มีข้อครหากันมากเกี่ยวกับเรื่องการมีเอฟเฟกไว้ในครอบครองสักตัว ในอุดมคติของท่าน เอฟเฟกที่อยู่ในใจเลยท่านคิดว่ามันต้องเป็นอย่างไร เช่น ยี่ห้อยอดฮิต ราคาแพง หรือเล่นง่าย หรือว่าเพื่อประดับบารมีครับ (มีตังค์ไม่ว่ากันข้อนี้) แต่ก็อย่างว่าล่ะครับ ใครๆก็ต้องการของดีของฮิต แต่ถ้ามองไปอีกด้านนึง ในความคิดของคนที่เห็นของแพง อย่างน้อยเมื่อได้ยินก็ต้องบอกว่าเสียงดีไว้ก่อนครับ ใครบอกผมใช้ 990 แล้วบอกเสียงไม่ดี ไม่มีทางครับ บางทีมีของดี แต่ต่อใช้งานไม่เป็นก็เปล่าประโยชน์ครับ มี 100 ใช้ ไม่ถึง 50 ก็เปล่าประโยชน์ บางทีผมว่าเอา MicroVerb 4 มาเล่นเอาผ้าปิดไว้ไม่ให้ใครเห็น แต่งให้พอเหมาะมิกซ์เสียงให้นุ่มไปเลยที่ตัวเอฟเฟก บางทีผมว่ามันยังเพราะว่าบางคนที่มีของแพงเป็นหมื่น 2 หมื่น ใช้แต่แต่งและต่อใช้งานไม่เป็นอีกครับ ผมล่ะเบื่อพวกประเภทแบบเห็นของแพงแล้วบอกว่าเสียงดีเนี่ยจริงๆเลยครับ
ในการต่อใช้งานเอฟเฟกยังไงมันก็ไม่พ้นที่ว่ามีสัญญานออกก็ต้องมีสัญญานกลับมานั่นเองแต่การออกไปและกลับเข้ามามันก็จะแบ่งเป็น 2 อย่างก็คือ การต่อแบบขนานและการต่อแบบอนุกรม
การต่อขนาน
คือการเอาสัญญาณเสียงเดินควบคู่กันไปครับ เส้นทางแรก เดินไปหาเมนมิกซ์ของเมนสไลท์และอีกเส้นทาง ก็จะวิ่งไปยังเอฟเฟก แล้วก็วกกลับมาเจอกันที่เก่าก็คือสไลท์เมนมิกซ์นั่นเอง ส่วนใหญ่จะใช้เพื่อเพิ่มความสดใสให้กับชิ้นดนตรีเป็นส่วนใหญ่ครับ เป็นการเสริมเสียงสะท้อนเข้าไปเพื่อให้ชิ้นดนตรีมีความไพเราะขึ้น แต่การใช้งานแบบนี้ก็ยังเป็นที่นิยมในการต่อเข้ากับเสียงร้องได้เช่นกัน และ 90 กว่าเปอร์เซ็นต์ก็ต่อใช้กันแบบนี้เพราะประหยัดไม่ต้องใช้เอฟเฟกหลายตัว
การต่อแบบอนุกรม
คือการเอาสัญญานทั้งหมดถ้าหมายถึงเสียงร้องก็คือเสียงร้องทุกช่องออกไปโดยตรงแล้วส่งเข้าเอฟเฟกเพื่อประมวลผลตกแต่งเสียงให้เต็มที่ 100 % แล้วถึงจะย้อนกลับเข้ามาที่มิกซ์อีกรอบครับ ในการต่อแบบนี้อาจมีข้อแม้หลายๆอย่างครับ และอยู่ที่มิกซ์ของที่เราใช้อยู่ด้วย ว่ามิกซ์เรามีลูกล่อลูกโยนลูกชนอะไรบ้าง เพราะการต่อเอฟเฟกแบบอนุกรมนี้ต้องใช้มิกซ์อย่างน้อยก็ต้องมี SUB หรือ กรุ๊ฟอย่างต่ำก็สัก 4 กรุ๊ฟจะใช้งานได้ดีครับ การต่อแบบนี้จะให้เสียงที่มีประสิทธิภาพที่สุดครับ มากกว่าการต่อแบบขนานหลายเท่า เพราะเราจะเอาเสียงร้องทั้งหมดส่งให้เอฟเฟกทำการประมวลผลของเสียงร้องให้เป็นไปตามที่เราปรับแต่งข้อมูลต่างๆในเอฟเฟกไว้แล้ว เพื่อให้ได้เสียงตามที่เราต้องการเสียงหนา เสียงบาง ก็คือการต่อแบบนี้หละครับ ถ้าใครบอกว่าต่อแบบขนานแล้วมาบอกว่าเอฟเฟกนั้นเสียงหนาเสียงบาง นั่นผมว่าเป็นความคิดที่ผิดๆหรืออุปาทานครับ เพราะว่าการต่อขนานเสียงดีหรือไม่ดีอยู่ที่ภาค EQ ของมิกซ์ล่ะครับ ว่าท่านปรับระดับเสียงของไมค์หรือเกรนขยายของไมค์กันยังไง อีกอย่างหนึ่งของการต่อแบบอนุกรมก็คือ การต่อเพื่อแต่งเสียงเครื่องเป่าต่างๆ ตรงนี้สำคัญมากครับ เพราะห้องอัดใหญ่ๆจะมีเอฟเฟกดีๆหลายตัวมาก เพื่อต่ออนุกรมใช้กับเครื่องเป่าหลายตัว เพื่อให้เสียงที่ออกมามีความหนามากๆและสดใสกังวานครับ ถ้าต่อแบบขนาน จะไม่มีทางได้เสียงแบบนี้ครับ
การโยนส่งสัญญานขาออกของไมค์ได้ในช่องทางใดบ้างดังนี้
1.เอาสัญญานไมค์ส่งออกทาง AUX SENT ในเมื่อเสียงไมค์หรือเสียงร้องมันเป็น MONO บางทีมันก็ไม่จำเป็นที่จะเอาสัญญานขาออกให้เป็น L/R ได้ เพราะเนื่องจาก AUX SENT เป็นสัญญาน MONO ต่อช่องอยู่แล้วครับมันถึงไม่เขียน L/R อย่างแน่นอน ฉะนั้นเมื่อเรานำสัญญานเสียงร้องเข้าไปปรับแต่งที่ เอฟเฟก สัญญานขาเข้าจึงเป็น MONO ก็ได้ไม่เป็นไร โดยการเสียบที่ขาเข้าด้าน L/MONO เพราะสัญญานขาเข้าด้าน L มันเป็นขาเข้ามาตรฐานครับ เราจึงใช้ช่อง L เพื่อเป็น INPUTของสัญญานขาเข้าทุกครั้งไป แต่เอฟเฟกบางตัวในรุ่นใหญ่มันก็สามารถที่จะกำหนดสัญญานขาเข้าได้ครับว่าจะให้มันเป็น ST หรือ MONOครับ จำเป็นหรือไม่ต้องใช้ AUX SENT ส่งเสียงไมค์ถึง 2 AUX เพื่อจะได้เข้าที่ INPUT ทั้งซ้ายและขวา ตอบได้เลยมีค่าเท่ากัน ใช้ข้างเดียวก็พอครับ แต่เพื่อความสะดวกในบางครั้งสัญญานขาออกจึงออกทั้งซ้ายและขวา และ เมื่อเข้าที่เอฟเฟก เขาก็เลยทำอินพุทให้เป็นทั้งซ้ายและขวาด้วยในกรณีที่ต้องการพูดให้เสียงออกที่ลำโพงคนละข้างครับ และการปรับก็จะไม่ยุ่งยาก เพราะผมบอกแล้วว่าสัญญานไมค์มันไม่มีมิติ จึงไม่จำเป็นต้องใช้ครับ
2. เอาสัญญานไมค์ส่งออกทาง GROUP หรือ SUB ในการนำสัญญานขาออกของไมค์ของทางช่องกรุ๊ฟของมิกซ์ก็จะเป็นการดีครับคือ สัญญานขาออกของกรุ๊ฟมันจะมีข้อกำหนดให้ออกคู่อยู่แล้ว ก็แล้วแต่ว่ามันจะเขียนอย่างไร อย่างเช่น ถ้าออกจากกรุ๊ฟ มันอาจจะเขียนเป็น กรุ๊ฟเอ้า 1/2 3/4 5/6 7/8 แบบนี้ก็ได้ครับ และมิกซ์บางยี่ห้ออาจจะมีหมวด SUB อย่างเช่นในซาวด์คร๊าฟรุ่นเล็กๆอย่างเช่น FX-8/FX-16 มันก็จะใช้ SUB แทนตำแหน่งคำว่ากรุ๊ฟแทน การที่จะใช้คำว่ากรุ๊ฟได้นั่นหมายความว่ามิกซ์ตัวนั้นจะต้องมีขาออก ที่มากกว่า 4 เอ้านั่นเอง ถ้ามีออกแค่ 2 ช่องเขาก็จะใช้ SUB แทนกรุ๊ฟนั่นเอง
เมื่อมีสัญญานออกก็ต้องมีสัญญานเข้าแล้วเราจะเอาสัญญานเข้ามาที่ตำแหน่งใดบ้าง
1. ช่อง RETURN ในมิกซ์เกือบทุกรุ่นจะมีช่อง RETURN ให้เกือบทุกรุ่นครับอาจจะเป็นมิกซ์ขนาดกลางๆขึ้นมาครับ แต่ขนาดเล็กอาจมีให้ก็ได้แล้วแต่รุ่นครับ
ในการใช้ช่อง RETURN ของมิกซ์ จะเป็นช่องที่ผมแนะนำให้ใช้มากที่สุดครับ เพราะเนื่องจากว่าเสียงไมค์ที่ผ่านช่องมิกซ์มาแล้ว และถูกปรับแต่งมาจนได้ที่แล้ว เราก็จะทำการส่งเสียงที่ปรับแต่งไปแล้ว เข้าที่เอฟเฟก หลังจากนั้นเอฟเฟกจะทำการประมวลผลต่างๆตามที่เราโปรแกรมไว้ให้เรียบร้อย หลังจากนั้นก็จะส่งเสียงนี้ ออกมาจากเอฟเฟกเพื่อนำเสียงที่ประมวลผลแล้วกลับไปใช้งานได้เลย โดยการต่อกลับเข้ามาที่ช่อง RETURN นี้ครับ และไม่ควรที่จะต้องมาปรับแต่งภาค EQ กันอีก ส่วน RETURN เราก็เลือกช่องที่เป็น ST นะครับเพราะมิกซ์บางรุ่นก็จะทำเป็น MONO มาให้ แล้วก็มีปุ่มปรับเกนขยายไว้ให้เราก็ปรับแต่งเสียงที่ออกมาให้มีความแรงตามต้องการได้หรือบางเครื่องก็ไม่มีให้เราก็ปรับความแรงของขาออกที่ตัวเอฟเฟกแทนก็ได้ครับ
2. ช่อง มิกซ์ ที่เหลือ ถ้าหากมิกซ์ของท่านมีช่องเหลือมากพอ เราก็สามารถนำสัญญานจากไมค์มาเข้าที่ช่องที่เหลืออีก 2 ช่องก็ได้ครับ แต่มีข้อกำหนดว่า
2.1 โวลลุ่ม AUX ทุกช่อง ปิดหมดและปุ่มกรุ๊ฟ ปุ่ม SUB ปิดหรือออฟให้หมดครับ เพราะป้องกันการฟีดแบ็กของสัญญานครับ
2.2 โวลลลุ่มของ BUS EQ ทุกช่องควรปรับแฟตให้หมดครับ เพราะอย่างที่ผมบอก สัญญานไมค์ที่มันออกมาจากเอฟเฟกมันถูกประมวลผลมาแล้ว ไม่ควรที่จะปรับอีกตรงนี้ผมไม่เห็นด้วยนะครับ (เป็นเรื่องส่วนตัวเพราะไม่อยากสัญญานที่แต่งมาแล้วแหบแห้งไม่ได้เนื้อครับเพราะปรับแล้วปรับอีก) แต่ถ้าใครต้องการปรับอีกก็ไม่ว่ากันครับ
2.3 ปุ่ม PAN ของมิกซ์ทั้ง 2 ช่องควรปรับให้ตัวแรกมาทางซ้ายสุด และ ตัวขวาก็ปรับมาทางซ้ายสุด เนื่องจากสัญญานเสียงไมค์ที่ขาออกมันเป็น ST ครับไม่เช่นนั้นถ้าคุณ ไม่ปรับ PAN ตามที่บอกสัญญานไมค์ที่ร้องออกมามันจะไม่มีมิติของเอฟเฟกครับ มันจะกลายเป็นสัญญาน MONO ดีๆนี่เองครับ แต่ถ้าคุณเข้าที่ RETRUNมันก็จบครับ
การต่อแบบขนานและแบบอนุกรม
ในการต่อเอฟเฟกท่านเคยคิดบ้างไหมครับว่า เอฟเฟกที่ท่านนำมาต่อพ่วงมานะเป็นการต่อแบบอนุกรมหรือต่อแบบขนาน แล้วเราๆท่านๆตอนนี้ต่อแบบไหนอยู่ แล้วคำถามก็ตามมาว่าแล้วต่อแบบไหนดีที่สุดและดีไม่ดียังไง เราจะมาว่ากันต่อครับ
การต่อแบบขนาน ส่วนใหญ่การต่อแบบขนานนั้น เราจะใช้เอฟเฟกร่วมกับเสียงร้อง นั่นก็คือ เมื่อเราเสียบไมค์เข้าที่ช่องมิกซ์แล้วเราทำการพูดหรือร้องเพลง เราก็กด ON หรือปุ่ม MAIN หรือปุ่ม L/R เพื่อโยนเสียงเข้าสู่โวลลุ่มของ MAIN MIX โดยตรง และเสียงร้องอีกส่วนหนึ่งเราก็จะทำการส่งออกไปที่ AUX SENT เพื่อไปเข้าที่เอฟเฟก เพื่อสร้างเสียงตามที่เราต้องการแล้วก็ส่งกลับเข้ามาที่มิกซ์อีกรอบนึง อย่างนี้หละครับที่เราเรียกว่าการต่อแบบขนาน การต่อแบบนี้จะมีข้อดีข้อเสียดังนี้ครับ
ข้อดี
1. เมื่อเอฟเฟก มีปัญหา เกิดปลั๊กหลวมหรือหลุดหรือแม้กระทั่งตัวเอฟเฟกเสียงเสียเองในขณะที่ร้องอยู่เสียงร้องก็ยังคงอยู่ไม่หายไป
2.ใช้ร่วมกับการแต่งเสียงชิ้นดนตรีได้ครับ เพราะการต่อแบบนี้ใช้ AUX SENT อยู่แล้วต้องการมากน้อยก็เร่งโวลลุ่ม AUX เอาครับ
ข้อเสีย
1. หน้าเวทีหอนง่ายเพราะเสียง DRY วิ่งออกตรงสู่ MAIN MIX 100%
2. เสียงที่ออกมาเสียงไม่ค่อยสมบูรณ์เหมือนเราใช้เอฟเฟกไม่ถึง 50 % เพราะคุณเอาแค่เสียงสะท้อนมาใช้เฉยๆพลังเสียงร้องในเอฟเฟกไม่มี แบบนี้เอฟเฟกตัวละ 2 หมื่นก็ ไม่มีประโยชน์ ใช้ตัวละ 2 พัน ก็มีค่าเท่ากัน
การต่อเอฟเฟกแบบอนุกรม
ข้อดี
1. เราสามารถใช้เอฟเฟกได้เต็มที่ 100 % เพราะเราเอาเสียงร้อง เข้าสู่เอฟเฟก เพื่อให้เอฟเฟกประมวลเสียงร้องโดยตรง เราถึงจะได้พลังเสียงที่เต็มที่จากเอฟเฟกได้
2. ลดการหอนหน้าเวทีได้มากกว่า 20-30 % เลยทีเดียว ถ้าคุณปรับเอฟเฟกได้อย่างถูกต้อง
ข้อเสีย
1. อาจเปลืองเอฟเฟก อาจต้องมีเอฟเฟก 2 ตัวขึ้นไปเพื่อมาแต่งเสียงดนตรีหรืออุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกัน
2. สายหลวม สายหลุด เสียงจะเงียบหมดครับ
3. ถ้าคุณเล่นเอฟเฟกไม่เก่งพอเสียงก็อาจเข้าป่าไปเลย
...มาลองว่ามิกซ์ที่ใช้จะต่อเล่นเข้ากับเอฟเฟกอย่างไรได้บ้างครับ....
ก่อนอื่นท่านลองสำรวจดูก่อนว่ามิกซ์ของท่าน มีลูกเล่นอะไรบ้าง โดยการดูแต่ละช่องครับ ว่ามีการโยนสัญญานออกไปไหนได้บ้าง อย่างเช่นที่ใกล้ๆกับสไลท์มิกซ์ของแต่ละช่องมีปุ่มกดอะไรบ้างเช่น กรุ๊ฟ 1/2 หรือ 3/4 มากกว่านั้น สำรวจอีกเรื่องก็คือ ดูเจ้า AUX แต่ละช่องว่ามีกี่ AUX มีเงื่อนไขอะไรบ้าง เช่น กำหนดให้ AUX 1 เป็นอะไรเช่น เป็นPRE หรือ POST หรือมีสวิทช์ให้เลือก ว่า AUX ตัวนี้จะให้เป็น PRE หรือเป็น POST ก็ลองตรวจสอบดูครับ.(ไม่เข้าใจ PRE/POST อ่าในบทความเรื่องนี้อีกครั้ง)ถ้าเป็นกรุ๊ฟเอ้า ก็ดูว่ามีกี่กรุ๊ฟ แต่ส่วนมากก็จะมีไม่ต่ำกว่า 4 กรุ๊ฟอย่างแน่นอน จากนั้นก็ไปดูเงื่อนไขในการควบคุมกรุ๊ฟแต่ละกรุ๊ฟว่า มันใช้โวลลุ่มเมนกรุ๊ฟถูกควบคุมอยู่ตรงไหนแน่นอนครับเมื่อถูกควบคุมกรุ๊ฟ ก็ต้องมีโวลลุ่มกรุ๊ฟ เมื่อมีกรุ๊ฟมันก็สามารถที่จะจัดหมวดหมู่ว่า จะโยนสัญญานเข้าภายในหรือจะโยนสัญญานไปภายนอก มันก็จะมีสวิทช์กดใกล้ๆกับโวลลุ่มเมนกรุ๊ฟแน่นอนครับ ถ้าจะเล่นกรุ๊ฟในก็กดที่ช่องแต่ละช่องให้เป็นกรุ๊ฟตามที่เราต้องการ เสร็จแล้วสัญญานมันก็จะวิ่งมาที่โวลลุ่มกรุ๊ฟ เราก็กำหนดให้ กรุ๊ฟ 1 ออก L ส่วนกรุ๊ฟ 2 เราก็ให้ออก R สัญญานที่เราควบคุมกรุ๊ฟทั้งหมดกี่ช่องก็แล้วแต่ที่เรากดไว้สัญญานก็จะถูกควบคุมด้วยกรุ๊ฟอีกทีครับ แต่ถ้าเราจะโยนสัญญานกรุ๊ฟทั้งหมดไปภายนอก ปุ่มกดบังคับสัญญานเหนือโวลลุ่มเมนกรุ๊ฟก็ไม่ต้องกด...ต่อจากนั้นสัญญานในชุดกรุ๊ฟทั้งหมดก็จะวิ่งไปรอที่ GPOUP OUT (พยายามมองภาพให้ออกนะครับ ไม่เข้าใจก็เข้ามาถกกันต่อไป) เพื่อที่จะได้นำสัญญานจากกรุ๊ฟเข้าสู่
เอฟเฟกต่อไป..
ที่อธิบายมาจะเกี่ยวกับการโยนสัญญานไมค์ไปกับกรุ๊ฟ คราวนี้เป็น AUX บ้าง คิดว่าทุกท่านคงถนัดอยู่แล้วนะครับเรื่องนี้ ในการใช้ AUX SENT ส่งสัญญานไมค์ออกไปนั้น บอกแล้วว่ามันส่งได้ทั้งสองทาง คือ PRE และ POST นั่นเอง การใช้ AUX นั้นง่ายต่อการไล่ทางเดินสัญญานครับ แต่การใช้กรุ๊ฟจะยากกว่ามาก เพราะถ้าคุณไม่เข้าใจทางเดินสัญญานอาจหลงทางได้ครับ
...ใน 90 % ผมว่าไม่ว่ามือเก่ามือใหม่ การต่อเอฟเฟกเข้ากับมิกซ์ ผมว่าต่อแบบขนานทั้งหมด น้อยรายมากครับที่จะต่อแบบอนุกรม มาตอนนี้ผมจะลองมาต่อเอฟเฟกแบบอนุกรมแบบที่เขาไม่ค่อยต่อกันครับเพื่อเข้ากับมิกซ์ธรรมดาอย่างเช่นเจ้า BERINGER รุ่นทั่วๆไป กันดูบ้างครับเป็นการต่อแบบขนานไปด้วยในตัวและสามารถเปลี่ยนมาเป็นแบบอนุกรมได้ทันทีทันใดด้วยการกดปุ่มเพียง 1- 2 ปุ่มเท่านั้น..
...มาดูเจ้า BERINGER รุ่นนี้หน่อยครับว่ามันมี IN/OUT อะไรให้เราเล่นบ้าง....

จากรูปเราก็จะเห็นได้ว่า มิกเซอร์ ทั่วๆ ก็จะมีปุ่มแบบนี้เสมอ อย่างเช่นยี่ห้อนี้ก็จะมีปุ่ม SUB ให้แทน GROUP ครับ เพราะว่าอย่างที่บอก ถ้าจะใช้คำว่ากรุ๊ฟ มิกซ์ ตัวนั้นจะต้องมี OUTPUT ที่เป็นออฟชั่นมากกว่า 4 เอ้าขึ้นไป
แต่ถ้ามีเพียง 2 เอ้าก็จะใช้คำว่า SUB แทน อย่างเช่นในรุ่น FX-8 หรือ FX-16 (จำไม่ได้ว่า FX-16 มี SUB เปล่าถ้าจำผิดขออภัย ไม่ได้เล่นนานแล้วครับ)
มาว่ากันต่อ อย่างที่ผมบอกนะครับ ให้สังเกตว่าที่ใกล้โวลลุ่มสไลท์มิกซ์แต่ละช่อง มันมีปุ่มกดอะไรบ้างหรือใช้งานยังไง อย่างในรูปก็จะเห็นว่าปุ่มกดใกล้โวลลุ่มจะมีปุ่ม 3 ปุ่มคือ
1. ปุ่ม SOLO เป็นปุ่ม เทสเสียงเฉพาะช่องนั้นๆที่ต้องการเทสเสียง ไม่ต้องสนใจครับ เพราะเราไม่ค่อยได้ใช้มัน
2. ปุ่ม SUB เป็นปุ่มที่ต้องการโยนสัญญานของช่องนี้ออกไปอีก 1 กลุ่ม เพื่อนำเสียงนี้ไปตกแต่งที่ภายนอกอีกทีหรือจะนำกลับมาใช้งานอีกก็ได้หรือไม่นำมาอีกก็ได้ และอย่างที่บอกมันออกเพียง 2 ช่องเท่านั้น มันจึงใช้คำว่า SUB แทน GROUP ไงครับ หรือการใช้งานอีกอย่างก็คือ การจัดชุดกลุ่มของสัญญานแต่ละช่องรวมกันว่าจะใช้กี่ช่องเพื่อคุมโดยโวลลุ่มเมน SUB ชุดเดียว
3. ปุ่ม MAIN ปุ่มนี้ในมิกซ์บางตัวอาจจะเขียนว่า L/R ก็ได้ แต่ถ้าเป็นมิกซ์รุ่นเก่าก็อาจจะเขียนว่า ON ก็ได้ครับเมื่อกดลงไป สัญญานจะถูกส่งเข้าไปที่ โวลลุ่ม MAIN MIX ครับ หรือที่เราเรียกเสียงนี้ว่า DRY MIX ครับ ก็คือสัญญานตรงๆวิ่งไปที่โวลลุ่มเมนแล้วออกสู่ภายนอกเพื่อตกแต่งต่อไปนั่นเอง
TIP: การใช้งานของปุ่ม SUB และปุ่ม MAIN สามารถกดใช้งานพร้อมกันได้ อยู่ที่เราคิดว่าจะส่งสัญญานทั้ง 2 แหล่งนี้ไปทำอะไรและในข้อที่ 2 นั้น คำว่า SUB อาจจะมีตัวเลขที่แทนคำว่า SUB อาจจะเป็น 1/2 หรือ 3/4 หรือ 5/6 และอาจมากกว่า 7/8 ก็ได้ เมื่อเป็นตัวเลขแบบนี้แสดงว่าตัวเลขที่แสดงก็คือปุ่ม GROUP นั่นเองเพราะมิกซ์มักจะมี GROUP เป็นเลขคู่เสมออย่างต่ำ 4 กรุ๊ฟ หรือเท่าที่เจอมาก็ 8-10 กรุ๊ฟครับ

รูปนี้จะแสดงถึงโวลลุ่มที่ควบคุมสัญญานของ SUB OUT อีกที นั่นหมายความว่า ถ้าท่านกดปุ่ม SUB หรือ GROUP ตามลงไป ไม่ว่าท่านจะกดกี่ช่องก็ตาม สัญญานทุกช่องจะถูกควบคุมความแรงขาออกทั้งหมดด้วยโวลลุ่ม SUB ตัวนี้ครับ แต่ถ้าเป็น GROUP ก็จะมีโวลลุ่มแบบนี้ ตามจำนวนช่องของ GROUP ที่มีครับ ถ้าเราไม่เร่งโวลลุ่ม 2 ตัวนี้สัญญานก็จะไม่ออกครับ.

มาดูปุ่มเหนือโวลลุ่ม SUB ครับ ท่านสังเกตว่ามันจะมีปุ่มอีก 4 ปุ่ม มิกซ์มือใหม่อาจจะงงว่า มันมีไว้ทำอะไร เราทำความเข้าใจกันก่อนนะครับว่าที่มันเขียนเอาไว้คือ LEFT 1 บน RIGHT 1 ล่าง และ LEFT 2 บน และ RIGHT 2 ล่าง เจ้าปุ่ม ทั้ง 4 ปุ่มนี้ทำหน้าที่ๆจะโยนสัญญานของ SUB ให้ไปเข้าที่ สไลท์เมนมิกซ์หรือไม่ เช่นถ้าเรากดปุ่มทั้ง 4 ปุ่มส่วนมากเราก็จะกดให้เป็นแบบสเตอริโอก็คือ กดปุ่ม LEFT 1 บนและปุ่ม RIGHT 2 ล่างเท่านั้นครับ นั่นหมายความว่าเราจะเอาสัญญานของมิกซ์ของช่องที่เรากดออกทั้งช่องซ้ายและขวาของโวลลุ่มเมนมิกซ์นั่นเอง แต่ปัญหามันมีอยู่ว่าถ้าเราไม่กดที่เจ้า 4 ปุ่มนี้หล่ะ สัญญาน มันไปไหน เราก็มาดูรูปนี้กันต่อไป

จากรูปจะเห็นว่าที่ด้านหน้าของมิกซ์ จะมีแจ๊คโฟนขาออกอยู่ 2 ตัวและจะเขียนไว้ว่า SUB OUTPUTS ตรงขาออกนี้ เมื่อท่านกดปุ่มที่ใกล้สไลท์มิกซ์แต่ละช่อง ทุกครั้งที่ท่านกด สัญญานของช่องนั้นจะออกมารวมที่ช่อง SUB OUTPUTS ทุกช่องไปและสัญญานความแรงที่ออกจะถูกควบคุมด้วยโวลลุ่ม SUB อีกที และอย่าลืมว่าสัญญานจะออกทุกครั้งที่ท่านกดและเร่งโวลลุ่มSUB ทุกครั้งนะครับ และจะไม่เกี่ยวกับปุ่ม 4 ปุ่มที่ผมแจ้งไว้แล้วเพราะปุ่มทั้ง 4 ปุ่มนั้นจะเป็นการโยนให้สัญญาน SUB ออกที่สไลท์เมนมิกซ์อย่างเดียว หรือที่เราเรียกว่า การคุม SUB หรือคุม GROUP ในนั่นเอง แต่ถ้าไม่กดปุ่มทั้ง 4 ปุ่ม(แต่การใช้งานกดแค่ 2 ปุ่ม) สัญญานก็จะออกมาและเป็นการเล่น SUB หรือการเล่น กรุ๊ฟนอกนั่นเอง(ตรงนี้หล่ะที่เราเรียกว่าการใช้กรุ๊ฟนอกนั่นเอง)

มาดูอีกรูปหนึ่งที่เขียนว่า STEREO AUX RETURNS / AUX SENT ในตรงนี้จะมีอยู่ 2 กลุ่มคือ กลุ่ม 1 และกลุ่ม 2 ทั้ง 2 กลุ่มนี้จะเป็นการนำสัยญานจากภายนอกส่งกลับเข้ามาที่ช่อง RETURN นี้ครับ เราจะสังเกตว่าทางด้านขวาก็จะมีช่องออกของ AUX SENT อยู่ด้วย นั่นหมายความว่า สัญญานที่เราแต่งเอฟเฟกทั่วไปเมื่อออกจาก AUX SENT แล้ว เมื่อกลับเข้ามา เราก็ควรที่จะใช้ช่อง STEREO AUX RETURNS ไงครับแต่บ้านเรามักจะมองไม่เห็นหรือไม่ยอมใช้ RETURN ให้เป็นประโยชน์ครับ กลับมองเห็นว่า เมื่อออกจากเอฟเฟกก็กลับไปเข้าช่องมิกซ์ที่เหลือกันอีก ตรงนี้เป็นความคิดที่ผิดๆครับ กลัวเสียงไม่ดีบ้างหละ เร่งเอฟเฟกได้แรงดี การต่ออย่างนี้มันผิดวัตถุประสงค์ในการใช้มิกซ์ครับไม่อย่างนั้นมิกซ์เขาคงไม่ทำช่อง RETURN ไว้ให้เราใช้หรอกครับ และมิกซ์บางตัวทำ RETURN ไว้ให้ถึง 4 ชุดและเป็นแบบสเตอริโอก็เพราะต้องการให้ใช้เอฟเฟกหรือตัวแต่งเสียงตางหากไงครับ และมีข้อระวังก็คือถ้าเอาสัญญานออกทาง AUX SENT แล้วกลับเข้ามาที่ช่องมิกซ์อีก ก็ต้องระวังเรื่องการเกิด LOOP หวีด โดยไม่ตั้งใจครับหากมีใครไปปิด โวลลุ่ม AUX ของช่องที่เป็นสัญญานจากเอฟเฟกเข้ามา ตรงนี้ต้องระวังให้ดีครับ
เมื่อท่านมีความเข้าใจแล้วว่า ประโยชน์ของฟังชั่นในมิกซ์ต่างๆแต่ละรุ่น ก็จะมีฟังชั่นหรือลูกเล่นเหล่านี้ใส่มาให้มากมายครับ เพียงแต่ว่า เราๆท่านๆทั้งหลายจะใช้ฟังชั่นลูกเล่นต่างๆได้เต็มที่หรือเปล่าเท่านั้นเอง และในการโยน GROUP หรือใช้ SUB OUT ต่างๆก็หวังว่าท่านจะเข้าใจกันบ้างนะครับว่าสัญญานเดินทางไปทางไหนบ้าง กดปุ่มนี้ไปออกที่ไหน ถ้าไม่กดจะเดินไปไหน ลองดูกันนะครับ เพราะที่อธิบายมานี่ก็เป็นเพียงส่วนย่อยอันน้อยนิดเกี่ยวกับการใช้มิกซ์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เพราะการอธิบายถึงบางเรื่องบางอย่างก็มักจะต้องมีตัวอ้างอิงเสมอ จะพูดแค่เรื่องเอฟเฟกก็ต้องพาดพิงถึงมิกซ์ จะพูดลอยๆ เราๆท่านๆก็จะไม่เข้าใจกันอีก บางทีก็ต้องมองให้เห็นภาพกันเลยทีเดียวครับไม่งั้นก็คงหลงป่าไร้ทิศทางหาทางออกไม่เจอกันทีเดียว
ว่าแล้วเราก็มาเริ่มลงมือต่อกันได้เลย ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า ท่านใดมีมิกซ์ที่ไม่เหมือนแบบนี้แต่ผมมั่นใจว่า ลูกเล่นหรือสัญลักษ์ต่างๆบนตัวมิกซ์มันก็หนีไม่พ้นแบบนี้หรอกครับ
การต่อเอฟเฟกแบบอนุกรมโดยการโยน SUB หรือโยน GROUP เพื่อให้ เอฟเฟกทำงานเต็มที่ให้สมกับราคา เรามาดูขั้นตอนการต่อกันครับ
1. ให้ใช้สาย โฟนโมโน หัวท้าย เสียบที่ SUB OUTS ทั้งซ้ายและขวาและปลายที่เหลือเข้าที่เอฟเฟก INPUT ทั้ง L และ R แต่ถ้าเป็นเอฟเฟกแบบ INPUT MONO หรือมีรูเดียว ก็ให้ใช้ SUB รูที่ 1 เท่านั้นครับ
2. ใช้สาย โฟนโมโน อีก 2 เส้น เสียบที่ขาออกของเอฟเฟกทั้ง L และ R เข้าที่ช่อง STEREO AUX RETURN ที่1
3. ที่ตัวเอฟเฟกถ้ามิกซ์มีโวลลุ่มที่เขียนว่า MIX ให้หมุนทวนเข็มจนสุดมาทาง DRY แต่ถ้าเป็นรุ่นอื่นๆที่ไม่มีโวลลุ่มผสม ท่านต้องเขาพารามิเตอร์แล้วเข้าไปเซ๊ต เพื่อปิดเสียงเอฟเฟกก่อน หรือกดปุ่ม BYPASS ไว้ก่อนก็ได้ครับ(ใครใช้รุ่นที่ไม่มีโวลลุ่มไว้คุยกันนอกรอบครับ)
4. เอามิกซ์ที่ช่องที่ 1 ละกันครับใช้ไมค์สักตัวเสียบลงไปแล้วก็ลองเทสที่มิกซ์ดูก่อนครับ โดยการต่อเหมือนที่ท่านต่อตามปรกตินั่นหละครับ เมื่อเสียงออกตามปรกติแล้วก็ให้พูดผ่านเอฟเฟกดูบ้างครับ
การต่อแบบที่ผมให้ท่านทำเนี่ยนะครับเป็นการต่อแบบอนุกรมผสมกับขนานไปในตัว เมื่อท่านเทสไมค์แล้วเสียงดังปรกติ ให้ท่าน กดปุ่ม SUB ที่มิกซ์แล้วกดปุ่มเมนออกมา เพราะเราจะให้สัญญานผ่านสวิทช์ SUB แทนสวิทช์ MAIN หลังจากนั้น สัญญานของไมค์จะถูกส่งไปรอที่โวลลุ่มเมน SUB เมื่อสัญญานออกจากโวลลุ่ม SUB ก็จะไปรอที่เจ้าสวิทช์ทั้ง 4 ตัว 1 ทาง และอีกทางก็จะไปออกที่ แจ๊คโฟน 2 ตัวของ SUB OUTS ที่ด้านหน้าอีก 1 ทาง เมื่อสัญญานทั้ง 2 ทางรออยู่แล้ว เราก็ลองมาโยนสัญญานไมค์เข้าที่ โวลลุ่มเมนมิกซ์โดยตรงก็เพียงแต่กดที่ปุ่ม LEFT 1 ของโวลลุ่ม SUB ที่ 1 และกดปุ่ม RIGHT 2 ของโวลลุ่ม SUB ที่ 2 เสียงสัญญานไมค์ทั้ง 2 ทางก็จะออกที่ เมนมิกซ์ L / R ไปเลย ทดลองพูดไมค์แล้วลองเร่งโวลลุ่มช่องมิกซ์ในระดับหนึ่ง หลังจากนั้นก็เร่งโวลลุ่ม SUB ทั้ง 2 ตัวเท่าๆกัน เสียงก็จะออกตามปรกติ แต่สัญญานไมค์ที่รออยู่ที่ SUB OUTS ก็จะออกตามไปด้วยเมื่อเราเร่งโวลลุ่ม SUB ทั้ง 2 ตัวที่ต่อไปเข้าที่เอฟเฟก
ฉะนั้นมาถึงตรงนี้ท่านก็พอมองเห็นของทางเดินสัญญานไมค์แล้วนะครับว่ามันไปทางไหนบ้าง หรือถ้าท่านมีความเข้าใจดีท่านจะร้องอ๋อเลยทีเดียวว่า เมื่อเรากดปุ่ม LEFT 1 ของโวลลุ่ม SUB ที่ 1 และกดปุ่ม RIGHT 2 ของโวลลุ่ม SUB ที่ 2 เสียงสัญญานไมค์ทั้ง 2 ทางก็จะออกที่ เมนมิกซ์ L / R ไปเลย ก็คือเสียงร้องจะออกไปโดยตรงและอีกทางก็จะวิ่งไปรอที่เอฟเฟกด้วย แต่ถ้าเราไม่กดปุ่ม LEFT 1 ของโวลลุ่ม SUB ที่ 1 และไม่กดปุ่ม RIGHT 2 ของโวลลุ่ม SUB ที่ 2 เสียงสัญญานไมค์ทั้ง 2 ทางก็จะออกที่ SUB OUTS อย่างเดียวเท่านั้น และแบบนี้เองที่เราเรียกว่าการต่อแบบ อนุกรมไงล่ะครับ แต่เมื่อเรากดปุ่ม LEFT 1 ของโวลลุ่ม SUB ที่ 1 และกดปุ่ม RIGHT 2 ของโวลลุ่ม SUB ที่ 2 เมื่อไหร่ก็จะเป็นการต่อแบบขนานทันทีครับ
แต่อย่างที่บอก ผมต้องการให้เสียงร้องของนักร้องไปเข้าที่เอฟเฟก 100 % เพราะผมต้องการให้เอฟเฟกทำงานเพื่อประมวลผลของเสียงนักร้องได้เต็มที่ เราก็จะต้องต่อแบบอนุกรมนี้เท่านั้นครับ หลังจากนั้นเราก็ทำการปรับแต่งเสียงที่เข้าเอฟเฟกได้ตามใจชอบ ค่อยๆบิดโวลลุ่มของตัว MIX ระหว่างเสียง DRY กับเสียง WET ให้เข้ากันให้เหมาะสม เสียง DRY หรือเสียงนักร้องผสมเข้าไปสัก 80 % ก็พอหน้าเวทีก็จะหอนน้อยลง ถ้าเสียงเอฟเฟกมาก ท่านก็ปรับพารามิเตอร์ของเอฟเฟกอย่างเดียวให้น้อยลง สัญญานจะได้กลมกลืนครับ
มาถึงช่วงสุดท้ายแล้วครับ ผมไม่รู้ว่าเพื่อนๆมือใหม่ที่ได้อ่านแล้ว ไม่ทราบว่ายังงงอยู่หรือเปล่าเกี่ยวกับการต่อแบบนี้ เพราะผมเองไม่ชอบต่อแบบการใช้ AUX SENT นะครับเพราะอย่างที่บอกการต่อแบบใช้ AUX SENT เป็นการใช้เอฟเฟกอย่างไร้ประสิทธิภาพครับ หน้าเวทีหอนง่าย เสียงหว่องๆไม่นุ่มลึก แต่มันเป็นการต่อที่ง่ายไม่ซับซ้อน ละเป็นที่นิยมทั่วไป แต่คุณภาพเสียงจะด้อยครับ เพื่อนๆลองเปลี่ยนทัศนคติการต่อใหม่ครับ ลองต่อแบบนี้ดู แล้วท่านจะรู้ว่าไมค์และเอฟเฟกราคาถูกๆของท่านเมื่อใครๆขึ้นมาร้องเพลงแล้วจะบอกว่าวันนี้ทำไมเสียงเพราะจัง แต่นี่ก็ขึ้นอยู่กับท่านผสมเสียงร้องกับเอฟเฟกเข้าด้วยนะครับ...
...ขอให้เพื่อนๆประสพความสำเร็จนะครับ..มีอะไรก็ตอบคำถามเข้ามาได้เลยหรือไม่ก็หลังไมค์ยินดีรับใช้ทุกท่านครับ...