Tigger Sound
สังคมออนไลน์คุณภาพของคนรักเครื่องเสียง
ทดสอบเสียง HK1.1 By Tiggersound https://www.facebook.com/tiggersound/videos/10218510874389162

ว่ากันด้วยเรื่อง ไมค์โครโฟน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Romio_Bannok

  • มือกีตาร์
  • ****
    • กระทู้: 127
  • คนงบน้อย ด้อยวิชา
ไมค์โครโฟนเป็นอุปกรณ์พื้นฐาน ที่เราจะพอเห็นได้บ่อยครั้ง ในงานเครื่องเสียง แต่จะมีกี่คนที่รู้จัก และเข้าใจ การใช้งานไมค์โครโฟนได้อย่างถูกต้อง และถ้าเราต้องการแบ่งการใช้งานไมค์โครโฟน เราจะแบ่งได้อย่างไร การแบ่งชนิดของไมค์โครโฟน สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท ดังนี้

1.  แบ่งตามลักษณะทางกายภาพ หมายถึงแบ่งชนิดตามลักษณะของตัวรับสัญญาณภายใน ไมค์โครโฟน (transducer) หรือโครงสร้างของตัวรับสัญญาณเสียงซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 6 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1.1 ไดนามิคไมค์โครโฟน (Dynamic Microphone)

ไมโครโฟนแบบนี้มีคุณสมบัติทำงานกลับกันกับลำโพงไดนามิค โดยที่เมื่อเสียงกระทบแผ่นไดอะแฟรม แผ่นไดอะแฟรมจะเคลื่อนเข้า-ออก ตรงท้ายไดอะแฟรมมีขดลวดซึ่งศัพท์ทางเทคนิคเรียกว่า"ว็อยซคอยล์ "(VoiceCoil)ขดลวดนี้จะเคลื่อนที่ตัดกับเส้นแรงแม่เหล็กถาวรรูปตัว "อี"(E)การที่ขดลวดเคลื่อนที่ตัดเส้นแรงแม่เหล็กนี้จะเกิดสัญญาณไฟสลับซึ่ง มีความถี่เท่ากับ ความถี่ของคลื่นเสียงที่กระทบไดอะแฟรม

ไมโครโฟน แบบไดนามิคนี้นิยมใช้กันมากและใช้งานได้อย่างกว้างขวาง มีความทนทานพอควร คุณภาพเสียง การตอบสนองความถี่และกำลังออก (Output)  อยู่ในเกณฑ์ดีการเก็บรักษาไมโครโฟนชนิดนี้จะต้องเก็บไว้ให้ห่างจาก สนามแม่เหล็กเส้นเทปบันทึกเสียงเครื่องบันทึกเสียงและลำโพง

1.2 คอนเดนเซอร์ไมค์โครโฟน (Condener  Microphone)

คอนเดนเซอร์หรือ คาร์ปาซิเตอร์ไมโครโฟนเป็นไมโครโฟนอีกประเภทหนึ่งที่ นิยมใช้พอๆกับไดนามิกไมโครโฟน

คอนเดนเซอร์ ไมโครโฟนต้องมีไฟเลี้ยงจ่ายให้อยู่ตลอดเวลาที่มีการใ ช้งานซึ่งอยู่ระหว่าง 9-48 โวลท์ที่มาจากแบตเตอรรี่ที่บรรจุเข้าไปในตัวไมโครโฟน หรือจาก มิกเซอร์โดยผ่านทางสายไมโครโฟน หลักการทำงานคือเมื่อมีการเคลื่อนไหวเข้าใกล้และห่างอ อกจากกันระหว่างไดอะแฟรมกับแบคเพรท (Back plate) โดยแบคเพรทจะอยู่กับที่และส่วนที่เป็นไดอะแฟรมจะเคลื ่อนไหวตามเสียงที่เข้ามา จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางคุณสมบัติทางประจุไฟฟ้ าและทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นซึ่งมีขนาดเล็กมาก ซึ่งจะถูกนำไปขยายโดยภาคขยายเล็กๆ ซึ่งซ่อนอยู่เพื่อขยายสัญญาณและเพื่อแยกค่าอิมพีเด้น ของไมโครโฟนออกจากค่าอิมพีเด้นที่ต่ำที่ตัวไมโครโฟนต ่ออยู่
คอนเดนเซอร์ ไมโครโฟนมีคุณสมบัติทางเสียงที่ดีเหมือนธรรมชาติ ใช้กับงานที่ต้องการการตอบสนองทาง Transient เช่น เครื่องดนตรีที่เป็นพวก Percussion และนิยมใช้กันมากในห้องบันทึกเสียง และงานทั่วไป ความทนทานจะสู้ไดนามิกไมโครโฟนไม่ได้ ไวต่อการเสียหายเมือมีการกระแทกของเสียง การกระทบกระเทือนอย่างแรง และสภาพแวดล้อม เช่นความชื้น ราคาจะสูงกว่าไดนามิกไมโครโฟน

1.3 คริสตอลไมค์โครโฟน (Crystal Microphone)

ใช้แร่คริสตัลเป็นตัวสั่นสะเทือน ทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้า ไมโครโฟนชนิดนี้ไม่ทนต่อสภาพของอุณหภูมิและความชื้น ราคาถูก  ไมโครโฟนแบบนี้ให้กำลังไฟฟ้าออกมาสูง และสามารถสภาพสัญญาณได้ดีจึงไม่ต้องอาศัยหม้อแปลง (Transformer) ในตัวของไมโครโฟนช่วยแต่อย่างใด สามารถส่งสัญญาณไปยังเครื่องขยายเสียงได้โดยตรง สามารถใช้สายไมโครโฟนต่อยาวออกไปได้ไม่เกิน 25 ฟุต เพราะถ้าพ่วงสายยาวกว่านี้จะทำให้มีสัญญาณอื่นมารบกวนได้และทำให้สัญญาณจาก ไมโครโฟนอ่อนลงมาก

1.4 คาร์บอนไมค์โครโฟน (Carbon Microphone)

ทำจากผงถ่าน คุณภาพไม่ค่อยดี นิยมใช้กับเครื่องรับโทรศัพท์

1.5 เซรามิคไมค์โครโฟน (Ceramic Microphone)

คล้ายแบบคริสตัล แต่มีความทนทานสูงกว่า นิยใช้ติดตั้งกับเครื่องยานพาหนะ

1.6 ริบบอนไมค์โครโฟน (Ribbon Microphone)

ใช้แผ่นอลูมิเนียมเบา บางคล้ายกับริบบิ้น จึงต้องอยู่ระหว่างแม่เหล็กถาวรกำลังสูง เมื่อคลื่นเสียงมากระทบกับแผ่นอลูมิเนียม จะสั่นสะเทือนและเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น ไมโครโฟนชนิดนี้จะมีราคาแพง มีคุณภาพดีมาก มีความไวสูง  เป็นไมโครโฟนที่บอบบาง เสียง่ายไม่มีไดอะแฟรม การทำงานอาศัยการสั่นสะเทือนของแผ่นริบบอน มีลักษณะบางเบา และขึงตึงอยู่ระหว่างแม่เหล็กถาวรกำลังสูงและจะทำงานทันทีเมื่อได้รับการ สั่นสะเทือนเป็นไมโครโฟนที่มีคุณภาพสูงและควบคุมสัญญาณได้ดีที่สุด (Highest Fidelity) แต่ไม่ค่อยนิยมใช้กันมาก เพราะมีข้อเสียคือ ไม่เหมาะต่องานสถานที่ แม้แต่เสียงลมพัดก็จะรับเสียงเอาไว้หมดอาจแก้ได้โดยใช้วัสดุกันลม เป็นกระบอกฟองน้ำสวมครอบแต่ก็ไม่ได้ผลนัก นอกจากนี้ยังมีปัญหาอื่น ๆ อีก เช่น สัญญาณไฟฟ้าที่ได้ออกมาค่อนข้างต่ำ (Low Output) ต้องใช้เครื่องขยายเสียงที่มีกำลังแรง และ คุณภาพสูง ถ้าพูดใกล้มาก เสียงลมหายใจจะกลบเสียงที่พูด ไมโครโฟนชนิดนี้ไม่นิยมใช้นอกสถานที่ มักพบในสถานีส่งวิทยุ โทรทัศน์และบันทึกเสียง
นายปริญญา  สิบต๊ะ
GSM 086-205-4540
โครงการก่อสร้าง โรงพยาบาลลำปาง
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา  สาขาเซ็นทรัล แอร์พอร์ต เชียงใหม่
เลขที่บัญชี 530-1-18951-5


ออฟไลน์ Romio_Bannok

  • มือกีตาร์
  • ****
    • กระทู้: 127
  • คนงบน้อย ด้อยวิชา
ไมค์ประเภทต่างๆ

หลังจากที่ได้เว็บนี้เป็นห้องสมุดแห่งปัญญาด้านวิดีโอแล้ว
ผมก็เข้ามาอ่านเป็นประจำ
ได้มาพบเจอเรื่องราวของการใช้ไมโครโฟนในการบันทึกเสียง
มีทั้งไมค์บูม ไมค์ช็อตกัน ต่อมความสงสัยผมก็เลยทำงานว่า
เอ๊ะ..แล้วตั้องเลือกไมค์แบบไหนดี ให้เหมาะกับงาน

และลองไปค้นดูคร่าวๆ
ก็พอที่จะได้ความรู้เบื้องต้นมา เลยคิดว่านำมาฝากชาวไทยดีฟิล์มด้วยดีกว่า
เพราะน่าจะมีอีกหลายๆ ท่านที่ยังไม่ทราบ
ถ้าท่านใดทราบแล้วหรือมีข้อมูลเพิ่มเติมเชิญแนะนำต่อได้เลยครับ

ไมค์ชนิดต่างๆ กับ การใช้งานแขนงต่างๆ

Condenser mic


Condenser mic นั้นมีชื่ออีกชื่อเรียกว่า capacitor ซึ่งโดยทั่วไป mic ชนิดนี้จะประกอบด้วย 2 capsules ที่สามารถเก็บสัญญาณไฟฟ้าได้ อันนึงจะมีน้ำหนักเบา ( diaphragm ) ส่วนอีกอันนึงจะมีลักษณะที่หนากว่าครับ ( backplate )   Capsules 2 อันนี้ไม่ได้อยู่ติดขนานกันแต่ถูกวางตำแหน่งให้อยู่ใกล้กัน โดยมีช่องว่างอากาศเล็กๆขั้นอยู่ตรงกลาง เมื่อมีแรงดันของเสียงเข้ามา diaphragm จะเคลื่อนไหวและเปลี่ยนสัญญาณเสียงให้กลายเป็นสัญญาณไฟฟ้า output และสัญญาณไฟฟ้านั้นจะถูกขยายสัญญาณอีกทีโดย impedance matching head amplifier ถ้าต้องการที่จะให้ condenser mic ทำงาน เราต้องมี power supply ครับ หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า 48V phantom power


Dynamic mic

Dynamic mic จะใช้สัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าในการสร้างสัญญาณ output และทำงานในกฏเกณฑ์ของ moving coil ตัว diaphragm จะถูกออกแบบให้ติดอยู่กับ voice coil ซึ่งล้อมรอบไปด้วยสนามแม่เหล็ก เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของเสียงที่เข้ามา diaphragm จะเคลื่อนไหวภายในสนามแม่เหล็กและแปลงสัญญาณนั้นอีกที 
Dynamic mic จะไม่ sensitive ในความถี่ที่สูงมากๆซึ่งต่างกับ condenser mic


Electret mic


Electret mic จะคล้ายๆกับ condenser mic มากแตกต่างกันที่ electret mic จะใช้วัตถุที่สร้างพลังงานไฟฟ้าได้อย่าง battery ในการขับเคลื่อน diaphragm และมีขนานเล็กกว่าถ้าเทียบกับ condenser mic เหมาะที่จะใช้งานในพื้นที่ๆคับแคบ แต่ไม่นิยมใช้ในการอัดบันทึกครับ เพราะ mic ที่ใช้ phantom power จะมีเสียงที่ดีกว่า


Ribbon mic

Ribbon mic นั้นว่าไปแล้วก็เป็น dynamic mic อีกแขนงนึงครับ แต่ ribbon mic จะใช้ aluminum ribbon บางๆ ถูกติดตั้งภายในสนามแม่เหล็กแทน ซึ่งจะ sensitive กับความถี่ที่สูงกว่า dynamic mic ครับ



Valve mic

Valve ( tube ) mic จริงๆแล้วก็คือ condenser mic ดีๆ นี่เองครับ เพียงแต่ มันใช้ หลอด ( tube )แทนที่จะใช้ transistor เสียงที่ได้จะ warm และ smooth มากจากการ distort ของ valve circuitry เหมาะมากในการอัดเสียงร้อง และ mic ชนิดนี้จะไม่ใช้ phantom power ครับ แต่จะมี power supply ของมันเองต่างหาก ซึ่งต่อกับ cable ของ mic โดยเฉพาะ


Stereo mic

Stereo mic คือ 2 mics 2 capsules อยู่ในตัวเดียวกันครับ เหมาะกับการใช้อัดแบบ Stereo miking เทคนิคมาก


Shortgun mic

Shortgun mic มีความสามารถในการจับความถี่ที่กว้างมากในแบบ cardioid pattern โดย diaphragm ที่ถูกวางไว้ในส่วนกลางของตัว mic นิยมใช้มากในการจับเสียงโดยตรงจากแหล่งกำเนิดเสียงในงานบันทึกเช่น dialog สำหรับหนัง



Mics ยอดนิยม

และจากการสำรวจ นี่คือ mics 4 ตัวที่มีราคาไม่แพงและเป็นที่นิยมซื้อมากๆ ครับ!  AKG C1000Sเป็น mic ประเภท electret mic สามารถใช้ battery ได้ และมี switch เพื่อที่จะ cut เสียง low frequency คุณภาพเสียงไม่ดีนักถ้าเทียบกับ condenser mic ทั่วไป หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.akg.com


Rode NT-A

Rode NT-A จริงๆแล้วถูกดัดแปลงให้ดีขึ้นจาก Rode NT1 เป็น cardioid condenser mic ที่มี diaphragm ขนานใหญ่ สามารถอัดเสียงได้หลายชนิดครับ
หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.rodemicrophones.com


SE Z5600a และ ICIS


อันนี้มาเป็นคู่ครับ เป็นแบบ pair cardioid valve mics ใช้คู่กันได้ครับ หลายคนอาจไม่คุ้นเคยกับ mic ยี่ห้อนี้ SE electronics นั้นเป็นบริษัทของประเทศจีนครับ มีราคาไม่แพงแต่มีคุณภาพเสียงที่น่าทึ่งมาก ลองซื้อมาดูครับ!! หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.sonic-distribution.co.uk


Shure SM58

เจ้าเก่าครับ คงรู้จักกันดีอยู่แล้วสำหรับ dynamic mic ตัวนี้ นิยมมากในการอัดเสียงร้องในห้องอัดหรือแสดงสด ควรมีไว้เลยครับตัวนี้ไม่ควรพลาด!!!!!
นายปริญญา  สิบต๊ะ
GSM 086-205-4540
โครงการก่อสร้าง โรงพยาบาลลำปาง
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา  สาขาเซ็นทรัล แอร์พอร์ต เชียงใหม่
เลขที่บัญชี 530-1-18951-5


ออฟไลน์ Romio_Bannok

  • มือกีตาร์
  • ****
    • กระทู้: 127
  • คนงบน้อย ด้อยวิชา
ชนิดไมโครโฟน

ไมโครโฟน เป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ แผ่นไดอะแฟรม จะสั่นสะเทือนและทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้าขึ้น เป็นพลังงานไฟฟ้าชนิดกระแสสลับที่มีแรงคลื่นไฟฟ้าต่ำมาก ต้องส่งเข้าไปยังเครื่องขยายเสียง เพื่อขยายสัญญาณให้แรงเพิ่มขึ้นอีกทีหนึ่ง

ชนิดของไมโครโฟน
6.4.1 แบ่งตามลักษณะของโครงสร้างวัสดุ ไมโครโฟนแบ่งออกได้เป็น 6 ชนิด ด้วยกันคือ
1) แบบคาร์บอน (Cabon mic) ทำจากผงถ่าน คุณภาพไม่ค่อยดี นิยมใช้กับเครื่องรับโทรศัพท์
2) แบบคริสตัล (Crystal mic) ใช้แร่คริสตัลเป็นตัวสั่นสะเทือน ทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้า ไมโครโฟนชนิดนี้ไม่ทนต่อสภาพของอุณหภูมิและความชื้น ราคาถูก
3) แบบเซรามิค (Ceramic mic) คล้ายแบบคริสตัล แต่มีความทนทานสูงกว่า นิยใช้ติดตั้งกับเครื่องยานพาหนะ
4) แบบคอนเดนเซอร์ (Condenser mic) ใช้คอนเดนเซอร์ เป็นตัวสร้างความถี่ เพื่อทำให้เกิดสัญญาณขึ้น แต่ต้องอาศัยแบตเตอรี่ เป็นตัวช่วยในการทำงาน คุณภาพเสียงดี เบาเล็กกระทัดรัด
5) แบบไดนามิค (Dynamic mic) ใช้แม่เหล็กถาวร และมีขดลวด (moving coil) เคลื่อนไหวไปมาในสนามแม่เหล็ก ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำ และเกิดกระแสไฟฟ้าไหลในวงจร คุณภาพของเสียงดี มีความคงทน เหมาะที่จะใช้งานสาธารณะ
6) แบบริบบอน (Ribbon mic) ใช้แผ่นอลูมิเนียมเบา บางคล้ายกับริบบิ้น จึงต้องอยู่ระหว่างแม่เหล็กถาวรกำลังสูง เมื่อคลื่นเสียงมากระทบกับแผ่นอลูมิเนียม จะสั่นสะเทือนและเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น ไมโครโฟนชนิดนี้จะมีราคาแพง มีคุณภาพดีมาก มีความไวสูง แม้แต่เสียงหายใจ ลมพัด จะรับเสียงได้ เหมาะที่จะนำไปใช้ในห้องส่งวิทยุโทรทัศน์-บันทึกเสียง

.4.2 แบ่งตามทิศทางของการรับเสียง
1) แบบรับเสียงได้ทิศทางเดียว (Uni-Directional mic) รับเสียงได้ทิศทางเดียวคือด้าน หน้า มีมุมรับเสียงค่อนข้างแคบ เหมาะที่จะนำไปใช้สำหรับการบรรยาย การบันทึกเสียง วงดนตรี หรือที่ที่ผู้พูดอยู่ด้านหน้าไมโครโฟน
2) แบบรับเสียงได้ 2 ทิศทาง (Bi-directional mic) รับเสียงได้ 2 ทิศทางที่อยู่ตรงข้างกัน
3) แบบรับเสียงได้รอบทิศทาง (Omni-directional mic) รับเสียงได้รอบทิศทาง โดยมี ความไวในการับเสียงเท่าๆ กัน เหมาะสำหรับใช้ในการแสดงบนเวที แต่มีข้อเสียคือ เสียงจะเข้ารอบทิศทาง ป้องกันสัญญาณย้อนกลับ (Feed back) ได้ยาก
4) แบบรับเสียงบริเวณด้านหน้ารูปหัวใจ (Cardioid mic) รับเสียงได้ทิศทางเดียว แต่สามารถรับเสียงได้เป็นมุมกว้าง คล้ายรูปหัวใจหรือใบโพธิ์ นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน
6.4.3 แบ่งตามลักษณะการใช้งาน
1) แบบตั้งโต๊ะ (Desk mic) ใช้เสียบบนขาตั้ง วางบนโต๊ะ หรือตั้งพื้นตรงหน้าผู้พูดโดยที ผู้พูดไม่ต้องเคลื่อนไปมา
2) แบบมือถือ (Hand mic) ใช้สำหรับนักร้อง นักโฆษณา
3) แบบห้อยคอ (Lavalier mic) มีขนาดเล็ก ใช้เสียงติดกับคอเสื้อ-กระเป๋าเสื้อ หรือเนค ไท นิยมใช้ในการทำรายการโทรทัศน์
4) แบบบูม (Boom mic) ติดอยู่บนแขนยาว ๆ อยู่เหนือศีรษะผู้พูดสามารถเสื่อนตามผู้ พูด หรือผู้แสดงไปได้ตลอด นิยมใช้ในห้องผลิตรายการโทรทัศน์ และห้องบันทึกเสียงการแสดง
5) แบบบิง (Bing mic) ใช้ตั้งโต๊ะอยู่กับที่โดยไม่เคลื่อนย้าย
6) แบบไม่มีสาย (Wireless mic) เป็นเครื่องส่งวิทยุระบบ F.M ขนาดเล็กกำลังส่งต่ำ ใช้กับเครื่องรับวิทยุระบบ F.M ส่งคลื่นไปได้ไกล ประมาณ 50-200 เมตรเท่านั้น
การเลือกใช้ Microphone
ในเรื่องของไมโครโฟนจะมีสองส่วนใหญ่ ส่วนแรกคือวิธีเลือก(choosing) กับวิธีวาง(placing)
ซึ่ง ทั้งสองส่วนมีความสำคัญมากไม่แพ้กันถ้าเข้าใจสองส่วนนี้แล้วก็สามารถพูดได้เลยว่าทำงานบันทึกเสียงโดยใช้ ไมโครโฟนได้อย่างมีชั้นเชิง

ในตอนนี้เราจะมาว่ากันถึงส่วนแรกก่อนคือวิธีเลือก (choosing)
ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกับไมโครโฟนซักนิดก่อนครับ

ไมโครโฟน เป็นอุปกรณ์บันทึกเสียงชนิดหนึ่งที่ไม่ได้ทำให้เสียงดังขึ้น
หน้าที่ของไมโครโฟนที่จะทำให้เสียงวิ่งอยู่ในลวดทองแดง ได้ เพราะสิ่งที่จะวิ่งอยู่ในลวดทองแดงหรือพวกสายเคเบิลได้คือไฟฟ้า ซึ่งไมโครโฟนจะเปลี่ยนสัญญาณเสียงที่มันได้รับเป็นสัญญาณไฟฟ้า พอเสียงกลายเป็นสัญญาณไฟฟ้าก็วิ่งไปมาในระบบได้เต็มที่และสุดท้าย สิ่งที่จะเปลี่ยนไฟฟ้ากลับมาเป็น เสียงอีกครั้งเพื่อให้เราได้ยินก็คือลำโพงเพราะฉะนั้นไมโครโฟนกับ ลำโพงส่วนประกอบของมันจริงๆแล้วหลักการก็คล้ายกันมากเพียงแต่ต่อมันกลับหัว กลับหางเท่านั้นเอง

ดังนั้นถ้าเราเอาไมโครโฟนมาตัวหนึ่งแล้วลองพูด ดูถ้าเป็น Dynamic Microphone (ไมโครโฟนที่ทำงานโดยไม่ต้องใช้ไฟ) มันจะมีไฟออกมาทางก้นไมโครโฟนทันทีแต่ไม่ต้องกลัวถูกไฟดูดหรอกครับเพราะขนาด ไฟที่ออกมามีขนาดน้อยมากๆไม่มีทางดูดใครได้

บางท่านอาจจะแย้งว่าเคยถูกไมโครโฟนดูดเป็นประจำเวลาเอาปากไปร้องใกล้ๆ


อัน นั้นไม่ใช่ไฟที่ออกมาจากไมโครโฟรครับมันมักจะเป็นไฟที่รั่วมาจากอุปกรณ์ ตัวอื่นๆมากว่า เช่น พวกพาวเวอร์แอมป์เป็นต้น สัญญาณที่ได้จากไมโครโฟนนั้นยังไม่พร้อมที่จะนำไปบันทึกเสียงหรือออกกระจาย เสียงครับเนื่องจากสัญญาณมันเบามาก ต้องมีตัวขยายเสียงอีกทีหนึ่งไอ้เจ้าตัวที่มาขยายสัญญาณจากไมโครโฟนก็คือ ปรีไมโครโฟน ( Pre Microphone Amplifier ) เมื่อสัญญาณที่ได้จากไมโครโฟนถูกขยายแล้วก็สามารถลงไปซาวด์การ์ดได้เลยหรือ พูดง่ายๆคืออัดได้เลยครับ

ปรีไมโครโฟนนี้มีหลายที่ครับ ซาวด์การ์ดบางรุ่นก็มี (ช่องที่ให้เสียบไมค์นั่นละครับคือปรีไมค์) มิกซ์เซอร์ก็มีครับแต่ถ้าจะให้คุณภาพดีที่สุดควรจะเป็นปรีไมค์ที่เป็นแร็ค อยู่ด้านนอกครับคุณภาพก็ตามราคา

หลังจากที่พูดถึงการ ทำงานของไมโครโฟนเบื้องต้นมาพอสมควรแล้วผมขออนุญาติ แบ่งไมโครโฟนออกเป็น 2 ประเภทเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจแล้วกันนะครับ

1.Dynamic Microphone
 
เป็น ไมโครโฟนที่ไม่ต้องใช้ไฟคือตัวมันเสียบเข้าปรีไมค์แล้ว Boost เสียงก็ดังทันทีเลย ธรรมชาติของไมโครโฟนประเภทนี้มักจะไม่ค่อยไว เหมาะสำหรับจับเสียงตู้แอมป์กีตาร์ แอมป์เบส เสียงกระเดื่อง กลองทอม ไม่นิยมที่จะใช้จับ Ambient (บรรยากาศห้อง) , เสียงร้อง , เสียงกีตาร์อคูสติคหรือเครื่องอคูสติค ทั้งหลายเนื่องจากไม่ไวพอ ยกเว้นเครื่องเป่าบางขนิดที่เสียงดัง เช่น แซ็คโซโฟน , ทรัมเป็ต ส่วนพวกฉาบและไฮแฮท (เครื่องทองเหลือง) ไม่นิยมจับด้วย Dynamic Microphone เนื่องจากไมโครโฟนกลุ่มนี้ไม่ค่อยตอบสนองย่านความถึ่ช่วงสูงได้ดีนัก



2.Condenser Microphone

อัน นี้เป็นไมโครโฟนที่ต้องใช้ไฟครับ แต่มันจะใช้ไฟเพียงแค่ 48 volt เราจะเรียกว่า Phantom (หรือใช้สัญลักษณ์ +48V) ซึ่งหากจะใช้ไมโครโฟนประเภทนี้ต้องมี ไอ้เจ้าไฟ +48 V ด้วยครับ ซึ่งไมโครโฟนที่ใช้ไฟพวกนี้จะมีความไวสูงมากครับคือเสียงเบาๆมันก็รับไปหมด ซึ่งเป็นทั้งข้อดีและข้อเสียครับ คือ มันจะให้รายละเอียดที่มากและยังสามารถรับความถี่สูงได้ดีอีกด้วย สามารถเอามาจับบรรยากาศห้องก็ได้เพราะมันไวพอ หรือจะเอามาจับเครื่องอคูสติกก็เยี่ยมครับ แต่ข้อควรระวังก็มีครับคือเนื่องจากความไวของมันนั่นเองทำให้ไม่เหมาะที่จะ นำไปใช้กับสถานที่ที่มีเสียงรบกวนสูง และไม่สามารถที่จะนำไปวางใกล้ๆกับอุปกรณ์ดนตรีที่มีเสียงดังมากๆได้ เช่นพวกตู้แอมป์ต่างๆ (แต่ไม่ได้หมายความว่ามันไม่สามารถจับตู้กีตาร์ได้นะครับเพียงแต่ต้องระวัง เป็นอย่างมากและต้องรู้เทคนิคเล็กน้อย)



หลัง จากที่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของไมโครโฟนแล้วมีอีกเรื่องที่สำคัญมากๆ ต่อการเลือกใช้ไมโครโฟน คือ ขนาดของ Diaphragm (คือ ขนาดของแผ่นรับเสียงที่ไมโครโฟน ต้องขออภัยครับที่ไม่สามารถแปลคำว่า Diaphragm เป็นภาษาไทยได้เพราะไม่ทราบจริงๆว่ามันแปลเป็นไทยว่าอะไรถ้าท่านใดทราบก็ เมลล์มาบอกกันได้นะครับ) ไมโครโฟนที่ Diaphragm ใหญ่ (Large Diaphragm) จะตอบสนองต่อความถี่ต่ำได้ดีกว่า ไมโครโฟนที่ Diaphragm เล็ก (Small Diaphragm) ส่วนความถี่สูง Diaphragm เล็กจะตอบสนองได้ชัดเจนกว่าแต่ Diaphragm ใหญ่ก็ตอบสนองได้ครับ แต่เนื่องจาก Diaphragm ใหญ่จะให้ความถี่ต่ำด้วยบางครั้งเลยทำให้ดูเหมือนว่ามันตอบสนองความถี่สูง ได้ไม่ชัดเจนเท่า Diaphragm เล็ก สรุปว่าสำหรับความถี่ต่ำ สมควรถูกจับด้วย Diaphragm ใหญ่เท่านั้น ส่วน ความถี่สูงจะจับด้วย Diaphragm เล็กก็ได้ใหญ่ก็ได้แต่จะได้สำเนียงต่างกัน

ขอสรุปการเลือกใช้ ไมโครโฟนตามมาตรฐานตามขนิดเครื่องดนตรีเพื่อเป็นแนวทางการเลือกซื้อเลือกใช้ (ไมโครโฟนที่ยกเป็นตัวอย่างเป็นไมโครโฟนที่ทั่วโลกนิยมใช้กัน บางตัวราคาอาจสูงมากลองเอาชื่อไมโครโฟนเหล่านี้ไป Search ดูเล่นก็ได้ครับจะเห็นรายละเอียดอีกมากมาย)

- Bass Drum ควรจับด้วย Large Diaphragm Dynamic Microphaone รุ่นที่นิยมได้แก่ AKG D112 , Electrovoice RE20 , Shure
 
- Snare ควรจับด้วย Dynamic Microphone รุ่นที่นิยมได้แก่ Shure SM57

- Tom ควรจับด้วย Large Diaphragm Dynamic Microphone รุ่นที่นิยมได้แก่ Sennheizer MD421 (สำหรับ Tom ใบเล็กบางท่านอาจนิยมจับด้วย Shure SM57 สำหรับ Floor Tom บางท่านอาจนิยมจับด้วย Electrovoice RE 20)
 
- Hihat ควรจับด้วย Condensor Microphone รุ่นที่นิยมได้แก่ AKG 414 , AKG 451 , Neumann KM 184
 
- Overhead ควรจับด้วย Condensor Microphone รุ่นที่นิยมได้แก่ Neumann U 87 , Neumann KM 184 , AKG 451
 
- Amp Bass ควรจับด้วย Large Diaphragm Microphone จะเป็น Dynamic หรือ Condensor ก็ได้ แต่ถ้าเป็น Condensor ควรจะวางห่างออกมาซักประมาณ 1 ฟุต รุ่นที่นิยมได้แก่ Electrovoice RE 20 , AKG D112 , Neumann U 87 , AKG C12
นายปริญญา  สิบต๊ะ
GSM 086-205-4540
โครงการก่อสร้าง โรงพยาบาลลำปาง
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา  สาขาเซ็นทรัล แอร์พอร์ต เชียงใหม่
เลขที่บัญชี 530-1-18951-5


ออฟไลน์ Romio_Bannok

  • มือกีตาร์
  • ****
    • กระทู้: 127
  • คนงบน้อย ด้อยวิชา
ไมโครโฟน คืออุปกรณ์รับเสียงแล้วแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อประมวลผลในเครื่องขยายเสียงหรืออุปกรณ์ผสมเสียงอื่น ๆ ไมโครโฟนประกอบด้วยขดลวดและแม่เหล็กเป็นหลัก เมื่อเสียงกระทบตัวรับในไมโครโฟน จะทำให้ขดลวดสั่นสะเทือนตัดกับสนามแม่เหล็ก จึงทำให้เกิดสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งเป็นหลักการทำงานตรงข้ามกับลำโพง โดยทั่วไปไมโครโฟนใช้รับเสียงพูดหรือเสียงร้องเพลง
[แก้]ชนิดของไมโครโฟน แบ่งตามหลักการทางไฟฟ้า ได้ 2 ประเภท

ได้แก่ 1.แบบไดนามิก 2.แบบคอนเดนเซอร์
แบบไดนามิก ทำงานโดย การสั่นสะเทือนของขดลวด ที่อยู่รอบแกนแม่เหล็ก ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า อาศัยหลักการเหนี่ยวนำไฟฟ้า แบบคอนเดนเซอร์ ปล่อยกระแสไฟฟ้าสายตรง ไหลไปยังตัวไมค์ ซึ่งมีแผ่นโลหะบางๆตรวจจับการสั่นสะเทือนของอากาศ แล้วเปิด-ปิดทางเดินของวงจรไฟฟ้า
นายปริญญา  สิบต๊ะ
GSM 086-205-4540
โครงการก่อสร้าง โรงพยาบาลลำปาง
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา  สาขาเซ็นทรัล แอร์พอร์ต เชียงใหม่
เลขที่บัญชี 530-1-18951-5


ออฟไลน์ Romio_Bannok

  • มือกีตาร์
  • ****
    • กระทู้: 127
  • คนงบน้อย ด้อยวิชา
ไมโครโฟน ( microphone)ไมโครโฟน ( microphone) เป็นเครื่องมือเปลี่ยนคลื่นเสียง (sound wave) ให้อยู่ในรูปคลื่นไฟฟ้าความถี่เสียง ภายในไมโครโฟนมีแผ่นสั่น (diaphragm) ซึ่งสั่นไปมาตามแรงของคลื่นเสียง ความสั่นสะเทือนของแผ่นทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าได้เล็กน้อย เรานำกระแสไฟฟ้าคลื่นเสียงนี้ป้อนเป็นสัญญาณเข้า (input signal) สู่วงจรทางเข้าของเครื่องขยายเสียง เพื่อเพิ่มกระแสไฟฟ้าคลื่นเสียงให้แรงขึ้นอีกหลายๆเท่า ไมโครโฟนมีคำย่อในภาษาอังกฤษว่า “Mic.”ชนิดของไมโครโฟนไมโครโฟนมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน ถาเราแบ่งตามวัสดุที่ทำไมโครโฟน คือ1. ไดนามิกไมโครโฟน (Dynamic microphone) ไมโครโฟนชนิดนี้มีแผ่นสั่นติดกับขดลวดวอยซ์คอยล์ (voice coil) เมื่อมีคลื่นเสียงเกิดขึ้นจากการอัดตัวของอากาศ จะทำให้แผ่นนี้สั่นในบริเวณสนามแม่เหล็กความเข้มสูง และเกิดคลื่นไฟฟ้าตามความถี่เสียงในขดลวด 2. ริบบอนไมโครโฟน (Ribbon microphone) เป็นไมโครโฟนที่มีแผ่นสั่นสะเทือนแขวนไว้ระหว่างสนามแม่เหล็กเมื่อมีคลื่นเสียงผ่านมากระทบ ก็จะเกิดคลื่นกระแสไฟฟ้าความถี่เสียงจากการสั่นสะเทือนของแผ่นริบบอนในสามแม่เหล็ก ไมโครโฟนชนิดนี้มีความไวต่อการรับเสียงมากและบอบบาง อาจจะเกิดความเสียหายได้ง่าย ดังนั้น ไมโครโฟนชนิดนี้มักจะพบในสถานีส่งโทรทัศน์ วิทยุ หรือห้องบันทึกเสียงเท่านั้น ในการกระจายเสียง การบันทึกเสียง การประกาศหรือการสั่งงาน ไมโครโฟนชิดริบบอน (แบบเสียงทิศทางเดียว และแบบรับเสียง 2 ทิศทาง) เหมาะอย่างยิ่งสำหรับวงดนตรี ไม่แนะนำให้ใช้นอกสถานที่3. คอนเดนเซอร์ไมโครโฟน (Condenser microphone) ไมโครโฟนชนิดนี้มีแผ่นเสียงสั่น ทำหน้าที่เป็น plate เมื่อมีคลื่นเสียงากระทบ plate ก็จะยืดตัวทำให้เกิดความจุ (capacity) เพื่อเปลี่ยนแปลงการไหลของกระแสไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าผ่านวงจรตามจังหวะการอัดตัวของคาร์บอน ถ้าคาร์บอนอัดตัวแน่นเนื่องจากแรงกดของแผนสั่นที่สั่นอันเกิดจากคลื่นเสียง กระแสผ่านน้อย เนื่องจากความต้านทานสูง ถ้าคาร์บอนอัดตัวกันน้อยกระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้มาก เนื่องจากความดันต่ำ4. เซรามิกไมโครโฟน (Ceramics microphone) คล้ายคลึงกับไมโครโฟนชนิดคริสตัล (crystal microphone) ในการออกแบบ แต่ใช้เซรามิก คุณภาพเหนือกว่าคริสตัล สำหรับใช้นอกสถานที่ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างมากของอุณหภูมิและความชื้น  การเลือกไมโครโฟนเพื่อใช้ในงานต่างๆ            การเลือกไมโครโฟนใช้ในงานประเภทใดประเภทหนึ่ง เราต้องรู้ลักษณะงาน ว่าเราต้องการคุณภาพเสียงอย่างไร เราพิจารณาจากย่านความถี่ของเสียงที่ไมโครโฟนจะรับได้ และของไมโครโฟนได้ดังนี้คือ

พิจารณาไมโครโฟนตามลักษณะทางการรับเสียง            1. ชนิดรับเสียงทิศทางเดียว (uni directional)จะรับเสียงที่ตกมาด้านหน้าเท่านั้น เสียงที่มาจากข้างๆและข้างหลังจะถูกตัดออก หรือป้องกันการรบกวน            2. ไมโครโฟนรับเสียงเฉพาะพื้นที่ (cardioid หมายความว่ารูปหัวใจ)ระบบนี้จะตัดเสียงจากด้านหลังได้อย่างน้อยที่สุดถึง 70% ในขณะที่รับเสียงจากด้านหน้าได้ด้วยเนื้อที่อันกว้างมาก เสียงต่างๆที่มาจากด้านหน้า 120 ํ- 180 ํ จากจุดศูย์กลางจะรับได้ดี            3. ไมโครโฟนรับเสียงทุกทิศทาง (omni directional)ไมโครโฟนสามารถรับเสียงจากทุกทิศทางได้ดีสม่ำเสมอกันโดยตลอด            4. ไมโครโฟนรับสองทิศทาง หรือเรียกว่า ไบไดเรคชันนอล (bidirectional microphone)สามารถรับเสียงจากด้านหน้า และด้านหลังไมโครโฟนได้เท่าๆกัน ใช้สำหรับบุคคลสองคนยืนตรงข้ามกันวิธีใช้ไมโครโฟน            เนื่องจากไมโครโฟนมีหลายแบบ และมีคุณสมบัติแตกต่างกัน ทำให้เราสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมได้ เช่น            ก. ใช้ไมโครโฟนแบบรับเสียงทิศทางเดียวกับคนเพียง 2-3คน ที่ยืนหรือนั่งหันหน้าไปทางเดียวกัน ระยะจากผู้พูดแต่ละคนถึงไมโครโฟนเท่ากัน            ข. ถ้าต้องการใช้ไมโครโฟนกับบุคคลเป็นกลุ่มที่นั่งหรือยืนล้อมวง ท่านก็ควรเลือกใช้ไมโครโฟนแบบรับเสียงทุกทิศทาง            ค. ผู้พูดที่นั่งหรือยืนตรงข้ามกัน หันหน้าเข้าหากันในกลุ่มหรือคนต่อคน ควรใช้ไมโครโฟนรับเสียงสองทิศทาง            ง. การประชุมที่ผู้ประชุมนั่งบนโต๊ะยาวๆ เราอาจต้องใช้ไมโครโฟนถึงสองตัวเป็นไมโครโฟนแบบรับเสียงทุกทิศทาง            จ. การรับเสียงจากผู้นั่งประชุมบนอัฒจันทร์ อาจต้องใช้ห้อยไมโครโฟนจากเพดานเป็นไมโครโฟนแบบรับเสียงทุกทิศทางการต่อไมโครโฟนข้าระบบขยายเสียงเราอาจจะเอาสายต่อในระบบเสียงได้ 2 ประเภท คือ1. สายไฟธรรมดา ที่ใช้ต่อไฟฟ้ากระแส (A-C cord) หรือทำสายลำโพง2. สายไฟที่ใช้ต่อไมโครโฟน ต้องเป็นสายที่มีฉนวนหุ้มเส้นลวดตัวนำ ต่อจากนั้นจะเป็นตัวนำมีลักษณะเป็นลวดตาข่ายหุ้มรอบ และมีฉนวนหุ้มอีกทีหนึ่งเป็นชั้นนอกสุด เราเรียกว่า สายชีล (shield)            เนื่องจากสัญญาณไฟฟ้าจาการเปลี่ยนแปลงคลื่นเสียงธรรมชาติเป็นคลื่นไฟฟ้า ความถี่เสียงมีกำลังดันน้อยมาก ถ้าเราใช้สายคู่ธรรมดา สัญญาณจากที่อื่น เช่น สัญญาณวิทยุในอากาศ หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมทั้งสนามแม่เหล็กจากมอเตอร์และไฟฟ้าอื่นๆ จะรบกวน ทำให้เสียงที่ขยายออกลำโพงมีเสียงรบกวน เคยมีผู้ทดลองใช้สายไฟธรรมดาทำสายไมโครโฟน เมื่อขยายเสียงออกมา ปรากฏว่ามีคลื่นวิทยุจากสถานีหนึ่งได้รับการขยายเสียงออกลำโพงด้วย ดังนั้น เฉพาะสายที่ต่อจากไมโครโฟนไปยังเครื่องขยายเสียง จะต้องใช้สายชีล (shield) เท่านั้น เพราะสายชีลเป็นสายซ้อนกันสองชั้น ชั้นในเป็นสายสัญญาณ และมีฉนวนหุ้ม สายชั้นนอกจะสานตัวนำล้อมรอบสายชั้นใน เพื่อรับคลื่นความถี่อื่นๆ มิให้เข้าไปรบกวนสัญญาณเส้นใน            เพื่อไม่ให้เกิดการสับสนในการต่อสายไมโครโฟนกับสายไฟธรรมดา ผู้ผลิตเครื่องขยายเสียงจึงไม่ทำให้ปลั๊กเสียบสายไมโครโฟนเหมือนปลั๊กไฟฟ้า ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเสียบผิด เพราะถ้าเอาไมโครโฟนไปเสียบปลั๊กไฟฟ้า A.C. ตามบ้าน ไมโครโฟนราคา 20 บาท หรือ 10,000 บาท ก็จะเสียหายทันที เป็นการตัดปัญหาเหล่านี้ และเพื่อความสะดวกในการต่อวงจรขยายเสียง ปลั๊กไมโครโฟนจึงทำเป็นแบบขาเดียวซ้อนกันสองชั้นข้อขัดข้องเกิดจากไมโครโฟน1. ถ้าไม่มีสัญญาณจากไมโครโฟน ให้ตรวจสายต่อและปลั๊ก (jack) และข้อต่อต่างๆของไมโครโฟน2. ถ้ามีเสียงรบกวนออกมาทางลำโพงมาก ให้ตรวจว่าสายทุกเส้นต่อถูกต้องหรือไม่ และสายไมโครโฟนที่ใช้อยู่ใกล้คลื่นรบกวน เช่น พัดลม บัลลาสต์และสตาร์เตอร์ของหลอดฟลูออเรสเซนต์ เครื่องปรับอากาศหรือไม่ เป็นต้น ให้พยายามเดินสายให้ห่างคลื่นรบกวน3. ไมโครโฟนเสียงเพี้ยน (distortion) ให้ช่างตรวจซ่อมให้เรียบร้อย4. ถ้าไม่จำเป็นอย่าใช้ไมโครโฟนที่เสียงดัง แล้วไม่ดัง เพราะเวลาใช้งานจริงๆมักจะไม่ดัง โดยหาสาเหตุไม่ได้  ทางที่ดีตรวจหาสาเหตุ เช่น สายหลวมหรือไม่ เพราะสายบางเส้นไม่ขาดทีเดียว โดยเฉพาะบริเวณรอยต่อของสายมักจะไม่แน่นดี สิ่งเหล่านี้ต้องทำให้เรียบร้อยก่อนนำมาใช้งานจริงๆไมโครโฟนแบบไม่ใช้สาย (Wireless microphone)            คือ ไมโครโฟนที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องส่งสัญญาณวิทยุในตัวของมันเอง มีรัศมีการส่งสัญญาณวิทยุประมาณ 100-200 เมตร ส่วนมากมักจะส่งคลื่นออกอากาศในระบบ VHF (very high frequency) ซึ่งออกอากาศในระบบ F.M.            การใช้ไมโครโฟนแบบไม่ใช้สาย แทนที่จะรับสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงจากสายไมโครโฟน กลับต้องใช้เครื่องรับสัญญาณวิทยุ (tuner) รับสัญญาณวิทยุที่ส่งออกอากาศเข้ามาส่งต่อเข้าเครื่องขยายเสียง และส่งออกลำโพงอีกช่วงหนึ่ง และถ้าไมโครโฟนแบบไม่ใช้สายที่ส่งสัญญาณออกอากาศในช่วงคลื่น 88 MHz ซึ่งเป็นคลื่น F.M. ที่ใช้ในการกระจายเสียงทั่วๆไป เราอาจใช้วิทยุธรรมดาที่รับคลื่น F.M. รับสัญญาณแทนเครื่องขยายเสียงข้อดี ข้อเสียของการใช้ไมโครโฟนแบบไม่ใช้สาย1. ข้อดี คือ ไม่ต้องใช้สายต่อระหว่างเครื่องขยายเสียงกับไมโครโฟน ทำให้สะดวกในการใช้จะเดินไปไหนมาไหนก็ได้2. ข้อดี คือ ในรัศมี 100-200 เมตร ไมโครโฟนตัวหนึ่งจะใช้เครื่องรับหลายๆชุดก็ได้3. ข้อเสีย คือ ใช้ไมโครโฟนหลายๆตัวต้องส่งคลื่นความถี่ต่างกัน ถ้าส่งความถี่เดียวกัน เมื่อเกิดเสียตัวหนึ่ง สัญญาณจะทำให้ภาคขยายเสียงเกิดเสียงย้อนกลับ (feed back) 4. ข้อเสีย คือ ไมโครโฟนแบบไม่ใช้สายมักจะเกิดเสียงย้อนกลับ (feed back) ง่ายกว่าไมโครโฟนธรรมดาข้อควรระวังในการใช้ไมโครโฟน1. อย่าเคาะ เป่า หรือกระทำการอันทำให้ไมโครโฟนต้องสั่นสะเทือนอย่างแรง เพราะไมโครโฟนสร้างขึ้นเพื่อการรับเสียงธรรมชาติเท่านั้น2. อย่าให้ไมโครโฟนล้ม หรือตกจากที่สูงเป็นอันขาด3. อย่าให้ไมโครโฟนเปียกน้ำ4. อย่าซ่อมไมโครโฟนเองโดยไม่มีความรู้ โดยเฉพาะอย่าเอาไขขวงหรือของแข็งไปถูกแผ่นสั่น (diaphragm) 5. ตรวจสอบและทดลองไมโครโฟนอยู่เสมอ อย่าเก็บไว้โดยไม่ใช้เป็นเวลานาน6. เมื่อเวลานำไมโครโฟนไปเก็บ ควรหาถุงผ้าหนาๆ ใส่ไว้เพื่อป้องกันการสะเทือน7. ถ้าไม่จำเป็นขณะที่ใช้ไมโครโฟน ไม่ควรให้ผู้พูดถือไมโครโฟนด้วยมือ แต่ควรติดตั้งไมโครโฟนไว้บนขาตั้งให้เรียบร้อย 
นายปริญญา  สิบต๊ะ
GSM 086-205-4540
โครงการก่อสร้าง โรงพยาบาลลำปาง
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา  สาขาเซ็นทรัล แอร์พอร์ต เชียงใหม่
เลขที่บัญชี 530-1-18951-5


ออฟไลน์ Romio_Bannok

  • มือกีตาร์
  • ****
    • กระทู้: 127
  • คนงบน้อย ด้อยวิชา
การใช้ Microphone
ไมโครโฟน เป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ แผ่นไดอะแฟรม จะสั่นสะเทือนและทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้าขึ้น เป็นพลังงานไฟฟ้าชนิดกระแสสลับที่มีแรงคลื่นไฟฟ้าต่ำมาก ต้องส่งเข้าไปยังเครื่องขยายเสียง เพื่อขยายสัญญาณให้แรงเพิ่มขึ้นอีกทีหนึ่ง

ชนิดของไมโครโฟน
6.4.1 แบ่งตามลักษณะของโครงสร้างวัสดุ ไมโครโฟนแบ่งออกได้เป็น 6 ชนิด ด้วยกันคือ
1) แบบคาร์บอน (Cabon mic) ทำจากผงถ่าน คุณภาพไม่ค่อยดี นิยมใช้กับเครื่องรับโทรศัพท์
2) แบบคริสตัล (Crystal mic) ใช้แร่คริสตัลเป็นตัวสั่นสะเทือน ทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้า ไมโครโฟนชนิดนี้ไม่ทนต่อสภาพของอุณหภูมิและความชื้น ราคาถูก
3) แบบเซรามิค (Ceramic mic) คล้ายแบบคริสตัล แต่มีความทนทานสูงกว่า นิยใช้ติดตั้งกับเครื่องยานพาหนะ
4) แบบคอนเดนเซอร์ (Condenser mic) ใช้คอนเดนเซอร์ เป็นตัวสร้างความถี่ เพื่อทำให้เกิดสัญญาณขึ้น แต่ต้องอาศัยแบตเตอรี่ เป็นตัวช่วยในการทำงาน คุณภาพเสียงดี เบาเล็กกระทัดรัด
5) แบบไดนามิค (Dynamic mic) ใช้แม่เหล็กถาวร และมีขดลวด (moving coil) เคลื่อนไหวไปมาในสนามแม่เหล็ก ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำ และเกิดกระแสไฟฟ้าไหลในวงจร คุณภาพของเสียงดี มีความคงทน เหมาะที่จะใช้งานสาธารณะ
6) แบบริบบอน (Ribbon mic) ใช้แผ่นอลูมิเนียมเบา บางคล้ายกับริบบิ้น จึงต้องอยู่ระหว่างแม่เหล็กถาวรกำลังสูง เมื่อคลื่นเสียงมากระทบกับแผ่นอลูมิเนียม จะสั่นสะเทือนและเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น ไมโครโฟนชนิดนี้จะมีราคาแพง มีคุณภาพดีมาก มีความไวสูง แม้แต่เสียงหายใจ ลมพัด จะรับเสียงได้ เหมาะที่จะนำไปใช้ในห้องส่งวิทยุโทรทัศน์-บันทึกเสียง



6.4.2 แบ่งตามทิศทางของการรับเสียง
1) แบบรับเสียงได้ทิศทางเดียว (Uni-Directional mic) รับเสียงได้ทิศทางเดียวคือด้าน หน้า มีมุมรับเสียงค่อนข้างแคบ เหมาะที่จะนำไปใช้สำหรับการบรรยาย การบันทึกเสียง วงดนตรี หรือที่ที่ผู้พูดอยู่ด้านหน้าไมโครโฟน
2) แบบรับเสียงได้ 2 ทิศทาง (Bi-directional mic) รับเสียงได้ 2 ทิศทางที่อยู่ตรงข้างกัน
3) แบบรับเสียงได้รอบทิศทาง (Omni-directional mic) รับเสียงได้รอบทิศทาง โดยมี ความไวในการับเสียงเท่าๆ กัน เหมาะสำหรับใช้ในการแสดงบนเวที แต่มีข้อเสียคือ เสียงจะเข้ารอบทิศทาง ป้องกันสัญญาณย้อนกลับ (Feed back) ได้ยาก
4) แบบรับเสียงบริเวณด้านหน้ารูปหัวใจ (Cardioid mic) รับเสียงได้ทิศทางเดียว แต่สามารถรับเสียงได้เป็นมุมกว้าง คล้ายรูปหัวใจหรือใบโพธิ์ นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน



6.4.3 แบ่งตามลักษณะการใช้งาน
1) แบบตั้งโต๊ะ (Desk mic) ใช้เสียบบนขาตั้ง วางบนโต๊ะ หรือตั้งพื้นตรงหน้าผู้พูดโดยที ผู้พูดไม่ต้องเคลื่อนไปมา
2) แบบมือถือ (Hand mic) ใช้สำหรับนักร้อง นักโฆษณา
3) แบบห้อยคอ (Lavalier mic) มีขนาดเล็ก ใช้เสียงติดกับคอเสื้อ-กระเป๋าเสื้อ หรือเนค ไท นิยมใช้ในการทำรายการโทรทัศน์
4) แบบบูม (Boom mic) ติดอยู่บนแขนยาว ๆ อยู่เหนือศีรษะผู้พูดสามารถเสื่อนตามผู้ พูด หรือผู้แสดงไปได้ตลอด นิยมใช้ในห้องผลิตรายการโทรทัศน์ และห้องบันทึกเสียงการแสดง
5) แบบบิง (Bing mic) ใช้ตั้งโต๊ะอยู่กับที่โดยไม่เคลื่อนย้าย
6) แบบไม่มีสาย (Wireless mic) เป็นเครื่องส่งวิทยุระบบ F.M ขนาดเล็กกำลังส่งต่ำ ใช้กับเครื่องรับวิทยุระบบ F.M ส่งคลื่นไปได้ไกล ประมาณ 50-200 เมตรเท่านั้น

6.5. คุณสมบัติของไมโครโฟน

ไมโครโฟนในแต่ละแบบก็อาจมีคุณสมบัติต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
6.5.1. ผลตอบสนองความถี่ เป็นความสามารถตอบสนองความถี่ได้เรียบ และเก็บ ความถี่ได้กว้าง ไมโครโฟนทั่วๆ ไป มีผลตอบสนองความถี่ได้เรียบ ตั้งแต่ 100-10000 เฮิรทซ์ เป็นอย่างน้อยการตอบสนองความพี่ได้มากน้อง เพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับการใช้งาน เช่นการแสดงดนตรีต้องใช้ไมโครโฟนที่ตอบสนองความถี่กว้างประมาณ 50-15000 เฮิรทซ์ โดยราบเรียบเสมอกัน ซึ่งได้แก่ไมโครโฟนแบบไดนามิค แบบริบบอน เป็นต้น

6.5.2. ความไวในการรับเสียง เนื่องจากคลื่นเสียงผ่านอากาศไปสู่ไมโครโฟน ไมโครโฟน จะเปลี่ยนคลื่นเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้า และมีความแรงพอที่จะป้อนเข้าสู่เครื่องขยายเสียงได้ไมโครโฟนที่มีความไวการรับเสียงสูง จะสามารถรับคลื่นเสียงที่อยู่ห่างจากไมโครโฟนได้ไมโครโฟนทั่วไป จะมีคามแรงของสัญญาณที่ได้ออกมาเป็นเดซิเบล (dB) ต่ำกว่า 1 โวลท์ เช่น -60 dB หรือ -50 dB ค่า dB เป็นลบมากจะมีความไวต่ำกว่าค่ำ dB ที่เป็นลบน้อย นั่นคือ -60dB ดมีความไวต่ำกว่า -50dB

6.5.3. อิมพีแดนซ์ (Impedance) หมายถึงความต้านทานของไมโครโฟนที่เกิดขึ้นขณะ มีสัญญาณหรอืกระแสสลับไฟลผ่าน มีหน่วยเป็นโอห์ม (Ohm) มี 2 ชนิด
1) อิมพแดนซ์สูง (High Impedance) มีค่า Impedance อยู่ระหว่าง 5-10, 50 และ 100 K Ohm ซื่งจะเขียนติดไว้บนตัวไมโครโฟนนี้ชนิดไม่ควรใช้สายยายเกินกว่า 25 ฟุต จะทำให้เกิดเสียงฮัมและสูญเสียกำลังไปในสาย
2) อิมพิแดนซ์ต่ำ (Low Impedance) มีค่า Impedance 200-600 โอมห์ ใช้สายไมโครโฟนได้ยาว กว่า 100 ฟุต

6.6.การใช้ไมโครโฟนและการบำรุงรักษา

การใช้ไมโครโฟนและการบำรุงรักษา ควรมีหลักการในการใช้และการบำรุงรักษาดังนี้
1. ไม่เคาะหรือเป่าไมโครโฟน
2. อย่าให้ไมโครโฟนล้มหรือตกเป็นอันขาด
3. ไม่ควรพูดใกล้หรือห่างไมโครโฟนเกินไป โดยทั่ว ๆ ไปจะพูดห่างประมาณ 1-4 นิ้ว ถ้าไมโครโฟนรับเสียงไวมากควรพูดห่างประมาณ 6-12 นิ้ว
4. บริเวณใกล้ ๆ ไมโครโฟนควรขจัดเสียงรบกวนอย่าให้หมด เช่น พัดลม, เครื่องปรั อากาศ
5. ควรติดตั้งไมโครโฟน ให้ห่างจากลำโพง ถ้าจำเนจะต้องอยู่ใกล้กัน ควรหันหน้า ลำโพงเนีออกไปไมให้มาตั้งฉากกับไมโครโฟน
6. ไม่ควรให้ไมโครโฟนเปียกน้ำหรือของเหลว
7. หลังจากเลิกใช้ไมโครโฟนควรเก็บใส่กล่องไว้ให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันฝุ่นละออง และ การกระทบกระเทือน
นายปริญญา  สิบต๊ะ
GSM 086-205-4540
โครงการก่อสร้าง โรงพยาบาลลำปาง
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา  สาขาเซ็นทรัล แอร์พอร์ต เชียงใหม่
เลขที่บัญชี 530-1-18951-5


ออฟไลน์ Romio_Bannok

  • มือกีตาร์
  • ****
    • กระทู้: 127
  • คนงบน้อย ด้อยวิชา
ไมโครโฟนไร้สาย Xbox 360


วิธีการตั้งค่าไมโครโฟน Xbox 360 เครือข่ายไร้สาย
ก่อนที่คุณสามารถใช้ไมโครโฟน Xbox 360 แบบไร้สายกับคอนโซล Xbox 360 ของคุณ คุณต้องทำต่อไปนี้:
ใส่แบตเตอรี่ที่ ไมโครโฟนใช้เฉพาะ AA (LR6) alkaline หรือชาร์จแบตเตอรี่แบบชาร์จใหม่ได้ Hydride โลหะใหม่ (NiMH)

หมายเหตุ ไมโครโฟนไม่คิดค่าธรรมเนียมการใช้แบตเตอรี่แบบชาร์จใหม่ได้ คุณต้องชาร์จแบตเตอรี่เหล่านี้ในอุปกรณ์ชาร์จเหมาะสม

สร้างการเชื่อมต่อแบบไร้สายระหว่างไมโครโฟนของคอนโซล

เพื่อควบคุมเกม คุณจำเป็นต้องมีตัวแบบมีสาย หรือไร้สายควบคุมเกม (ที่แยกต่างหาก) เชื่อมต่อไปยังคอนโซล

วิธีการติดตั้งแบตเตอรีในไมโครโฟน Xbox 360 เครือข่ายไร้สาย
เมื่อต้องใส่แบตเตอรี่ในไมโครโฟน หรือแบตเตอรีที่เอาไมโครโฟน ให้ทำตามขั้นตอนเหล่านี้:
หมุนเมาส์เบา ๆ แต่ windscreen ไมโครโฟนในทิศทางทวน (ไตรมาสที่หนึ่งเปิด)
ภาพนิ่ง windscreen ออกจากเนื้อความของไมโครโฟน
ภาพนิ่งเปิดฝาแบตเตอรี่
เอาแบตเตอรีที่เก่าจากช่องสำหรับใส่แบตเตอรี่ ถ้าที่ติดตั้งอยู่


แทรกสองใหม่ (LR6) ของ AA alkaline หรือชาร์จ NiMH แบบชาร์จใหม่ได้แบตเตอรี่ในช่องสำหรับใส่แบตเตอรี่
ปิดฝาแบตเตอรี่ แทนการ windscreen ไมโครโฟนแล้ว

วิธีการเชื่อมต่อไมโครโฟนคอนโซล
คุณสามารถมีได้ถึงสี่ Xbox 360 ไร้สายไมโครโฟนเชื่อมต่อคอนโซลในคราวเดียว ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าคอนฟิกและสนับสนุนเกมของคุณ ไมโครโฟนแต่ละการเชื่อมต่อจะกำหนดให้เป็นพื้นที่ส่วนบนวงกลมของไฟที่ล้อมรอบปุ่มเปิด/ปิดที่อยู่ด้านหน้าของคอนโซล โปรดสังเกตว่า พื้นที่ส่วนที่จะเท่านั้นสว่างขึ้นถ้าคุณมีตัวควบคุมที่เชื่อมต่อไปยังคอนโซล

บันทึกย่อ
พื้นที่ส่วนตัวเท่านั้นจะสว่างขึ้นถ้าคุณมีตัวควบคุมที่เชื่อมต่อไปยังคอนโซล
ถ้า คุณมีไมโครโฟนที่สี่ที่เชื่อมต่อไปยังคอนโซล สามารถ sing เพียงสองคนแล้ว คุณสามารถใช้ไมโครโฟนสองอื่น ๆ เป็นเครื่องมือ percussion

เมื่อต้องการเชื่อมต่อของไมโครโฟนกับคอนโซลของคุณ ให้ทำตามขั้นตอนเหล่านี้:
เปิดคอนโซลของคุณ
กด และค้างไว้ปุ่มเปิด/ปิดบนไมโครโฟนจนกว่าไฟจะเริ่มกะพริบ ขั้นตอนนี้ควรใช้เวลาประมาณ 3 วินาที


กด ค้างปุ่มเปิด/ปิดบนไมโครโฟนอีกจนกว่าไฟเริ่ม flashing ได้อย่างรวดเร็ว ขั้นตอนนี้ควรใช้เวลาประมาณ 3 วินาที ขณะนี้ คุณสามารถเชื่อมต่อไมโครโฟนของคุณไปยังคอนโซล
กด และจากนั้น ปล่อยปุ่มการเชื่อมต่อบนคอนโซล

หลังจากไฟปุ่มเปิด/ปิด บนคอนโซลหมุนและ flash ครั้งเดียว และหลัง จากที่ไฟของไมโครโฟนหยุดกะพริบที่อยู่โดยรอบ ไมโครโฟนมีการเชื่อมต่อ
ทำซ้ำขั้นตอนที่ 1 ถึง 5 เพื่อเชื่อมต่อไมโครโฟนเพิ่มเติมของคอนโซล สูงของไมโครโฟนไร้สายที่สี่

บันทึกย่อ
ไมโครโฟนใด ๆ บนเครือข่ายหลังจากที่ไม่มีกิจกรรม 15 นาที โดยอัตโนมัติกลับเมื่อคุณเริ่มการใช้อีกครั้ง
เมื่อต้องการปิดไมโครโฟน กด และจากนั้น ปล่อยปุ่มเปิด/ปิดเครื่อง
ไมโครโฟนจะยังคงถูกเชื่อมต่อในครั้งต่อไปที่คุณเปิดบนคอนโซลของคุณ
ไมโครโฟนถูกเชื่อมต่อคอนโซลเดียวเท่านั้นในแต่ละครั้ง คุณสามารถเชื่อมต่อนั้นคอนโซลใหม่ตลอดเวลา แต่จะทำให้สูญเสียการเชื่อมต่อไปยังคอนโซลการเชื่อมต่อไว้ก่อนหน้านี้
ไมโครโฟนทำงานภายเฉพาะใน 33 ฟุต (10) ของคอนโซล อุปกรณ์พิเศษความถี่วิทยุอื่น ๆ สามารถลดช่วงนี้ เท่าที่ทำได้วัตถุระหว่างไมโครโฟนและส่วนควบคุม
เมื่อไมโครโฟนอยู่นอกช่วงที่ไร้สาย ไฟที่กะพริบสีเขียวทุกวินาทีที่จนกว่าคุณเลื่อนไมโครโฟนกลับเข้าไปในช่วงหนึ่งครั้ง

วิธีการใช้ไมโครโฟน Xbox 360 เครือข่ายไร้สาย
การจับไมโครโฟน
เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดเมื่อคุณกำลัง singing หรือพูด hold ไมโครโฟน 0.5-3 inches (1-8 ซม.) จากปากของคุณ
หลีกเลี่ยงการ blowing ใส่ไมโครโฟน หรือเคาะบน windscreen ในไมโครโฟนโดยตรง

การใช้ไมโครโฟนที่ มีตัวควบคุมอื่น ๆ
คุณสามารถใช้ตัวสองแบบมีสาย หรือไร้สายควบคุมพร้อมกับไมโครโฟน
ไมโครโฟนไร้สาย Xbox 360 จะไม่ทำงานกับชุดหูฟังแบบใช้สายเชื่อมต่อกับคอนโซลของคุณ
ยกเว้นสำหรับชุดหูฟังแบบใช้สาย ไมโครโฟนไร้สาย 360 Xbox ไม่รบกวนการเชื่อมต่อที่มีอยู่ของเบ็ดเตล็ด Xbox 360 แบบมีสาย หรือไร้สาย

ไฟตัวบ่งชี้การไมโครโฟน
เมื่อคุณเปิดไมโครโฟน มีสว่าง shine เพื่อแสดงสถานะของไมโครโฟนได้ดังนี้:
การใช้พลังงานบน: ไฟแฟลชสีเขียวหนึ่งครั้งทุกวินาที
การเชื่อมต่อ: ไฟแฟลชสีเขียวสี่ครั้งทุกวินาที
การเชื่อมต่อเสร็จสมบูรณ์: สว่างสีน้ำเงินแฟลช และหยุดแล้ว
เมื่อพลังงานแบตเตอรีของคุณอยู่ในระดับต่ำ มีสว่าง shine เพื่อแสดงสถานะแบตเตอรี่ค่าธรรมเนียมได้ดังนี้:
ต่ำ: ไฟแฟลชแอมเบอร์หนึ่งครั้งทุก ๆ 3 วินาที
สำคัญ: สว่างแฟลชแอมเบอร์หนึ่งครั้งทุกวินาที
เมื่อไมโครโฟนของคุณย้ายนอกระยะแบบไร้สายของคอนโซลของคุณ ไฟที่กะพริบสีเขียวหนึ่งครั้งทุกวินาที ไฟยังสามารถเปลี่ยนสีพร้อม ด้วยชื่อเกมที่ได้รับการสนับสนุน

ทำความสะอาดไมโครโฟนของคุณแบบไร้สายของ Xbox 360
เอาแบตเตอรีที่เสมอก่อนที่คุณทำความสะอาดไมโครโฟน
ใช้แบบแห้ง หรือเล็กน้อย damp ผ้าล้างไมโครโฟน Xbox 360 เครือข่ายไร้สาย โดยใช้วิธีแก้ไขปัญหาการทำความสะอาด หรือความพยายามที่ทำความสะอาดตัวเชื่อมต่ออาจเสียหายไมโครโฟนได้
คุณสามารถเอาการ windscreen และ foam windscreen เพื่อคง-wash นั้นแยกต่างหากในการแก้ไขปัญหา soap บ้างพอสมควร ใช้ตัวล้างข้อมูล abrasive หรือล้างซัพพลายใด ๆ
เฉพาะ windscreen และ foam windscreen ควร washed มือ Immerse ส่วนอื่น ๆ ของไมโครโฟนในน้ำ ตรวจสอบให้แน่ใจว่า windscreen และ windscreen foam แห้งอย่างสมบูรณ์ก่อนที่คุณ reassemble ไมโครโฟน

การแก้ไขปัญหาเครือข่ายไร้สายไมโครโฟน Xbox 360
ไมโครโฟน Xbox 360 เครือข่ายไร้สายถูกปิดการใช้งานในการเล่นภาพยนตร์ดีวีดี
เมื่อคุณเริ่มต้นภาพยนตร์ดีวีดี ไมโครโฟนไร้สายของคุณอาจถูกปิดใช้งานในขณะที่กำลังเล่นภาพยนตร์

ถึงแม้ว่าการใช้ไมโครโฟนไร้สายส่วนใหญ่จะไม่จำเป็นในระหว่างการเล่นดีวีดี ถ้าคุณกำลังสนทนาในเว็บไซต์ของบริษัท LIVE Xbox มี ไมโครโฟนไร้สายอาจไม่ทำงานในขณะที่เล่นดีวีดี การทำต่อไปสนทนากับเว็บไซต์ของบริษัทของคุณ คุณต้องหยุดการเล่นดีวีดี และกลับไปแดชบอร์ด
นายปริญญา  สิบต๊ะ
GSM 086-205-4540
โครงการก่อสร้าง โรงพยาบาลลำปาง
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา  สาขาเซ็นทรัล แอร์พอร์ต เชียงใหม่
เลขที่บัญชี 530-1-18951-5


ออฟไลน์ Romio_Bannok

  • มือกีตาร์
  • ****
    • กระทู้: 127
  • คนงบน้อย ด้อยวิชา
ไมโครโฟน

โพสโดย ผู้ดูแลระบบ
นายสุวัฒน์  หนูคีรี  นักศึกษาวิศวอิเล็ก

             เป็นอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียง (Sound wave) หรืออากาศจากแหล่งกำเนิดเสียง เช่น เสียงพูด เสียงเพลง เสียงเครื่องดนตรี เป็นต้น ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียง ไหลไปตามสายไมโครโฟนสู่เครื่องขยายเสียง

 ชนิดของไมโครโฟน ที่แบ่งตามวัสดุที่ใช้ในไมโครโฟน มี 6 ชนิด คือ
            1. ไมโครโฟนชนิดคาร์บอน (Carbon Microphone) ไมโครโฟนชนิดนี้ให้เสียงที่มีคุณภาพไม่ค่อยดี ปัจจุบันใช้ในเครื่องโทรศัพท์เท่านั้น
            2. ไมโครโฟนชนิดคริสตัล (Crystal Microphone) ไมโครโฟนที่มีราคาถูก น้ำหนักเบาแต่ไม่ทนต่อสภาพความร้อน หรือความชื้นสูง เพราะอาจทำให้คริสตัลเสื่อมได้ ไมโครโฟนแบบนี้ให้กำลังไฟฟ้าออกมาสูง และสามารถสภาพสัญญาณได้ดีจึงไม่ต้องอาศัยหม้อแปลง (Transformer) ในตัวของไมโครโฟนช่วยแต่อย่างใด สามารถส่งสัญญาณไปยังเครื่องขยายเสียงได้โดยตรง สามารถใช้สายไมโครโฟนต่อยาวออกไปได้ไม่เกิน 25 ฟุต เพราะถ้าพ่วงสายยาวกว่านี้จะทำให้มีสัญญาณอื่นมารบกวนได้และทำให้สัญญาณจากไมโครโฟนอ่อนลงมาก
            3. ไมโครโฟนชนิดเซรามิค (Ceramic Microphone) มีลักษณะการออกแบบหรือหลักการทำงานคล้ายกับไมโครโฟนชนิดคริสตัล ต่างกันที่วัสดุเซรามิคมีคุณภาพดีกว่าคริสตัล เพราะทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและความชื้นมากกว่า
            4. ไมโครโฟนชนิดคอนเดนเซอร์ (Condenser Microphone) เป็นไมโครโฟนที่กำลังนิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน สามารถรับเสียงได้ไวมาก มีราคาแพงและมักติดอยู่กับเครื่องบันทึกเสียงทั่ว ๆ ไป
           

  5. ไมโครโฟนชนิดริบบอน (Ribbon or Velocity Microphone) เป็นไมโครโฟนที่บอบบาง เสียง่ายไม่มีไดอะแฟรม การทำงานอาศัยการสั่นสะเทือนของแผ่นริบบอน มีลักษณะบางเบา และขึงตึงอยู่ระหว่างแม่เหล็กถาวรกำลังสูงและจะทำงานทันทีเมื่อได้รับการสั่นสะเทือนเป็นไมโครโฟนที่มีคุณภาพสูงและควบคุมสัญญาณได้ดีที่สุด (Highest Fidelity) แต่ไม่ค่อยนิยมใช้กันมาก เพราะมีข้อเสียคือ ไม่เหมาะต่องานสถานที่ แม้แต่เสียงลมพัดก็จะรับเสียงเอาไว้หมดอาจแก้ได้โดยใช้วัสดุกันลม เป็นกระบอกฟองน้ำสวมครอบแต่ก็ไม่ได้ผลนัก นอกจากนี้ยังมีปัญหาอื่น ๆ อีก เช่น สัญญาณไฟฟ้าที่ได้ออกมาค่อนข้างต่ำ (Low Output) ต้องใช้เครื่องขยายเสียงที่มีกำลังแรง และ คุณภาพสูง ถ้าพูดใกล้มาก เสียงลมหายใจจะกลบเสียงที่พูด ไมโครโฟนชนิดนี้ไม่นิยมใช้นอกสถานที่ มักพบในสถานีส่งวิทยุ โทรทัศน์และบันทึกเสียง
             
 6. ไมโครโฟนชนิดไดนามิค (Dynamic Microphone) เป็นแบบที่ได้รับนิยมมากเพราะให้คุณภาพเสียงดีเหมือนธรรมชาติ มีความทนทานเหมาะสมกับการกระจายเสียงหรือระบบเสียงหลายประเภท แต่ราคาค่อนข้างสูง

ขอขอบคุณอาจารย์จรัส  บุณยธรรมา ที่ได้ให้ผมได้ตั้งกระทู้ได้ครับ


ไมโครโฟนและลำโพง(Microphone,Speaker)
ไมโครโฟน จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า มีสัญลักษณ์คือ  ไมโครโฟนมีหลายชนิดเช่น
คาร์บอน(Carbon) ใช้หลักการของตัวต้านทาน มีหลักการทำงานคือ สัญญาณเสียงที่เข้าสู่ไมโครโฟน จะทำให้ไดอะแฟรมเคลื่อนไหว แล้วเกิดแรงกดดันต่อแคปซูลที่บรรจุผงถ่านเปลี่ยนแปลง ทำให้ค่าความต่านทานของแคปซูลเปลี่ยนไป กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านแคปซูลก็จะเกิดสัญญาณความถี่สูงต่ำตามสัญญาณเสียงเป็นสัดส่วนเดียวกัน
ไดนามิก(Dynamic) ใช้หลักการของไดนาโม มีหลักการทำงานคือ สัญญาณเสียงที่เข้าสู่ไมโครโฟน จะทำให้ไดอะแฟรมเคลื่อนที่ดันให้ขดลวดเคลื่อนที่ผ่านสนามแม่เหล็กที่เกิดจากแม่เหล็กทรงกระบอก ทำให้เกิดสัญญาณไฟฟ้าความถี่สูงต่ำตามสัญญาณเสียงที่ได้รับ
คอนเดนเซอร์(Condenser) ใช้หลักการของตัวเก็บประจุ มีหลักการทำงานคือ สัญญาณเสียงที่เข้าสู่ไมโครโฟน จะทำให้ไดอะแฟรมเคลื่อนที่ดันให้ระยะห่าง ระหว่างแผ่นโลหะเปลี่ยนแปลง ทำให้ค่าความจุไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงไปตามสัญญาณเสียงที่ได้รับ
คริสตัล(Crystal) มีหลักการทำงานคือ สัญญาณเสียงที่เข้าสู่ไมโครโฟน จะทำให้แผ่นบางๆของ Piezo Electronic Material ถูกกดงอด้วยสัญญาณเสียง ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า ความถี่สูงต่ำตามสัญญาณเสียงที่ได้รับเป็นสัดส่วนเดียวกัน

ที่มา  http://electronics-semiconductor.blogspot.com/2007_08_01_archive.html
นายปริญญา  สิบต๊ะ
GSM 086-205-4540
โครงการก่อสร้าง โรงพยาบาลลำปาง
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา  สาขาเซ็นทรัล แอร์พอร์ต เชียงใหม่
เลขที่บัญชี 530-1-18951-5


ออฟไลน์ Romio_Bannok

  • มือกีตาร์
  • ****
    • กระทู้: 127
  • คนงบน้อย ด้อยวิชา
การเลือกใช้ Microphone
ในเรื่องของไมโครโฟนจะมีสองส่วนใหญ่ ส่วนแรกคือวิธีเลือก(choosing) กับวิธีวาง(placing)
ซึ่งทั้งสองส่วนมีความสำคัญมากไม่แพ้กันครับ ถ้าเข้าใจสองส่วนนี้แล้วก็สามารถพูดได้เลยว่าทำงานบันทึกเสียงโดยใช้ไมโครโฟนได้อย่างมีชั้นเชิง

ในตอนนี้เราจะมาว่ากันถึงส่วนแรกก่อนคือวิธีเลือก (choosing)
ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกับไมโครโฟนซักนิดก่อนครับ

ไมโครโฟนเป็นอุปกรณ์บันทึกเสียงชนิดหนึ่งที่ไม่ได้ทำให้เสียงดังขึ้น ขอย้ำว่าไม่ได้ทำให้เสียงดังขึ้น พอพูดถึงเรื่องนี้หลายคนเริ่มสงสัยว่าทำไมพูดอย่างนั้น คือลองดูที่ชื่อของมันสิครับ Microphone (Micro แปลว่าเล็ก Phone แปลว่าเสียง Microphone น่าจะแปลว่าเสียงเล็กๆถ้าแปลแบบกำปั้นทุบดินไม่เห็นมีการพูดถึงการขยายเสียงเลย)

การทำงานของไมโครโฟนตัวมันก็ไม่มี แอมปลิฟลายน์ในตัวซักหน่อย ที่จะมาขยายเสียงได้ คราวนี้ให้ลองสังเกตดูที่สายที่ต่อออกจากไมโครโฟนมันจะเป็นสายเคเบิลที่ทำด้วยทองแดง ลองถามตัวเองดูเล่นๆนะครับว่าเสียงสามารถอยู่ในทองแดงแล้ววิ่งไปมาได้หรือ คำตอบคือเสียงไม่สามารถอยู่ในทองแดง แล้ววิ่งไปมาตามที่เราต้องการได้ครับ แต่นี่ละครับเป็นหน้าที่ของเจ้าไมโครโฟนที่จะทำให้เสียงวิ่งอยู่ในลวดทองแดงได้ เพราะสิ่งที่จะวิ่งอยู่ในลวดทองแดงหรือพวกสายเคเบิลได้คือไฟฟ้าครับ ซึ่งเจ้าไมโครโฟนจะเปลี่ยนสัญญาณเสียงที่มันได้รับเป็นสัญญาณไฟฟ้า พอเสียงกลายเป็นสัญญาณไฟฟ้าก็วิ่งไปมาในระบบได้เต็มที่เลยครับและสุดท้ายสิ่งที่จะเปลี่ยนไฟฟ้ากลับมาเป็น เสียงอีกครั้งเพื่อให้เราได้ยินก็คือลำโพงนั่นเองเพราะฉะนั้นไมโครโฟนกับลำโพงส่วนประกอบของมันจริงๆแล้วหลักการก็คล้ายกันมากเพียงแต่ต่อมันกลับหัวกลับหางเท่านั้นเอง

ดังนั้นถ้าเราเอาไมโครโฟนมาตัวหนึ่งแล้วลองพูดดูถ้าเป็น Dynamic Microphone (ไมโครโฟนที่ทำงานโดยไม่ต้องใช้ไฟ) มันจะมีไฟออกมาทางก้นไมโครโฟนทันทีแต่ไม่ต้องกลัวถูกไฟดูดหรอกครับเพราะขนาดไฟที่ออกมามีขนาดน้อยมากๆไม่มีทางดูดใครได้

บางท่านอาจจะแย้งว่าเคยถูกไมโครโฟนดูดเป็นประจำเวลาเอาปากไปร้องใกล้ๆ


อันนั้นไม่ใช่ไฟที่ออกมาจากไมโครโฟรครับมันมักจะเป็นไฟที่รั่วมาจากอุปกรณ์ ตัวอื่นๆมากว่า เช่น พวกพาวเวอร์แอมป์เป็นต้น สัญญาณที่ได้จากไมโครโฟนนั้นยังไม่พร้อมที่จะนำไปบันทึกเสียงหรือออกกระจายเสียงครับเนื่องจากสัญญาณมันเบามาก ต้องมีตัวขยายเสียงอีกทีหนึ่งไอ้เจ้าตัวที่มาขยายสัญญาณจากไมโครโฟนก็คือ ปรีไมโครโฟน ( Pre Microphone Amplifier ) เมื่อสัญญาณที่ได้จากไมโครโฟนถูกขยายแล้วก็สามารถลงไปซาวด์การ์ดได้เลยหรือพูดง่ายๆคืออัดได้เลยครับ

ปรีไมโครโฟนนี้มีหลายที่ครับ ซาวด์การ์ดบางรุ่นก็มี (ช่องที่ให้เสียบไมค์นั่นละครับคือปรีไมค์) มิกซ์เซอร์ก็มีครับแต่ถ้าจะให้คุณภาพดีที่สุดควรจะเป็นปรีไมค์ที่เป็นแร็คอยู่ด้านนอกครับคุณภาพก็ตามราคา




หลังจากที่พูดถึงการทำงานของไมโครโฟนเบื้องต้นมาพอสมควรแล้วผมขออนุญาติ แบ่งไมโครโฟนออกเป็น 2 ประเภทเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจแล้วกันนะครับ

1.Dynamic Microphone
เป็นไมโครโฟนที่ไม่ต้องใช้ไฟคือตัวมันเสียบเข้าปรีไมค์แล้ว Boost เสียงก็ดังทันทีเลย ธรรมชาติของไมโครโฟนประเภทนี้มักจะไม่ค่อยไว เหมาะสำหรับจับเสียงตู้แอมป์กีตาร์ แอมป์เบส เสียงกระเดื่อง กลองทอม ไม่นิยมที่จะใช้จับ Ambient (บรรยากาศห้อง) , เสียงร้อง , เสียงกีตาร์อคูสติคหรือเครื่องอคูสติค ทั้งหลายเนื่องจากไม่ไวพอ ยกเว้นเครื่องเป่าบางขนิดที่เสียงดัง เช่น แซ็คโซโฟน , ทรัมเป็ต ส่วนพวกฉาบและไฮแฮท (เครื่องทองเหลือง) ไม่นิยมจับด้วย Dynamic Microphone เนื่องจากไมโครโฟนกลุ่มนี้ไม่ค่อยตอบสนองย่านความถึ่ช่วงสูงได้ดีนัก

2.Condenser Microphone
อันนี้เป็นไมโครโฟนที่ต้องใช้ไฟครับ แต่มันจะใช้ไฟเพียงแค่ 48 volt เราจะเรียกว่า Phantom (หรือใช้สัญลักษณ์ +48V) ซึ่งหากจะใช้ไมโครโฟนประเภทนี้ต้องมี ไอ้เจ้าไฟ +48 V ด้วยครับ ซึ่งไมโครโฟนที่ใช้ไฟพวกนี้จะมีความไวสูงมากครับคือเสียงเบาๆมันก็รับไปหมด ซึ่งเป็นทั้งข้อดีและข้อเสียครับ คือ มันจะให้รายละเอียดที่มากและยังสามารถรับความถี่สูงได้ดีอีกด้วย สามารถเอามาจับบรรยากาศห้องก็ได้เพราะมันไวพอ หรือจะเอามาจับเครื่องอคูสติกก็เยี่ยมครับ แต่ข้อควรระวังก็มีครับคือเนื่องจากความไวของมันนั่นเองทำให้ไม่เหมาะที่จะนำไปใช้กับสถานที่ที่มีเสียงรบกวนสูง และไม่สามารถที่จะนำไปวางใกล้ๆกับอุปกรณ์ดนตรีที่มีเสียงดังมากๆได้ เช่นพวกตู้แอมป์ต่างๆ (แต่ไม่ได้หมายความว่ามันไม่สามารถจับตู้กีตาร์ได้นะครับเพียงแต่ต้องระวังเป็นอย่างมากและต้องรู้เทคนิคเล็กน้อย)

หลังจากที่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของไมโครโฟนแล้วมีอีกเรื่องที่สำคัญมากๆต่อการเลือกใช้ไมโครโฟน คือ ขนาดของ Diaphragm (คือ ขนาดของแผ่นรับเสียงที่ไมโครโฟน ต้องขออภัยครับที่ไม่สามารถแปลคำว่า Diaphragm เป็นภาษาไทยได้เพราะไม่ทราบจริงๆว่ามันแปลเป็นไทยว่าอะไรถ้าท่านใดทราบก็เมลล์มาบอกกันได้นะครับ) ไมโครโฟนที่ Diaphragm ใหญ่ (Large Diaphragm) จะตอบสนองต่อความถี่ต่ำได้ดีกว่า ไมโครโฟนที่ Diaphragm เล็ก (Small Diaphragm) ส่วนความถี่สูง Diaphragm เล็กจะตอบสนองได้ชัดเจนกว่าแต่ Diaphragm ใหญ่ก็ตอบสนองได้ครับ แต่เนื่องจาก Diaphragm ใหญ่จะให้ความถี่ต่ำด้วยบางครั้งเลยทำให้ดูเหมือนว่ามันตอบสนองความถี่สูงได้ไม่ชัดเจนเท่า Diaphragm เล็ก สรุปว่าสำหรับความถี่ต่ำ สมควรถูกจับด้วย Diaphragm ใหญ่เท่านั้น ส่วน ความถี่สูงจะจับด้วย Diaphragm เล็กก็ได้ใหญ่ก็ได้แต่จะได้สำเนียงต่างกัน

ขอสรุปการเลือกใช้ ไมโครโฟนตามมาตรฐานตามขนิดเครื่องดนตรีเพื่อเป็นแนวทางการเลือกซื้อเลือกใช้ (ไมโครโฟนที่ยกเป็นตัวอย่างเป็นไมโครโฟนที่ทั่วโลกนิยมใช้กัน บางตัวราคาอาจสูงมากลองเอาชื่อไมโครโฟนเหล่านี้ไป Search ดูเล่นก็ได้ครับจะเห็นรายละเอียดอีกมากมาย)

- Bass Drum ควรจับด้วย Large Diaphragm Dynamic Microphaone รุ่นที่นิยมได้แก่ AKG D112 , Electrovoice RE20 , Shure
- Snare ควรจับด้วย Dynamic Microphone รุ่นที่นิยมได้แก่ Shure SM57
- Tom ควรจับด้วย Large Diaphragm Dynamic Microphone รุ่นที่นิยมได้แก่ Sennheizer MD421 (สำหรับ Tom ใบเล็กบางท่านอาจนิยมจับด้วย Shure SM57 สำหรับ Floor Tom บางท่านอาจนิยมจับด้วย Electrovoice RE 20)
- Hihat ควรจับด้วย Condensor Microphone รุ่นที่นิยมได้แก่ AKG 414 , AKG 451 , Neumann KM 184
- Overhead ควรจับด้วย Condensor Microphone รุ่นที่นิยมได้แก่ Neumann U 87 , Neumann KM 184 , AKG 451
- Amp Bass ควรจับด้วย Large Diaphragm Microphone จะเป็น Dynamic หรือ Condensor ก็ได้ แต่ถ้าเป็น Condensor ควรจะวางห่างออกมาซักประมาณ 1 ฟุต รุ่นที่นิยมได้แก่ Electrovoice RE 20 , AKG D112 , Neumann U 87 , AKG C12
นายปริญญา  สิบต๊ะ
GSM 086-205-4540
โครงการก่อสร้าง โรงพยาบาลลำปาง
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา  สาขาเซ็นทรัล แอร์พอร์ต เชียงใหม่
เลขที่บัญชี 530-1-18951-5


ออฟไลน์ Romio_Bannok

  • มือกีตาร์
  • ****
    • กระทู้: 127
  • คนงบน้อย ด้อยวิชา
สายไมโครโฟนและขั้วต่อ
 
          เรื่องสายสัญญาณหรือสายไมโครโฟนกับขั้วต่อมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะต้องทราบและเข้าใจก่อนที่จะเลือกใช้งานเพราะอาจจะทำให้เกิดปัญหาในการใช้งานได้  ปัญหาที่เกิดขึ้นได้แก่เสียงที่ไม่มีคุณภาพที่ไม่เกี่ยวข้องกับไมโครโฟนโดยตรงแต่จะเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ที่นำมาใช้งานร่วมกันอันเนื่องมาจากเสียงรบกวนนั่นเอง

ทำไมจึงเกิดสัญญาณรบกวนได้

           ปัญหาเรื่องคุณภาพของสัญญาณที่่เกิดการรบกวนนั้นมาจากสาเหตุหลัก ๆ 3 ประการคือปัญหาเรื่อง ground loop เรื่องของสายสัญญาณ และขั้วต่อ

     

1.  ปํญหาเรื่อง ground loops

              ปัญหาเรื่อง ground loop ทำให้เกิดเสียงฮัม อันเนื่องมาจาก ground มีหลายที่และมีความต่างศักดิ์ต่างกัน ซึ่ง ground ควรต้องมีค่าเท่ากับศูนย์โวลท์ ซึ่งตามอาคารทั่วไปนั้นจะไม่ลง  ground ลงดินเกิน 2จุดเพราะถ้าเมื่อไรความต่างศักดิ์ของสาย ground เกิดขึ้นก็จำทให้เกิดอาการไหลของกระแสไฟฟ้าระหว่าง ground ได้ซึ่งที่เรียกว่า ground loop นั่นเอง

 


หม้อแปลงสำหรับป้องกัน Ground Loop สำหรับเครื่องเสียง

ปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการรบกวนทางด้านสัญญาณความถี่ต่ำเข้ามารบกวนและเกิดเสียงฮัมได้ ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากสายสัญญาณการใช้สายสัญญาณเสียงในสมัยก่อนจะเห็นว่าสามารถใช้สัญญานเสียงโทรศัพท์ได้เป็นระยะทางไกล ๆ โดยที่สัญญาณรบกวนมีไม่มากเพราะใช้สายสัญญาณแบบ  balance
     สายสัญณาณที่มีชีลด์(shield) จะช่วยการรบกวนของสัญญาณเข้า และสัญญาณออกอย่างเช่นสายนำสัญญาณของสายอากาศเป็นต้น

ลักษณะของสายสัญญาณชนิดมีชีลด์

2.  สายสัญญาณสำหร้ับไมโครโฟนหรือสายไมโครโฟน
สายไมโครโฟนมี 2 ชนิด ได้แ่ก่สายชนิด unbalance กับชนิด balance

      2.1.  สายสัญญาณชนิด Unbalanced

        จะมีสาย hot เป็นสายสัญญาณ ส่วนอีกสายเป็น earth ซึ่งจะใช้ได้กับกรณีที่ไม่มี noise เท่านั้น



Note: Internal componentry (in sound mixers etc) is also unbalanced.

                    การใช้สายสัญญาณที่ไม่ไกลนัก ปัญหาการรบกวนทางความถี่ไม่มากหรือแทบจะไม่มีเพราะว่าสัญญาณที่ใช้หรือที่วิ่งอยู่ในสายที่เราใช้อยู่นั้นมีความแรงมากกว่าสัญญาณรบกวนข้างนอก เช่นคลื่นความถี่ไฟฟ้า AC 50Hz(ซึ่งในประเทศไทยใช้ความถี่ไฟฟ้า 50Hz (แต่คลื่นความถี่ที่เกิดขึ้นจาก power line นั้นไม่ใช่ 50Hzอย่างเดียว มันอาจจะสร้างคลื่นฮาร์โมนิคที่ 2 ที่ 3 ได้เช่นที่ 100Hz, 200Hz เป็นต้น) , สัญญาณวงจรนาฬิกา, สัญญาณจากเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ  คลื่นรบกวนจากสถานีวิทยุโดยเฉพาะอย่างยิ่งวิทยุชุมโชร(วิทยุชุมชน+วิทยุโจรสลัด=วิทยุชุมโชร หรือวิทยุที่ตั้งขึ้นที่ยังไม่ถูกกฎหมาย) ทำให้เกิดเสียงฮํมหรือบรือ... ได้ การใช้สายไมโครโฟนที่อยู่ใกล้กับสถานีวิทยุย่อมเกิดปัญหาได้เสมอถ้าใช้สายนำสัญญาณที่ไม่มีคุณภาพ  ปัญหาที่น่าจะแก้ไขได้คือการใช้สายนำสัญญาณประเภทมีชีล์ดหรือมีฉนวนโลหะถักหุ้มรอบสายสัญญาณ   

 
     2.2.  สายบาลานซ์(Balanced Wiring)

             อุปกรณ์สำหรับงานอาชีพจะแก้ปัญหาด้วยการใช้สายสัญญาณแบบบาลานซ์สายสัญญาณแยกกันสองเส้นโดยเส้นหนึ่งเป็นบวกและอีกเส้นเป็นลบพร้อมสายชีล์ดถักรอบสายสัญญณอีกทีหนึ่ง



A balanced shielded cable

                การใช้สายบาลานซ์จะช่วยลดการรบกวนได้มากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ground loop สายสัญญาณสองเส้นนี้จะอยู่กันใกล้มากเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความต่างศักดิ์ระหว่างสายสัญญาณสองเส้นนี้ ตัวอย่างที่เกิดความต่างศักดิ์ของสายสองเส้นคือ


การใช้สายสัญญาณที่เรียกว่า "Star Quad" เป็นสายสัญญาณชนิด 4 เส้น(four-conductor shielded balanced cable) ควรใช้สองเส้นรวมปลายสายให้เป็นเส้นเดียวกันโดยเลือกสีประเภทใกล้เคียงกันหรือสีเดียวกัน แต่ถ้าใช้เพียงสองเส้นแล้วเหลือไม่ใช้งานอีกสองเส้นก็จะไม่ช่วยให้ลดปัญหาเรื่อง noise มากกว่าชนิดสองเส้นได้เลย

    การต่อสายBalanced wiring บางครั้งเรียกว่า XLR wiring   แต่ไม่ใช่ขั้วต่อสัญญาณ XLR เพียงแต่ขั้วต่อ XLR นั้นเหมาะสำหรับระบบสายแบบ  balance เท่านั้นเอง 
 

3. ขั้วต่อไมโครโฟน

    ขั้วต่อชนิด balance นอกจากชนิด XLR แล้วยังมีชนิด TRS เพื่อเป็นการประหยัดเนื้อที่(และราคาด้วย) การใช้สายและขั้วต่อทั้งชนิด balance กับ unbalance ต้องระมัดระวัง เพราะถ้าใช้ผิดอาจจะทำให้เกิดการลัดวงจร หรือสัญญาณผิดพลาดเช่นจาก stereo กลายเป็น mono เป็นต้น

         3.1.  ขั้วต่อแบบ phone หรือ TRS และ TS

ขั้วต่อชนิด TRS อาจจะเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า phone balance หรือ phones ส่วนชนิด TS จะหมายถึงชนิด unbalance หรือ phone ส่วนที่เรียกกันว่า TR นั้นอาจจะมีความหมายที่ไม่ถูกต้องนัก แต่สำหรับประเทศไทย ขั้วต่อแบบ TR ก็หมายถึง TS ที่ต่่างประเทศเรียกกันนั่นเองเพราะหมายถึงขั้วต่อที่มีขั้ว Tip กับ Shield ไม่ใช่ Ring



   3.2. ขั้วต่อแบบ Cannon หรือ XLR   


Male XLR  (Balanced microphone connector for professional audio.)

Female XLR (Balanced microphone connector for professional audio.)

3 Pin Female XLR Microphone Connector

AES standard in 1982 with the pin assignment as follows:  ปัจจุบันเรียน AES/EBU





ขั้วต่อไมโครโฟนที่มีลักษณะอื่น ๆ ก็มีบ้างเช่นไมโครโฟนชนิดที่ใช้กับเครื่องวิทยุ รับ/ส่ง  ใช้กับโทรศัพท์  ฯลฯ

8 PIN MIC PLUG  ใช้กับวิทยุรับ/ส่ง
นายปริญญา  สิบต๊ะ
GSM 086-205-4540
โครงการก่อสร้าง โรงพยาบาลลำปาง
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา  สาขาเซ็นทรัล แอร์พอร์ต เชียงใหม่
เลขที่บัญชี 530-1-18951-5


ออฟไลน์ petttt258

  • เด็จซาวด์ บริการเครื่องเสียงรถแห่ในงานพิธีต่่างๆๆ
  • มือกลอง
  • *****
    • กระทู้: 634
ขอบคุณมากครับ
เผด็จ จำลองพันธุ์ สมาชิกสภาเทศบาลเมืองพะเยา  507 ต.แม่ต๋ำ อ.เมือง จ.พะเยา 56000<br />โทร 083-5823548   ชื่อบัญชีธนาคาร  รัชนีกร จำลองพันธ์(ธนาคารกสิกรไทย สาขาแม่ต๋ำ๋พะเยา) เลขที่บัญชี 448-2-13681-3


ออฟไลน์ songsilp

  • มือเบส
  • ***
    • กระทู้: 58
ขอบคุณครับ
บุญส่ง เทียมเมือง 208/20 ม.3 ต.บึง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20230    โทร.089-8235298


ออฟไลน์ pattrawat

  • สมาชิก
  • *
    • กระทู้: 18
ขอบคุณครับ  อ่านจนปวดตาเลยครับท่าน   frusty
ร้านเย็นตา4แฟชั่น<br />187/3-4<br />ถนนสุมนเทวราช <br />อ.เมืองน่าน จ.น่าน 55000<br />086-1822743<br /><br />http://www.facebook.com/profile.php?id=100002643634634&ref=tn_tnmn


ออฟไลน์ วัฒนา อุบล

  • มือกีตาร์
  • ****
    • กระทู้: 390
ไมค์ล้วนๆ ความรู้ ขอบคุณครับ
ว่าที่ร้อยตรี วัฒนา  จำเริญ  งานไฟฟ้าและโทรศัพท์  มหาวิทยาลัยอุบลฯ   85/4 ถนนสถลมาร์ค ต.เมืองศรีไค อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี  34190  T 081-9663046


ออฟไลน์ sonicsound yasothon

  • สวัสดีครับทีมงานทุกท่าน
  • มือกีตาร์
  • ****
    • กระทู้: 387
  • ระบบเสียงคือชีวิต
    • เกียรติศักดิ์ ดาโรจน์