ขอบคุณอาจารย์สถิต และอาจารย์แอ็ดที่แนะนำครับ
สรุปปิดงาน ตายไป 5 ตัวครับ ลงเบอร์เดิม ลองเปลี่ยน R ขาเกตตามอาจารย์สถิตแนะนำ จาก 220 โอห์มเป็น 470 โอห์ม
ข้อมูลเพิ่มเติม
หม้อแปลงจ่ายไฟ 70-0-70 Vac 2 ชุดอิสระ, C ฟิลเตอร์ 4700uf 50V ใช้ 4 ตัวต่อชุด ต่ออนุกรมกันเพื่อให้ได้ 9400uf 100V ลดต้นทุนเห็นๆ ใช้เฟทเบอร์เดียว IRFP450 14 ตัวต่อข้าง
ข้อแนะนำท่านที่มีไว้ครอบครอง
ตรวจซ่อมแอมป์ยี่ห้อนี้ อย่าลืมตรวจเช็คและย้ำบัดกรีขาเฟทและ Tr ไดรฟ์ทุกตัว
เพระเช็คเจอขาเฟทและ Tr ไดรฟ์ บัดกรีไม่ติด หลุดหลวม คาดว่าเป็นสาเหตุทำให้เฟทช็อต และลำโพงขาด
อย่าลืมล้างปริ๊นทำความสะอาดจุดบัดกรีด้วย

ขออนุญาติ เพิ่มเติมเกี่ยวกับการต่อใช้งานตัวเก็บประจุนะครับ ตัวเก็บประจุการต่อใช้งานกับค่าความจุที่ได้จะตรงกันข้ามกับการต่อใช้งานและค่าความต้านทานของตัวต้านทานนะครับ
1. วงจรอนุกรม
การต่อวงจรอนุกรม คือการนำเอาตัวเก็บประจุตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปมาต่ออนุกรมหรืออันดับ การต่อลักษณะนี้จะทำให้พื้นที่รวมของแผ่นเพลทลดลง แต่ความหนาของไดอิเล็กตริกจะเพิ่มขึ้น มีผลทำให้การเก็บประจุรวมมีค่าน้อยลง อัตราทนแรงไฟมากขึ้น ค่าการเก็บประจุรวมหาได้จากสูตร

2. วงจรขนาน
การต่อวงจรขนาน คือการนำเอาตัวเก็บประจุมาต่อขนานกัน การต่อลักษณะนี้จะทำให้พื้นที่รวมของแผ่นเพลทเพิ่มขึ้น มีผลทำให้การเก็บประจุรวมมีค่าเพิ่มขึ้นด้วย อัตราทนแรงไฟ(WV) สูงสุดของวงจรมีค่าเท่ากับตัวที่มีอัตราทนแรงไฟน้อยที่สุด ค่าการเก็บประจุรวมคำนวณจากการรวมพื้นที่ของแผ่นเพลททุกแผ่นรวมกันหาได้จากสูตร

ดังนั้นการที่นำมาต่ออนุกรมก็เพื่อให้ทนแรงไฟได้มากขึ้นครับแต่ความจุก็จะลดลง ลองคิดดูเล่นๆนะครับ จากรูปด้านบนชุดหนึ่งใช้ตัวเก็บประจุ 8 ตัวโดยการต่ออนุกรมกันแสดงว่าใช้กับฝั่งไฟบวกกับลบฝั่งละ 4 ตัว ซึ่ง 4 ตัวนี้จะเป็นการต่อแบบผสมคือ เอาสองตัวมาอนุกรมกันได้สองชุดแล้วเอาสองชุดนั้นมาขนานกันอีกที ดังนั้นจะค่าความจุรวมอยู่ที่
หาค่าความจุของการต่ออนุกรมต่อชุดก่อนได้ดังนี้ครับ
(1 / CT) = ((1 / 4700)+(1 / 4700))
(1 / CT) = (2 / 4700)
(1 / CT) = (0.000425531)
CT = (1 / 0.000425531)
CT = 2,350 uF 100VDC
จากนั้น เนื่องจากมีการขนานกันอยู่ 2 ชุดจึงเป็นการเอาค่าความจุมารวมกันแต่แรงดันยังได้เท่าเดิมจะได้ดังนี้
CT(รวม 2 ชุด) = 2,350 + 2,350 = 4700 uF 100VDC ต่อซีกไฟบวกลบ ต่อ ข้าง(L/R)ครับผม
ที่ต้องทำแบบนี้ผมขอเดาว่าน่าจะมาจากกล่องที่ไม่สูงพอทำให้ใช้ตัวเก็บประจุตัวใหญ่ที่ทนแรงดันไฟสูงๆ เป็นร้อยโวลล์ไม่ได้ครับผม
ผิดพลาดประดารใดขออภัยไว้ด้วยนะครับ
ขอบคุณข้อมูลจากที่นี่ด้วยครับผม
http://kpp.ac.th/elearning/elearning3/book-03.html