เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและความคุ้มค้าในการใช้งานตู้โหลด ผมเห็นมีเพื่อนสมาชิกหลายคนสนใจในการประกอบตู้โหลดใช้เองและหาซื้อจากเพื่อนสมาชีกด้วยกัน ทั้งประกอบเองและของมือสองที่เห็นในประกาศขาย ก็มีบางตัวที่่สวยงามและได้มาตรฐานด้านความปลอดภัยแต่ก็เห็นมีหลายตัวที่ไม่ได้มาตรฐาน สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือกระแสใช้งานจริง ของระบบของท่านเองเพื่อให้เกิดความคุ่มค่ามากที่สุด(ของแพง) ดูกระแส AC Input (ดูที่ขนาดฟิวส์หลังเครื่อง) เอามาบวกรวมกันได้ค่าเท่าไหร่ ก็มาดูขนาดเบรเกอร์ให้ใช้ค่าที่สูงกว่าแต่ไม่ต้องมากเอาค่ามาตรฐานเป็นเกณฑ์ ได้แล้วก็เอาคูณ 1.25 (เผื่อไว้นิดหน่อยเดียวหาว่าขี่เหนียว)เป็นขนาดสายครับ
ยตัวอย่างนะครับสำหรับงานเล็ก
-เบรกเกอร์ 16A สายเบอร์ 4
-เบรกเกอร์ 32A สายเบอร์ 6
-เบรกเกอร์ 50A สายเบอร์ 10
-เบรกเกอร์ 63A สายเบอร์ 16
-เบรกเกอร์ 80 A สายเบอร์ 16
-เบรกเกอร์ 100A สายเบอร์ 25
แค่ี้นะครับงานเครื่องเสียงคงใช้กระแสไม่เกินนี้(กระแสต่อเฟสนะครับ)
อาจมีบางท่านบอกว่าผมใช้เบรกเกอร์ 50A .ใช้สายเมนเบอร์ 4, เบรกเกอร์ 100A ใช้สายเมนเบอร์ 6 ไม่เห็นสายไหม้เลย ก็เป็นเพราะว่าท่านไม่เคยใชงานกระแส่เกินพิกัดที่สายทนได้เลย ถ้าเทียบเป็นเงินที่ซื้อเบรกเกอร์ราคาก็ต่างกันไม่กี่ร้อยบาทครับ เเต่ถ้าวันใหนท่านใช้ไฟเกินพิกัดกระแสที่สายทนได้แล้วเบรกเกอร์ไม่ตัด ท่านจะรู้ว่าความพอดีของเบรกเกอร์กับสายไฟมีค้ามากว่าราคาสายไฟหลายพันบาท (เห็นเพื่อนสมาชิกหลายคนถามหาขนาดเบอกเกอร์จากเพื่อนสมาชีกที่ลงขายแล้วตกใจครับ บางคนบอกอยากได้เกิน 80A หมายถึงสายไฟเบอร์ 25 นะครับ) ข้อคิดนะครับ เบรกเกอร์ตัดบ่อยเกิดจากกระแสเกิน วิธีแก้ถ้าขนาดเบรกเกอร์มากกว่ากระแสที่วัดได้จากเครื่องวัด แสดงมาตรฐานของเบรกเกอร์ตัวนั้นต่ำเกินไป ถ้าตัดเพราะกระแสเกินจริงก็ให้เพิ่มขนาดทั้งเบรกเกอร์และสาย เบอร์เกอร์ที่ได้มาตรฐานทุกยี่ห้อในประเทศไทย ถ้าใช้งานโหลดต่อเนื่องจะตัดวงจรที่ 80% ส่วนยี่ห้อโนเนมหรือของเลียนจะตัดที่ประมาณ 60-70%
หวังว่าคงจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ (นี้แหละครับเหตุผลที่ทำไมของคล้ายกันถึงราคาต่างกัน)
