ครับ ดูๆแล้วมองคนละมุมจริงๆครับ ผมมองเรื่องกำำำำำลังงานรวมที่ใช้ในเครื่องทั้งหมด แต่ท่านมองแค่ว่าใช้แรงดันที่สูงกว่าแล้วจะใช้กระแสในวงจรน้อยกว่า แล้วมีผลดีกว่าวงจรที่ใช้กระแสสูงๆครับ
มาเข้าเรื่่องครับ การใช้แรงดันสูงๆมีผลดีคือกำลังวัตต์ที่ได้ก็จะสูงตามครับ อย่างการใช้แอมป์คลาสเอชแทนคลาสเอบีไงครับ แรงดันที่ใช้ถือว่าสูงมากๆเมื่อเทียบกับเอบี (สำหรับคลาสเอบีก็มีแอมป์บริดจ์ไงครับ) แต่มีข้อดีก็ต้องมีข้อเสียเป็นธรรมดาล่ะครับ ไม่ว่าจะเป็นขีดจำกัดของอุปกรณ์ทุกตัวที่ใช้ในวงจร และรวมถึงเสถียรภาพของวงจรด้วยครับ
ถูกต้องที่สุดตามที่ท่านว่ามาครับ
ไม่มีอะไรดีไปหมดโดยไม่มีข้อเสีย ซึ่งเราต้องเอาข้อดี ข้อเสียในทุกด้านมาวิเคราะห์ แล้วชั่งดูว่าอะไรมันมากกว่ากัน ประเด็นที่ท่านว่ามา ท่านไปลองทดสอบอย่างที่ผมว่าก่อนแล้วท่านจะพบความจริง ประเด็นการบริโภคพลังงานเป็นเพียงแค่ประเด็นเดียวเท่านั้น ยังมีประเด็นอื่นอีกหลายประเด็นที่กล่าวถึงซึ่งผมไม่ได้มองแค่ประเด็นเดียวอย่างที่ท่านมองอยู่ตอนนี้ โดยเฉพาะปัจจุบันนี้โหลด หรือดอกลำโพงพัฒนาไปไม่หยุด รองรับกำลังขับได้สูงกว่าในอดีตเป็นเท่าตัว แล้วเค้าพัฒนาดอกลำโพง PA ที่รองรับกำลังขับสูง ๆ โดยที่อิมพิแดนช์ยังเท่าเดิมที่ 8 โอห์มเพื่ออะไร? ทำไมไม่ทำอิมพิแดนซ์ 4 โอห์ม หรือ 2 โอห์ม เรื่องนี้มันมีนัยเกี่ยวพันอีกหลายเรื่องที่ผมยังไม่ได้กล่าวถึง
เอาแค่ที่ผมยกตัวอย่างมาข้างต้น พาวเวอร์ตัวที่หนึ่ง ขับดอกลำโพง 2 ดอก ดังได้เท่ากับ พาวเวอร์ตัวที่สอง ที่ต้องใช้ดอกลำโพงถึง 4 ดอกในรุ่นเดียวกัน ถามว่าแล้วเรา ๆ ท่าน ๆ ควรจะใช้พาวเวอร์แอมป์ตัวไหนครับ? ยกไป 4 ตู้ ดังเท่ากับ 2 ตู้ เพื่ออะไร?
เมื่อก่อนตอนที่เทคโนโลยี่ ดิจิตอล เกิดใหม่ ๆ ก็มีคนแย้ง ถกเถียงกันเรื่อง ดิจิตอล กับ อนาล็อก ว่าดิจิตอล สู้ อนาล็อก ไม่ได้ ท่านดูสิ ปัจจุบันนี้เป็นอย่างไร? เทคโนโลยี่ที่พัฒนาก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อย ๆ มันมีเหตุผลและที่มาที่ไปครับ มันไม่ได้ดีกว่าในทุกเรื่อง แต่กล่าวคือ
มันมีข้อดีมากกว่าข้อเสียนั่นเอง 