ได้ระดับปรมาจารย์เครื่องหลอดมาเพิ่มอีกคนแล้ว ท่านตะวัน.......
------------------------------------------------------------
ไม่ถึงขนาดนั้นหรอกครับท่าน แค่งูๆปลาๆครับ
ในนี้ยังมีปรมาจารย์ที่เก่งๆ(แต่แอบซ่อนตัวในคราบเสี่ยวเอ้อ..อิอิ ดูหนังมากไป) อีกหลายๆท่าน
หากมีข้อผิดพลาดประการใด ก็ต้องขออภัยในความไม่รู้ และน้อมรับคำแนะนำจากทุกๆท่าน
อ้อ..
ไหนๆ ก็เข้ากระทู้มาแล้ว ผมขออนุญาต สรุปขั้นตอนการ ซ่อมแซมและฟื้นฟู
ให้เพื่อนๆสมาชิกนะครับ ตามแนวทางของผม เผื่อจะเป็นประโยชน์บ้าง
--------------------------------------------------------------
เครื่องมือที่ควรมี ,คีม ,ไขควง, มีเตอร์ VOM,ตะกั่วหัวแร้ง ,ตาดู,หูฟัง,จมูกดมกลิ่น
สายปากคีบหลายๆเส้นเผื่อไว้มีประโยชน์เยอะ
----------------------------------------------------------------
เมื่อได้เครื่องแท่นไหน ยี่ห้อไหน สภาพยังไงอะไรมาก็แล้วแต่ ผมจะเริ่มวิธีการทำงาน ดังนี้
---------------------------------------------------------------
1. ทำความสะอาด ภายนอก ภายใน โดยการเป่าฝุ่น ล้างน้ำแฟ้บ(ในส่วนที่โดนน้ำได้)
จับอาบน้ำให้สะอาดนะครับ ทุกซอกทุกมุม
เน้นล้างในส่วนที่เป็นจุดเชื่อมต่อ เช่น Socket หลอด Connector ต่างๆ ด้วยน้ำยา
Cleanner เมื่อล้างสะอาดดีแล้ว เป่าลมให้แห้ง ยิ่งได้ลมแรงๆในปั้มด้วยยิ่งดี
บางทีผมก็ไปให้บริการในปั้มเลย อิอิ เสร็จแล้วตากแดดครับ บางทีแดดแรงๆ ดีๆ
ก็ตากสัก 2-3 วัน ในขั้นตอนนี้เรียกว่า เครื่องแดดเดียว 5 5 5
------------------------------------------------------------------
2. หลังจากอาบแดดมาจนตัวแห้งสนิทแล้ว ก็เริ่ม เช็คสายไฟครับ เส้นไหนขาดก็ต่อ
เส้นไหนเปลี่ยนได้เปลี่ยนเลย เส้นไหนหนูกัด ต้องดูให้ละเอียดนะครับ ในระหว่างดูสายไฟ
ตาก็ดู R C และอะไรต่อมิอะไร ไปด้วยในคราวเดียว เห็นตรงไหนผิดปกติ หมายตาไว้
แต่ยังไม่ต้องถอดออกเดี๋ยวนั้นนะครับ เพราะเราจะต้องเผื่อไว้เขียนวงจร(ในกรณีอาจจะหาวงจรไม่ได้)--------------------------------------------------------------------
3.ซ่อมภาคจ่ายไฟก่อน เริ่มต้นที่ปลายสายไฟ AC เลยครับ จากปลักเสียบออกจากไฟบ้าน
มาถึงในเครื่อง วัดขาดหรือช้อตดูครับ ฟิวส์ สวิตซ์ จนถึงหม้อแปลง
*** ขั้นตอนนี้ยังไม่เสียบไฟนะครับ***
วัดหม้อแปลงด้วยมีเตอร์ ช้อตรอบใหม หรือรั่วลงกราวด์หรือเปล่า
ถ้าทุกอย่างปกติดีแล้ว ให้ปลอดสาย AC ด้านออกจากหม้อเแปลง(Secondary) ทุกเส้น
ระวังอย่าให้ปลายสายช๊อตกันนะครับ เสียบไฟ เปิดสวิตซ์ ฟิวส์ต้องไม่ขาด ทิ้งไว้สัก 10 นาที
ระหว่างนี้ ไปเปิดเบียร์มากินสักกระป๋อง
พอได้ที่ ตาเริ่มหวานนิดๆ เดินกลับมาวัดไฟ AC ครับ
5 5 5 วัดให้ถูกนะครับ ห้ามกินเกิน1กระป๋อง อาจจะเป็นอันตะลายได้ ^^
วัดให้หมดครับ ไฟ 6.3 VAC, ไฟสูง B+ 600+VAC , ไฟ 50 VAC ที่จะไปทำไฟลบ
และไฟขดอื่นๆ ถ้ามี วัดให้ครบถ้วน จดใส่กระดาษไว้ทุกจุด ว่าได้ไฟเท่าไรบ้าง
ถ้าทุกอย่างมาครบ ตรงดีแล้ว ก็ปิดสวิตซ์ ถอดปลักครับ
------------------------------------------------------------------------
3.1 ตรวจเช็คภาค Rectify เริ่มจากวัด Diode ว่าขาดหรือช้อตใหม Condensor Leak รั่วหรือไม่
ตาดูสภาพภายนอกประกอบไปด้วย ใช้มีเตอร์เช็ค ในกรณีนี้ผมขอเสนอวีธีที่ผมใช้ประจำนะครับ
คือ ใช้มีเตอร์ วัดขาด รั่วก่อน ถ้า OK ใช้ไฟ DC ป้อนเข้า
โวลท์ต้องไม่เกินที่ Condensor รับได้นะครับ!!ป้อนไฟไว้สักพัก ค่อยปลดไฟออก เอามีเตอร์วัดโวลท์ที่ขั้วเลยครับ ถ้ามีอาการตามข้างล่างนี้ สรุปได้ว่า
- ขึ้นแล้วค้าง ค่อยๆ ตกลงช้าๆ ๆ ๆ ๆ ๆ โอเคร ให้คะแนน 5 ดาว
- ขึ้นแล้ว ตกวูบๆๆๆ ๆ ๆ รั่วครับ ได้ 0 คะแนน อิ อิ กินไข่เลย
- ไม่ขึ้นเลย พอปลดไฟปุ้บ ก็หายปั้บ ขาดครับ ได้ 0 คะแนน กินไข่ไป
3.2 เช็คไดโอดแล้ว คอนเด็นเซอร์แล้ว ถ้าดี ไปขึ้นตอนต่อไปครับ
3.3 ปลดสายที่บวก ที่ต่อจาก Condensor ทุกจุดออกหมด หาอะไรเขียนปลายสายไว้ด้วย กันลืม
ต่อสาย AC ด้านออกจากหม้อแปลง Secondary เข้ากับไดโอด (ขึ้นตอนนี้เริ่มทำที่ไฟสูงก่อนก็ได้
เสร็จแล้วค่อยไปทำไฟลบ และชุดอื่นๆต่อไป)
ตั้งมีเตอร์วัดไฟ DC จับกราวด์และบวกตั้ง Range ไว้สูงๆเลยครับ เช่น 700Volt. หรือ1000 Volt
3.4 เปิดสวิตซ์จ่ายไฟมา ยังไม่ต้องทำไรทั้งสิ้น ตาดู หูฟัง จมูกดมกลิ่น ทิ้งไว้สักพัก ทุกอย่างต้องอยู่ในความสงบ
กลั้นหายใจ ห้ามดูหนังฟังเพลง เล่นไลท์ แฟนมาคุยด้วยก็ไม่ได้ กำลังอยู่ในช่วงเวลาวิกฤติ 555
ควรปิดพัดลมด้วย มีอะไรไหม้จะได้เห็นควันชัด 555
z . Z z Z z z z .
เวลาจะผ่านไปช้าๆ ชั่วเคียวหมากแหลก ถ้าไม่มีไฟใหม้ หรือฟิวส์ขาด ..
ใช้มีเตอร์วัดไฟครับ DC
ควรได้ดังนี้ (ไฟ AC จากขดออกหม้อแปลงคูณด้วย 1.414 ซึ่งเป็นสแควรูทที่ทวีแรงดันของไดโอด
(จึงมีการใช้คุณสมบัติข้อนี้ ของไดโอดไปสร้างวงจรทวีแรงดัน เช่น ภาคจ่ายไฟสูงของ โทรทัศน์ เป็นต้น)
แล้ว ลบด้วย 2 คือโวลท์ตกครอ่มตัวไดโอด ก็จะเหลือไฟ DC สุทธิครับ .. หุหุ งงๆ มั้ยครับ)
ตัวอย่างที่่1. เช่น AC = 500 VAC เมื่อผ่านการแปลงด้วยไดโอดจะได้ไฟดังนี้
500 X 1.414 = 707
ลบด้วยแรงดันตกคร่อมไดโอดเอง 2 โวลท์ โดยประมาณ
ดังนั้น จะเหลือ โวลท์ประมาณ 705Volt +/- นิดหน่อย
ใช้วิธีนี้กับทุกๆภาคจ่ายไฟ หลังจากนั้นก็ไปทำไฟ ไบอัส ลบ
เช็คไฟจุดใส้หลอด 12 Volt หรือ 6.3 Volt ด้วย ถ้าทุกอย่างปกติดี จ่ายไฟทิ้งไว้อย่างนั้นสักชั่วโมงยิ่งดี
เพราะอะไร? ทำไมต้องจ่ายทิ้งไว้นะเหรอ..
นี่ครับ เหตุผล
" เรื่องนี้สำคัญนะครับ Condensor ที่ไม่เคยใช้งานนานๆมาก มัก แห้งหรือไม่ก็
จะรั่ว Leak และ ที่ตามมาหลังจาก Condensor รั่ว คือไดโอด Rectify ก็จะหัวใจวายไปตามกัน
ดังนั้น อย่าด่วน ใจร้อนเอา ของดีๆใส่เลยทันที เครื่องไม่เคยโดนเสียบไฟมาไม่รู้กี่สิบปี กี่สิบปี
ต้องใจเย็นๆนะครับ ค่อยวอร์ม จนแน่ใจ ค่อยเปลี่ยนหลอดดีๆลง"
----------------------------------------------------------------------
จบขั้นตอนซ่อมภาคจ่ายไฟครับ หวังว่าคงจะมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยครับ
หากมีข้อ ผิดพลาดประการใด กราบขออภัยมา ณ.ที่นี้ ด้วย
และหากมีสิ่งใดที่เป็นประโยชน์และเกิดกุศล ขอมอบให้ อาจารย์ยืน ภู่วรวรรณครับ
ผู้ประสาทวิชา และคูบาอาจารย์ท่านอื่นๆทุกท่านครับ
หากมีโอกาส จะมาต่อ เรื่องซ่อมภาคอื่นๆ ต่อไปนะครับ

ขอแสดงความเคารพทุกๆท่านครับ
ตะวัน
---------------------------------------------------------------------