ประเภท : POWER AMPLIFIER
ยี่ห้อ :
รุ่น : I-Tech 8000
ภาคจ่ายไฟ : Switching PFC
น้ำหนัก : 12 Kgs.
ผลิตในบระเทศ : USA
การทำงานแบบคลาส : I
ราคามือ 1 : 220,000
ราคามือ 2 : 90,000
แดมปิ้งเฟ็คเตอร์ : 5000
กำลังขับ : 2 X 2100 at 8 Ohm
2 X 4000 at 4 Ohm
2 X 3500 at 2 Ohm
!!!ดาวน์โหลด คู่มือ Spec คลิกที่นี่!!!วิวัฒนาการของ Power amplifier ในปัจจุบันได้พัฒนาไปมาก เกินที่ช่างๆอย่างเราๆยากที่จะตามทัน มี่รุ่นใหม่ออกมาเรื่อยๆ จากเมื่อแต่ก่อน จะต้องมีภาคจ่ายไฟเป็นหม้อแปลง หนักอึ้ง ภาคขยาย เป็นแอมป์ แบบ Analog ล้วนๆ Heat sink อันมหึมา Power out put เรียงเป็นตับ เสียงพัดลม ดังอย่างกับพายุเข้า แต่กำลังวัตต์ มันช่างสวนทางกับน้ำหนักเสียจริงๆครับ อย่างเก่งก็ 500 วัตต ต่อข้าง แต่สำหรับลำโพงเมื่อยุคก่อน ก็ถือว่าเพียงพอครับ
แต่ปัจจุบันนี้ผู้ผลิต Power amp ชั้นนำทั่วโลกต่างก็หันมาพัฒนาแอป์น้ำหนักเบา กำลังวัตต์สูง เรียกว่า แตะ 10000 วัตต์ กันเลยครับ สำหรับรุ่น Top แต่น้ำหนัก ประมาณแค่ 10 กว่ากิโล เท่านั้นครับ จากภาคจ่ายไฟที่เป็นหม้อแปลง ก็เปลียนเป็นระบบ Switching power supply ครับ เรียกได้ว่า หม้อแปลงใกล้จะสูญพันธ์แน่นอนครับ แต่บ้านเรา แอมป์ที่ใช้หม้อแปลงก็ยังมีออกมาให้เห็นบ้างครับ
ส่วนภาค Power amp นั้นแต่ละค่าย ก็ได้ พัฒนาวงจร Power amp ที่มีประสิทธิภาพสูง สูญเสียในรูปแบบความร้อนที่ต่ำ ซึ่งผลพลอยได้ จากการออกแบบวงจรที่มีประสิทธิภาพสูง ก็คือประหยัดต้นทุนครับ เพราะ อะไหล่ภาคขยายกำลัง ใช้น้อยลง ไม่ต้องใช้แผงระบายความร้อนทีใหญ่และมีราคาแพง ภาคจ่ายไฟ ไม่ต้องออกแบบเผื่อกำลัง เหมือนแต่ก่อน
ซึ่ง Poweramp ที่ผมกล่าวมาข้างต้น แบ่งการทำงานของ ภาค Output เป็นจำพวกใหญ่ๆได้ 2 แบบครับ (ผมมั่วเอาเองครับ)
แบบแรก เป็นแบบ Analog Amplifier เช่น Class TD ของ แลป แห่ง Sweden , EEEngine ของ น้อง Yamaha ซึ่งเอา Power amp แบบ Class-AB มาต่อยอด การจ่ายพลังงานให้กับภาค Out-put อย่างชาญฉลาด
แบบที่ 2 เป็นแบบ Digital Amplifier ครับ ยกตัวอย่างเช่น Class-D ครับ และตัวที่ผมจะเอามาให้ชมต่อไปนี้ก็คือ Class-I technology ของ Crown ครับซึ่ง 2 อย่างนี้เสียงไม่เหมือนกันครับ แต่กต่างกันอย่างไร คงต้องลองหาฟังกันเอาเองครับ
ฝอยมาตั้งนานยังไม่ได้เรื่มเลย มาดูกันเลยครับ ด้านหน้า เป็น Aluminium ฉีด พ่นด้วยสีฝุ่น สีเงิน Silver สวยงามดูทันสมัยครับ ด้านบนเป็นทางเข้าอากาศระบายความร้อนถูกกรองด้วย Filter กันฝุ่น ส่วนตรงกลางเป็นจอ LCD แสดงผล และ Led indicator ครบครันครับ
ด้านหลังสีสันสดใสอาจจดูแปลกตาสักหน่อยครับ ผมเข้าใจว่าคงจะ แบ่ง Zone ให้ดูง่ายครับ
สีฟ้า เป็น Analog in-put สีเขียวเป็น Digital in-putส่วนสีม่วง เป็น ระบบ Network ครับ
ด้านหลัง เป็นทางเข้าของ ไฟ AC ครับ ใช้ได้ทั่วโลกครับ 100-240 VAC ครับ พร้อม Clip lock กันหลวมครับ และมี Breaker อนุกรมไว้กับ Main ครับ ส่วนพัดลมตัวจิ๋วนั้น มีหน้าที่ระบายความร้อนให้กับภาคจ่ายไฟครับ ซึ่งได้แบ่ง Zone อิสระจากภาค Power amp ครับ ถูกควบคุมด้วยระบบ Termal level control ครับ เวลาทำงานเสียงดังไปหน่อยครับ ดูแวปๆ น่าจะเป็นของ Nidec ครับ ผลิตอยู่รังสิตหรือเปล่าน้อ...
ถัดมาอีกหน่อย จะเป็นศูนย์รวมของ In-put ครับ ทั้งแบบ Analog และ Digital ครับ ล้วนใช้แต่ของ Neutrik คุณภาพสูงครับ ทางด้าน Digital in-put เป็นแบบ AES/EBU ครับ ซึ่งจะรับสัญญาณจาก Mixer digital มาถอดรหัสได้ด้วยตัวเองครับ
*ดูรายละเอียดที่ภาพ 1.1 ครับ ส่วนระบบสื่อสารกับโลกภายนอก ก็จะเป็น Conector ขั้ว RJ45 ผ่านสาย Cat5 หรือสายแลนนี่เองครับ
*ภาพ 1.1 ครับ วีธีเลือก สัญญาณ Input จากโปรแกรม System Architect 2.30 ครับ หรือสามารถเลือกได้ที่หน้าเครื่องครับ มาดูทางด้าน Out-put บ้างครับ มีทั้ง Biding-post แกน ขนาดใหญ่ครับ และ Speakon Neutrik เสื้อเหล็กครับ
ใหญ่ขนาดไหน รื้อออกมาแล้วเบ้อเรื่มเทิ่มเลยครับ
มาดูส่วนสุดท้ายคือพัดลมระบายความร้อน ใช้ของยี่ห้อ Delta ครับ Made-in Thailand ครับ เสียงดังครับ แต่ดีที่ไม่ได้ทำงานตลอดเวลาครับ เป็นพัดลมยอดฮิตสำหรับแอมป์ประกอบครับ เพราะ แรงจัดจ้านมาก อิอิ
ทีนี้มาเปิดฝาดูข้างในแบบ เต็มๆ ครับ ขอบอกรอบนี้จัดเต็มครับ เห็นทุกรูขุมขนแน่นอนครับ ฝาเครื่องก็ปกติของแอมป์รุ่นใหม่ๆครับ ฝาเครื่องจะอยู่ด้านล่างครับ เวลาใช้งานวงจรจะอยู่ด้านบนครับ ช่วยลดการเกาะและสะสมของฝุ่นได้เป็นอย่างดีครับ
เห็นแบบจะๆ ครับ เปิดฝาล่างครับ
รูปนี้ด้านบนเมื่อมองจากมุมสูงครับ ไม่มีที่ว่างครับ แน่นเอี้ยด แผงวงจร ทั้งนอนและตั้งครับ สมกับราคาจริงๆครับ
ทีนี้ผมจะพามาดูทีละส่วนโดยละเอียดครับเรื่มที่ส่วนแรก ภาคจ่ายไป Switching แบบ PFC ครับ ซึ่งจะแยกเป็น 2 ส่วนครับ
ส่วนที่ 1 เป็นภาคจ่ายไฟย่อยสำหรับจ่ายวงจร Stanby เตรียมพร้อมที่จะทำงาน ไฟออก 24-0-24 VDC
ส่วนที่ 2 เป็นภาคจ่ายไป Main แบบ PFC มีหน้าที่จ่ายไปให้กับชุด Main-amp อย่างเดียวครับ 210-0-210 VDC
ก่อนจะเข้าสู่ Switching ทั้ง 2 ก็ต้องผ่านเจ้า Breaker ก่อนครับ
จากนั้นก็จะเข้าสู่วงจร Filter ครับ
หลุดจากวงจร Filter ส่วนหนึ่งก็จะเลี้ยวเข้า ภาคจ่ายไฟย่อยสำหรับจ่ายวงจร Stanby ครับ หน้าตาเป็นแบบนี้ครับ
ส่วนวงจร Switching Main แบบ PFC จะซ่อนอยู่ใต้แผ่นวงจร Filter ต้องยกออกถึงจะเห็นครับ แล้วจะรอช้าอยู่ใย ยกออกไปเลยครับ ตามรูปจะเห็นกระดาษสีขาวครอบแผ่นระบายความร้อน ของ Power Diode และ Mosfet เพื่อทำให้อากาศไหลผ่านแผ่นระบายความร้อนดีขึ้นครับ
เมื่อยกกระดาษออก ก็จะเห็นวงจร Switching ทั้งหมดครับ
ในภาพ ไฟ AC Main ก็จะถูกเรียงกระแสด้วย Diode 4 ตัว ต่อวงจรแบบ Bridge rectifier สายไฟที่เห็น ต่อขนานเลยครับ
ส่วนของวงจรที่ใช้ควบคุม Switching มีแยกบอร์ดย่อย ออกมา อีก 3 แผงย่อยครับ ตามลูกศรชี้เลยครับ
แผงแรก หน้าจะเป็นวงจร Pwm หรือเปล่าไม่แน่ใจ เพราะมันยิ่งดูก็ยิ่งงง อิอิ
ส่วนแผงที่ 2 และ 3 จะเหมือนกันมีอยู่ 2 แผงครับ เดาเอาน่าจะเป็นวงจร Gate Driver ครับ เนื่องจาก มี 2 แผง เพราะวงจะสวิตชิ่ง แบบ PFC จะมี Switching 2 ชุดครับ
ภาพนี้เรามาดู หม้อแปลง Switching ครับ ใหญ่มากกกก เต็มขนาด 2 U ครับ
กำลังลงข้อมูลอยู่จ้า