0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ผมโหลดเก็บไว้นานแล้ว สำหรับพี่น้อง ที่ต้องการความรู้เกี่ยวกับ compresser และการใช้งาน เด๋วผมจะรวบรวมบทความดีๆมาให้อ่านกัน ตัวนี้ cradit อาจาร โปร ครับ เล่าเรื่อง compressor ...........พูดเปรียบเทียบกันง่าย ๆ compressor เป็นอุปกรณ์ที่ทำก๋วยจั๊บน้ำใส.....ให้เป็นก๋วยจั๊บน้ำข้น......(ฮาครับ....มีคนเปรียบเทียบอย่างนี้จริง ๆ ).......จำเป็นต้องมีไหม...หลายคนสอบถาม.....จำเป็นครับ....ไม่งั้นเขาคงไม่ทำขายหรอก...(โอ...ช่างเป็นคำตอบที่มักง่าย..จริง ๆ )........แต่ถ้ามีแล้ว...ใช้ไม่ถูก..ก็อย่ามีดีกว่าครับ.....บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้เรื่อง compressor เบื้องต้น...แก่ผู้ที่ยังไม่รู้บางแง่...บางมุมของ compressor....ส่วนท่านที่รู้แจ้งเห็นจริงแล้ว...ก็ผ่าน....หรือจะแบ่งปันในส่วนลึก ๆ ของcompressor บ้างก็ได้ครับ........ในส่วนแรก..ที่ปุ่มปรับที่เขียนว่า ratio (ในวงเหลืองรูปล่าง) หมายถึงการกำหนดอัตราส่วนในการ compress (บีบอัดสัญญาณเสียง).....ส่วนรูปบน.....เป็นการแสดงภาพการบีบอัด...รูปซ้ายมือสุด...เป็นการบีบอัดในอัตราส่วน 1.5 ต่อ 1 ...สังเกตสัญญาณที่เกินกว่าเกณฑ์(เส้นสีดำ)...จะถูกกดลงมานิดหนึ่ง(ในวงสีแดง).....ในรูปกลาง...เป็นการบีบอัดในอัตราส่วน 3 ต่อ 1 ...สังเกตสัญญาณที่เกินกว่าเกณฑ์(เส้นสีดำ)...จะถูกกดลงมา..มากหน่อย(ในวงสีชมพู).....ในรูปขวามือ...เป็นการบีบอัดในอัตราส่วน ต่อ 1(infinity) ...สังเกตสัญญาณที่เกินกว่าเกณฑ์(เส้นสีดำ)...จะถูกกดลงมา..มากที่สุด(ในวงสีน้ำเงิน) ..นี่เป็นเบื้องต้น....ที่นำเสนอท่าน.....ในการใช้ compressor ของท่านให้เกิดประโยชน์สูงสุดครับ......เวลาหมดครับ.....พบกับคราวหน้า.....ขอให้มีงานท่วมเดือนทุกวงครับ...สาธุ เล่าเรื่อง compressor ต่อภาค 2 และตอบคุณ...k som ครับ.........ติดค้างมาหลายวันแล้วครับ...ขอเล่าเรื่อง compressor ต่อ.......โดยเฉพาะคุณ K som ใช้ behringer ผมเลย download คู่มือมาดูแล้วเทียบรูปให้ดูถึงปุ่มปรับ threshold ..threshold (วงสีชมพู)เป็นการปรับค่าอ้างอิงเพื่อให้เครื่องทำงานตามค่าอ้างอิงตัวนี้.....จากรูปครับ....ปุ่มปรับ threshold ถ้าเราปรับค่านี่ให้สูง(ค่อนมาทาง+10...ถึง+20)จะเป็นการกำหนดให้เครื่อง ตั้งค่าเกณฑ์(เหมือนตั้งกำแพง)ไว้สูง...สังเกตเส้นที่ลูกศรสีเขียวชี้ครับ.....เส้นนี้จะเป็นค่าที่ไว้เปรียบเทียบกับสัญญาณเสียง(สัญญาณไฟฟ้า)ที่เข้ามาว่าเกินเกณฑ์นี้ไหม......ถ้าเกินเส้นนี้ กระบวนการ compressor จะทำงานครับ......จะกด...จะดันมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับค่า ratio ที่เราตั้งไว้(ในวามเห็นที่แล้ว)......แต่สรุปแล้วเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการสัญญาณไฟฟ้า(ส่วนที่เกินเกณฑ์)ที่ออกมาก็จะไม่ต่ำกว่าเส้น threshold ครับ..........ส่วนกรณีที่เราตั้งค่า threshold ไว้ต่ำ ๆ (ค่อนมาทาง -10...-20...-40...)เกณฑ์(กำแพง)ก็เตี้ยลงมา(รูปด้านขวามือครับ)..........ศรชี้สีฟ้านั่นแหละครับ......เมื่อเกณฑ์ในการอ้างอิงเตี้ย......สัญญาณเสียงที่เป็นสัญญาณไฟฟ้าค่าน้อย ๆ (เบา ๆ)ก็ต้องถูกเข้ากระบวนการ compress ด้วย.....มากน้อยแล้วแต่ค่า ratio ที่เราตั้งไว้เช่นกัน...........แล้วจะตั้งค่าไหนดีล่ะ..............อันนี้ต้องขึ้นอยู่กับเครื่องมือของคุณ.......set threshold ต่ำไปเสียงออกมาก็เบา........สูงไปก็...ดังเกิน...ลำโพงขาด....แอมป์ไหม้.......เสียงแตก....เสียงบี้...พร่า................เอางี้.....เริ่มจากค่าต่ำ ๆ ก่อน.....แล้วค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนไม่เกิดอาการที่เขียนมาบรรทัดที่แล้ว....สำหรับค่า ratio ก็ลองตระโกนดัง ๆ ใส่ mic ...หรืออัดเครื่องดนตรีแรง ๆ ให้มันทำการลดสัญญาณ.....แล้วสังเกตผลรวมที่ mixer ว่ามัน peak หรือไม่.....ปรับแต่งที่ละนิด เดี๋ยวก็ได้ค่าที่เหมาะสมกับเครื่องของเราเองหละครับ...ขอย้ำนะครับว่า....เป็นค่าที่เหมาะสมกับเครื่องของเรา....จบครับ......คราวหน้าก็ถึงเรื่องปุ่มปรับ ATTACK(วงสีแดง) และ RELEASE(วงสีน้ำเงิน) ครับ...รอนิดนึงเล่าเรื่อง compressor ภาค 2........คราวที่แล้วผมเขียนเรื่องการปรับปุ่ม ratio ของ compressor ตั้งแต่ความเห็นที่ 1 โน่น(อื้อฮือ...นานจนลืมไปแล้ว)...ว่าการปรับค่าratio มีผลอย่างไรต่อการทำงาน.......วันนี้ผมนำรูปคลื่นเสียงจริง ๆ ที่ยังไม่ถูกบีบอัดโดยกระบวนการ compressor หรือ limiter ให้คลื่นเสียงที่เกินกว่าเกณฑ์ที่เราตั้งไว้..(รูปบน...ในวงสีเขียวทั้งบนและล่าง....คลื่นเสียงจะมีทั้งบนและล่าง....เรียกว่าคลื่น + และคลื่น -)....จะเห็นว่ามีส่วนที่เกินกว่าเกณฑ์ที่เรากำหนดไว้(สมมุติว่าเราตั้งเกณฑ์ที่...ไม่ให้เกิน 50)......รูปล่างครับ....เมื่อคลื่นเสียงชุดนี้ผ่านกระบวนการแล้ว....จะเห็นว่าในส่วนที่เคยเกินเกณฑ์ 50จะถูกบีบอัด...ลดทอนจนไม่เกินเกณฑ์ที่เราตั้งไว้.............ประโยชน์ที่ได้ก็คือเสียงที่จะออกไปที่ลำโพงจะไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้.....ทำให้เสียงที่ออกมาไม่แตกพร่า....หรือลำโพงขาด....แอมป์ไหม้....และถ้าเป็นวงจรที่ถูกออกแบบมาดี ๆ หน่อยเสียงที่ผ่านกระบวนการนี้จะเป็นเสียงที่ดีขึ้น...หนักแน่นขึ้น..นิดหน่อย...ขอย้ำว่านิดหน่อยนะครับ.............หรือที่ภาษานักดนตรีเรียกว่า...เสียงมันเหนียวขึ้น.....ความเห็นหน้าจะเล่าเรื่อง ปุ่มปรับ attack และ release ตามที่คุณ K SOM ขอมาเล่าเรื่อง compressor ภาค 3 และตอบคุณ k som ครับ..........มาว่ากันถึงเรื่องปุ่มปรับ attack ที่ compressor ......จากรูปด้านบนเป็นปุ่มปรับค่า compressor ของ behringer ปุ่มปรับที่ชื่อว่า ATTACK ..(วงสีแดงลูกศรแดง)..เป็นการปรับแต่งให้กระบวนการบีบอัดทำงานในทันทีทันใดที่...มีการตรวจพบเสียงที่เกินกว่าเกณฑ์......หรือจะให้เครื่องยังไม่ทำงานในทันที..(หน่วงเวลาการทำงานออกไปอีก)การหน่วงเวลาที่ให้มาหน่วงเวลาได้ถึง..300 msec..ในรุ่นนี้......สรุปว่าปุ่ม attack มีไว้เพื่อกำหนดให้กระบวนการบีบอัดสัญญาณ...ทำงานในทันที....หรือไม่ทำงานในทันที...โดยยืดเวลาออกไป....และยืดการทำงานออกไป..เท่าไร.......จากรูปล่าง....ถ้าเราปรับ attack ค่าต่ำ ๆ (ทำงานเร็ว ๆ ที่ตรวจพบ).... ส่วนเกินของเสียงในพื้นที่วงแดงจะถูกบีบอัด..........ถ้าค่า attack ค่ากลาง ๆ ....ส่วนเกินของเสียงในพื้นที่วงสีน้ำเงิน..จะถูกบีบอัด..........ถ้าค่า attack ตั้งค่าไว้สูง ๆ (หน่วงเวลามาก ๆ )....ส่วนเกินของเสียงในพื้นที่วงสีเหลืองจะถูกบีบอัด การบีบอัดและการลดทอนจะรายงานให้ทราบโดยแสดงออกมาเป็นแถบไฟในกรอบเหลี่ยมสีชมพู...รูปบน......ลอง ๆ ทำความเข้าใจดูนะครับ.....จบเรื่อง attack.....ขึ้นเรื่อง release .....release เป็นปุ่มปรับเพื่อให้กระบวนการบีบอัดหยุดทันทีที่หมดเสียงที่เกินเกณฑ์......หรือจะให้เครื่องหน่วงเวลาการบีบอัดออกไปอีก......สังเกตได้ง่าย ๆ จากแถบไฟในกรอบเหลี่ยมสีชมพู(GAIN REDUCTION)......ถ้าเราปรับ release ไว้ที่ค่าต่ำ ๆ จะหมายถึง...เมื่อบีบอัดแล้ว...หยุดการบีบอัดทันที่....สังเกตแถบไฟจะแสดง...และจะหดหายไปในทันที......ถ้าเราปรับค่า release ไว้สูง ๆ .....สังเกตแถบไฟที่ขึ้นมาตอนเกิดการบีบอัด ...จะไม่ลดลงในทันที.......แต่จะค่อย ๆ ลดลงช้า ๆ (ช้ามาก...ช้าน้อย...ขึ้นอยู่กับค่า release)...........แล้วจะปรับอย่างไรล่ะ....ให้เหมาะสม.....อันนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างที่เกิดขึ้นบนเวที..ขณะนั้น......เสียงนักร้องที่กระแทกกระทั้น....ความเร็วของเพลง....ชนิดของเครื่องดนตรีที่จะทำการ compress .......ความไวของไมโครโฟน........และอื่นๆ...เป็นองค์ประกอบ.....คงต้องแนะนำว่าต้องพึ่งตัวเองแล้วละครับ...ในการปรับแต่ง.....แต่งให้เหมาะสมกับเครื่องบนเวทีของคุณนั่นแหละเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุด...โดยอาศัยหลักการทำงานที่ผมเขียน...มาเป็นหลักเกณฑ์ในการปรับแต่ง..........ลองดูนะครับ