ถามแบบไม่เคยไป อ.ดอยสะเก็ด อยู่บนดอยไหม? หรือว่าแต่เพียงชื่อเฉยๆ 
ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ ประมาณ10กว่าโลครับ ไม่ได้อยู่บนดอยแต่ก็เหมือนบนดอยครับ งงไหมครับผมก็งงเหมือนกันอ่านประวัติดีกว่าครับ

ประวัติของอำเภอดอยสะเก็ด
อำเภอดอยสะเก็ด เติมทีตั้งอยู่ที่บ้านน้ำแพร่ได้ประมาณ 2 ปี 7 เดือน ต่อมาเจ้าเมืองเชียงใหม่ได้มองเห็นว่าเป็นที่ตั้งที่หมู่บ้าน
ที่มีราษฎรอยู่น้อย มีแต่ท้องทุ่งนาเวิ้งว้าง ซึ่งไม่เหมาะแก่การที่จะเก็บภาษีสี่บาท (ภาษีซึ่งเรียกเก็บจากตัวบุคคล) จึงได้เรียก
ผู้ปกครองมณฑลตะวันออกมาหารือ จึงได้ความว่า ควรจะมาตั้งที่เชิงเขาชิดด้านตะวันออกสุด ดังนั้น ขุนผดุงดอยแดน จึง
เสนอให้ย้ายมาอยู่ที่เชิงดอยซึ่งเป็นที่ตั้งปัจจุบันนี้ พร้อมทั้งมอบที่ดินให้เป็นที่ทำการของทางราชการ เช่น สาธารณสุข
สถานีตำรวจ และที่ว่าการอำเภอ เพราะมีบริเวณที่เหมาะสมซึ่งเป็นที่สูงอยู่บริเวณน้ำท่วมไม่ถึง จึงได้รื้อถอนตัวอาคารชั่วคราว
และได้นำไม้บางส่วนมาสร้างที่ว่าการอำเภอ พ่อขุนผดุงดอยแดนจึงมอบไม้ในสวนเพิ่มให้อีกหลายสิบท่อน เพื่อสร้างอาคาร
แบบชั้นเดียวใต้ถุนสูง ตัวเสาหล่อด้วนปูนชีเมนต์เสริมเหล็ก หลังคาทรงปั๋นหยา หน้าจั่ว บนหลังคามีเสาธงอยู่ด้วย 2-3 ปีต่อมา
พ่อขุนผดุงดอยแดน จึงได้มอบที่ดินที่หน้าอำเภอให้อีกเพื่อตั้งเป็นโรงเรียนประชาบาล และได้สร้างอาคารเรียนหลังใหญ่ 2 ชั้น
ขึ้นหลังหนึ่ง ซึ่งได้รับงบประมาณช่วยเหลือทางการศึกษา เรียกว่า อาคารศึกษาพลี จึงเป็นที่ตั้งรวมของกลุ่มส่วนราชการถึงวันนี้
ดอยสะเก็ดตั้งอยู่ในส่วนที่เป็นเทือกเขายาวกั้นระหว่างแอ่งอารยธรรม 2 แอ่ง คือ แอ่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำและแอ่งอารยธรรมลุ่ม
น้ำ แม่กวง แม่ปิง เมื่อพญาเม็งรายรวมแอ่งอารยธรรมทั้ง 2 เข้าเป็นอาณาจักรล้านนา ในปี พ.ศ. 1839 ดอยสะเก็ดจึงอยู่กึ่งกลางระหว่าง 2 แอ่งอารยธรรม และมีพัฒนาการร่วมกันกับอาณาจักรล้านนามาตั้งแต่เริ่มต้นจากการศึกษา ตำนาน ซึ่ง เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเป็นจารีตในการบันทึกประวัติศาสตร์ พบ ว่า ทุกเรื่องที่กล่าวถึงจะโยงถึงพระพุทธเจ้าซึ่งความเป็นมาของ คำว่า ดอยสะเก็ด มีตำนานเล่าสืบต่อกันมา ดังนี้
ในสมัยพุทธกาล สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จมายังดอยเกิ้ง ซึ่งอยู่ในท้องที่อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ในปัจจุบัน
แล้วได้เสด็จผ่านมาที่พระพุทธบาททุ่งตุ้มยางวิด พระพุทธองค์ได้เสด็จไปประทับที่ดอยพระบาทตีนนกในเขตอำเภอสันทราย
ขณะนั้นได้ทรงทอดพระเนตรไปทางทิศใต้ ได้พบหนองบัวอันกว้างใหญ่ในบริเวณหนองบัวมี ดอกบัวมากมายอยู่ใกล้เชิงเขา
ลูกเดียวซึ่งในหนองน้ำแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยของพญานาคสองสามีภรรยาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับอยู่บน
ภูเขาลูกนั้นและทรงเปล่งฉัพพรรณรังสี ให้พญานาคสองสามีภรรยา ซึ่งกำลังหากินอยู่ในบริเวณหนองน้ำแห่งนั้นพญานาคทั้ง
สองได้เห็นก็เป็นอัศจรรย์ยิ่งนักก็เกิดความเลื่อมใส จึงจำแลงกายเป็นมนุษย์เก็บดอกบัวไปถวายพระพุทธเจ้า พร้อมทูลขอเส้น
พระ เกศาเพื่อเก็บไว้บูชา โดยได้สร้างเจดีย์สวมทับเส้นพระเกศาไว้บนภูเขาลูกนี้และได้เรียกเขาลูกนี้ ว่า ดอยสันเกศ ทั้งนี้ เพราะ ภูเขาตามภาษาพื้นเมือง เรียกว่า ดอย ต่อมามีผู้สันนิษฐานว่า คำว่าดอยสันเกศ ได้เพี้ยนมาเป็นคำว่า ดอยสะเก็ด โดยเหตุที่อำเภอดอยสะเก็ดมีภูเขาลูกนี้เป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญ จึงได้ใช้คำว่า ดอยสะเก็ด เป็นชื่อของอำเภอ ตลอดมา จนกระทั้งถึงปัจจุบัน
อีกตำนานหนึ่งเล่าต่อมาว่า คำว่า ดอยสะเก็ด มาจากคำว่า ดอยสระเก็ด โดยได้ให้ ความหมายไว้ว่า สระ คือ ไซ้
หรือ การทำความสะอาด ส่วนคำว่า เก็ด ก็คือ เกล็ด ซึ่งหมายถึง เกล็ดของพญานาค โดยมีตำนานเล่าประกอบคำอธิบายว่า
ในสมัยโบราณมีพญานาคสองตัวอาศัยอยู่ในหนองบัวใกล้กับเขาลูกหนึ่งนานๆ ทีก็จะออกมาชำระร่างกายพอเสร็จแล้วก็จะพากัน
ขึ้นไปตากเกล็ดบนภูเขาที่อยู่ไกล้กับหนองบัวภูเขาลูกนี้ จึงได้ชื่อว่า ดอยสะเก็ด และใช้เป็นชื่อของอำเภอจนกระทั้งถึงปัจจุบัน
ดอยสะเก็ด เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา นับตั้งแต่พญาเม็งราย สถาปนาเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางอาณาจักร
ดอยสะเก็ดจึงตกอยู่ในกระแสการเมือง การปกครอง กระแสเดียวกับเชียงใหม่และชุมชนข้างเคียง คือ เริ่มต้นด้วยอยู่ในการ
ปกครองของราชวงศ์เม็งราย(พ.ศ. 1839 พ.ศ. 2121 ) ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า (พ.ศ. 2121 พ.ศ. 2317)
และตกเป็นประเทศราชของประเทศสยามทั้งในฐานะมณฑลเทศาภิบาลสืบมาตามลำดับ
การปกครองเมืองเชียงใหม่ช่วง พ.ศ. 2468 พ.ศ. 2476 เป็นการปรับปรุงช่วงสุดท้ายก่อนยกเลิกระบบเทศาภิบาลเมื่อ
เริ่มรัชกาลที่ 7 ขึ้นครองราชย์ ทรงยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมืองโดยเด็ดขาดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2469 เป็นต้นไป หากตำแหน่งเจ้าเมือง
ใดว่างลงจะไม่โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้นใหม่อีก ส่วนเจ้าเมืองที่มีชีวิตอยู่ก็ได้เงินเดือนจนถึงแก่พิราลัยซึ่งเจ้าแก้วนวรัฐผู้ครองนคร
เชียงใหม่เป็นผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้ายถึงแก่พิราลัย ในปี พ.ศ. 2482 จึงเป็นการสิ้นสุดตำแหน่งเจ้าผู้ครองนคร
เชียงใหม่และหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้ยกเลิกระบบมณฑลเทศาภิบาลลงเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเคยเป็น
ศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนาไทยในอดีตก็มีฐานะเป็นเพียงจังหวัดเช่นเดียวกับจังหวัดอื่น ๆ ในส่วนระดับแขวงก็ถูกจัดตั้งเป็น
อำเภอ ข้าราชการแต่งตั้งส่วนกลางมาปกครอง เรียกว่า นายอำเภอ มาจนถึงปัจจุบันอำเภอดอยสะเก็ด ซึ่งครั้งนั้นเรียกว่า
แขวงน้ำแพร่ ตั้งอยู่ที่บ้านน้ำแพร่ก่อนย้ายมาอยู่ที่ปัจจุบัน มีนายอำเภอคนแรก คือ นายยอด (ไม่ทราบนามสกุล)