Tigger Sound
สังคมออนไลน์คุณภาพของคนรักเครื่องเสียง
ทดสอบเสียง HK1.1 By Tiggersound https://www.facebook.com/tiggersound/videos/10218510874389162

ข้อคิดจาก.........ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9017
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com


Monday, 29 December 2014
สัญญาณแห่งดอย

เมื่อดัชนีหุ้นขึ้นมาสูงมากติดต่อกันหลายปีเป็นตลาดหุ้น “กระทิงดุ”  คำถามที่ตามมาก็คือ  ตลาดหุ้นขึ้นมาถึง “ดอย” หรือยัง?  เพราะถ้ามันใกล้หรือถึงจุดสูงสุดแล้ว  สิ่งที่หลายคนโดยเฉพาะนักลงทุนที่เล่นหุ้นระยะสั้นหรือระยะกลางจะทำก็คือ  ขายหุ้นทิ้งเสียเก็บเงินสดไว้รอช้อนหุ้นที่จะตกลงมาแรง ๆ  หรือไม่ก็หันไปลงทุนอย่างอื่นที่จะได้ผลตอบแทนดีกว่า  การที่จะวิเคราะห์ได้ว่าตลาดหุ้นใกล้ถึง Peak หรือจุดสูงสุดและกำลังปรับตัวลงมากลายเป็นตลาด “หมี” หรือไม่นั้น  เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก  เพราะตลาดหุ้นนั้น  ในระยะสั้น  “คาดการณ์ไม่ได้”  อย่างไรก็ตาม  จากการสังเกตของผู้เชี่ยวชาญและนักลงทุนที่คร่ำหวอดในตลาดหุ้นมายาวนานนั้น  ตลาดกระทิงที่ใกล้ถึงจุดสิ้นสุดนั้น  มักจะมีอาการหรือสัญญาณหลาย ๆ  อย่างประกอบกันพอสรุปได้ดังต่อไปนี้

    ข้อแรกก็คือ  ค่า PE หรือราคาหุ้นต่อกำไรของบริษัทของตลาดและหุ้นโดยทั่วไปมักจะอยู่ในระดับสูงใกล้กับระดับสูงที่สุดในประวัติศาสตร์  ค่า PB หรือราคาหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชีของตลาดและหุ้นโดยทั่วไปนั้นอยู่ในระดับสูง  ส่วนอัตราเงินปันผลเมื่อเทียบกับราคาหุ้นหรือ Dividend Yield นั้นจะค่อนข้างต่ำ  ดูจากตลาดหุ้นไทยในช่วงนี้ผมคิดว่าค่า PE ของตลาดหุ้นน่าจะใกล้ระดับสูงสุดในประวัติศาสตร์เช่นเดียวกับค่า PB  อย่างไรก็ตาม ปันผลนั้นยังค่อนข้างจะพอใช้ได้ที่ประมาณ 2.5%-3%  ในความเห็นของผมนั้น  ตัวเลขชุดนี้ยังไม่ชัดเจนว่าหุ้นน่าจะถึงยอดดอยแล้ว  เหตุผลก็คือ  อัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดของเราในช่วงนี้ต่ำเป็นประวัติการณ์  เงินฝากอยู่ในระดับไม่เกิน 2%-3%  ดังนั้น  ค่า PE ระดับ 17-18 เท่าและปันผลจากการลงทุนในหุ้นยังให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าพอสมควร

ข้อสองคือ หุ้นที่เข้าข่ายที่จะเป็นหุ้น “Value” นั้นหาได้ยากขึ้นมาก  หุ้นดี ๆ  ราคาก็ค่อนข้างแพงเป็นส่วนใหญ่  ส่วนหุ้นพื้น ๆ  นั้น  ราคาก็ไม่ถูก  จริงอยู่  เราอาจจะพอลงทุนได้  แต่ดูเหมือนว่าจะไม่มี “Margin of Safety” เหลือเพียงพอสำหรับ “VI พันธุ์แท้” ที่เน้นลงทุนระยะยาวจริง ๆ   ในข้อนี้ผมเองคิดว่าตลาดหุ้นไทยในเวลานี้ก็เข้าข่ายแล้ว

    ข้อสามที่อาจจะบ่งบอกว่าหุ้นใกล้ถึงดอยก็คือ  อัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดกำลังขึ้น  หรือสภาพคล่องทางการเงินเริ่มลดลง  หรือในภาษาทางเศรษฐศาสตร์ก็คือ  Money Supply กำลังหดตัว  ซึ่งในตลาดของไทยนั้น  ดูเหมือนว่าอัตราดอกเบี้ยของเรายังไม่มีท่าทีว่าจะขึ้น  ว่าที่จริงอาจจะมีแนวโน้มที่จะลดลงด้วยซ้ำถ้าดูจากการลงมติของคณะกรรมการนโยบายการเงินครั้งล่าสุดที่มีกรรมการ 2 เสียงลงมติให้ลดดอกเบี้ยในขณะที่เสียงส่วนใหญ่ยังให้คงไว้  อย่างไรก็ตาม  ผมคิดว่าเรื่องนี้มีโอกาสเปลี่ยนได้เร็ว และอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐเองที่มีอิทธิพลต่อตลาดเงินโลกก็มีท่าทีว่าภายในปีหน้าก็จะปรับเพิ่มขึ้น  ดังนั้น  สัญญาณข้อนี้จริง ๆ  ยังไม่น่าไว้วางใจ

    ข้อสี่คือเรื่องหุ้น IPO  นี่เป็นสัญญาณที่แรงมากในตลาดหุ้นไทย  นั่นก็คือ  ในช่วงที่ตลาดหุ้นใกล้ถึงจุดสุดยอดนั้น  จะมีหุ้น IPO ออกขายมากมายและราคาหุ้นที่เข้าตลาดในวันแรก ๆ ก็จะปรับตัวสูงขึ้นมาก  และนี่ก็เป็นข้อที่ผมรู้สึกกังวลว่า  ตลาดหุ้นไทยนั้นอาจจะใกล้ Peak

    ข้อห้าเป็นเรื่องของการวิเคราะห์ทางเทคนิคซึ่งผมเองก็ไม่ได้ศึกษา  แต่มีคนเคยศึกษาหรือให้ข้อสังเกตว่า  ถ้าหุ้นกว่า 75% ในตลาดหลักทรัพย์นั้นมีราคาสูงกว่าแนวโน้มระยะยาวของมันมาระยะหนึ่งซึ่งอาจจะหลายปีแล้ว  ต่อมาจำนวนมันลดต่ำลงกว่า 75%  นี่ก็อาจเป็นสัญญาณว่า  หุ้นถึงดอยแล้ว  ผมเองไม่ทราบว่ามีใครศึกษาเรื่องแบบนี้ในตลาดหุ้นไทยหรือไม่  ความเชื่อของผมก็คือ  หุ้นไทยในช่วงเร็ว ๆ  นี้นั้น  กว่า 75%  มีราคาสูงกว่าแนวโน้มระยะยาวเพราะราคาหุ้นได้สูงขึ้นมามาก  สิ่งที่ไม่รู้ก็คือ  ขณะนี้มันลดลงมาต่ำกว่า 75% หรือไม่

    ข้อหก  คือสัญญาณที่ ปีเตอร์ ลินช์ เรียกว่า ทฤษฎี  “งานเลี้ยงค็อกเทล” นี่คือเหตุการณ์ที่คนทั่วไปที่ไม่ใช่นักลงทุนมืออาชีพหันมาสนใจการลงทุนหรือเล่นหุ้น  ช่วงแรก ๆ  ก็อาจจะสนใจไม่มาก  แต่เมื่อหุ้นปรับตัวขึ้นเรื่อย ๆ  อย่างรวดเร็ว  การทำเงินจากการเล่นหุ้นดูเหมือนจะง่ายมาก  คนก็สนใจหุ้นมากขึ้นจนถึงจุดหนึ่งที่คนที่ไม่ควรสนใจลงทุนในหุ้นเลยเช่นช่างทำผมหรือคนขับแท็กซี่หันมาสนใจเรื่องหุ้น  ถ้าเกิดอาการแบบนี้  ก็อาจจะเป็นสัญญาณว่าหุ้นกำลังถึงยอดดอยและใกล้จะลง  จากการสังเกตของผม  ผมคิดว่าช่วงนี้ในตลาดหุ้นไทยมีคนกลุ่มใหม่ ๆ  เข้ามาสนใจลงทุนในตลาดหุ้นมากขึ้นเรื่อย ๆ  โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่น่าจะค่อนข้างมีฐานะและ/หรือมีการศึกษาพอสมควร  ส่วนในคนทั่วไปนั้นผมก็คิดว่ามีความสนใจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  แต่ผมไม่รู้ว่ามากเท่าไร  โดยรวมแล้ว  น่าจะเป็นช่วงที่มีความตื่นตัวในหุ้นมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ที่ผมเคยเจอมา  ดังนั้น  ผมคิดว่าอาการนี้น่าจะ  “ก้ำกึ่ง” สำหรับตลาดหุ้นไทยในช่วงนี้

    ข้อเจ็ด  คือเรื่อง  “การสนองตอบต่อข่าวสารของหุ้น”  ความหมายก็คือ  ในช่วงที่หุ้นยังเป็น “ขาขึ้น” หรืออยู่ในภาวะกระทิงอยู่นั้น  ข่าวสารที่ดี ๆ  เช่น  บริษัทประกาศผลประกอบการที่ดี  ราคาหุ้นก็จะ  “วิ่ง” รับกับข่าวชิ้นนั้น  บางทีวิ่งมากกว่าข่าวดีด้วยซ้ำ  อย่างไรก็ตาม  ในช่วงที่จะสิ้นสุดยุคกระทิง  ข่าวดีที่ประกาศออกมานั้นกลับไม่ได้ได้รับการตอบรับที่ดีเท่า  บางครั้งประกาศข่าวดีแต่ราคาหุ้นกลับลง  ดูเหมือนว่าหุ้นนั้นรับข่าวดีไปหมดแล้ว  ไม่มีเงินเหลือที่จะซื้อหุ้นอีกต่อไป  คนรอแต่จะขายหุ้น   สำหรับในข้อนี้  ผมเองคิดว่าตลาดหุ้นไทยยังไม่เห็น  ผมยังรู้สึกว่าข่าวดีนั้นยังได้รับการตอบรับที่ดี  บางทีหุ้นยังขึ้นมากกว่าข่าวโดยเฉพาะหุ้นเก็งกำไรตัวเล็ก ๆ  ที่ราคายังขึ้นมากมายรับข่าวดีเล็ก ๆ  ที่อาจจะไม่ผลอะไรกับบริษัทจริง ๆ

    ข้อแปดคือเรื่อง  “การเปลี่ยนกลุ่มหุ้นชั้นนำในตลาด”  ความหมายของเรื่องนี้ก็คือ  ในแต่ละช่วงเวลานั้น  จะมีหุ้นบางกลุ่มเป็นหุ้นกลุ่มชั้นนำในตลาดเช่น  ถ้าย้อนหลังไปหลายสิบปี  ในช่วงนั้น หุ้นกลุ่มแบงค์เคยเป็นหุ้นกลุ่มนำ  ต่อมาอสังหาริมทรัพย์ก็เคยเป็นกลุ่มที่ทุกคนสนใจเล่นและมีขนาดใหญ่  เช่นเดียวกับหุ้นกลุ่มไฟแน้นซ์  ต่อมาก็หุ้นสื่อสารและกลุ่มพลังงานที่โดดเด่นมาจนถึงล่าสุด  คำถามก็คือ  ตอนนี้เรากำลังมีการ  “เปลี่ยนกลุ่ม”  หรือไม่โดยเฉพาะกลุ่มพลังงาน?  ที่อาจจะมีปัญหาราคาน้ำมันตกต่ำ  ในเรื่องนี้ผมเองก็วิเคราะห์ไม่ออก  แต่การเปลี่ยนกลุ่มหุ้นชั้นนำในตลาดหุ้นที่พัฒนาแล้วนั้น  หลายครั้งสอดคล้องกับการกลับตัวของทิศทางดัชนีตลาดหุ้น

    ข้อเก้าก็คือ  เรื่องของข่าวสารข้อมูลตลาดหุ้นและการลงทุนทางสื่อมวลชนด้านต่าง ๆ  ในช่วงใกล้ถึงจุดสูงสุดของตลาดหุ้นนั้น  ข่าวและคอมเม้นท์จะมีมากมายในสื่อซึ่งถ้ามากถึงจุดหนึ่งก็จะออกทางสื่อมวลชน  “กระแสหลัก” สำหรับในข้อนี้ผมคิดว่า  “ข่าวหุ้น”  ของไทยนั้น  มีค่อนข้างมากและกว้างขวาง  การจัดสัมมนาและมหกรรมต่าง ๆ  เกี่ยวกับหุ้นได้รับการต้อนรับมากขึ้นเรื่อย ๆ   บ่อยครั้งสื่อกระแสหลักก็นำเรื่องเกี่ยวกับตลาดหุ้นไปออก  ข้อนี้ผมคิดว่าตลาดหุ้นไทยมีอาการระดับ 8-9  จากคะแนนเต็ม 10

    สุดท้ายคือคำพูดหรือความรู้สึกของคนที่มีเงินและเป็นนักลงทุน  ในช่วงที่เศรษฐกิจและตลาดหุ้นแย่ที่สุดอย่างช่วงปีวิกฤติ 2540 นั้น  ทุกคนบอกว่า “Cash is King”  แต่ในช่วงที่หุ้นจะถึง “ดอย”  นั้น  คำพูดจะเปลี่ยนเป็น  “Cash is Trash” หรือเงินก็คือ “ขยะ”  และสำหรับผมที่ช่วงนี้ผมมีเงินสดที่ได้จากการขายหุ้นไปบางส่วนนั้น  ผมรู้สึกอยู่บ้างเหมือนกันว่าเงินสดที่ถืออยู่นั้นได้ดอกเบี้ยต่ำเหลือเกิน  ดูคล้ายกับขยะอะไรอย่างนั้น  และทั้งหมดก็คือสัญญาณบางส่วนที่เมื่อนำมาประมวลว่าหุ้นไทยตอนนี้อยู่ที่ระดับไหน  ข้อสรุปของผมก็คือ  มันยังผสมผสานระหว่างใช่กับไม่ใช่ดอย  นักลงทุนแต่ละคนจะต้องตัดสินใจเองว่าจะทำอย่างไรกับพอร์ตของตน


Posted by nivate at 10:59 AM in โลกในมุมมองของ Value Investor 

ที่มา:
http://portal.settrade.com/blog/nivate/2014/12/29/1506




ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9017
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com


Monday, 5 January 2015
Operation Big Bubble

ผมชอบอ่านประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสงครามโดยเฉพาะสงครามโลกครั้งที่สอง  เพราะนี่คือสงครามที่  “มีครบทุกเรื่องและทุกรส”  มันเป็น “สงครามแห่งมวลมนุษยชาติ”  มันทำลายล้างอย่างบ้าคลั่งในขณะเดียวกันมันก็ก่อให้เกิดนวัตกรรมที่ไม่อาจจะหาได้ในช่วงเวลาแห่งความสงบ  เพียง 4-5 ปี  โลกเปลี่ยนไปอาจจะเท่ากับศตวรรษ  เรื่องหนึ่งที่ผมสนใจในสงครามก็คือ  “แผนปฏิบัติการ” ทั้งหลายในการเอาชนะข้าศึกในแต่ละเรื่อง  แผนเหล่านั้นถูกกำหนดขึ้นอย่างเป็นระบบและมีรายละเอียดที่ซับซ้อน  ความสำเร็จขึ้นอยู่กับหลาย ๆ  เรื่อง  สิ่งที่สำคัญรวมถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของแต่ละฝ่ายและตัว  “แผนปฏิบัติการ” ว่ากำหนดขึ้นได้ดีและถูกต้องแค่ไหน  แผนที่ดีนั้นมักนำไปสู่ชัยชนะ  แต่แผนที่เลวนั้นนำไปสู่ความพ่ายแพ้  “Operation Sea Lion” ของเยอรมันในการเข้ายึดครองอังกฤษนั้นล้มเหลวไม่เป็นท่าเพราะกองทัพเรือเยอรมันนั้นด้อยกว่ากองทัพเรืออังกฤษมากในขณะที่กองทัพอากาศเองก็ไม่ได้เหนือกว่าอังกฤษมากนัก  ตรงกันข้าม  “Operation Overlord” หรือที่รู้จักกันในชื่อ “D-Day” ของฝ่ายสัมพันธมิตรในการยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดีนั้น  ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม  ผมพูดถึงเรื่องนี้เพราะตลาดหุ้นไทยในช่วงนี้ดูเหมือนว่าบริษัทจดทะเบียนหลายแห่งกำลังทำ  “ปฏิบัติการเกี่ยวกับหุ้น” ที่ผมอยากจะเรียกว่า  “Operation Big Bubble” หรือ OBB

    เป้าหมายของ OBB นั้น  ก็เพื่อที่จะ  “ยกระดับ”  ราคาหุ้นเป้าหมายให้สูงขึ้น อาจจะเป็นร้อยเท่าในเวลาอาจจะแค่ 3-4 ปี  ปฏิบัติการนี้  จะเป็นการใช้เครื่องมือโดยเฉพาะทางการเงินหลากหลายที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิผลสูงในการขับดันราคาหุ้นให้สูงขึ้นมากอย่างรวดเร็ว  ในขณะเดียวกัน  การสร้างแหล่งที่มาของรายได้และกำไรของบริษัทใหม่ ๆ  ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะเป็น “ฐาน”  ให้การเพิ่มขึ้นของราคานั้นมีความเป็นไปได้เนื่องจากผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ  นั้น  จะเป็นแหล่งของการเติบโตของกำไรอย่างรวดเร็วเป็นร้อย ๆ  เปอร์เซ็นต์ต่อปีจากฐานที่ต่ำมากได้  ซึ่งนี่จะช่วยสนับสนุนราคาที่ขึ้นไปสูงมากจนทำให้ค่า PE เป็น 100 เท่าและยังมีนักวิเคราะห์ที่สามารถแนะนำให้ซื้อหุ้นโดยบอกว่ายังไม่แพงได้

    OBB ที่จะประสบความสำเร็จนั้น  ยังต้องมี  “ปฏิบัติการทางจิตวิทยา” ที่มีประสิทธิผลสูง  สื่อสารมวลชนทุกด้านจะต้องถูกนำมาใช้อย่างเต็มที่เช่นเดียวกับข่าวสารที่จะต้องมีออกมาต่อเนื่องรวมถึง  “ข่าวลือ” ที่จะต้องมีออกมาเป็นระยะ  ข่าวทุกชิ้นจะต้องเอื้อต่อการที่จะให้คนเชื่อว่าผลประกอบการของบริษัทจะโตขึ้นอย่างก้าวกระโดดและราคาหุ้นหรือมูลค่าหุ้นจะต้องเพิ่มขึ้นมหาศาลเนื่องจากจะมี  “การเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง”  และบริษัทจะ  “ไม่เหมือนเดิม”  บริษัทจะโตขึ้นอย่างก้าวกระโดดในอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตไปอีกนาน

    กระบวนการที่จะขับราคาหรือมูลค่าหุ้นนั้น   จะไม่ใช้การพุ่งขึ้นเพียงครั้งเดียวและก็  “ดับ”  แต่จะต้องมีปฏิบัติการย่อย ๆ  ออกมาเป็นระยะ ๆ  ทั้งเรื่องของตัวกิจการและผลประกอบการ  และเรื่องของปฏิบัติการทางการเงินและจิตวิทยา  ทั้งหมดนั้นต้องสอดคล้องกัน  ประเด็นที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ  ราคาหุ้นในตลาดจะต้องพุ่งขึ้นตามกันไปไม่สามารถให้หุ้นอยู่นิ่งได้  เพราะราคาหุ้นนั้นเป็นข้อมูลสำคัญที่สุดที่จะยืนยันว่าสตอรี่หรือเรื่องราวต่าง ๆ  ที่สาธารณชนได้รับนั้น  “ถูกต้อง”   การปล่อยให้ราคาหุ้นไหลลงมานานเกินไปจะทำลายความเชื่อมั่นของคนลง  ดังนั้น  การ  “ดูแลราคาหุ้น” จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในปฏิบัติการ BBO การที่จะ  “ปิดปฏิบัติการ”  เพื่อทำกำไรมหาศาลนั้น   จำเป็นที่จะต้องทำอย่างระมัดระวังและเป็นการทยอยทำและทำในยามที่ความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั่วไปต่อตัวหุ้นขึ้นสูงสุดเท่านั้น

    ลองมาดูปฏิบัติการ BBO ที่มีการใช้กันในช่วงเร็ว ๆ  นี้ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงดูก็จะพบว่าบริษัท   “เป้าหมาย”  นั้น  ล้วนเริ่มจากบริษัทที่เล็กมาก  มูลค่าตลาดหรือ Market Cap. นั้นอยู่ในหลักเพียงร้อยล้านบาทเท่านั้น  ส่วนใหญ่แล้วก็มักเป็นบริษัทที่มียอดขายและกำไรน้อยมาก  จำนวนมากยังขาดทุนอยู่  สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือการ  “เปลี่ยนธุรกิจ”  โดยการหันมาทำธุรกิจที่กำลังเติบโตเร็วและทำเงินดีและมีโอกาสประสบความสำเร็จสูงเนื่องจากอาจจะเป็นธุรกิจที่ไม่ต้องแข่งขันหรือเป็นธุรกิจที่ทำกำไรอยู่แล้วในขณะที่บริษัทเข้าไปซื้อมาจากเจ้าของหรือคนอื่นที่อาจจะให้ดีล  “พิเศษ”   ซึ่งในช่วงที่ผ่านมานั้นดูเหมือนว่า  พลังงานทดแทนโดยเฉพาะที่เป็นพลังงานแสงแดดดูเหมือนว่าจะเป็นธุรกิจ  “ยอดนิยม”  ที่ถูกนำมาใช้ใน BBO  มาก  นอกจากนั้นก็อาจจะมีธุรกิจในด้านของ  “เศรษฐกิจใหม่”  ที่เรียกว่า ดิจิตอลอีโคโนมีก็อาจจะมีเช่นกัน  ในบางรายก็อาจจะใช้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เนื่องจากมันเป็นเรื่องง่ายที่จะโตเร็วเป็นพิเศษจากธุรกิจนี้สำหรับบางราย

    ในการทำ BBO นั้น  สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งยวดหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือการทำ  “ปฏิบัติการทางการเงิน”    เนื่องจากเป็นเรื่องง่ายและ  “ไม่มีต้นทุน”  ที่จะทำ  ดังนั้น  เครื่องมือทางการเงินจึงถูกใช้อย่างเต็มที่ในช่วงที่ผ่านมา  สิ่งแรกที่มักจะทำกันก็คือ  การลดพาร์หรือมูลค่าทางบัญชีของหุ้นเพื่อทำให้หุ้นมีราคาซื้อขายที่  “ถูกลง”  มากที่สุดที่จะทำได้แต่อาจจะไม่ได้ทำครั้งเดียวแต่ค่อย ๆ  ทำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขับดันราคาหุ้น  สมมุติราคาพาร์เท่ากับ 1 บาทต่อหุ้นและราคาหุ้นในตลาดเท่ากับ 3 บาท  การลดพาร์เหลือ 25 สตางค์ก็จะทำให้ราคาตลาดเหลือเพียง 75 สตางค์ซึ่งจะทำให้คนรู้สึกว่าหุ้นถูกมากราคาไม่ถึงบาท  พอรอบต่อไปซึ่งอาจจะเป็นอีกหนึ่งปีต่อมา  เขาก็อาจจะลดพาร์ลงอีกเหลือเพียง 10 สตางค์หรือต่ำกว่านั้น  ผลก็คือ คนจะเข้ามาซื้อหุ้นเพราะหุ้น “ไม่แพง”

    เมื่อบริษัทเริ่มทำธุรกิจใหม่และวางแผนจะต้องโตอย่าง  “ก้าวกระโดด”  สิ่งที่บริษัทต้องทำก็คือ  การเพิ่มทุนเพื่อนำไป  “ลงทุน”  และการไป  “เทคโอเวอร์”  บริษัทอื่น   การประกาศ  เพิ่มทุนโดยให้สิทธิ์ผู้ถือหุ้นเดิม  มหาศาล เช่น  ให้สิทธิ 1 ต่อ 1 ที่ราคา 1 บาท  แต่ถ้าให้สิทธิเฉย ๆ  ก็อาจจะทำให้ผู้ถือหุ้นรู้สึกแย่ว่าต้อง  “เสียเงิน”  ดังนั้น  บริษัทก็มักจะต้อง  “แถมวอแร้นต์” ให้อย่าง  “จุใจ” ซึ่งก็จะทำให้คนแห่กันเข้ามาซื้อหุ้นทำให้ราคาวิ่งขึ้นไปอย่างแรงเพราะคนคิดว่าวอแร้นต์ที่ได้มานั้นถ้าเอาไปขายก็ได้เงินสุดจะคุ้มค่า   นี่ก็เป็นการหาเงินมาทำโครงการที่จะทำเงินให้บริษัท  แต่ถ้าจะทำเพียงครั้งเดียว  ราคาหุ้นก็จะ “หมดแรง” วิ่ง  ดังนั้น  เมื่อเวลาผ่านไป  หรือบางทีก็เวลาเดียวกัน  บริษัทก็จะต้องประกาศเพิ่มทุนใหม่อีก  แต่คราวนี้จะออกเป็น  PP หรือการขายให้แก่  “บุคคลภายนอก”  ที่อาจจะมี  “บารมี”  เพียบในแง่ของการเป็นนักลงทุน  ในราคาที่ถูกมากเพื่อเป็นการดึงดูดให้คนเข้ามาเล่นหุ้นด้วยความเชื่อมั่นว่าหุ้นจะต้อง “ไปต่อ”  และก็อีกเช่นกัน  เพื่อที่จะทำให้ “ดีล” ไปได้  วอแร้นต์ก็มักจะถูกนำมาใช้อีกนั่นก็คือ  ถ้ามีปัญหาตรงไหนก็แจกวอแร้นต์ให้  ปัญหาก็จะหมดไป

    บางบริษัทในตลาดที่ทำ BBO ในช่วงที่ผ่านมาหลายปีโดยใช้กลยุทธ์และเครื่องมือดังที่กล่าวมาทั้งหมดแบบ  “เต็มสตรีม”  นั้น  เราก็ได้เห็นราคาหรือควรจะต้องเรียกว่ามูลค่าหุ้นนั้นเพิ่มขึ้นจากหลัก 100 ล้านบาทกลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่ากว่าหมื่นล้านบาท หรือเป็นการเติบโตขึ้นกว่า 100 เท่าในเวลาแค่ 2-3 ปี และทำให้เจ้าของดั้งเดิมกลายเป็นมหาเศรษฐีในชั่วข้ามคืน   เงินที่ได้มานั้น  ไม่ได้เกิดจากตัวธุรกิจเนื่องจากบริษัทก็ยังมีรายได้และกำไรน้อยมาก  แต่เงินนั้นมาจากนักลงทุนจำนวนมากที่ต่างก็เชื่อมั่นว่าบริษัทนั้น  “มีอนาคตที่สดใสมาก”  หรือไม่ก็เกิดจากนักเล่นหุ้นที่เชื่อมั่นว่า  หุ้นตัวนั้นจะต้อง  “ทำเงิน” ให้เขาได้อย่างรวดเร็วจากราคาที่พุ่งขึ้นเรื่อย ๆ   ในส่วนตัวผมเองนั้นผมเห็นว่า  ในปฏิบัติการไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสงครามหรือหุ้น  คนที่เข้าไปเป็น  “เบี้ย” เช่นทหารเลวหรือนักเล่นหุ้นรายย่อยน้อยคนจะได้ผลตอบแทนที่ดี  ถ้าโชคดี  ทหารก็ได้เหรียญกล้าหาญแต่โอกาสตายสูง  นักลงทุนรายย่อยนั้น  โอกาสที่จะรอดและได้  “เหรียญกล้าหาญ” มีน้อย   มีแต่คนที่คิดและสั่งดำเนินการเท่านั้นที่มีโอกาสเป็นวีรบุรุษหรือกลายเป็นมหาเศรษฐีแม้ว่าในบางครั้งก็  “ตาย” ได้เหมือนกัน

Posted by nivate at 11:02 AM in โลกในมุมมองของ Value Investor

ที่มา:
http://portal.settrade.com/blog/nivate/2015/01/05/1509


ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9017
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com

สิ่งที่หวงแหนที่สุด / คุณโจ ลูกอิสาน

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เป็นแนวทางการลงทุนที่มีพื้นฐานความเชื่อที่ว่า เราซื้อหุ้นซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจการ กิจการที่มีกิจกรรมทางเศรษกิจ มีคนทำงานกันจริงๆ ในฐานะผู้ถือหุ้นหากกิจการมีกำไร เราจะได้รับส่วนแบ่งกำไรนั้นไม่ว่าจะเป็นราคาหุ้นที่ปรับเพิ่มขึ้นหรือรับส่วนแบ่งเงินสดอย่างเงินปันผล หน้าที่ของนักลงทุนคือซื้อหุ้นของบริษัทที่ราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น เพราะนั่นจะทำให้เรามีกำไรสูงสุด  ทัศนคติที่ว่า"การวิเคราะห์หุ้นคือการวิเคราะห์กิจการ" จึงสำคัญ ทัศนคติจะเป็นเหมือนเข็มทิศที่ส่งผลต่อพฤติกรรมและความคิดในการลงทุนของเรา ทัศคติที่ถูกต้องทำให้เราเดินไปถูกเส้นทาง คนฉลาดมากๆหากเลือกเส้นทางผิดก็อาจไม่ถึงจุดหมาย  ในทำนองเดียวกันคนที่ไม่ได้ฉลาดมาก หากเขาหรือเธอเลือกเดินในเส้นทางที่ถูกต้องก็ถึงจุดหมายได้แม้ต้องใช้เวลาบ้างก็ตาม

ในโลกการลงทุนจริงๆมีปัจจัยทางด้านอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องบ่อยๆ การดำรงทัศนคติให้แน่วแน่ ไม่สั่นคลอนไปตามกระแสต่างๆเป็นเรื่องที่ทำได้ยากเย็น  อารมณ์กลัวจะทำให้นักลงทุนขายหุ้นไปตอนที่ตลาดตกต่ำซึ่งทำให้เขาเสียหายสูงสุด(ทั้งที่ควรจะซื้อ) ความโลภจะทำให้นักลงทุนมองแต่โลกที่สดใสและพร้อมจะซื้อหุ้นในทุกๆราคา(ทั้งที่ควรจะขาย) และความริษยา ทำให้นักลงทุนมองวิธีการลงทุนของคนอื่นดีกว่าของตัวเองเสมอ ปัจจัยอารมณ์เหล่านี้เป็นธรรมชาติที่อ่อนแอของมนุษย์ เป็นความจำเป็นที่่เราต้องรู้เท่าทันและเอาชนะความอ่อนแอที่ติดตัวเรามานี้ให้ได้  ทัศนคติที่ถูกต้องจะทำให้เราเอาชนะความอ่อนแอนี้ได้ และจะทำให้เราข้ามผ่านเวลาที่แย่และเวลาที่เลวร้ายสุดๆ ไปได้

เมื่อเรายึดกิจการเป็นหลัก เราจะไม่ขายหุ้นเพียงเพราะตลาดตกต่ำ เราจะไม่ซื้อหุ้นตอนที่ตลาดมองโลกในแง่ดีมากๆ และเราจะไม่อิจฉาคนอื่นที่ใช้แนวทางอื่นและทำกำไรได้มากกว่า เพราะในโลกการลงทุนจริงๆผลตอบแทนระยะยาวที่มากกว่า 20%ต่อปี เป็นสิ่งที่คนเพียง"หยิบมือเดียว"ในโลกเท่านั้นที่ทำได้ ผลตอบแทนที่สูงกว่านั้นเป็นสิ่งไม่ยั่งยืน เป็นเพียงการมองโลกด้านดีด้านเดียว การมองโลกในแง่ดีทำให้เรามองแต่ผลตอบแทนจนละเลยความเสี่ยง ทั้งที่ความจริงในโลกธุรกิจหรือทุกอย่างในโลกนี้มีความเสี่ยงแฝงอยู่ทั้งสิ้น ถ้าเปรียบเทียบการการลงทุนแนว vi คงเป็นการเดินทีละก้าวอย่างช้าๆแต่มั่นคงเต็มไปด้วยความระมัดระวัง และมักไม่เดินถอยหลัง การรับความเสี่ยงมากๆเพื่อผลตอบแทนสูงๆเหมือนการกระโดดที่พร้อมจะเจ็บตัวได้ทุกเมื่อ

นักลงทุนแบบ vi กับทัศนคติที่ว่าหุ้นคือบริษัท และพื้นฐานกิจการจะกำหนดราคาหุ้นเป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นเสมือนหางเสือเรือที่จะพาเราเดินทางไปให้ถึงฝั่ง เป็น"ทัศนคติที่เราต้องหวงแหนที่สุด" เมื่อไหร่ที่เราตัดสินใจลงทุนโดยละเลยหลักการข้างต้น นั่นแสดงว่าเราเริ่มมีปัญหาแล้ว..



ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9017
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com
Friday, 17 October 2008
0078: MOS ตามอำเภอใจ
นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

ไม่รู้ว่าผมจะทำให้นักลงทุน "ช็อค" รึเปล่า ถ้าผมจะบอกว่าคำว่า ส่วนลดเพื่อความปลอดภัย หรือที่เรียกว่า MOS Margin of Safety) ตามแนวคิดของ Value Investment นั้น เป็นเรื่องส่วนบุคคล (Subjective) ล้วนๆ ครับ

ต่อให้นักลงทุนระดับตำนานสองคนตีราคาหุ้นที่ปลอดภัยของหุ้นตัวเดียวกันก็จะออกมาไม่เหมือนกัน เพราะขึ้นอยู่กับ เกณฑ์ที่นักลงทุนแต่ละคนเลือกใช้ ประสบการณ์ ความรู้ ข้อมูล ตลอดจนความลำเอียงส่วนตัวที่ไม่เหมือนกันด้วย ไม้บรรทัดที่นักลงทุนแต่ละคนใช้ไม่เหมือนกัน ผลลัพธ์ที่ได้จึงไม่เหมือนกัน การลงทุนที่มี MOS แล้วนั้นจึงยังไม่แน่ว่าจะประสบความสำเร็จ

ในรอบหลายๆ ปี วอเรน บัฟเฟตถึงจะซื้อหุ้นในปริมาณที่มีนัยสำคัญสักครั้งหนึ่ง บัฟเฟตเองเคยพูดว่า เขาต้องรอถึง 16 ปีกว่าจะได้ซื้อหุ้นโค้ก ในช่วง Tech Bubble นั้น เขาไม่ได้ซื้อหุ้นอะไรอย่างมีนัยสำคัญเลย เป็นเวลาติดต่อกันนานถึง 7 ปี เขาบอกว่า เขาไม่พบหุ้นที่มีราคาที่น่าสนใจ เขาจึงไม่ซื้อ ไม้บรรทัดของบัฟเฟตนั้นจึงน่าจะเป็นไม้บรรทัดที่ใช้ความระมัดระวังสูงมากทีเดียว

ถ้าหากทุกวันนี้คุณก็ใช้ MOS ของคุณอยู่ แต่คุณกลับพบหุ้นที่น่าซื้อได้แทบทุกเดือน ย่อมแสดงว่า ไม้บรรทัดของคุณเปราะบางกว่าไม้บรรทัดของบัฟเฟตเป็นอย่างมาก ความปลอดภัยในการลงทุนของคุณจึงย่อมน้อยกว่าบัพเฟตและเพราะเหตุนี้คุณจึงไม่อาจคาดหวังผลตอบแทนในระดับเดียวกับบัฟเฟตได้ แม้ว่าคุณจะอ้างว่าคุณลงทุนแบบเดียวกับบัฟเฟตแล้วก็ตาม

ที่จริงแล้ว การลงทุนโดยมี MOS หรือไม่นั้นยังไม่สำคัญเท่ากับการที่คุณมีความอดทนมากแค่ไหนที่จะรอคอยให้หุ้นที่อยากได้มีราคาที่เหมาะสมก่อนค่อยซื้อ บางคนอยากซื้อหุ้นตัวไหนมากๆ ก็หาเหตุผลต่างๆ นานา(แบบเข้าข้างตัวเอง) มาผ่อนคลายไม้บรรทัดของตัวเองลงไปเรื่อยๆ เพื่อให้ได้ซื้อหุ้นในที่สุด (เป็นโรคกระเป๋าร้อน) แบบนี้ มี MOS ก็เหมือนไม่มีครับ เพราะเป็น MOS ตามอำเภอใจ

คุณอาจจะรู้สึกว่าไม้บรรทัดของบัฟเฟต "เว่อร์" ไปหรือเปล่า อะไรกันตั้งหลายปีไม่ได้ซื้อหุ้นอะไรเลย แต่ถ้าไม้บรรทัดของบัฟเฟตไม่แตกต่างจากไม้บรรทัดของคนอื่นๆ บัฟเฟตก็คงไม่อาจเป็นนักลงทุนระดับตำนานได้

เช่นนี้แล้ว คุณสมบัติของนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จนั้น นอกเหนือจากความสามารถที่จะถือหุ้นในระยะยาวได้แล้ว ความสามารถในการรอคอยที่จะไม่ซื้อหุ้นจนกว่าหุ้นจะมีราคาที่เหมาะสม (ไม่ว่าจะต้องรอนานมากแค่ไหน) ก็เป็นคุณสมบัติที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันด้วย แต่เรายังไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากเท่าที่ควร



ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9017
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com
พอร์ตอภิมหาเศรษฐี / คนขายของ

updated: 08 ม.ค. 2558 เวลา 06:55:03 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์


สื่อต่างประเทศประเมินว่า หาก บิล เกตส์ไม่บริจาคเงินของเขาเข้ามูลนิธิ Bill & Melinda Gates ตอนนี้เขาคงเป็นผู้ที่มั่งคั่งทีมีสินทรัพย์ทั้งหมดเกินกว่า 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐเป็นคนแรกของโลก แต่ถึงแม้บริจาคไปแล้ว ตอนนี้ บิล เกตส์ ก็ยังคงเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกด้วยทรัพย์สินกว่า 82,000 ล้านเหรียญ หลายคนอาจจะเข้าใจว่าความมั่งคั่งของบิล เกตส์ ส่วนใหญ่ตอนนี้คงอยู่ในบริษัท Microsoft ที่เขาเป็นผู้ก่อตั้ง แต่เปล่าเลย ณ ตอนนี้มูลค่าของหุ้น Microsoft ทั้งหมดที่เขามีราวๆ 14,000 ล้านเหรียญ คิดเป็นแค่ 17% ของสินทรัพย์ทั้งหมด ยิ่งกว่านั้นเขามีแผนที่จะลดสัดส่วนการถือครองใน Microsoft ลงเรื่อยๆ มีการคาดการณ์ว่าอีกสี่ปีข้างหน้า บิล เกตส์จะไม่เหลือเงินลงทุนในบริษัทที่เขาก่อตั้งอีกเลย แล้วตอนนี้ความมั่งคั่งของเขาอยู่ที่ไหน? พอร์ตลงทุนหุ้นของเขามีหุ้นประเภทไหนบ้าง? และ เราจะเรียนรู้อะไรจากการจัดพอร์ตนี้ได้บ้าง? เราจะมาดูในรายละเอียดกัน

ปัจจุบันกว่า 78% ของสินทรัพย์ของบิล เกตส์อยู่ในบริษัทการลงทุนส่วนตัวของเขาชื่อ Cascade Investment LLC บริหารโดย Michael Larson อดีตผู้จักการกองทุนที่ บิล เกตส์ไว้วางใจเป็นเวลายาวนานกว่า 20 ปี Cascade Investment ลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภท แต่สัดส่วนใหญ่อยู่ในหุ้นของบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ คิดเป็นกว่า 38% ของสินทรัพย์ทั้งหมด มีมูลค่ารวมกันกว่า 24,000 ล้านเหรียญ โดยมี 5 บริษัทที่ถืออยู่ คิดเป็นเกือบ 3 ใน 4 ของพอร์ตหุ้น หุ้นหลักห้าตัวนั้นได้แก่ 1) Canadian National Railway บริษัทรถไฟที่มีเครือข่ายครอบคลุมในแคนนาดาและตอนกลางของสหรัฐ คิดเป็น 27% ของพอร์ต 2) Republic Services บริษัทบริหารจัดการขยะที่ไม่อันตรายสำหรับอุตสาหกรรมและที่อยู่อาศัยในหลายรัฐ คิดเป็น 17% ของพอร์ต 3) ECO LAB บริษัทขายผลิตภัณฑ์และให้บริการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ สำหรับลูกค้าในอุตสาหกรรมอาหาร โรงพยาบาล และ อุตสาหกรรม คิดเป็น 14% ของพอร์ต 4) Deere & Co บริษัทผลิตและจำหน่ายเครื่องจักรกลทางการเกษตร และ รับจัดเช่าซื้อ คิดเป็น 10% ของพอร์ต และ 5) AutoNation บริษัทขายรถยนต์มีหน้าร้านกระจายอยู่ทั่วอเมริกา มีรถยนต์ให้เลือกมากกว่า 30 แบรนด์ คิดเป็น 3.5% ของพอร์ต

จากข้อมูลการจัดพอร์ตของ Cascade Investment ดังกล่าวผมคิดว่ามีจุดที่น่าสนใจดังนี้ ประเด็นที่หนึ่ง ธุรกิจที่อยู่ในพอร์ตส่วนใหญ่เป็นภาคบริการจะมีแค่ Deere & Co เท่านั้นที่เน้นการผลิต แสดงถึงมุมมองที่เป็นบวกต่อธุรกิจบริการมากกว่าการผลิตในอนาคต ประเด็นที่สอง เป็นพอร์ตที่เน้นเรืองความมั่นคงของกิจการ โดยเลือกกิจการที่เป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจไม่เน้นกิจการที่ผลิตหรือจำหน่ายสินค้าไฮเทคหรือสินค้าแฟชั่นเลย นอกจากนั้นยังเน้นเรื่องการกระจายความเสี่ยง โดยหุ้นที่ถือครองจะกระจายไปตามอุตสาหกรรมต่างๆที่ไม่ทับซ้อนกัน และมีลูกค้าคนละกลุ่มอย่างชัดเจน ไม่ถือหุ้นตัวใดเกิน 50% ของพอร์ต หุ้นที่ถือมากที่สุดคิดเป็น 27% เท่านั้น ในกรณีเลวร้ายที่สุด ถ้าหุ้นที่ถือถึง 27% เกิดล้มละลายไป มูลค่าหุ้นที่เหลือของพอร์ตหากโตได้แบบอนุรักษ์นิยม ปีละ 10% ภายในสามปีกว่ามูลค่าพอร์ตจะกลับมาเท่าเดิม ประเด็นที่สาม หุ้นหลักที่ถือห้าตัวนี้ มีธุรกิจส่วนใหญ่อยู่ในอเมริกาเหนือ แสดงถึงมุมมองที่ บิล เกตส์ ให้ความเชื่อมั่นว่าอเมริกาจะยังคงเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกต่อไปในอนาคต

Portfolio Management หรือ “การบริหารพอร์ตลงทุน” เป็นเรื่องที่ช่วยนักลงทุนบริหารความเสี่ยงในการลงทุนได้เป็นอย่างดี การศึกษา การจัด Portfolio ของนักลงทุนชั้นนำช่วยให้เราเข้าใจมุมมองการลงทุนของเขาเหล่านั้นได้ดีขึ้น และสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ในการลงทุนของเราในอนาคต

ที่มา:
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1420623010


ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9017
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com



Monday, 12 January 2015
แอบรักออนไลน์

สัปดาห์ที่ผ่านมาผมได้ดูละครหลังข่าวเรื่องใหม่ชื่อ  “แอบรักออนไลน์”  เพียงหนึ่งหรือสองตอนผมก็รู้สึกว่าละครเรื่องนี้น่าจะ “ฮิต” พอสมควรโดดเฉพาะสำหรับ  “คนเมือง”  หรือคนที่อยู่ในเมือง  มีการศึกษาและฐานะค่อนไปทางดี  ไม่ใช่ตลาด  “Mass” หรือผู้ชมที่อยู่ในชนบทซึ่งจะเป็นอีกตลาดหนึ่ง  อย่างไรก็ตาม  ก่อนที่จะพูดถึงละครเรื่องนี้  เราก็ควรจะทำความเข้าใจเสียก่อนว่าตลาดละครหรือรายการต่าง ๆ  ในทีวีที่เป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่นั้น  น่าจะมีอยู่ซัก 2-3 ตลาดนั่นก็คือ  ตลาดกลุ่ม “รากหญ้า”  นี่คือรายการที่เป็นที่นิยมของคนในชนบทเป็นส่วนใหญ่  รายการจะเน้นไปที่ความสนุกสนานแบบ “ตรงไปตรงมา”  เป็นเรื่องชีวิตและความฝันของ  “ชาวบ้าน”  นักแสดงและดาราที่นำเสนอก็จะมีความเป็น  “ชาวบ้าน”  ที่ผู้ชมสัมผัสได้เพราะไม่ได้มี  “ตระกูลรุนชาติ”  เนื้อหาก็มักจะมีเรื่องของความ  “ตลกโปกฮา” ปะปนอยู่เสมอ  หรือไม่ก็เป็นการ “ขายฝัน” ว่าจะร่ำรวยและมีฐานะดีขึ้นในชั่วข้ามคืนจากอะไรบางอย่างที่เป็นไปได้แต่โอกาสเกิดน้อย เช่น  การ “ถูกหวย” หรือการได้แต่งงานกับเศรษฐีหรือ  “คุณชาย” ที่มีตระกูลสูง

    ตลาดใหญ่อีกตลาดหนึ่งก็คือตลาด  “คนเมือง”  หรือคนที่อาศัยอยู่ในเมือง  คนกลุ่มนี้มักจะเป็นคนชั้นกลางขึ้นไปที่มีการศึกษาและฐานะดีกว่าค่าเฉลี่ยรายได้ของคนในประเทศ  ละครหรือรายการที่พวกเขาชอบดูนั้น  จะเป็นเรื่องที่  “ซับซ้อน” ขึ้นมาบ้าง  จะต้องมีการคิดคาดการณ์ปฏิกิริยาและความคิดของตัวละครหรือเรื่องราวต่าง ๆ  แม้ว่าจะเดาไม่ยากนัก  เนื้อเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องของ  “คนเมือง”  เช่น  เป็นชีวิตในสำนักงาน  ชีวิตของคนที่มีอาชีพที่มีคนรู้จักและเกี่ยวข้องกันมาก เช่น เป็นหมอ  เป็นแอร์โฮสเตส  ข้าราชการ   คนบันเทิงอะไรต่าง ๆ  เหล่านี้  ดาราหรือผู้นำเสนอรายการเองนั้น  ก็จะต้องเป็นคนที่ดู  “ไฮโซ”  หน้าตาจะต้อง  “อินเทรนด์”  ออกแนว “ลูกครึ่ง” หรือแบบ  “เกาหลี”  การแต่งหน้าแต่งตัวนั้นจะต้องออกแนว  “เป๊ะเวอร์” บ้านจะต้อง  “อลังการ” แม้ว่าตามเรื่องเจ้าของจะเป็น  “คนจน”  ส่วนเนื้อเรื่องหรือสาระนั้นก็จะออกแนว  “ชิงรักหักสวาท” หรือแนว  “โรแมนติกคอมเมดี้” ที่เน้นความน่ารัก  ซาบซึ้งและความตลกที่ “ไม่ได้ตั้งใจแสดง”

     ส่วนอีกตลาดหนึ่งที่น่าจะมีขนาดใหญ่ก็คือ  ตลาด  “ทั้งหมด”  นั่นก็คือ  เป็นรายการที่ดูกันได้ทุกกลุ่มทุกชนชั้น  แนวก็จะพยายามครอบคลุมเรื่องที่เป็น  “กลาง ๆ”  เช่น  เรื่องราวประวัติศาสตร์ย้อนยุคที่มีการ “ดัดแปลง” ให้  “ดูดี” ในสายตาของคนยุคปัจจุบัน  เช่น  ดารานำแสดงอาจจะเป็น “ลูกครึ่ง”  ที่ดูสวยหล่อ  ธรรมเนียมประเพณีที่ล้าสมัยและไม่มีใครเขาทำกันแล้วก็จะต้องมีดัดแปลงให้สมจริงขึ้น  ถ้าเป็นรายการวาไรตี้หรือทอล์คโชว์ก็จะต้องเป็นเรื่องที่กลาง ๆ  และคนส่วนใหญ่สนใจ เช่น  เป็นเรื่องแปลก  เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน  ดาราหรือแขกรับเชิญนั้นก็จะต้องไม่จำกัดเฉพาะที่เป็น  “ไฮโซ” แต่จะต้องไม่ใช่  “ชาวบ้าน” จากชนบทที่จะทำให้รายการเปลี่ยนไปทันทีเป็นแบบ Mass  ถ้าเป็นเรื่องของละครก็จะออกแนวยุค “ซิกตี้” หรือประมาณซัก 40-50 ปี ที่คนไทยเริ่มพัฒนาประเทศเป็นแบบสมัยใหม่ที่ยังมี  “คุณชายรุ่นสุดท้าย” ที่หล่อเหลาขับรถหรูเป็นชายในฝันของหญิงทุกคนแต่ยังมี  “ท่านแม่” ที่อาจจะคอยกีดกันความรักที่มีกับ “สามัญชน”  อะไรทำนองนี้

    ผมพูดออกนอกเรื่องไปไกลก็เพื่อจะให้ภาพตลาดของสื่อซึ่งนอกจากจะสะท้อนถึงธุรกิจด้านของทีวีและอีกหลาย ๆ  เรื่องแต่นี่ไม่ใช่ประเด็นหลักที่ผมจะพูดถึง  สิ่งที่ผมต้องการวิเคราะห์จริง ๆ ก็คือ Content หรือเนื้อหาต่าง  ๆ ที่ถูกนำเสนอโดยเฉพาะที่ผ่านทางทีวีซึ่งยังเป็นช่องทางหลักของไทยนั้น  แท้ที่จริงมันเป็นสิ่งที่  “สะท้อนภาพของสังคม”  กล่าวคือ  ถ้าสังคมกำลังเป็นอย่างไรหรือคนกำลังนิยมอะไร  ละครในทีวีก็จะแสดงออกอย่างนั้น  ทีวีนั้น  ผมคิดว่าไม่ใช่ “ผู้นำ” แต่เป็น “ผู้ตาม”  แต่ในขณะเดียวกัน  เมื่อทีวีมีการนำเสนอ มันก็จะส่งผลให้คนอื่น ๆ  ทำตามหรือคิดตามด้วย  ซึ่งก็จะช่วย “กระพือ”  ให้สิ่งนั้นได้รับความนิยมมากขึ้นจนกลายเป็น “กระแส”  หรือมีคนทำกันมากขึ้นนิยมกันมากขึ้นจนกว่ามันจะเป็นกระแสหลัก  หรือไม่อย่างนั้น  ความนิยมก็จะค่อย ๆ  หายไปเมื่อสิ่งนั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่คนหรือสังคมต้องการให้มันคงอยู่อย่างถาวรจริง ๆ  แต่เป็นเพียง  “แฟชั่น” ที่ขึ้นอยู่กับ  “ช่วงเวลา”  อันสั้นนั่นก็คือ  “ดัง” ถึงขีดสุดแล้วก็ค่อย ๆ  “ดับ” ไป

    ละครเรื่องแอบรักออนไลน์นั้น  ผมคิดว่าสะท้อน “สังคมยุคใหม่” อย่างน้อย 2 เรื่องที่ผมไม่ใคร่ได้เห็นในละครหลังข่าวเรื่องอื่นมากนักนั่นก็คือ  เรื่องแรก  สังคมไทยตอนนี้เป็นสังคมที่น่าจะ  “ออนไลน์” กันอย่างมีนัยสำคัญและละครหลังข่าวเริ่ม “สะท้อน” มันออกมา   คนที่อ่านบทความนี้อาจจะมีความรู้สึกเหมือนว่าสังคมไทยนั้นติดต่อและพูดคุยผ่านอินเตอร์เน็ตมานานแล้วเนื่องจากตนเองทำมานานและเพื่อน ๆ  ก็ออนไลน์มาตั้งนานแล้ว  แต่ถ้าไปถาม  “ชาวบ้าน” ทั่ว ๆ ไป  ผมคิดว่าเราจะได้คำตอบมาอีกอย่างหนึ่ง  เนื้อเรื่องของละครนั้น  จะเดินผ่านข้อความออนไลน์ที่นักแสดงส่งถึงกันเป็นจำนวนมาก  แม้แต่คนที่อยู่ในที่ทำงานเดียวกันและอาจจะนั่งใกล้ ๆ  กันก็อาจจะส่งข้อความกันแทนที่จะพูดกัน  และผมเชื่อว่า  การออนไลน์นั้นก็อาจจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  และอยู่กับเราอย่างถาวรได้

    เรื่องที่สองที่ละครสะท้อนมันออกมาและผมเห็นว่าน่าสนใจมากก็คือ “หุ้น”   ในอดีตนั้น  เรื่องของหุ้นที่จะปรากฏออกมาทางละครหลังข่าวนั้น  อย่างมากก็เป็นแค่ว่าตัวแสดงนั้นประกอบอาชีพเกี่ยวกับหุ้นและไปทำอะไรบางอย่างที่ทำให้กระทบกับตัวแสดงคนอื่น  เช่น  ไปเทคโอเวอร์ธุรกิจที่ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนอะไรทำนองนี้  แต่ในกรณีของแอบรักออนไลน์นั้น  ดาราตัวเอกทั้งหมดอยู่ในบริษัทโบรกเกอร์ซึ่งให้บริการในการซื้อขายหุ้นให้กับลูกค้า  ฉากหลักของเรื่องนั้นอยู่ในออฟฟิสที่มีหน้าจอคอมพิวเตอร์ซื้อขายหุ้น  ว่าที่จริงมีแม้กระทั่งฉากการแสดงการวิเคราะห์หุ้นด้วยกราฟและตัวเลขที่ใช้ในการตัดสินใจเรื่องการซื้อขายหุ้นด้วย

    ตัวเอกของเรื่องเองนั้น  ก็เป็นการบอกว่าเรื่องหุ้นนั้น  เป็นเรื่องของคนรุ่นใหม่ที่เป็นชนชั้นนำของสังคม  โดยที่พระเอกอันดับหนึ่งเรียนจบจากคณะวิศวชั้นนำระดับประเทศ  แต่ที่เหนือไปกว่านั้นก็คือ นางเอกซึ่งจบจากบอสตันที่ถือว่าเป็นสถานที่ศึกษาของคนชั้นสูงของไทย  นี่ก็หมายความว่าอาชีพหรืองานทางการเงินโดยเฉพาะที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับหุ้นนั้น  เป็นความเท่  เป็นงานที่มีเกียรติ  และเป็นงานที่คนใฝ่ฝันอยากทำ  ในอีกมุมหนึ่ง  การที่ให้นางเอกเรียนจบมหาวิทยาลัยดังจากเมืองนอกแทนที่จะเป็นพระเอก  ก็เป็นอีกภาพหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึงความก้าวหน้าของสังคมไทยที่ผู้ชายไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นผู้นำหรือผู้ที่เหนือกว่าอย่างในละครรุ่นเก่าอีกแล้วที่ผู้ชายต้องเป็นคุณชายและนางเอกเป็นคนธรรมดา

     ยังมีฉากและเรื่องราวอีกมากที่บ่งบอกให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในสังคมมาเป็นสังคมยุคใหม่ในละครเรื่องนี้    ในอเมริกานั้น  เราเห็นหนังเกี่ยวกับเรื่องของหุ้นมาตลอดเวลานานแล้ว  เรื่องล่าสุดที่ผมดูมาก็คือ  The Wolf of Wall Street ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ  “ความโลภและมุมมืด” ในตลาดหุ้น  หุ้นและตลาดหุ้นในอเมริกาอาจจะถือว่าเป็นเรื่องหนึ่งที่อยู่ในระดับ Mass ในสังคมมานานแล้ว  เรื่องราวเกี่ยวกับหุ้นถ้าจะทำเป็นหนังจะต้องมีจุดเฉพาะเช่น  ความโลภอย่างหนัก เป็นต้น    แต่ในตลาดหุ้นไทยนั้น  หุ้นคงกำลัง “ไต่ระดับ” ขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทยบางกลุ่มมากขึ้นเรื่อยแต่ยังไม่ถึงกับเป็นเรื่องของคนส่วนใหญ่  ละครเรื่องแอบรักออนไลน์นั้น  เป็นจุดที่บอกว่า  ตอนนี้หุ้นกำลัง  “มาแรง” และมีคนเกี่ยวข้องสนใจมากพอที่จะนำเสนอในละครได้แล้ว  ดังนั้น  เราคงต้องระวังและจับตาดู  เพราะอะไรที่มาแรงเกินไปนั้น  แม้ว่าในระยะยาวมันก็ยังไปต่อได้  แต่ในระยะสั้น  มันก็มีโอกาสที่จะปรับตัวลงแรงเช่นกัน    สำหรับผม  การเปิดตัวของละครเรื่องนี้ทำให้ผมกังวลเกี่ยวกับหุ้นเพิ่มขึ้นอีกในปีนี้    อย่างไรก็ตาม  ในด้านของความบันเทิงแล้ว  ผมก็ขอ  “แอบรัก”  ผลงานของคุณ แอน ทองประสม  ที่ผมคิดว่าทำได้ดีมาก  ทั้งการแสดงและการทำละครเรื่องนี้

Posted by nivate at 2:06 PM in โลกในมุมมองของ Value Investor 

ที่มา:
http://portal.settrade.com/blog/nivate/2014/12/29/1506


ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9017
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com



Monday, 19 January 2015
กลยุทธ์สู่ความมั่งคั่ง

เด็กจบปริญญาตรีใหม่ ๆ  หรือเพิ่งเริ่มทำงานมาได้สักพักหนึ่งบางคนนั้น  บางทีก็ “ฝัน” ที่จะร่ำรวยด้วยการลงทุนในหุ้น  พวกเขารู้สึกว่าหุ้นนั้นสามารถทำให้คนรวยได้เร็วและเหนื่อยน้อยที่สุด  ว่าที่จริงพวกเขาอาจจะคิดว่าการทำงานกินเงินเดือนนั้น  “ไม่มีทางรวย” เพราะเขาอาจจะลองนับดูเงินเดือนที่จะได้รับหรือได้รับแต่ละเดือนแล้วก็พบว่ามันแค่พอกินพอใช้หรือบางทีก็ไม่ใคร่พอด้วยซ้ำ  โอกาสที่จะรวยนั้นไม่มีแน่นอน  แต่ถ้า  “เล่นหุ้น”  และประสบความสำเร็จอย่าง  “เซียน”  หลาย ๆ  คนที่อ้างว่าเริ่มลงทุนด้วยเงินเพียงน้อยนิดหลักหมื่นหรือแสนบาทแล้วกลายเป็นเงินหลายสิบหรือหลายร้อยล้านบาทในเวลาไม่กี่ปี  โอกาสรวยเป็นเศรษฐีหรือมหาเศรษฐีก็เป็นไปได้  ดังนั้น  คนหวังรวยเร็ว ๆ  ซึ่งก็เป็นแนวความคิดของเด็กรุ่นใหม่จำนวนมากจึงมุ่งหน้าสู่ตลาดหุ้นและทุ่มเทให้กับการลงทุนหรือเล่นหุ้นจนอาจจะ “ลืม”  คิดถึงความเป็นจริงที่อาจจะไม่เหมือนกับสิ่งที่ตนเองรับรู้มา  หรือความเป็นจริงของตนเองที่อาจจะไม่เหมาะกับการยึดถือการลงทุนเป็นอาชีพตั้งแต่เริ่มต้นทำงานหลังจากเรียนจบ

ผมคิดว่าคนที่หวังจะร่ำรวยเร็ว ๆ จากเงิน “เริ่มต้น” ที่น้อยหรือไม่มีเลยนั้น  จำเป็นที่จะต้องกำหนดกลยุทธ์ใหญ่หรือยุทธศาสตร์ที่ถูกต้องสำหรับตนเองเสียก่อน  ประการแรกก็คือ  ดูว่าตนเองมีจุดแข็งหรือความสามารถโดดเด่นทางด้านไหน  ถ้าเป็นคนเรียนเก่งและจบมาทางสายวิทยาศาสตร์  เช่น วิศวกรรมหรือแพทย์   หรือไม่ก็จบทางด้านที่เกี่ยวกับการเงินหรือธุรกิจในสถานศึกษาชั้นนำของประเทศ  ในกรณีแบบนี้  เราก็มี  “แต้มต่อ” ในเรื่องของการทำงานในองค์กรธุรกิจ  และถ้าเราขยันขันแข็งและมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี  โอกาสที่เราจะทำเงินได้มากและเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างมั่นคงก็จะมีมาก  และนี่เป็นหนทางที่สามารถสร้างความมั่งคั่งได้  ว่าที่จริงในสังคมไทยยุคใหม่นี้  พนักงานที่ทำงานจนร่ำรวยหรือมีความมั่งคั่งนั้น  มีไม่น้อยเลยและจะมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามแบบอย่างของประเทศที่เจริญแล้ว    ดังนั้น  ถ้าใครมีคุณสมบัติดังกล่าว  ผมคิดว่าเราต้องใช้มันเต็มที่  นั่นก็คือ  มุ่งหน้าสู่การทำงานในธุรกิจที่กำลังเติบโตเร็ว  ในบริษัทที่เปิดโอกาสให้เราเติบโตได้จนสามารถกลายเป็นผู้บริหารระดับสูง  และเมื่อถึงจุดนั้น  เราก็จะมีความมั่งคั่งโดยที่มีความเสี่ยงน้อย  และในกรณีอย่างนี้  การทุ่มเทให้กับการทำงานคือสิ่งที่เราจะต้องทำอย่างเต็มที่

    ในสถานการณ์ที่ตลาดหุ้น “บูม” มานานนับสิบปีอย่างที่เป็นอยู่ในตอนนี้และทำให้มีนักลงทุนที่รวยจากการลงทุนในหุ้นจำนวนมากรวมถึงคนหนุ่มสาวที่อายุเพิ่งจะสามสิบบวกลบ  คนจำนวนมากจึงคิดว่าตลาดหุ้นหรือการลงทุนคือสิ่งที่สามารถทำให้เรารวยได้เร็วและง่าย  ดังนั้น  เส้นทางการลงทุนจึงเป็นเส้นทางที่หลายคนเลือกตั้งแต่เรียนจบใหม่ ๆ  หรือเพิ่งทำงานมาไม่นาน  หลายคนทุ่มเทกับการวิเคราะห์หาหุ้นลงทุนโดยที่ให้ความสำคัญกับงานประจำน้อยกว่าที่ควรจะเป็นเพราะเขาอาจจะคิดว่างานนั้นเป็นแค่  “ส่วนเสริม” ของการมุ่งหน้าสู่ความมั่งคั่ง  พวกเขาอาจจะคิดว่าเมื่อถึงวันหนึ่งในอีกไม่นาน  เขาจะลาออกจากงานและมาเป็นนักลงทุนเต็มตัว  ส่วนบางคนนั้น  พวกเขาปฏิเสธการทำงานหรือเลิกทำไปแล้วทั้ง ๆ  ที่เงินลงทุนยังไม่มากพอที่จะมี  “อิสรภาพทางการเงิน”  แต่พวกเขาคิดว่าเขาสามารถที่จะสร้างผลตอบแทนที่ดีพอที่จะนำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและมีส่วนเกินที่จะนำไปลงทุนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็วจนกลายเป็นคนที่ร่ำรวยได้  เขาเชื่ออย่างนั้นเนื่องจากผลงานที่ผ่านมาหลายปีนั้นสูงขนาดปีละอาจจะ 50% หรือ เกิน 100% และเขามั่นใจว่าการทำผลตอบแทนปีละ20%-30% ขึ้นไปนั้น  เป็นสิ่งที่ง่ายมากไม่ว่าตลาดหุ้นจะเป็นอย่างไรในอนาคต  ซึ่งผมคิดว่า  พวกเขาคิดผิด!

    ผมคิดว่าการที่จะพิสูจน์ได้ว่านักลงทุนคนไหนมี  “ความสามารถสูงเป็นพิเศษ” ได้จริงนั้น  เขาจะต้องผ่านการลงทุนที่ยาวนานระดับอย่างน้อย 15-20 ปีขึ้นไป  และสร้างผลตอบแทนที่ผมอยากเรียกว่า “Total Return” อย่างน้อย 20% ต่อปีแบบทบต้น  โดยที่เงินเริ่มต้นที่จะเริ่มบันทึกจะต้องมีนัยสำคัญสำหรับเขานั่นก็คือ  ไม่ใช่เงินเล็กน้อยที่เขาอาจจะเสียไปครึ่งหนึ่งโดยไม่ได้รู้สึกเดือดเนื้อร้อนใจ  ตัวอย่างเช่น  เงินเริ่มต้นที่จดบันทึกผลตอบแทนนั้น  อาจจะเท่ากับรายได้จากการทำงาน 4-5 ปี ของเขา และเขาก็ไม่มีแหล่ง “เงินสำรอง” อื่น  เช่น เงินจากพ่อแม่ที่มีฐานะและพร้อมที่จะเข้ามาสนับสนุนเมื่อเกิดความจำเป็น  และด้วยการวัดแบบนี้  ผมเชื่อว่า  เราอาจจะพบว่าจำนวน  “เซียนหุ้น”  ในตลาดหุ้นไทยอาจจะลดลงไปมาก  เหตุผลที่ผมต้องกำหนดระยะเวลาการวัดผลงานที่ยาวนานนั้นเป็นเพราะว่าในช่วงเวลาสั้น ๆ  นั้น  เป็นไปได้ที่ตลาดหุ้นจะอยู่ในช่วงบูมจัดที่ทำให้ผลตอบแทนการลงทุนจะสูงโดยที่ไม่จำเป็นต้องมีความสามารถมากนัก  ส่วนเรื่องผลตอบแทนทบต้นปีละ 20% นั้นผมตั้งไว้เพราะพอร์ตเริ่มต้นของคนหนุ่มสาวอาจจะไม่ใหญ่นักซึ่งทำให้อาจจะสามารถทำผลตอบแทนได้สูงกว่าปกติได้  ในกรณีที่เริ่มลงทุนด้วยพอร์ตขนาดใหญ่เป็น 10 ล้านบาทขึ้นไปนั้น  ผมคิดว่าผลตอบแทนถ้าได้ถึง 15% ต่อปีขึ้นไปก็ต้องถือว่ามีฝีมือในการลงทุนเป็นพิเศษแล้ว

    ประเด็นสำคัญที่ต้องพูดอีกเรื่องหนึ่งก็คือคำว่า Total Return หรือ  “ผลตอบแทนรวม”  ของการลงทุน  เพราะนี่เป็นเรื่องที่หลายคนอาจจะไม่เข้าใจเวลาวัดผลหรือวัดความสามารถในการลงทุนของตนเอง  ก่อนอื่นต้องกำหนดเสียก่อนว่าเม็ดเงินหรือพอร์ตการลงทุนรวมของตนเองคือเท่าไรเสียก่อน   บางคนอาจจะคิดว่าเงินที่ตนเองเอามาลงทุนใน  “หุ้น” คือพอร์ตรวมของตนเอง   ดังนั้น  เวลาวัดผลก็จะดูว่าในแต่ละปีได้กำไรจากการซื้อขายหุ้นเท่าไรแล้วก็บวกด้วยปันผล  ในกรณีแบบนี้ผมคิดว่าไม่เหมาะ  เพราะถ้าส่วนที่เรานำมาลงทุนในหุ้นนั้นมีเพียงนิดเดียว  ต่อให้ผลตอบแทนในหุ้นจะสูงมาก  มันก็ไม่ทำให้เรารวยหรือทำให้ผลตอบแทนเม็ดเงินของเราทั้งหมดสูงขึ้นมาได้มาก  วิธีที่ผมคิดว่าดีกว่าก็คือ  กำหนดว่าเรามีทรัพย์สินอะไรบ้างที่เราไม่ได้ใช้เองและสามารถนำไปหารายได้ไม่ว่าในรูปแบบใดก็ถือว่าเป็นเงินลงทุนหมด

    ตัวอย่างเช่น  เงินฝากธนาคารและหุ้นกู้หรือพันธบัตรที่มีรายได้จากดอกเบี้ย  คอนโดที่เราซื้อมาไม่ใช่เพื่ออยู่อาศัยแต่นำไปปล่อยเช่าซึ่งค่าเช่าก็เป็นผลตอบแทน แบบนี้ถือเป็นเงินที่ต้องนับรวมในพอร์ตการลงทุน  ส่วนบ้านที่เราใช้อยู่อาศัยนั้นไม่นับเป็นเงินลงทุนเช่นเดียวกับรถยนต์ที่เราใช้  ส่วนเครื่องเพชรและทองรูปพรรณที่เราใช้ในการแต่งตัวนั้นไม่ถือเป็นเงินลงทุนในขณะที่ทองแท่งนั้น  แม้ว่าจะไม่ก่อให้เกิดรายได้แต่มัน “พร้อมขาย” และเราตั้งใจซื้อเพื่อลงทุนก็ต้องนับรวมในพอร์ตของเรา    เมื่อเรากำหนดได้ทั้งหมดแล้วว่าอะไรเป็นทรัพย์สินเพื่อการลงทุน  เราก็จะคำนวณมูลค่าของทรัพย์สินทุกรายการตาม  “ราคาตลาด” ในตอนต้นปีของแต่ละปี  กรณีที่ไม่มีราคาตลาดที่เราสามารถขายได้ชัดเจนเช่น  คอนโด  เราก็ควรกำหนดราคาที่ “อนุรักษ์นิยม” เช่น ใช้ราคาที่ซื้อมาแม้ว่าเราจะคิดว่าราคามันน่าจะเพิ่มขึ้นแล้ว เป็นต้น  ส่วนกรณีของทองแท่งนั้น  เราสามารถใช้ราคาตลาดได้เนื่องจากมันสามารถถูกนำไปขายได้จริง  หลังจากนั้นเราก็รวมมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดดังกล่าวและกำหนดว่านี่คือทุนทั้งหมดที่เรามีในการลงทุน

    ผลตอบแทนรวมหรือ Total Return นั้นก็คือมูลค่าของทรัพย์สินที่เรามีทั้งหมดตอนปลายปี  ลบตอนต้นปีแล้วหารด้วยมูลค่าพอร์ตทั้งหมดตอนต้นปีคูณด้วย 100  ก็จะได้ผลตอบแทนเป็นเปอร์เซ็นต์ผลตอบแทนต่อปี  และเราทำแบบนี้ปีแล้วปีเล่า  ถ้าตัวเลขเฉลี่ยแบบทบต้นสูงถึง 15%-20%  ก็แสดงว่าเรามีความสามารถในการลงทุนสูงจริง  แต่ความสามารถนี้ไม่ใช่เกิดจากการลงทุนในหุ้นหรือเลือกหุ้นเก่งเพียงอย่างเดียว  แต่มันหมายความว่าเราสามารถจัดสรรเงินลงทุนในทรัพย์สินที่ถูกต้องด้วย  นั่นก็คือ  เราจัดสรรเงินส่วนใหญ่ไปลงทุนในทรัพย์สินที่ให้ผลตอบแทนสูง  นั่นก็คือหุ้นซึ่งให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงทุนในทรัพย์สินอย่างอื่น  อย่างไรก็ตาม  การจัดเงินไปลงทุนในทรัพย์สินอย่างอื่นด้วยนั้น  มันสามารถลดความเสี่ยงจากความผันผวนได้  และนั่นก็อาจจะทำให้เราตัดสินใจยอมรับผลตอบแทนที่ต่ำลงบ้างโดยไม่ลงทุนในหุ้นทั้ง 100%  และนี่ก็คือตัวเลขที่จะบอกว่าเรามีความสามารถในการลงทุนมากพอที่จะใช้เป็นกลยุทธ์หลักในการสร้างความมั่งคั่งให้กับตนเองหรือไม่

Posted by nivate at 9:59 AM in โลกในมุมมองของ Value Investor

ที่มา:
http://portal.settrade.com/blog/nivate/2015/01/19/1516



ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9017
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com


Monday, 26 January 2015
The Zulu Principle

   เมื่อผม  “เริ่มเดินทาง” สาย Value Investment อย่างจริงจังประมาณ 20 ปีมาแล้วนั้น  การอ่านหนังสือการลงทุนจากต่างประเทศเป็นกิจกรรมที่ผมทำอย่างเข้มข้น  หนังสือเกี่ยวกับการลงทุนโดยเฉพาะแนว VI ที่  “โด่งดัง”  หรือเป็นหนังสือขายดีแบบ Best Seller แทบทุกเล่ม  เช่นเดียวกับหนังสือ Classic ที่ยอดเยี่ยมและไม่ขึ้นกับกาลเวลานั้น  ผมอ่านแทบทุกเล่ม  หนึ่งในหนังสือที่ผมรู้สึกว่าอ่านง่ายและได้ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ไม่ยากก็คือ  “The Zulu Principle”  หรือ  “หลักการของซูลู”  เขียนโดย Jim Slater  นักลงทุนชื่อดังชาวอังกฤษ หนังสือเขียนมาตั้งแต่ปี 1992 แต่ผมอ่านเวอร์ชั่นของปี 1997 ปีที่ไทยเกิดวิกฤติทางการเงิน

   แนวความคิดของ จิม สเลเตอร์ ที่พูดถึงในหนังสือเล่มนี้ก็คือเขาต้องการที่จะแนะนำให้นักลงทุนรายย่อยที่เป็นคนชั้นกลางของอังกฤษหันมาลงทุนอย่างชาญฉลาดในตลาดหุ้นและมีความสุขกับมัน  เขาบอกว่านักลงทุนรายย่อยทุกคนนั้น   สามารถที่จะเป็น  “ผู้เชี่ยวชาญ” ในอุตสาหกรรมหรือหุ้นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ไม่ยาก  และถ้าทำแบบนั้นแล้ว  พวกเขานอกจากจะสามารถทำกำไรจากหุ้นที่เติบโตดีอย่างโดดเด่นมากแล้ว  ยังจะมีความสุขจากกระบวนการลงทุนนั้นด้วย

   ในหนังสือ  The Zulu Principle นั้น  จิม สเลเตอร์ บอกว่าเขาได้ความคิดจากภรรยา  นั่นคือ  ในวันหนึ่งภรรยาเขาได้อ่านบทความเกี่ยวกับชนเผ่าซูลูในอาฟริกาที่มีความโดดเด่นน่าสนใจมากจากหนังสือ Readers Digest  และเพียงไม่กี่นาทีหลังจากนั้น  ภรรยาเขาก็รู้เรื่องราวเกี่ยวกับซูลูมากกว่าตัวเขาเอง  และทันใดนั้น  เขาก็รู้สึกว่า  ถ้าภรรยาเขาอ่านหนังสือเกี่ยวกับซูลูทั้งหมดในห้องสมุดของท้องถิ่น  หล่อนก็จะกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านของซูลูที่โดดเด่นในเมือง Surrey   และถ้านางสเลเตอร์ตัดสินใจเดินทางไปประเทศอาฟริกาใต้  ใช้เวลาซัก 6 เดือนศึกษาที่มหาวิทยาลัยโจฮานเนสเบิร์กและใช้เวลาบางส่วนในชุมชนอนุรักษ์ของชนเผ่านี้  หล่อนก็สามารถที่จะเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญระดับโลกเกี่ยวกับชนเผ่าซูลูได้

   จิม สเลเตอร์บอกว่า  มันไม่ได้ใช้เวลามากมายนักที่จะกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญ  คนทั่วไปที่ใช้เวลาวันละหนึ่งชั่วโมงศึกษาบริษัทต่าง ๆ  ที่ผลิตหรือขายสินค้าหรือบริการในอุตสาหกรรมหนึ่งนั้น  ในที่สุดก็จะรู้จักกับบริษัทและอุตสาหกรรมอย่างลึกซึ้ง  และเขาก็จะไม่ตัดสินใจอะไรผิดพลาดได้ง่าย    เขาจะรู้ว่าบริษัทไหนดีและบริษัทไหนไม่ดี  บริษัทไหนจะประสบความสำเร็จในด้านไหนมากกว่าบริษัทอื่น  เขาจะรู้ก่อนคนอื่นว่าบริษัทไหนจะมีข่าวอะไรดี ๆ  ออกมา  การที่คนพยายามศึกษาบริษัทต่าง ๆ  ในหลาย ๆ  อุตสาหกรรมมากเกินไปนั้น  สุดท้ายเขาก็จะไม่รู้อะไรอย่างจริงจัง  วิธีที่ดีกว่าก็คือ  พยายามจับแค่หนึ่งหรือสองอุตสาหกรรมก็พอ

   นอกจากวิธีการเรียนรู้แบบซูลูแล้ว  สเลเตอร์ยังบอกด้วยว่าการลงทุนในหุ้นนั้นเป็นทั้งเรื่องของการทำเงินที่งดงามและเป็นงานอดิเรกที่น่าสนใจในแง่ที่คุณจะได้รับความรื่นรมย์จากการใช้ความคิดและวิชาการ  นอกจากนั้นเขายังแนะนำให้นักลงทุนเข้าร่วมใน Investment Club หรือชมรมการลงทุนที่ซึ่งแต่ละคนจะช่วยกันเลือกหาหุ้นจากประสบการณ์ของตน  สเลเตอร์มองว่านักลงทุนรายย่อยนั้นมีข้อได้เปรียบบางอย่างเหนือนักลงทุนมืออาชีพ    เนื่องจากมีเงินลงทุนน้อย  ดังนั้น  พวกเขาสามารถลงทุนในบริษัทเล็กและสามารถเลือกเฉพาะหุ้นที่ดีที่สุดสิบตัวได้ในขณะที่นักลงทุนมืออาชีพต้องซื้อหุ้นจำนวนมากที่ทำให้ไม่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีมากได้

   ในส่วนของการเลือกหุ้นนั้น  สเลเตอร์แนะนำว่าเราควรลงทุนในหุ้นที่มี PE ต่ำ  มีความได้เปรียบในการแข่งขันซึ่งอาจจะมาจากยี่ห้อของสินค้าที่โดดเด่นหรือมีสิทธิบัตรเฉพาะเช่นพวกยาเป็นต้น    และเมื่อพบหุ้นเหล่านี้แล้วก็จะดูต่อไปว่าบริษัทมีการเติบโตที่โดดเด่นหรือไม่  ซึ่งความหมายของการเติบโตก็คือ  บริษัทควรมี EPS หรือกำไรต่อหุ้นเติบโตในอัตราอย่างน้อย 15% ต่อปี  และการเติบโตนี้  ในความเห็นของเขาก็คือ  ควรมาจากการที่บริษัทสามารถ  “Clone” หรือทำกิจกรรมบางอย่างที่ประสบความสำเร็จแล้วซ้ำ ๆ  เช่น เปิดร้านเครือข่ายเพิ่ม  เปิดภัตตาคารเพิ่ม หุ้นที่ทำได้แบบนี้จะมีอนาคตที่น่าสนใจมาก  ในส่วนของผู้บริหารของบริษัทนั้น  สเลเตอร์ยอมรับว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่เราจะสามารถตัดสินความสามารถหรือความซื่อสัตย์โดยเฉพาะของบริษัทเล็กที่โตเร็วได้   ดังนั้น  สิ่งที่เขาแนะนำก็คือ  ให้เริ่มดูจากตัวเลขต่าง ๆ  ของบริษัทก่อน  โดยที่  กฎสำคัญเป็นดังต่อไปนี้:

   หนึ่ง ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานั้น  บริษัทจะต้องกำไรทุกปีไม่มีข้อยกเว้น

   สอง  กำไรในช่วง 4 ปีหลังนั้นจะต้องเพิ่มขึ้นทุกปีและ EPS หรือกำไรต่อหุ้นปกติจากการดำเนินงานในปีล่าสุดจะต้องสูงสุด  ซึ่งนี่จะเป็นสัญญาณว่าบริษัทกำลัง “เดินหน้า” จริง ๆ

   สาม หุ้นอสังหาริมทรัพย์จะต้องถูกตัดออกเพราะว่ามันเป็นเรื่องของทรัพย์สินมากกว่าการเจริญเติบโต  ทรัพย์สินนั้นอาจจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นได้แต่มันอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นจากความสามารถของผู้บริหาร

   สี่  หุ้นควรจะมีโบรกเกอร์วิเคราะห์ติดตาม  และคำแนะนำจะต้องเป็น  “ซื้อ” กฏข้อนี้มีขึ้นเพราะสเลเตอร์คิดว่านักลงทุนรายย่อยนั้นไม่สามารถที่จะได้ข้อมูลลึก ๆ ของบริษัท  ดังนั้น  การได้นักวิเคราะห์มาช่วยวิเคราะห์และคาดการณ์จะทำให้นักลงทุนสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้น

   ห้า สเลเตอร์ค่อนข้างจะระมัดระวังเกี่ยวกับหุ้นวัฏจักรเช่นหุ้นรับเหมาก่อสร้างมาก  ถ้าจะเป็นบริษัทที่โตเร็ว  หุ้นพวกนี้จะต้องเข้าข่ายตามกฎทั้งหลายที่กล่าวมาด้วย  ซึ่งนี่ก็มักจะทำให้หุ้นในกลุ่มนี้ตกรอบไม่ถือว่าเป็นหุ้นเติบโตเร็ว

   สุดท้ายก็คือ  จิม สเลเตอร์ แนะนำว่าเราควรที่จะดูค่า PEG หรือค่า PE เมื่อเทียบกับการเจริญเติบโตของบริษัท  นั่นก็คือ  ค่า PE หรือระดับราคาหุ้นที่เราจ่ายเมื่อเทียบกับศักยภาพในการเจริญเติบโตของบริษัท  โดยหุ้นที่น่าสนใจก็คือหุ้นที่มีค่า PEG ต่ำกว่า 1 เท่า  โดยที่สเลเตอร์มองว่าหุ้นที่เรามองหาควรจะมีการเติบโตระหว่าง 15% ถึง 25% ต่อปี  เพราะหุ้นที่โตเกินนี้จะเป็นการโตที่ไม่ยั่งยืน  ดังนั้น  ถ้ามองในแนวนี้  หุ้นที่มี PE เกิน 25 เท่าโดยทั่วไปก็จะไม่น่าสนใจในสายตาของสเลเตอร์

   นอกจากเรื่องของตัวเลขดังกล่าวแล้ว  อีกสิ่งหนึ่งที่สเลเตอร์แนะนำก็คือ  เราควรหลีกเลี่ยงที่จะลงทุนในบริษัทที่ผู้บริหารใช้ชีวิตอย่าง  “หรูหราฟู่ฟ่า” เกินไป  ตัวอย่างเช่น ผู้บริหารใช้รถหรูเบอร์ป้ายทะเบียนรถพิเศษ  หรือถ้าผู้บริหารเข้าไปถือหุ้นค่อนข้างมากในสโมสรฟุตบอลนี่ก็จะเป็น “หายนะ”  เพราะมันเป็นเรื่องของ  “อีโก้” ที่ยิ่งใหญ่แต่มักเป็นกำไรที่ “จิ๊บจ๊อย”

    จิม สเลเตอร์ เป็นนักลงทุนที่มี  “สีสัน”  ในตลาดหุ้นของอังกฤษในช่วงทศวรรษ 1970 ขณะอายุประมาณ 40-50 ปี  เขาเป็นนักเทคโอเวอร์ประเภทซื้อบริษัทมาแล้วตัดขายทรัพย์สินทำกำไรรวดเร็วจนมีชื่อเสียงและเคยถูกดำเนินคดีแต่ก็หลุดมาได้  เขาเคยเล่นทองและคอมโมดิตี้  เป็นนักเขียนคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ชื่อดังและอื่น ๆ  อีกมาก  เขาเคยรวยและ “จน”  จนแทบล้มละลายครั้งหนึ่ง งานอดิเรกของเขาคือการเล่นหมากรุกและเขาเคยบริจาคเงินเพื่อกิจกรรมนี้หลายล้านบาท  ดูเหมือนว่าเขาจะชอบกิจกรรมที่ต้องใช้กลยุทธ์ในการต่อสู้เฉกเช่นเดียวกับที่ วอเร็น บัฟเฟตต์ ชอบเล่นไพ่บริดจ์  ว่าที่จริงสเลเตอร์เองนั้นต้องถือว่าเป็นคนรุ่นเดียวกับ วอเร็น บัฟเฟตต์ เพราะเขาเกิดในปี 1929 ในขณะที่บัฟเฟตต์เกิดปี 1930  ถึงปัจจุบันนี้  ชื่อของสเลเตอร์ก็เลือนหายไปแล้วแต่หนังสือหลายเล่มที่เขาเขียนนั้นก็จะยังอยู่ในชั้นของนักลงทุนรุ่นเก่าจำนวนไม่น้อยรวมถึงตัวผมเอง  และ “หลักการของซูลู” ก็จะเป็นแนวความคิดที่มีประโยชน์ต่อไปอีกนาน

Posted by nivate at 9:40 AM in โลกในมุมมองของ Value Investor

ที่มา:
http://portal.settrade.com/blog/nivate/2015/01/26/1518



ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9017
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com



Monday, 2 February 2015
VI Summit 2015 ที่สิงคโปร์

   สัปดาห์ที่แล้วผมได้รับเชิญให้ไปพูดในฐานะ “Keynote Speaker” หรือเป็น “ผู้พูดหลัก” ในงานสัมมนาประจำปีของนักลงทุนแนว Value Investment ระดับ  “นานาชาติ” ชื่อ Value Investing Summit 2015 ที่ประเทศสิงคโปร์  ปีนี้เข้าใจว่าเป็นปีที่ 4 แล้วที่มีการจัดสัมมนาประจำปีแบบนี้  ปีแรกมีผู้เข้าร่วมเพียง 4-500 คน หลังจากนั้นจำนวนคนก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  จนปีนี้มีผู้เข้าร่วมถึง 1,400-1,500 คน ซึ่งทางผู้จัดอ้างว่าเป็นการชุมนุมนักลงทุนแนว VI ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียแปซิฟิก  อย่างไรก็ตาม  ผู้เข้าร่วมสัมมนาส่วนใหญ่ก็ยังเป็นคนสิงคโปร์  ตามด้วยคนมาเลเซีย  อินโดนีเซีย และอาจจะมีออสเตรเลียบ้างเล็กน้อย  ในขณะที่คนไทยนั้น  นับดูแล้วน่าจะเพียงแค่ไม่เกิน 7-8 คน  สถานที่จัดงานนั้นเนื่องจากต้องรับคนจำนวนมาก  ปีนี้จึงจัดที่ สิงคโปร์เอ็กซโปร์ซึ่งเป็นสถานที่จัดประชุมและงานแสดงขนาดใหญ่ที่สุดแบบเดียวกับที่เมืองทองธานีของเรา

    งาน VI Summit 2015 นี้  จัดโดยบริษัทชื่อ 8I ของสิงคโปร์  โดยที่บริษัทนี้เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจหลักอย่างหนึ่งก็คือการให้บริการความรู้ทางด้านการลงทุนผ่านการเปิดคอร์สอบรมเรื่องการลงทุน  การขายหนังสือและสื่อทั้งหลายเกี่ยวกับการลงทุน  การจัดประชุมและสัมมนาเกี่ยวกับการลงทุนและอาจจะมีบริการด้านอื่น ๆ  ที่ผมไม่ทราบอีกหลายอย่าง  นอกจากนั้น  บริษัทยังมีพอร์ตโฟลิโอเงินลงทุนของตนเองในสิงคโปร์และประเทศต่าง ๆ  รวมถึงหุ้นของไทยด้วย  ที่สำคัญก็คือ  บริษัทเพิ่งเข้าจดทะเบียนซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ของออสเตรเลียเมื่อ 3-4 สัปดาห์มานี้  โดยที่หุ้น IPO ส่วนใหญ่ก็ขายให้กับคนสิงคโปร์โดยเฉพาะที่เป็นลูกค้าที่ใช้บริการเรียนรู้เรื่องการลงทุนของบริษัท  ตั้งแต่หุ้นเข้าจดทะเบียน  ราคาหุ้นก็ขึ้นมาน่าจะประมาณเท่าตัวแล้วนับจากวันเข้าซื้อขายในตลาดหุ้นในวันแรก  ผมเชื่อว่าเขาวางตำแหน่งตนเองคล้าย ๆ  กับหุ้นเบิร์กไชร์ของบัฟเฟตต์ที่เน้นการลงทุนเงินของบริษัทเองในตลาดหุ้น  อย่างไรก็ตาม  บริษัทยังมีขนาดเล็กมาก  มูลค่าหุ้นทั้งหมดของบริษัทน่าจะอยู่ในหลักพันล้านบาทบวกลบเท่านั้น

    งาน VI Summit ในครั้งนี้  ทำให้ผมได้รู้สถานการณ์เกี่ยวกับเรื่องของ VI สิงคโปร์หลายอย่างที่ดูเหมือนว่าจะแตกต่างจากชุมนุมหรือสังคม VI ของไทย  ภาพโดยรวมก็คือ  การสนับสนุนจาก “สถาบัน” อย่างเช่น  ตลาดหลักทรัพย์หรือสถาบันการเงินรวมถึงโบรกเกอร์และบริษัทจดทะเบียนต่อนักลงทุนน่าจะมีน้อยกว่าในกรณีของไทยมาก  สปอนเซอร์ของงานมีเพียงแบ็งค์เดียวและดูเหมือนว่าจะมานำเสนอในเรื่องของการประกันชีวิตเป็นหลัก  ดังนั้น  การสัมมนาครั้งนี้จึงเป็นเรื่อง “เชิงธุรกิจ” เป็นส่วนใหญ่นั่นคือ  ผู้เข้าร่วมสัมมนาต้องซื้อบัตรที่มีราคาค่อนข้างแพง  ตั๋วมีราคาใบละ 4-8,000 บาทขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่ซื้อ  เช่น  ถ้าซื้อวันนี้เพื่อที่จะเข้าร่วมฟังในปีหน้า  ราคาอาจจะอยู่ที่ 4,000 บาทเป็นต้น  ราคาบัตรจะแพงขึ้นเรื่อย ๆ จนใกล้วันงานที่ที่นั่งใกล้หมด

    งานสัมมนาคราวนี้กำหนดไว้ 2 วันเต็มคือวันเสาร์และอาทิตย์  โดยที่มีเวลาพักรับประทานอาหารกลางวันที่ผู้เข้าร่วมสัมมนาต้องไปหาอาหารกินเองยกเว้นกลุ่มนักลงทุน “VIP” จำนวนอาจจะซักร้อยหรือสองร้อยคนที่จะมีการจัดเลี้ยงเพื่อที่จะให้พวกเขาได้รู้จักกันและได้คุยกับวิทยากรซึ่งผมเข้าใจว่าพวกเขาจะต้องจ่ายค่าสัมมนาอีกอัตราหนึ่ง  นอกจากไม่มีอาหารแล้ว  งานสัมมนาของเขายังไม่มีกาแฟหรือของว่างเลี้ยงด้วย  มีแต่น้ำเปล่าที่คนต้องไปกดเพื่อดื่มเอาเอง  เหตุผลที่เขาทำอย่างนั้นนอกจากเพื่อเป็นการลดต้นทุนแล้วผมยังคิดว่าเป็นเพราะจำนวนคนที่มีมากเกินกว่าที่จะให้บริการไหวด้วย  เช่นเดียวกัน ห้องประชุมนั้น  ก็ใช้ห้องจัดแสดงสินค้าแล้วนำเก้าอี้มาวางเต็มห้องซึ่งทำให้คนเข้าร่วมสัมมนาที่อยู่ท้ายห้องมองวิทยากรลำบากและคงต้องอาศัยดูจากจอมอนิเตอร์ขนาดใหญ่เป็นหลัก

    สถานการณ์ดังกล่าวนั้น  เมื่อเทียบกับสิ่งที่ VI ไทยได้รับแล้ว  ผมรู้สึกว่า  นักลงทุนไทยนั้น  ได้รับการดูแลและได้รับการสนับสนุนมากในด้านของการศึกษาหาความรู้ด้านการลงทุน  เห็นได้จากการที่นักลงทุนส่วนบุคคลของไทยนั้น  สามารถฟังการสัมมนาฟรีได้มากมาย  หลาย ๆ  รายการมีอาหารเลี้ยง  ห้องสัมมนาก็มักจะเป็นห้องประชุมชั้นดีที่มีระดับลาดขึ้นและเก้าอี้สะดวกสบายเหมือนโรงหนัง  เหตุผลก็เพราะในเมืองไทยนั้น  เรามีสปอนเซอร์มากมายที่ต้องการขายบริการให้กับนักลงทุนรายย่อย  ในขณะที่นักลงทุนรายย่อยของสิงคโปร์นั้น  น่าจะมีธุรกรรมน้อยจนบริษัทการเงินและหลักทรัพย์ไม่สนใจที่จะทำการตลาดด้วย  ไม่ต้องพูดถึงว่า  นักลงทุนรายย่อยของสิงคโปร์นั้น  ไม่มีโอกาสได้พบกับผู้บริหารบริษัทหรือเข้าร่วมฟังข้อมูลของบริษัทอย่างในงาน Opportunity Day ของไทย  ดังนั้น  นักลงทุนแนว VI ของสิงคโปร์จึงต้องจ่ายเงินและยินดีที่จะจ่ายเงินเพื่อแสวงหาความรู้เพื่อการลงทุนค่อนข้างสูงและพวกเขาดูตั้งใจฟังมากในงานสัมมนา

   หัวข้อของงาน VI Summit 2015 นั้น  ประกอบด้วยการบรรยายภาพรวมทางเศรษฐกิจและตลาดหุ้นของสิงคโปร์  การวิเคราะห์และแนะนำหลักทรัพย์ประมาณ 4-5 ตัวโดยนักวิเคราะห์ของบริษัท 8I ซึ่งพวกเขาทำได้ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เป็นโบรกเกอร์หรือมีใบอนุญาต  นอกจากนั้นก็มีการแจกรางวัลเป็นแนว  “แหวนอัศวิน”  ให้แก่นักลงทุนจำนวนประมาณ 8 คนที่เป็นสมาชิกหรือลูกค้าเรียนคอร์สการลงทุนของบริษัทที่สามารถสร้างผลงานการลงทุนดีเด่นจนพอร์ตเติบโตเป็น  “นักลงทุนเงินล้านเหรียญ)” รายการทั้งหมดนั้นคละเคล้าสลับกันไปเพื่อไม่ให้เกิดความน่าเบื่อหน่าย  ระหว่างเปลี่ยนรายการก็จะมีพิธีกรหรือผู้บริหารบริษัทขึ้นมาคั่นรายการเล็ก ๆ น้อยเพื่อสร้างความบันเทิงและโปรโมตผลงานการวิเคราะห์ในปีก่อนของบริษัทด้วย

   ส่วนตัวผมเองนั้นขึ้นพูดในวันสุดท้าย 2 ช่วง โดยช่วงแรกผมพูดในหัวข้อ  “A Golden Decade for Thai Value Investor” หรือ  “ทศวรรษทองของ VI ไทย” และในช่วงที่สองก่อนปิดงานสัมมนา  เป็นการพูดแบบอภิปรายตอบคำถามของผู้บรรยายหลายคนซึ่งประกอบด้วยผู้พูดจากออสเตรเลีย สิงคโปร์ และผม โดยมีผู้บริหารของ 8I เป็นผู้ดำเนินรายการ   เนื้อหาของการพูดของผมนั้นเป็นการอธิบายภาพของเศรษฐกิจ  การเงิน และตลาดหุ้นของไทย  รวมถึงเหตุผลและปัจจัยที่เป็นตัวผลักดันตลาดหุ้นของเราในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา  หลังจากนั้นผมได้เล่าถึงกลยุทธ์การลงทุนแนว VI สามแนวทางที่มีการใช้ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาที่สามารถเอาชนะตลาดและสร้างผลตอบแทนที่สูงลิ่วจนทำให้ VI จำนวนไม่น้อยร่ำรวยขึ้นมาอย่างไม่น่าเชื่อ  ต่อจากนั้นผมก็สรุปถึงองค์ประกอบที่สร้างความสำเร็จให้กับ VI ไทย ซึ่งประกอบไปด้วย  “โชค” ที่พวกเขาเข้ามาลงทุนในตลาดในเวลาที่ถูกต้อง  การใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบ VI ที่เน้นในหุ้นโตเร็ว  การเลือกหุ้นที่อยู่ในเมกาเทรนด์  ความนิยมของคนไทยต่อการลงทุนในหุ้น  และสุดท้ายก็คือ  ความกล้าที่จะลงทุนเงินร้อยเปอร์เซ็นต์หรือมากกว่านั้นผ่านการซื้อหุ้นด้วยมาร์จิน ที่ทำให้ได้ผลตอบแทนที่งดงามมากและผมเชื่อว่าในอนาคตเราจะไม่สามารถทำได้อีกแบบง่าย ๆ  ในประเทศไทย  โดยที่ผมคิดว่า  อนาคตของการลงทุนน่าจะอยู่ที่ตลาดหุ้นในเอเชียโดยเฉพาะเวียตนามกับจีน

    บรรยากาศของที่ประชุมสัมมนานั้น  ผมรู้สึกว่านักลงทุนค่อนข้างมีความตั้งใจและมีอารมณ์ร่วมค่อนข้างมากทั้ง ๆ ที่เป็นสถานที่ขนาดใหญ่และมีคนร่วมฟังอยู่จำนวนมาก  ผมคิดว่านักลงทุนส่วนบุคคลแนว VI ของสิงคโปร์นั้น  ยังตามหลังไทยอยู่พอสมควรและพวกเขากำลังเริ่มศึกษาและปฏิบัติตามแนวทางนี้อย่างมุ่งมั่น  ปัญหาสำคัญส่วนหนึ่งก็คือ  VI นั้นยังไม่เป็นกระแสที่คนนิยมหรือพูดถึงเนื่องจากยังไม่มีใครที่ทำกำไรจากหุ้นมากพอ  ความนิยมในการลงทุนในหุ้นก็ยังน้อยเนื่องจากตลาดหุ้นไม่บูมมานาน  นอกจากนั้น  การส่งเสริมการลงทุนโดยหน่วยงานรัฐและสถาบันการเงินก็ยังมีน้อย  โลกของการลงทุนยังอยู่ในมือของนักลงทุนสถาบัน  อย่างไรก็ตาม  ผมคิดว่าการพัฒนาของ VI สิงคโปร์และในย่านเอเชียน่าจะดีขึ้นเรื่อย ๆ โดยที่ไทยเองอาจจะสามารถเป็น “ผู้นำ”  ได้  เพราะประสบการณ์ VI ของเรานั้น  น่าจะยาวกว่าคนอื่นในย่านนี้

Posted by nivate at 9:49 AM in โลกในมุมมองของ Value Investor

ที่มา:
http://portal.settrade.com/blog/nivate/2015/02/02/1520



ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9017
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com


Monday, 9 February 2015
ค่าเช่าตู้นิรภัย (ราคาแพง)

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผมคิดว่าผมควรมีตู้นิรภัยในธนาคารที่อยู่ใกล้บ้านเพื่อที่จะเก็บทรัพย์สินมีค่าบางอย่างที่ผมและครอบครัวไม่เคยมีแต่ตอนนี้เริ่มมีบ้าง  ผมจึงไปติดต่อสาขาธนาคารที่ผมใช้อยู่เป็นประจำซึ่งก็เป็นธนาคารที่ผมใช้เป็นหลักมาหลายสิบปีแล้ว  โชคดีที่ยังมีตู้เหลืออยู่บ้างผมตัดสินใจเช่าแต่ก็รู้สึกว่าค่าเช่าใช้นั้นไม่ถูกเลย  ตู้ขนาดกว้างยาวเท่า ๆ  กับซองน้ำตาลใส่เอกสารขนาดใหญ่และสูงซักสิบกว่าเซนติเมตรนั้น  ค่าเช่าตกปีละ 4-5,000 บาท และเราต้องจ่ายมัดจำค่าแรกเข้าอีกน่าจะเป็นหมื่นบาทขึ้นไปถ้าจำไม่ผิด  ผมนึกดูแล้ว  นี่ก็เป็นธุรกิจที่ไม่เลวนักสำหรับธนาคาร  เพราะมันเหมือนกับว่าคนเช่าเป็นคนจ่ายค่าก่อสร้างห้องและตู้นิรภัย  เสร็จแล้วก็จ่ายค่าเช่ารายปีให้กับธนาคาร  ห้องและตู้นิรภัยนี้  ผมดูแล้วแทบไม่ต้องดูแลรักษาอะไร  ต้นทุนในส่วนนี้แทบไม่มี  อย่างไรก็ตาม  สำหรับคนที่มีทรัพย์สินหรือของสำคัญที่ต้องการเก็บรักษาในที่ที่ปลอดภัยนั้น  เงินแค่นี้ก็มักไม่มีปัญหาอะไร  ดังนั้น  ผมจึงตัดสินใจเช่า

    ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อเจ้าหน้าที่อาวุโสอีกคนหนึ่งเข้ามาบอกว่าผมต้อง “ซื้อประกันชีวิต”  ด้วยจึงจะมีสิทธิเช่าตู้นิรภัยเพราะนี่คือ “นโยบาย” ของแบ็งค์ว่าจะเก็บตู้นิรภัยให้เช่าเฉพาะคนที่ซื้อประกันชีวิตเท่านั้น  ผมนั่งนิ่งด้วยความมึนงงไปชั่วขณะแต่แล้วก็เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น   ผมไม่เชื่อหรอกว่านี่คือนโยบายของธนาคาร  การทำแบบนั้นน่าจะผิดกฎเกณฑ์ของทางการและการปฏิบัติที่ดีในแง่ของการทำธุรกิจของธนาคารซึ่งต้องมีมาตรฐานสูง  แต่ผมเชื่อว่าเป็นข้ออ้างของสาขาที่ต้องการบีบให้ผมต้องทำประกันชีวิตเพราะนี่คือผลิตภัณฑ์หรือธุรกิจที่ธนาคารต้องการขายมากและสั่งการให้แต่ละสาขาต้องทำยอดขายให้ได้เป้ามิฉะนั้นก็จะกระทบกับการประเมินผลงานของสาขาและพนักงานแต่ละคน  ดูเหมือนว่าการประกันชีวิตจะเป็นสิ่งที่ทำกำไรสูงมากสำหรับธนาคารเช่นเดียวกับที่มันเป็นสิ่งที่  “ขายยาก” มาก  ดังนั้นแม้ว่าผมจะพยายามขอร้องว่าผมจะช่วยซื้อผลิตภัณฑ์อย่างอื่น  เช่น  กองทุนรวมตราสารการเงินระยะสั้น  เขาก็ยังยืนกรานว่าผมต้องซื้อประกันชีวิตเท่านั้นจึงจะสามารถเช่าตู้นิรภัยได้

    ว่าที่จริง  ผมเองถูกขอร้องแกมบีบบังคับมาหลายครั้งแล้วให้ซื้อประกันชีวิต  เกือบทุกครั้งที่ผมเข้าไปใช้บริการ  ผมจะต้องเผชิญกับเหตุการณ์แบบนี้จนผมรู้สึกว่าการเข้าแบ็งค์นี้เป็นสิ่งที่ “น่าอึดอัด” แม้ว่าการต้อนรับและการใช้บริการอื่น ๆ  โดยทั่วไปนั้นค่อนข้างดีทีเดียว  คนในแบ็งค์เองก็รู้จักผมเป็นอย่างดีค่าที่ว่าผมใช้บริการมาหลายสิบปีและก็เข้าไปใช้บริการบ่อย ๆ  แทบทุกสัปดาห์  และประเด็นนี้เองก็อาจจะทำให้เขารู้ว่าผมนั้นพอมีเงินสดเหลือที่จะทำประกันชีวิตได้โดยไม่เดือดร้อน  นอกจากนั้น  เขาอาจจะคิดด้วยว่าการทำประกันชีวิตนั้น  ผม “ไม่มีอะไรเสียเลย”  เพราะดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนที่จะได้รับจากการประกันชีวิตนั้น  ดีกว่าการฝากเงินออมทรัพย์ที่ผมมีเงินคงค้างอยู่มากตลอดเวลาด้วยซ้ำ  แต่ผมก็ไม่ยอมทำประกันซักที  ผมบอกเขาว่า  ผมไม่มีความจำเป็นต้องประกันชีวิต  เพราะเงินที่จะได้ถ้าผมตายนั้น  มันไม่ได้มีความหมายอะไรกับทายาทผมเลย  ผมมีเงินเป็นมรดกเพียงพออยู่แล้ว  เหนือสิ่งอื่นใด  กรมธรรม์ประกันชีวิตนั้น  ก็จะเป็น  “เบี้ยหัวแตก”  อีกอันหนึ่งที่อาจจะหายสาบสูญไปเมื่อเวลาผ่านไป เช่นเดียวกับทรัพย์สินอื่น ๆ  อีกหลายอย่างที่ผมคิดว่า  “ไม่รู้อยู่ไหน” หรือผมลืมไปแล้วว่ามีอยู่

    พนักงานธนาคารยังไม่ยอมให้ผมเช่าตู้นิรภัยอยู่ดี  เขาคงรู้สึกว่าด้วยเงินเอาประกันที่เขายอมลดลงมาเหลือเพียง 500,000 บาท เวลารับประกัน 15 ปี  และจ่ายเบี้ยเพียง 6 ปี ปีละ 166,750 บาท แถมในแต่ละปีนั้น  เขายังคืนเงินผลประโยชน์ให้ปีละ  “2.5%” ของเงินเอาประกันคิดเป็นเงินปีละ 12,500 ตลอดระยะเวลา 15 ปีด้วย  และเมื่อสิ้นสุดสัญญา 15 ปี ถ้าผมยังมีชีวิตอยู่ก็จะได้รับเงินเบี้ยประกัน 1,050,000 คืน ฟังดูแล้ว  ผมมีอะไรเสียหายหรือเสียเปรียบ?  วันนั้นผมต้องกลับบ้านไปคิด  พื้นฐานความคิดของผมก็คือ  การได้รับความ “คุ้มครอง” ในกรณีที่ผมตายนั้น  ไม่มีประโยชน์สำหรับผม  ในแง่ของการ  “ลงทุน”  เองนั้น  ผมไม่คิดว่ามันเป็นการลงทุนอะไรเลย  เม็ดเงินลงทุนมันน้อยเกินไป  นอกจากนั้น  ผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุนในกรณีที่ผมไม่ตายใน 15 ปี ก็น่าจะต่ำมาก  เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ  มันไม่คุ้มที่จะต้องใช้เวลาคอยส่งเบี้ยประกันหรืออื่นๆ  ข้อสรุปเบื้องต้นของผมก็คือ  “ค่าเช่าใช้ตู้นิรภัย” ของผมครั้งนี้ก็คือ  ประมาณ 1 ล้านบาทใน 15 ปี  ผมคิดว่ามัน  “แพงเกินไป”

    ผมตัดสินใจหาทางใหม่  ผมลองติดต่อเจ้าหน้าที่ของสำนักงานใหญ่ที่ดูแลบัญชีผมในฐานะของลูกค้า  “High Net Worth” หรือลูกค้า “รายใหญ่” ของธนาคารที่ผมบังเอิญเข้าข่ายเนื่องจากระยะหลังผมมีเงินสดเหลือหลังจากที่ได้รับเงินจากปันผลหรือขายหุ้นแล้วไม่ได้นำกลับไปลงทุนในหุ้นอย่างที่เคยทำมาหลายสิบปี  การเป็นลูกค้ารายใหญ่นั้นผมรู้ว่ามีสิทธิประโยชน์หลายอย่างแต่ผมก็ใช้น้อยมาก  เหตุผลก็เพราะสิ่งที่แบ็งค์ให้นั้นไม่ใช่สิ่งที่ผมต้องการเท่าไรนัก  ดังนั้น  แบ็งค์แทบจะไม่เคยต้องเสียอะไรให้ผมเลย  ผมเองก็ไม่รู้สึกอะไร  ผมไม่ใช่คนที่แสวงหาหรือใช้ในสิ่งที่ผมไม่ต้องการแม้ว่ามันจะ “ฟรี” ผมคิดว่ามันไม่มีประโยชน์  มันเสียเวลา และต้นทุนในการเสียเวลาของผมนั้นผมคิดว่ามัน  “สูงลิ่ว”  มากกว่าประโยชน์ที่จะได้ใช้ของที่เราไม่ต้องการ   แต่เวลานี้ผมต้องการตู้นิรภัย  เขากลับบอกให้ไม่ได้!  ซึ่งผมคิดว่ามันเป็นเรื่อง  “ตลก” มาก   โชคดี  หลังจากการติดต่อซึ่งใช้เวลา 2-3 วัน  ผ่านช่องทางที่ “ไม่น่าเป็นไปได้”  ผมก็ได้พบกับเจ้าหน้าที่ที่ดูแลบัญชีลูกค้ารายใหญ่  ซึ่งได้ช่วยให้ผมได้เช่าใช้ตู้นิรภัยของแบ็งค์ตามที่ต้องการโดยไม่ต้องจ่ายเงินที่แพงมาก  “สำหรับผม”

    เมื่อคิดดูให้ลึกซึ้งอีกทีหนึ่ง  กรณีนี้มันเป็นเรื่องเฉพาะตัวหรือไม่  สำหรับคนทั่วไปแล้ว  เขาจะเสียหายหนักหรือถ้าเขาต้องถูกขอร้องหรือบังคับให้ทำประกัน?  ถ้าผมไม่ได้มีเงินมาก   ข้อสรุปจะเป็นแบบนั้นหรือไม่?  คำตอบของผมในฐานะที่เป็น Value Investor ที่มุ่งมั่นก็อาจจะไม่แตกต่างกันมากนัก  ถ้าสมมุติว่าคุณเป็น VI ที่อาจจะมีความมั่งคั่งหรือมีเงินลงทุนในระดับเช่น 10 ล้านบาทและแน่นอนคุณรู้ถึงพลังของการเติบโตของการลงทุนแบบทบต้น  คุณก็จะรู้ว่าในระยะยาวเป็น 10 ปีขึ้นไปนั้น  ถ้าคุณลงทุนได้ผลตอบแทนที่ดีปีละ 20-30% อย่างที่อาจจะทำได้ในช่วงที่ผ่านมา  เงินค่าเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายออกไปนั้น  ภายในเวลา 15 ปีจะมีมูลค่ามหาศาล  ดังนั้น  ถ้าคุณเอาเงินไป “จม”  อยู่ในการประกันชีวิต  คุณก็จะเสียโอกาสที่จะทำเงินไปมากมายโดยเฉพาะถ้าคุณคิดว่าคุณคงยังไม่ตายหรือถ้าตายทายาทก็ไม่เดือดร้อน  ลองมาดูกันว่าในกรณีกรมธรรม์ที่ผมถูกขอให้ซื้อนั้น  ถ้าคิดไปถึงวันสิ้นสุด 15 ปี เงินของคุณจะหายไปเท่าไรถ้าเราสามารถนำมันไปลงทุนในกองทุนรวมหุ้นตลอด 15 ปีและได้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 10% แบบทบต้น   คำตอบที่ได้ก็คือ  ถ้าคุณเอาไปลงทุนเองเม็ดเงินจะกลายเป็นประมาณ 3.3 ล้านบาท ในขณะที่เงินที่คุณจะได้คืนจากการประกันเท่ากับประมาณ 1.3 ล้านบาท  ผลต่างก็คือ 2 ล้านบาท  แพงไหมครับสำหรับการใช้ตู้นิรภัย?

    ที่พูดมาทั้งหมดนั้นก็ไม่ได้ต้องการที่จะบอกให้คนเลิกซื้อประกันชีวิต  การประกันชีวิตนั้นเป็นเรื่องดีถ้าคุณต้องการประกันความมั่นคงทางการเงินให้กับทายาทในกรณีที่คุณตายก่อนเวลาอันควรและพวกเขายังช่วยตัวเองไม่ได้  ถ้าคุณไม่ได้มีปัญหาแบบนั้นแต่คุณคิดว่านี่เป็นการลงทุนอีกแบบหนึ่งที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการฝากเงินธนาคาร  นี่ก็อาจจะยังมีเหตุผลอยู่ในกรณีที่คุณไม่มีความรู้ทางด้านการลงทุนหรือไม่กล้าที่จะ “เสี่ยง”  ในตลาดหุ้น  แต่ถ้าคุณเป็นคนที่รู้เรื่องการลงทุนดีและเข้าใจเรื่องของความเสี่ยงและคุณรับมันได้  การซื้อประกันชีวิตแบบออมทรัพย์นั้นก็อาจจะเป็นการตัดสินใจที่  “แพงมาก” ในกรณีที่ทายาทของคุณไม่ได้มีปัญหาทางการเงินถ้าคุณตาย  ดังนั้น  ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อประกันชีวิตอาจจะเพราะด้วยทนแรง  “บีบ” อะไรไม่ไหวก็ตาม  คุณควรที่จะคิดให้หนักถึงผลทางการเงินของมัน

Posted by nivate at 11:58 AM in โลกในมุมมองของ Value Investor

ที่มา:
http://portal.settrade.com/blog/nivate/2015/02/09/1525



ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9017
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com


Monday, 16 February 2015
ฟองสบู่ Nasdaq VS MAI

การปรับตัวขึ้นของราคาหรือดัชนีหุ้น MAI ในช่วง 3-4 ปีมานี้สูงมากจนทำให้ผมคิดว่ามันเป็น  “ฟองสบู่” จากปลายปี 2554 ถึงปัจจุบัน ดัชนีปรับตัวขึ้นเป็นมากกว่า 3 เท่าในเวลา 3 ปี เศษ ๆ จากดัชนี 242 เป็นประมาณ 800 จุดในปัจจุบัน  ราคาหุ้นบางตัวปรับขึ้นมากกว่า 10 เท่าภายในช่วงเวลาดังกล่าว ดัชนีหุ้น MAI ปรับตัวขึ้นไปสูงลิ่วจนค่า PE สูงถึง 84 เท่า ค่า PB สูงถึง 7 เท่า และอัตราปันผลต่อราคาหุ้นเท่ากับ 0.6% ต่อปี  นักลงทุนส่วนบุคคลจำนวนมากต่างก็เข้ามาเล่นหุ้นตัวเล็กที่มักจะอยู่ในตลาดหุ้น MAI ถ้าจะว่าไป  ไม่เคยมีครั้งไหนในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นไทยที่หุ้นจะ “เวอร์” ขนาดนี้  ถ้าจะหาประวัติศาสตร์ของตลาดหุ้นที่จะมาเปรียบเทียบ  ผมคิดว่ากรณี “ฟองสบู่หุ้น Nasdaq” หรือฟองสบู่หุ้น ไฮเท็คในช่วงต้นปี 2000 ในสหรัฐอเมริกาน่าจะนำมาเทียบเคียงและอาจจะเป็นบทเรียนให้เราได้

    ข้อแรกก็คือ  ฟองสบู่หุ้นไฮเท็คนั้นเริ่มต้นในช่วงประมาณต้นปี 1997 พอถึงเดือนมีนาคมปี 2000 ดัชนีได้ปรับตัวขึ้นไปกว่า 3 เท่าในเวลาเพียง 3 ปีเศษ  ดัชนีวิ่งขึ้นจาก 1000 ต้น ๆ  เป็นเกือบ 4000 จุด หุ้นหลายตัวที่โดดเด่นเช่นหุ้น Cisco Systems ที่ทำเกี่ยวกับระบบเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดนั้น  ผมจำได้ว่ากลายเป็นหุ้นที่มี Market Cap. หรือมูลค่าตลาดของหุ้นใหญ่ที่สุดในโลกตัวหนึ่งทั้ง ๆ  ที่มันจดทะเบียนในตลาด Nasdaq หรือ  “ตลาดหุ้นตัวเล็ก” คล้าย ๆ  ตลาด MAI ในบ้านเรา  เหตุผลก็เพราะว่าหุ้นไฮเท็คโดยเฉพาะที่ทำเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตนั้นมีราคาวิ่งขึ้นไปสูงมาก  หลาย ๆ  ตัวราคาปรับขึ้นไปเป็นกว่าสิบเท่าในเวลาอันสั้น  ค่า PE ของดัชนี Nasdaq นั้นสูงถึง 100 เท่า   ดังนั้น  มองในแง่ของความ “เวอร์” ก็ต้องบอกว่าฟองสบู่หุ้นไฮเท็คดูเหมือนว่าจะสูงกว่าเล็กน้อยในนาทีนี้  แต่ก็ไม่แน่ว่าในที่สุดหุ้น MAI จะเหนือกว่าหรือไม่  เพราะฟองสบู่ไฮเท็คแตกไปนานแล้วในขณะที่หุ้น MAI ดูเหมือนว่าจะยังขึ้นอยู่

    ข้อสอง ฟองสบู่หุ้นไฮเท็คนั้นเกิดขึ้นเพราะ Story หรือเรื่องราวการพัฒนาทางเท็คโนโลยีโดยเฉพาะทางด้านอินเตอร์เน็ตที่กำลังกลายเป็นกระแสใหม่ของโลกที่คนธรรมดาทั้งโลกจะสามารถใช้มันได้ทุกวัน  กระแสนี้ทำให้คนคิดว่าบริษัทจดทะเบียนที่ทำเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตจะกลายเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่และโดดเด่นในระบบ  “เศรษฐกิจใหม่” ของโลก  มันจะทำรายได้และมีกำไรมหาศาลยิ่งกว่าบริษัทยักษ์ใหญ่เดิมที่มีอยู่ใน  “โลกเก่า” ในอนาคตอันใกล้แม้ว่าในขณะนั้นมันยังมีรายได้น้อยมากและจำนวนมากก็ยังไม่มีกำไรเลย  ตัวอย่างถ้าผมจำไม่ผิดก็เช่นบริษัทอเมซอนดอทคอมที่ขายหนังสือผ่านทางอินเตอร์เน็ตที่มีมูลค่าหุ้นใหญ่กว่าบริษัทบาร์นแอนด์โนเบิลซึ่งเป็นบริษัทขายหนังสือที่ใหญ่ที่สุดในโลกและอยู่มาน่าจะหลาย ๆ สิบปีแล้ว  ว่าที่จริงมูลค่าของอเมซอนในขณะนั้นใหญ่กว่าบริษัทขายหนังสือทั้งหมดในประเทศรวมกันด้วยซ้ำทั้ง ๆ  ที่ยังไม่มีกำไรเลย

    Story ของหุ้น MAI นั้นผมคิดว่าแตกต่างจากตลาด Nasdaq มาก  เนื่องจากนโยบายก็คือ  หุ้น MAI นั้นมีขึ้นเพื่อสนับสนุนบริษัทขนาดเล็กเพื่อให้มีช่องทางการระดมทุนเพื่อการเติบโตและบริษัทขนาดเล็กที่เข้ามาจดทะเบียนก็มีหุ้นไฮเท็คน้อยมาก  อย่างไรก็ตาม  ในช่วงเร็ว ๆ  นี้  เราก็ได้เห็น “กระแส” อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นนั่นก็คือเรื่องของพลังงานทดแทนซึ่งรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้เกิดขึ้นโดยการ  สนับสนุนด้านราคาขายให้แก่บริษัทที่ผลิตพลังงานไฟฟ้าเข้าสู่ระบบ  นี่ทำให้บริษัทที่ทำพลังงานทดแทนเกิดขึ้นและเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และก็ได้รับการ “ต้อนรับ”  จากนักลงทุนจำนวนมากที่อาจจะมองว่ามันจะเป็นธุรกิจที่จะโตไปได้อีกมหาศาลพร้อม ๆ กับกำไรที่จะเติบโตขึ้นเนื่องจากเม็ดเงินที่จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐไปอีกนาน    มองในแง่นี้ผมคิดว่า Story ของหุ้นไฮเท็คน่าจะเหนือกว่าหุ้น MAI มาก

   เรื่องที่สามที่ผมคิดว่าคล้าย ๆ  กันระหว่าง Nasdaq กับ MAI ก็คือ  บริษัทจดทะเบียนหลายแห่งในตลาด MAI ต่างก็พยายามเข้ามาทำธุรกิจพลังงานทดแทนเพราะอาจจะเห็นว่ามันทำกำไรได้  แต่ที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันก็คือ  พวกเขาเปลี่ยนชื่อบริษัทเพื่อ “สะท้อน” ให้เห็น “ทิศทาง” ที่บริษัทจะเดินไป  ประเด็นก็คือ  การเปลี่ยนชื่อนั้น  พวกเขาเชื่อว่าจะทำให้คนสนใจหุ้นมากขึ้นและเข้ามาซื้อทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นไปอย่างรวดเร็วโดยที่ยังไม่ต้องลงมือทำอะไรเลย  ชื่อที่จะทำให้คนสนใจนั้นจะต้องมีอะไรที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทดแทนโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับแสงอาทิตย์เช่นคำว่า  “โซลาร์” เป็นต้น  ในทำนองเดียวกัน  ในช่วงของฟองสบู่ไฮเท็คเองนั้น  บริษัทจำนวนมากต่างก็เปลี่ยนชื่อให้มีอะไรที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ตหรือไฮเท็ค เช่น  ต่อท้ายชื่อของบริษัทด้วยคำว่า  “ดอทคอม”  หรือ “ดอทเน็ต”  หรือ “โทรนิค”  อะไรทำนองนี้  มีการศึกษาพบว่าหุ้นของบริษัทที่มีการเปลี่ยนชื่อให้เข้ากับกระแสนั้น  ภายในเวลา 10 วันมีราคาเพิ่มสูงขึ้นถึง 125 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับบริษัทที่ไม่ได้เปลี่ยนชื่อ ของเมืองไทยผมไม่รู้ว่าผลของการเปลี่ยนชื่อทำให้หุ้นขึ้นไปมากน้อยแค่ไหน  แต่คิดว่าน่าจะมีผลอยู่เหมือนกัน

   ข้อสี่ที่ผมอยากเปรียบเทียบก็คือเรื่องของหุ้น IPO  ทั้งในตลาดหุ้น MAI และ Nasdaq ในช่วงฟองสบู่ก็คือ  มีการนำหุ้นเข้าตลาดจำนวนมากอย่างแทบไม่เคยปรากฏมาก่อน  หุ้นไฮเท็คจำนวนมากนั้น  เป็นเรื่องของ Concept หรือแนวความคิดใหม่หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ที่อาจจะ “ปฏิวัติ” แนวความคิดหรือผลิตภัณฑ์เดิม  หุ้นที่เข้าตลาดในวันแรก ๆ  นั้นต่างก็  “วิ่งระเบิด” หลายสิบเปอร์เซ็นต์หรืออาจจะเป็นเท่าตัว   แต่ข้อเท็จจริงที่พบในภายหลัง หลังจากที่ฟองสบู่แตกก็คือ  ผลิตภัณฑ์จำนวนมากนั้นเป็นเพียง “ความฝัน” ที่ไม่รู้ว่าคนที่ซื้อหุ้นคิดว่ามันจะเป็นจริงได้อย่างไร  ตัวอย่างเช่น  บริษัทที่อ้างว่าเมื่อเสียบปลั๊กเข้าเครื่องคอมแล้วสามารถส่งกลิ่นที่ต้องการออกมาได้  เป็นต้น  ก็อย่างที่เราเห็น  หุ้น IPO จำนวนมากกลายเป็นกระดาษที่ไม่มีค่าเพราะบริษัทล้มละลายไปเมื่อ  “ฟองสบู่แตก”

   ในกรณีของหุ้น IPO ของตลาด MAI นั้น  ส่วนใหญ่หุ้นที่เข้าตลาดวันแรก ๆ  ก็มักจะวิ่งระเบิด  น่าจะปรับตัวสูงกว่าหุ้นไฮเท็คโดยเฉลี่ย  แต่ถ้ามองดูก็จะเห็นว่าหุ้นส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีอะไรโดดเด่นไม่ต้องพูดถึงว่ามันจะ “ปฏิวัติ” แนวความคิดอะไร   บางตัวอาจจะมีโมเดลธุรกิจที่น่าสนใจอยู่บ้างในแง่ที่มันยังไม่มีบริษัทในตลาดที่ทำแบบนั้น  ตัวที่โดดเด่นก็ดูเหมือนยังอยู่ที่ธุรกิจที่ดูเหมือนกำลังโตเช่น พลังงานทดแทน เป็นต้น  ดูเหมือนว่านักลงทุนจะดูแค่ว่ามันยังเป็นธุรกิจที่เล็กและจะโตได้เร็วเมื่อเข้ามาจดทะเบียนในตลาดแล้ว  ผมเองคิดว่าถ้า “ฟองสบู่” แตกจริง  บริษัทก็คงไม่ล้มละลาย  มันคงไม่ได้กระทบอะไรกับบริษัทมากมายนักเพราะหุ้นที่เข้ามาจดทะเบียนนั้นไม่ได้อาศัยเงินจากตลาดในการอยู่รอดแบบหุ้นไฮเท็ค ตรงกันข้าม  บริษัทได้เงินจาก IPO และดังนั้นจึงน่าจะมีฐานะทางการเงินดีขึ้น  สิ่งที่บริษัททำเองก็ไม่ได้มีความเสี่ยงอะไรมากมายนัก  เป็นธุรกิจธรรมดา ๆ  ที่นักลงทุนอาจจะ “ฝัน” ว่าจะโตเร็วเท่านั้น

   บทสุดท้ายของตลาด Nasdaq ในปี 2000 ก็คือ  “ฟองสบู่แตก”  ดัชนี Nasdaq ปรับตัวลงมาอย่างรุนแรง  ปีแรกตกลงมาเกือบ 50% และตกต่ออีก 2 ปี ปีละ20% รวมแล้วตกลงมา ประมาณ 66%  หุ้นจำนวนมากล้มละลายกลายเป็น 0 แม้แต่หุ้น “สุดยอด”  และกลายมาเป็นหุ้นที่ “ยิ่งใหญ่” ในปัจจุบันบางตัวอย่างหุ้นอเมซอนนั้น  ในช่วงที่ตกต่ำมาก ๆ ปี 2001-2002 ก็ตกลงมาเหลือเพียงไม่ถึง 10% จากราคาสูงสุดก่อนหน้านั้นเช่นเดียวกับหุ้นยาฮูและซิสโก้    ผมเองไม่แน่ใจว่าบทสุดท้ายของหุ้น MAI จะเป็นอย่างไร  เป็นไปได้ว่าฟองสบู่อาจจะไม่แตกและกำไรของบริษัทจดทะเบียนหุ้นตัวเล็กจะโตเร็วจนกระทั่งค่า PE ลดลงหรือราคาหุ้นก็ขึ้นไปอีกจน PE ทะลุ 100 เท่าก็เป็นไปได้  อย่างไรก็ตาม  ประวัติศาสตร์ของตลาดหุ้น Nasdaq ก็น่าจะเป็นเครื่องเตือนใจว่า  มีโอกาสที่ฟองสบู่อาจจะแตก  และนั่นอาจจะหมายถึงความเสียหายที่รุนแรงสำหรับคนที่เข้าไป “เล่น”  ในยามนี้  เพราะประวัติศาสตร์นั้น  มีพลังที่ยิ่งใหญ่เสมอ


Posted by nivate at 9:35 AM in โลกในมุมมองของ Value Investor

ที่มา:
http://portal.settrade.com/blog/nivate/2015/02/16/1528


ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9017
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com


Monday, 23 February 2015
EQ ของบัฟเฟตต์

ถ้าพูดถึงความโดดเด่นของบัฟเฟตต์แล้ว  ผมคิดว่าสิ่งที่มาอันดับแรกคงไม่ใช่ความสามารถในการวิเคราะห์หาหุ้นที่มีราคาถูกเทียบกับคุณสมบัติของบริษัทในแต่ละช่วงเวลา  ยิ่งการ “ขุดหุ้น” หรือค้นหาหุ้นที่ดีแต่ยัง  “ไม่มีคนเห็น” นั้น  บัฟเฟตต์น่าจะไม่ได้ทำมานานมากแล้ว  ดูเหมือนว่าบัฟเฟตต์จะมองแต่ “ภาพใหญ่”  ของบริษัทมากกว่ารายละเอียดลึก ๆ ของการดำเนินงานของบริษัท  เหตุผลส่วนหนึ่งนั้นคงเป็นเพราะว่าหุ้นที่บัฟเฟตต์จะลงทุนได้แต่ละตัวนั้นมีขนาดใหญ่ขึ้นมากจน  “รายละเอียด” ไม่ค่อยมีความหมาย  แต่สิ่งที่เป็นความโดดเด่นของบัฟเฟตต์ที่ผมคิดว่ามันยัง “คงทน” และเป็นคุณสมบัติติดตัวที่คนเลียนแบบได้ยากก็คือ  EQ หรือคุณสมบัติด้านอารมณ์และจิตวิทยาของการลงทุน  ว่าที่จริง ผมคิดว่านี่น่าจะเป็นเอกลักษณ์ที่สามารถเรียกได้ว่าเป็น  “EQ ของบัฟเฟตต์”

    สิ่งแรกที่บัฟเฟตต์ไม่ยอมทำเลยก็คือ เขาจะไม่ลงทุนในสิ่งที่เขาไม่รู้หรือไม่อยู่ใน  “ขอบเขตของความรอบรู้” ของเขา  นั่นเป็นเหตุผลที่เขาไม่ยอมลงทุนใน “หุ้นไฮเท็ค” เลยทั้ง ๆ  ที่หุ้นไฮเท็คปรากฏขึ้นบนโลกมานานและหุ้นจำนวนมากมีราคาขึ้นไปมโหฬาร  แต่นั่นก็ไม่ทำให้ผลตอบแทนของบัฟเฟตต์แย่เมื่อเทียบกับคนที่เล่นหุ้นแนวนั้น  เหตุผลอาจจะเป็นเพราะว่าหุ้น  “โลว์เท็ค” ของบัฟเฟตต์เองก็ปรับตัวขึ้นเหมือนกันแม้ว่าจะน้อยกว่า  แต่ข้อดีของบัฟเฟตต์ก็คือ  เขาจะไม่ขาดทุนถ้าหุ้นไฮเท็คจำนวนมากนั้นมีราคาตกลงมาอย่างแรงเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านที่เลวร้ายลง สำหรับบัฟเฟตต์แล้ว  เขาเชื่อว่า  ผลตอบแทนที่ดีเยี่ยมของการลงทุนนั้น  มักจะมาจากธุรกิจธรรมดา ๆ  เช่นเฟอร์นิเจอร์หรือชอคโกแล็ตที่บริษัททำได้ดีมากจนเหนือคู่แข่งมาก

    ข้อสอง  บัฟเฟตต์จะไม่ยอมลงทุนในกิจการหรือโครงการลงทุนที่ “ย่ำแย่”  หรือให้ผลตอบแทนที่ต่ำเมื่อเทียบกับเงินทุนที่ลงไปและเขาจะ  “ไม่ซื้อความหวัง”  เขาต้องการ  “ความจริง” ที่เป็นอยู่  ดังนั้น  เขาจะไม่สนใจหุ้น  “Turnaround” หรือโครงการที่จะช่วย “ฟื้นกิจการ” ของบริษัท  นี่เป็นเหตุให้เขามักจะซื้อแต่หุ้นของบริษัทที่มีกำไรต่อส่วนของผู้ถือหุ้นหรือ ROE ที่สูงลิ่ว  หรือในกรณีที่เป็นบริษัทที่เขาควบคุมกิจการได้  เขาก็มักจะไม่อนุมัติให้เอาเงินสดของบริษัทไปลงทุนในเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ให้ผลตอบแทนต่อเงินลงทุนที่ต่ำกว่าต้นทุนทางการเงิน  ตัวอย่างเช่นในกรณีของกิจการสิ่งทอของ เบิร์กไชร์ นั้น  เขาไม่ยอมใส่เงินลงไปเพื่อ  “ปรับปรุง” ให้บริษัท  “สามารถแข่งขันได้” กับคู่แข่งในเอเชีย  เพราะเขาคิดว่ายิ่งใส่เงินลงไปก็ยิ่ง “จม”  ดังนั้น  เขาจึงแค่ประคองธุรกิจสิ่งทอไปเรื่อย ๆ  และนำเงินสดที่ได้มาลงทุนซื้อหุ้นที่ดีอื่น ๆ  ซึ่งสร้างผลตอบแทนให้เขามหาศาลจนเป็น  “ตำนาน” ของเบิร์กไชร์ในวันนี้

    ข้อสามที่เป็นความคิดและอารมณ์ที่มั่นคงของบัฟเฟตต์ก็คือ  เขาเชื่อใน “ความจริง”  และสนใจใน “ข้อมูลรายงาน” น้อยกว่า    ความหมายก็คือ  เขาจะไม่ถูก “ลวง” ให้เชื่อโดยตัวเลขรายงานที่ถูก “จัดการ”  ให้ดูดีกว่าความเป็นจริง  ตัวอย่างเช่น  ถ้าบริษัทมีการตัดค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรหรือทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนต่ำกว่าที่ควรเป็น  เขาก็จะไม่เชื่อในตัวเลขกำไรที่จะออกมาดีกว่าปกติ  นอกจากนั้น  ถ้าเป็นกิจการที่เขาควบคุมเองได้  เขาก็จะไม่ยอมทำอะไรก็ตามที่อาจจะทำให้ดูดีในวันนี้แต่สุดท้ายแล้วก็จะแย่ภายหลัง  ตัวอย่างเช่น  ในช่วงหนึ่ง  เขาปฏิเสธที่จะขายประกันในราคาถูกเพื่อที่จะสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้  เพราะเขาคิดว่าราคานั้นไม่คุ้ม  เขายอมให้กำไรของบริษัทในช่วงนั้นลดลงดีกว่าจะแสดงให้เห็นว่าบริษัทขายประกันได้มากและมีกำไรแต่ในที่สุดแล้วก็จะเสียหายเมื่อผู้ซื้อประกันกลับมาเคลมประกันที่มากกว่ารายรับในภายหลัง    การที่เขาทำแบบนั้นทำให้ธุรกิจประกันของเบิร์กไชร์มีกำไรและแข็งแกร่งมาตลอด  ในขณะที่บริษัทประกันอื่นนั้นมักจะเสียหายจากการที่พยายามแข่งขันกันแบบ “ฆ่าตัวตาย”

    ข้อสี่ที่เป็น  “วินัย”  ที่เข้มแข็งมากของบัฟเฟตต์ก็คือ  เขาเป็นคนที่มีมีความ “อดทนต่อสิ่งยั่วเย้า”สูงมาก  เขาจะไม่ซื้อหุ้นเพียงเพราะมันอาจจะทำกำไรได้อย่างรวดเร็วและง่าย ๆ  แต่เป็นหุ้นที่ไม่มีความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนและสามารถเติบโตไปได้เรื่อย ๆ ยาวนานมาก ๆ นอกจากนั้นแล้ว  หุ้นของเขาจะต้องเป็นหุ้นที่มีขนาดใหญ่พอที่เขาจะลงทุนได้อย่างมีนัยสำคัญ  และที่สำคัญอีกอย่างก็คือ  ราคาที่จะซื้อนั้นต้องสมเหตุผล  มี Margin of Safety หรือมีความปลอดภัยเพียงพอที่จะทำให้เขาไม่ขาดทุนในระยะยาวถ้าเกิดความผิดพลาดอะไรขึ้น  การวิเคราะห์ของเขาเพื่อที่จะหามูลค่าที่แท้จริงของกิจการนั้น  ดูเหมือนว่าจะเน้นไปที่เรื่องของกระแสเงินสดมากกว่าตัวเลขกำไรที่เป็นข้อมูลทางด้านบัญชีที่อาจจะไม่สะท้อนผลการดำเนินงานที่แท้จริงเต็มที่  และนี่เป็นเหตุผลที่เขาชอบบริษัทที่มีกระแสเงินสดดีและต้องการเงินลงทุนในการขยายธุรกิจต่ำ   และด้วยเหตุผลที่ต้องการหาหุ้นที่สมบูรณ์แบบดังกล่าวทำให้เขาลงทุนในหุ้นน้อยตัวมาก  พูดง่าย ๆ  ถ้าไม่เข้าเกณฑ์ที่เขาต้องการ  เขายินดีรอไปเรื่อย ๆ โดยไม่ทำอะไรทั้ง ๆ ที่มีเงินสดที่พอกพูนขึ้นมามากมายตลอดเวลาจากการจ่ายปันผลของบริษัทที่เขาถืออยู่

    ข้อห้า บัฟเฟตต์นั้นเห็นว่าการมองโลกในแง่ร้ายและความหดหู่ของคนในสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนซึ่งทำให้หุ้นตกลงมารุนแรงนั้น  เป็นโอกาสที่งดงามในการซื้อหุ้น  ในขณะที่ช่วงที่สังคมของนักลงทุนกำลังมองโลกในแง่ดีสุด ๆ จนแทบจะเคลิบเคลิ้มซึ่งทำให้หุ้นขึ้นไปอย่างไร้เหตุผลนั้น  เป็นเวลาที่จะต้องขายหุ้น  เหตุการณ์ช่วงวิกฤติในตลาดหุ้นอเมริกาในปี 2009 นั้น  บัฟเฟตต์เข้าซื้อหุ้นจำนวนมากที่ดูเหมือนว่ากำลังจะ “ล่มสลาย” และในตลาดนั้น  นักลงทุนต่างก็กำลังหนีตายและไม่มีเงินสดที่จะซื้อหุ้นเป็นพยานที่ยืนยันความมั่นคงในจิตใจของบัฟเฟตต์เป็นอย่างดี  ในทางตรงกันข้าม  บัฟเฟตต์เคยขายหุ้นทิ้งเกือบหมดพอร์ตในช่วงปลายทศวรรษที่ 1960 เนื่องจากหุ้นขึ้นเป็นกระทิงและราคาสูงมาก  เช่นเดียวกัน  เขาเคยซื้อหุ้นปิโตรเคมีของจีนและขายออกไปเมื่อราคาขึ้นไปสูงลิ่วอย่างไร้เหตุผลส่วนหนึ่งเนื่องจากบัฟเฟตต์เข้าไปซื้อมัน

    ข้อหกซึ่งใกล้เคียงกับข้อห้าก็คือ  ทุกครั้งที่เกิด “วิกฤติ” กับหุ้นที่ “ยิ่งใหญ่” และบัฟเฟตต์คิดว่ามันเป็นเหตุการณ์ชั่วคราวครั้งเดียวและสามารถแก้ไขได้  เขาจะเข้าไปลงทุนอย่างหนักในหุ้นตัวนั้นเสมอ  ตัวอย่างมีมากมาย  เช่นกรณีที่เขาลงทุนในบริษัทอเมริกันเอ็กซเพรสเมื่อเกิดกรณีฉ่าวโฉ่เรื่องน้ำมันสลัดที่มีการฉ้อฉลกันในบริษัทแต่ตัวกิจการหลักที่เป็นบัตรเครดิตนั้นไม่ถูกกระทบ  เป็นต้น  ว่าที่จริง  หุ้นที่ยิ่งใหญ่จำนวนไม่น้อยนั้นถูกซื้อโดยบัฟเฟตต์ในช่วงที่มันมีราคาตกลงมาผิดปกติในยามที่เศรษฐกิจหรือบริษัทมีปัญหาที่  “แก้ไขได้”  หรือ “กำลังดีขึ้น” อย่างแน่นอน  และนี่ก็เป็นวิธีทำเงินที่สำคัญมากของบัฟเฟตต์

    สุดท้ายก็คือ  ระยะเวลาของการลงทุน  บัฟเฟตต์มองการลงทุนว่าคือการเข้าเป็นเจ้าของธุรกิจ  ดังนั้น  เมื่อซื้อแล้ว  เขาก็มักจะไม่มีความคิดว่าจะขาย  โดยเฉพาะบริษัทที่เขาคิดว่ามันเป็น ซุปเปอร์สต็อกหรือบริษัทที่จะโตต่อไปได้เรื่อย ๆ  เนื่องจากมันเป็นธุรกิจที่จะเติบโตไปได้เรื่อย ๆ  ยาวนานและบริษัทมีความได้เปรียบที่ยั่งยืนและธรรมชาติของผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ล้าสมัยและหาสิ่งอื่นมาทดแทนได้ยาก  การที่ไม่คิดว่าจะขายในแทบทุกกรณีทำให้เขาไม่ติดตามราคาหุ้นแบบนักลงทุนทั่วไปที่ต้องติดตามบางทีทุกนาทีหรือทุกวัน  บัฟเฟตต์เองนั้นไม่มีจอดูราคาหุ้นด้วยซ้ำ  ดังนั้น  ราคาหุ้นที่ขึ้นลงผันผวนรายวันหรือรายเดือนจึงไม่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนของบัฟเฟตต์เลย  ถ้าจะมีบ้างก็คือ  ถ้าหุ้นตกลงมามาก  มันอาจจะเป็นโอกาสลงทุนสำหรับบัฟเฟตต์  แต่ก็เฉพาะที่เป็นหุ้นที่ดีมากที่บัฟเฟตต์ยังไม่ลงทุนเนื่องจากราคามันยังแพงเกินไปเท่านั้น

Posted by nivate at 10:47 AM in โลกในมุมมองของ Value Investor

ที่มา:
http://portal.settrade.com/blog/nivate/2015/02/23/1530


ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9017
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com


Monday, 2 March 2015
Scenario Investing

ในการลงทุนนั้น  ผมคิดว่าเราจำเป็นต้องประเมินสถานการณ์ของภาวะเศรษฐกิจ  การเมือง  และสังคมของประเทศหรือตลาดที่เราลงทุนอยู่หรือที่เราจะเข้าไปลงทุนตลอดเวลา  ถ้าเรามีข้อจำกัดว่าเราคงต้องลงทุนในประเทศไทยเป็นหลักเนื่องจากเหตุผลบางประการ เช่น เรายังมีความรู้ไม่พอในตลาดของประเทศอื่น  สิ่งที่เราจะต้องดูอย่างละเอียดถี่ถ้วนก็คือ  ภาพของประเทศไทยในอนาคตทั้งระยะสั้นและระยะยาว  หลังจากนั้นก็จะต้องดูว่าดัชนีหุ้นอาจจะเป็นอย่างไรในอนาคต  อาจจะซัก 4-5 ปีข้างหน้าเป็นอย่างน้อย  นอกจากนั้น  เราก็ต้องดูว่าหุ้นในพอร์ตที่เราถืออยู่นั้นจะขึ้นหรือลงในสถานการณ์อย่างนั้น  ในการวิเคราะห์นั้น  เพื่อที่จะให้เห็นภาพที่กว้างและไม่ให้เรา “ติดยึด” ว่ามันเป็นสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นอย่างจริงแท้แน่นอนซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายมากในการลงทุน  เราก็ควรที่จะ  “วาดภาพในอนาคต” เป็นหลาย ๆ  ภาพหรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่าหลาย ๆ   Scenario แล้วก็ดูถึง  “โอกาสความเป็นไปได้” ของแต่ละภาพ  เสร็จแล้วเราก็จะต้องกำหนดกลยุทธการลงทุนของเรา

    สถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจ  สังคม  และการเมืองของเราในปัจจุบันนั้น  ต้องบอกว่าอยู่ในอาการที่ไม่ดี  หรือถ้าจะพูดว่าเลวร้ายพอสมควรก็ไม่น่าจะผิดนัก  การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเราต่ำมากเกือบ 0% ในปีที่แล้วทั้ง ๆ ที่ไม่มีภาวะวิกฤติในระดับโลก  นี่เป็นเรื่องที่น่าห่วงมาก  ผมเองยังจำได้ว่าถ้าเป็นในสมัยก่อนที่ผมยังหนุ่มและเศรษฐกิจไทยกำลังโตวันโตคืนเฉลี่ยปีละถึง 7% นั้น  ปีที่ไทยโต 4% ถือว่าเป็นปีที่แทบจะเรียกได้ว่าเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ  คนเดือดร้อนกันไปทั่ว  ข้ออ้างที่ว่าเศรษฐกิจโลกไม่ดีทำให้เศรษฐกิจไทยแย่ไปด้วยในช่วงนี้นั้นก็พอฟังได้บ้าง  แต่มันก็ไม่สามารถหักล้างข้อเท็จจริงที่ว่า  เศรษฐกิจไทยอาจจะกำลังเริ่มชะลอตัวอย่างถาวรด้วยเหตุผลทางด้านโครงสร้าง เช่น อายุของประชากรหรือความสามารถในการแข่งขันของประเทศ  ที่ผมพูดแบบนี้ก็เพราะว่าประเทศที่กำลัง “โตวันโตคืน” อย่างพม่าหรือ  เวียตนามนั้น  แม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะแย่และคนเวียตนามจะบ่นว่า เศรษฐกิจในประเทศ “ตกต่ำ” นั้น  ปีที่แล้วเขาก็ยังโตกว่า 5%

    สถานการณ์ทางด้านสังคมและการเมืองของไทยเองนั้นก็อยู่ในภาวะที่ไม่ดี  ความแตกแยกกันทางความคิดมีอยู่สูงกว่าช่วงปกติ  ทางด้านการเมืองนั้นเองก็ยังอยู่ในภาวะที่ไม่ปกติ  ถ้าจะเปรียบเทียบกับโลกแล้ว  เราน่าจะอยู่ในกลุ่มท้าย ๆ ของตารางทางด้านของพัฒนาการทางสังคมและการเมืองทั้ง ๆ ที่เราเคยได้รับการมองว่าเป็นประเทศและสังคมที่ค่อนข้างจะเปิดและปรับตัวเข้ากับโลกได้ดีประเทศหนึ่ง

    อย่างไรก็ตาม  สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าสถานะปัจจุบันก็คืออนาคต   ภาพหรือ Scenario ที่คนส่วนใหญ่มองก็คือ  ใช่!  เรากำลังแย่ทุกด้าน  แต่ทุกอย่างก็อาจจะกำลังดีขึ้น  เศรษฐกิจน่าจะดีขึ้น  สังคมและการเมืองก็น่าจะปรับตัวดีขึ้น  และเนื่องจากมันแย่มาก  ดังนั้น  มันก็จะดีขึ้นมาก  เศรษฐกิจจะเติบโตขึ้นถึงประมาณ 4%  สังคมและการเมืองก็กำลังถูก “ปฏิรูป” ให้ดีขึ้น  ดังนั้น  ภาพอนาคตก็จะดีขึ้นไม่ใช่แย่ลง  แต่นั่นสำหรับผมก็เป็นเพียง Scenario หรือภาพหนึ่ง  เราจำเป็นต้องคิดถึงภาพอื่น ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้  อาจจะเป็นภาพที่  “ทรง ๆ”  คือเศรษฐกิจไม่ได้โตขึ้นขนาดนั้นเช่นเดียวกับสังคมและการเมือง  หรืออาจจะเป็นภาพที่  “แย่ลงไปอีก”  คือเศรษฐกิจก็ยังไม่โตและสังคมและการเมืองก็ไม่ดีขึ้นในอนาคตอย่างน้อย 2-3 ปีข้างหน้า  แม้ว่าโอกาสที่จะเกิดขึ้นอาจจะไม่มากนัก

    ประเด็นต่อมาก็คือเรื่องของดัชนีหุ้นในอนาคต  ซึ่งโดยทั่วไปนั้นก็ควรจะปรับตัวล้อไปกับภาวะเศรษฐกิจ สังคม  การเมืองในอนาคต  และความถูกความแพงของหุ้นในปัจจุบัน  ถ้าเศรษฐกิจดีขึ้นมากในอนาคตและหุ้นในปัจจุบันมีราคาถูกมาก  โอกาสก็เป็นไปได้มากว่าดัชนีหุ้นในอนาคตจะปรับตัวขึ้นไปได้ดีมาก  และนั่นก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นหลังภาวะวิกฤติเศรษฐกิจของไทยหลังปี 2542-43  และอีกครั้งหนึ่งหลังวิกฤติของอเมริกาในปี 2009  แต่ถ้าเศรษฐกิจดีขึ้นมากในอนาคตแต่หุ้นในปัจจุบันแพง  ดัชนีก็อาจจะยังปรับตัวขึ้นได้แม้ว่าการปรับตัวขึ้นอาจจะไม่มากนักอาจจะซักปีละ 10% ใน 2-3 ปีข้างหน้า  อย่างไรก็ตาม  ถ้าหากภาพใหญ่ทางด้านเศรษฐกิจสังคมและการเมืองไม่ได้ดีขึ้นในอนาคตแต่หุ้นในปัจจุบันแพง  ดัชนีตลาดหุ้นก็อาจจะนิ่งหรือตกลงมารุนแรงได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าภาพใหญ่แย่ลงไปอีก

    ในความรู้สึกของผมเองนั้น  ผมคิดว่าหุ้นไทยในปัจจุบันนั้นค่อนข้างแพง  ดังนั้น  แม้ว่าภาพใหญ่ของเศรษฐกิจในอนาคตจะดีขึ้น  โอกาสที่หุ้นจะให้ผลตอบแทนสูงมากอย่างในอดีตก็อาจจะยาก  ผมเองคิดว่าดัชนีหุ้นโตขึ้นเฉลี่ยปีละ 10% ในช่วง 3-4 ปีข้างหน้าน่าจะเป็นจุดสูงสุดที่เราจะคาดได้  และนี่ก็คือ Scenario ที่ดีที่สุดของผม

    ภาพที่ผมเห็นว่าน่าจะเป็นไปได้มากกว่าก็คือ  ภาพใหญ่ของไทยนั้น  อาจจะไม่ค่อยสดใสนัก  เศรษฐกิจก็โตขึ้นบ้างแต่ไม่สูงในอนาคตหลายปีข้างหน้า  แต่เนื่องจากดัชนีหุ้นไทยในปัจจุบันค่อนข้างสูงโอกาสก็เป็นไปได้ว่าหุ้นในอีกหลายปีข้างหน้าก็ไม่ได้ปรับตัวขึ้นเป็นเรื่องเป็นราวแม้ว่ากำไรของบริษัทจดทะเบียนก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  อย่างช้า ๆ  สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ  ค่า PE ของหุ้นจะลดลงจากระดับ 20 เท่าในปัจจุบันเหลือเพียง 10 เท่าในอีก 3-4 ปีข้างหน้า  นั่นก็คือสิ่งที่เราจะเห็น  อย่างไรก็ตาม  จากวันนี้ถึงอีก 4 ปี ข้างหน้า  ดัชนีหุ้นอาจจะวิ่งขึ้นลงผันผวนทุกปีแต่สุดท้ายก็ไปไม่ไกลเนื่องจากพื้นฐานและราคาของหุ้นไม่เอื้ออำนวย  ตลาดแบบนี้เราเรียกว่า  Sideway Market  นักลงทุนระยะยาวทำกำไรได้ยาก

    ถ้าภาพใหญ่ของไทยเลวร้ายลงอีกในหลายปีข้างหน้า  และด้วยดัชนีหุ้นที่ค่อนข้างแพง  ก็เป็นไปได้ว่าตลาดหุ้นไทยจะเข้าสู่ภาวะตลาดหมี  คือหุ้นจะลดลงในระยะยาวอีก 3-4 ปีข้างหน้า  คนที่ลงทุน  ไม่ว่าจะเป็นระยะสั้นหรือยาวก็จะ “เจ็บตัว” อย่างหนัก  ความสนใจในหุ้นของคนไทยก็จะหมดไป  ปริมาณการซื้อขายที่สูงลิ่วในปัจจุบันก็จะหายไปและถูกแทนที่ด้วยความซบเซาของการซื้อขายหุ้น  การลงทุนในหุ้นก็จะเป็นเรื่องของคนที่  กล้าได้กล้าเสียและกล้าเสี่ยงไม่ใช่เรื่องของคนธรรมดาที่ลงทุนเพื่อชีวิตที่มั่นคงอย่างที่อาจจะเป็นบ้างในช่วงนี้

    แน่นอนว่ามี Scenario อื่นอีกหลายอย่างที่อาจจะเกิดขึ้นได้ แต่ผมเองดูว่ามีโอกาสเกิดขึ้นน้อยจึงไม่ได้พูดถึง  นักลงทุนคงต้องวิเคราะห์เอง  ส่วนตัวผมนั้นมองว่าโอกาสที่เป็นไปได้สูงก็คือ  ดัชนีหุ้นไทยถ้ามองไปข้างหน้า 3-4 ปี อาจจะไปได้ไม่ไกล  ในระหว่างทางนั้น  ในภาพหนึ่งก็คือ ดัชนีไป Sideway ไม่ได้ขึ้นหรือลงหนักมาก  ในอีกภาพหนึ่งก็คือ  ดัชนีหุ้นตกหนักมากแม้ว่าอาจจะไม่ถึงกับวิกฤติเนื่องด้วยเหตุการณ์บางอย่างที่คาดการณ์ไม่ได้  อย่างไรก็ตาม  ในที่สุดหุ้นก็ปรับตัวกลับขึ้นมาใกล้เคียงกับดัชนีในวันนี้ใน 3-4 ปีข้างหน้า  และนี่ต้องบอกอีกครั้งหนึ่งว่ามันเป็นการ “คาดเดา”

    กลยุทธการลงทุนของผมนั้น  แน่นอน  ไม่ได้มองเฉพาะตลาดหุ้น  เพราะผมเองไม่มีความสามารถในการลงทุนได้ทั่วโลก  ดังนั้น  ผมต้องดูสถานการณ์การลงทุนอย่างอื่นเช่น ดอกเบี้ย  พันธบัตร หุ้นกู้ หรือการลงทุนทางเลือกอย่างอื่นในประเทศไทยด้วย  น่าเสียใจที่ว่าการลงทุนทางเลือกอย่างอื่นนั้น  มีสภาพที่แย่พอ ๆ กับการลงทุนในตลาดหุ้นหรือแย่กว่า  นี่ก็เป็นความลำบากและ “อึดอัด” ใจของผมในการลงทุนในช่วงนี้  ผมคิดว่าการลงทุนในหุ้นเป็นเรื่องที่อันตรายและโอกาสได้ผลตอบแทนสูงทำได้ยาก  ในขณะเดียวกัน  การลงทุนในสิ่งอื่นก็ไม่ได้ดีไปกว่ากัน  ดังนั้น  ผมจึงเลือกที่จะ “รอ” โดยเตรียมเงินสดเอาไว้บ้างเพื่อที่จะได้ “ฉกฉวยโอกาส”  ในกรณีที่เกิดเหตุหรือสถานการณ์ที่ทำให้หุ้นตกลงมาจนคุ้มที่จะลงทุน  แต่ผมก็ไม่รู้ว่ามันจะเกิดหรือไม่  และถ้าเวลาผ่านไปนาน ๆ  ต้นทุนในการถือเงินสดก็จะ “ท่วม” คิดแล้วก็รู้สึกอิจฉาเพื่อนนักลงทุนต่างชาติของผมบางคนที่เขาสามารถไปลงทุนในหุ้นต่างประเทศได้อย่างไม่มีข้อจำกัด 

Posted by nivate at 8:49 AM in โลกในมุมมองของ Value Investor

ที่มา:
http://portal.settrade.com/blog/nivate/2015/03/02/1532


ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9017
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com



Tuesday, 10 March 2015
Quote ของการลงทุน

ผมเป็นคนชอบอ่าน Quote หรือคำพูดที่ “แหลมคม” ของ “นักปราชญ์”  คนที่มีความสามารถ  หรือ “คนดัง” ในแวดวงต่าง ๆ  เพราะผมรู้สึกว่า Quote นั้นมักจะมีแนวความคิดและปรัชญาที่สำคัญที่สามารถบรรจุอยู่ในคำพูดสั้น ๆ  ไม่กี่ประโยคอ่านแล้วก็เข้าใจได้ทันที  ซึ่งก็แน่นอนว่า  ผมชอบอ่าน Quote ของกูรูการลงทุนมากมายที่ได้พูดไว้  และต่อไปนี้คือ Quote ที่ถูกรวบรวมโดยคุณพรชัย  รัตนนนทชัยสุข นักเขียนและนักลงทุนอาวุโสทางด้าน VI ซึ่งได้จัดทำเป็นหนังสือเพื่อแจกให้แก่คนที่ทำประโยชน์ให้แก่สังคม  ผมจึงถือโอกาสนี้ขอบคุณคุณพรชัยและนำ Quote บางส่วนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของตลาดหุ้นในปัจจุบันที่กำลังร้อนแรงมาดูกัน

Quote แรกเป็นของ Michael K. Farr  “คุณไม่รู้ไม่เข้าใจ  แต่ราคาหุ้นมันขึ้นเอา ๆ  คุณเห็นคนที่ไม่ได้ฉลาดอะไรรวยเอา ๆ  ในขณะที่คุณมัวแต่ตั้งคำถามเพื่อพิจารณาเหตุผล  ในที่สุดคุณตัดสินใจว่า  การมัวนั่งพินิจพิเคราะห์ทำให้คุณไม่ได้กำไรอย่างคนอื่น  ไม่วิเคราะห์มันแล้ว  ซื้อเลยดีกว่า  คุณต้องมีหุ้นตัวนี้กับเขามั่งแม้ว่ามันจะเพิ่งทำจุดสูงสุดใหม่ก็เหอะ  ฟังคุ้น ๆ ปะ”

    คำพูดที่สองเป็นของ วอเร็น บัฟเฟตต์   “พอราคาหุ้นขึ้นต่อเนื่องแบบไม่ยอมตก  เราจะเริ่มคิดว่า  การขึ้นของราคาหุ้นมันคงสมเหตุผล  เราจะเริ่มมองเห็นโลกเสี้ยวเดียว  การขึ้นของราคาหุ้นและผลกำไรเป็นตัวกระตุ้นให้เราเชื่อ  เชื่อแม้ว่ามันจะขัดกับสามัญสำนึก  ข่าวดีกระจ้อยร่อยกระตุ้นราคาราวกับเป็นข่าวใหญ่น่าเฉลิมฉลอง  ส่วนข่าวร้ายและคำวิพากษ์วิจารณ์ถูกมองข้ามและไม่มีใครให้น้ำหนัก  จนในท้ายที่สุดเมื่อความเป็นจริงปรากฏ  “รู้งี้”  คือคำพูดที่จะหลุดออกมาจากปากเรา”

    บัฟเฟตต์ยังพูดต่อว่า  “ยามที่การใช้มาร์จินได้ผล  มันจะทำให้กำไรของคุณเพิ่มทวีคูณ  เมียคุณจะมองว่าคุณช่างฉลาดปราดเปรื่องยิ่งนัก  เพื่อนบ้านจะอิจฉาคุณ  แต่การใช้มาร์จินเป็นสิ่งเสพติด  พอเคยได้กำไรอย่างมหัศจรรย์แล้ว  น้อยคนนักจะหวนกลับมาลงทุนแบบระมัดระวังได้  และก็อย่างที่พวกเราเคยเรียนตอนอยู่ประถมและหลายคนได้เรียนอีกครั้งตอนวิกฤติในปี 2008 ว่า  ไม่ว่าตัวเลขมันจะสวยหรูแค่ไหน  มันจะมลายไปทันทีถ้ามันถูกเอาไปคูณกับเลขศูนย์เพียงแค่ตัวเดียว  ประวัติศาสตร์บอกเราว่า  มันกลายเป็นศูนย์ได้บ่อยครั้ง  แม้ว่าคนที่ใช้มันจะเฉลียวฉลาดมากก็เหอะ”

    คำพูดที่สี่และห้าเป็นของ Jack D. Schwager “จะซื้อหรือถือหุ้นที่มีค่า PE สูง ๆ  การเติบโตของกำไรสุทธิต้อง  Feasible, Visible, Predictable และ Durable”

    “จังหวะที่ดีที่สุดสำหรับการเริ่มต้นซื้อหุ้นเพื่อการลงทุนระยะยาวก็คือช่วงเวลาหลังจากที่หุ้นให้ผลตอบแทนไม่ดีติดต่อกันมายาวนาน”

คำพูดที่หกเป็นของ Peter Keefe  “คนชอบอยากรู้ว่าตลาดหุ้นเกิดภาวะฟองสบู่แล้วหรือยัง จนลืมไปว่า  ภาวะฟองสบู่ไม่ได้เกิดขึ้นได้กับตลาดโดยรวมเพียงอย่างเดียว  แต่อาจจะเกิดกับหุ้นเป็นกลุ่ม ๆ  หรือเป็นตัว ๆ ก็ได้”

    Quote ที่เจ็ดนั้นอาจจะเรียกว่าเป็นเอกลักษณ์การลงทุนอย่างหนึ่งของบัฟเฟตต์เลยก็ว่าได้เพราะเขาบอกว่า  “เวลาที่ตลาดหุ้นตกหนัก ๆ  จะเป็นช่วงเวลาที่เราสามารถซื้อหุ้น Philip Fisher (หุ้นเติบโต) ได้ในราคา Benjamin Graham (P/E, P/B ต่ำ)”

    คำพูดที่แปดเป็นของ Francisco Garcia Parames  “การที่ราคาหุ้นขึ้นมา 20 เปอร์เซ็นต์มันหมายความว่าหุ้นตัวนี้มีความน่าสนใจน้อยลงไป 20 เปอร์เซ็นต์”

    Joel Greenblatt พูดว่า  “ความผิดพลาดข้อใหญ่ที่สุดสามข้อของนักลงทุนคือ  1. ปล่อยให้อารมณ์เข้าครอบงำ ตัดสินใจซื้อขายหุ้นตามอารมณ์ที่เกิดขึ้นตอนเห็นการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้น  ตอนอ่านบทวิเคราะห์หรืออ่านข่าว  2. ซื้อหุ้นแบบไม่รู้เรื่อง  ไม่มีความรู้  ประเมินมูลค่าบริษัทไม่ออก  ซึ่งถ้าประเมินไม่ได้  แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าหุ้นถูกหรือเปล่า  3. ให้น้ำหนักกับผลประกอบการล่าสุดของบริษัทมากเกินไป”

    ถ้าเราคิดว่าหุ้น IPO คือสุดยอดของการลงทุน  เราควรฟัง วอเร็น บัฟเฟตต์ ที่พูดว่า  “หุ้น IPO เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง  การที่ผู้บริหารต้องการขายหุ้น  ทำให้หุ้นพวกนี้ไม่น่าจะเป็นหุ้นที่ถูกที่สุดสำหรับการเข้าซื้อ”

     Quote ที่ 11 เป็นของ Stuart Walton  “ความเข้าใจผิดข้อใหญ่ที่สุดก็คือ  มีการเชื่อกันในวงกว้างว่า  การหาเงินด้วยการเทรดหุ้นเป็นเรื่องง่าย  คนพากันคิดว่า  พวกเขาสามารถเลิกทำงานและมานั่งเทรดหุ้นอย่างเดียวได้  สุดท้ายแล้ว  คนส่วนใหญ่จะต้องพบกับความผิดหวัง”

    คำพูดที่ 12 ถูกกล่าวโดย Jack Schwager  “ทำไมการขาดทุนครั้งใหญ่มักมีแนวโน้มเกิดตามหลังช่วงที่ดีที่สุด?  คำอธิบายหนึ่งก็คือ  ในยามที่อะไร ๆ ดูเหมือนจะสวยหรูเหมือนมีคนกำกับ  นักลงทุนมักจะเริ่มการ์ดตก  พวกเขาเริ่มลืมคิดถึงเหตุการณ์เลวร้ายที่อาจเกิดขึ้น  อีกปัจจัยหนึ่งก็คือ  ในช่วงดี ๆ แบบที่ว่า  แต่ละคนมักลงทุนสุดตัวทุ่มสุดขีด  คำเตือนของผมก็คือ  ในยามที่พอร์ตคุณสวยหรูดูดีนิวไฮมีหุ้นน้อยไป  อย่าการ์ดตกและจงระมัดระวังตัวให้มาก”

    คำพูดนี้เป็นของ Anthony Bolton  “จากการศึกษาพบว่า  เมื่อราคาหุ้นวิ่งขึ้นไปทำจุดสูงสุด  นักลงทุนที่มีประสบการณ์น้อยมักคาดหวังผลตอบแทนที่สูงกว่าและมั่นใจมากกว่าว่าตัวเองจะสามารถเอาชนะตลาดได้ เมื่อเปรียบเทียบกับนักลงทุนที่อยู่ในตลาดมานาน”

    Quote ที่ 14 และ 15 เป็นของ Gerald M. Loeb เซียนหุ้นเก็งกำไร  “ผลของตลาดกระทิงที่มีต่อความคิดของเรา:  1. เราจะชื่นชมตัวเองว่าเรานี่แหละเซียนหุ้น  2.  รู้สึกว่าตัวเองโง่ที่อนุรักษ์นิยมเกินไปในช่วงที่ผ่านมาและจะนั่งคิดว่าถ้ากล้ากว่านี้จะได้เงินอีกเยอะเลย  3. เริ่มเสี่ยงมากขึ้นและอยากได้กำไรเร็วๆ จนกลายเป็นนักเก็งกำไร”

    “สามสาเหตุหลักที่จะทำให้เราขาดทุนคือ 1. ซื้อหุ้นมาในราคาที่แพงเกินไป 2. ซื้อหุ้นที่มีงบดุลอ่อนแอ 3. ไปหลงเชื่อตัวเลขคาดการณ์ผลกำไรที่สูงเกินจริง”

    คำพูดที่ 16 ซึ่งเป็นคำพูดสุดท้ายที่ไม่ระบุชื่อคนพูดก็คือ  “เรื่องของเรื่องก็คือ  หุ้นมันก็เป็นแบบนี้แหละ  บางทีมันก็ขึ้น  บางทีมันก็ลง  ตอนหุ้นขึ้นได้กำไร  ก็อย่าผยองปากกล้าจนเกินงาม  ตอนหุ้นตกขาดทุนหนักก็อย่าหดหู่ซึมเศร้าจนเกินควร  ใช้เหตุผลและปัญญานำทาง  อย่าใช้อารมณ์ตัดสินใจ”

Posted by nivate at 8:34 AM in โลกในมุมมองของ Value Investor

ที่มา:
http://portal.settrade.com/blog/nivate/2015/03/10/1537


ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9017
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com
20 เรื่องที่ลูกต้องรู้เพื่อการใช้เงินอย่างถูกต้อง

รายการ "หมอเงินหมอความ" นำเสนอหัวข้อ Money As You Grow (20 things kids need to know to live financially smart lives) ซึ่งเป็นโครงการของทางสหรัฐเพื่อให้ประชาชนมีสติในการใช้สตังค์มากขึ้นก่อน ที่ประเทศจะเละตุ้มเป๊ะ ผมเห็นว่าเป็นประโยชน์ก็เลยอยากนำมาแนะนำต่อครับ โดยเนื้อหาจะแบ่งไปตามช่วงอายุและจะมีตัวอย่างกิจกรรมที่แนะนำให้ทำด้วย

ขอบคุณทางรายการที่แนะนำอะไรดีๆ ครับ และขอบคุณต้นฉบับด้วย http://moneyasyougrow.org

อายุ 3-5 ปี

1. เราใช้เงินเพื่อซื้อของ
  - หัดนับเหรียญ
  - แยกแยะได้ว่าอะไรฟรี อะไรเสียตัง เช่น การเล่นกับเพื่อน, ไอศครีม, เติมน้ำมัน, เสื้อผ้า

2. เงินได้มาจากการทำงาน
  - อธิบายให้ลูกฟังว่าพ่อแม่ทำงานอะไร
  - อธิบายให้ลูกฟังว่าเพื่อนบ้านทำงานอะไร เช่น หมอ, ตำรวจ, คนขับรถ
  - อธิบายให้ลูกฟังว่าบางคนเปิดร้านทำธุรกิจเอง เรียกว่านักธุรกิจ
  - กระตุ้นให้ลูกคิดว่าลูกจะหาเงินได้อย่างไรบ้าง เช่นขายขนม

3. รู้จักรอก่อนที่จะตัดสินใจซื้ออะไร
  - เวลารอคิว อธิบายให้ลูกฟังว่าบางทีเราก็ต้องรอเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ
  - หากระปุก 3 กระปุกให้ลูกเพื่อ เก็บสะสม, ใช้จ่าย และแบ่งปัน
  - สอนให้เด็กเก็บเงินในกระปุกจนมีมากพอเพื่อซื้อของหรือขนม

4. แยกให้ออกระหว่างสิ่งที่เราจำเป็น (need) กับสิ่งที่เราอยากได้ (want)
  - เวลาซื้อของ ให้ลูกช่วยแยกแยะว่าอะไรเป็นของจำเป็น อะไรเป็นของที่อยากได้ซึ่งไม่ซื้อก็ได้

อายุ 6-10 ปี

5. หัดตัดสินใจเวลาใช้จ่าย
  - ให้ลูกช่วยตัดสินใจเวลาซื้อของว่าจะซื้อชิ้นไหนดี
  - ให้เงินลูกจำนวนนึงแล้วให้เขาเลือกซื้อผักผลไม้ให้

6. หัดเปรียบเทียบสินค้าก่อนซื้อ
  - พาลูกไปด้วยเวลาต้องเปรียบเทียบสินค้าจากหลายๆ ร้าน
  - ใช้คูปองหรือบัตรส่วนลดในการซื้อของ

7. การแชร์ข้อมูลออนไลน์อาจเป็นอันตรายได้
  - เรียนรู้ว่าลูกเข้าเว็บไหนบ้าง และบล็อคเว็บที่ไม่น่าไว้วางใจ
  - ตั้งกฏกับลูกว่าไม่ให้ใส่ข้อมูลส่วนตัวลงในเว็บไซต์ เช่น วันเกิด, ที่อยู่, เบอร์โทร, โรงเรียน
  - ไม่ให้ซื้อของออนไลน์ (รวมถึงเกมส์) เว้นแต่จะได้รับอนุญาต

8. สอนให้ฝากเงิน
  - พาลูกไปธนาคาร
  - สอนให้รู้ว่าฝากเงินกับธนาคารจะได้รับดอกเบี้ย
  - เปิดบัญชีเงินฝากให้ลูก

อายุ 11-13 ปี

9. สอนให้รู้จักเก็บเงินเอง (ไม่ใช่พ่อแม่เก็บให้)
  - แนะนำให้ลูกเก็บเงินไว้อย่างน้อย 10% ของเงินที่ได้รับ
  - พาลูกไปฝากเงินที่ธนาคารปีละ 2-3 ครั้ง ชี้ให้ดูจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น
  - เพื่อเป็นการกระตุ้น พ่อแม่อาจจะเสนอฝากเงินเพิ่มให้อีก 25% ทุกครั้งที่ลูกฝากเงิน

10. การใส่ข้อมูลการเงินบนเว็บอาจโดนขโมยได้
  - แนะนำว่าการใส่ข้อมูลบัตรประชาชน, เลขที่บัญชีธนาคาร, เลขที่บัตรเครดิต อาจะเป็นอันตรายยังไง
  - สอนว่าโจรอาจใช้ข้อมูลเหล่านี้ไปปลอมแปลงแล้วขโมยเงินเราได้
  - เตือนว่าระวังอะไรก็ตามที่บอกว่า "ฟรี" ออนไลน์เช่นเกมส์ เพราะเราอาจถูกหลอกได้
  - ห้ามเปิดหรือตอบอีเมลล์จากคนที่ไม่รู้จัก และห้ามคลิ๊กโฆษณาป๊อบอัพเด็ดขาด

11. ยิ่งออมเร็ว เงินยิ่งเติบโตเร็ว
  - สอนให้รู้จักดอกเบี้ยทบต้น และคำนวณให้ดู

12. รู้จักบัตรเครดิต
  - อธิบายว่าการใช้บัตรเครดิตก็เหมือนกับการกู้ยืม ถ้าไม่สามารถจ่ายได้หมดก็จะโดนดอกเบี้ย
  - ให้ลูกหาข้อมูลอัตราดอกเบี้ยและโปรโมชั่นบัตรเครดิตของหลายๆ สถาบัน
  - สอนการซื้อของออนไลน์ผ่านบัตรเครดิตอย่างปลอดภัย

อายุ 14-18 ปี

13. ประเมินค่าใช้จ่ายเมื่อต้องเลือกมหาวิทยาลัย (ในสังคมอเมริกัน เด็กมักจ่ายค่าเทอมเองหรือกู้)
  - ชี้ให้เห็นว่าคนที่เรียนจบปริญญาตรีมักจะมีรายได้สูงกว่าคนที่ไม่เรียน
  - คุยกับลูกว่าพ่อแม่จะช่วยจ่ายได้แค่ไหน
  - เปรียบเทียบค่าเทอม, เงินกู้, ค่างวด, ค่าใช้จ่ายอื่นๆ และอัตราการเรียนจบของแต่ละสถาบัน

14. หลีกเลี่ยงการใช้บ้ตรเครดิตถ้าไม่สามารถจ่ายคืนได้เต็มจำนวน
  - ตามนั้น

15. รู้จ้กกับภาษี
  - สอนให้รู้ว่าเรายได้ที่ได้รับจะโดนหักภาษี
  - อธิบายว่าเงินภาษีไปไหน
  - สอนเรื่องฐานภาษี, การลดหย่อนภาษี และการจ่ายภาษีประจำปี

16. รู้จักวางแผนเกษียณ

อายุ 18 ปีขึ้นไป

17. สอนการใช้บัตรเครดิต
  - การค้างชำระบัตรเครดิตส่งผลต่อประวัติทางการเงินในอนาคต อาจไม่สามารถทำบัตรหรือกู้เงินได้ หรือได้ในดอกเบี้ยที่แพงกว่าปกติ
  - เลือกใช้บัตรเครดิตที่ดอกเบี้ยต่ำ, ฟรีค่าทำเนียม, ระยะปลอดดอกเบี้ยยาว, โปรโมชั่นเหมาะกับเรา

18. จำเป็นต้องมีประกันสุขภาพ
  - สอนวิธีเลือกประกันสุขภาพให้เหมาะสม
  - ดูว่าพ่อแม่มีประกันสุขภาพที่คุ้มครองถึงลูกด้วยหรือไม่
  - แนะนำประกันชนิดอื่นๆให้รู้จัก เช่นอัคคีภัย, ประกันรถยนต์

19. เก็บเงินให้พอใช้อย่างน้อย 3 เดือนของรายจ่ายประจำในกรณีฉุกเฉิน

20. สอนให้รู้จักการลงทุนและความเสี่ยง
  - การกระจายความเสี่ยง
  - แนะนำให้รู้จักกองทุนรวม ผลประกอบการ ค่าธรรมเนียม
  - ให้ลูกนึกถึงรายจ่ายในอนาคตและวางแผน เช่นซื้อบ้านในอีก 10 ปี, ซื้อรถในอีก 5 ปี



ที่มา:
http://pantip.com/topic/33377935