Tigger Sound
สังคมออนไลน์คุณภาพของคนรักเครื่องเสียง
ทดสอบเสียง HK1.1 By Tiggersound https://www.facebook.com/tiggersound/videos/10218510874389162

พี่น้องคนดนตรีพิษณุโลก เชิญทางนี้ และพบเว็บใหม่ของพิษณุโลกวันนี้

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ โต้.บ้านนามิวสิค พล.

  • สรรค์สร้างความบันเทิง
  • มือกลอง
  • *****
    • กระทู้: 463
  • พี ซาวด์ พิษณุโลก
สวัสดีครับ ผมโต้ บ้านนามิวสิค บางคนรู้จักผมดีครับ

ตอนนี้ผมได้ทำเว็บเพื่อคนดนตรี พิษณุโลก ได้โชว์ผลงานและหางาน

เชิญสมัครสมาชิกและรายงานตัว เพื่อผมจะได้ตั้งการเป็นเจ้าของวง ให้ครับ

ศูนย์รวมวงดนตรีจังหวัดพิษณุโลก






คำขวัญจังหวัดพิษณุโลก

" พระพุทธชินราชงามเลิศ ถิ่นกำเนิดพระนเรศวร สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ
หวานฉ่ำแท้กล้วยตาก ถ้ำและน้ำตกหลากตระการตา "

เริ่มจากประวัติของพิษณุโลกแบบเต็มที่ ไม่ย่อ ครับ จะได้รู้ประวัติแต่ละจังหวัดครับ

ประวัติ

พิษณุโลก มีประวัติศาสตร์อันยาวนานควบคู่กับประเทศไทย โดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันในศิลาจารึก ตำนาน นิทาน และพงศาวดาร เช่น สองแคว สระหลวง สองแควทวิสาขะ ไทยวนที
เดิมเมืองพิษณุโลกเป็นเมืองเก่าสมัยขอม อยู่ห่างจากที่ตั้งเมืองปัจจุบันลงไปทางทิศใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร เรียกว่า "เมืองสองแคว" ที่เรียกเช่นนี้ เพราะตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำน่าน กับ แม่น้ำเหตุ แต่ปัจจุบันแม่น้ำแควน้อยเปลี่ยนทางเดินออกห่างจากตัวเมืองไปประมาณ 10 กิโลเมตร
ที่ตั้งตัวเมืองเก่าในปัจจุบันคือ บริเวณวัดจุฬามณี ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ของพิษณุโลก แต่เมื่อประมาณพุทธศักราช 1900 พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ได้โปรด ให้ย้ายเมืองสองแคว มาตั้งอยู่ ณ บริเวณตัวเมืองในปัจจุบัน และยังคงเรียกกันติดปากว่า เมืองสองแคว เรื่อยมา

สมัยก่อนกรุงสุโขทัย

ก่อนราชวงศ์พระร่วง ซึ่งมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นต้นราชวงศ์ขึ้นครองกรุงสุโขทัย เมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ 18, ราชวงศ์ที่มีอำนาจครอบคลุมดินแดนแถบนี้ คือ ราชวงศ์ศรีนาวนำถมพ่อขุนศรีนาวนำถม เสวยราชย์เมืองเชลียง ตั้งแต่ราว พ.ศ. 1762 พระองค์ทรงมีพระโอรส 2 พระองค์ ได้แก่
1. พ่อขุนผาเมือง ครองเมืองราด-เมืองลุม
2. พระยาคำแหงพระราม ครองเมืองสรลวงสองแคว
ภายหลังพ่อขุนศรีนาวนำถมสิ้นพระชนม์ ขอมสบาดโขลญลำพงเข้ายึดเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยไว้ได้ พ่อขุนผาเมืองและพระสหาย คือพ่อขุนบางกลางหาว:ซึ่งปกครองเมือง นครไทย ร่วมกันปราบปรามจนได้ชัยชนะ พ่อขุนผาเมืองจึงยกเมืองสุโขทัยให้ขุนบางกลางหาว ตั้งราชวงศ์พระร่วงครองเมืองสุโขทัย และได้เฉลิมพระนามเป็นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์

สมัยกรุงสุโขทัย

เมืองสองแคว อยู่ในอำนาจของราชวงศ์ผาเมือง จนกระทั่งในรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จึงได้ยึดเมืองสองแคว ซึ่งเดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย
ครั้นสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ได้เสด็จมาประทับที่เมืองสองแคว พระองค์ได้เอาพระทัยใส่ทำนุบำรุงนำความเจริญเป็นอย่างยิ่ง เช่น การสร้างเหมืองฝาย สนับสนุนให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูก สร้างทางคมนาคมจากเมืองพิษณุโลกไปเมืองสุโขทัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มีการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี และพระศรีศาสดา เพื่อประดิษฐานไว้ใน พระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดใหญ่)
สมัยกรุงศรีอยุธยา
เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แห่งกรุงศรีอยุธยา เสด็จกรีฑาทัพมาหมายจะชิงสุโขทัยคืนจากล้านนา ซึ่งพระยายุทธิษฐิระ พระอนุชาของพระองค์ ได้สวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าติโลกราช จึงทรงสร้างเมืองใหม่ บริเวณเมืองสองแคว และเมืองชัยนาท ขนานนามว่า เมืองพระพิษณุโลกสองแคว โดยทรงหมายมั่นปั้นมือ ให้เป็นราชธานีฝ่ายเหนือ คู่กับ กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา

พิษณุโลกสมัยอยุธยามีความสำคัญยิ่งทางด้านการเมืองการปกครอง, ยุทธศาสตรเศรษฐกิจ, ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม พิษณุโลกเป็นราชธานีในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ตั้งแต่ พ.ศ. 2006-พ.ศ. 2031 รวม 25 ปี นับว่าระยะนี้เป็นยุคทองของพิษณุโลก

ในสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครั้งดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราช ณ เมืองพิษณุโลก ระหว่าง พ.ศ. 2112-พ.ศ. 2133 ได้ทรงปลุกสำนึกให้ชาวพิษณุโลก เป็นนักกอบกู้เอกราชเพื่อชาติไทย ทรงสถาปนา พิษณุโลกเป็นเมืองเอก เป็นการประสานต่อความเจริญรุ่งเรืองจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน


ด้านเศรษฐกิจ

เนื่องจากพิษณุโลกตั้งอยู่บนเส้นทางระหว่างรัฐทางเหนือคือล้านนาและกรุงศรีอยุธยาในทางใต้ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐทั้งสองบางครั้งเป็นไมตรีกันบางครั้งขัดแย้งกัน ทำสงครามต่อกัน มีผลให้เมืองพิษณุโลกได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมประเพณีทั้ง 2 รัฐ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจพิษณุโลกเป็นเส้นทางสินค้า, ของป่าและผลิตผลทางการเกษตร รวมทั้งเครื่องถ้วย โดยอาศัยการคมนาคมผ่านลำน้ำน่านสู่กรุงศรีอยุธยา ซึ่งขณะนั้นเป็นศูนย์กลางของการค้านานาชาติแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเซียตะวันตกเฉียงใต้ ในปัจจุบันที่พิษณุโลก มีหลักฐานชัดเจนว่าเป็นแหล่งผลิตเครื่องถ้วยคุณภาพดี ซึ่งมีอยู่ทั่วไปบริเวณฝั่งแม่น้ำน่านและแม่น้ำแควน้อย โดยเฉพาะที่วัดตาปะขาวหาย พบเตาเผาเครื่องถ้วยเป็นจำนวนมาก พร้อมเครื่องถ้วยจำพวกโอ่ง อ่าง ไห ฯลฯ เครื่องถ้วยเหล่านี้ นอกจากจะใช้ในท้องถิ่นแล้ว ยังเป็นสินค้าส่งออกไปขายต่างประเทศด้วย วินิจฉัยว่าน่าจะเป็นแหล่งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ นับว่าเมืองพิษณุโลกมีความสำคัญยิ่งทางเศรษฐกิจ คือเป็นแหล่งทรัพยากรของกรุงศรีอยุธยา


ด้านการปกครอง

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ จัดระเบียบการปกครองที่เรียกว่า จตุสดมภ์ ได้แก่ เวียง วัง คลัง นา มีอัครเสนาบดีเป็นผู้ช่วยในการบริหารงานคือ สมุหกลาโหม และ สมุหนายก โดยหัวเมืองฝ่ายใต้อยู่ในความดูแลของสมุหกลาโหม และหัวเมืองชายทะเลอยู่ในความดูแลของกรมท่า

ด้านศาสนา

แม้ว่าเมืองพิษณุโลกจะเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ ในสงครามระหว่างอาณาจักรล้านนา-อยุธยา และพม่า-กรุงศรีอยุธยามาตลอด แต่การพระศาสนาก็มิได้ถูกละเลย ดังปรากฏหลักฐานทางโบราณวัตถุโบราณสถาน ชี้ให้เห็นชัดเจนว่าพระพุทธรูปและวัดปรากฏในปัจจุบันเช่น พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี พระศรีศาสดา วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร(วัดใหญ่) วัดจุฬามณี วัดอรัญญิก วัดนางพญา วัดราชบูรณะ วัดเจดีย์ยอดทอง วัดสุดสวาทดิ์ และ วัดวังหิน เหล่านี้ล้วนเป็นศิลปวัฒนธรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือมิฉะนั้นก็ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ของเดิมที่มีมาครั้งกรุงสุโขทัย แสดงว่าด้านพระศาสนาได้มีการบำรุงมาโดยตลอด

ในปัจจุบัน ทั้งพระพุทธชินศรีและพระศรีศาสดาได้ถูกนำประดิษฐานที่กรุงเทพมหานคร มีเรื่องเล่ากันว่า จากเดิมจะนำพระพุทธชินราชมาด้วย แต่เมื่อเอาลงแพ เตรียมที่จะล่องลำน้ำน่านนั้น แพก็ไม่ยอมเคลื่อนที่ แม้จะตรวจเช็คเท่าไหร่ แพก็ไม่ได้ติดอะไร แต่แพที่ใช้ในการย้ายก็ไม่ยอมไหลตามน้ำ จึงทำการบวงสรวงขอขมา แล้วน้ำขึ้นมาประดิษฐานไว้ตามเดิมจนถึงปัจจุบัน ว่ากันว่า ท่านเป็นห่วงเมืองของท่าน จะอยู่ปกป้อง

ในสมัยรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารวัดจุฬามณีขึ้นในปี พ.ศ. 2007 และพระองค์ได้ทรงสละราชสมบัติออกผนวช ณ วัดจุฬามณี อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เมื่อปี พ.ศ. 2008 เป็นเวลา 8 เดือน 15 วัน มีข้าราชบริพารตามเสด็จออกบวชถึง 2,348 รูป และในปี พ.ศ. 2025 ทรงมีพระบรมราชโองการให้บูรณะวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ และให้มีการสมโภชถึง 15 วัน พร้อมกันนั้นได้โปรดให้นักปราชญ์ราชบัญฑิตแต่งมหาชาติคำหลวง จบ 13 กัณฑ์บริบูรณ์ด้วย ต่อมาในสมัยรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ทรงสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองเมื่อ พ.ศ. 2222 และโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานไว้ ณ วัดจุฬามณี พร้อมทั้งจารึกเหตุการณ์สำคัญทางศาสนาในสมัยพระบรมไตรโลกนาถไว้บนแผ่นศิลาด้วย

ในส่วนของวัดสุดสวาทดิ์นั้น ว่ากันว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างในสมัยเดียวกับ วัดนางพญา โดยวัดสุดสวาทดิ์ นั้นเป็นวัดที่กษัตริย์ผู้ปกครองเมืองพิษณุโลก สร้างให้กับมเหสีที่รักมากที่สุด จึงตั้งชื่อให้ว่า "สุดสวาท" และมีการสร้าง พระนางสุดสวาทดิ์ ขึ้นมาด้วย พุทธคุณ เท่ากับ พระนางพญา วัดนางพระญา

ในส่วนของวัดวังหินนั้น ถือว่าเป็นวัดที่มีความสำคัญทางด้านการทหารในสมัยพระนเรศวร อย่างมาก เนื่องจากเป็นวัดที่ใช้ในการจัดทัพ และ ปลุกขวัญกำลังใจให้กับทหาร กำลังพลก่อนที่จะทำการออกศึก โดยวัดนี้ ก็มีการจัดสร้างพระเครื่องที่เชื่อกันว่าถูกสร้างโดยพระนเรศวรด้วย คือ ลีลาวังหิน โดดเด่นทางด้าน คงกระพันชาตรี


ด้านวรรณกรรม

หนังสือมหาชาติคำหลวงได้รับการยกย่องจากวงวรรณกรรมว่า เป็นวรรณคดีโบราณชั้นเยี่ยม นอกจากนี้ยังมีวรรณคดีสำคัญที่นักปราชญ์เชื่อว่านิพนธ์ขึ้นในรัชสมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เช่น ลิลิตยวนพ่าย ลิลิตพระลอ โคลงทวาทศมาส และกำศรวลศรีปราชญ์ เป็นต้น

เมืองพิษณุโลกในสมัยอยุธยา เคยเป็นทั้งราชธานี เมืองลูกหลวง และเมืองเอก ฉะนั้นจึงได้รับความอุปถัมภ์ทะนุบำรุงในทุก ๆ ด้านสืบต่อกันมา นอกจากบางระยะเวลาที่พิษณุโลกอยู่ในสภาวะสงคราม โดยเฉพาะสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาทั้ง 2 ครั้ง ความรุ่งเรืองที่เคยปรากฏก็ถดถอยลงบ้าง แต่ในที่สุดก็หล่อหลอมเป็นวัฒนธรรมของชาวไทย มาจนถึงปัจจุบัน

สมัยกรุงธนบุรี

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเห็นว่าพิษณุโลกเป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ควรมีผู้ที่เข้มแข็งที่มีความสามารถเป็นเจ้าเมือง จึงทรงแต่งตั้งเจ้าพระยายมราช (กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท) เป็นเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราชสำเร็จราชการเมืองพิษณุโลก โดยขึ้นต่อกรุงธนบุรี เมื่อได้ทรงแต่งตั้งผู้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือจนครบถ้วนแล้ว จึงเสด็จกลับไปยังกรุงธนบุรี
พ.ศ. 2318 อะแซหวุ่นกี้ แม่ทัพพม่าผู้ชำนาญการรบ ได้วางแผนยกทัพมาตหัวเมืองฝ่ายเหนือของไทย ตีได้ เมืองตาก เมืองสวรรคโลก บ้านกงธานี และมาพักกองทัพอยู่ที่กรุงสุโขทัย ขณะนั้นเจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์กำลังยกกองทัพขึ้นไปตีเชียงแสน เมื่อทราบข่าวข้าศึก จึงรีบยกทัพกลับมารับทัพพม่าที่เมืองพิษณุโลก ก่อนที่อะแซหวุ่นกี้ยกทัพมาตั้งค่ายล้อมเมืองพิษณุโลก กองทัพพม่าพยายามเข้าตีค่ายไทยหลายครั้ง แต่เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ได้ช่วยป้องกันเมืองเป็นสามารถ ทั้งที่ทหารน้อยกว่าแต่ไม่สามารถชนะกันได้ อะแซหวุ่นกี้ถึงกับกล่าวยกย่องแม่ทัพฝ่ายไทย และขอให้ทั้ง 2 ฝ่ายหยุดรบกัน 1 วัน ทหารทั้งสองฝ่ายรับประทานอาหารร่วมกันด้วย เมื่อแม่ทัพไทยและแม่ทัพพม่ายืนม้าเจรจากันในสนามรบ อะแซหวุ่นกี้ก็เห็นรูปลักษณะของเจ้าพระยาจักรีแล้ว จึงได้กล่าวสรรเสริญ และบอกเจ้าพระยาจักรี ว่า ท่านนี้รูปงามฝีมือก็เข้มแข็ง อาจสู้รบกับเราผู้เป็นผู้เฒ่าได้ จงอุตส่าห์รักษาตัวไว้ ภายหน้าจะได้เป็นกษัตริย์... จงรักษาเมืองไว้ให้มั่นคงเถิด เราจะตีเอาเมืองพิษณุโลกให้จงได้ในครั้งนี้ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อทราบข่าวอะแซหวุ่นกี้ยกกองทัพใหญ่มาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือของไทย พระองค์จึงยกทัพใหญ่ขึ้นไปช่วยหัวเมืองฝ่ายเหนือทันที ฝ่ายอะแซหวุ่นกี้ ทราบข่าวว่ากองทัพไทยมาตั้งค่ายเพื่อช่วยเหลือเมืองพิษณุโลก จึงแบ่งกำลังพลไปตั้งมั่นที่วัดจุฬามณีฝั่งตะวันตก อะแซหวุ่นกี้เห็นว่า ถ้าชักช้าไม่ทันการณ์จึงสั่งให้ทัพพม่าที่กรุงสุโขทัยไปตีเมืองกำแพงเพชร และกองทัพเมืองกำแพงเพชรไปตีเมืองนครสวรรค์ และสั่งให้กองทัพพม่าอีกกองทัพหนึ่งยกไปตีกรุงธนบุรี การวางแผนของอะแซหวุ่นกี้เช่นนี้ เป็นการตัดกำลังฝ่ายไทยไม่ให้ช่วยเมืองพิษณุโลก และต้องการให้กองทัพไทยระส่ำระสาย
ในที่สุดสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีพระราชดำริเห็นว่า ไทยเสียเปรียบเพราะมีกำลังทหารน้อยกว่า จึงควรถอยทัพกลับไปตั้งมั่นรับทัพพม่าที่กรุงธนบุรี เจ้าพระยาจักรีเห็นว่าไทยขาดเสบียงอาหารและใกล้จะหมดทางสู้ จึงตัดสินใจพาไพร่พลและประชาชนชายหญิงทั้งหมด ตีหักค่ายพม่าออกจากเมืองพิษณุโลกไปทางทิศตะวันออกได้สำเร็จ พาทัพผ่าน บ้านมุง บ้านดงชมพู ข้ามเขาบรรทัด ไปตั้งรวมรี้พลอยู่ที่เมืองเพชรบูรณ์ พม่าล้อมเมืองพิษณุโลกนานถึง 4 เดือน เมื่อเข้าเมืองได้ ก็พบแต่เมืองร้าง อะแซหวุ่นกี้จึงสั่งเผาผลาญทำลายบ้านเมืองพิษณุโลกพินาศจนหมดสิ้น คงเหลือเฉพาะวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเท่านั้น

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้นตั้งแต่ช่วงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จนถึงก่อนปฏิรูปการปกครองในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังคงจัดระเบียบการปกครองออกเป็นจตุสดมภ์ แต่ในส่วนภูมิภาคมีการแบ่งเขตการปกครองเป็นหัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก และหัวเมืองประเทศราช
เมืองพิษณุโลกมีฐานะเป็นเมืองเอกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในหัวเมืองฝ่ายเหนือของ ประเทศไทย มีประชากรประมาณ 15,000 คนซึ่งมีชาวจีน ประมาณ 1,112 คน และมีเมืองต่าง ๆ อยู่ในอำนาจการปกครองดูแลหลายหัวเมืองด้วยกัน เช่น เมืองนครไทย ไทยบุรี ศรีภิรมย์ พรหมพิราม ชุมสรสำแดง ชุมแสงสงครามพิพัฒน์ นครชุมทศการ นครพามาก เมืองการ เมืองคำ ประชาชนส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพสำคัญ คือ ทำนา ทำไร่ หาของป่า ทำไม้ และการเกณฑ์แรงงานไพร่ พ.ศ. 2409 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระอุสาหะเสด็จประพาสเมืองเหนืออีก ครั้งหนึ่ง โดยเสด็จทางเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดช และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะนั้นกำลังทรงผนวชเป็นสามเณรก็ ได้ตามเสด็จมาด้วย
เมื่อเสด็จถึงเมืองพิษณุโลกได้ทรงประทับและทรงสมโภชพระพุทธชินราชอยู่ 2 วันจึงเสด็จกลับ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 (เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช) ได้เสด็จประพาสเมืองพิษณุโลกทุกพระองค์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องต่างๆที่พระองค์ได้เสด็จไปทอดพระเนตรในระหว่าง เสด็จประพาส เช่น เรื่องเที่ยวเมืองพระร่วง พระราชปรารภเรื่องพระพุธชินราช และเรื่องลิลิตพายัพ เป็นต้น เอกสารดังกล่าวเหล่านี้ปัจจุบันมีคุณค่าอย่างยิ่งทางด้านประวัติศาสตร์ ส่วนรัชกาลที่ 5 นั้น พระองค์ทรงประทับพระทัยในความศักดิ์สิทธิ์ และความสวยงามขององค์พระพุธชินราช ถึงกับโปรดให้จำลองพระพุทธรูปพระพุทธชินราชไปเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัด เบญจมบพิตร ซึ่งพระองค์ทรงสร้างขึ้นในสมัยนั้น
ครั้งเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สะพานข้ามแม่น้ำน่านหน้าวัดใหญ่ก็ถูกทิ้งระเบิด แต่ทิ้งเท่าไหร่ก็ไม่ถูกเป้าหมาย ทั้งๆที่ในอดีต เป็นสะพานไม้ที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

ตราประจำจังหวัด: รูปพระพุทธชินราช

ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกนนทรี (Peltophorum pterocarpum)
ต้นไม้ประจำจังหวัด: พรรณไม้ปีบ (Millingtonia hortensis)
คำขวัญประจำจังหวัด: พระพุทธชินราชงามเลิศ ถิ่นกำเนิดพระนเรศวร สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ หวานฉ่ำแท้กล้วยตาก ถ้ำและน้ำตกหลากตระการตา

ภูมิศาสตร์

ที่ตั้งและอาณาเขต

จังหวัดพิษณุโลก ตั้งอยู่ภาคเหนือของประเทศไทยห่างจากกรุงเทพฯ 320 กม. มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 10,815 ตร.กม. หรือ 6,759,909 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอพิชัย อำเภอทองแสนขัน อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ และแขวงไชยบุรี ประเทศลาว
ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอเมืองพิจิตร อำเภอวชิรบารมี อำเภอสามง่าม และกิ่งอำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอหล่มสัก อำเภอเขาค้อ และอำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ และอำเภอด่านซ้าย อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอกงไกรลาศ และอำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย และอำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร

ภูมิประเทศและภูมิอากาศ

ลานหินปุ่มทางตอนเหนือและตอนกลางเป็นเขตเทือกเขาสูงและที่ราบสูง โดยมีเขตภูเขาสูงด้านตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งอยู่ในเขตอำเภอวังทอง วัดโบสถ์ เนินมะปราง นครไทย และชาติตระการ พื้นที่ตอนกลางมาทางใต้เป็นที่ราบ และตอนใต้เป็นที่ราบลุ่ม โดยเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำน่านและแม่น้ำยม ซึ่งเป็นแหล่งการเกษตรที่สำคัญที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก อยู่ในเขตอำเภอบางระกำ อำเภอเมืองพิษณุโลก อำเภอพรหมพิราม อำเภอเนินมะปราง และบางส่วนของอำเภอวังทอง

จังหวัดพิษณุโลกมีลมมรสุมพัดผ่านจากมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย และแบ่งฤดูกาลออกได้เป็น 3 ฤดู

ฤดูร้อน ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 32 องศาเซลเซียส
ฤดูฝน จะเริ่มประมาณเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม ปริมาณน้ำฝน เฉลี่ยประมาณปีละ 1,375 มิลลิเมตร
ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - มกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 19 องศาเซลเซียส

หน่วยการปกครอง

แบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ 93 ตำบล 1,032 หมู่บ้าน

อำเภอเมืองพิษณุโลก
อำเภอนครไทย
อำเภอชาติตระการ
อำเภอบางระกำ
อำเภอบางกระทุ่ม
อำเภอพรหมพิราม
อำเภอวัดโบสถ์
อำเภอวังทอง
อำเภอเนินมะปราง

ประชากร

ประชากร ณ พ.ศ. 2547 รวมทั้งสิ้น 718,799 คน เป็นชาย 360,111 คน หญิง 358,688 คน

การคมนาคม

จากลักษณะทางภูมิศาสตร์ทำให้จังหวัดพิษณุโลกเป็นจุดศูนย์กลางในด้านคมนาคมของภูมิภาคอินโดจีน โดยเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างภาคกลางและภาคเหนือ รวมทั้งภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย จังหวัดพิษณุโลกจึงได้รับการขนานนามว่าเป็น "เมืองบริการสี่แยกอินโดจีน" โดยสามารถเดินทางได้โดยทางหลวงหมายเลข 12 ( ตาก - สุโขทัย - พิษณุโลก - หล่มสัก - ขอนแก่น ) ทางหลวงหมายเลข 11 ( ตาคลี - วังทอง - พิษณุโลก - อุตรดิตถ์ - เด่นชัย - ลำปาง - ลำพูน - เชียงใหม่ ) และทางหลวงหมายเลข 117 ( พิษณุโลก - นครสวรรค์ ) โดยทางหลวงทั้ง 3 สายเชื่อมโยงกันด้วยโครงข่ายถนนทางหลวงวงแหวนเลี่ยงเมืองหมายเลข 12
นอกจากการคมนาคมทางรถยนต์แล้ว การเดินทางมาจังหวัดพิษณุโลกยังสามารถมาด้วยรถไฟ หรือเครื่องบินก็ได้ โดยการบินไทย มีเที่ยวบินมายังท่าอากาศยานพิษณุโลกทุกวัน


<a href="http://www.madoosi.com/up_images/201012/ab53ba67f07e6ae95920ffba2f3dfe38_1.swf" target="_blank" class="new_win">http://www.madoosi.com/up_images/201012/ab53ba67f07e6ae95920ffba2f3dfe38_1.swf</a>



คมสัน ภู่ระหงษ์ (พีเอส พิดโลก) 840/7 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทร.094-7965163


ออฟไลน์ โต้.บ้านนามิวสิค พล.

  • สรรค์สร้างความบันเทิง
  • มือกลอง
  • *****
    • กระทู้: 463
  • พี ซาวด์ พิษณุโลก
ประวัติหลวงพ่อ "พุทธชินราช"




พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก พระพุทธชินราชเป็นพระพุทธรูปสำคัญของคนไทย พระพุทธชินราช องค์ที่ประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลกนั้น เป็นที่ รู้กันว่ามีความสำคัญมากองค์หนึ่ง และถูกยกย่องว่า “งาม” ที่สุดในบรรดาพุทธรูปทั้งหลายในเมืองไทย พระพุทธชินราช ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารใหญ่ด้านทิศตะวันตกของวัด ซึ่งเป็นด้านหน้าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หน้าตักกว้าง ๕ ศอก คืบ ๕ นิ้ว ผันพระพักตร์ไปทางแม่น้ำ

ประวัติการสร้าง ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในปีใด แต่ก็มีการสันนิษฐานโดยอ้างอิงตามพงศาวดารเหนือ คาดว่า"พระพุทธชินราช" น่าจะสร้างพร้อมกับพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ในรัชสมัย พระมหาธรรมราชาที่ 1(ลิไท)

จากนั้นจึงมีการลงรักปิดทององค์พระเป็นครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และได้มีการบูรณะ ลงรักปิดทองอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 และมีการบูรณะครั้งล่าสุดในรัชกาลที่ 9 พระพุทธชินราชนี้เป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยสุโขทัย หมวดพระพุทธชินราช ลักษณะขององค์พระเส้นรอบนอกพระวรกายอ่อนช้อย พระขโนงโก่ง พระเนตรประดุจตากวาง พระนาสิกโด่ง ชายผ้าสังฆาฏิแยกเป็นเขี้ยวตะขาบ นิ้วพระหัตถ์ทั้ง 4 ยาวเสมอกัน อยู่ในลักษณะปางมารวิชัย ด้านซ้ายและขวาขององค์พระ มียักษ์ 2 ตน คอยปกปักรักษาองค์พระอยู่ อีกทั้งยังมีพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตรเป็นอัครสาวกอยู่ด้วย

นอกจากนี้แล้วยังมีซุ้มเรือนแก้วที่คาดว่าน่าจะสร้างในสมัยอยุธยาลักษณะเป็นรูปตัวเหรา ถือเป็นศิลปะที่สวยงามมากอย่าหนึ่ง พระพุทธชินราชประดิษฐาน ในวิหารลักษณะเก้าห้อง ซึ่งมีการบูรณะปฏิสังขรณ์มาอย่างต่อเนื่องจนมาถึงปัจจุบัน ทำให้องค์พระสวยงามบริบูรณ์อย่างในปัจจุบัน และในประวัติศาสตร์ยังพบว่ากษัตริย์ในทุกๆสมัยของไทยให้ความเคารพและศรัทธา ต่อองค์พระพุทธชินราช มาอย่างต่อเนื่อง ทุกๆพระองค์

พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปสำคัญ ซึ่งพระมหากษัตริย์ไทยทรงเคารพนับถือสักการะบูชา มาแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา ดังมีรายพระนามที่ปรากฎในพงศาวดาร คือ สมเด็จพระราเมศวร สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร สมเด็จพระมหาธรรมราชา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเพทราชา พระเจ้าบรมโกฐ พระเจ้ากรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี องค์ต่อ ๆ มาเกือบทุกพระองค์

ประเพณี

ประเพณีสรงน้ำประจำปีในเทศกาลสงกรานต์ ในอดีตเคยมีประเพณีการห่มผ้าองค์หลวงพ่อแต่ปัจจุบันได้ยกเลิกไปเนื่องจาก เกรงว่าจะเป็นการทำให้องค์พระชำรุด


การขึ้นทะเบียน

กรมศิลปากร ขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 ตอนที่ 34 วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479
กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศเป็นพระพุทธรูปสำคัญ ตามบัญชีแนบท้ายระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการก่อสร้างอนุสาวรีย์แห่งชาติ และการจำลองพระพุทธรูปสำคัญ พ.ศ. 2520
คมสัน ภู่ระหงษ์ (พีเอส พิดโลก) 840/7 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทร.094-7965163


ออฟไลน์ โต้.บ้านนามิวสิค พล.

  • สรรค์สร้างความบันเทิง
  • มือกลอง
  • *****
    • กระทู้: 463
  • พี ซาวด์ พิษณุโลก
สถานที่ท่องเที่ยว แนวประวัติศาสตร์ ของพิษณุโลก ตามศาสนสถาน ต่างๆๆครับ


วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือ วัดใหญ่
เป็นวัดสำคัญที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออกริมถนนพุทธบูชา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง เป็นวัดหลวงชั้นเอก “วรมหาวิหาร” ภายในวิหารของวัดเป็นที่ประดิษฐาน “พระพุทธชินราช” หรือที่ชาวเมืองพิษณุโลกเรียกว่า “หลวงพ่อใหญ่” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) โปรดให้สร้างขึ้นพร้อมกับพระพุทธชินสีห์ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดสุทัศน์เทพวราราม และพระศรีศาสดา ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหารพุทธลักษณะของพระพุทธชินราชนั้นสวยงาม มาก เส้นรอบนอกพระวรกายอ่อนช้อย พระขนงโก่ง พระเกตุมาลาเป็นเปลวเพลิง พระหัตถ์มีปลายนิ้วทั้งสี่เสมอกัน ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษเรียกว่า ทีฒงฺคุลี ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในโลก มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาชมและสักการบูชาพระพุทธชินราช เป็นจำนวนมาก ทุก ๆ ปี จะมีงานนมัสการพระพุทธชินราชในวันขึ้น 6 ค่ำ ถึงวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 3 (ประมาณปลายเดือนมกราคม) เรียกว่า “งานวัดใหญ่”

ทางเข้าพระวิหารด้านหน้ามีบาน ประตูขนาดใหญ่ประดับมุกสวยงามสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2299 เป็นฝีมือช่างหลวงสมัยอยุธยาตอนปลาย ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมโกศ

บริเวณหลังวิหารพระพุทธชินราช มีพระอัฏฐารส ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติสูง 18 ศอก สร้างในสมัยเดียวกับพระพุทธชินราช ราว พ.ศ. 1800 เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารใหญ่แต่วิหารได้พังไปจนหมด เหลือเพียงเสาที่ก่อด้วยศิลาแลงขนาดใหญ่ 3-4 ต้น เรียกว่า “เนินวิหารเก้าห้อง”

ด้านหลังพระอัฏฐารส เป็นพระปรางค์ประธาน สร้างแบบสมัยอยุธยาตอนต้น ฐานย่อเหลี่ยมไม้ยี่สิบ สันนิษฐานว่าเดิมเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (ดอกบัวตูม) ซึ่งถือว่าเป็นสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัยแท้ ต่อมาถูกแปลงให้เป็นพระปรางค์ในสมัยอยุธยา

นอกจากนี้ยังมี “พระเหลือ” ซึ่งพระยาลิไทรับสั่งให้ช่าง นำเศษทองสัมฤทธิ์ที่เหลือจากการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา มารวมกันหล่อพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดเล็ก และพระสาวกยืนอีก 2 องค์ ประดิษฐานในวิหารน้อย เรียกยกว่า “วิหารพระเหลือ”



วัดนางพญา
ตั้งอยู่บริเวณเดียวกับวัดราชบูรณะ ถัดไปทางทิศตะวันออก มีลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยเดียวกับวัดราชบูรณะ ต่างกันที่วัดนางพญาไม่มีพระอุโบสถมีแต่วิหาร มีการพบกรุพระเครื่อง “นางพญา” ซึ่งมีชื่อเสียงของจังหวัดพิษณุโลกเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2444 และครั้งหลังเมื่อ พ.ศ. 2497



วัดจุฬามณี
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก ห่างจากตัวเมืองพิษณุโลกไปตามทางถนนบรมไตรโลกนารถ ประมาณ 5 ก.ม. วัดจุฬามณีเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดของจังหวัด เคยเป็นที่ตั้งของเมืองพิษณุโลกเดิม ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถทรงสร้างพระวิหารและเสด็จออกผนวชที่วัดนี้ เมื่อ พ.ศ. 2007 เป็นเวลา 8 เดือน 15 วัน โดยมีข้าราชบริพาร ออกบวชตามเสด็จถึง 2,348 รูป

วัดนี้มีโบราณสถานสำคัญคือ มณฑปพระพุทธบาทจำลองและศิลาจารึก ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้โปรดสร้างขึ้นในแผ่นจารึกมีใจความสรุปได้ว่า เมื่อ พ.ศ. 2221 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงมีพระบรมราชโองการให้ใช้ผ้าทาบรอยพระพุทธบาท สลักลงบนแผ่นหิน พระราชทานไว้เป็นที่กราบไหว้ของฝูงชน นอกจากนี้ยังมีสิ่งสำคัญที่มีค่าสูงทางศิลปะ คือ ปรางค์แบบขอม ขนาดเล็ก ฐานกว้าง 11 เมตร ยาว 18 เมตร ก่อด้วยศิลาแลง ปั้นปูนประดับลวดลายเป็นรูปหงส์สวยงามมาก



ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ตั้งอยู่ในบริเวณโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมข้างศาลากลางจังหวัด เดิมคือพระราชวังจันทน์ ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภายในศาลประดิษฐานรูปหล่อของพระองค์ ขณะทรงหลั่งน้ำประทักษิโณทก ประกาศอิสรภาพกรุงศรีอยุธยา กรมศิลปากรดำเนินการสร้าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเปิดศาลนี้เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2504 ทางจังหวัดพิษณุโลกจึงถือเอาวันที่ 25 มกราคมของทุกปี เป็นวันจัดงานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ศาลนี้เป็นที่เคารพนับถือของชาวพิษณุโลกเป็นอย่างมาก นักท่องเที่ยวควรแวะชมและสักการะ



พระราชวังจันทน์
พระราชวังจันทน์เป็นสถานที่พระราชสมภพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม โดยเมื่อเดือนมีนาคม 2535 กรมศิลปากรได้ขุดค้นพบแนวเขตพระราชฐานพระราชวังจันทน์ในบริเวณโรงเรียน ซึ่งนับว่าเป็นการขุดค้นทางโบราณคดีและทางประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของ จังหวัด ในปัจจุบันทางกรมศิลปากรได้กลบหลุมขุดค้นบางส่วน เพื่อเป็นการอนุรักษ์โบราณสถานไว้ จนกว่าจะมีการขุดค้นอย่างจริงจังอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ยังมีโบราณสถานบางส่วน ที่ยังไม่ได้กลบไว้ให้ผู้สนใจได้ชมและศึกษาต่อไป



พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าสิบเอก ดร. ทวี-พิมพ์ บูรณเขตต์
ตั้งอยู่ตรงข้างกับโรงหล่อพระบูรณะไทย ถนนวิสุทธิกษัตริย์ อำเภอเมืองพิษณุโลก เป็นที่เก็บรวบรวมศิลปะพื้นบ้าน ตั้งแต่ชิ้นเล็ก ๆ จนถึงชิ้นใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักสาน เครื่องปั้นดินเผา เครื่องใช้ในครัวโบราณ และเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ เช่น เครื่องวิดน้ำด้วยมือ เครื่องสีข้าว เครื่องดักสัตว์ ตลอดจนเครื่องมือในการจับหนูและแมลงสาบ

จ่าสิบเอก ดร. ทวี บูรณเขตต์ ได้รับการยกย่องว่าเป็น “คนดีศรีพิษณุโลก” คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติยกย่องให้เป็น “บุคคลดีเด่นทางวัฒนธรรมสาขาการช่างฝีมือ” ประจำปี 2526 และสภามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเสนอชื่อเข้ารับพระราชทานปริญญาศิลปศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขาศิลปะ เมื่อปี พ.ศ. 2527 เนื่องจากเป็นผู้ที่มีฝีมือในทางประติมากรรม และเป็นผู้อนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้านโดยเฉพาะศิลปะของล้านนาไทยไว้มากที่สุด

พิพิธภัณฑ์นี้ เปิดให้เข้าชมทุกวันโดยไม่เก็บค่าเข้าชม ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ โทร. (055) 252-121



เรือนแพ
เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของพิษณุโลก บริเวณสองฝั่งแม่น้ำน่านในเขตอำเภอเมืองพิษณุโลกมีเรือนแพตั้งเรียงรายไปตาม ลำน้ำจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ ชีวิตชาวแพเป็นชีวิตที่เรียบง่าย นักทัศนาจรนิยมถ่ายภาพไว้เป็นที่ระลึกเพราะเป็นภาพที่หาดูไม่ได้ง่ายนัก

คมสัน ภู่ระหงษ์ (พีเอส พิดโลก) 840/7 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทร.094-7965163


ออฟไลน์ โต้.บ้านนามิวสิค พล.

  • สรรค์สร้างความบันเทิง
  • มือกลอง
  • *****
    • กระทู้: 463
  • พี ซาวด์ พิษณุโลก
สถานที่ ท่องเที่ยวในความสุข ในจังหวัดพิษณุโลก

ล่องแก่งลำน้ำเข็ก

ที่ตั้ง

ลำ น้ำเข็กเป็นลำน้ำที่กำเนิดจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ในเขตอำเภอเขาค้อ ไหลผ่านอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง เนื่องจากผ่านเทือกเขาที่ลดหบลั่นเป็นลำดับ จึงมีน้ำตกและเกาะแก่งตามลำน้ำแห่งนี้อยู่มากมาย อาทิ น้ำตกศรีดิษฐ์ น้ำตกแก่งโสภา ที่เลื่องชื่อของพิษณุโลก น้ำตกปอย น้ำตกแก่งซองและน้ำตกสกุโณทยาน แล้วไหลผ่านอำเภอวังทอง ซึ่งนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า แม่น้ำวังทอง ไปรวมกับแม่น้ำน่านที่อำเภอบางกระทุ่ม จุดลงล่องแก่งลำน้ำเข็กสามารถลงได้หลายจุด บริเวณบ้านทรัพย์ไพรวัลย์ อ.วังทอง จ.พิษณุโลก ช่วง กม.ที่ 52 - 53

ลักษณะน้ำ

เป็น ลำน้ำที่มีขนาดปานกลางไม่ใหญ่นัก และมีเกาะแก่งสวยงาม คดเคี้ยวบ้าง ตรงบ้าง ฤดูฝน ปริมาณน้ำมาก มีระดับสูง ไหลแรงมีสีขุ่น ฤดูแล้ง น้ำน้อย สีใส สองฟากฝั่งสวยงามร่มรื่นด้วยป่าไม้ตามธรรมชาติ มีนกกระยาง และนกอื่น ๆ อาศัยอยู่มาก มีปลาหลายชนิด

จุดเด่นของลำน้ำและกิจกรรม

ลำ น้ำเข็กเป็นลำน้ำที่สามารถนำเรือยางมาใช้ล่องแก่งได้อย่างสนุกสนานเร้าใจ ตลอดเส้นทาง คือ ระยะทางล่องแก่งประมาณ 7-8 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลา 2 - 3 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับระดับกระแสน้ำที่ไหลเคียงคู่ขนานกับทางหลวงหมายเลข 12 (เส้นทางพิษณุโลก-หล่มสัก ที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น The Green Route) เข้าถึงสะดวก สามารถเลือกจุดขึ้นลงได้ตามความเหมาะสม ระดับความท้าทายมีตั้งแต่ระดับความง่ายไปจนถึงยากระดับ 1 - 5 ซึ่งถือว่ามีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ที่มีความพิเศษตรงที่เริ่มจากผ่านเกาะแก่งที่ง่ายไปถึงยากตามลำดับ หากไม่ต้องการล่องแก่งต่อก็สามารถพายเรือยางเข้าหาฝั่งและขึ้นรถได้ ระหว่างเส้นทางล่องแก่ง มีทัศนยภาพที่สวยงามของป่าไม้สองข้างทาง พบเกาะแก่งมากมาย กระจายอยู่ตามลำน้ำเป็นระยะไม่น่าเบื่อ มีระยะให้พัก และเตรียมตัวก่อนลงแก่งต่อไป ฝึกการทำงานเป็นหมู่คณะ การระดมความคิดและความสามัคคี รวมทั้งได้ออกกำลังกายกึ่งผจญภัยที่ท้าทาย สนุกสนานและได้รับคามรู้ เมื่อถึงจุดขึ้นจากเรือยาง สามารถพักผ่อนชิมกาแฟสดแก่งซอง กาแฟท้องถิ่นพันธุ์ดี รสชาติดี กลิ่นหอม กลมกล่อมไม่แพ้ที่อื่น หรือเลือกเข้าที่พักในบ้านพักรีสอร์ทสวย หรือเข้าห้องน้ำ อาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าเดินทางต่อไปได้

ข้อควรระวังในการล่องแก่งลำน้ำเข็ก

ลำ น้ำเข็กค่อนข้างจะมีความรุนแรงเชี่ยวกรากในช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกชุก แต่ในช่วงฤดูฝนนั้นนักท่องเที่ยวสามารถเล่นเรือยางล่องแก่งต่างๆ ได้อย่างสนุกสนานเร้าใจเป็นอย่างมาก

ฤดูการล่องแก่งที่เหมาะสม

ตั้งแต่เดือนมิถุนายน-ตุลาคม ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนในแต่ละปี



:: แหล่งท่องเที่ยว :: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::

น้ำตกชาติตระการ   เป็นน้ำตกที่มีอยู่ถึง 7 ชั้น แต่ละชั้นมีความสวยงามตามธรรมชาติที่แตกต่างกันออกไป มีชื่อเรียกตามชั้นต่าง ๆ ดังนี้ ชั้นที่ 1 ชื่อ “มะลิวัลย์” เป็นน้ำตกที่ตกจากช่องผาสูงประมาณ 30 เมตร น้ำตกจะตกลงสู่ธารน้ำซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นแอ่งวงกลมเหมาะสำหรับลงเล่นน้ำ บริเวณริมแอ่งน้ำ เป็นหาดทรายเล็กๆ สวยงามมาก ชั้นที่ 2 ชื่อ “กรรณิการ์” ลักษณะของน้ำตกจะลดหลั่นลงมาตามโขดหินเป็นชั้นๆ ดูสวยงาม แต่ไม่เหมาะต่อการลงเล่นน้ำ เพราะน้ำจะไหลวนลงสู่ชั้นที่ 1 ชั้นที่ 3 ชื่อ “การะเกด” มีความสวยงามพอสมควร น้ำตกชั้นที่ 4 ชื่อ “ยี่สุ่นเทศ” น้ำไหลเป็นสายกว้างลงสู่แอ่งน้ำน่าลงเล่นน้ำ น้ำตกชั้นที่ 5 ชื่อ “เกศเมือง” ชั้นที่ 6 ชื่อ “เรืองยศ” และชั้นที่ 7 ชื่อ “รจนา” ทั้ง 3 ชั้น เป็นน้ำตกเล็กๆ หน้าผาบริเวณน้ำตก มีสภาพธรรมชาติที่สวยงามมีสีสรรต่างๆ บริเวณหน้าผาน้ำตกชั้นที่ 1 ในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน จะมีฝูงผึ้งบินมาทำรังเป็นจำนวนมากเป็นสิ่งที่แปลกตามธรรมชาติ

น้ำตกนาจาน   อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปทางบ้านนาจาน 3 กิโลเมตร จากบ้านนาจานเดินเท้าอีกประมาณ 3 กิโลเมตร ลักษณะเป็นน้ำตกขนาดกลางมีทั้งหมด 7 ชั้น เริ่มจากชั้นที่ 1 จะมีลักษณะไหลเอื่อยๆ ไม่สูงนัก ชั้นนี้จะมีหินมากและลื่น ชั้นที่ 2 จะมีลักษณะที่สวยงามมาก สูงประมาณ 7-10 เมตร ทางลงเป็นดินค่อนข้างลื่น ชั้นที่ 4 มีความสวยงามเป็นพิเศษ น้ำตกไหลลงมาพร้อมกันที่เดียว 3 สาย สูงประมาณ 20 เมตร และกว้างประมาณ 50 เมตร น้ำตกนาจานชั้นที่ 1-4 อยู่ห่างกันไม่มากนัก ชั้นที่ 4-5 อยู่ห่างกันประมาณ 200 เมตร ชั้นที่ 5-6 ห่างกันประมาณ 100 เมตร ชั้นที่ 6-7 ห่างกันประมาณ 30 เมตร สภาพเส้นทางจะมีความลาดชันปานกลาง หากนักท่องเที่ยวประสงค์จะเที่ยวชม ควรติดต่อเจ้าหน้าที่ ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติเพื่อนำเที่ยว

น้ำตกผาคุคา หรือน้ำตกนาหิน   อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ชก.4 (น้ำกุ่ม) ประมาณ 4 กิโลเมตร ต้องเดินเท้าจากวัดชัยวราราม (วัดนาหิน) เป็นระยะทางประมาณ 1,500 เมตร เป็นน้ำตกชั้นเดียวที่ตกจากหน้าผาสูง 50 เมตร ลงมายังแอ่งน้ำ แล้วไหลลอดผ่านช่องหินมาเป็นลำธารเบื้องล่าง ลักษณะคล้ายห้องขนาดใหญ่ มีน้ำไหลตลอดปี ในช่วงฤดูฝนจะมีน้ำไหลสองสายมีความสวยงามอย่างยิ่ง สำหรับในช่วงฤดูแล้ง จะมีน้ำไหลเพียงสายเดียว แต่ก็มีความสวยงามไม่แพ้กัน สภาพป่าทั่วไปเป็นป่าเบญจพรรณ ที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์

เขาช้างล้วง   มีสัณฐานคล้ายลูกช้างหมอบ เป็นดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ที่มีตำนานเล่าขานสืบทอดกันมาว่า เป็นสถานที่ปักธงแห่งพ่อขุนบางกลางท่าวหรือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เจ้าเมืองบางยาง ก่อนและหลังทำศึกสงครามประเพณีปักธงชัยเป็นประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญของชาว อำเภอนครไทย ที่จัดขึ้นระหว่างวันขึ้น 14-15 ค่ำ เดือน 12 จากที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ชก.2 (เขาช้างล้วง) ขึ้นไปประมาณ 4 กิโลเมตร จะถึงเขาฉันเพลซึ่งเป็นหินก้อนใหญ่สูงประมาณ 15 เมตร สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของอำเภอนครไทยได้โดยรอบ เมื่อเดินทางต่อไปอีกประมาณ 400 เมตร จะถึงเขายั่นไฮ มีลักษณะเป็นหน้าผาตระหง่านสูงประมาณ 15 เมตร และมีบันไดขึ้นสู่ยอดเขาเพื่อดูทิวทัศน์ของอำเภอนครไทย และเป็นสถานที่ปักธงชัยอีกแห่งหนึ่ง จากจุดนี้สามารถมองเห็นยอดเขาช้างล้วง จากนั้นเดินทางต่อ จากเขายั่นไฮไปอีกประมาณ 100 เมตร จะถึงยอดเขาช้างล้วงซึ่งสูงประมาณ 15 เมตร เป็นสถานที่ที่ชาวอำเภอนครไทย นำธงขึ้นไปปัก และเป็นเทือกเขาที่สวยงามแปลกตาเป็นอย่างมาก สภาพป่าทั่วไปเป็นป่าเต็งรัง

ผาแดง   เป็นหน้าผาชัน ลักษณะเป็นหินทรายสีแดงสวยสดงดงามตามธรรมชาติ ตั้งอยู่ถัดจากน้ำตกชาติตระการ ชั้นที่ 4 ไปทางขวามือประมาณ 450 เมตร บริเวณผาแดงจะเป็นจุดชมทิวทัศน์ สามารถมองลงมาเบื้องล่างได้ซึ่งจะเห็นสภาพป่าสมบูรณ์ และภาพบ้านเรือนของอำเภอชาติตระการ การประกอบอาชีพเกษตร ปลูกข้าว ทำนา เขียวสะพรั่ง



เขื่อนแควน้อยในพระราชดำริ

ที่ตั้งอยู่ในเขต ต.คันโช้ง อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก



คมสัน ภู่ระหงษ์ (พีเอส พิดโลก) 840/7 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทร.094-7965163


ออฟไลน์ โต้.บ้านนามิวสิค พล.

  • สรรค์สร้างความบันเทิง
  • มือกลอง
  • *****
    • กระทู้: 463
  • พี ซาวด์ พิษณุโลก
เงียบจริงๆๆๆ พิดโลก brow brow brow
คมสัน ภู่ระหงษ์ (พีเอส พิดโลก) 840/7 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทร.094-7965163


ออฟไลน์ manwood2006

  • นนส.ทบ. รุ่นที่ 2/41
  • มือกีตาร์
  • ****
    • กระทู้: 170
เงียบจริงๆๆๆ พิดโลก brow brow brow


ช่วงนี้คนออน ฯ  น้อย  ต้องเข้าใจ   คนสองแคว  มารายงานตัวครับ
พิเชษฐ  ละลอกแก้ว 
ที่บ้าน 128/320/29 ม.2 ต.อรัญญิก  อ.เมือง  จ.พิษณุโลก  65000  โทร.089-4394820
บัญชี ธ.กรุงไทย ออมทรัพย์ สาขา อ.เมือง จ.พิษณุโลก


ออฟไลน์ ปุ๊ ปักธงชัย

  • ข้องใจอะไร ถาม ตามลายเซ็นเลยน่ะครับ
  • มือกีตาร์
  • ****
    • กระทู้: 296
  • ว่าจะกลับมากินเจ แต่ช่วงนี้กินแกรบไปก่อนแล้วกัน
โคราช ช่วย1เสียงครับ อิอิ
087-8345730
นาวิน(ช่างปุ๊)เปจะโป๊ะ
ที่ปรึกษารองนายกเทศมนตรีเมือง เมืองปัก
เจ้าพนักงาน กรมทางหลวง
5/2ม.17
ต.เมืองปัก อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา30150
ธ.กรุงไทย3040210254
สาขา ปักธงชัย อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา


ออฟไลน์ โต้.บ้านนามิวสิค พล.

  • สรรค์สร้างความบันเทิง
  • มือกลอง
  • *****
    • กระทู้: 463
  • พี ซาวด์ พิษณุโลก
เงียบจริงๆๆๆ พิดโลก brow brow brow


ช่วงนี้คนออน ฯ  น้อย  ต้องเข้าใจ   คนสองแคว  มารายงานตัวครับ

สวัสดีครับพี่ พิเชษฐ เป็นไงบ้างครับพี่ มีโปรแกรมไปไหนเปล่าครับ ปีใหม่
คมสัน ภู่ระหงษ์ (พีเอส พิดโลก) 840/7 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทร.094-7965163


ออฟไลน์ โต้.บ้านนามิวสิค พล.

  • สรรค์สร้างความบันเทิง
  • มือกลอง
  • *****
    • กระทู้: 463
  • พี ซาวด์ พิษณุโลก
โคราช ช่วย1เสียงครับ อิอิ

สวัสดีครับ พี่ปุ๊ ขอบคุณครับ

โคราชเป็นไงบ้างครับพี่ งานเยอะเปล่าครับ
คมสัน ภู่ระหงษ์ (พีเอส พิดโลก) 840/7 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทร.094-7965163


ออฟไลน์ โต้.บ้านนามิวสิค พล.

  • สรรค์สร้างความบันเทิง
  • มือกลอง
  • *****
    • กระทู้: 463
  • พี ซาวด์ พิษณุโลก
สวัสดี ท่าน สไปเดอร์แมน ด้วยนะครับ

 brow brow brow

ปีใหม่ไปไหนอ่ะครับ น้า
คมสัน ภู่ระหงษ์ (พีเอส พิดโลก) 840/7 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทร.094-7965163


ออฟไลน์ โต้.บ้านนามิวสิค พล.

  • สรรค์สร้างความบันเทิง
  • มือกลอง
  • *****
    • กระทู้: 463
  • พี ซาวด์ พิษณุโลก
พี่น้อง ชาว สองแคว เงียบจังเลยครับ
คมสัน ภู่ระหงษ์ (พีเอส พิดโลก) 840/7 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทร.094-7965163



ออฟไลน์ พวงมาลัย มิวสิค

  • มือกลอง
  • *****
    • กระทู้: 692
สุโขทัยด้วยคนนะครับ อยู่ทั้งพิดโลก และ โขทัยครับ loveit loveit
ติดต่อ 084-387-6669 ท้อป
http://upic.me/i/jl/mt3vp.png[/img]


ออฟไลน์ โต้.บ้านนามิวสิค พล.

  • สรรค์สร้างความบันเทิง
  • มือกลอง
  • *****
    • กระทู้: 463
  • พี ซาวด์ พิษณุโลก
สุโขทัยด้วยคนนะครับ อยู่ทั้งพิดโลก และ โขทัยครับ loveit loveit

ครับ ยินดีต้อนรับครับ และที่ได้รู้จักครับผม



น่าไปเที่ยวจัง...อิอิ

มาเที่ยวสิครับ จะพาไปไหว้พระ 9 วัด ครับ น้าเอก อิอิ
คมสัน ภู่ระหงษ์ (พีเอส พิดโลก) 840/7 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทร.094-7965163


yoddoy

  • บุคคลทั่วไป
สุโขทัยด้วยคนนะครับ อยู่ทั้งพิดโลก และ โขทัยครับ loveit loveit

ครับ ยินดีต้อนรับครับ และที่ได้รู้จักครับผม



น่าไปเที่ยวจัง...อิอิ

มาเที่ยวสิครับ จะพาไปไหว้พระ 9 วัด ครับ น้าเอก อิอิ

รอสักนิดครับ..กำลัีงจะแต่งงานใหม่..อิอิ

จะได้ไปกราบพระครบเก้าวัดก้อคราวนี้แหล่ะ...อิอิ ขอบคุณนะ