ศึกร่วมสายพันธุ์ Bipolar VS MOSFETสรุปการประมวลผลจากการอ่านของหลาย ๆ ท่าน1. เรื่องน้ำหนัก ??
ตัวแปลเรื่องหนักมากหรือหนักน้อย
ขึ้นอยู่กับหม้อแปลงครับ หม้อแปลงใหญ่มากก็หนักมากเป็นธรรมดา ความใหญ่ของหม้อแปลงบ่งบอกถึงพละกำลังที่จะจ่ายให้กับภาคขยายครับ ไม่ว่าจะเป็นภาคขยายอะไรก็ตาม (IC, หลอด, Transistor ประเภท MOSFET, Transistor ประเภท BJT (Bipolar Junction Transistor), หรืออุปกรณ์สารกึ่งตัวนำใหม่ ๆ ที่ทยอยออกกันตามมา และอีกประเด็นหนึ่งเรื่องน้ำหนักก็คือประเภท (Class) ของวงจรขยายด้วย ซึ่งน้ำหนักขึ้นอยู่กับขนาดของ Heat-sink ครับ class A. class AB ก็ใช้ Heat-sink เยอะหน่อยก็เท่านั้น
เข้าเรื่อง : Transistor ประเภท Bipolar ยุคแรก ๆ มีการนำมาใช้งานในระบบขยายเสียงก่อน Transistor ประเภท MOSFET ซึ่ง ฺBipolar ดั้งเดิมประสิทธิภาพต่ำทนไฟได้น้อยทำให้คุณภาพเสียงและกำลังในการขยายน้อยดังนั้นจึงใช้หม้อแปลงขนาดเล็ก (จะให้ใหญ่ไปทำไมไม่มีประโยชน์)
จากนั้น เมื่อ MOSFET เริ่มเ้ข้ามามีบทบาทเพราะตอบโจทย์ซึ่งเป็นข้อด้อยของ Bipolar ได้ สำหรับเรื่องเสียงขึ้นอยู่บุคคลิกของ MOSFET ที่เลือกใช้และอีกหลายปัจจัยครับ (โปรดอ่านข้อ 2.)

แต่ที่แน่ ๆ กำลังวัตต์ได้เพิ่มขึ้นแน่นอน เพราะคุณสมบัติของ MOSFET(ไปหาอ่านเอง) แต่คร่าว ๆ ทนทานซะด้วยเพราะมีการจำกัดกระแสตามการเปลี่ยนแปลงทางด้านความร้อนที่เพิ่มขึ้น และเอื้อในการขนานกันหลาย ๆ ตัว ไม่เกี่ยงเรื่อง hfe (อัตราการขยาย) เพื่อช่วยกันทำงานครับ ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้ต้องใช้หม้อแปลงขนาดใหญ่เพื่อเป็นต้นกำลังในการขยายเสียงครับ และอีกประเด็นก็คือเรื่องเทคโนโลยีของหม้อแปลง อันนี้ไม่ต้องพูดถึงจะเลือกใช้ประเภท EI อย่างเดียว ซึ่งก็รู้ ๆ กันอยู่หนักและใหญ่ มีความร้อนแถมมาด้วย
ดังนั้นจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเจอแอมป์ขยายเสียงหนัก ๆ ทีี่ใช้ MOSFET ครับเฮ้อ !!! (แต่เมืองนอกเค้าอาจจะเบากว่าบ้านเรานะครับ อิ อิ คงไม่ต้องบอกว่าเพราะอะไร) แต่ถึงอย่างไรยุคนั้นน้ำหนักสำหรับคนไทยไม่ใช่อุปสรรคครับ ดังนั้นนักเล่นเครื่องเสียงจึงเห็น MOSFET ด้านงานขยายเสียงเป็นทองคำ ผลคือ ราคาแพงมาจนถึงปัจจุบัน แต่ในงานประเภทอื่น ๆ ราคาก็ไม่ต่างกับ Bipolar ครับ...

อยู่มาวันหนึ่ง Bipolar กลับมาเก่งกว่าเดิม คุณสมบัติเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น และพัฒนาไ่ม่หยุดยั้งได้เบอร์ใหม่ ๆ มาอีกเพียบ ถูกกว่า MOSFET อีกนะจะบอกให้้... แต่รู้ไม๊ไอ้ที่แพงกว่า MOSFET ก็มีนะครับ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติและชนิดของการใช้งานครับ แต่เรื่องของความทนทานนี่สิ... สุดท้าย Bipolar ก็คือ Bipolar ครับตัวเค้าเองไม่สามารถจำกัดกระแสของเค้าเองได้ (ระเริงกับการนำกระแสซะเหลือเกิน) สิ่งที่ตามมาคือร้อนจนพัง แต่ไม่ต้องตกใจ คนใช้งานเก่งครับก็ออกแบบวงจรให้ Bipolar ทำงานแค่พอดีและใส่วงจร Protect นู่นนี่นั่น และวงจรตรวจจับอะไรต่อมิอะไรเข้าไปเพื่อให้มันทำงานแบบไม่ถูลู่ถูกังครับ อิ อิ

ส่วนเรื่องน้ำหนักสุดท้ายก็จบที่ไอ้หม้อแปลงอยู่ดีแต่ยุคนี้ดีหน่อยเทคโนโลยีหม้อแปลงมันเจ๋งขึ้น C-Core, เทอร์รอยด์, และอีกอัน Switching ที่ว่ามานี้เรื่องขนาดและน้ำหนักลดลงไปเยอะครับ จึงเห็นว่า Amp. ที่ใช้ Bipolar จึงมีขนาดเล็กและน้ำหนักเบากว่าครับ แต่แท้ที่จริงแล้วหากเราสร้าง Amp. MOSFET และใช้่ภาคจ่ายไปแบบ Switching ก็เบาไม่แตกต่างกันครับ

(เกร็ดความรู้ : ทราบไหมความจริงแล้ว Transistor ตระกูล FET ทั้งหลายแหล่ (J-FET, MESFET, MOSFET) ได้ริเริ่มค้นคว้าที่จะสร้างขึ้นมาก่อน แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จากนั้นคนที่ริเริ่มดังกล่าวได้ล้มตายไปเสียก่อน FET จึงถูกหยุดไว้แค่นั้น จากนั้น Transistor ประเภท BJT ก็ออกมาฮือฮาสู่ตลาดเพราะทำหน้าที่แทนหลอดได้ หลังจากนั้นไม่นานนักคนที่ริเริ่มสร้าง FET ที่ได้ตายไปกลับมาเกิดใหม่และพัตนาต่อจนถึงปัจจุบัน)
อนาคตประเด็นเรื่องน้ำหนักจะหมดไปหากเราสร้าง amp โดยไม่ต้องใช้หม้อแปลงเพื่อลดทอนแรงดันจาก 220Vac นำไฟ 220Vac นี้เข้าภาคขยายโดยตรงได้ครับ หากต้องการวัตต์เยอะหน่อยก็เกี่ยวหรือต่อพ่วงกับสายไฟแรงสูงได้เลยจะเอากี่กิโลโวลต์ก็ว่ากันไปแต่อย่าลืมแจ้งการไฟฟ้าละ 555
2. เรื่องคุณภาพเสียง ??อันนี้บอกยากครับว่าใครดีกว่าใครเอาเป็นว่า ถูกทุกข้อถูกทุกความเห็นแล้วแต่ชอบดีกว่า อิ อิ
แต่จะขอกล่าวถึงบุคคลิกของเสียงของทั้ง 2 ที่เคยอ่านในกระทู้ที่วิจารย์กันเยอะไปหมดและที่ฟังมานะครับก่อนอื่นต้องอ้างอิงระบบเสียงในการทดสอบซึ่งเป็นชุดเดียวกันก่อนเพื่อให้การฟังสามารถแยกแยะได้ออกครับว่าแนวเสียงเป็นเช่นไร
MOSFET: เสียงย่าน LOW ดุดันสะทกสะท้านทะลุทะลวง แต่ถ้าจะให้ลงลึกหรือนุ่มที่ความถี่ต่ำต้องออกแบบวงแบบวงจรดี ๆ หน่อยหรือปรับแต่งที่ต้นทางของระบบเสียงครับ
เสียงย่าน MidLow พุ่งแรงทะลุทะลวงทุกวงจรเหมือนกันหมด ไม่ต้องปรับแต่งอันนี้แนวเค้าจริง ๆ เกิดมาเพื่อสิ่งนี้ 55
เสียงย่าน Mid โปร่งโล่งพุ่งไกลแรงไม่ตกยิ่งเร่งยิ่งขึ้นลำโพงไม่เจ๋งจริง พัง เพราะมันเร่งติดมือ มันดีครับ
เสียงย่าน Mid High และ High อันนี้จะดังตามต้นฉบับของเสียงเลย ต้นทางเป็นไงก็เป็นงั้นครับ ดีก็ดี ไ่ม่ดีก็ฟังน่ารำคาญครับ เพราะ MOSFET เป็นอุปกรณ์ที่มีความไวในการทำงานที่ความถี่สูงครับ ซึ่งผมเคยฟังของนอกเหมือนกัน เสียงใสและละเอียดดีครับ (ARX ของ ออสเตเรีย)
ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับเบอร์ของ MOSFET ที่เลือกใช้ด้วยนะครับแต่ก็จะไม่หนีกันมาก แต่มีอยู่คู่หนึ่งที่่่ค่อนข้างแหวกแนวคือ K2221/J352 จะออกแนว Bipolar อยู่เหมือนกันครับ
คนที่ได้ฟัง Amp. MOSFET จะมีสีหน้าประมาณนี้ครับ อึ้งทึ่งดีใจ 555
ฺBipolar : เสียงย่าน LOW นุ่่มสะท้านสะเืทือนความถี่ต่ำลงลึกดีจะถ้าจะให้อัดได้แรง ๆ ไฟต้องสูงและต้องให้อัตราขยายของภาคไดร์แรงหน่อยครับ... ปรับแต่งง่าย
เสียงย่าน MidLow ออกแนวโล่ง นวล ๆ ดังไม่รำคาญ แต่ไ่ม่พุ่งเท่าไรนัก
เสียงย่าน Mid โปร่งโล่ง นวล ๆ ไม่พุ่งเ่ท่าไรนัก ต้องหาลำโพงความไวสูง ๆ หน่อยจึงจะอัดมัน
เสียงย่าน Mid High ไม่จัดจ้านไม่ฉุดฉาด กังวาล ไม่ค่อยพุ่งนัก ต้องหาตัวที่วัตต์เยอะหน่อยจะดี
เสียงย่าน High อันนี้ก็.... ใสแบบอ่อน ๆ ไม่โฉ่งฉ่าง หากลำโพงดี ๆ หน่อยฟังเพราะครับ
ส่วนคนที่ได้ฟัง Amp.ฺBipolar จะมีสีหน้าประมาณนี้ครับ อมยิ้มภูมิใจ อิ อิ
หมายเหตุ : อันนี้เป็นความเห็นที่ประมวลผลมาจากที่ได้แจ้งแล้วข้างต้นนะครับ และเรื่องรายละเอียดหรือจะเป็นเรื่องความหวานของเสียงไม่ได้อยู่ที่ amp. อย่างเดียว
ตัวแปลที่สำคัญที่สุดของระบบเสียงก็คือตัวเปล่งเสียงครับ (ลำโพง) ลองลงมาก็แหล่งกำเนิดเสียง และส่วนอื่น ๆ เช่นเครื่องปรุ่งแต่ง,ชุดควบคุมเสียง,สายสัญญาณ,amp. สภาพแวดล้อม อื่น ๆ อีกเพียบ หรือจะกล่าวให้ดูดีและครอบคลุมก็คือ มันเป็นเรื่องของ
"การบริหารทางด้านศาตร์และศิลป์" ครับ
ข้อสังเกตุ :- การที่จะบอกว่าอะไรดีหรือไม่ดีนั้น โดยทั่วไปจะประเมินจากสถิติที่ได้ผลออกมาในลักษณะที่คงเส้นคงวาครับ
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน Transistor ประเภท Bipolar ที่นำมาใช้ในงานขยายเสียงมิได้มีการหยุดพัฒนา เพียงแต่อาจจะมี Transistor ประเภทอื่น ๆ เช่น MOSFET ที่เข้ามาแทรก มาสร้างความฮือฮาและมีบทบาทมากเหมือนกัน ซึ่งเจ้า Bipolar ช่วงหลัง ๆ ก็ไม่ยอมแพ้มีตัวเก่ง ๆ มาสมทบอีกเพียบ อันนี้เป็นสถิติที่บ่งบอกว่า Bipolar คือ Technology ที่เกิดก่อนและยังคงมีความนิยมจนปัจจุบันครับ (คำตอบอยู่ในใจท่านแล้ว)

- Amp. ราคาเป็นแสน หรือระดับชั้นนำของโลก ไปดูภาคขยายเถอะครับ เป็น Bipolar แทบทั้งสิ้น แต่ Bipolar ที่เค้าใช้ไม่ใช่แบบที่เราใช้นะ ของเค้า Spec เทพครับสร้างเป็นกรณีพิเศษ หรืออาจเรียกว่า Supper Bipolar ก็ได้ครับ นำสิ่งที่ดี ๆ ของ Transistor ประเภทต่าง ๆ มาหล่อหลอมรวมกันจนได้สิ่งที่ดีที่สุด จน spec เหนือกว่า MOSFET ที่ดีที่สุดครับ (เฉพาะด้านงานขยายเสียงนะครับ) ทำไมจึงเลือกมาสร้าง Spec เทพ ๆ ที่ Bipolar ??? ก็เพราะข้อเสียของ Bipolar ที่ว่า "ทำงานจนตัวเองพัง" นั่นล่ะ... ถ้ามองให้ลึก ๆ สิ่งนี้คือข้อดีนะครับไม่ใช่ข้อเสียเพราะมันไม่อู้งานเหมือน MOSFET เสียงที่ออกมาจึงมีความเป็นเชิงเส้นดีกว่า เนื่องจากค่า Impedance (ค่าความต้านทางการ Active) ไม่เปลี่ยนแปลงในขณะที่ความร้อนสูงขึ้นความเพี้ยนจึงไม่เกิด แต่ตรงกันข้ามกับ MOSFET สิ่งที่ได้มาคือความคงทนเพราะ Impedance ของตัวมันสูงขึ้นในขณะที่อุณภูมิสูงขึ้นดังนั้นจึงทำให้กระที่ไหลผ่านตัวมันลดลงตามสมการ กฏของโอห์ม และส่งผลให้ความเพี้ยนเกิดขึ้นตรงช่วงนี้ครับ เรา ๆ อาจไม่รู้สึกอะไร แต่พวกนักออกแบบชั้นนำของโลกเค้าคิดครับ อะไรก็ตามที่ทำให้แรงและเสียงดีเค้าทำหมดล่ะครับ แต่ทั้งหมดนี้จะเก่งเฉพาะพระเอก Bipolar อย่างเดียวไม่ได้นะครับ มีอีกเยอะครับหลายส่วนมากประกอบกันยุ่งยากสลับซับซ้อนพันกันอีรุงตุงนังไปหมด จนเป็นเหตุให้เราไม่สามารถทำให้เจ้า Bipolar ที่ Spec เทพ (เด็ก ๆ) ตามท้องตลาดบ้านเราหรือของชั้นนำของโลก (หากหาได้) ซึ่งไม่ว่าจะเป็น Amp ยี่ห้อไหนของนอกหรือในประเทศก็เปล่งอนุภาพไม่ได้เช่นระดับโลกครับ และไอ้ยี่ห้อต่าง ๆ เหล่านี้ก็แพงนะครับ แพงกว่า Amp MOSFET ที่เราบอกว่าแพงซะอีกครับ
ก็เลือกเอาแล้วกันตามเงื่อนไขต่อจากนี้MOSFET มันเก่งฉลาดด้วยตัวมันเองไม่ต้องพึ่งใครมากมายก็เจ๋งแล้ว แต่แค่ระดับนึง
ฺBipolar มันไม่ค่อยเก่งแต่มันขยันตรงไปตรงมา (ซื่อ) จึงต้องมีคนช่วยแนะนำชี้ทางและควบคุมการทำงาน งานที่ออกมาจึงเนี๊ยบและเจ๋งจนถึงสุดยอดที่เป็นได้ในปัจจุบันครับ แต่เราไม่สามารถหาคนที่จะมาเป็นพี่เลี้ยงเจ้า Bipolar ดังกล่าวได้นะสิ (เฮ้อ) หากได้คงแพงกว่าซื้อ MOSFET เป็นหลายเท่าแน่นอน คุ้มหรือป่าว ?
เรื่องธุรกิจกับความถูกต้องในระบบงานเครื่องเสียงตามธรรมชาติของจุดประสงค์ของการทำธุรกิจคือผลประกอบการหรือกำไรนั่นล่ะครับ การที่จะทำให้ผลประกอบการดีมี 2 วิธีครับ
1. พัฒนาตนเองทั้งองค์กรไม่ว่าจะเป็นเรื่องระบบหรือผลิตภัณฑ์
2. ทำลายคู่แข่งขันหรือชิงและฉวยโอกาสทางด้านเทคนิคและการตลาด
ความถูกต้องของคนซื้ออาจจะไม่ถูกใจคนขาย และการถูกต้องของคนขายก็อาจจะไม่ถูกใจคนซื้อเหมือนกัน
แต่ที่แน่ ๆ ขนาดพี่น้องท้องเดียว ยังไม่เกี่ยวกับสตังค์เลย นับประสาอะไรกับคนซื้อคนขาย
ทิศทางการตลาดกับการสร้างกระแสเท่านั้นที่คือความจริง ที่จะตอบโจทย์ของการทำธุรกิจได้
ส่วนความชอบกับเงินในกระเป๋าเท่านั้นที่จะตอบโจทย์ของลูกค้าได้
ถ้าความชอบอยู่ในกระแสหรือทิศทางการตลาดที่ถูกต้องและถูกใจ ก็ลงตัวครับ (จบ)
และปัจจุบันสังเกตุว่าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เกือบทุกชนิดจะเสียเร็ว... ถ้าไม่เสียเร็วจะขายของใหม่ได้ไง อันนี้เงียบไว้นะครับ
ความจริงผมกำลังจะบอกว่า ถึงแม้ตามหลักการ MOSFET มีความทนทานแต่เงื่อนไขและกระบวนการผลิตปัจจุบันไม่เหมือนก่อนนะครับ มีหลายเกรดมาก แท้/เทียม ยี่ห้อนู้น ยี่ห้อนี้ ผลิตที่นู่น ผลิตที่นี่... เยอะแยะเต็มไปหมด รวมถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภทนะครับ... ไหน ๆ จะสร้างจะซื้ออะไรซักที ทบทวนจุดประสงค์ของเราก่อนว่าเราต้องการอะไร ยอมรับได้แค่ไหน อันนี้เป็นสิ่งสำคัญครับ
เอาไงดีล่ะทีนี้ !?
สรุปครับไอ้นู่นก็ดีไอ้นี่ก็ใช่แต่ไม่มีตังค์ ก็ฟังเท่าที่มีละกัน อิ อิ ทำใจให้สบายและบอกตัวเองและคนที่ฟังว่า....นี่ละดีที่สุดแล้วครับ... ผมเคยฟังวิทยุคลื่น AM เช่น ธานินทร์ สมัยเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว ดังค่อย ๆ ไม่ชัดความเพี้ยนเพียบสัญญาณแทรกยังรู้สึกว่ามันเพราะเลย ทำไมละครับ คำตอบคือ
"เราฟังเพื่อความสุนทรีครับ ไม่ใช่ฟังเพื่อจับผิด"
แต่ที่แน่ ๆ ที่สุดของที่สุดเรื่องการได้ยินเสียงคือ "หูและใจ" ของเราครับหากคุณเป็นคนที่คันหูบ่อยหรือใจง่ายคุณก็จะอยากลองฟังและิวิจารย์ไปเรื่อย ไม่จบไม่สิ้นแน่ครับ !?
แหะ แหะ แซวเล่นคร้าบบบบบบบ
เราโชคดีกว่าคนหูหนวกตั้งเยอะที่เค้าไม่มีโอกาสฟังแม้กระทั่งเสียงตด ดังเช่น สาว ๆ ด้านล่างนี้พวกเธอหูหนวกนะครับ อิ อิ

