้อมนิดนึงตรงทางออกของคลื่นเสียง ถ้าเป็นระบบฮอน แนวโน้มก็จะโดนอัดพุ่งไปข้างหน้ามากกว่าหน้าเปิด
#ปกติ หากเราวางซับ LR (ซ้ายขวา) ของเวที ซ้ายขวาห่างกัน 18 เมตร (ประมาณเวทีขนาดเกือบใหญ่) ก็จะเกิดแนวเสริมกันและหักล้างกันสลับกันไปเรื่อยๆครับ ตามกฏการแทรกสอดของคลื่น
ภาพนี้ทำการจำลองที่ 80 Hz ครับ
สีดำ แดง ก็ดังมาก ถัดมาก็สีส้ม เหลือง จากเป็นสีเขียว ฟ้า น้ำเงิน ความดังก็ค่อยๆลดลง ดูดีบีได้ตรงแถบข้างๆครับ
PIC 1 : L-R
ภาพถัดมาครับ (ภาพที่ 2) เรามักจะเห็นในคอนเสิร์ตฝรั่งใหญ่ๆ ที่ชอบวางซับทิ้งระยะห่างกันประมาณหนึ่ง เรียงรายกันหน้าเวทียาวเหยียด

การวางซับแบบนี้เรียกว่า "ระบบ Line" ครับ ระบบนี้จะทำให้เสียงบริเวณโดยรอบบอดน้อยลง สังเกตได้จากแพทเทิลการกระจายเสียงจะมีสีที่สม่ำเสมอกัน แบบนี้จะคุมเสียงหน้าเวทีง่ายครับ เดินไปตรงไหนก็ไม่ค่อยแตกต่างกัน
#ระบบ Line นั้น เทคนิคอยู่ที่การดีเลย์ครับ เราวางซับห่างกัน 0.5 ม. ดูตัวเลขที่รูปมุมขวาบน มีค่าดีเลย์ = 1 มิลลิเซ็ก จะเห็นว่าตรงกับซับคู่กลางในรูปบนซ้าย
(ถึงตรงนี้ของอธิบายนิดนึง : ที่ดีเลย์เริ่มที่ 1 มิลลิเซ็กนั้น ไม่เริ่มที่ 0 ก็เพราะว่า เราต้องดีเลย์กลางแหลมกับซับวูฟเฟอร์ก่อน เนื่องจากที่ผมจำลองมันแขวนกลางแหลมไว้สูงจากพื้น 8 เมตร กลางแหลมจะมาถึงผู้ฟังช้ากว่าซับที่วางอยู่กับพื้น มีค่าความต่างของระยะทางเท่ากัน 1 มิลลิเซก)
มาที่เทคนิคระบบไลน์กันต่อครับ คู่แรกดีเลย์ที่ 1 มิลลิเซก คู่ที่อยู่วงนอกถัดมาดีเลย์เพิ่มเป็น 1.5 มิลลิเซก แล้วก็เพิ่มเป็น 2 มิลลิเซก และคู่หลังสุดเป็น 4 มิลลิเซก ... ผมจะอธิบายตรงนี้ยังไงดี ยากอ่า 555+ เอาเป็นว่าหลังไมค์ดีกว่าเนอะ ^^
มาถึงการวางแบบที่ 3 ครับ เรียกว่า "End-Fire Configuration"

อันนี้เป็นเทคนิคการวางซับเพื่อหวังผลระยะไกลของจริง ดูจากรูปก็รู้แล้วว่ามันพุ่งซะขนาดนั้น
ผมเคยใช้เทคนี้มาแล้ว สนุกมาก การวางซับแบบนี้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้ครอบคลุมพื้นที่ด้านหน้าเวที
เหมาะสำหรับสนามฟุตบอล พื้นที่โล่งแจ้ง ซึ่งคนดูยืนอยู่ห่างจากเวทีพอสมควร (จากแพทเทิลจะเห็นว่าบอดข้างนิดหน่อย แต่ระยะไกลคุ้มค่ามาก)
เทคนิคคือนำซับมาเข้าแถวต่อตูดกัน เลือกความถี่ที่ต้องการจูน เช่น 80, 63, 50 Hz หาค่าความยาวคลื่นหน่วยเป็นเมตร
จากนั้นเอามาหารด้วย 4 จะได้ค่าความยาว 1 ใน 4 ของคลื่น นำไปเทียบหาเวลาว่ามีค่ากี่มิลลิเซก จากนั้นก็นำไปใส่เป็นค่าดีเลย์ให้แก่ซับแถวหน้า (ดังรูป) โดยระยะห่าง เซ็นเตอร์ถึงเซ็นเตอร์ของซับแถวหน้าและแถวหลังทั้งสองมีค่าเท่ากับ 1 ใน 4 ของความยาวคลื่นของความถี่ที่เราเลือก
หลักการอธิบายง่ายๆคือ คลื่นจากตู้หลังจะวิ่งมาโป๊ะเชะกันคลื่นคู่หน้าพอดี (in phase) หัวคลื่นกันหัวคลื่นเสริมกันละกัน
ผลรวมของแอมพลิจูดคลื่นเพิ่มขึ้นสองเท่า กล่าวคือ ความดังเพิ่มขึ้น 3 dB
ในขณะที่ด้านหลัง หางคลื่นเจอกัน เฟสของคลื่นทั้งสองถ่างออกไปจนต่างกันกลายเป็นหัวคลื่นมาเจอกับท้องคลื่น เกิดการหักล้างกัน ต่างกัน 180 องศา (out of phase) ส่งผลให้ความถี่ที่ต้องการจูนด้านหลังตู้ซับหรือบริเวณเวทีมีเสียงความถี่นั้นเงียบลงนั่นเอง
....
ส่วนแบบสุดท้ายที่นิยมกันก็คือ การวางซับแบบ Cardioid

การวางซับแบบนี้ เสียงจะครอบคลุมดีเช่นเดียวกับแบบ end-fire แต่ความดังจะสู้แบบ end-fire ไม่ได้ เพราะไม่มีการเสริมกันของคลื่น (น้อยกว่าราว 3 ดีบี เมื่อใช้ซับจำนวนเท่าๆกัน) เนื่องจากจะต้องใช้พลังงานจากซับส่วนหนึ่งไปหักล้างพลังงานจากซับตัวหน้าเพื่อให้ด้านหลังเวทีเงียบ ซึ่งการหักล้างนี้จะเป็นไปทุกๆความถี่ เพราะเทคนิคคือกลับเฟส 180 องศา พร้อมกับดีเลย์เพื่อให้เฟสตรงกับตัวหน้า แล้วการหักล้างจะได้ทำได้หมดนั่นเอง >>
การวางซับแบบนี้นิยมในเวทีคอนเสิร์ตที่เค้าไม่ต้องการเสียงจากซับขึ้นไปรบกวนบนเวที ผลก็จะทำให้เสียงมอนิเตอร์ และเสียงที่ใช้ไมค์จับอื่นๆ มีความเคลียร์ ซาวด์ก็จะสะอาดอ่าครับ
แล้วทุกวันนี้ก็มีการผลิตตู้ซับแบบ cardioid ในตัวขึ้นมาหลายเจ้า ดั้งเดิมเลยก็ Nexo CD-18, ใหม่ๆก็พวก d&B Audio Teknik อะไรงี้ก็ก็มีแล้วนะครับ สะดวกดีเหมือนกัน 55
ผิดถูกตรงไหน ชี้แจงได้เลย ยินดีรับฟังเสมออ่าครับ
ถ้าใครตาลายขี้เกียจอ่านที่ผมพร่ำเพ้อก็เลื่อนไปไวๆเลย เหอๆ
