วันนี้เราจะมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันนะครับ มีประสบการณ์อย่างไรก็มาเล่าสู่กันฟัง....
ว่าด้วยตั้งแต่ก่อตั้งเวบไซต์ทิกเกอร์มา คำถามที่พบบ่อยมากพอสมควรและทุกวันนี้ก็ยังถามกันอยู่ก็คือ
"ทำมอนิเตอร์อย่างไรไม่ให้หอน"....... วันนี้ก็เลยถือโอกาสนำมาเล่าสู่กันฟัง และจะมาเพิ่มเติมข้อมูลให้เรื่อยๆ
ตามแต่เวลาที่พอจะมี(ฮ่าๆๆๆ....) ผมจะขอพูดเป็นข้อๆไปแล้วกันนะครับ แอน แอ้น แอ๊นนนนนน........
๑....... เรารู้จักไมค์ของเราดีแค่ไหนครับ ?
เช่น ชนิด รูปแบบการรับเสียง ความถี่ที่ไมค์ตอบสนอง ฯลฯ
นี่เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ทำงานต้องรู้ และเข้าใจ จนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องนะครับ
เรื่องชนิดมีผลต่อการหอนมั๊ย ? ....
เฮ๊ยๆ คอนเดนเซอร์มันหอนไวนะโว๊ย ใช้ไดนามิคส์สิ คำพูดนี้ถูกหรือผิด ?
................คงไม่ถูกและไม่ผิดสำหรับคำกล่าวนี้ มันอยู่ที่คนใช้ไมค์ถูกต้องหรือป่าว Gain ถูกต้องมั๊ย ปรับความถี่ในช่องนั้นอย่างไรนะครับ ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวครับ ถ้าเข้าใจพื้นฐานแล้วประยุกต์ใช้ได้เต็มที่ครับ คู่มือที่แถมฟรี ย้ำว่า """"ฟรี"""" กับไมค์นั้น อ่านบ้างก็ดีนะครับ จะได้รู้จักไมค์มากขึ้น
........แล้วรูปแบบการรับเสียงล่ะ มันเกี่ยวตรงไหน ? ลองดูภาพสองภาพนี้นะครับ นี่คือรูปแบบการรับเสียงที่นิยมใช้กันอยู่ครับ ขอบอกว่านอกจากจะนำมาปรับใช้กับเรื่องการทำมอนิเตอร์แล้วนั้น เรื่องการลดเสียงรบกวนก็เรื่องนี้ด้วยล่ะครับ........ มาดูกัน ขอขอบคุณภาพจากคู่มือที่แถมมากับไมค์ Shure นะครับ

อีกแบบนะครับ

แล้วสองภาพนี้เกี่ยวข้องอย่างไรกับมอนิเตอร์ล่ะคร๊าบบบบบบบบบบบบบบ............ คนนั่งข้างๆผมถาม .... พรั๊กกกกกกกก ...... เสียงมันโดนถีบ ก็ทำงานอยู่ด้วยกันดันเข้ามาขัดคอ ต่อๆๆๆๆ.........
เกี่ยวครับ เพราะมันคือทางเลือก แนวทาง วิธีการในการวางลำโพงมอนิเตอร์นั่นเองครับ เกริ่นมาตั้งนาน กว่าจะหาที่มาของความสัมพันธ์ได้ ดันตั้งชื่อเรื่องก่อนก็เลยต้องมาหาวิธีให้มันเข้ากับชื่อเรื่องให้ได้น่ะครับ แหะๆ ... เคยสังเกตกันบ้างมั๊ย ทำไมต้องวางแบบนี้

หรือแบบนี้

เดี๋ยวมาทายกันสนุกๆ นะครับ...........