ชารตแบตหน่อยครับพระอาจารย์ นิ่งๆไปหลายวันแล้ง
จริงแล้วมิสเตอร์ฝรั่งเขาไม่ได้เป็นความลับอะไรหรอก เพียงแต่ว่าใครจะมีความสนใจเข้าถึงสิ่งที่เขาบอก..เท่านั้น ?
วงจรจริงทั้งหมดถ้าไล่ดูไม่ไหวเช่นกันคงเมาจอตาลายเป็นแน่ เท่าที่แอบดูเขามา และ ลองคิดตามดู แล้ว จะ ...
1.ทำไม ต้องแยกหม้อแปลง เพื่อ ?
2. Hi side ? / Lo side ? วัตถุประสงค์ ?
3. คำว่า Ground Bridge แปลตรงๆก็เกือบถึงบางอ้อแล้ว "สะพานกราวด์" เขากำลังบอกอะไร ?
4. กำลังขับสูงมาก ทำไมสามารถทำให้สูญเสียความร้อนต่ำ แผ่นระบายนิดเดียว ของเราทำไมใหญ่โตมโหฬาร ?
5. ตั้ง 3600 5000 w ถ้าดูจากไฟหลักที่จ่ายให้วงจร ถ้าคิดเป็นวงจรพื้นฐาน ยังไงก็ impossible ต้องทำไง ?
6. ทำไม amplifier เขาจึงสามารถ ซ้อน bridge ได้ เป็นเช่นนั้นจริงหรือ ?
7. แล้ว ยังเอาชุด amplifier มาขนานเพื่อขับกระแสสูงขึ้นได้อีก แปลกดีเนอะไม่ยักกะพัง ?
ถ้าจะบอกเลยมันก็จบเร็วไปเสียราคาแอมป์เขาหมด แต่หัวข้อนี้มีคำตอบหลักการให้ดูแน่ครับ Coming soon
แท้จริงแล้วผมว่าคราวน์เองก็อาศัยแนวคิดสมัย push pull ของแอมป์หลอดยี่ห้อนึงมาเช่นกัน
ผมว่ามีหลายคนรู้แล้วเรื่องเทคโนโลยีคราวน์มาโครเทค มีเหตุผลมากมายที่คนรู้เขาเงียบๆกันไปไม่ส่งต่อ ไม่ว่ากัน...
ใบ้ให้ครับ แนวๆ ไปคิดเล่นๆ บางท่านอาจจะจบเลย +๕๕๕
-ปกติ วงจรขยายทั่วไป หม้อแปลงจะใช้ Center tap หรือ 0v เพื่ออ้างอิง "กราวด์"
-ไฟที่จะสวิงได้สูงสุด peak to peak ก็ได้แค่ +v_-v เมื่อเทียบกับจุด 0v ที่ว่ามา
**(ปกติถ้าจะเพิ่มกำลังก็ต้องขยาย 2 ชุดกลับเฟส 1 เอากราวด์ทิ้ง)
-แล้วถ้าเราหันไปเล่นที่ "กราวด์"
-ให้เป็น dynamic/virtual ground เพื่อให้มันติด - หรือเป็น + สวนทางกับ amplifi อะไรจะเกิด ?
เออ สิ นะ หลาย คน คงคิดในใจแล้วตอนนี้ ๕๕ ++
แต่อย่างไร ผมก็เห็นว่าสำหรับเพาเวอร์แอมป์ที่ใช้หลักการของอนาลอกล้วนๆ
ตระกูลวงจรนี้มันสุดยอดแล้วครับคลาส Hสิวๆไปเลยโบราณนัก
