Tigger Sound
สังคมออนไลน์คุณภาพของคนรักเครื่องเสียง
ทดสอบเสียง HK1.1 By Tiggersound https://www.facebook.com/tiggersound/videos/10218510874389162

การใช้งาน YAMAHA TMX

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ K-ONE Music Tel.081-9817904

  • " เงิน ไม่ได้ทำให้คนขยันขึ้น แต่ เงิน ทำให้คนอยู่ด้วยกันนานขึ้น " (มนุษย์เงินเดือน)
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 8980
  • .นึกถึง MIX DIGITAL/MIX TASCAM นึกถึง K-ONE Music.
เบื้องต้นเกี่ยวกับ YAMAHA TMX
YAMAHA TMX ก็คือ DRUM Module ที่รับสัญญานจาก MIDI เข้ามาเพื่อถอดรหัส ออกมาเป็นเสียงกลองหรือเสียงชิ้นดนตรีต่างๆ ที่เกี่ยวกับกลองโดยเฉพาะไปตาม GM ที่เริ่มจากตัวโน๊ต 035-081 ตามมาตรฐาน GM อย่างที่เราได้เคยเรียนรู้กันมาบ้างแล้ว อย่างเช่น ตระกูล ALESIS เช่น D-4/DM-5/DM PRO หรือตระกูล Roland เช่น R-5/R-8/R-8Mkii อย่างนี้ก็ถือว่าเป็น DRUM MODULE  เหมือนกัน แต่มันอาจจะต่างกันที่ บางรุ่นสร้างจังหวะได้ บางรุ่นสร้างจังหวะไม่ได้ แต่ทริกกลองสดได้ มันก็มีข้อด้อยข้อเด่นกันคนละอย่างครับ แต่อย่าง YAMAHA TMX  หรือ YAMAHA  RM-50 พวกนี้จะทริกกลองสดได้และระบบการเซ็ตค่า ในส่วนตัวของผมๆว่าเสียงมันสดมากๆมันเก่งกว่า ตระกูล ALESIS เสียอีกครับ ....
...ตระกูลยามาฮ่า เรื่องกระเดื่อง อาจจะด้วยกว่าเล็กน้อยแต่ก็ไม่หนี ALESIS เท่าไหร่แต่สแนร์ มันเด่นคนละอย่างคนละเสียงครับ ก็แล้วแต่ชอบ แต่ถ้าเทียบเสียงประเภทเครื่องเคาะ/ทองเหลือง ต่างๆ ตระกูล ALESIS ไม่ต้องมาเทียบเลยครับความสดของชิ้นดนตรีผมยกเครดิตให้ตระกูล YAMAMHA เอาไปกินหมดครับ เพราะเหมือนจริงมากๆครับ แต่ในขณะที่ตระกูล ALESIS เช่น D-4 DM-5 หรือแม้กระทั่ง DM-PRO ผมยอมรับว่ามันกิน YAMAHA ไม่ลงครับ เราต้องยกเครดิตให้ทาง YAMAHA ครับ เพราะอะไรครับ เราอย่าลืมว่า YAMAHA มันคือโซน เอเชีย บ้านเรา ฉะนั้นการบรรจุชิ้นดนตรีต่างๆลงไปในเครื่องทาง YAMAHA จะเข้าใจมากกว่าเครื่องเล่นที่มาจากโซน อเมริกา หรือโซนยุโรป ที่ไม่รู้ว่า เมื่องไทยเรามีชิ้นดนตรีอะไรบ้างนั่นเอง..








YAMAHA TMX เรามาดูหน้าตามันก่อน มันก็จะคล้ายๆกับ D-4 นั่นหล่ะครับ ขนาด 1 U เหมือนกัน เรามาดูปุ่มสำคัญๆของมันก่อนว่ามีปุ่มอะไรบ้างและทำหน้าที่อะไร
DATA ENTRY ก็จะมีปุ่มคือ -1/NO และ +1/YES
ทั้ง 2 ปุ่มนี้จะทำหน้าที่เพิ่มค่าหรือลดค่าพารามิเตอร์ในหมวดต่างๆที่เราต้องการ
CURSOR ลูกศรซ้าย/ลูกศรขวา มีหน้าที่เลื่อนตำแหน่งการมาร์คไปที่พารามิเตอร์ในหมวดที่เราต้องการ เพื่อปรับค่าต่างๆด้วย DATA ENTRY
PAGA จะมีหัวศรขึ้น/หัวศรลง 2 ปุ่มนี้จะทำหน้าที่เปลี่ยนหน้าพารามิเตอร์ต่างๆที่เราจะเซ๊ตค่านั่นเอง ซึ่งในแต่ละหมวดอาจจะมีหลายหน้า และในแต่ละหน้าเราต้องก็ต้องทำความเข้าใจว่ามันทำหน้าที่อะไรบ้าง เราก็จะได้เรียนรู้กันต่อไป
ปุ่ม PERFORMANCE เป็นการเรียกเข้าหน้ามอนิเตอร์หลัก ปุ่มนี้แทบไม่ค่อยได้ใช้ครับ
ปุ่ม UTILITY จะเป็นหมวดการเซีตค่าเบื้องต้นเพื่อนทำความรู้จักให้เครื่องได้รับรู้ว่าเราจะทำอะไรกับมันบ้าง จะมีหน้าย่อยๆประมาณ 17 หน้าดังมีรายละเอียดดังนี้ (ผมอาจจะเข้าใจไม่หมดนะครับเพราะว่ามีเวลาเล่นกับมันน้อยมาก เอาเป็นว่าเข้าใจพอสังเขปก็แล้วกันครับ ผิดถูกอย่างไรก็อย่าว่ากันนะครับ ขออภัยมาณที่นี้ไว้ก่อน)
เมื่อกดปุ่ม UTILITY ก็จะเข้าหน้าแรกดังนี้
UTIL -01   LERN MODE   SET    ON
UTIL-02      BYPASS      SET   OFF
UTIL-03      INTERFACE   SET   MIDI   (ในหมวดนี้มี 3 ตัวคือ NORMAL/MIDI/SOUND)
UTIL-04      FOOT SW FUNC      SET   HI-HAT (หมวดนี้มี 4 ตัวเซ๊ตเพื่อเล่นทริกกลองสด)
UTIL-05      FOOT SW PEDAL   SET NOTE 044 (เป็นโน๊ตตัวอย่างเกี่ยวกับทริกกลองสด)
UTIL-06      FOOT SW CLOSE VEL   SET NOTE 042 (เป็นโน๊ตตัวอย่างเกี่ยวกับทริกกลองสด)
UTIL-07      FOOT SW PEDAL VEL   SET 085 การปรับระดับเสียง
UTIL-08      MONITOR VEL      SET 100 ตรงนี้ไม่เข้าใจ
UTIL-09      PAD FUNC IN-10   SET    INCREMENT
UTIL-10      PAD FUNC IN-11   SET   DECREMENT
UTIL-11      RECEIVE CH      SET   10 (เรารับ PART หรือ ช่อง 10 อย่างเดียวเท่านั้น)
UTIL-11      RECEIVE CH      SET   10 (เรารับ PART หรือ ช่อง 10 อย่างเดียวเท่านั้น)
UTIL-12      TRANMITT CH      SET   10
UTIL-13      PROGARM CHANG   SET    OFF เซ๊ต OFF เพื่อไม่ต้องการให้ชุดกลองเปลี่ยนตามเพลงUTIL-14      EXCLUSIVE      SET    ON
UTIL-15      DEVICE No      SET    01
UTIL-16      BULK PERF ALL      เกี่ยวกับการถ่ายเทข้อมูลไปอีกที่หนึ่ง
ALL 123456789101112         SET   THRU เพื่อให้ช่องขาออกของ MIDI ให้เป็น THRU เพื่อต่อพ่วงอุปกรณ์ MIDI อื่นๆ
การออกหมวด UTILITY ให้กดปุ่ม PERFORMANCE เพื่อเข้าหน้าปรกติ
ปุ่ม    CHAIN       ปุ่มนี้ไม่ค่อยได้ใช้งาน
ปุ่ม    STORE      กดเพื่อเก็บหรือบันทึกข้อมูลที่เราต้องการไว้ในชุดกลองต่างๆตั้งแต่ 1-32 ชุดกลอง
ปุ่ม   EDIT      กดเพื่อเข้าหมวดหรือแก้ไขในหมวดของการทริกกลองสด
ปุ่ม   VOICE EDIT   กดเพื่อเข้าแก้ไขข้อมูลในหมวด MIDI การเปลี่ยนค่าต่างๆที่เราต้องการ/กดเพื่อทดสอบชิ้นดนตรี ในหน้าที่กำลังเปิดอยู่ได้ในตัว
ปุ่ม   ZAP      กดเพื่อโชว์พารามิเตอร์ต่างๆที่ต้องการดู
จะเริ่มตรงไหน จะทำอะไร จะแต่งอะไรได้บ้าง
เรามาเข้าใจกันก่อนว่า ท่านมีความรู้กับตัวโน๊ตกันบ้างหรือยัง เช่นการลำดับตัวเลขต่างๆตั้งแต่ 035-081เหล่านั้นต้องเป็นพื้นฐานมากๆก่อนที่จะ SET ค่าต่างๆเหล่านี้ลงไปในเครื่องได้เป็นอย่างดีและไม่สับสนและลำดับชิ้นดนตรีของหมวดกองได้อย่างแม่นยำตรงกับตัวโน๊ตต่างๆอย่างที่บอกมาแต่ต้น ถ้าไม่เข้าใจก็สามารถหาอ่านได้ในเรื่องของตัวโน๊ตนะครับ...
...เมื่อเปิดเครื่องหน้าแรกที่เจอดังนี้ครับ..

PERF 01: K-ONE MU    แน่นอนครับ เมื่อผมเซ๊ตเสร็จก็ต้องตั้งชื่อเจ้าของเตรื่องมันเป็นเรื่องธรรมดา 555+...
ลองกดปุ่ม VOICE EDT ดูครับ เราก็จะเห็นหน้าจอจะแสดง 3 หมวด อะไรก็ได้ช่างมัน เสร็จแล้วกด ปุ่ม PAGE UP หรือปุ่มบน จนหน้าจอแสดง   Note   Voice   MOD
Note    หมายถึงตัวโน๊ตของชิ้นดนตรีในเวลานี้ (เอามาตรฐาน GM ไว้ก่อน 035-081)
Voice   หมายถึงเสียงของชิ้นดนตรีในตัวโน๊ตนี้
MOD   หมายถึงการปรับแต่งเสียงดนตรีให้มีความก้องนิดๆเหมือนใส่เอฟเฟกนั่นเอง มีค่า 1-7

เราก็มาดูรายละเอียดของหน้านี้เช่น
NOTE   035         ก็หมายถึง โน้ตตัวแรกของ GM ก็คือ KIK หรือกระเดื่องนั่นเอง
VOICE   04K:KIK Dry T1      ก็คือ 04K คือ เบอร์ของชิ้นดนตรีของ KIK เบอร์ที่04 ในเบอร์ 04 มันคือชื่อ KIK Dry T1 นั่นเอง ฉะนั้นเมื่อเข้าหน้านี้เป็นหน้าแรก เราจะเปลี่ยนเสียง KIK ให้เป็นเบอร์หรือเสียงตามที่เราต้องการเราก็กดปุ่ม CURSOR ให้มาอยู่ที่ VOICE เสียก่อน แล้วก็ตามด้วยปุ่ม -1/NO หรือ +1/YES เจ้าชื่อชิ้นกลองมันก็จะเปลี่ยนไปเป็น 05-06-07 ไปเรื่อยๆขณะที่เราเปลี่ยนไป 1 ชิ้นดนตรี เราก็สามารถกดเพื่อเทสเสียงแต่ละเบอร์ก่อนก็ได้โดยการกดปุ่ม VOICE EDIT ได้เช่นกัน มันก็จะปล่อยเสียงชิ้นดนตรีนั้นๆออกมาให้เรา ถ้าเราชอบใจก็หยุด ถ้าไม่พอใจก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆครับ
และเช่นกันเมื่อเราได้เบอร์กระเดื่องที่ชอบใจแล้วเราก็สามารถที่จะเปลี่ยนตัวโน๊ตอื่นๆที่เราจะตั้งต่อไปได้ โดยการกดปุ่ม CURSOR เลื่อนมาทางตัวโน๊ตแล้วกดปุ่ม -1/NO หรือ +1/YES ได้อีกครับ เสร็จเราก็ทำเหมือนตอนแรกได้เลย
ฉะนั้นความเข้าใจในตัวโน๊ต ตั้งแต่ 035 ถึง 081 จึงมีความสำคัญมาก ไม่เช่นนั้นเราอาจจะตั้งชิ้นดนตรีไม่ตรงกับตัวโน้ตได้ครับเช่น
เบอร์ 035 /.036    เป็นกระเดื่อง
037       เป็นขอบสแนร์
 038       เป็น สแนร์
 039       เป็นเสียงตบมือ
040      เป็นเสียงสแนร์
041      เป็นโฟรทอมต่ำ
042      เป็น CLOSED Hat
043      เป็นโฟรทอมสูง
..เอาตัวอย่างแค่นี้พอครับเพื่อความเข้าใจในเบื้องต้น ท่านลองคิดดูซิครับ ถ้าท่านจำลำดับตัวโน๊ตไม่ได้ แล้วไปตั้งมั่วๆเช่น 042 ใน GM กำหนดให้เป็น CLOSED Hat แล้วคุณดันไปเอา TOM มาใส่ เมื่อเล่นเพลงๆทั้งเพลงทุกจังมันก็จะตีเป็น TOM ทั้งเพลง แทนที่จะเป็น HAT เสีบงซิบๆ กลายเป็นเป็นเสียง ตุ้มๆๆๆทั้งเพลงแล้วมันจะได้เรื่องไหมครับ
..ที่ยกตัวอย่างมาก็เป็นแค่หน้ารกนะครับ เรามาลองกดปุ่ม PAGE DOWN ลงมา หน้าจอก็จะเปลี่ยนไปดังนี้ครับ
NOTE   VOLUM      PAN
ที่เขียนตัว NOTE ผมจะไม่อธิบายนะครับเพราะจะคงตัวหนังสือไว้แต่จะเปลี่ยนแค่ลำดับตัวโน๊ตเท่านั้น
VOLUM      หมายถึงความดังของเสียงชิ้นดนตรีนั้นๆครับ จะให้แรงมากน้อยก็ปรับเอาแต่ควรตั้งไว้สัก 65-75 ก็พอครับเพื่อดนตรีชิ้นเล็กๆบางทีเราเร่งสูงแล้วความดังยังไม่พอครับ
PAN      หมายถึงการสร้างเสียงชิ้นดนตรีให้อยู่ตำแน่งไหนของเอ้าพุทครับ เช่น โน้ตตัวนี้ตีทางซ้าย โน้ตตัวนี้ตีทางขวา เราก็ลองเลือเอาครับว่า ชิ้นดนตรีของกลองคุณควรจะออกอย่างไรเช่น กระเดื่อง ก็ควรไว้ตรงกลางหรือสแนร์ก็เหมือนกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมันก็อยู่ที่ความเข้าใจของเราครับว่าเรามีการเน้นชิ้นดนตรีขนาดไหนก็สามารถคิดและออกแบบเองได้ครับ
NOTE   PITCH   MOD
PITCH      หมายถึงการขึงหนังกลองหรือการทำเสียงให้สูงต่ำนั่นเองครับ
MOD      ยังไม่เข้าใจครับ
NOTE   GROUP       ส่วนใหญ่ก็จะตั้งเป็น POLY และ NONO ในส่วนนี้ผมยังไม่เข้าใจว่า POLY คืออะไร SEMI คืออะไร MONO คืออะไร ต้องยอมรับครับแต่งกลองมามากเจ้า 3-4 ตัวนี้ทุกวันยังไม่ทราบครับ ท่านใดเข้าใจช่วยกรุณาช่วยบอกหน่อยจะเป็นพระคุณยิ่งครับ...
NOTE   OUTPUT   ใน YAMAHA TMX มันจะมี OUTPUT อยู่ 2ชุดคือ MAIN และ AUX ถ้ามาเดิมๆที่ยังไม่ได้แต่งมันจะให้ออกที่ MAIN ทั้งหมดทุกชิ้นครับ แต่ถ้าเราแต่งหรือมาแก้ไขเราก็สามารถกำหนดขาออกได้เองเช่น กระเดื่องออกที่ AUX ด้าน L หรือ SNR สแนร์ ให้ออกด้าน R หมด ตอนเราเข้าที่มิกซ์เราก็ปรับ PAN MIX ไว้ตรงกลางทั้งคู่เพื่อเน้นการตีกระเดื่องกับสแนร์อย่างละช่อง ส่วนที่เหลือเราก็เอาไปออกที่ MAIN ทั้งหมดได้เลย
PERF   ROOT    NOTE      ใน YAMAHA TMX ค่า ROOT SET มันควรจะเป็นที่ 035 คือค่าโน้ตเริ่มต้นแต่บังเอิญมันตั้งไว้ที่ 024 คือ C0 ผมก็เลยปล่อยเลยตามเลย ที่จริงมันควรเซ๊ตไว้ที่ 035 ครับ เพื่อมาตรฐานแต่มันจะไม่มีผลหรอกครับ ถ้าเราเข้าใจตัวโน๊ตได้อย่างแม่นยำ
หน้าสุดท้ายในหมวด VOICE EDIT ก็คือการตั้งชื่อครับก็คือ 01: K-ONE Mu มันให้แค่นี้ล่ะครับ มันหมดบรรทัดพอดี เอาเป็นว่า ที่เหลือก็อยากให้ทุกท่านที่มีอยู่ใช้มันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพครับ ส่วนการตั้งเรื่องการทริกกลองสด ผมเองก็ไม่มีเวลาได้ศึกษาครับ ในส่วนของพารามิเตอร์ต่างๆ ก็อยากให้ลองตั้งกันเองดูบ้าง มันไม่ยากหรอกครับ ลองจิ้มๆกดๆเปลี่ยนๆดูไม่ STORE ซะอย่างเดียวไม่มีมั่วครับ
เมื่อเราทำการปรับแต่งให้ได้เสียงตามต้องการแล้ว เราก็จะทำการบันทึกเพื่อเก็บข้อมูลทั้งหมดของเราไว้ในส่วนของชุดกลองตามลำดับที่ต้องการก็ให้กด ปุ่ม STORE แล้วตามด้วย +1/YES ครับเท่านั้นเป็นจบ หน้าจอก็จะขึ้น PERF 01ตามด้วยชื่อที่ท่านตั้งเท่านั้นเอง..
นาย นิมิตร จูจันทร์ เลขที่ 69/5 ซอย 4/3 หมู่ 3 ตำบล หวายเหนียว อำเภอ ท่ามะกา จังหวัด กาญจนบุรี 71120 TEL : 081-981-7904 /  ID LINE -  0819817904 หรือเพิ่ม  konemusic / https://www.facebook.com/konemusicshop
 โอนเข้าบัญชีส่วนตัว ธ.ไทยพาณิชย์ 753-2-04544-7 / ถ้าใช้บัญชีกลาง  ธ.ไทยพาณิชย์ 753-2-20485-5


ออฟไลน์ pru690

  • สมาชิก
  • *
    • กระทู้: 5
สนใจ อยากได้สักตัว ไม่รู้ว่าจะมีเข้ามาอีกมั้ยครับ
พรรณรบ  อุตรนคร  การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดขอนแก่น  44 ถ.กสิกรทุ่งสร้าง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000