- ได้ dbx AFS 224 (Advanced Feedback Suppression) จากคุณพิษณุ (Np sound) มาหลายวันแล้ว เพิ่งจะมีเวลาเปิดดูไส้ใน และลองเล่นดูความสามารถ..

- สภาพดีมากถึงมากที่สุด หน้าปัดไม่มีรอยเลย แม้แต่หูยึดน๊อต ผมก็เพิ่งสังเกตจากภาพที่ถ่ายนี่แหละ เห็นเครื่องเสียงที่คุณพิษณุฯ ขาย จะมีแหวนเหมือนแผ่นหนังหรือกระดาษบางๆ รองที่น๊อต กว่าผมจะสังเกตผมก็ขันน๊อตจนเป็นรอยไปแล้ว (เสียดาย)

- ผ่ามาดูก็สไตล์ dbx Digital Processor เหมือนกับ iEQ-31 ที่ผมเคยผ่าให้ดูมาก่อน คือเป็นบอร์ดคอมพิวเตอร์มากกว่าเป็นบอร์ดเครื่องเสียง

- มี MCU ของ Atmel ควบคุมเรื่องฟังชั่นการทำงานของโปรแกรม , ปุ่มกด , ไฟ LED , Setup Data ของ DSP และส่งข้อมูลไปยังจอ display ที่หน้าปัด

- และมีชิฟ DSP ตัวหลักตัวหนึ่ง ประมวลผลเรื่องเสียง

- ภาพรวมก็มีหม้อแปลง Toroid เป็นมาตรฐาน อุปกรณ์ , ลายวงจรที่ละเอียด เรียบร้อย


ทำความเข้าใจกับศัพท์ที่ใช้
Filter 24 ตัว คือตัวกรองความถี่ที่จะ Boot หรือ Cut จำนวน 24 ความถี่ เหมือนกับสไลด์ที่ EQ แบบ 15 หรือ 31 ช่องที่กำหนดความถี่ตายตัวมาแล้วนั่นแหละ ต่างกันที่มันฉลาดเลือกได้เองว่าจะให้เป็นความถี่อะไรก็ได้ (แต่น่าจะ Cut อย่างเดียว)
Fixed Filter เป็นรูปแบบการทำงานของตัวกรองความถี่แบบ Fixed คือกรณีที่เราเคยทำการตรวจจับความถี่ Feedback จากการเร่งสัญญาณ จงใจให้มันเกิดขึ้นแล้วบันทึกเก็บไว้ใน filter แบบ Fixed คล้ายกับเวลาเราได้ยิน Feedback ถ้าเราชำนาญเราจะรู้ว่าเป็นความถี่อะไร เราจะ Cut EQ ความถี่นั้นลงและคงค้างการ Cut ไว้ตลอดเวลา (แต่ EQ ปกติมัน 1/3 Octave ถ้าค้างตลอดเวลามันกระทบความถี่อื่นด้วย)
Live Filter เป็นรูปแบบการทำงานของตัวกรองความถี่อีกประเภทหนึ่ง ที่ฉลาดเพิ่มขึ้นมาอีกหน่อย คือคอยตรวจจับความถี่ Feedback ในขณะเล่นสด แล้วจะบันทึกไว้ใน filter แบบ Live ชั่วคราว ทำงานตามเวลาที่กำหนดใน Live Filter Lift คือ ตลอดเวลา , 1 นาที , 10 นาที หรือ 60 นาที แล้วยกเลิกตัวเองไป ถ้าเทียบกับ EQ ปกติ คือเวลาเกิด Feedback เราจะ Cut EQ ความถี่ที่เรารู้ลง ซักพักหนึ่งเมื่อเห็นว่าปลอดภัย ก็ยก EQ กลับมา Flat เหมือนเดิม ถ้ามาอีกก็จะ Cut และยกขึ้น Flat ใหม่ อย่างนี้วนไปเรื่อยๆ
Total Filter คือจำนวน filter แบบ Fixed รวมกับแบบ Live ที่เลือกใช้ ไม่จำเป็นต้องใช้ทั้ง 24 ตัว เช่น บางที่เราอาจใช้เพียง 12 ตัว แบ่งให้เป็น Fixed 5 ตัว และ Live 7 ตัว ก็ได้
-การใช้งานน่าพอใจมาก มี software filter เสียง ถึงข้างละ 24 ชุด นั่นคือจัดการกับความถี่ปัญหาได้ 24 ความถี่ในระบบสเตอริโอ หรือ 48 ความถี่ในระบบโมโน โดยเฉพาะที่เกิดจากไมค์ ผมถือโอกาสแนะนำการใช้งานดังนี้ครับ
คู่มือระบุว่าสัญญาณ(ไมค์)ที่เข้ามายัง AFS 224 อย่างน้อยควรใกล้เคียงที่ 0 dB เพื่อให้ระบบ A to D แปลงสัญญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด (ดูได้จากไฟ LED input display ดวงแรกเป็น -10 dB ดวงที่สองก็เป็น 0 dB เลยนะครับ) ถ้าสัญญาณเข้าอ่อนจะประมวลผลได้ไม่แม่นยำ จึงขอย้ำว่า
เป็นเรื่องสำคัญ ขอให้ปรับให้ได้ 0 dB ก่อนทำอย่างอื่นเลยนะครับ ..
ผมจะอ้างอิงการ Setup ตามคู่มือภาษาไทย ด้วยตัวหนาสีแดงนะครับ โดย
Download จาก Link นี้ได้เลย ก่อน Setup ให้เราแต่งเครื่องเสียงเครื่องปรุงให้ไพเราะที่สุดตามสไตล์ของเรา แล้ว..
1.เลือกใช้ filter ให้ครบทั้ง 24 ตัวเลย
(ตามคู่มือข้อ 1-4) แล้วตั้งให้เป็นแบบ Fixed ความถี่สัก 10 ตัว
(ตามคู่มือข้อ 5) สำหรับจัดการกับความถี่ Feedback ที่เกิดจากไมค์ เครื่องเสียง ลำโพง และสถานที่ filter ที่เหลืออีก 14 ตัวก็จะเป็นแบบ Live อัตโนมัติ แล้วออกจากโหมด Setup
(ตามคู่มือข้อ 6)
2.เราเลือกให้ทำงานให้เป็นแบบ Sterio
(ตามคู่มือข้อ 8)
3.ตั้ง filter แบบ Live ทำงานแค่ 1 นาที โดยการกดปุ่ม Live Filter Lift ให้เป็นสีเขียว
(ตามคู่มือข้อ 9)
4.ตั้ง Type ให้เป็น Music High โดยการกดปุ่ม Type ให้เป็นสีแดง
(ตามคู่มือข้อ 10) ทีนี้จะได้ Octave ถึง 1/80 เลยทีเดียว ทำให้ไม่กระทบต่อความถี่เสียงข้างเคียงมากนัก
5.เคลียร์ filter เก่าออก เตรียมพร้อมรอการตรวจจับความถี่ Feedback ของเรา
(ตามคู่มือข้อ 13)
6.ลด Main Mix ลงสุด
(ตามคู่มือข้อ 12) ให้นำไมค์
ติดตั้งไว้ตำแหน่งปกติ (ไม่ใช่เอาไปจ่อที่ลำโพง) โดย "เปิด" มันไว้ทุกตัว แล้วให้ "ปิดหรือ Mute" สัญญาณเสียงอื่นๆ
7.
จากนั้นค่อยๆ เร่ง Gain Mixer ขึ้น จนกระทั่งพบ Feedback ตัวแรกแล้วหยุดรอให้มันตัดและจำความถี่นั้นไว้ใน filter ตัวที่ 1
(ตามคู่มือข้อ 15) สังเกตได้จากจะเห็นไฟสีแดงของ filter ตัวที่ 1 ติดขึ้นมา โดยมันก็จะ cut EQ ความถี่นั้นลงมาให้อัตโนมัติ และจะ fixed ค่าการ cut ไว้ตลอดเวลา จึงเรียกว่า filter แบบ Fixed
วิธีนี้ผมขอเรียกว่า
ล่อให้มันออกมา จะได้กาหัวมันไว้ แต่ในคู่มือ dbx เรียกว่า "Ringing out a system"
8.ค่อยๆ ดันต่อไปอีกเรื่อยๆ จนพบ Feedback ตัวต่อมาทีละตัวเหมือนข้อ 7 มันจะจำความถี่ไว้ใน filter ตัวต่อไปเรื่อยๆ กระทั่งดันจนสุด Gain หรือระดับที่เห็นว่าจริงๆ แล้วเสียงไม่ไปถึงระดับขนาดนั้นก็ได้ (ถ้าไม่เจอจริงๆ อาจค่่อยๆ เพิ่ม gain ที่ไมค์ก็ได้)
นั่นคือ DSP ไม่ต้องเสียเวลาคอยประมวลผลหาความถี่ เพราะเป็นความถี่ที่ยังไงก็ต้องเกิดจากอุปกรณ์และสถานที่จริงแน่นอน เหมือนเป็นการเฝ้าระวังและ Cut EQ รอไว้เลย
9.เมื่อเก็บความถี่แบบ Fixed จนครบตามจำนวน filter แล้ว ไฟปุ่มโหมดจะกระพริบ ให้กดจนเป็นสีแดงเพื่อให้มันพร้อมทำงานแบบ Live filter
(ตามคู่มือข้อ 16)
10.
แต่ถ้าดันจนสุดแล้วพบ Feedback แค่ 8 ตัว ก็ควรจะกลับมาตั้งให้มันทำงานแค่ 8 ตัว แล้วย้อนทำตามข้อ 1. ของผมใหม่ ก็น่าจะพอดีกับสถานที่นั้นๆ หรือในทางกลับกันถ้า 10 ตัวไม่พอก็ต้องเพิ่ม เพราะแต่ละสถานที่ แต่ละอุปกรณ์ไม่เหมือนกัน 11.สำหรับ filter ที่เหลืออีก 14 ตัว ตั้งให้เป็นแบบ Live คือ คอยดักพบ Feedback ความถี่ใหม่ๆ ที่ไม่คาดคิดซึ่งอาจเกิดจากนักร้อง หรือเสียงดนตรี ฯลฯ ขณะเล่นสด ซึ่งเมื่อพบความถี่แปลกใหม่ ก็จะทำการ cut EQ ลด Feedback ดังกล่าว และเมื่อหมด Feedback ตัวนั้นไปแล้ว ก็จะยกเลิกตัวเองอัตโนมัติไปภายในระยะเวลาที่กำหนด ความถี่นั้นจะกลับมา flat อีกครั้ง แล้วคอยจับตัวใหม่อยู่ตลอดเวลา เป็น algorithm วนอย่างนี้ไปเรื่อยๆ เพื่อลดค่า Latency
ดังนั้นความถี่ Fixed คือ
ความถี่เฝ้าระวัง และ Live คือ
ความถี่ตรวจจพบและจัดการ ถ้าเทียบกับตำรวจคือ การป้องกัน-ปราบปราม เลยละ ดังนั้นการตั้งค่า Fixed หรือ Live ควรคำนึงถึงความจำเป็นด้วย ใช้ตำรวจให้พอดีกับงาน (บางยี่ห้ออาจเรียกชื่ออื่นต่างจากนี้ แต่การทำงานน่าจะคล้ายๆกัน)
12.กรณีมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ ที่มีผลกระทบต่อค่า Fixed ที่ได้ทำไว้ เช่น เพิ่มลำโพง/ไมค์ , ย้ายตำแหน่งลำโพง/ไมค์ , เปลี่ยนลำโพง/ไมค์ หรือเพิ่ม gain ไมค์ให้ดังขึ้น ฯลฯ ถ้ามีเวลาก็ควรทำตามข้อ 1-9 ที่ผมแนะนำนี้ใหม่อีกครั้ง
ขอให้จำไว้ว่า ตัวกันหอน มิใช่ว่ามันจะกันหอนเวลาเอาไมค์ไปจ่อลำโพงนะครับ อันนี้อะไรก็กันไม่ได้ แต่มันเป็นตัว
ลดโอกาสหอน ณ การใช้งานปกติเท่านั้น (คาดหวังเท่านี้ก็พอ ถ้าคาดหวังอย่างแรกกลัวจะผิดหวัง)
ผมอยากให้ Setup ด้วยความเข้าใจการทำงานของมัน ว่าทำไมถึงต้องตั้งค่า filter แบบ Fixed ไว้คร่าวๆ ซัก 10 ตัวในครั้งแรก ถ้าตรวจสอบแล้วจำนวนความถี่ Feedback filter แบบ Fixed มีน้อยกว่าก็ควรลงแล้วทำใหม่ ถ้าไม่พอก็ต้องเพิ่ม , ทำไมต้องค่อยๆ เร่ง Gain ที่ Mixer เพื่อหา Feedback , ทำไมต้องตั้งค่า Live Filter Left ให้เป็น 1 นาที ฯลฯ มันเป็น Digital Processor หรือคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่ง มันจะทำตามที่ Setup ไว้เท่านั้น ผมไม่อยากให้จำว่าจะต้องกดปุ่มอะไรบ้าง เพราะผมเองยังต้องกางคู่มือทุกครั้งเลย
- การต่อ ผมทำสาย Insert ตามภาพ และใช้วิธี Insert จาก Group ของไมค์ จึงทำงานเฉพาะไมค์อย่างเดียว ทำให้ไม่มีผลต่อเสียงดนตรีอื่นๆ แน่นอน
ทำสายสำหรับ Insert โดยต่อตามนี้ได้เลย ให้ทำ 2 เส้นสำหรับช่อง 1 และ 2
และสาย Insert นี้ก็ใช้กับ Processor อื่นๆ ทั่วไปก็ได้ ไม่ใช่เฉพาะ AFS 224

จะต่อ Insert ไมค์ก็ได้(คุมไมค์ได้ 2 ตัว) หรือ Insert Group ไมค์ก็จะดีกว่า (คุมไมค์ได้มากกว่า 2 ตัว)
- เมื่อตั้งค่าให้ Cut Feedback ที่ 1/80 Octave ไม่รู้สึกเลยว่ามีผลอะไรกับเสียง แม้บางครั้ง filter จะทำงานหลายๆ ความถี่พร้อมๆ กัน
- AFS 224 มันหาความถี่ Feedback และตัดอัตโนมัติจริงๆ ลดเวลาจัดการได้อย่างรวดเร็ว จะเรียกว่า Auto EQ Cutter ก็น่าจะได้ เสียอยู่อย่างเดียวว่ามันไม่บอกว่าเป็นความถี่อะไร จะได้หัดฟังและหัด cut EQ ด้วยมือดูบ้าง ..
- ความสามารถของมันคือลดโอกาสเกิด Feedback โดยกระทบความถี่อื่นๆให้น้อยที่สุด ถ้ามีใช้แล้วยังไม่เคยทำตามข้อ 1 - 5 หรือที่ผมเรียกว่า Ringing out a system เท่ากับใช้งานมันไม่ถูกต้อง แล้ว Feedback จะเหมือนว่าใช้ประโยชน์ไม่ถูกต้องเต็มที่ของมัน
- ระดับความดังตรงที่มันจะหอนหรือไม่หอนนั้น มันเหมือนเป็นเส้นแบ่งพรหมแดนบางๆที่เราอยากเพิ่ม Gain เข้าไปอีกซักเล็กน้อยแต่เพิ่มไม่ได้ ถ้าเรามีเครื่องนี้เท่ากับเรารุกคืบเส้นบางๆ นั้นไปได้อีกหน่อย ซึ่งก็ถือว่าเป็นข้อได้เปรียบแล้วละ และจากการที่มันคอยเฝ้าระวัง และตัด Feedback ได้ดี ทำให้ผมเพิ่ม Gain ปล่อยเสียงกลางและช่องไมค์ได้มากขึ้น เสียงชัดและพุ่งได้ดีกว่าเดิม จนคิดตอนนี้ว่าขาดไม่ได้เลย (ตอนหน้าไม่รู้เหมือนกันถ้าได้ความรู้ใหม่ๆ)
- หา Download คู่มือภาษาไทยมาไว้ด้วย ผมยังต้องดูตามทุกครั้งที่ Setup นานๆ ทำครั้ง มันจำไม่ได้
- ส่วน dbx iEQ-31 มันก็มี AFS ในตัวก็จริง แต่เป็นฟังชั่น software แถมมากกว่า มันมี filter เพียงข้างละ 12 ตัว จึงทำงานได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น Filter ไม่พอ และตัดไม่ขาดเท่าไหร่ ต้องเพิ่ม Octave ทำให้มีผลต่อเสียง ใช้ยามฉุกเฉินได้ เมื่อเทียบกับ AFS 224 ที่มีหน้าที่นี้โดยเฉพาะ มันให้ความแตกต่างกว่ามาก
