
ประเภท : POWER AMPLIFIER
ยี่ห้อ :

รุ่น : MACRO-TECH 3600VZ
ภาคจ่ายไฟ : หม้อแปลง
น้ำหนัก : 24 Kgs.
ผลิตในบระเทศ : USA
การทำงานแบบคลาส : AB
ราคามือ 1 : 120,000
ราคามือ 2 : 60,000
แดมปิ้งเฟ็คเตอร์ : 1000
กำลังขับ : 2 X 965 at 8 Ohm
2 X 1325 at 4 Ohm
2 X 1520 at 2 Ohm
!!!ดาวน์โหลด คู่มือ Spec คลิกที่นี่!!!ถ้าเอ่ยถึง Power amp

ชื่อนี้คาดว่าคงไม่มีใครไม่รู้จักครับ ยิ่งตระกูล Macro-tech ด้วยแล้ว คงคุ้นหน้าคุ้นตากันดี เพราะเป็นรุ่นที่สร้างชื่อไปทั่วโลกครับ
ทุกตัวเป็นของผมเอง ที่เคยใช้มา บางตัวก็ยังอยู่ บางตัวก็ขายไปแล้ว
บางคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมต้องมีปีที่ผลิต ต่อท้ายด้วย เหตุผลก็เพราะว่า อยากจะเทียบให้ดูวิวัฒนาการของ ผู้ผลิตครับ เพราะเครื่องที่ผลิตออกมาแต่ละปี คุณภาพอะไหล่ไม่เหมือนกันเลยครับ เป็นอย่างไร ลองติดตามชมกันดูครับ เริ่มตัวแรกกันเลยครับ Macro-tech 3600VZ ปี 2007

Macro-tech 3600VZ เป็นรุ่นที่มีกำลังขับสูงสุดในรุ่นตัวเครื่องที่มีขนาด 2 U มีระบบ Protech ที่สมบูรณ์แบบ กำลังขับสุง (ณ.ขณะนั้น 55+) + ระบบภาคจ่ายไฟ VZ supply ที่สามารถจ่ายไฟให้กับภาค poweramp ได้ทุกสภาวะโหลดอย่างเหมาะสม ลิขสิทธ์เฉเพาะของ

ทำให้เป็นแอมป์ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ในระบบงาน Live sound
ด้านหน้าของแอมป์รุ่นนี้ เหมือนกับแอมป์อื่นทั่วๆไปครับ ต่างตรงไฟ Display จะแสดงผลไม่เหมือนชาวบ้านครับ
ENABLE : แสดงสถานะ เปิดไฟเข้าเครื่อง (อันนี้ไม่แปลกครับ)
ODEP : แสดงสถานะ Protech ครับ จะต้องติดตลอดเวลาครับ ถ้าแอมป์ปกติพร้อมใช้งาน
บางท่านอาจจะไม่รู้ มองไกลๆ อาจจะคิดว่า แอมป์ มัน Clip ตลอดเวลาครับ
SIGNAL/IOC : เป็น LEDs สีเขียวครับ แสดงสถานะแบบ Multi-function ครับ ติดสว่างธรรมดา แสดง สถานะ สัญญาณ In-put ครับ แต่ถ้าติดสว่างจ้า แสดงว่าวงจร In-put out-put comparator ครวจเจอสัญญาณทางด้าน In-put และ out-put มีความเพี้ยนเกิน 0.05% บ่งบอกว่าเราควรจะเบาสัญญาณที่ Mixer เพื่อจะยุติความเสียหายที่จะตามมาครับ

ด้านหลังตัวเครื่อง มีสวิตส์เลือกการทำงาน มีทั้ง Parallel , Stereo , Bridge และยังมี Breaker แยกอิสระทั้ง 2 ข้างครับ

ถัดมาทางด้านขวา มี Input ทั้งแบบ XLR และ Phone ครับ ส่วนสายลำโพงมี Biding-post 4 ชุดครับ ไม่มี speakon มาให้เหมือนกับแอมป์รุ่นใหม่ๆครับ

เปิดฝาบนออกมา จะพบกับความแน่น แทบจะทุกตารางนิ้วก็ว่าได้ครับ

ภายในแบบเต็มๆ ด้านหน้า จะเป็นที่อยู่ของหม้อแปลง ทั้ง 2 ลูกที่เต็มความสูงของขนาดของ Body พอดีเป๊ะเลยครับ ภายในจะฝัง Thermo ไว้ภายในเพื่อป้องกันหม้อแปลงร้อนเกินไป Thermo จะต่ออนุกรมกับ Coil Relay เมื่อความร้อนสูงเกิน ก็จะตัดวงจรทำให้ ไฟ 220V ไม่ไปเลี้ยงหม้อแปลง ไฟเขียวหน้าเครื่องก้จะค้างติดสว่างเสียงก็จะไม่ออกลำโพงครับ รอสักครู่ เมื่ออุณหถูมิกลับสู่สภาวะปกติ เครื่องก้จะกลับมาทำงานเหมือนเดิมครับ
ทางด้านซ้ายและขวาเหนือ Transister output จะเป็นที่อยู่ของภาคจ่ายไครับ สำหรับ 3600VZ จะมีไฟเสี้ยงข้างละ 2 ชุดครับ ชุดละ 85VDC ครับ ส่วน C ที่ใช้เป็นของ Panasonic ค่า 100V 6900Uf ข้างละ 4 ตัวครับ ส่วนด้านหลัง ก็จะมีวงจร VZ Control ที่คอยควบคุมการจ่ายไฟ ให้กับภาค Output ครับ
สายไฟที่ท่านๆเห็นนั้น ท่านอาจจะสังเกตุว่าทำไมถึงเส้นเล็กจัง ส่วนที่มีกระแสไหลผ่านสูงๆ สายไฟจะขนานกันไว้ครับ เช่นจากภาคจ่ายไฟ และสายลำโพงครับ

ตรงกลางเครื่องจะเป็นที่อยู่ที่อยู่ของพัดลม ครับ พัดลมตัวนี้ มีหน้าที่ Flow อากาศร้อนออกจากตัวเครื่อง และยังมีหน้าที่ผลิตกระแสไฟฟ้า 18-0-18 Vac (Motor-Tranformor )เพื่อไปเลี้ยง ชุดวงจร Protechion และแผง Main ครับ ถ้าพัดลมตัวนี้เสียเมื่อไหร่ เครื่องก็จะดับครับ ง่ายๆ แต่เหนือชั้นจริงๆครับ

ด้านข้างตัวเครื่องจะมีช่องระบายความร้อนออกจากตัวเครื่องครับ

ภาพนี้เป็น Switch ปิดเปิดเครื่อง ที่ใช้เป็นของ ITT ครับ เหมือนกับที่ใช้ใน Cross Bss ครับ

Tr Output เครื่องที่ผลิดรุ่นใหม่ๆ จะใช้ MJ21194 มาเป็นลูกผสมครับ แต่ล๊อกเก่าๆจะใช้ 8187 กับ 8188 ครับ

ภาพนี้แสดงให้เห็นกันแบบชัดๆ ครับ สายลำโพงจะขนานกันไว้ครับ ส่วนสาย ชีลด์ ที่เห็นต่อเอาไว้กับ ขั้วลำโพงเป็น Feedback ที่ป้อนกลับไปยังแผงไดรว์ ต้องระวังอย่าให้ขาดเป็นอันขาดครับ

แผงสีเขียวๆ หลังเครื่อง เป็น PIP Card ครับ ที่มากับเครื่องเดิมๆสำหรับ 3600VZ จะเป้นรุ่น FX ครับ ส่วนใครอยากจะซื้อ Option เพื่ม ก็ลองเข้าไปเลือกได้ที่เวปไชด์ของ

ครับ แต่ราคาแพงมั๊กมากครับ

ดูด้านบนไปแล้วทีนี้มาดูด้านล่างครับ เปิดมาก็จะเห็น แผง Main และ Out-put Board ครับ

ภาพนี้จะเห็น Out-put Board ชัดเจนขึ้นครับ R 5W ที่ใช้ ไม่ใช่ของ Dale อีกต่อไปครับ และอุปกรณ์หลายๆชิ้นก็ลดคุณภาพลงอย่างเห้นได้ชัดครับ ต่างกับเครื่องที่ผลิตล๊อตแรกๆครับ

เมื่อถอดแผง Main ออกครับ

TR Drive ที่ใช้เป็นชอง Moto ครับ มีสำหรับ HS 1ชุด และ LS 1 ชุดครับ


แผง Main จะมี Leds เมื่อเครื่อง Flout Leds ก็จะติด ที่ให้ช่างสามารถตรวจสอบได้ง่ายขึ้นครับ


ในภาพเป็นการใช้งานจริงตอนปีใหม่ที่ผ่านมาครับ

เป็นไงครับ เทคโนโลยี สมัยโบราณ ที่ทุกวันนี้ก็ยังมีผู้ใช้บางกลุ่ม ที่ยังหลงไหลความ คลาสสิค ทั้ง หน้าตาและน้ำเสียง ยังสรรหามาใช้ แม้ราคาจะยังเกินครึ่งแสนก็ตาม
