0 สมาชิก และ 5 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
อ.เมืองคับ ใกล้ๆกับ อ.อรุณศักดิ์คับ เครื่องเสียง MINI MINI กว่า เชิญมาเที่ยวเกาะกลางน้ำห้วยน้ำคำยินดีต้อนรับครับ
ขุนหาญก้อมาเด้อ....แหล่งท่องงเที่ยวก้อเยอะ ของกินก็แยะเชิญทุกๆท่านเด้อ
ประวัติศาสตร์จังหวัดศรีสะเกษสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาจากการพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์หลายครั้งหลายหนในระยะหลังๆ นี้ อาทิ เครื่องปั้นดินเผา พระพุทธรูป อัญมณีเครื่องประดับ ของใช้ประจำบ้านและเงินพดด้วง ซึ่งขุดพบใต้ฐานเจดีย์เก่าที่บ้านโนนแกด ตำบลทุ่ม อำเภอเมืองศรีสะเกษ เมื่อต้นเดือนมีนาคม ๒๕๒๖ และที่หลายแห่งในพื้นที่ของกิ่งอำเภอห้วยทับทัน และอำเภออื่นๆนักโบราณคดีได้วิเคราะห์เปรียบเทียบหลักฐานศิลปวัตถุ เช่น เจดีย์บ้านโนนแกด ซึ่งเป็นเจดีย์รูปดอกบัว ตัวเจดีย์ย่อมุมมีบัวคว่ำบัวหงาย อายุประมาณ ๑,๒๐๐-๑,๓๐๐ ปี และได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ใหญ่มาแล้ว ๒ ครั้งหลังจากที่ได้สร้างเสร็จ ครั้งแรกเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๗๐๐-๑๘๐๐ และครั้งที่ ๒ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๐๐๐-๒๑๐๐นอกจากนั้นวัตถุโบราณอื่นๆ ที่ขุดพบ อาทิ เป็นถ้วยชาม หม้อ ไห สันนิษฐานว่า เป็นเครื่องปั้นดินเผาของชนชาติสยาม และบางส่วนเป็นศิลปะของชนชาติขอมแต่ไม่มากนัก ซึ่งอาจจะเกิดจากการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันระหว่างชนชาติสยามกับชนชาติขอม ประกอบกับมีปราสาทหินที่เก่าแก่หลายแห่งในจังหวัดศรีสะเกษ เช่น ปราสาทหินสระกำแพงใหญ่ ปราสาทหินสระกำแพงน้อย อำเภออุทุมพรพิสัย ธาตุหรือปรางค์บ้านปราสาท ธาตุบ้านเมืองจันทร์ อำเภอห้วยทับทันปราสาทปรางค์กู่บ้านกู่ ปราสาทบ้านสมอ อำเภอปรางค์กู่ ปราสาทเยอ ธาตุจังเกา อำเภอไพรบึงและประสาทหรือธาตุที่เก่าแก่ซึ่งยังพอมีซากปรากฏอยู่ในท้องที่อำเภอต่างๆ ของจังหวัดศรีสะะเกษและจากหลักฐานที่พบในหนังสือที่เขียนไว้เป็นภาษาขอมโบราณเป็นเรื่องราว ที่กล่าวถึงการสร้างปราสาทเขาพระวิหาร ปราสาทบ้านกู่ อำเภอปรางค์กู่ ซึ่งสร้างในสมัยที่ขอมเรืองอำนาจเวลาไล่เลี่ยกันคือราวในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ในสมัยพระเจ้าวรมันที่ ๑ ปกครองเขมรอาศัยหลักฐานต่างๆ ทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวแล้วพอจะอนุมานได้ว่า พื้นที่จังหวัดศรีสะเกษในปัจจุบัน เป็นที่อยู่อาศัยของชนชาติสยามและขอมมาเป็นเวลาช้านานประมาณไม่ต่ำกว่า ๑,๓๐๐ ปี แต่ก็ได้มีการอพยพเคลื่อนย้ายถิ่นฐานเป็นครั้งคราว ซึ่งอาจจะเป็นการอพยพหลบหนีภัยน้ำท่วมใหญ่หรือเกิดจากการกันดารน้ำและโรคภัยไข้เจ็บสมัยกรุงศรีอยุธยาชนชาติลาวซึ่งอยู่ทางเหนือ ได้แก่ เมืองศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) ได้อพยพเคลื่อนย้ายเข้าไปตั้งถิ่นฐานแย่งที่ทำกินของพวกข่า ส่วย กวย ซึ่งตั้งหลักแหล่งอาศัยทำมาหากินอยู่ตามป่าดง แขวงเมืองอัตบือแสนแป ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ประเทศลาวปัจจุบัน๑ ชาวลาวมีสติปัญญาดีกว่าเพราะเป็นชาวเมือง มีภาษาขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมดีกว่าจึงมีความเจริญก้าวหน้า ลาวได้สร้างบ้านแปงเมืองและยกหัวหน้าขึ้นเป็นผู้ปกครองเมืองเป็นปึกแผ่นแน่นหนาจนรุ่งเรือง และสถาปนาขึ้นเป็นนครจำปาศักดิ์เมื่อพวกส่วยถูกชาวลาวเข้ามารุกรานแย่งที่ทำกิน จึงได้รวบรวมสมัครพรรคพวกไปหาที่ทำกินแห่งใหม่ ในราว พ.ศ.๒๒๒๐ ได้มีพวกส่วยหลายกลุ่มอพยพลงมาทางตะวันตกเฉียงใต้ข้ามแม่น้ำโขงเข้ามายังประเทศไทย๒ สู่ดินแดนอีสานตอนใต้ซึ่งยังรกร้างว่างเปล่าอยู่มาก ชาวไทยเจ้าของถิ่นในขณะนั้นเสื่อมอำนาจ๓ เนื่องจากขอมซึ่งตั้งราชธานีอยู่ที่เมืองพิมาย (อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา) ได้ยกทัพมารบกวน ทำให้คนไทยต้องถอยร่นไปอยู่ที่อื่น พวกส่วยเหล่านี้จึงตั้งเป็นชุมนุมต่างๆ อาศัยดินแดนแถบนี้ทำไร่นาหาของป่าเลี้ยงชีพสืบกันต่อมาด้วยความเป็นสุข บรรดาชาวส่วยที่อพยพเข้ามาเหล่านี้ได้แบ่งออกเป็นหลายกลุ่มด้วยกัน เท่าที่ทราบมีดังนี้๔ กลุ่มที่ ๑ หัวหน้าชื่อเชียงปุ่ม ตั้งหลักแหล่งที่บ้านเมืองทรี (ปัจจุบันคือเมืองที จังหวัดสุรินทร์)กลุ่มที่ ๒ หัวหน้าชื่อเชียงสี ตั้งหลักแหล่งอยู่ที่บ้านหนองกุดหวาย (ท้องที่อำเภอรัตนบุรีจังหวัดสุรินทร์) กลุ่มที่ ๓ หัวหน้าชื่อเชียงสง ตั้งหลักแหล่งที่อยู่ที่บ้านเมืองลิง (ปัจจุบันคืออำเภอจอมพระจังหวัดสุรินทร์)กลุ่มที่ ๔ หัวหน้าชื่อเชียงขัน ตั้งหลักแหล่งอยู่ที่บ้านปราสาทสี่เหลื่ยมดงลำดวน (ปัจจุบัน คือ บ้านดวนใหญ่ ตำลบดวนใหญ่ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ)กลุ่มที่ ๕ หัวหน้าชื่อเชียงฆะ ตั้งหลักแหล่งอยู่ที่บ้านอัจจะปะนึ่ง (ปัจจุบันคือบ้านสังขะ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์กลุ่มที่ ๖ หัวหน้าชื่อเชียงชัย ตั้งหลักแหล่งอยู่ที่บ้านจารพัด (ปัจจุบันคืออำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์)การติดตามช้างเผือกและกำเนิดเมืองขุขันธ์เมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๒๕ในแผ่นดินของสมเด็จพระบรมราชาที่ ๓ หรือสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระที่นั่งสุริยามรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) ช้างเผือกของพระองค์ได้แตกออกจากโรงช้างต้นในกรุงศรีอยุธยา แล้วเดินทางมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ พระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำรัสให้ทหารเอกคู่พระทัยสองพี่น้อง คือ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พระนามเดิมทองด้วง กับกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท พระนามเดิมบุญมา ให้คุมไพร่พลและทหารกรมช้างต้น ๓๐ นายออกติดตาม ได้ติดตามพญาช้างเผือกมาทางแขวงเมืองพิมาย ผ่านมาจนถึงบริเวณป่าดงดิบทางฝั่งทิศใต้ลำน้ำมูลจึงได้ข่าวจากพวกชาวป่าว่า พญาช้างเผือกผ่านมาทางบ้านหนองกุดหวาย (อำเภอรัตนบุรี) นายทหารเอกสองพี่น้องจึงได้เข้าไปหาเชียงสีหัวหน้าบ้านหนองกุดหวายเพื่อให้เชียงสีช่วยพาไปหาหัวหน้าบ้านต่อ ๆ ไปเชียงสีได้พาไปหาเชียงปุ่มที่บ้านเมืองทรี (เมืองที) เชียงชัยที่บ้านจารพัด (ศีขรภูมิ) ไปหาตากะจะและเชียงขันที่บ้านปราสาทที่เหลี่ยมดงลำดวน (บ้านดวนใหญ่) แล้วยกต่อไปหาเชียงฆะที่บ้านอัจจะปะนึง (สังขะ) เชียงฆะแจ้งให้ทราบว่า เห็นช้างเผือกกับโขลงช้างป่ามาเล่นน้ำที่หนองโชก ครั้นวันรุ่งขึ้นนายทหารสองพี่น้องกับพวกหัวหน้าส่วยจึงขึ้นไปแอบอยู่บนต้นไม้ริมหนองโชก พอตะวันบ่ายประมาณ ๒ โมง โขลงช้างก็ออกจากป่ามาเล่นน้ำ พญาช้างเผือกเดินอยู่กลางโขลงมีช้างป่าล้อมหน้าล้อมหลัง นายทหารสองพี่น้องจึงนำเอาก้อนอิฐ ๘ ก้อนที่นำมาจากเมืองทรีขึ้นเสกเวทย์มนต์คาถาอธิษฐานแล้วขว้างไปยังโขลงช้างป่าทั้งแปดทิศ ช้างป่าแตกหนีเข้าป่าหมดเหลือแต่พญาช้างเผือก นายทหารสองพี่น้องจึงนำพญาช้างเผือกกลับกรุงศรีอยุธยาพร้อมกับพวกทหารและหัวหน้าชาวส่วยที่ช่วยติดตามช้าง เมื่อถึงกรุงศรีอยุธยาแล้วนายทหารทั้งสองได้กราบบังคมทูลให้ทรงทราบถึงความดีความชอบ ของพวกหัวหน้าส่วยที่ช่วยติดตามช้างหลวงจนสำเร็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้๑. ตากะจะ เป็นหลวงแก้วสุวรรณ อยู่บ้านปราสาทที่เหลี่ยมดงลำดวน ๒. เชียงขัน เป็นหลวงปราบ อยู่บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวน๓. เชียงฆะ เป็นหลวงเพชร อยู่บ้านสังขะ๔. เชียงปุ่ม เป็นหลวงสุรินทร์ภักดี อยู่บ้านคูปะทายสมัย (จังหวัดสุรินทร์)๕. เชียงสี เป็นหลวงศรีนครเตา อยู่บ้านหนองกุดหวายให้เป็นหัวหน้าควบคุมพวกเขมรส่วยป่าดงในตำบลบ้านที่ตนอยู่ ทำราชการขึ้นอยู่กับเมืองพิมาย พวกนายกองทั้งห้าคนได้เดินทางกลับบ้านของตนและปฏิบัติราชการตามรับสั่งต่อมาพวกนายกองเหล่านี้ได้นำสัตว์และของป่าต่างๆ ไปส่งส่วยยังกรุงศรีอยุธยา ของส่วย๖ เหล่านี้ได้แก่ ช้าง ม้า แก่นสน ยางสน ปีกนก นอแรด งาช้าง ขี้ผึ้ง เป็นต้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้หลวงแก้วสุวรรณ (ตากะจะ) เป็นพระไกรภักดีศรีนครลำดวน ยกบ้านปราสาท สี่เหลี่ยมดงลำดวน (บ้านดวนใหญ่) ขึ้นเป็นเมืองขุขันธ์ ให้พระไกรภักดีศรีนครลำดวนเป็นเจ้าเมืองหลวงเพชร (เชียงฆะ) เป็นพระสังขะบุรีศรีนครอัจจะ ยกบ้านโคกอัจจะขึ้นเป็นเมืองสังขะหลวงสุรินทร์ภักดี (เชียงปุ่ม) เป็นพระสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวางเจ้าเมืองสุรินทร์ยกบ้านคูปะทายสมันขึ้นเป็นเมืองสุรินทร์ถ้าอยากรู้ประวัติศาสตร์จังหวัดศรีสะเกษคลิ๊กเลยครับhttp://www.youtube.com/v/FXkEK-bZzcY?fs=1&=1&autoplay=1&loop=1=0xe1600f&color2=0xfebd01&border=1
อ้างจาก: CMMedia ที่ ตุลาคม 12, 2010, 07:34:29 amอ.เมืองคับ ใกล้ๆกับ อ.อรุณศักดิ์คับ เครื่องเสียง MINI MINI กว่า เชิญมาเที่ยวเกาะกลางน้ำห้วยน้ำคำยินดีต้อนรับครับ ลูกน้อง ช่างแม่น cmmedia