...สืบเนื่องมาจากการที่ผมได้ปรับปรุงแก้ไขดอกลำโพงที่ใช้งานมานาน จนขอบ-กรวยกระดาษและสไปเดอร์ล้า อ่อน เสื่อมสภาพ ( ตามกระทู้นี้....
http://www.tiggersound.com/webboard/index.php?topic=297637.0) เมื่อผมแก้ไขดอกลำโพงเสร็จผมจึงถือโอกาสทดสอบเสียง และทดสอบ เปรียบเทียบตู้ซับที่มีใช้งานอยู่ และซื้อมาทดลองฟัง ซึ่งมีหลายสูตรคือ Turbo หน้าตรง + Turbo หน้าโค้งสูตรของ Tiggersound - W 120 - CUBO original - Order 6 ..ซึ่งตู้ซับ Turbo หน้าตรงจะใช้ดอก P 2242 ซึ่งจะมี Peak 1000 วัตต์ ส่วนสูตรอื่นๆใช้ดอก NPE Tiger II โครงเหล็กปั้ม Peak 1200 วัตต์และ NPE Pro 18 L โครงหล่อ peak 1200 วัตต์เหมือนกัน

...โดยใช้ระบบเสียง ประกอบด้วยเครื่องปรุง+พาวเวอร์+มิกซ์เซอร์ชุดนี้




....
****
เริ่มแรกจับคู่ปะทะกันระหว่าง Turbo หน้าตรง (ดอก P 2224) )และ Ordre6 ( ดอก NPE Pro18L)


.....คู่นี้ มี db สูงพอประมาณโทน บุคลิค เนื้อสุ่มเสียงออกมาแนวเดียวกันคือ หนักแน่น กระชับ กระหึ่มเป็นลูกเป็นก้อน. ส่วนการยิงไกลนั้นดูเหมือน Turbo จะได้เปรียบมากกว่าและเมื่อฟังๆดีๆละเอียดๆแล้ว Turbo หน้าตรง จะออกแรง-หนักแน่น- ลึก ต่ำกว่า แต่ไม่มากเท่าไร พอฟังออก..สรุปง่ายๆว่า Turbo หน้าตรงเหนือกว่าเกือบทุกด้าน แต่ไม่มากเท่าไร พอสูสีกันได้
...และ Turbo หน้าตรง จะออกด้านหน้ามากกว่าด้านหลังและด้านข้าง
....ตู้ซับทั้ง 2 นี้จะเป็นตู้ซับที่เป็น Low ไม่ใช่ Mid Low ดังนั้นเมื่อตัดความถี่ ต่ำๆประมาณ 70-80 แล้วจะมีแต่เสียงกระเดื่อง ไม่มีเสียงสายเบสเลย.จึงส่งผลให้เสียงเบา แผ่ว ไปไม่ไกลจนน่าตกใจเพราะมีแต่ความถี่ต่ำ( กระเดื่อง)อย่างเดียว...แต่เมื่อตัดความถี่ให้สูงขึ้นไป130-140 แล้ว ทีนี้มาเลย ทั้งแรง กระหึ่ม หนักแน่นทั้งกระเดื่อง+สายเบสเกาะ ชิดกันพอดี ลงตัวมากคู่นี้
*********
....อันดับต่อมาเป็นการทดลองใช้ W 120 สูตรเดียว ปรากฏว่าเป็นก็แบบเดียวกัน เมื่อตัดความถี่ต่ำลงไปที่ 70-80 แล้วเสียงออกมาแผ่ว เบา มีแต่กระเดื่อง มีสายเบสเบาๆ.เมื่อลองตัดความถี่เพิ่มไปที่ 130-140 ก็มีทั้งกระดื่อง+สายเบสออกมาอย่างเต็มที่ เหมาะสม....สำหรับตู้ W 120 นี้ น่าจะเป็นตู้ Mid low มีคุณสมบัติตามที่รับรู้กันดีคือยิงไกล และหนักแน่น.


....เมื่อลองต่อพ่วงใช้งานเล่น 2 โอห์ม คู่กันและเปรียบเทียบกับ Turbo หน้าตรงและ Ordre6 แล้วสามรถใช้งานร่วมกันได้ดี ตัดความถี่ได้ประมาณ 130-140 เหมือนกัน ..แต่ความกระหึ่ม ความหนักแน่น ลูกใหญ่ กระชับ จะด้อยกว่าสู้ Turbo และ Order6 ไม่ได้ W120 นั้นจะได้เปรียบที่ยิงไกล มั่นคง นิ่งกว่า และสามารถอัด เร่งความแรงไปได้อีกเยอะมากกว่า
***********************************************************


....อันดับต่อมาเป็นการทดสอบตู้ CUBO original ซึ่งเป็นตู้ Mid Low มีขนาดตู้ที่ใหญ่ เทอะทะกว่าสูตรอื่นๆ ให้บุคลิคโทนเนื้อเสียงในแนว ลูกใหญ่ กว้าง กระหึ่ม ครอบคลุมพื้นที่ได้รอบด้านมากกว่าทุก แต่จะด้อยเรื่องความ กระชับ หนักแน่น ในเรื่องการยิงไกลนั้นสูสีกับ Turbo หน้าตรงและ Ordre6
......สูตร CUBO original ให้บุคลิค โทน เนื้อเสียง คล้ายๆกับตู้ J-Bin แต่หน้าดอกลำโพงจะทำงานมั่นคง เสถียรมากกว่าเจบิน เมื่ออัดแรงๆมากๆแล้วหน้าดอกกระพือ สั่นน้อยกว่าตู้สูตรเจบิน
... เมื่อลองเอามาพ่วงใช้ร่วมกับสูตรอื่นๆ โดยเล่น 2 โอห์ม และตัดความถี่ที่ 70-80 เสียง Cubo จะแผ่วเบามากกว่าสูตรอื่นๆ แบบน่าตกใจเลย...แต่เมื่อปรับตัดความถี่ขึ้นมาที่ 130-140 แล้วเสียงก็จะออกมาดัง มีเสียงกระเดื่อง และสายเบสออกมาในแนวกว้างๆ ลูกใหญ่...
...เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว Cubo original จะด้อยกว่าเกือบทุกด้าน ทั้งความดัง แรง กระชับ หนักแน่น..แต่ก็สามารถเอามาใช้งานร่วมกัน ชดเชยในด้านความกว้าง กระหึ่ม ลูกใหญ่ๆได้
*****************************************************

.....อันดับต่อมาเป็นการทดสอบตู้ Turbo หน้าโค้ง ตำหรับของเจ้าบ้าน Tigger sound ตู้สูตรนี้ผมได้มาจากสมาชิกที่อีสาน..ฝีมือการประกอบชิ้นส่วนต่างๆยังไม่ได้มาตรฐาน ถึงแม้ตัวตู้จะใช้ไม้อัดหนาถึง 20 ม.ม. แต่แผ่นโค้งกลับใช้ไม้อัดหนาแค่ 4 ม.ม. และดามด้วยชิ้นไม้ด้านใน 2 ชิ้นเท่านั้น...ดังนั้นเมื่ออัด เร่งด้วยคนตรีคาราโอเกะที่ใช้ FS2 ที่ปรับแต่งซาวด์กระเดื่อง -เบสมาแบบหนักๆ และด้วยตามธรรมชาติของตู้ Turbo มันเป็นตู้ซับที่ห้องใส่ดอกลำโพงเป็นแบบปิด ที่มีแรงอัดมาก มายมหาศาลจึง มีเสียงดังกราวจากการประกอบที่ไม่แน่นหนา ทำให้คุณภาพเนื้อเสียง ไม่ได้มาตรฐานตามแบบต้นฉบับ
..ดังนั้นผมจึงไม่สามารถเอาไปอ้างอิง เปรียบเทียบกับตู้ซับสูตรอื่นๆได้
.....แต่จากการทดสอบแบบคร่าวๆแล้วตู้ซับ Turbo หน้าโค้งถือว่าเป็นตู้ Low ขนานแท้...เพเราะถึงแม้จะปรับตัดความถี่ไปถึง 140 แล้วก็ตาม เสียงที่ได้ยังออกมามีแต่กระเดื่อง ส่วนเสียงสายเบสไม่ดังออกมามากเท่าที่ควร...เมื่อเป็นแบบนี้ย่อมแสดงว่าตู้ซับ Turbo หน้าโค้งเป็นตู้ซับที่มี db ต่ำมาก และต้องใช่พาวเวอร์แอมป์กำลังขับสูงๆจึงจะสามารถเค้นคุณภาพ ประสิทธิภาพของมันออกมาได้อย่างเต็มที่..ดังนั้นตู้แบบนี้จึงเลื่องลือในเรื่องการกินวัตตืพาวเวอร์แอมป์ ถ้าใช้พาวเวอรืแอมปืกำลังขับไม่ถึง จะแผ่วมากแน่นอน
..************************************************************************
...สรุป...ในการทดสอบนี้ผมใช้ระบบเครื่องเสียงทั้งมิกเซอร์ เครื่องปรุง ตู้กลาง แหลมชุดเดียวกัน สำหรับครอสขับ Low ใช้ dbx 234 ก็อปที่ผ่านการโมดิฟายด์เปลี่ยนใส้ในโดยฝีมือท่านประธานนิมิตร และทดลองปรับตัดความถี่ให้เหมาะสมกับตู้ซับแต่ละสูตรเมื่อทดลองเปิดใช้..และปรับตัดความถี่ให้เมาะสมเพื่อใช้แต่ละสูตรมาต่อพ่วงกันทั้งการเล่นแบบ 4 โอห์ม ( ข้างละ 2 ตู้) และ 2 โอห์ม ( ข้างละ 3 ตู้) ส่วนพาวเวอร์แอมป์ขับ Low เน้นที่กำลังขับสูงๆ ใช้ Modify MC 5000VZ เป็นแบบหม้อแปลงกำลังขับแบบสเตอรีโอ ข้างละ 1400 W (8ohm) , ช้างละ 2100W(4ohm) ,ข้างละ 3000W(2ohm)
..และจากการทดสอบนี้ทำให้สรุปได้ว่าตู้ซับสูตร W120 - Turbo หน้าตรง - CUBO original Order6 สามารถนำมาใช้งานร่วมกันได้โดยต่อพ่วงกันเล่นได้ทั้งแบบ 4 โอห์ม และ 2 โอห์ม โดยไม่หักล้างเฟสเสียงกัน เสริมแรงกันได้เป็นอย่างดี...ซึ่งความถี่ที่เหมาะสมกับตู้ซับแต่ละสูตรใกล้เคียงกันคือ 130-140 .. แต่สำหรับผมแล้วผมชอบเสียง Low ( กระเดื่อง+สายเบส) ช่วงที่ตัดความถี่ 130 มากที่สุดเพราะผมคิดว่ามันเหมาะสมลงตัวกันมากที่สุด
...จากการทดสอบครั้งนี้เป็นการช่วยสนับสนุน ยืนยันได้ว่าหลังจากที่ผมได้ทำการปรับปรุงแก้ไขความเสื่อมสภาพของขอบกรวย กรวยกระดาษและสไปเดอร์ด้วยวิธีการที่ตั้งกระทู้มาแล้ว สามารถแก้ไขปัญหาขอบ กรวยและสไปเดอร์ดอกลำโพงที่ล้า เสื่อมสภาพให้สามารถกลับมาใช้งานได้เป็นอย่างดี โดยไม่ต้องลงทุน เสียเงินมากอะไรเลย..
....ครับก็เป็นการทดสอบทดลองด้วยตัวเอง ซึ่งหวังว่าจะมีปะโยชน์ต่อสมาชิกไม่มากก็น้อย...
....การเขียนมาอาจจะตกหล่น ไม่ครอบคลุมทุกด้าน ถ้าสมาชิกอยากรู้ประเด็นไหน กรุณาต้องคำถามมาในกระทู้นี้ผมจะได้ตอบได้ตรงประเด็น...ขอบคุณครับ...