Tigger Sound
สังคมออนไลน์คุณภาพของคนรักเครื่องเสียง
ทดสอบเสียง HK1.1 By Tiggersound https://www.facebook.com/tiggersound/videos/10218510874389162

ข้อคิดจาก.........ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

0 สมาชิก และ 5 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9025
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com

Rakesh Jhunjhunwala’s tips on how to find multibagger stocks

สวัสดีครับ ผมมีคำแนะนำสำหรับการหาหุ้น 10 เด้งมาฝากครับเพื่อนๆ นลท ครับ

มีใครรู้จัก Rakesh Jhunjhunwala ไหมครับ เขาถูกขนานนามว่าเป็น  Warren Buffet India
จากเงินลงทุนในคร้งแรก ปี 1985 ตอนนี้เขามีทรัพย์สินมากกว่า 1000 ล้านเหรียญ จากการลงทุนแบบเน้นคุณค่าของเขา
นิตยสาร Forbes ปีล่าสุด 2010 เขาติดอันดับคนที่รวยที่สุดในอินเดีย อันดับ 51 และ อันดับโลกที่ 1062



ผมมีบทความของเขามาฝาก เรื่อง เทคนิคการมองหาหุ้นหลายเด้ง

Rakesh Jhunjhunwala’s tips on how to find multibagger stocks

Tip No. 1: Don’t Look For Multi-baggers
เขียนไม่ผิดครับ เทคนิคแรกสำหรับการมองหาหุ้นสิบเด้ง ก็คือ อย่ามองหาหุ้นสิบเด้ง อิอิ งงไหม
Rakesh บอกว่า อย่าปักธงว่าเราจะมองหาและเลือกลงทุนในหุ้น 2 เด้ง 3 เด้ง 10 เด้งเท่านั้น สิ่งที่ดีกว่าคือ
การกลับไปใช้วิธีการลงทุนแบบดั้งเดิมยึดหลักของปรมาจารย์ทั้งหลาย อาทิ Benjamin Graham,Peter Lynch และ Warren Buffet
การบ้านที่คุณต้องทำก็คือ เลือกลงทุนในหุ้นที่ปัจจัยพื้นฐานดี และมีการเติบโตในอนาคต  พอร์ตของหุ้นก็จะเติบโต
หลายเด้งเองเมื่อเวลาผ่านไป

Tip No. 2: Don’t Look for Profits; Look For Sources Of Profits
อย่ามองที่กำไร จงมองหาแหล่งที่มาของกำไร

Rakesh ให้ข้อคิดที่ว่านักลงทุนทั่วไป มักจะยึดติดเกินไปกับยอดขายและกำไรรายไตรมาสและ
สนใจกำไรในระยะสั้นๆ อาจทำให้เราหลุดจากการมองภาพใหญ่ได้ ("That’s missing the wood for the trees")
Rakesh แนะนำว่า "Look at the sources of Profits. What are the reasons that will give rise to Profits in the medium and long-term term".
"Look at the factors and circumstances that will create an opportunity for business in the sector".
 
Tip No. 3: Forget ‘Large Cap, Small Cap’ Nonsense – Look For Scalability Of Operations:
ลืมหุ้นใหญ่ ลืมหุ้นเล็กซะ ไร้สาระ! จงมองหาสิ่งที่มันขยายได้

Rakesh ให้ข้อคิด 2 อย่าง อย่างแรก นักลงทุน นักวิเคราะห์ ทั่วไปมักจะถกเถึยงกันถึงว่า หุ้น large cap
mid cap,small cap อันไหนดีกว่ากัน แต่ Rakesh บอกว่า
 "Forget all that and Look for Value" . "If there is value in Large Cap, buy it. If there is value in Small Cap, buy it. But don’t obsess on irrelevant matters",

Tip No. 4: Give it Time, Be Patient:
จงอดทนและให้เวลากับมัน

นักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่เช่น Warren Buffet เคยบอกว่า
ระยะเวลาที่เราชอบในการถือครอง (หุ้น ) คือตลอดไป" Rakesh ก็เช่นเดียวกัน แนะนำว่า
"Give your investments time to mature. Be Patient for the World to discover your gems".

Tip No. 5: Don’t get carried away by short-term aberrations:
อย่าใส่ใจมากนักกับการเบี่ยงเบนระยะสั้น

นักลงทุนทั่วไปมักสนใจแนวโน้มระยะสั้น เช่นผลประกอบการรายไตรมาส Rakesh ตรงข้ามไม่ให้ความสนใจ
มากนักกับผลประกอบการรายไตรมาส ส่งที่เขาจะทำคือ การมองหา trend.
 ผลประกอบการรายไตรมาส จะบ่งขอกถึง trend ว่าอย่างไร

Tip No. 6: Invest in a business that you can understand:
จงลงทุนในธุรกิจที่คุณเข้าใจ

เหมือน vi ท่านอื่น คือเลือกลงทุนเฉพาะธุรกิจที่เราเข้าใจเท่านั้น

Tip No. 7: Don’t worry about the macro stuff like fiscal deficit, inflation etc which are unknowable. Focus on what is knowable:
อย่ากังวลกับปัจจัยมหภาคมากนัก เช่น การขาดดุลการคลัง เงินเฟ้อ อื่นๆที่ไม่สามารถรู้ได้ จงสนใจกับสิ่งทีสามารถรู้ได้

Rakesh แนะนำว่า อย่าสนใจกับสิ่งที่ไม่สามารถรู้ได้ หรือแม้นว่ารู้แล้วก็ไม่สามารถทำอะไรได้ แต่จงมุ่งมั่นทุ่มเทพลังงานของคุณทั้งหมด
ไปกับสิ่งที่คุณสามารถเรียนรู้ได้ดีเพียงพอ เช่นธุรกิจของบริษัทที่คุณลงทุน

Tip No. 8 : Don’t Try To Time The Market:
อย่าจับจังหวะตลาด

อย่าจับจังหวะตลาด เพราะคุณจะไม่สามารถหาจุดต่ำสุดของตลาดได้
ถ้าคุณหาหุ้นที่ถูกเมื่อเทียบกับมูลค่าแท้จริง ซื้อมันซะ!

Tip No. 9 : If it’s cheap, buy it- Don’t pass up something cheap today in the hope that it will get cheaper tomorrow:
ถ้ามันถูกก็ซื้อมันซะ อย่าปล่อยสิ่งที่คิดว่าถูกวันนี้โดยคาดหวังว่ามันจะถูกกว่าในวันพรุ่งนี้

ถ้าคุณเห็นโอกาสในวันนี้ จงคว้ามันไว้ซะ! โอกาสดีเยี่ยมหลายครั้งหลุดลอยไปเพียงเพราะการผลัดวันประกันพรุ่ง


Tip No. 10 : Don’t buy stocks that have a fixed return:
อย่าซื้อหุ้นที่มีรายได้คงที่

คำแนะนำอันนี้ ตอนแรกดูเหมือนน่าขำ เพราะคงไม่มีใครอยากซื้อหุ้นที่อยู่กับที่หรอก
แต่พบว่า นักลงทุนส่วนใหญ่กับมองข้ามข้อแนะนำอันนี้ Rakesh ยกตัวอย่างของหุ้นพวกนี้เป้นพวกหุ้น
ของพวกบริษัทเช่นพวกขายไฟฟ้าหรือสาธารณูปโภค ที่ไม่สามารถที่จะมีกำไรมากกว่าที่กฏหมายกำหนดไว้เท่านั้น

Tip No. 11: Ride your winners!!
ปล่อยให้หุ้นวิ่งทำกำไร

Rakesh แนะนำว่า อย่าขายหุ้นสิบเด้งของคุณทิ้งไปเพียงเพราะคุณคิดว่าหุ้นสิบเด้งของวันนี้จะไม่สามารถเป็นหุ้นยี่สิบเด้งได้ในวันพรุ่งนี้

Tip No. 12: Concentrate, concentrate & concentrate!!
มุ่งมั่น มุ่งมั่น และ มุ่งมั่น

เป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักลงทุนว่าการลงทุนแบบกระจายความเสี่ยงแบบไข่ในตระกร้าหลายใบหรือตระกร้าใบเดียว
อันไหนดีกว่ากัน
Rakesh เป็นพวกที่เน้นแนะนำให้ลงทุนที่เรามั่นใจเท่านั้นว่าจะมีผลตอบแทนดีกว่าหุ้นตัวอื่นๆ ไม่สนใจการกระจายความเสี่ยง
ในหุ้นหลายตัวเพียงเพราะต้องการปกป้องพอร์ต

จบแล้วครับ ผิดพลาด ตกหล่น ขออภัยครับ

ที่มา:
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=35&t=46674


ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9025
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com


Monday, 9 June 2014

ลงทุนในสุขภาพ

ผมพูดเกี่ยวกับเรื่องการลงทุนมานานมากน่าจะประมาณ 20 ปีมาแล้ว  เกือบทั้งหมดเป็นเรื่องของเงินทอง  หลักการสำคัญของการลงทุนก็คือการ  “อดหรือเลื่อนการบริโภคหรือการใช้เงินในวันนี้เพื่อที่จะสามารถบริโภคหรือใช้เงินได้มากขึ้นในวันข้างหน้า”    แต่การ “ลงทุน” นั้น  ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเรื่องของเงินทองแต่เพียงอย่างเดียว  เรื่องอื่น ๆ  ที่เราสามารถอดหรือเลื่อนออกไปในตอนนี้เพื่อที่จะได้สามารถใช้ได้มากขึ้นหรือดีขึ้นในวันข้างหน้าก็เป็นการลงทุนเหมือนกัน  ว่าที่จริงมีเรื่องอื่น ๆ  อีกไม่น้อยที่การลงทุนมีความสำคัญไม่แพ้เรื่องของเงินทอง  หนึ่งในนั้นก็คือการลงทุนกับ “สุขภาพ”  นี่คือการลงทุนในเรื่องของการ “ใช้” ร่างกายและจิตใจในวันนี้อย่าง “ถนอมรักษา”  เพื่อที่จะได้สามารถใช้มันได้มากขึ้นและ/หรือดีขึ้นในวันข้างหน้า—เมื่อร่างกายของเราเข้าสู่โหมดเสื่อมโทรมตามอายุของเรา

          การลงทุนในสุขภาพนั้นก็อาจจะคล้าย ๆ  กับการลงทุนในเงินทองในแง่ที่ว่าในยามที่เรายังเป็นหนุ่มสาวเรามักจะไม่ใคร่สนใจที่จะทำนักเนื่องจากความจำเป็นยังมีน้อยนั่นก็คือ  ในยามที่เป็นหนุ่มสาว  เรามักจะยังมีสุขภาพที่ดีหรือมีเงินใช้เพียงพอจากการทำงาน   เราไม่เห็นความจำเป็นมากนักที่จะต้องดูแลสุขภาพหรือต้องเก็บเงินเพื่อลงทุน   เราอยากจะใช้มันให้  “เต็มที่กับชีวิต”  สำหรับวันนี้มากกว่าที่จะเลื่อนออกไปในวันข้างหน้า  เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ  เราไม่รู้ว่าวันข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้น  เราอาจจะตายเสียก่อนหรือถึงวันนั้นการมีเงินใช้มากก็ไม่มีประโยชน์ถ้าเราไม่มี  “แรง”  ที่จะใช้มัน   ทั้งหมดนั้นก็มักจะเป็นความคิดของคนที่ยังไม่เคยแก่  ยังไม่รู้สึกถึงคุณประโยชน์ของการมีเงินหรือมีสุขภาพที่ดีในวันที่ตนเองแก่ตัวลง  แต่สำหรับผมซึ่งผ่านชีวิตทั้งสองแบบมาแล้วผมคิดว่าคนเราต้อง “ลงทุน”  ในทั้งสองเรื่องอย่างจริงจังตั้งแต่อายุยังน้อย  การลงทุนจะช่วยเพิ่ม  “ผลประโยชน์รวม”  หรือ “ความสุขโดยรวม” ในชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ  พูดง่าย ๆ   ถ้าเราลงทุนอย่างพอเหมาะทั้งในเรื่องของการเงินและสุขภาพตั้งแต่ยังเด็ก  โอกาสที่เราจะมีความสุขในชีวิตตลอดชั่วอายุขัยจะสูงขึ้นมาก  ถ้าเราไม่ลงทุนหรือลงทุนน้อย  ชีวิตเราอาจจะมีความสุขสูงขึ้นในช่วงอายุไม่มากยังแข็งแรง  แต่เมื่อแก่ตัวลง  ความสุขแทบจะไม่เหลือ  เราจะลำบากตอนแก่  ถ้านำมาเฉลี่ยกัน  ความสุขโดยรวมของเราก็จะน้อยลงไปมาก

           การลงทุนในสุขภาพนั้นไม่เหมือนเงินทองในแง่ที่ว่า  ถ้าเรา “ไม่ใช้” ร่างกายหรือใช้น้อย  แบบนี้ไม่ใช่การลงทุน   ในทางตรงกันข้าม  การ  “ใช้” ร่างกายมากเกินไป  ก็ไม่ใช่การลงทุนเหมือนกัน   การลงทุนในสุขภาพนั้นผมคิดว่าเป็นเรื่องที่เราต้องทำให้พอเหมาะในแต่ละเรื่องและเราจะต้องรู้จริงและเข้าใจร่างกายและการทำงานของมัน  โดยหลักการก็คือ  เราจะต้องดูแลรักษาให้ทุกส่วนของร่างกายทำงานได้เต็มหรือเกือบเต็มประสิทธิภาพแต่ไม่เกินกำลังในแต่ละช่วงเวลา  และคำว่าทุกส่วนนั้นรวมถึงที่อยู่ภายในที่เรามองไม่เห็นเช่นตับไตไส้พุงและสมองของเราด้วย  และนี่ก็ทำให้การลงทุนในร่างกายหรือสุขภาพเป็นเรื่องที่ยากพอสมควรและต้องการการศึกษาทำความเข้าใจกับมันคล้าย ๆ  กับการลงทุนเหมือนกัน

           หัวใจของการรักษาและดูแลสุขภาพซึ่งจะเป็นการ “ลงทุน”  ที่สำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งก็คือ  การออกกำลังที่พอเหมาะตลอดช่วงอายุของเรา  การออกกำลังกายนั้นช่วยให้กล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรง  ทั้งสองสิ่งนี้จะช่วยเรารักษาโครงของร่างกายเราในยามที่เราแก่ตัวลง  ซึ่งบางคนจะมีอาการกระดูกเปราะหรือบางซึ่งจะทำให้เสี่ยงต่อการแตกหักหรือกล้ามเนื้อไม่แข็งแรงเสี่ยงต่อการที่ข้อต่อกระดูกจะมีปัญหาต่าง ๆ  เช่นหมอนรองกระดูกเคลื่อน   เป็นต้น  อาการเหล่านี้ถ้าเกิดขึ้นแล้วคุณภาพชีวิตคงเสียไปไม่น้อย  นอกจากนั้น  การออกกำลังสม่ำเสมอยังช่วยในเรื่องของหัวใจและระบบต่าง ๆ ในร่างกายให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้มัน “แก่” ช้าลง  รวมไปถึงสมองที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดด้วย   ประเด็นสำคัญที่ผมเองก็ยังไม่แน่ใจว่าจริงหรือไม่ก็คือการออกกำลังมาก “เกินปกติ”  เช่น  นักกีฬาหรือคนที่เล่นกล้ามเพาะกายนั้น  เป็นการ “ลงทุน” หรือการ “ใช้” ร่างกายกันแน่  หรือพูดง่าย ๆ  มันคุ้มไหมที่จะทำอย่างนั้น?  ผมเองเคยพบเพื่อนคนหนึ่งที่ชอบวิ่งจ็อกกิ้งมากจนน่าจะเรียกได้ว่า “ติด”  เขาวิ่งแทบทุกวันวันละเป็นสิบ ๆ ก.ม. ดูจากภายนอกเขาจะผอมเกร็งไม่มีไขมันเลย  ร่างกายดูแข็งแรงยิ่งกว่าหนุ่มวัยรุ่นทั้ง ๆ  ที่อายุน่าจะ 40 ปีแล้ว  ต่อมาเมื่อพบเขาอีกครั้งหนึ่งเขาบอกว่าเขาเป็นมะเร็ง  เหตุผลเขาบอกว่าอาจจะเกิดจากการที่เขาใช้พลังมากเกินไปและกินเนื้อสัตว์มากเพื่อชดเชยเสริมสร้างกล้ามเนื้อซึ่งก่อให้เกิดมะเร็ง  นั่นเป็นการบอกเป็นนัยว่า  เขาใช้ร่างกายเกินไป

           อาหารน่าจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อสุขภาพไม่น้อย  การ “ลงทุน” ในเรื่องนี้  ไม่ใช่การกินแต่อาหารคุณภาพสูงราคาแพงอย่างเนื้อสัตว์หรืออาหารที่อร่อยที่มักมีไขมันหรือความหวานสูง  ตรงกันข้าม  การลงทุนในเรื่องนี้หมายความว่าเราจะต้อง “อด” หรือหักห้ามจิตใจที่อยากจะกินอาหารดังกล่าวให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม  ประเด็นหลักก็คือ  การควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่อ้วน  เพราะน้ำหนักตัวที่เกินกว่าปกตินั้นมักจะเป็นสาเหตุของโรคและความไม่สบายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในตอนที่เราแก่ตัวลง  เช่น  โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดและหัวใจ  โรคเบาหวาน  ความดันและอื่น ๆ   ซึ่งโรคเหล่านี้มักจะ  “เรื้อรัง”  และทำให้คุณภาพชีวิตของเราลดลงไปมาก  นอกจากอาหารตามปกติแล้ว  การลงทุนในสุขภาพอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องการการควบคุมจิตใจตัวเองสำหรับบางคนก็คือ  การบริโภค “สารพิษ”  หรือสิ่งที่จะทำลายอวัยวะบางอย่างของร่างกายเช่น  การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินกว่าที่ร่างกายจะรับได้บ่อย ๆ  การสูบบุหรี่หรือยาเสพติดอื่น ๆ   สิ่งเหล่านี้ในช่วงเวลาหนึ่งเราอาจจะไม่เห็นว่ามีผลอะไรต่อร่างกายเรา  อย่างไรก็ตาม  ในระยะยาวแล้วผมคิดว่าร่างกายมันจะ “ฟ้อง”  การทำงานของตับหรือปอดอาจจะแย่ลงมากหรือบางคนอาจจะร้ายแรงถึงขนาดตับแข็งหรือเป็นมะเร็งในปอดหรือตับได้

           เมื่อเร็ว ๆ  นี้  ความคิดเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพได้พัฒนาขึ้นมาอีกระดับหนึ่งนั่นก็คือ  การเกิดขึ้นของ  “Anti Ageing”  หรือการ “ชะลอวัย” ในวงการแพทย์  นี่คือการใช้ศาสตร์ทางการแพทย์และสุขภาพหลาย ๆ  ด้านมาแนะนำหรือมาดูแลรักษาผู้สูงวัยไม่ให้ “แก่”  ตัวเร็วหรือมีปัญหาทางสุขภาพเนื่องจากความเสื่อมโทรมของร่างกายมากเกินไป  หมอบางคนก็คิดถึงขนาด  “ลดวัย”  ให้กับคนไข้ที่มารับการรักษา   กระบวนการหรือวิธีของหมอที่ทำเรื่องชะลอวัยนั้น   นอกจากเรื่องของการออกกำลังและการกินอาหารซึ่งรวมถึงวิตามินแล้ว  ยังรวมถึงการ  “ปรับ” ปริมาณฮอร์โมนในร่างกายของเราด้วย  เพราะปริมาณฮอร์โมนในร่างกายนั้น  มีส่วนสำคัญมากต่อระบบการทำงานต่าง ๆ  ของร่างกาย  ว่ากันถึงขนาดว่า  ฮอร์โมนนั้นเป็นตัวกำหนดว่าเราจะเป็นหนุ่มสาวหรือเราจะแก่กันเลยทีเดียว  แต่การทำเรื่องต่าง ๆ  เหล่านี้ก็มีต้นทุนที่สูงทั้งเรื่องของการตรวจวิเคราะห์  ยาหรืออาหารเสริม  และที่สำคัญค่าที่ปรึกษาแนะนำของแพทย์และบุคลากรด้านต่าง ๆ     และนี่ก็คือ  “การลงทุน” ในสุขภาพที่เป็นเม็ดเงินจริงสำหรับคนที่เชื่อหรือสนใจที่จะลอง  เรื่อง Anti Ageing นี้  ยังเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่รู้ว่าจะคุ้มไหมสำหรับคนทั่วไป  อย่างไรก็ตาม  สำหรับคนที่อายุมากและมีเงินมากแล้ว  ดูเหมือนว่ามันจะคุ้มที่จะลงทุนจ่ายเงิน  และนี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่โรงพยาบาลเอกชนชั้นนำต่างก็เสนอบริการนี้

           สุดท้าย  การลงทุนในเรื่องของสุขภาพนั้นก็ไม่ได้ต่างจากการลงทุนในเรื่องการเงินในแง่ที่ว่า  ผลลัพธ์ปลายทางนั่นคือ  ความมั่งคั่งหรือสุขภาพที่ดีโดยรวมของแต่ละคนนั้น  ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญอย่างน้อย 3 ประการนั่นก็คือ  หนึ่ง  ต้นทุนเดิมของแต่ละคนที่มีอยู่  คนที่มี “ยีนส์” ดี ย่อมได้เปรียบคนที่มีกรรมพันธุ์ที่ไม่แข็งแรงซึ่งเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับ “ดวง” ของแต่ละคน  สอง การดูแลรักษาสุขภาพที่ดีและถูกต้องตามหลักวิชาซึ่งจะให้ผลตอบแทนที่สูงต่อสุขภาพ  และสุดท้ายก็คือ  ระยะเวลาของการปฏิบัติตามแนวทางนั้นอย่างมีวินัยสูง  ถ้าทำได้เช่นนี้  เราก็จะมีสุขภาพที่ดีโดยรวมตลอดอายุขัย  และนี่ก็คือการลงทุนในชีวิตที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งไม่แพ้การลงทุนในเรื่องของเงินทอง   


Posted by nivate at 10:30 AM in โลกในมุมมองของ Value Investor
 
ที่มา :
http://portal.settrade.com/blog/nivate/2014/06/09/1434




ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9025
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com

Check List

กันยายน 9, 2012 Filed under บทความ Posted by ธันวา เลาหศิริวงศ์

เราอาจเคยเห็นภาพนักบินตรวจสอบสภาพความพร้อมก่อนนำเครื่องขึ้นบินสู่ท้องฟ้า พนักงานโรงงานประกอบรถยนต์ตรวจสอบคุณภาพการผลิตครั้งสุดท้ายก่อนส่งออกจำหน่าย หรือการส่งมอบและตรวจรับบ้านระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย กระบวนการที่กล่าวมาล้วนมี “Check List” หรือ แบบตรวจสอบขั้นตอนทำงาน  ที่ช่วยลดข้อจำกัดของการจดจำ  เพื่อผลการทำงานที่ถูกต้องและเป็นไปตามเงื่อนไข ทั้งนี้เพื่อป้องกันความผิดพลาดและเพื่อไม่เกิดความเสียหายขึ้นภายหลังนั่นเอง

นักลงทุนสามารถนำ Check List มาประยุกต์ใช้ในทางการลงทุนเช่นกัน โดยรายละเอียดเงื่อนไขขึ้นอยู่กับความเข้าใจ ความถนัด ความเสี่ยงที่รับได้ และแนวทางการลงทุนของแต่ละคน ตัวอย่าง Check List ของการลงทุนในหุ้น “เกรดเอ” หรือกิจการยอดเยี่ยม แข็งแกร่ง เงินปันผลสม่ำเสมอ ราคาหุ้นสะท้อนตามผลการดำเนินงานที่เติบโตอย่างต่อเนื่องในระยะยาว มีดังนี้

ข้อหนึ่ง เป็นกิจการที่อยู่ในวัฏจักรของความรุ่งเรือง ไม่อยู่ในอุตสาหกรรมตะวันตกดิน ยังเติบโตอีกในระยะยาว หากเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ จะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐก่อนอุตสาหกรรมอื่น

ข้อสอง เป็นกิจการที่มีตราสินค้าและผลิตภัณฑ์เป็นที่ต้องการของตลาด มียอดขายและกำไรเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างน้อยเท่ากับการเติบโตจีดีพีของประเทศจากอดีต ปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต หุ้นเกรดเอที่ดีต้องเติบโตอย่างน้อยสองเท่าของจีดีพี

ข้อสาม เป็นผู้ชนะในอุตสาหกรรมและมีรูปแบบธุรกิจที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน (DCA: Durable Competitive Advantage) กำหนดราคาขายได้โดยที่ลูกค้ายังภักดีต่อสินค้า ส่งผลให้มีส่วนแบ่งทางการตลาดมากขึ้นตามลำดับ

ข้อสี่ มีผู้บริหารเก่ง มีประสบการณ์เหมาะกับธุรกิจ ไม่มีประวัติเสื่อมเสีย มีวิสัยทัศน์ที่นำพากิจการให้เติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว มีการวางแผนและการจัดการทรัพยากรบุคคลที่ดี

ข้อห้า เป็นบรรษัทภิบาลที่ปฏิบัติต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้ถือหุ้นทุกรายเท่าเทียมกัน เปิดโอกาสให้เยี่ยมชมกิจการ  ร่วมกิจกรรมพบปะนักลงทุนรายไตรมาส (Opportunity Day) มีฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ (IR: Investor Relation) เปิดเผยข้อมูลครบถ้วนรายงานประจำปีและแบบรายงาน 56-1 ล้วนเป็นสิ่งที่บริษัทให้ความสำคัญโดยไม่คิดว่าเป็นการเพิ่มภาระให้กับบริษัท

นอกจาก Check List ในเชิงคุณภาพที่กล่าวข้างต้น นักลงทุนต้องมี Check List ในเชิงปริมาณ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ข้อหก ราคาซื้อขายที่มีส่วนต่างความปลอดภัย (Margin of Safety) เพียงพอ เมื่อเทียบกับมูลค่ากิจการจากการประเมินด้วยวิธีต่างๆ เช่น ส่วนลดกระแสเงินสด (Discounted Cash Flow) อัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไร (P/E) อัตราส่วนราคาหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชี (P/B) มูลค่ากิจการจากการทดแทน (Replacement Approach) หรืออัตราผลตอบแทนเงินปันผล (Dividend Yield)

ข้อเจ็ด ผลการดำเนินงาน ฐานะทางการเงิน และอัตราส่วนทางการเงินต่างๆ เช่น อัตราส่วนสภาพคล่อง อัตราส่วนแสดงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน หรือ อัตราส่วนแสดงความสามารถในการหากำไร ได้แก่ อัตรากำไรขั้นต้น (GPM: Gross Profit Margin) อัตรากำไรสุทธิ (NPM: Net Profit Margin)  อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE: Return on Equity)  เป็นต้น นักลงทุนต้องพิจารณาประวัติการดำเนินงานในอดีตถึงปัจจุบัน และวิเคราะห์แนวโน้มในอนาคต เพื่อเข้าลงทุนหากผ่านเงื่อนไขที่ตั้งไว้

อนึ่ง อุตสาหกรรมแต่ละชนิดมีโครงสร้าง รูปแบบธุรกิจ คุณสมบัติแตกต่างกัน สำหรับเงื่อนไขในเชิงปริมาณนั้น นักลงทุนต้องวิเคราะห์และเลือกใช้วิธีที่เหมาะสมในแต่ละชนิดอุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่น  P/E คือวิธีที่เหมาะกับการประเมินมูลค่าของกิจการทั้งสองอุตสาหกรรม แม้ราคาหุ้นที่ P/E = 12 คือระดับที่น่าลงทุนของอุตสาหกรรมหนึ่ง แต่จะสูงเกินไปสำหรับอีกอุตสาหกรรมหนึ่ง

จะเห็นได้ว่า Check List  ทำหน้าที่เหมือน “ตระแกรงร่อนหุ้น” ที่ช่วยตรวจสอบคุณสมบัติของกิจการตามเงื่อนไขสำคัญที่กำหนด ความถี่หรือความห่างของตระแกรงร่อนจะบ่งบอกถึง คุณภาพของกิจการ วิธีการเลือกหุ้น และเป้าหมายการลงทุนของแต่ละคน นักลงทุนมากประสบการณ์ที่ “ตกผลึก” แล้วมักจะมี Check List อยู่ในใจตลอดเวลาแม้ไม่ได้เขียนเป็นรายการออกมาก็ตาม

สำหรับผู้ที่เริ่มลงทุนหรือยังไม่มี Check List ฉบับของตน ข้อแนะนำก็คือ ควรใช้เวลาคิด วิเคราะห์ ข้อดีข้อเสีย ตลอดจนข้อผิดพลาดในการลงทุนที่ผ่านมา เพื่อเริ่มพัฒนา Check List ของตน นำมาใช้ลงทุนจริง ปรับเปลี่ยนแก้ไข เพื่อให้ได้ Check List  ที่ดีที่สุดและเหมาะกับแนวทางการลงทุนของตน นั่นคือ การลงทุนเวลาที่คุ้มค่าในระยะยาว มากกว่าการใช้เวลาเฝ้าติดตามการเคลื่อนไหวราคาหุ้นในระยะสั้นอย่างแน่นอน

http://www.thaivi.org/check-list/


ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9025
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com
การทำกำไรโดยการใช้ กลยุทธ์ Arbitrage (สำหรับคนที่ยังไม่รู้นะครับ)

    วันนี้นั่งศึกษาเกี่ยวกับการทำ Arbitrage เพราะไปงานสัมนางานหนึ่ง ซึ่งพิธีกรได้พูดเกี่ยวกับการทำ Arbitrage ซึ่งเป็นกลยุทธ์ในการทำกำไรโดย"ไม่มี"
    ความเสี่ยง (เห็นเขาพูดไว้อย่างนั้นนะครับ) ทำกันอย่างไร มีคนอธิบายไว้ดีมากเลยครับ

    การทำกำไรโดยวิธีการทำ Arbitrage หุ้น

    การทำกำไรสำหรับนักลงทุนระยะยาว โดยไม่มีความเสี่ยงต่อการถือหุ้นนั้น เราสามารถใช้เทคนิคการ Arbitrage ซึ่งเป็นการหาผลตอบแทนเทียบกันระหว่าง 2 หลักทรัพย์ โดยมีวิธีการคือเราจะเปลี่ยนไปถือหลักทรัพย์ที่มีส่วนต่างของกำไรที่สูงกว่า โดยไม่มีความเสี่ยงในเรื่องของราคาเข้ามากระทบแต่อย่างไร หรือไม่มีความเสี่ยงจากการแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ครับ


    ตัวอย่างที่เกิดขึ้นแล้ว เอาตัวอย่างของจริงมาดูกัน วันนี้วันที่ 4 ตุลาคม 2549 มีเหตุการณ์ของหุ้นตัวหนึ่งที่ทำให้สามารถทำ Arbitrage ระหว่างหลักทรัพย์ Warrant คือหุ้นลูก และหุ้นแม่ที่ใช้อ้างอิง

    ขอใช้เป็นระหัสนะครับ คือหุ้นสารพัดช่าง หรือหุ้นช้างครับ

    ตัวลูกสามารถแปลงสภาพได้ในราคา 4.50 บาทต่อหุ้น แปลงได้ทุกไตรมาส หมดเขตแปลง มี.ค. 50 ซึ่งหมายความว่า เราอาจใช้สิทธิแปลงสภาพทีละไตรมาส โดยแปลงหุ้นลูกเป็นหุ้นแม่ โดยมีระยะเวลาแปลงสภาพเหลืออยู่อีกประมาณ 6 เดือน ตัวลูกช่วงเช้าอยู่ที่ 3.70 - 3.72 แต่ตัวแม่อยู่ที่ 8.55

    ถ้าเราต้องการถือหุ้นแม่ในระยะยาว โดยไม่ต้องการขายในระยะสั้น เราสามารถทำ Arbitrage หุ้นได้ทันที โดยใช้วิธีการคือ

    เอาตัวลูกแปลงเป็นตัวแม่ได้ 3.72 + 4.5 บาท ได้ราคา 8.22 บาทต่อหุ้น ราคาหุ้นแม่อยู่ที่ 8.55 บาทต่อหุ้น ใครมีหุ้นสารพัดช่าง ขายตัวแม่ทิ้ง แล้วซื้อตัวลูกไปแปลงสภาพ ได้กำไรส่วนต่างเห็น ๆ 8.55 - 8.22 บาทต่อหุ้น หรือเท่ากับ 0.33 สตางค์ต่อหุ้น โดยไม่มีความเสี่ยงในการถือหุ้นแต่อย่างไร เพราะหุ้นลูกแปลงเป็นหุ้นแม่ได้ทุกไตรมาสอยู่แล้ว ใครถือยาวและเป็นนักลงทุนที่มีเหตุผล จึงต้อง Atbitage ครับกำไรเห็น ๆ ทันที ลดต้นทุนหุ้นแม่ไป 0.33 ต่อหุ้น

    แต่ช่วงที่เขียนต่อมาราคาปิดตลาดวันนี้ ราคาหุ้นแม่อยู่ที่ 9.05 บาทต่อหุ้น และหุ้นลูกอยู่ที่ 4.16 บาทต่อหุ้น หุ้นลูกแปลงเป็นหุ้นแม่ได้ในราคารวมเท่ากับ 8.66 บาท(4.16+4.5) ตอนนี้ราคายิ่งน่าสนใจยิ่งขึ้น เพราะ ราคาแปลงสภาพจะถูกกว่าหุ้นแม่ 9.05 - 8.66 บาทหรือเท่ากับ 0.39 บาท คิดเป็นกำไรส่วนต่าง 4.30% เทียบกับราคาหุ้นแม่ครับ แบบนี้ถือลูกแปลงแม่ดีกว่าครับ

    อันนี้เป็นเทคนิคที่อาจารย์ใหญ่ ดร.นิเวศน์เคยบอกไว้ในหนังสือผมอ่านมานานแล้ว จำไม่ได้ว่าเล่มไหนนะครับ เพราะอาจารย์แต่งหลายเล่มเหลือเกินครับ วันนี้เห็นของจริงเลยครับ เลยได้ทำ Arbitrage แล้วได้ค่าขนมไปเรียบร้อยแล้ว แถมวันนี้หุ้นลูกขึ้นแรงกว่าหุ้นแม่เสียอีกครับ อิ อิ ใครไม่อยากแลกหุ้นแม่ ก็หาโอกาสทำกำไร 2 ชั้น ได้กำไรทั้งหุ้นแม่ และกำไรหุ้นลูก 2 เด้งเลยครับ หรือถ้าคิดว่าเป็นหุ้นที่ดี เราก็อาจจะลงทุนระยะยาวต่อไป แถมเราก็สามารถประหยัดต้นทุนได้ตามที่อธิบายไว้ครับ อิ อิ

    ขอบคุณ ขอบคุณคุณ Bul และคุณเปิล ด้วยนะครับ

    Posted by : SiTh LoRd P@cK

-----------------------------------
Q:
เอ๋ แล้วถ้าท่าน ขายหุ้นแม่ปุ๊บ ซื้อหุ้นลูก เพื่อรอแปลง เกิดหุ้นแม่ราคาลงพรวดพราด หุ้นลูกเนี่ยจะลดลงมากกว่าหุ้นแม่ด้วยอัตราเท่าไร แล้วถ้าหุ้นแม่ลดลงต่ำกว่าราคาแปลง หุ้นลูกเท่ากับเป็น 0 นะครับ ผมไม่แน่ใจว่าแบบนี้เรียก arbitage ได้หรือเปล่า

A:
จากเท่าที่ผมศึกษามานะครับ มีท่านหนึ่งถามเหมือนกับท่านเลย มีคนตอบมาบอกว่า เจ้ามือหุ้นจะพยายามดันราคาหุ้นแม่ไว้ไม่ให้ราคาน้อยกว่าราคาแปลงครับ เพราะถ้าน้อยกว่าเมื่อไร นักลงทุนจะไม่เล่นหุ้นลูก แต่ไปเล่นหุ้นแม่แทนครับ กลยุทธ์แบบนี้ไม่เรียกว่า arbitage ครับ

อย่างไรก็ตาม นี้เป็นความคิดเห็นของผม ซึ่งผมเองก็เป็นมือใหม่ทางด้านหุ้นเหมือนกัน ถ้ามีผู้รู้ หรือมีผู้ชำนาญมากกว่า สามารถแสดงความคิดเห็นได้นะครับ รับฟังครับ

Posted by SiTh LoRd P@cK

http://www.stock2morrow.com/showthread.php?t=21213



ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9025
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com



Monday, 16 June 2014

แรงจูงใจกับการลงทุน

คนที่เกี่ยวข้องกับตลาดหุ้น  หุ้น  และการลงทุนนั้นมีมากมาย  แต่ละคนหรือแต่ละกลุ่มนั้นต่างก็มีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน  พวกเขาอยากที่จะเห็นตลาด  หุ้น  และการลงทุนมีทิศทางที่สอดคล้องตรงกับผลประโยชน์ของตนเอง  พวกเขาจะทำสิ่งต่าง ๆ   ที่จะเอื้ออำนวยกับสิ่งที่ตนต้องการให้เป็น  ซึ่งก็รวมถึงการพูดโน้มน้าวจิตใจคนอื่นและสาธารณชนให้เห็นคล้อยตามคำพูดของเขา  ซึ่งบ่อยครั้งก็ไม่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของเราที่เป็นนักลงทุนแบบ VI   ลองมาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

            เริ่มตั้งแต่โบรกเกอร์ที่ผลประโยชน์หลักอยู่ที่ค่าคอมมิชชั่นในการซื้อขายหุ้นนั้น  สิ่งที่พวกเขาอยากเห็นก็คือการซื้อขายหุ้นของลูกค้าบ่อย ๆ   ดังนั้นพวกเขาก็มักจะออกบทวิเคราะห์หุ้นที่มีสภาพคล่องในการซื้อขายหุ้นสูงและเป็นหุ้นที่มีความผันผวนของราคาสูงเนื่องจากความไม่แน่นอนของตัวกิจการ  นอกจากนี้เจ้าหน้าที่การตลาดก็มักจะให้คำแนะนำให้ลูกค้าซื้อขายบ่อย ๆ  เวลาหุ้นขึ้นและลงแรงในช่วงเวลาสั้น ๆ    และสำหรับลูกค้ารายใหญ่หรือไม่ใหญ่มากแต่ซื้อขายหุ้นแบบเทรดเดอร์ที่มีปริมาณการซื้อขายหุ้นสูงมากก็จะได้รับการดูแลเป็นพิเศษ  พวกเขาไม่ชอบและจะไม่แนะนำให้ลูกค้าลงทุนถือหุ้นระยะยาวแม้ว่าหุ้นจะเป็นกิจการที่ดีมากและเหมาะสมกับการลงทุนระยะยาว  และถ้าลูกค้าถือหุ้นดังกล่าวไว้บางครั้งเขาก็แนะนำว่าควร  “ขายไปก่อนแล้วค่อยซื้อกลับทีหลัง”   ในหลาย ๆ  กรณี  พวกเขาอ้างการวิเคราะห์ทาง  “เทคนิค”  ที่จะช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อขายทันทีเมื่อราคาหุ้นถึงจุดเปลี่ยน   ดังนั้น  เวลาเราฟังโบรกเกอร์หรือนักวิเคราะห์  เราจะต้องระวังว่า  วัตถุประสงค์ของเขาอาจจะไม่เหมือนของเรา  เราต้องการกำไรหรือได้ผลตอบแทนจากการลงทุน  ส่วนเขาต้องการค่าคอมมิชชั่น  แรงจูงใจไม่เหมือนกัน  เพราะฉะนั้นคำแนะนำหรือความเห็นของเขาจึงอาจจะ  Bias หรือลำเอียงได้
          เจ้าของและ/หรือผู้บริหารบริษัทนั้น  ถ้ามองหยาบ ๆ  ก็น่าจะมีวัตถุประสงค์คล้ายกับนักลงทุนเนื่องจากต่างก็เป็นผู้ถือหุ้นเหมือนกันหรือมีเป้าหมายที่อยากจะเห็นราคาหุ้นขึ้นไปสูงเหมือนกัน  อย่างไรก็ตาม  เจ้าของและ/หรือผู้บริหารนั้นมักมีผลประโยชน์อย่างอื่น  เช่น  มีเงินเดือน  โบนัส  และผลประโยชน์เกี่ยวพันอย่างอื่นกับบริษัทด้วย  ดังนั้น  ถ้าผลประโยชน์อย่างอื่นนอกจากปันผลจากหุ้นมีมากอย่างมีนัยสำคัญ  แรงจูงใจของเจ้าของหรือผู้บริหารก็อาจจะแตกต่างจากผู้ถือหุ้นที่เป็นนักลงทุนได้  ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมง่าย ๆ  ที่สุดอย่างหนึ่งก็คือเรื่องของการจ่ายเงินปันผลที่บางครั้งหรือบางบริษัทอาจจะจ่ายน้อยกว่าที่ควรจะเป็นเหตุเพราะว่าผู้บริหารอาจจะถือหุ้นน้อยหรือไม่มี  ดังนั้น  เขาก็อาจจะอยากเก็บเงินไว้ในบริษัทซึ่งเขาจะได้มีโอกาสใช้ได้มากกว่า  หรืออาจจะทำให้เขามีการบริหารงานที่สบายกว่าปกติ  ตัวอย่างของบริษัทที่เป็นแบบนี้ก็เช่น  บริษัทที่ผู้ถือหุ้นเป็นต่างชาติบางแห่งที่มีผู้บริหารที่ไม่ใช่ผู้ถือหุ้นและจ่ายปันผลในอัตราที่ต่ำทั้งที่มีฐานะการเงินดี  เงินที่เหลืออยู่มากในที่สุดก็ถูกนำไปลงทุนซึ่งบางครั้งก็ไม่ประสบความสำเร็จและตรวจสอบได้ยาก  ถ้าเราเจอบริษัทแบบนี้ก็พึงรู้ไว้ว่าแรงจูงใจของเขากับเราที่เป็นนักลงทุนนั้นไม่ไปด้วยกัน  ดังนั้นแม้บริษัทอาจจะกำไรดีก็อาจจะไม่คุ้มที่จะลงทุน

          หุ้น IPO หรือหุ้นที่เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เป็นครั้งแรกนั้นเราก็จะต้องรู้ว่าเจ้าของน่าจะมีแรงจูงใจอย่างไร   ข้อแรกนั้นชัดเจนก็คือ  เขาต้องการขายหุ้นเพื่อเอาเงินเข้าบริษัทเพื่อเหตุผลในการขยายงานและทำให้บริษัทมีฐานะทางการเงินที่มั่นคง  หรือในบางกรณี  เจ้าของก็พ่วงหุ้นส่วนตัวเอามาขายด้วย  ในทุกกรณี  เขาต้องการขายได้ในราคาที่สูงเท่าที่จะเป็นไปได้และที่สำคัญก็คือเขาต้องคิดว่านั่นเป็นราคาที่เขาพอใจเมื่อเทียบกับคุณค่าของหุ้นในสายตาของเขา  แรงจูงใจนี้ทำให้เขาพยายามกำหนดราคาหุ้นให้สูงโดยอาจจะทำการแต่งตัวหรือใช้จังหวะที่เหมาะสมของบริษัทหรือภาวะตลาดหุ้นในการเสนอขายหุ้นให้กับนักลงทุนทั่วไป  ผลก็คือ  หุ้น IPO มักจะแพงกว่าพื้นฐานที่ควรจะเป็นและนั่นเป็นเหตุผลสำคัญที่จูงใจให้เจ้าของเอาหุ้นเข้าตลาด   อย่างไรก็ตาม  ในบางกรณีก็อาจจะเป็นไปได้ว่าเจ้าของอาจจะมีแรงจูงใจอย่างอื่นที่สำคัญกว่า  เช่น  เขาต้องการเอาหุ้นเข้าตลาดเพื่อให้บริษัทมีการบริหารงานที่เป็นมาตรฐานและหุ้นมีสภาพคล่องและมีราคาตลาดที่ทำให้เขารู้มูลค่าความมั่งคั่งของตนเองและสามารถขายเพื่อกระจายความเสี่ยงรวมถึงสามารถที่จะนำมาแบ่งปันให้แก่ทายาทได้อย่างสะดวกในอนาคต  ในกรณีแบบนี้  การตั้งราคาหุ้นก็อาจจะไม่ได้สูงกว่าพื้นฐานก็ได้    สรุปก็คือการวิเคราะห์หรือมองถึงแรงจูงใจของเจ้าของที่นำหุ้นเข้าตลาดจะช่วยให้เรารู้ว่าราคา IPO นั้นมีความสมเหตุผลมากน้อยแค่ไหนได้

            นักลงทุนแต่ละคนที่เข้าไปซื้อขายหุ้นตัวใดตัวหนึ่งเองนั้นก็มีแรงจูงใจที่แตกต่างกัน   คนที่เข้าไปซื้อหุ้นลงทุนจนได้หุ้นครบจำนวนตามที่ต้องการแล้วนั้นต่างก็ต้องการให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นไป  แรงจูงใจนี้ทำให้เขาอยากจะเชียร์หุ้นตัวนั้นถ้ามีโอกาสทำได้  คนที่ซื้อหุ้นตัวนั้นในปริมาณที่มากและเป็นการซื้อเพื่อ  “เก็งกำไร”  ก็จะมีแรงจูงใจที่จะเชียร์หุ้นมากเนื่องจากเขาอยากที่จะเห็นหุ้นขึ้นไปเร็วเพื่อที่ว่าเขาจะได้ขายทำกำไรและหันไป  “เล่น” หุ้นตัวอื่น  คนที่ลงทุนระยะยาวเองนั้น  การเชียร์อาจจะไม่มากเท่าเนื่องจากเขาไม่คิดที่จะขายหุ้นในระยะเวลาอันสั้น  ในทางตรงกันข้าม  คนที่ยังไม่ได้ซื้อหุ้นหรือคนที่ขายหุ้นตัวนั้นไปแล้วก็อาจจะมีแรงจูงใจในทางตรงกันข้าม  พวกเขาไม่อยากให้หุ้นขึ้น  ดังนั้นเขาไม่เชียร์  แถมอาจจะวิจารณ์ในด้านลบ  ดังนั้น  เวลาที่เราฟังการวิเคราะห์วิจารณ์หุ้นแต่ละตัวจากนักลงทุนคนอื่น  เราก็ควรจะรู้ว่าแต่ละคนมีแรงจูงใจไม่เหมือนกันและดังนั้นการวิเคราะห์หุ้นก็อาจจะมีความลำเอียงทั้งในด้านที่ดีและร้ายขึ้นอยู่กับแรงจูงใจของแต่ละคน

             การซื้อขายหุ้นของผู้บริหารที่ต้องมีการแจ้งต่อ กลต. ทุกครั้งนั้นเราก็ต้องพยายามมองหาว่าแรงจูงใจของเขาเป็นอย่างไร  โดยปกติ  ถ้าเป็นการขายรายการใหญ่มาก  เช่น  ขายถึง 10% ของบริษัท  ในกรณีแบบนี้เราก็ต้องวิเคราะห์ว่าเพราะเหตุใดเขาจึงขายและขายให้ใคร  ในราคาเท่าไร  แรงจูงใจในการขายคืออะไร  เช่นเดียวกับแรงจูงใจของผู้ซื้อ  เป็นไปได้ว่าเจ้าของอาจจะมองเห็นถึงความเสี่ยงในอนาคตของบริษัทเขาจึงขายไปในขณะที่หุ้นมีราคาที่ดี  เป็นไปได้อีกเช่นกันว่าคนซื้อมองเห็นว่าบริษัทมีศักยภาพสูงที่จะเติบโตต่อไปอีกนานดังนั้นเขาจึงอยากซื้อหุ้นล็อตใหญ่เพื่อการลงทุนและเขาคิดว่าราคาที่ซื้อนั้นคุ้มค่า  ในหลาย ๆ  กรณี  การซื้อหุ้นล็อตใหญ่ก็เพื่อที่จะเข้ามาเป็น Strategic Partner หรือเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจที่จะทำให้บริษัทมีผลประกอบการที่ดีขึ้นหลังจากการเข้ามาลงทุน  ในกรณีแบบนี้  เราก็ต้องวิเคราะห์ว่ามันจะดีขึ้นจริงหรือไม่  และถ้าราคาหุ้นสูงขึ้นไปมากจากช่วงก่อนการขาย   เราควรจะทำอย่างไร

              การซื้อขายหุ้นของผู้บริหารที่ไม่ใช่รายการใหญ่และเป็นการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์นั้นเราต้องดูเป็นกรณี ๆ  ไป  โดยปกติถ้าเป็นผู้บริหารที่ไม่ใช่เจ้าของบริษัทหรือเป็นระดับซีอีโอหรือคนที่มีอำนาจกำหนดทิศทางของบริษัทจริง ๆ  นั้น  มักจะไม่ได้มีนัยสำคัญอะไรมากนัก  แรงจูงใจในการขายหุ้นของพวกเขานั้นอาจจะเกิดจากความต้องการใช้เงินธรรมดาหรืออาจจะเกิดจากความรู้สึกว่าหุ้นมีราคาสูงเต็มมูลค่าหรือเกินพื้นฐานไปแล้ว  เช่นเดียวกับการซื้อหุ้นที่อาจจะเกิดจากความคิดที่ว่าหุ้นมีราคาถูก  อย่างไรก็ตาม  เขาอาจจะคาดผิดได้เพราะเขาอาจจะไม่รู้จริง   แต่ในกรณีที่ผู้บริหารคนสำคัญหรือเจ้าของเข้ามาซื้อ ๆ  ขาย ๆ  หุ้นค่อนข้างบ่อยนั้นผมคิดว่าเราคงต้องวิเคราะห์แรงจูงใจของเขาว่าเพราะอะไร  เป็นไปได้ว่าเขาอาจจะพยายาม  “ส่งสัญญาณ”  ซึ่งอาจจะ “ลวง” ให้นักลงทุนเข้าใจผิดในคุณค่าของหุ้นในเวลานั้น  โดยมีแรงจูงใจที่จะทำให้ราคาหรือสภาพคล่องของหุ้นแตกต่างจากที่ควรจะเป็นเพื่อเหตุผลบางอย่าง  เราในฐานะที่เป็น VI จะต้องติดตามและวิเคราะห์ว่ามันควรจะเป็นอะไร  ประเด็นสำคัญก็คือ  เราจะต้องคิดอย่างเป็นอิสระและไม่ถูกชักนำโดยข้อมูลที่ออกมาจากแรงจูงใจของคนอื่นที่ไม่ได้มีเป้าหมายเหมือนกับเราหรือตรงข้ามกับเรา


Posted by nivate at 2:53 PM in โลกในมุมมองของ Value Investorr
 
ที่มา :
http://portal.settrade.com/blog/nivate/2014/06/16/1437




ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9025
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com


Monday, 23 June 2014

การลงทุนที่ดีที่สุดสำหรับมนุษย์เงินเดือน


สำหรับ “มนุษย์เงินเดือน” ที่ไม่ได้มีเงินจากพ่อแม่หรือมีความสามารถพิเศษในการลงทุนและคิดว่าตนเอง  “ไม่มีปัญญา” ในการที่จะเรียนรู้เทคนิคการลงทุนที่จะทำให้สามารถลงทุนให้ได้ผลตอบแทนสูง ๆ  ได้   ต่อไปนี้คือสิ่งที่ผมคิดว่าเป็นกลยุทธ์หรือวิธีการลงทุนระยะยาวที่  “ดีที่สุด” สำหรับเขา  มันจะเป็นการลงทุน  “เพื่อการเกษียณ” ที่จะทำให้เขาสามารถมีเงินใช้จ่ายได้ตามสถานะที่เขาเป็นอยู่แบบเดิมไปได้ตลอดชีวิตหลังเกษียณโดยที่ความเสี่ยงที่จะ “ขาดเงิน” มีน้อยมาก ๆ  สิ่งที่เขาจะต้องทำหรือเงื่อนไขนั้นมีหลักการใหญ่ ๆ สามข้อ  มันเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ยากแต่ต้องอาศัยวินัยและความศรัทธาสูง

            หลักการสามข้อนั้นผมขอเรียกว่าเป็น  “แก้ว 3 ประการ ของการลงทุน”  ที่ผมเคยพูดไว้ในหลาย ๆ  โอกาสซึ่งผมจะทวนอีกครั้งหนึ่งก็คือ  ถ้าหากใครหวังจะรวยหรือประสบความสำเร็จจากการลงทุนสูงนั้น  เขาจะต้องมีแก้วที่ “สุกสว่าง” ทั้ง 3 ดวง  โดยที่แก้วดวงแรกก็คือ  เขาจะต้องมี  “เงินลงทุนเริ่มต้น”  หรือเงินที่ได้จากแหล่งอื่นนอกเหนือจากเงินจากการลงทุน  เช่น  จากเงินเดือน  เงินที่พ่อแม่ให้หรือเงินมรดก เป็นต้น  “แก้ว”  ดวงนี้จะ “สุกสว่าง” มากน้อยนั้น  บางทีก็ขึ้นอยู่กับ  “โชคชะตา” เช่น  คนที่มีพ่อแม่รวยและพ่อแม่แบ่งเงินมาให้ลงทุนมาก  “แก้ว”  ดวงนี้ของเขาก็สุกสว่างมาก  แต่ในอีกด้านหนึ่ง  ความสุกสว่างของแก้วก็อาจจะมากขึ้นได้จากการ  “อดออม”  ของเราเอง  นั่นก็คือ  เราสามารถเพิ่มความสว่างของแก้วของเราได้โดยการบริโภคน้อยลงและเก็บออมแล้วเอามาลงทุนมากขึ้น

            แก้วดวงที่สองคือ  ผลตอบแทนที่เราได้รับจากการลงทุน  ความสุกสว่างของแก้วดวงนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของเราในการวิเคราะห์และลงทุนอย่างถูกต้อง  อย่างไรก็ตาม  ตามทฤษฎีและตามประวัติศาสตร์การลงทุนที่มีการเก็บสถิติมายาวนานนั้นบอกว่า  หุ้นให้ผลตอบแทนที่สูงที่สุดในบรรดาการลงทุนหลักทั้งหลายในระยะยาว  ดังนั้น  แก้วดวงนี้จะสุกสว่างได้นั้น  เราคงต้องลงทุนในหุ้นเป็นหลัก  ในขณะที่การฝากเงินให้ผลตอบแทนต่ำที่สุด  ถ้าเงินส่วนใหญ่ของเราอยู่ในเงินฝาก  แก้วดวงนี้ของเราก็จะหมองมัว  ส่วนพันธบัตรหรือหุ้นกู้นั้นให้ผลตอบแทนกลาง ๆ   ประเด็นที่ต้องคำนึงถึงก็คือ  ถ้าเราเน้นซื้อหุ้นลงทุนเป็นรายตัวที่อาจจะทำให้แก้วของเราสว่างที่สุด  มันก็มีโอกาสเช่นกันที่แก้วดวงนี้จะ  “แตก”  และความสว่างจะหายไปกลายเป็นแก้วที่  “มืดมน”   เปรียบเทียบก็คือ  แทนที่จะได้ผลตอบแทนที่สูงก็อาจจะขาดทุนได้  โชคดีที่ว่าเราสามารถที่จะลงทุนในหุ้นผ่านกองทุนรวมที่จะให้ผลตอบแทนที่สุกสว่างพอสมควรได้โดยที่ความเสี่ยงที่จะเสียหายมีน้อยในระยะยาว  ดังนั้น  สำหรับคนที่ไม่เชี่ยวชาญในการเลือกหุ้น  การลงทุนในกองทุนรวมที่อิงดัชนีจึงเป็นทางเลือกที่ดีมาก

             แก้วดวงสุดท้ายก็คือ  ระยะเวลาในการลงทุน  ยิ่งเราลงทุนยาวนานเท่าไร แก้วของเราก็จะสุกสว่างมากขึ้นเท่านั้น  ดังนั้น  คนที่อายุน้อยและแน่วแน่ในการลงทุน  ไม่ออกจากตลาดไม่ว่าในสถานการณ์อะไร  จึงเป็นคนที่มีแก้วที่สุกสว่างอยู่ในมือ 1 ดวงเสมอ  เช่นเดียวกัน  คนที่มีอายุยืนยาวและมีสุขภาพที่ดีก็เป็นคนที่มีแก้วที่สว่างกว่าคนที่อายุสั้นกว่า

            คนที่มีแก้วที่สุกสว่างทั้ง 3 ดวง  และใช้มัน  โอกาสที่เขาจะรวยจากการลงทุนก็จะสูงมาก  คนที่มีแก้วอยู่ในมือแต่ไม่รู้จักใช้ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย  ส่วนคนที่แทบจะไม่มีแก้วที่สุกสว่างเลยซักดวงก็ต้องยอมรับว่าเราอาจจะไม่สามารถรวยจากการลงทุนได้   อย่างไรก็ตาม  คนส่วนใหญ่ที่  “กินเงินเดือน” และอายุยังไม่มากนั้น  หากมีการวางแผนการลงทุนที่ดี  และด้วยการ  “เสียสละ”  การบริโภคในปัจจุบันพอประมาณแต่อยู่ในระดับที่ไม่น่าจะเดือดร้อนนัก  จะสามารถที่จะลงทุนจนมีเงินเพียงพอที่จะใช้ในยามเกษียณได้อย่างสบายโดยที่ความเสี่ยงที่จะทำไม่ได้มีน้อยมาก  มาดูกันว่าทำอย่างไรและเราจะบรรลุเป้าหมายอะไร?

            สมมุติว่าเราอายุ 30 ปี  มีงานประจำที่มั่นคง  มีเงินเดือนตามควรแก่อัตภาพเช่น  เฉลี่ยเดือนละ 50,000 บาท และยังไม่เคยลงทุนอะไรเป็นเรื่องเป็นราว  ข้อเสนอของผมก็คือ  เราต้องเริ่มเก็บออมเงินและลงทุนโดยการหักออกจากเงินรายได้ 15% ทุกครั้งที่ได้รับเงิน  ซึ่งก็คือเดือนละ 7,500 บาท  แล้วนำเงินนั้นลงทุนในกองทุนรวมหุ้นที่อิงดัชนี  SET50 ซึ่งก็คือการลงทุนในหุ้นที่ใหญ่ที่สุด 50 ตัวโดยไม่มีการเลือกหุ้น  เราทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ทุกเดือน  ถ้าเงินเดือนเราสูงขึ้น  เม็ดเงิน 15% ของเราก็สูงขึ้นตามกันไป  เวลาได้เงินพิเศษเช่น โบนัส  เราก็ยังคงต้องหักเงิน 15% ก่อนเพื่อเอาไปลงทุนในหุ้น  การลงทุนในหุ้นทั้งหมดนั้นอาจจะดูว่า  “เสี่ยง”  แต่การที่เราทยอยลงไปเรื่อยเป็นเวลาถึง 30 ปี  ความเสี่ยงจะหายไปมาก  เพราะเราจะซื้อหุ้นเฉลี่ยกันไปทั้งช่วงที่หุ้นถูกและแพง  โอกาสที่เงินออมจะเสียหายมีน้อยมาก  แต่มีโอกาสสูงที่เราจะได้ผลตอบแทนแบบทบต้นปีละประมาณ 10% ตามสถิติที่เป็นมาในอดีต  ถ้าเราทำแบบนี้  ผลที่จะได้รับหลังจากที่เราเกษียณที่ 60 ปีคืออะไร?

            คำตอบอย่างที่ทำให้เราเข้าใจได้ง่ายที่สุดก็คือ  หลังจากเกษียณแล้ว  เราก็จะสามารถใช้เงินได้เดือนละเท่าเดิมเท่ากับช่วงที่เราทำงานอยู่โดยที่เราไม่ต้องทำงานต่อไปอีก 30 ปี เช่น ถ้าเราได้เงินเดือนในช่วงแรกที่อายุ 30 ปี เป็นเงิน 50,000 บาท ในวันที่เราเกษียณเดือนแรกเราก็สามารถใช้เงินได้เดือนละ 50,000 บาทเช่นกันหลังจากคำนึงถึงเรื่องเงินเฟ้อแล้ว  ที่จริงก็คือใช้ได้ประมาณ 120,000บาท ต่อเดือนซึ่งมีค่าเท่ากับ 50,000ในวันนี้)  และถ้าในช่วงที่เราอายุ 40 ปี  เรามีรายได้เดือนละ 100,000 บาท และเรากันเงิน 15% ซึ่งเท่ากับ 15,000 บาทไว้ลงทุน  ในช่วงที่เรามีอายุ 70 ปี  เราก็จะสามารถใช้เงินได้เดือนละ 100,000 บาทเช่นกันหลังคำนึงถึงเรื่องเงินเฟ้อแล้ว

           มองอีกด้านหนึ่งก็คือ  เงินเพียง 15% นั้น  ถ้าเรากันไว้ลงทุนในหุ้นในวันนี้  มันจะโตขึ้นเป็น 100% หลังหักอัตราเงินเฟ้อแล้ว  ภายในเวลา 30 ปี  ดังนั้น  เงินเพียง 15% ของทุกเดือนที่เราลงทุนไปในวันนี้  อีก 30 ปี มันก็จะกลับมาเลี้ยงเราเต็มจำนวน  ถ้าเราลงทุนตั้งแต่อายุ 25 ปี  โอกาสที่เราจะเกษียณอย่างสบายก็จะสูง  ถ้าเราลงทุนหลังจากอายุ 30 ปีไปแล้ว เช่น เริ่มลงทุนเมื่ออายุ 40 ปี ถ้าจะให้เราสามารถใช้เงินได้เท่าเดิมหลังเกษียณ  เราก็อาจจะต้องกันเงินไว้มากกว่า 15% ของเงินเดือนเพื่อที่จะลงทุน  ภาระก็จะหนักขึ้น หรือถ้ายังรักษาระดับที่ 15%  ในวันที่เกษียณเราก็มีเวลาลงทุนแค่ 20 ปี ซึ่งก็จะทำให้เงินที่เราจะได้นั้นไม่ถึง 100%  ซึ่งก็แปลว่า  ในวันเกษียณ  เราอาจจะต้องลดระดับความเป็นอยู่ลง

             คนอายุ 30 ปี ที่เริ่มกันเงินถึง 15% ของเงินเดือนเพื่อลงทุนแต่เขาเน้นไปที่การลงทุนในกองทุนตราสารหนี้หรือกองทุนผสมที่มีหุ้นน้อย  ผลตอบแทนที่ได้รับก็จะต่ำ  ซึ่งก็อาจจะทำให้เขาไม่สามารถใช้เงินได้เท่าเดิมหลังเกษียณ  และนี่สำหรับผมแล้ว  เป็นการลงทุนที่ไม่เหมาะสม  ในระยะสั้น ๆ  นั้น  ความรู้สึกมั่นคงและ “ไม่เสี่ยง”  จากการลงทุนในตราสารหนี้หรือเงินฝากนั้น  ไม่คุ้มกับการเสียโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวจากการลงทุนในหุ้น  ว่าที่จริง  ในระยะยาวตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป  หุ้นโดยรวมนั้นมีความเสี่ยงน้อยมาก  โอกาสที่หุ้นจะให้ผลตอบแทนรวมต่ำกว่าตราสารหนี้หรือเงินฝากนั้นผมคิดว่าน่าจะอยู่แค่ในช่วง 5-10 ปีแรกเท่านั้น  หลังจากนั้นแล้วหุ้นก็จะให้ผลตอบแทนสูงกว่าตลอด  ดังนั้น  อย่ากลัวที่จะลงทุนหุ้นเต็มที่ถ้าเราจะลงระยะยาวมาก

           สุดท้ายที่ผมอยากจะเพิ่มเติมสำหรับคนที่ต้องเสียภาษีรายได้สูงนั้น  การลงทุนในกองทุน LTF และ RMS ในอัตราที่สูงได้ถึง 15% ของรายได้นั้น  ดูเหมือนว่าจะสอดคล้องกับกลยุทธ์ที่ผมกล่าวถึงมาทั้งหมด  แต่ยังได้สิทธิลดหย่อนภาษีส่วนบุคคลด้วย  ดังนั้น  ผมคิดว่านี่คือสิ่งที่เหมาะสมและดีที่สุดที่มนุษย์เงินเดือนทุกคนควรทำ
 

Posted by nivate at 1:39 PM in โลกในมุมมองของ Value Investor
 
ที่มา :
http://portal.settrade.com/blog/nivate/2014/06/23/1439



ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9025
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com
สิ่งสำคัญที่นักลงทุนทั้งหลายไม่พึงกระทำ

ในการลงทุนนั้น การหยุดการสั่งซื้อมีความสำคัญพอๆกับการสั่งซื้อ ต่อไปนี้เป็นข้อแนะนำจาก ฟิลิป ฟิชเชอร์ ในเรื่องที่คุณไม่พึงกระทำ

1.อย่าเน้นในเรื่องการกระจายความเสี่ยงมากจนเกินเหตุ

ที่ปรึกษาการลงทุนหลายๆคนและสื่อสารด้านการลงทุนได้อธิบายความถึงข้อดีของการกระจายตวามเสี่ยงโดยยกเอาประโยคที่น่าสนใจจดจำง่ายนี้ขึ้นมาพูดอยู่เสมอๆ " อย่าใส่ไข่หลายๆฟองของท่านไว้ในตระกร้าใบเดียว" อย่างไรก็ตาม ฟิชเชอร์ ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า เมื่อใดก็ตามที่ท่านใส่ไข่หลายฟองของท่านไว้ในตระกร้าใบโน้นบ้างใบนี้บ้าง ก็ไม่แน่เสมอไปว่าไข่ทั้งหมดทุกฟองจะอยู่ในที่ปลอดภัยดี อีกทั้งยังยากต่อการเฝ้าติดตามดูไข่ทุกฟองนั้น

ฟิชเชอร์,เป็นผู้ซึ่งถือหุ้นไม่เกิน 30 ตัวเป็นอย่างมากที่สุดไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาใดของอาชีพ,มีคำตอบที่ดีกว่าดังนี้คือ ให้เสียสละเวลาค้นคว้าและทำความเข้าใจบริษัทหนึ่งๆอย่างถ้วนถี่และถ้าหากเป็นที่แน่ชัดว่าบริษัทดังกล่าวเข้าเกณฑ์ 15 ข้อที่เขาตั้งเป็นเกณฑ์กำหนดไว้ครบถ้วน คุณควรที่จะลงทุนในปริมาณมากๆ ฟิชเชอร์ เห็นด้วยกับคำพูดของ มาร์ค ทเวน ที่ว่า "ใส่ไข่ทั้งหมดทุกฟองของคุณไว้ในตระกร้าใบเดียว และเฝ้าดูแลตระกร้านั้นให้ดี"

2. อย่าแห่ตามฝูงชน

การเฮโลไปกับฝูงชนโดยลงทุนในหุ้นที่กำลังอยู่ในความนิยม อย่างเช่น หุ้นกลุ่ม"นิฟตี้ ฟิฟตี้"(หุ้น 50 ตัวที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุนสถาบัน)ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 หรือหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี่ ในช่วงปลายทศวรรษปี 1990 เป็นอันตรายต่อสุขภาพการเงินของคุณได้ ในทางตรงกันข้าม การค้นคว้าหาข้อมูลในกลุ่มที่ฝูงชนละเลยไม่ให้ความสนใจก็สามารถสร้างผลกำไรให้สูงมากๆได้ ครั้งหนึ่ง เซอร์ ไอแซ๊ค นิวตัน เคยพูดยอมรับอย่างเศร้าใจว่า เขาสามารถที่จะคำนวณการเคลื่อนไหวของวัตถุต่างๆที่ตกมาจากท้องฟ้าได้ แต่กับความบ้าคลั่งของฝูงชนเขาไม่อาจจะทำได้ ฟิชเชอร์ต้องเห็นด้วยอย่างจริงใจกับคำกล่าวนี้

3. อย่าคิดเล็กคิดน้อย

หลังจากได้ศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างขวาง และคุณได้พบบริษัทที่คุณมั่นใจว่าจะเจริญเติบโตอย่างแน่นอนในช่วง 10 ปีข้างหน้า และราคาหุ้นปัจจุบันเสนอขายในราคาเหมาะสม คุณควรจะรอหรือละเว้นการลงทุนของคุณเพื่อให้ราคาลงมาต่ำกว่าที่เป็นอยู่ขณะนั้นอีกซักไม่กี่เพนนีดีกว่า?

ฟิชเชอร์ได้เล่าให้ฟังเรื่องนักลงทุนที่ชำนิชำนาญคนหนึ่งที่ต้องการจะซื้อหุ้นของบริษัทหนึ่งซึ่งในวันนั้นราคาหุ้นปิดที่ 35.5 เหรียญต่อหุ้น อย่างไรก็ตามนักลงทุนผู้นี้ตั้งใจว่าจะไม่ซื้อหุ้นตัวนั้นจนกว่าราคาจะลดลงมาอยู่ที่ 35 เหรียญ หุ้นตัวนี้ไม่เคยมีราคาต่ำกว่า 35 เหรียญอีกเลยหลังจากนั้น และต่อมาอีก25 ปีมูลค่าของหุ้นได้เพิ่มขึ้นเป็น 500 เหรียญต่อหุ้น นักลงทุนผู้นี้พลาดโอกาสที่จะได้ส่วนต่างราคาที่มากมายมหาศาลไปอย่างน่าเสียดายเพียงแค่ต้องการประหยัดต้นทุนอีก 50 เซนต์ต่อหุ้น

แม้แต่วอร์เร็น บัฟเฟตต์เองก็มักจะปล่อยให้เกิดความผิดพลาดทางจิตใจในแบบนี้เช่นกัน บัฟเฟตต์ เคยเริ่มซื้อวอลมาร์ท เมื่อหลายปีก่อนหน้านั้น แต่ก็หยุดซื้อเมื่อราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้นอีกเพียงเล็กน้อย บัฟเฟตต์ยอมรับว่าความผิดพลาดอันนี้ทำให้เบิร์กชัวร์ แฮทธาเวย์สูญเสียกำไรที่ควรจะเป็นไปราว 1 หมื่นล้านเหรียญ แม้แต่นักทำนายผู้ปราดเปรื่องแห่งโอมาฮา ยังน่าได้รับประโยชน์จากข้อแนะนำของฟิชเชอร์ข้อนี้ที่ว่าอย่าคิดเล็กคิดน้อย

ที่มา:
http://thinkvalueinvestment.blogspot.com/2007/03/blog-post.html


ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9025
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com


Thursday, 26 June 2014
Business Model

นักลงทุนที่เน้นปัจจัยพื้นฐานล้วนให้ความสำคัญต่อการวิเคราะห์กิจการทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การวิเคราะห์เชิงปริมาณได้แก่ การประเมินมูลค่ากิจการ การวิเคราะห์งบการเงิน  สถานะทางการเงิน อัตราส่วนทางการเงินซึ่งส่วนใหญ่ถูกแสดงเป็นตัวเลขที่ได้จากการคำนวณทั้งจากข้อเท็จจริงและจากการคาดการณ์ล่วงหน้า ส่วนการวิเคราะห์เชิงคุณภาพนั้น มักไม่สามารถคำนวณเป็นตัวเลข เช่น รูปแบบธุรกิจหรือ “Business Model” การวิเคราะห์ SWOT ศักยภาพในการแข่งขัน ความสามารถของผู้บริหาร ซึ่งขึ้นอยู่กับการประเมินหรือมุมมองในการวิเคราะห์ของนักลงทุนแต่ละคน

          ในการลงทุนส่วนตัวของผมนั้น ผมมัก “คัดกรอง” ธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่เข้าเกณฑ์น่าสนใจลงทุนโดยให้ความสำคัญกับ Business Model เป็นลำดับแรกๆ ก่อนที่จะพิจารณารายละเอียดอื่นเพิ่มเติมทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ลองมาดูตัวอย่างกลุ่มธุรกิจว่ามี Business Model ข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันอย่างไรบ้าง 

          กลุ่มค้าปลีก มีรูปแบบธุรกิจแบบ “Cost Plus” หรือ กำหนดราคาขายจากราคาต้นทุนบวกกำไร ดังนั้นหากสามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม ธุรกิจจะต้องมีกำไร ไม่ขาดทุน และควรจะต้องมีอัตราส่วนในการทำกำไรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม ธุรกิจค้าปลีกซึ่งมีการแข่งขันสูงมาก นักลงทุนจึงควรเลือกลงทุนกับผู้ประกอบการที่เป็นผู้นำและมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงของธุรกิจค้าปลีกในแต่ละประเภท เพราะมีความได้เปรียบทั้งด้านขนาด อำนาจการต่อรอง ได้รับประโยชน์สูงสุดจาก Economies of Scale ทำให้มีความพร้อมด้านเงินลงทุนในการขยายสาขาให้เติบโตยิ่งขึ้นไปอีก   

          กลุ่มธุรกิจสัมปทาน มีรูปแบบธุรกิจ “กึ่งผูกขาด” จึงไม่ต้องกังวลเรื่องการแข่งขัน มีคู่แข่งจำกัดและมีจำนวนน้อย กิจการส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับบริการสาธารณูปโภคเช่น ไฟฟ้า น้ำประปา ทางด่วน รถไฟฟ้า ต้องใช้เงินลงทุนช่วงแรกสูงมาก มีระยะเวลาถึงจุดคุ้มทุนยาวนาน มักถูกควบคุมราคาและอาจไม่สามารถปรับราคาขึ้นโดยง่ายเพราะส่งผลกระทบวงกว้าง มีความเสี่ยงเรื่องหมดอายุสัมปทานและการต่ออายุ การเติบโตรายได้มักมาจากปริมาณการบริโภคที่สูงขึ้นและการปรับราคา จึงเหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการความแน่นอน ไม่คาดหวังผลตอบแทนที่สูงมากนักและควรพิจารณาลงทุนเมื่อราคาหุ้นมี Margin of Safety มากพอ

          กลุ่มธุรกิจมือถือ มีลักษณะคล้ายกับธุรกิจสัมปทาน แต่มีปัจจัยการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคที่รวดเร็วกว่า กิจการมักเติบโตสูงจากปริมาณความต้องการในช่วงแรก แต่ยอดขายและกำไรจะเติบโตช้าลงอย่างมากเมื่อเข้าใกล้จุดอิ่มตัวจนกว่าจะมีแนะนำเทคโนโลยีและบริการใหม่ๆ แก่ผู้บริโภคอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนโครงสร้างส่วนแบ่งทำให้ผู้ประกอบการได้รับผลดี ผู้ประกอบทุกรายจึงต้องเร่งโอนย้ายลูกค้าจากระบบสัมปทานเป็นระบบใบอนุญาตให้เร็วที่สุดพร้อมทั้งการแข่งขันที่รุนแรงเพิ่มขึ้นมากจากข้อเสนอ “ย้ายค่ายเบอร์เดิม” อีกด้วย

          กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มผู้รับเหมานั้นมีรูปแบบธุรกิจ “ผู้ชนะเสนอราคาต่ำสุด” แม้มีกลุ่มผู้ประกอบการน้อยรายเข้าร่วมประกวดราคา แต่ผู้ชนะต้องแบกรับความเสี่ยงจากความผันผวนค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าแรงและการขาดแคลนแรงงาน ค่าปรับจากการส่งมอบงานล่าช้า ผลประกอบการจึงคาดการณ์ได้ยาก กลุ่มสร้างบ้านและคอนโดนั้น ผู้ประกอบการที่มีกลยุทธ์ “สร้างเสร็จก่อนขาย” จะมีข้อมูลต้นทุนจริงเพื่อกำหนดราคาขาย จึงคาดการณ์ผลประกอบการได้ง่ายกว่า ส่วนผู้ประกอบการคอนโดต้องบริหารจัดการทรัพยากรดีเยี่ยมเพราะการก่อสร้างคอนโดให้แล้วเสร็จเพื่อส่งมอบต้องใช้เวลายาวนานกว่าการสร้างบ้านเดี่ยวซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นเฟสๆ ได้ ส่วนกลุ่มผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ให้เช่า จะมีรูปแบบธุรกิจที่มี “รายได้แน่นอน” กว่าเพราะยังมีความต้องการเช่าเพื่อขยายกิจการและตอบสนองแนวโน้มการขยายตัวของเมือง ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ให้เช่ายังสามารถทำกำไรด้วยการนำสินทรัพย์เสนอขายในรูปกองทุนอสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้เป็นเงินลงทุนพัฒนาโครงการใหม่ต่อไปได้อีกด้วย

          กลุ่มการแพทย์ มีรูปแบบธุรกิจแบบ “Cost Plus ที่ไม่มีโอกาสต่อรองราคา” ผู้ป่วยมักต้องกลับมาใช้บริการซ้ำจากประวัติการตรวจรักษา โรงพยาบาลเอกชนยังมีข้อได้เปรียบจากการบริการที่สะดวกและรวดเร็วกว่าแม้ค่ารักษาพยาบาลจะสูงกว่าโรงพยาบาลรัฐบาลที่ไม่เพียงพอ การควบรวมและการรวมกลุ่มธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนยังทำให้ภาวการณ์แข่งขันไม่รุนแรงนัก ส่งผลดีต่อผลประกอบการโดยรวม ราคาหุ้นกลุ่มนี้จึงมักซื้อขายที่ระดับสูงอยู่เสมอและเหมาะกับการลงทุนระยะยาวเป็นหลัก

          นั่นคือตัวอย่างการวิเคราะห์เชิงคุณภาพอย่างคร่าวๆ ในฐานะ Value Investor นักลงทุนควรเพิ่มความสำคัญในการวิเคราะห์ Business Model ของกิจการและอุตสาหกรรมที่ตนสนใจอย่างละเอียด กิจการที่มี Business Model โดดเด่นและยังเป็นกิจการที่มีมูลค่าเพิ่ม value added) สูงสุดในห่วงโซ่อุปทาน Supply  Chain) มักความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนในระยะยาวมากกว่า ส่งผลดีต่อผลประกอบการและราคาหุ้นในอนาคต ส่วนกิจการที่มี Business Model ธรรมดาและยังมีข้อด้อย นอกจากผลประกอบการจะไม่โดดเด่นแล้ว หากการแข่งขันทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น อาจส่งผลต่อ “ความอยู่รอดของกิจการ” ในอนาคตได้เช่นกัน
Posted by thanwa at 4:01 PM in คิด วิเคราะห์ แยกแยะ

ที่มา:
http://portal.settrade.com/blog/thanwa/2014/06/26/1441


ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9025
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com



Monday, 30 June 2014

SPELT


Value Investor จำนวนมาก  “ถูกสอน” ไม่ให้สนใจภาวะเศรษฐกิจการเมืองหรือปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ที่  “ไม่เกี่ยว” กับบริษัทที่เราจะลงทุน  พวกเขาอ่านหนังสือของ ปีเตอร์ ลินช์ ที่บอกว่าเราไม่ควรสนใจว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร  สิ่งที่สำคัญก็คือตัวกิจการหรือบริษัทหรือหุ้นที่เราจะลงทุน  ถ้ามันดีเสียอย่าง  เราก็ไม่ต้องกังวล  ราคาหุ้นนั้นจะปรับตัวตามผลประกอบการของบริษัท  ไม่ใช่ตามภาวะเศรษฐกิจ  นอกจากนั้น  VI ยังมีประสบการณ์โดยตรงจากเหตุการณ์ในประเทศไทยเอง  ทั้งเรื่องภาวะเศรษฐกิจและการเมืองที่เกิดเหตุการณ์รุนแรงมาต่อเนื่องแต่ทั้งหมดก็ไม่ได้กระทบต่อหุ้นมากนัก  พวกเขาพบว่าเมื่อเกิดภาวะรุนแรงหรือวิกฤติเศรษฐกิจหุ้นก็อาจจะลงหนักแต่หลังจากนั้นมันก็ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วและสูงกว่าช่วงก่อนวิกฤติด้วยซ้ำ  นอกจากนั้น  เมื่อพูดถึงการเมืองที่เกิดเหตุการณ์รุนแรง  บางทีแทนที่หุ้นจะลงมันกลับปรับตัวขึ้น  ดังนั้น  VI จึงค่อนข้างจะเชื่อและมั่นใจว่าเราไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องภาวะเศรษฐกิจ  การเมือง  หรือปัจจัยภายนอกต่าง ๆ  ที่เป็น  “ภาพใหญ่”  สิ่งที่เราต้องวิเคราะห์ก็คือตัวบริษัทว่ามันเป็นอย่างไรและอาจจะถูกกระทบโดยตรงอย่างไรจากปัจจัยภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไปเท่านั้น         

          ผมเองคิดว่าแนวความคิดดังกล่าวนั้นอาจจะถูกต้องเป็นส่วนใหญ่โดยเฉพาะในตลาดหุ้นสหรัฐและตลาดหุ้นไทยในช่วงที่ผ่านมา  เหตุผลไม่ใช่เพราะว่าปัจจัยภายนอกนั้นไม่ได้มีอะไรที่จะกระทบกับการลงทุน  แต่เหตุผลนั้นเป็นเพราะว่าการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้นนั้น  “ไม่เคย”  กระทบกับการทำธุรกิจของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ  ถ้าจะมีบ้างก็เป็นช่วงสั้น ๆ  ไม่กี่เดือนหรือไม่กี่ปี  และดังนั้น  เมื่อเหตุการณ์ผ่านไปทุกอย่างก็กลับมาเหมือนเดิม  และในระยะยาวแล้ว  สภาพแวดล้อมก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ  และดังนั้น  VI ที่ไม่ได้สนใจกับเรื่องของภาวะเศรษฐกิจและปัจจัยภายนอกอื่น ๆ  ก็ไม่เกิดความเสียเปรียบหรือเสียหาย  นาน ๆ  เข้าเราก็เลยรู้สึกว่าเราไม่ต้องสนใจกับการวิเคราะห์ “ภาพใหญ่” ให้เสียเวลา  และถ้ายิ่งไป  “คิดมาก”  ก็อาจจะทำให้เรากระวนกระวายใจหรือกลัวและอาจจะทำให้ตัดสินใจผิดพลาดได้         

          แต่ความเป็นจริงก็คือ  ภาพใหญ่นั้นมีความสำคัญ  โดยเฉพาะถ้ามันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญและมีแนวโน้มจะเปลี่ยนไปอย่าง  “ถาวร”  ซึ่งจะกระทบกับกิจการหรือบริษัทหรือหุ้นที่เราลงทุน  อย่าลืมว่า  กิจการนั้นเหมือน “ปลา”  และภาพใหญ่นั้นเหมือน  “น้ำ”  ถ้าน้ำนั้นมีปัญหาหรือไม่เหมาะสม  ปลาจะอยู่ลำบาก  ถ้าน้ำเป็น “พิษ”  ปลาก็อยู่ไม่ได้  ที่ผ่านมานั้นน้ำค่อนข้างจะ “สะอาด” และอยู่ในสภาพที่ดี  เราก็เลยไม่รู้สึกอะไร  เราไม่รู้สึกว่าคุณภาพของน้ำนั้นมีความสำคัญและเราไม่สนใจที่จะต้องเฝ้าดูและติดตาม  แต่เราไม่รู้หรอกว่าน้ำ  โดยเฉพาะของประเทศไทยนั้น  อาจจะเปลี่ยนไปได้มากมายและกลายเป็นพิษที่อาจจะทำลายปลาได้   การวิเคราะห์ภาพใหญ่หรือปัจจัยภายนอกนั้น  ถ้าจะให้ครอบคลุมเราควรใช้กรอบที่เรียกว่า  “SPELT”  ซึ่งเป็นคำย่อของคำต่อไปนี้:         

          S มาจากคำว่า Social  หรือสังคม  สิ่งที่เราจะต้องตามก็คือ พฤติกรรมของคนไทยในเรื่องต่าง ๆ  เราต้องรู้ว่าสังคมไทยนั้นเป็นอย่างไร  มีอะไรที่แตกต่างจากชาติอื่นและเป็นเพราะอะไร  และการเปลี่ยนแปลงจะไปทางไหนและเกิดขึ้นเมื่อไรและจะส่งผลกระทบอะไรบ้างโดยเฉพาะกับหุ้นที่เราลงทุน  วิธีการวิเคราะห์นั้น  ประเด็นใหญ่ก็คือการสังเกตพฤติกรรมของคนทั่วไป  คนรอบข้าง  ดูว่าเป็นใครและอายุเท่าไร  การอ่านข่าวสารทางสังคมในแวดวงต่าง ๆ  โดยเฉพาะที่เป็นคนชั้นนำ เช่น เหล่า “ดารา” ในวงการต่าง ๆ  “ไอดอล”  ของคนแต่ละกลุ่มเป็นใคร  ที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือ  ดูการ  “เปลี่ยนแปลง”  ที่เกิดขึ้นซึ่งจะเป็นตัวที่จะกระทบกับผลิตภัณฑ์หรือบริการของบริษัทและต่อหุ้นในที่สุด  ตัวอย่างง่าย ๆ  ที่เราเห็นการเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างชัดเจนในช่วงนี้ก็คือ  การที่คนมักจะ  “ก้มหน้าจิ้มเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่นาน ๆ”   หรือการที่ผู้หญิงหรือแม้แต่ผู้ชายบางคนทำศัลยกรรมหรือปรับแต่งใบหน้าและร่างกายส่วนอื่นกันจนเป็นเรื่อง  “ปกติ”  หรือการที่คนหนุ่มสาวต่างก็มีคอนโดมิเนียมกันแพร่หลายและอาศัยอยู่กันเป็นบ้านหลังแรกเป็นต้น         

          P มาจากคำว่า Politics นี่คือเรื่องของการเมือง  เราต้องวิเคราะห์ว่าแนวโน้มของการเมืองไทยนั้นจะเป็นอย่างไรและมันจะกระทบกับเศรษฐกิจและธุรกิจโดยรวมอย่างไร  ประเด็นก็คือ  การเมืองที่อันตรายที่สุดของตลาดหุ้นก็คือ  ระบบการเมืองที่  “ปิดประเทศ”  หรือทำให้ประเทศกลายเป็นประเทศปิดเนื่องจากไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมโลก  อันตรายต่อมาก็คือ  การเมืองที่ทำให้เกิดความวุ่นวายเนื่องจากคนไทยกลุ่มใหญ่บางกลุ่มไม่ยอมรับ “กติกา” ในการเข้าสู่อำนาจในการปกครองและนำไปสู่การต่อสู้หรือการรบพุ่งจนทำให้ธุรกิจไม่สามารถดำเนินไปได้เป็นปกติอย่างเช่นที่เกิดในประเทศตะวันออกกลางบางประเทศ  เป็นต้น  ตรงกันข้าม  ระบบการเมืองที่เอื้ออำนวยที่สุดต่อตลาดหุ้นและบริษัทก็คือ  ระบบเสรีประชาธิปไตยอย่างที่เป็นในประเทศที่ก้าวหน้าทั้งหลาย         

          E มาจากคำว่า Economics นี่คือเรื่องของเศรษฐกิจ  การวิเคราะห์ในเรื่องนี้ผมไม่ใคร่สนใจภาวะการเติบโตของเศรษฐกิจในช่วงสั้น ๆ  แค่ปีหรือสองปี  เพราะผมคิดว่ามันไม่ค่อยจะมีผลอะไรกับบริษัทในระยะยาว  สิ่งที่ผมสนใจติดตามและวิเคราะห์ก็คือ  การเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาวของประเทศว่ามันจะไปถึงไหน?  การวิเคราะห์ในเรื่องนี้ผมมักจะดูถึง “โปรไฟล์”  ของประชากรคนไทย  ซึ่งรวมถึงอายุ  ความสามารถ  และรวมถึงทำเลที่ตั้งของประเทศ  และอื่น ๆ  ที่เป็นเรื่องของ “โครงสร้าง” ที่ไม่ค่อยจะเปลี่ยนแปลงได้ง่าย  ซึ่งสิ่งที่ผมจะพยายามหาข้อสรุปก็เช่น  อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยจะโตต่อไปได้ประมาณปีละกี่เปอร์เซ็นต์และจะโตไปได้อีกกี่ปี  คำตอบของผมก็อาจจะเป็นว่า  ประเทศไทยก็อาจจะโตแบบค่อนข้างเร็วต่อไปได้อีกซัก 10 ปี  หลังจากนั้นคงจะโตช้าลงหรือหยุดโต  กลายเป็นประเทศที่  “ติดกับดัก”  ชาติที่มีรายได้ปานกลางเหมือนอย่างอาร์เจนตินาหรืออีกหลาย ๆ  ประเทศ เป็นต้น  และถ้าเป็นแบบนั้น  การลงทุนของผมจะทำอย่างไร?         

          L มาจากคำว่า Legal หรือกฎหมายต่าง ๆ  ที่ออกมาและมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจหรือบริษัทหรือต่อความมั่งคั่งของเราในแง่ของการลงทุนในหุ้น  ยกตัวอย่างง่าย ๆ  เช่น  การเปลี่ยนแปลงที่จะเก็บภาษีกำไรจากการลงทุนในหุ้น  แบบนี้ก็เห็นได้ชัดว่าทำให้ผลตอบแทนการลงทุนในหุ้นลดลง  ราคาหุ้นคงถูกกระทบอย่างรุนแรงเพราะเป็นเรื่องที่กระทบกับหุ้นโดยตรง  ยังมีกฎหมายมากมายที่อาจจะกระทบกับบริษัทโดยรวมหรือกระทบอย่างแรงต่อบางบริษัทในด้านของผลประกอบการ  แบบนี้เราก็ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด  และในบางครั้งเราก็ต้องลงมือทำอะไรบางอย่างถ้าดูแล้วว่าความเสี่ยงที่มันจะเกิดขึ้นนั้นสูงพอควรเป็นต้น         

          สุดท้ายก็คือ T ซึ่งมาจากคำว่า Technology  นี่คือการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่นับวันเกิดบ่อยและเร็วขึ้นมากจนเป็นความเสี่ยงที่รุนแรงที่สุดอย่างหนึ่งของการลงทุนโดยเฉพาะในธุรกิจที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับเทคโนโลยี  หลาย ๆ  บริษัทต้องล้มหายตายจากหรือมีผลประกอบการตกต่ำลงมากอย่างรวดเร็วก็เพราะเทคโนโลยีใหม่เข้ามาแทนที่หรือมาทำลายความเข้มแข็งเดิมที่มีอยู่  ตัวอย่างเช่น ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับหนังสือและเทปเพลงที่ถูกอินเตอร์เน็ตเข้าแย่งชิงตลาดไปมาก เป็นต้น  ดังนั้น  การติดตามเรื่องของเทคโนโลยีจึงเป็นเรื่องที่สำคัญโดยเฉพาะกิจการที่อาจจะอยู่ในข่ายที่ถูกกระทบอย่างรุนแรงได้         

          ก่อนที่จะจบบทความนี้  ผมขอพูดย้ำอีกครั้งว่าภาพใหญ่ที่จะเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจในการลงทุนของเรานั้นมักจะไม่เกิดขึ้นบ่อย  ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องของระยะสั้นที่เรามักจะไม่ต้องทำอะไร  อย่างไรก็ตาม  ในบางครั้งมันก็อาจจะมีผลกระทบและเมื่อเกิดขึ้นก็มักจะแรงกว่าที่คิดและเราอาจจะต้องทำอะไรบางอย่างเช่น อาจจะต้องขายหุ้นทิ้ง  ผมเองก็ได้แต่หวังว่า  การเปลี่ยนแปลงภาพใหญ่ของประเทศไทยเรานั้น  ถ้าจะเกิดความเสียหายก็เกิดขึ้นเฉพาะจุด  เฉพาะบางบริษัท  อย่าได้เกิดรุนแรงจนกระทั่งกระทบไปทั้งระบบ  เพราะในกรณีอย่างนั้น  มันอาจจะเหมือนกับ  “น้ำ”  ที่เสียจนกระทั่ง  “ปลา”  ทั้งหลายไม่สามารถอยู่รอดได้     
       
Posted by nivate at 11:32 AM in โลกในมุมมองของ Value Investor
 
ที่มา :
http://portal.settrade.com/blog/nivate/2014/06/30/1442




ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9025
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com

“อัจฉริยะ” กับการลงทุน

บทความ Value Way กรุงเทพธุรกิจ Bizweek ฉบับวันที่ 9 มิถุนายน 2557
โดย....ประภาคาร ภราดรภิบาล

“เซอร์ไอแซค นิวตัน” เป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์เอกของโลก เป็นผู้ค้นพบ “กฎแห่งการเคลื่อนที่”, “กฎแห่งแรงโน้มถ่วง” และอื่นๆ อีกหลายประการซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาวงการวิทยาศาสตร์มาจนถึงทุกวันนี้ แม้จะเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในฐานะของนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ แต่คงมีคนไม่มากนักที่ทราบว่าอัจฉริยะบุคคลท่านนี้ก็เคยมี “ประสบการณ์ที่เจ็บแสบ” จากการลงทุนซื้อขายหุ้นด้วยเช่นกัน
   หนังสือ “The Intelligent Investor” ฉบับ “Revised Edition” ของบิดาแห่งการลงทุนแบบเน้นคุณค่า “เบนจามิน เกรแฮม” ซึ่งมี “เจสัน ซวีจ” เป็นผู้ให้ความคิดเห็นเพิ่มเติม ได้นำเรื่องราวการลงทุนของ “เซอร์ไอแซค นิวตัน” มาใช้เป็นกรณีศึกษา เพื่อหาคำตอบว่า การเป็นบุคคลที่เฉลียวฉลาดกับการเป็นนักลงทุนที่ชาญฉลาดนั้นมีความสัมพันธ์กันหรือไม่? อย่างไร?
   ในฤดูใบไม้ผลิ ปี 1720 “เซอร์ไอแซค นิวตัน” ได้ซื้อหุ้นที่ร้อนแรงที่สุดของตลาดหุ้นอังกฤษ นามว่า South Sea Company เขาถือหุ้นดังกล่าวจนกระทั่งรู้สึกว่าตลาดกำลังเข้าสู่สภาวะแห่งความบ้าคลั่งมากเกินไป ในเวลานั้น “นิวตัน” นักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่ถึงกับเอ่ยปากว่า ตัวเขาเองนั้น “สามารถคำนวณความเคลื่อนไหวของดวงดาวบนท้องฟ้าได้ แต่ไม่สามารถคำนวณความบ้าคลั่งของผู้คนได้” จึงตัดสินใจเทขายหุ้น South Sea ของเขาออกไป ได้กำไร 100 เปอร์เซ็นต์ เป็นเงิน 7,000 ปอนด์
   แต่เพียงไม่กี่เดือนต่อมา สภาวะตลาดหุ้นที่ร้อนแรงเกินห้ามใจก็ผลักดันให้ “นิวตัน” กระโจนกลับเข้าไปซื้อหุ้น South Sea อีกครั้งในราคาที่สูงกว่าเดิม ทว่าการซื้อครั้งนี้ไม่ได้สร้างผลกำไรงดงามให้กับเขาเหมือนดังคราวที่ผ่านมา แต่กลับกลายเป็นว่าเขาต้องขาดทุนยับเยินเป็นเงินถึง 20,000 ปอนด์ (หรือมากกว่า 3 ล้านดอลล่าร์ในปัจจุบัน) หลังจากนั้นเป็นต้นมา “นิวตัน” ถึงกับสั่งห้ามไม่ให้ใครพูดคำว่า South Sea ให้เขารู้สึกแสลงใจอีก
   ในมุมมองของ “เบนจามิน เกรแฮม” นั้น ระดับไอคิว และการศึกษาสูงๆ ไม่เพียงพอสำหรับการเป็น “นักลงทุนผู้ชาญฉลาด” หรือ “Intelligent Investor” คุณสมบัติสำคัญที่ควรจะมีก็คือ ความอดทน, ความมีวินัย, ความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ นอกจากนี้ยังต้องสามารถควบคุมอารมณ์ และรู้จักคิดด้วยตัวเอง
   จากกรณีของ “เซอร์ไอแซค นิวตัน” แม้จะได้รับการยกย่องว่าเป็นบุคคลที่เฉลียวฉลาดที่สุดคนหนึ่ง แต่จากมุมมองของ “เบนจามิน เกรแฮม” แล้ว ถือว่า “นิวตัน” ยังห่างไกลจากการเป็น “นักลงทุนผู้ชาญฉลาด” ด้วยการที่เขาปล่อยให้เสียงอึกทึกบ้าคลั่งของฝูงชนมาครอบงำการตัดสินใจของตัวเอง
   ถ้าคุณผู้อ่านอยากทราบรายละเอียดมากกว่านี้ พร้อมทั้งข้อคิดดีๆ ด้านการลงทุนอีกมากมาย ผมขอแนะนำให้ไปหาหนังสือ “The Intelligent Investor” มาอ่านครับ (มีฉบับแปลเป็นภาษาไทยในชื่อว่า “คัมภีร์การลงทุนแบบเน้นคุณค่า” แปลและเรียบเรียงโดย “คุณพรชัย รัตนนนทชัยสุข”)
   นอกจากนี้ “วอร์เรน บัฟเฟตต์” ศิษย์เอกของ “เบนจามิน เกรแฮม” ยังได้เคยหยิบยกบทเรียนการลงทุนของ “เซอร์ไอแซค นิวตัน” มากล่าวไว้ในจดหมายถึงผู้ถือหุ้นบริษัท เบิร์กไชร์ ฮาธาเวย์ ของเขาว่า...
   นานมาแล้ว เซอร์ไอแซค นิวตัน ได้มอบกฎแห่งการเคลื่อนที่ ให้พวกเราไว้ 3 ข้อ ซึ่งเป็นผลงานที่บ่งบอกถึงอัจฉริยภาพ แต่ทว่าความสามารถพิเศษของเซอร์ไอแซค กลับไม่ได้ครอบคลุมมาถึงเรื่องของการลงทุนแต่อย่างใด เขาต้องขาดทุนอย่างหนักจากสภาวะฟองสบู่ของหุ้น South Sea... หากไม่เจ็บตัวจากการขาดทุนครั้งนั้น เซอร์ไอแซค นิวตัน อาจค้นพบกฎแห่งการเคลื่อนที่ ข้อที่ 4 เพิ่มขึ้นมาสำหรับนักลงทุนทั้งหลาย นั่นก็คือ
   “ยิ่งเคลื่อนที่มาก ผลตอบแทนยิ่งลดลง” 



ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9025
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com


Thursday, 10 July 2014
ลงทุนตามกระแส


วันเวลาล่วงเลยผ่านครึ่งทาง ของปี 2557 อย่างรวดเร็ว สถานการณ์การเมืองที่เคยคลุมเครือตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 มีความชัดเจนมากขึ้น ส่งผลดีต่อความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทย โดยดัชนีตลาด SET ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2557 ปิดที่ 1,495.83 จุด เพิ่มขึ้นจากต้นปี 14.98% ส่วนดัชนีตลาด mai ปิดที่ 521.07 จุดเพิ่มขึ้นถึง 45.40% ในช่วงครึ่งปีแรกบริษัทจดทะเบียนในตลาด SET และ mai ยังจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นในอัตราเฉลี่ย 3.0% และ 1.41% อีกด้วย

หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต่างๆ ได้ช่วยกันประชาสัมพันธ์ถึงความสำคัญและความจำเป็นในการออม การวางแผนการเงินส่วนบุคคล และจากการที่ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นต่อเนื่องสร้างผลตอบแทนที่ดีต่อการลงทุน จึงทำให้เกิด “กระแสเงินลงทุน” เพิ่มเติมในตลาดหุ้นไทยของนักลงทุนทั่วไปในประเทศ ผู้เริ่มสนใจลงทุน และจากนักลงทุนสถาบันในประเทศ แม้ว่านักลงทุนต่างชาติยังมีปริมาณขายสุทธิสะสมจากตั้งแต่ต้นปีสูงถึงสี่หมื่นล้านบาทก็ตาม

ในภาวะตลาดปรับตัวขึ้นต่อเนื่องและมีปริมาณการซื้อขายหนาแน่น ลองมาดูกันว่า มี “กระแส” การลงทุนอะไรเกิดขึ้นบ้างและนักลงทุนที่ต้องการ “ลงทุนตามกระแส” ควรต้องทำอย่างไร

อันดับแรก ลงทุนตามกระแสข่าว มีข้อมูลข่าวสารของบริษัทจดทะเบียนเกิดขึ้นมากมายตลอดเวลา ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์หุ้น บทวิเคราะห์ หรือสื่อโซเชียลมิเดียในโลกออนไลน์ นักลงทุนต้องพิจารณาอย่างรอบคอบในการรับข่าวสารก่อนตัดสินใจลงทุนตามกระแสดังกล่าว เพราะหากข้อมูลบิดเบือนแต่มีกระแสคล้อยตามมากพอ จะเกิดพฤติกรรมหมู่สนับสนุนการเคลื่อนไหวราคาหุ้นให้เป็นไปในทิศทางตามกระแสข่าวได้ เมื่อเกิดขึ้นจริงบ่อยครั้งก็ยิ่งเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนตามกระแส โดยลดความสำคัญทั้งด้านปัจจัยพื้นฐานของกิจการและด้านราคาที่มีส่วนต่างความปลอดภัยลง นักลงทุนต้องพึงระลึกไว้เสมอว่า ราคาหุ้นนั้นจะถูกสะท้อนจากพื้นฐานกิจการและผลประกอบการเท่านั้น ผลตอบแทนการลงทุนที่ดีและง่ายเกินไปอาจสร้างความเสียหายภายหลังได้

อันดับที่สอง ลงทุนตามกระแสหุ้น turnaround ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพบว่า ในหกเดือนแรกของปี 2557 นั้น บริษัทจดทะเบียนที่ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดอันดับแรก เพิ่มขึ้นถึง 378% ส่วนอันดับที่ 20 ราคาหุ้นยังปรับเพิ่มขึ้นถึง 91% เมื่อตรวจดูรายชื่อบริษัทจะพบว่า กิจการส่วนใหญ่มักมีเรื่องราวเกี่ยวกับการพลิกกลับมาทำกำไร turnaround ) หรือมีการเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจ นักลงทุนที่สนใจลงทุนตามกระแส turnaround ต้องคำนึงถึงความเสี่ยง โดยต้องประเมินถึงความสามารถของผู้บริหาร ความเป็นไปได้ที่กิจการจะพลิกกลับมาทำกำไรได้จริง ตลอดจนความคาดหวังของผลประกอบการว่าเหมาะสมกับราคาหุ้นที่ปรับสูงขึ้นอย่างมากแล้วเพียงใด หากต้องการลงทุนระยะยาวในกิจการดังกล่าว นักลงทุนยังต้องประเมินว่ากิจการที่ turnaround ได้จริงนั้น มีศักยภาพในเติบโตและได้เปรียบในการแข่งขันได้ดีมากน้อยเพียงใด เหมาะกับการถือลงทุนต่อไปหรือไม่

อันดับที่สาม ลงทุนตามกระแสหุ้นไอพีโอ มีหุ้นไอพีโอกว่า 10 บริษัทเข้ามาซื้อขายวันแรกในตลาดหุ้นไทยนับตั้งแต่ต้นปี 2557 เป็นต้นมา หุ้นไอพีโอทุกบริษัทล้วนมีปริมาณความต้องการจองซื้อหุ้นอย่างล้นหลาม และสร้างผลตอบแทนอย่างงามให้ผู้ได้รับสิทธิจองซื้อภายในเวลาไม่กี่วัน หากนักลงทุนไม่ได้รับการจัดสรรและยังต้องการลงทุนตามกระแสหุ้นไอพีโอ ณ ราคาตลาดที่สูงกว่าราคาจองซื้ออย่างมากนั้น นับว่าเป็นกลยุทธ์ที่เสี่ยง เพราะจากสถิติจะพบว่า หุ้นไอพีโอที่ปัจจัยพื้นฐานไม่โดดเด่นนั้น ราคาหุ้นมักปรับลดลงในเวลาต่อมา ทั้งนี้เพราะมีหลายปัจจัยที่ทำให้ราคาหุ้นและปริมาณการซื้อขายวันแรกบิดเบือนไปจากสภาวะปกตินั่นเอง

อันดับสุดท้าย ลงทุนตามกระแสกลุ่มธุรกิจ เช่น กลุ่มพลังงานทางเลือก กลุ่มการแพทย์ กลุ่มค้าปลีก กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ นักลงทุนระยะยาวมักคัดกรองหุ้นจากการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานอุตสาหกรรมเป็นลำดับแรก เมื่อพบอุตสาหกรรมที่มีโอกาสในการเติบโตในระยะยาวแล้วจึงศึกษากิจการรายบริษัทเพื่อเลือกลงทุนในกิจการที่มีศักยภาพโดดเด่นและมีข้อได้เปรียบในการแข่งขันในระยะยาว อย่างไรก็ตาม หุ้นยอดเยี่ยมของแต่ละอุตสาหกรรมมักซื้อขายในระดับราคาที่มี Premium มากกว่า การเลือกลงทุนตามกระแสกลุ่มธุรกิจโดยเลือกซื้อหุ้นถูกกว่าในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน แม้อาจเป็นกลยุทธ์ที่ดีแต่นักลงทุนต้องเข้าใจว่า อาจเนื่องจากกิจการมีคุณภาพด้อยกว่า จึงต้องประเมินระดับราคาที่เหมาะสมสำหรับคุณภาพกิจการที่ด้อยกว่าเช่นกัน

ที่กล่าวมาคือตัวอย่างของกระแสที่เกิดขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาในตลาดหุ้นไทย กล่าวกันว่า ในช่วงภาวะที่ตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง “การลงทุนตามกระแส” สามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างงดงามให้กับนักลงทุนที่ติดตามข่าวสาร ศึกษาข้อมูลอย่างใกล้ชิดและยอมรับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นได้  สำหรับ Value Investor ที่ยึดมั่นลงทุนในกรอบ “ขอบข่ายความรู้” ของตน Circle of Competency) และ “ไม่โลภเกินความรู้” โดยเลือกที่จะไม่ลงทุนตามกระแสนั้น หากตั้งเป้าหมายและสามารถได้ผลตอบแทนชนะผลตอบแทนตลาดโดยรวมในภาวะตลาดขาขึ้นเช่นนี้ ก็ต้องพอใจกับผลตอบแทนที่ได้เพราะถือว่าไม่เลวเลยทีเดียว
 
Posted by thanwa at 7:16 PM in คิด วิเคราะห์ แยกแยะ

ที่มา:
http://portal.settrade.com/blog/thanwa/2014/07/10/1450


ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9025
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com



Monday, 14 June 2014

อดกลั้นต่อสิ่งยั่วเย้า


การลงทุนในตลาดหุ้นแบบระยะยาวจริง ๆ  คือถือหุ้นแต่ละตัวโดยเฉลี่ยมากกว่าหนึ่งปีหรือหลาย ๆ ปีขึ้นไปนั้นผมคิดว่าเป็นเรื่องยากสำหรับนักลงทุนส่วนใหญ่โดยเฉพาะที่ยังมีอายุน้อยและมีความหวังที่จะ  “รวย”  จากการลงทุนในเวลาอันสั้น  เหตุผลที่สำคัญก็คือ  คนจำนวนมากคิดว่าการลงทุนระยะสั้นนั้นน่าจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการซื้อหุ้นแล้วไม่ขาย  พวกเขาคิดว่าการ “ซื้อแล้วเก็บ” นั้น  ผลกำไรหรือผลตอบแทนของการลงทุนก็มักจะเป็นไปตามผลกำไรของบริษัทในระยะยาว  ซึ่งก็มักจะ  “ไม่สูง”  นั่นคืออย่างมากก็ประมาณ 15%  ต่อปี  แต่ถ้า  “เล่นสั้น”  ก็จะมีโอกาส  “ทำกำไร” ปีละหลายรอบ  บางทีรอบละ 10%-20%  ปีหนึ่งก็อาจจะสามารถสร้างผลตอบแทนหลายสิบเปอร์เซ็นต์  จริงอยู่  ในบางครั้งอาจจะพลาด  แต่โดยรวมแล้วเขาคิดว่ากำไรจะมากกว่าขาดทุน   ดังนั้น  คนส่วนใหญ่  แม้แต่ที่เป็น VI จึงนิยมลงทุนค่อนข้างสั้นไม่เกินหนึ่งปี   ถ้าไม่ใช่ VI ก็อาจจะสั้นขนาดเป็นวัน  ที่เป็น VI ก็อาจจะเป็นเดือนหรืออาจจะหลายเดือน  สถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่ทำให้คนเล่นสั้นนั้นมีหลากหลายและต่อไปนี้ก็คือ  “สิ่งยั่วเย้า”  ที่ทำให้คนเข้ามาซื้อขายหุ้นอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนตัวหุ้นไปเรื่อย ๆ

             สำหรับคนที่เป็น  “เทรดเดอร์”  หรืออาจจะเป็น  “นักลงทุนรายวัน”  สิ่งที่ “ยั่ว” ให้เขาเข้ามาซื้อหรือขายหุ้นนั้นก็คือ  ราคาและปริมาณการซื้อขายหุ้น  นี่คือการเล่นหุ้นตามแนวเทคนิคที่เน้นการซื้อขายหุ้นตามความผันผวนของราคาและความคึกคักของหุ้น  หุ้นที่กำลังวิ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว  เช่น  ภายในเวลาเพียงชั่วอึดใจราคาอาจจะปรับขึ้นไปเป็น 10%  หรือในช่วงไม่กี่วันราคาขยับขึ้นไปต่อเนื่องหลายสิบเปอร์เซ็นต์  อาการแบบนี้ทำให้นักเล่นหุ้นระยะสั้นแนวเทรดเดอร์  “อดทนไม่ไหว”  ต้องเข้าไปเล่นโดยหวังว่าหุ้นจะวิ่งต่อไปและตนเองสามารถทำกำไรได้อย่างรวดเร็วในเวลาอันสั้น   คนที่เข้าไปเล่นหุ้นตามแนวทางนี้เมื่อได้กำไรในระดับหนึ่ง  เช่น  อาจจะ 5%-6% ก็มักจะรีบขายทำกำไรเพราะอาจจะกลัวว่าหุ้นจะ “ปรับตัวลง”  เช่นเดียวกัน  บางคนเข้าไปซื้อ  “ช้าเกินไป”  และหุ้นปรับตัวลงต่ำกว่าต้นทุน  บางทีเข้าก็อาจจะขายทิ้งเหมือนกัน

             “สิ่งยั่วเย้า”  ต่อมาที่มักทำให้คนเข้าไปซื้อหุ้นโดยไม่ได้ศึกษาบริษัทอย่างลึกซึ้งก็คือ  “ข่าวดี” ของบริษัท  เช่น  บริษัทสามารถสร้างยอดขายได้โดดเด่น  เช่น ขายคอนโดหมดได้อย่างรวดเร็ว  บริษัทได้รับงานใหม่ที่มีขนาดหรือรายได้สูง  เช่น  บริษัทรับเหมาก่อสร้างประมูลงานได้  หรือบริษัทชนะประมูลแข่งในกิจการสัมปทานหรืองานจากหน่วยงานรัฐและเอกชนต่าง ๆ  เป็นต้น   ข่าวดีเหล่านั้นถึงจะทำรายได้ให้บริษัทเพิ่มขึ้นในอนาคตและอาจจะช่วยทำให้บริษัทมีกำไรมากขึ้นซึ่งก็จะทำให้หุ้นมีค่ามากขึ้นได้  แต่ส่วนใหญ่แล้วก็มักจะเป็นเรื่องที่  “เกิดขึ้นครั้งเดียว”  หรือไม่ถาวร  ดังนั้นผลกระทบในแง่ของมูลค่าของบริษัทก็อาจจะไม่มากนัก  อย่างไรก็ตาม  นั่นเป็นเรื่อง  “ระยะยาว”  แต่ใน “ระยะสั้น”  คนก็น่าจะเข้ามาเก็บหุ้นและราคาก็จะปรับตัวขึ้น  นั่นคือสิ่งที่เราคิด  และนั่นทำให้เรา “อดไม่ได้” ที่จะต้องซื้อหุ้น  เราคิดว่านี่คือเงินที่จะได้มาง่าย ๆ  หรือเป็น  “Easy Money”

            สิ่งยั่วเย้าให้คนแห่กันเข้ามาซื้อหุ้นโดยที่ไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านพื้นฐานของบริษัทอีกกลุ่มหนึ่งก็คือสิ่งที่ผมเรียกว่า  “Financial Engineering” ในความหมายที่ไม่ได้ตรงกับชื่อจริง ๆ  แต่ในความหมายของผมก็คือ  การออกตราสารการเงินทั้งที่เป็นหุ้นหรืออนุพันธ์ที่ให้ฟรีหรือเกือบฟรีกับผู้ถือหุ้น  หรือการปรับแต่งตัวเลขทางการเงินเช่นการปรับพาร์หรือแตกหุ้นต่าง ๆ  เหล่านี้  ซึ่งในพื้นฐานจริง ๆ  แล้วเป็นเรื่องของการพิมพ์หรือปรับตัวเลขบนกระดาษเพื่อส่งให้ผู้ถือหุ้น  แต่ผลที่มักเกิดขึ้นก็คือ  นักลงทุนคิดว่าบริษัทกำลังจ่ายปันผลหรือให้สิทธิต่าง ๆ  ที่มีค่า  ดังนั้นพวกเขาก็เข้ามาเก็งกำไรโดยการซื้อหุ้นเพื่อหวังปันผลหรือสิทธินั้นโดยอาจจะไม่เข้าใจว่ามูลค่าของหุ้นเดิมจะต้องถูกลดทอนลงหรือเกิด  “Dilution”  ราคาหุ้นก็มักจะเพิ่มขึ้น  นักลงทุนที่เห็นประกาศการทำ “Financial Engineering” ก็มักจะอดไม่ไหวที่จะเข้าไปซื้อหุ้นเพราะหวังที่จะได้กำไรอย่างง่าย ๆ

             นอกจาก “Financial Engineering” แล้ว  สิ่งที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ไม่แพ้กันก็คือ  “Business Engineering” ในความหมายของผมอีกเช่นกันที่ผมหมายถึงการดัดแปลงหรือหาธุรกิจใหม่ที่  “หวือหวา”  ที่เป็นธุรกิจที่  “มีกำไรดี” และ  “ทำได้ง่าย ๆ”  เช่น พัฒนาอสังหาริมทรัพย์    หรือเป็นธุรกิจ  “แห่งอนาคต”  เช่น  พลังงานทดแทน  มาทำแทนหรือเสริมธุรกิจเดิมอย่างมีนัยสำคัญ  ผลที่เกิดมักเกิดขึ้นก็คือ  บริษัทถูกมองว่าจะกลายเป็นบริษัทที่มีกำไรและเติบโตมหาศาลจากเดิมที่เป็นบริษัทที่น่าเบื่อและไม่มีอนาคต  นักลงทุนจะเข้ามาซื้อหุ้นและให้มูลค่าเท่า ๆ  หรือมากกว่าบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันทั้ง ๆ ที่บริษัทยังไม่ได้พิสูจน์ผลงานเป็นที่ประจักษ์  ผลก็คือ  ราคาหุ้นพุ่งพรวดและนักลงทุนจำนวนมากก็ “อดไม่ได้”  ที่จะ “ร่วมขบวน” การ  “หาเงินง่าย ๆ”  นี้

            ในยามที่ตลาดหุ้นบูมหนักอย่างในช่วงเร็ว ๆ  นี้  ดูเหมือนว่าจะไม่มีอะไรที่จะทำกำไรแบบ Easy Money มากเท่ากับหุ้น  IPO  หรือหุ้นเข้าตลาดครั้งแรก  นี่เป็นการเก็งกำไรที่ได้เสียเร็วมากที่สุดอย่างหนึ่งเพราะราคาหุ้นผันผวนเป็นหลายสิบเปอร์เซ็นต์ในเวลาไม่กี่ชั่วโมง  แม้แต่ชั่วนาทีก็อาจจะทำกำไรหรือขาดทุนได้หลาย ๆ  เปอร์เซ็นต์  แน่นอน  คนที่เข้าไปเล่นในวันแรกที่หุ้นเข้าตลาดนั้นต่างก็หวังกำไรทั้งนั้นและพวกเขาก็อดกลั้นไม่ไหวที่จะอยู่เฉย ๆ  และมอง  “กำไรที่หายไปต่อหน้าต่อตา”  ดังนั้น  พวกเขาก็เข้าไปเล่นโดยไม่ได้สนใจพื้นฐานของกิจการ

           การสนองตอบต่อสิ่งยั่วเย้านั้นไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะต่อนักลงทุนที่  “ไม่รอบรู้”  เท่านั้น  แม้แต่คนที่เก่งกาจและเป็น VI ผู้มุ่งมั่นเองก็ประสบกับมันเช่นกัน  ความต้องการกำไรที่มากและรวดเร็วหรือเป็น  Easy Money นั้น  ทำให้หุ้นประเภทที่มีโอกาสที่ราคาจะปรับตัวขึ้นมากและรวดเร็วเป็นที่สนใจของ VI จำนวนไม่น้อยโดยเฉพาะที่อายุยังไม่มากและพอร์ตยังไม่ใหญ่นัก  นั่นก็คือหุ้นที่ถูกจัดว่าเป็นหุ้น Turnaround หรือหุ้นฟื้นตัว  หรือหุ้น  Cyclical หรือหุ้นวัฎจักร  หุ้นสองกลุ่มนี้คือหุ้นที่พื้นฐานหรือผลการดำเนินงานกำลังเปลี่ยนจากบริษัทใกล้ล้มละลายหรือตกต่ำอย่างหนักจากภาวะแวดล้อมทางอุตสาหกรรม  กลายเป็นบริษัทที่ “เกิดใหม่” และจะมีกำไร  หรือกลายเป็นบริษัทที่กำลังจะมีกำไรดีต่อเนื่องไปในอนาคตหลังจากตกต่ำมาช่วงเวลาหนึ่ง  ภาวะที่ดีขึ้นอย่างมากในเวลาอันสั้นนั้นมักจะก่อให้เกิดความรู้สึกที่เรียกว่า  “Euphoria”  หรือเป็นความรู้สึกที่ดีอย่างเคลิบเคลิ้มจนลืมไปว่าผลประกอบการในอนาคตนั้นอาจจะไม่ได้สวยสดต่อเนื่องยาวนาน  และดังนั้นพวกเขาก็มักจะให้มูลค่าที่สูงเทียบกับผลกำไรของบริษัทที่กำลังดีขึ้นแต่อาจจะไม่คงทน  ผลก็คือ  ราคาหุ้นถูก “ดัน” ขึ้นไปมากเนื่องจากนักลงทุน  “ทนไม่ไหว”  ที่จะไม่เข้าไปซื้อหุ้นที่เห็นว่าอาจจะโตขึ้นไปได้อาจจะอีกหลายเท่า

             ยังมีสิ่งยั่วเย้าอีกมากมายในตลาดหุ้นที่ดึงดูดให้นักลงทุนเข้ามาซื้อหุ้นในระยะสั้น  ตัวอย่างเช่น  การที่หุ้นถูกซื้อโดย  “เซียน”  หรือนักลงทุน  “รายใหญ่”  ในตลาดหุ้น  หรือถูกซื้อโดยผู้บริหารในจำนวนมาก  หรือเรื่องราวต่าง ๆ  อีกร้อยแปดที่อาจจะมีผลต่อราคาหุ้นอย่างรุนแรงและทำให้นักลงทุนที่ติดตามความเคลื่อนไหวต่าง ๆ เหล่านั้นเข้ามาซื้อหุ้นโดยหวังที่จะทำกำไรอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้นเพราะเขา “อดกลั้นไม่ได้”

            ผมเองไม่ได้บอกว่าการเข้าซื้อหุ้นบ่อย ๆ  เพราะเราอดกลั้นไม่ได้ต่อสิ่งยั่วเย้าเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดี  มันคงเป็นประสบการณ์ของนักลงทุนแต่ละคน  และคงขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ว่าถูกต้องหรือไม่และบางทีก็เป็นเรื่องของช่วงเวลาที่ทำ  ส่วนตัวผมเองเชื่อว่า  การทำหรือซื้อหุ้นบ่อย ๆ  ซึ่งก็แปลว่าต้องขายบ่อยด้วยนั้น  ไม่น่าจะเป็นสิ่งที่ดีสำหรับคนส่วนใหญ่  และนั่นทำให้การรู้จักอดกลั้นต่อสิ่งยั่วเย้านั้น  เป็นศิลปะที่สำคัญอย่างหนึ่งของ VI

Posted by nivate at 11:44 AM in โลกในมุมมองของ Value Investor
 
ที่มา :
http://portal.settrade.com/blog/nivate/2014/07/14/1451



ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9025
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com




Monday, 21 July 2014

นิวตัน VS ดาร์วิน

ถ้าเราดูภูมิหลังหรือประวัติการเรียนและทักษะของนักการเงินซึ่งรวมถึงนักลงทุนแนวหน้าของโลกหรือของประเทศไทยเรามักจะพบว่าจำนวนไม่น้อยมีพื้นฐานของการเรียนทางด้านวิศวกรรม  ผมเองก็เป็นหนึ่งในนั้น  ว่าที่จริงผมเองก็รู้สึกแปลกใจตั้งแต่เรียนวิชาการเงินในช่วงปริญญาเอกที่พบว่าทฤษฎีสำคัญทางการลงทุนบางเรื่องนั้น  ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยอาศัยหลักการทางวิศวกรรมเรื่อง  “การส่งผ่านความร้อน”  หรือ  Heat Transfer ซึ่งเป็นวิชาที่ยากและผมทำได้ไม่ดีเลยในสมัยที่ผมเรียนปริญญาตรีทางด้านวิศวกรรม  นอกจากนั้น  ทฤษฎีการเงินต่าง ๆ  มากมายต่างก็ใช้หลักการทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนจำพวก  Calculus ที่  “เด็กวิศวะ”  ต้องเรียนมากมาย  ดังนั้น  ผมจึงสรุปเองว่าคนที่เรียนมาทางด้านวิศวกรรมหรือเก่งทางด้านวิศวกรรมนั้น  หากหันมาเรียนและทำงานทางด้านการเงินก็น่าจะได้เปรียบคนที่เรียนมาทางสายอื่น   และนั่นน่าจะเป็นเหตุผลที่ทำให้อาชีพทางการเงินถูก “ครอบงำ” โดยคนที่มีฐานทางด้านวิศวกรรม

            แต่ในเรื่องของการลงทุนในทางปฏิบัตินั้น  บางทีก็มีประเด็นที่ทำให้เราสงสัยอยู่เหมือนกันว่าคนที่เก่งทางด้านฟิสิกส์ซึ่งเป็นฐานของวิศวกรรมที่สำคัญที่สุดนั้นจะสามารถลงทุนได้ดีกว่าคนสายอื่นหรือไม่?  เพราะเรื่องที่มีการอ้างถึงกันบ่อย ๆ ก็คือ  เรื่องที่เซอร์ ไอแซ็ค นิวตัน  นักฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกเคยกล่าวไว้กว่า 300 ปีมาแล้วว่า  “ผมสามารถที่จะคำนวณการเคลื่อนไหวของดวงดาวบนฟากฟ้า  แต่ไม่สามารถคาดการณ์ความบ้าคลั่งของคนได้” เมื่อเขาขาดทุนจากการลงทุนในหุ้นเซ้าท์ซีอย่างหนัก  อย่างไรก็ตาม  ความพยายามที่จะเอาชนะในการลงทุนก็ยังคงดำเนินต่อไปจากนักการเงินที่ใช้หลักการในแบบของนิวตัน  โดยล่าสุดดูเหมือนจะเป็นการพยายามซื้อขายหุ้นโดยกลุ่มนักการเงินที่เรียกว่า  “Quant” ซึ่งก็คือการใช้ข้อมูลตัวเลขต่าง ๆ  ในการสร้างแบบจำลองที่จะทำการซื้อขายหุ้น  ผมเองไม่แน่ใจว่าพวกเขาประสบความสำเร็จหรือไม่  แต่ประสบการณ์ของ “Long Term Capital Management (LTCM)” ซึ่งเคยเป็นกองทุนที่บริหารโดยนักการเงินระดับโนเบลไพร์ซที่เน้นการใช้วิชาการแบบของนิวตันนั้น  อาจจะบ่งบอกเราว่า  หลักการทางด้านของฟิสิกส์นั้น  อาจจะเหมาะเฉพาะกับการลงทุนในระยะสั้น ๆ  ที่ปัจจัยและภาวะแวดล้อมไม่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ   เพราะในช่วงแรกนั้น LTCF ประสบความสำเร็จอย่างสูง  แต่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่าง  “คาดไม่ถึง”  กองทุนก็ล่มสลายลง

           นั่นนำมาถึงอีกสิ่งหนึ่งที่ผมเองคิดว่าน่าจะสามารถอธิบายทฤษฎีการลงทุนในระยะยาวได้ดีกว่านั่นก็คือหลักการพื้นฐานที่ถูกค้นพบโดย  Charles Darwin นักชีววิทยาที่มีเสียงมากที่สุดในโลก  ทฤษฎีของดาร์วินอย่างที่เรารู้ก็คือ  ทฤษฎี  “วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต”  ซึ่งบอกว่าสิ่งมีชีวิตต่างก็ปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมตลอดเวลา  ผู้ที่เหมาะสมนั้นจะรอดและเติบโตต่อไป  Survival of the fittest)  ส่วนผู้ที่ปรับตัวไม่ได้ก็จะตายหรือค่อย ๆ  หมดไป  การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตมาเป็นล้าน ๆ  ปีนี้เองที่นำไปสู่สิ่งมีชีวิตที่สลับซับซ้อนอย่างสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งรวมถึงมนุษย์    ที่ประกอบไปด้วยระบบต่าง ๆ  ในร่างกายที่ทำงานประสานสอดคล้องกันอย่างน่าทึ่งและกระบวนการหรือระบบต่าง ๆ  เหล่านี้ก็ยังปรับตัวและเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ  เพียงแต่เราไม่สามารถสังเกตได้ในระยะเวลาสั้น ๆ

            ทฤษฎีของดาร์วินซึ่งอธิบายเรื่องของสิ่งมีชีวิตนั้น  ในช่วงเร็ว ๆ  นี้ก็มีคนนำไปเปรียบเทียบกับระบบของสังคมว่ามันมีส่วนที่คล้ายกันมาก  การอธิบายเรื่องของการเมือง  เศรษฐกิจ  ตลาดหุ้น  การทำงานของธุรกิจข้ามชาติ  ระบบอินเตอร์เน็ตและปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับคอมพิวเตอร์  ต่าง ๆ  เหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีคุณลักษณะและพฤติกรรมแบบเดียวกับสิ่งมีชีวิต  พูดง่าย ๆ  ระบบต่าง ๆ  เหล่านั้นจริง ๆ  แล้วมัน  “มีชีวิต”  ในแง่ที่ว่า  ระบบที่เหมาะสมก็จะอยู่รอด  ระบบที่  ปรับตัวไม่ได้ก็จะตายหรือหายไป  เราเรียกมันว่า “Complex Adaptive System” (CAS)  หรือ “ระบบที่ซับซ้อนและปรับตัวตลอดเวลา”   ความหมายของ CAS ก็คือ  ระบบอย่างเศรษฐกิจหรือตลาดหุ้นนั้น  เป็นระบบใหญ่ คล้ายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม)  ที่ประกอบไปด้วย “ผู้เล่น”  หรือปัจจัยต่าง ๆ มากมาย อาจจะคล้าย ๆ กับระบบหายใจ  และระบบย่อยอาหาร ต่าง ๆ ) ที่ต่างก็มีบทบาทหรือมีอิทธิพลต่อระบบและต่อผู้เล่นอื่น ๆ   ผู้เล่นและปัจจัยนั้นมีหลากหลายมากมาย  เช่นเดียวกับผลกระทบนั้นก็มีหลากหลาย  นอกจากนั้น  เวลาที่ผู้เล่นหนึ่งเปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบไปยังคนอื่น  คนอื่นก็เปลี่ยนแปลงและสุดท้ายก็ส่งผลกลับไปยังผู้เล่นคนแรก  และนี่จึงทำให้มันมีความซับซ้อนจนยากที่จะบอกว่าอะไรคือเหตุผลที่แท้จริงที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของระบบเกิดขึ้น  เรารู้แต่เพียงว่า  การเปลี่ยนแปลงนั้นเพื่อที่จะสะท้อนหรือปรับให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้ระบบอยู่รอดและทำงานต่อไป

            ประเด็นสำคัญอีกเรื่องหนึ่งก็คือ  ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงนั้น  ไม่ใช่เส้นตรงและระบบนั้นไม่เสถียรและจำเป็นต้องมีพลังงานที่ต้องป้อนเข้ามาตลอดเพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบ  นอกจากนั้น  ระบบ CAS นั้นมี  “ประวัติศาสตร์” นั่นก็คือ  มันมี  “วิวัฒนาการ”  คล้าย ๆ  กับสิ่งมีชีวิตจริง ๆ   ข้อสรุปอย่างย่อที่สุดก็คือ  ระบบ CAS นั้น  เป็นระบบที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ หรือ Dynamic  ปัจจัยต่าง ๆ  หรือผู้เล่นต่าง ๆ  ในระบบก็เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ   ผลกระทบก็เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ  และมีผลย้อนกลับด้วย  ดังนั้น  การคาดการณ์ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์อย่างหนึ่งเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลต่อระบบหรือปัจจัยหรือผู้เล่นอื่นอย่างไรจึงเป็นเรื่องที่ทำได้ยากหรือแทบจะทำไม่ได้เลย  ยกตัวอย่างง่าย ๆ  ก็อาจจะเป็นว่า  การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางขึ้นมา 1 เปอร์เซ็นต์นั้นจะทำให้เศรษฐกิจเติบโตกี่เปอร์เซ็นต์?  คำตอบที่ถูกต้องนั้นก็คือ  บอกไม่ได้!  ระบบการปรับตัวที่ซับซ้อนหรือ CAS ไม่ได้ทำงานเหมือนกับการคำนวณว่าถ้าจะไปดวงจันทร์ต้องยิงจรวดในทิศทางไหนและใช้เชื้อเพลิงเท่าไร

           กลับมาดูการลงทุนในตลาดหุ้นว่ามันควรเป็นอย่างไร?   ส่วนตัวผมคิดว่าตลาดหุ้นและการลงทุนนั้นเป็น  CAS  และมีการเปลี่ยนแปลงมาตลอด  เมื่อคิดย้อนหลัง  ผมเห็นพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของนักลงทุน  กลุ่มหุ้นที่เคยเป็นหุ้นยอดนิยมในตลาด  กลุ่มหุ้นที่เจริญรุ่งเรืองในแต่ละยุค  การควบคุมบริษัทจดทะเบียน  การเติบโตของ VI ในตลาดหุ้น  สิ่งต่าง ๆ  เหล่านี้ทำให้ผมคิดต่อไปว่าอนาคตมันก็คงจะเปลี่ยนแปลงไปอีก  สิ่งที่เราเห็นในวันนี้ไม่ว่าในด้านไหนหรือผู้เล่นไหนก็น่าจะต้องเปลี่ยนแปลงไป  แม้แต่สภาวะแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองของไทยที่มีผลต่อตลาดหุ้นเองก็เปลี่ยนแปลงไป  บางทีอาจจะรุนแรง  “ไม่เป็นเส้นตรง”  สิ่งต่าง ๆ  เหล่านี้ก็อาจจะเกิดขึ้นได้เสมอ  ดังนั้น  เราก็จะต้องพร้อมที่จะปรับตัวเช่นเดียวกัน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือคำว่า  “Survival of the fittest”  หรือคนที่เหมาะสมที่สุดก็จะอยู่รอดและเฟื่องฟู

            ประเด็นสำคัญของผมก็คือ  นักลงทุนในช่วงนี้—ประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา  พวกเราคือคนที่ “เหมาะสมที่สุด”  โดยเฉพาะ  “VI” จำนวนมากที่ร่ำรวยขึ้นมามากอย่าง “ไม่น่าเชื่อ”  เหตุเพราะว่า  ระบบที่เป็น  CAS นั้นจะมีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  บางทีก็เร็วมาก  ความเหมาะสมในวันนี้อาจจะกลายเป็นความไม่เหมาะสมในวันข้างหน้าได้  และถ้าเราคิดว่าสิ่งที่เราเป็นเราทำนั้นดีและเหมาะสมที่สุดแล้ว  เราอาจจะกลายเป็นคนที่ล้าสมัยได้เมื่อสิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  ประวัติศาสตร์ของบริษัทที่ยิ่งใหญ่  ประวัติของผลงานการลงทุนที่ยิ่งใหญ่นั้น  ไม่ได้รับประกันว่ามันจะคงอยู่ได้ตลอดไป  และประวัติศาสตร์บอกว่า  การรักษามันเป็นสิ่งที่ยากมาก
 
Posted by nivate at 11:17 AM in โลกในมุมมองของ Value Investor
 
ที่มา :
http://portal.settrade.com/blog/nivate/2014/07/21/1453



ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9025
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com




Tuesday, 7 June 2011

Take Over Target


    ในตลาดหุ้นต่างประเทศที่พัฒนาแล้ว จะมีนักลงทุนจำนวนหนึ่งที่วัน ๆ อาจจะมองหาหุ้นที่เขาคิดว่าน่าจะเป็นเป้าหมายของการถูกซื้อหรือควบรวมกิจการโดยคนอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของหรือผู้บริหารปัจจุบัน ภาษาอังกฤษเรียกบริษัทหรือหุ้นเหล่านี้ว่าเป็น “Take Over Target” หรือ บริษัทที่อาจจะถูกซื้อหรือควบรวมกิจการ เหตุผลก็คือ หากต่อมามีคนมาเทคโอเวอร์กิจการจริง ราคาหุ้นก็มักจะวิ่งอย่างแรง ทำกำไรให้กับคนที่ซื้อหุ้นไว้ก่อนมหาศาล ตลาดหุ้นไทยเองก็น่าจะมีหุ้นที่จะถูกเทคโอเวอร์มากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น การเรียนรู้ว่าหุ้นตัวไหนจะมีโอกาสถูกเทคโอเวอร์ก็น่าจะเป็นประโยชน์กับการลงทุน ลองมาดูเงื่อนไขหรือองค์ประกอบที่ทำให้บริษัทจะเป็น Take Over Target กัน
    ข้อแรกก็คือ โครงสร้างของผู้ถือหุ้น บริษัทที่มีผู้ถือหุ้นกระจัดกระจายและไม่มีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นเรื่องเป็นราว เช่น กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดมีหุ้นไม่ถึง 5 หรือ 10% และไม่มีหุ้นส่วนสำคัญอื่น ๆ บริษัทแบบนี้ในทางทฤษฏีแล้วก็สามารถเป็นเป้าหมายของการเทคโอเวอร์ได้ และนี่มักจะเป็นการเทคโอเวอร์แบบไม่เป็นมิตร นี่คือโครงสร้างแบบที่หนึ่ง โครงสร้างแบบที่สองที่อาจทำให้บริษัทถูกเทคโอเวอร์ก็คือ บริษัทเป็น “บริษัทลูก” หรือ “บริษัทร่วม” ของบริษัทขนาดใหญ่ถึงใหญ่มาก ถ้าบริษัทแม่มีการปรับเปลี่ยนนโยบายหรือ “ปรับโครงสร้าง” กลุ่มธุรกิจของบริษัท ก็มีโอกาสที่บริษัทแม่จะซื้อหรือขายกิจการบริษัทลูกหรือบริษัทร่วมเข้ามาหรือออกไป ลักษณะนี้ส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นการเทคโอเวอร์แบบเป็นมิตร อย่างไรก็ตามบางทีก็ขึ้นอยู่กับหุ้นส่วนรายอื่นด้วยว่าจะเห็นด้วยหรือไม่กับการเทคโอเวอร์ ตัวอย่างเมื่อเร็ว ๆ นี้ ของกรณีที่หนึ่งก็คือกรณีของหุ้น TTA ในขณะที่กรณีตามโครงสร้างที่สองก็คือ กรณีของหุ้นในกลุ่มปิโตรเคมีในเครือ ปตท.หลายบริษัทในตลาดและกรณีของหุ้นเสริมสุขเป็นต้น
    เงื่อนไขที่สอง หุ้นที่เป็นเป้าหมายการถูกเทคโอเวอร์โดยเฉพาะในแบบที่ไม่เป็นมิตรและไม่เกี่ยวกับการปรับโครงสร้างกลุ่มธุรกิจนั้น มักจะเป็นหุ้นที่มีมูลค่าตลาดต่ำ หรือตกต่ำลงมาก และต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานที่ควรเป็นหรือต่ำกว่ามูลค่าของสินทรัพย์สุทธิ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินทรัพย์ที่เป็นเงินสดของบริษัท และเหตุผลที่หุ้นมีราคาตกต่ำนั้น เป็นเพราะการบริหารงานที่ไม่ดีหรือบริษัทมีนโยบายที่ไม่เหมาะสมทำให้กิจการมีกำไรน้อยหรือขาดทุน ส่งผลให้ราคาหุ้นลดลงหรือตกต่ำต่อเนื่องยาวนาน โดยที่ผู้ที่จะมาเทคโอเวอร์มองว่า ถ้าสามารถเปลี่ยนแปลงผู้บริหารหรือกลยุทธ์ของบริษัท ผลประกอบการของบริษัทจะดีขึ้นมาก หรือคนเทคโอเวอร์อาจจะเห็นว่า บริษัทมีทรัพย์สินที่สามารถนำมาจ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้นได้มากคุ้มค่าแทนที่จะเก็บไว้กับบริษัทโดยที่ไม่รู้ว่าอนาคตผู้ถือหุ้นจะได้อะไร
    ตัวอย่างที่เกิดขึ้นมากกับกรณีของการบริหารงานก็คือ การที่บริษัทมีเงินสดมากอันเป็นผลจากกำไรที่ทำได้มากจากธุรกิจปกติของบริษัท แต่เมื่อผลประกอบการของธุรกิจเดิมเริ่มตกต่ำลง ผู้บริหารก็มักจะพยายามหาธุรกิจอื่นที่ตนเองไม่มีความรู้หรือประสบการณ์มาทำโดยการเข้าไปซื้อธุรกิจเหล่านั้นในราคาที่ “Aggressive” หรือราคาที่มักจะแพงกว่าปกติ ผลก็คือ กำไรของบริษัทก็ยิ่งตกต่ำลงไปกว่าเดิม ซึ่งทำให้ราคาหุ้นตกลงมามาก คนที่เทคโอเวอร์เองเห็นว่า ถ้าสามารถเข้าไปเปลี่ยนผู้บริหารหรือเปลี่ยนกลยุทธ์ของบริษัท ผลการดำเนินงานน่าจะดีขึ้นซึ่งก็จะส่งผลให้ราคาหุ้นวิ่งขึ้นไปมหาศาล
    ตัวอย่างที่เกิดขึ้นในเรื่องของทรัพย์สินของบริษัทที่มีมากแต่ผู้บริหารไม่จ่ายออกมาเป็นปันผลให้กับผู้ถือหุ้นเท่าที่ควร ทำให้ราคาหุ้นตกต่ำลงมาก จนบางกรณีราคาหุ้นต่ำกว่าเงินสดที่บริษัทมีอยู่ นี่ก็เป็นกรณีที่เกิดกับบริษัทหลักทรัพย์บางแห่งและบริษัทอิเล็คโทรนิคบางบริษัท กรณีแบบนี้ หลังการเทคโอเวอร์ ก็มักจะมีการจ่ายปันผลจำนวนมากออกมาเพื่อให้คนที่เทคโอเวอร์นำเงินมาใช้คืนเจ้าหนี้หรือคืนเงินค่าหุ้นที่ตนเองซื้อมาในราคาต่ำ ทำกำไรให้กับคนเทคโอเวอร์มหาศาลเช่นเดียวกับนักลงทุนที่เห็นและเข้าไปซื้อหุ้นไว้ก่อน
    เงื่อนไขข้อสามที่จะทำให้หุ้นเป็นเป้าหมายการเทคโอเวอร์ก็คือ การที่ผู้บริหารสูงสุดมักเป็น “นักบริหารมืออาชีพ” พูดง่าย ๆ ไม่ได้เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นใหญ่ ดังนั้น การดูแลผู้ถือหุ้นจึงมักเป็นเป้าหมายรอง เพราะการที่ราคาหุ้นจะตกหรือขึ้นผู้บริหารก็ไม่ใคร่จะได้อะไร แต่การที่ขยายงานให้บริษัทใหญ่ขึ้นหรือการที่บริษัทมีเงินสดมาก ๆ นั้น ผู้บริหารก็มักจะได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นหรือมีความมั่นใจว่าบริษัทจะไม่มีปัญหาในการดำเนินงานที่อาจส่งผลกระทบกับตำแหน่งหน้าที่ของตนเอง ดังนั้นจึงสร้างเงื่อนไขของการเทคโอเวอร์ขึ้น ประเด็นอีกอย่างหนึ่งก็คือ ในสังคมไทยนั้น ถ้าบริษัทยังบริหารโดยคนในครอบครัวหรือตระกูลที่เคยหรือยังถือหุ้นค่อนข้างมากในบริษัท คน “ภายนอก” ก็คงไม่อยากจะเข้าไปเกี่ยวข้อง เพราะเรื่องอาจจะขยายตัวไปเป็นเรื่อง “ส่วนตัว” ซึ่งไม่คุ้มสำหรับคนที่คิดจะเทคโอเวอร์
    เงื่อนไขข้อสุดท้ายก็คือ ในเรื่องเชิงเศรษฐศาสตร์และอาจจะเรื่องของตลาดหุ้นด้วย นั่นคือ มีการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างอุตสาหกรรมหรือธุรกิจที่ทำให้การรวมกิจการเป็นหนทางที่สำคัญในการ “อยู่รอด” หรือ “รุ่งเรือง” ของบริษัทโดยเฉพาะบริษัทขนาดเล็กที่ไม่มี Economy of Scale หรือไม่มีความคุ้มค่าในการแข่งขันเมื่อเทียบกับบริษัทที่ใหญ่หรือมีขนาดที่เหมาะสมกว่า ตัวอย่างในเรื่องนี้ก็อาจจะเป็นธุรกิจอย่างโรงพยาบาลที่มีความเคลื่อนไหวในช่วงนี้ แม้ว่าเหตุผลอาจจะเป็นเรื่องของการตอบสนองของราคาหุ้นมากกว่าเหตุผลเชิงเศรษฐกิจหรือต้นทุนการดำเนินงาน หรืออย่างที่เราอาจจะได้เห็นในอนาคตก็อาจจะเป็นธุรกิจหลักทรัพย์หลังจากการเปิดเสรีในเร็ว ๆ นี้ที่บริษัทเล็ก ๆ อาจจะอยู่ได้ยากเป็นต้น
    การลงทุนโดยตั้งความหวังว่าอาจจะมีคนมาเทคโอเวอร์บริษัทเพียงสถานเดียวนั้น เป็นเรื่องที่เสี่ยงอย่างยิ่งโดยเฉพาะในตลาดหุ้นไทยที่ยังต้องอิงกับ “ขนบธรรมเนียม” และ “กฎเกณฑ์ที่ไม่มีการประกาศ” อีกมาก นี่ไม่ต้องพูดถึงว่าจะมีคนสนใจมาเทคโอเวอร์หรือเปล่าแม้ว่าจะมีเป้าหมายที่เด่นชัด สังคมไทยนั้น ความเชื่อก็คือ ถ้าเขาซึ่งก็คือ ผู้บริหาร “ถูกกระทำ” โดยที่ฝ่าย “ผู้กระทำ” ซึ่งเป็นคนเทคโอเวอร์นั้น มีแรงจูงใจก็คือ “ผลกำไรมหาศาล” โอกาสที่ผู้กระทำจะกลายเป็น “จำเลยสังคม” ก็มีไม่น้อย ดังนั้น ถ้าจะเล่นเรื่องเทคโอเวอร์ ผมคิดว่ากลยุทธ์ที่สำคัญที่สุดก็คือ ตัวหุ้นหรือกิจการนั้น ต้องมีราคาต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานมาก แม้ว่าจะไม่มีคนมาเทคโอเวอร์มันก็คุ้มค่าที่จะลงทุนอยู่ดี ส่วนการที่มันอาจจะถูกเทคโอเวอร์นั้น เป็นเพียง “โบนัส” ที่จะได้ ซึ่งมันอาจจะเป็น “ลาภลอย” ที่มีมูลค่ามากยิ่งกว่าพื้นฐานจริง ๆ ที่เราคิดคำนวณไว้
 
ที่มา :
http://www.settrade.com/blog/nivate/2011/06/07/1025



ออฟไลน์ www.STS-AUDIO.com

  • ขายเครื่องเสียงพีเอ-สตูดิโอ,ซาวการ์ด,ฯลฯ รับสั่งของทุกชนิดจาก USA Tel.081-0322-062
  • Moderator
  • เจ้าของวง
  • *****
    • กระทู้: 9025
  • Line ID : www.sts-audio.com
    • www.STS-AUDIO.com



Friday, 25 July 2014

ลงทุนอย่างมีความสุข

เป้าหมายในการลงทุนของนักลงทุนแต่ละคนอาจแตกต่างกันไปบ้าง เช่น เพื่อผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากประจำหรืออัตราเงินเฟ้อ เพื่อเป็นแหล่งรายได้สำรองเพิ่มเติมจากรายได้ประจำ เพื่อวางแผนทางการเงินสู่ความมั่งคั่งเพิ่มขึ้น เพื่ออิสรภาพทางการเงิน หรือเพื่อเหตุผลอื่น แต่โดยรวมนั้น นอกเหนือจากการนำเงินที่หามาได้เพื่อใช้จ่ายกับสิ่งจำเป็นในการดำเนินชีวิตประจำวันและสิ่งอำนวยความสะดวกสบายของตนและครอบครัวอย่างเหมาะสมแล้ว เป้าหมายสูงสุดของทุกคนก็คือ การมี “ความสุข” และได้ทำ “สิ่งที่ตนชอบและรัก” ในการใช้ชีวิตทุกๆ วันจนถึงบั้นปลายชีวิตวัยเกษียณ

แม้ในระยะยาว การลงทุนในตลาดหุ้นจะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยของสูงกว่าการลงทุนชนิดอื่น ช่วยเพิ่มความมั่งคั่งให้กับผู้ถือหุ้นตามผลประกอบการที่ดีขึ้น แต่ในระยะสั้นนั้น ตลาดหุ้นและราคาหุ้นก็มีความผันผวนไม่น้อยเช่นกัน หากดูดัชนี SET ที่ปรับตัวขึ้นจากต้นปี 18.07% และตลาด mai ที่ปรับขึ้นถึง 53.79% จนถึงวันที่ 18 กรกฎาคม 2557 อาจทำให้หลายคนคิดว่า นักลงทุนในตลาดหุ้น “ทุกคน” ล้วนต้องมี “ความสุข” จากผลกำไรที่ได้รับและมูลค่าพอร์ตที่เพิ่มขึ้น “อย่างมาก” ในความเป็นจริงแล้ว อาจมีนักลงทุนส่วนหนึ่งที่ไม่ได้มีความสุข “เต็มที่” นัก แม้ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นต่อเนื่องดังที่กล่าวมาแล้วก็ตาม ลองมาดูกันว่ามีกรณีใดบ้าง

กรณีแรก เมื่อขายหุ้น แต่ราคาหุ้นยังปรับตัวสูงขึ้นต่อไปอีกเรื่อยๆ หรือที่นิยมเรียกกันว่าการ “ขายหมู” แม้เป็นเรื่องธรรมดาที่ต้อง “เสียดาย”  แต่หากคิดว่านั่นคือการ “แบ่งปันกำไร” ให้เพื่อนนักลงทุนอื่นก็จะทำให้เรามี “ความสุข” และต้องไม่รู้สึกเสียใจจนถึงขั้นแย่และเศร้าหมอง ในทางทฤษฎีนั้น เราต้องดีใจที่ราคาหุ้นปรับสูงขึ้นจนถึงระดับราคาที่เราพอใจและสูงกว่าปัจจัยพื้นฐานที่คาดไว้มาก หรือเราได้ขายหุ้นออกมาเพราะพบกิจการที่ยอดเยี่ยมในราคาที่มี Margin of Safety มากกว่านั่นเอง นักลงทุนต้องพึงระลึกไว้เสมอว่า ไม่มีใครที่สามารถซื้อหุ้นในราคาถูกที่สุดและขายหุ้นในราคาสูงที่สุดทุกครั้ง

ในภาวะตลาดขาขึ้น หากราคาหุ้นปรับสูงขึ้นเกินปัจจัยพื้นฐานไม่มากนักและยังไม่พบกิจการยอดเยี่ยมอื่นในราคาที่เหมาะสม  การรีบขายหุ้นที่กิจการแข็งแกร่ง ยังมีการเติบโตอาจทำให้เสียโอกาสในการลงทุนได้ กลยุทธ์ Let profit run และให้เวลากับกิจการมากขึ้น เพื่อให้ผลประกอบการที่ดีออกมาสนับสนุนราคาที่ปรับสูงขึ้นก็อาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่ดีเช่นกัน

กรณีที่สอง เมื่อราคาหุ้นที่ตนถือหรือเพิ่งซื้อปรับลดลง หรือปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าหุ้นอื่น น้อยกว่าหุ้นของเพื่อนนักลงทุนอื่น  หรือน้อยกว่าภาวะตลาดโดยรวม การเลือก “เปรียบเทียบเฉพาะกับสิ่งที่ดีกว่า” จนทำให้ตนไม่พอใจถึงขั้นเกิด “ความทุกข์ใจ” กับสิ่งที่ตนเป็นอยู่ คล้ายกับสำนวนที่กล่าวว่า “The grass is always greener on the other side” ซึ่งเป็นการเปรียบเปรยถึง สนามหญ้าของเพื่อนบ้านที่มักเขียวสวยกว่าของบ้านเราเสมอ นอกจากนี้ นักลงทุนแต่ละคนล้วนมีกลยุทธ์ แนวทาง วิธีการลงทุนและความเสี่ยงที่รับได้แตกต่างกัน การเปรียบเทียบเพียงเฉพาะผลตอบแทนกับนักลงทุนอื่นจะนำพาความไม่สบายใจสู่ตนได้

นักลงทุนต้องไม่ลืมว่า ในทางปฏิบัตินั้น มีเหตุปัจจัยมากมายที่เกี่ยวข้องและมีผลต่อการขึ้นลงของราคาหุ้นในระยะสั้นคำแนะนำของผมก็คือ เราควรลดการเปรียบเทียบการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นกับสิ่งรอบข้างและเพิ่มความสำคัญในการเปรียบเทียบราคาหุ้นกับปัจจัยพื้นฐานธุรกิจปัจจุบัน หากพบว่ากิจการที่ตนถืออยู่ยังยอดเยี่ยม แข็งแกร่งและยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก เราควรมี “ความสุข” ในการรอวันที่ราคาหุ้นตอบสนองกับผลประกอบการที่ดีขึ้นนั่นเอง

  กรณีสุดท้ายที่จะกล่าวถึงคือ เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่เอื้ออำนวยต่างๆ เช่น ภาวะวิกฤติที่ตลาดหุ้นตกต่ำต่อเนื่องยาวนาน การถือเงินสดในสัดส่วนสูงยามตลาดหุ้นขาขึ้น การไม่มีเงินสดเพียงพอเพื่อซื้อหุ้นเมื่อพบโอกาสดีเยี่ยมในการลงทุน การถูกบังคับขายกรณีที่ใช้มาร์จิ้นซื้อขายหุ้น เป็นต้น หากตัดสินใจเลือกลงทุนในตลาดหุ้น นักลงทุนต้องเข้าใจถึงธรรมชาติของตลาดหุ้นและต้องตระหนักถึงสัจธรรมที่ว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง” นักลงทุนทุกคนจึงต้องเตรียมใจและพร้อมรับมือหากต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์เพื่อที่จะได้ไม่ “เครียดหรือกังวล” มากเกินไป

            เพื่อ “การลงทุนอย่างมีความสุข” คำแนะนำของผมก็คือ นักลงทุนจำเป็นต้อง “รู้จักและเข้าใจ” ตัวตนของตนเองให้มากที่สุด และเริ่มปฏิบัติตาม 3 ขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้ หนึ่ง จัดสรรเงินลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงที่ตนยอมรับได้อย่างเหมาะสมโดยไม่จำเป็นต้องนำเงินมาลงทุนในตลาดหุ้นทั้งหมด สอง สำหรับการลงทุนในหุ้น  ต้องเลือกแนวทาง วิธีการ กลยุทธ์และขบวนการตัดสินใจลงทุนให้เหมาะและสอดคล้องกับแนวทางการใช้ชีวิตโดยไม่ฝืนธรรมชาติของตน และสาม นักลงทุนควรตั้งเป้าหมายที่ท้าทายแต่ไม่สูงและเป็นไปได้ยากเกินไปในการปฏิบัติ และต้องมีความสุขและพอใจเมื่อผลตอบแทนเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้และเห็นพอร์ตการลงทุนของตนเพิ่มขึ้นอย่างมั่นคงนั่นเอง ขอให้ทุกท่านมีความสุขในการลงทุนตลอดไปครับ
                      สุดท้ายนี้ เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณและ “เพิ่มความสุข” ให้กับผู้อ่านทุกท่านที่ติดตามอ่านคอลัมน์ คิด วิเคราะห์ แยกแยะ ในหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจอย่างดีตลอดมา ผมได้ชักชวนคุณชาย มโนภาส อุปนายกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า ประเทศไทย) ซึ่งเป็นนักลงทุนเน้นคุณค่าที่ประสบความสำเร็จอีกท่านหนึ่งที่มีประสบการณ์การลงทุนในตลาดหุ้นทั้งในและต่างประเทศอย่างยาวนาน มาร่วมเขียนบทความกับผมและคุณวีระพงษ์ ธัม ผมมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้อ่านทุกท่านจะได้รับข้อคิด มุมมองที่เป็นประโยชน์ต่อการลงทุนเพิ่มขึ้นไปอีกแน่นอนครับ     

Posted by thanwa at 2:50 PM in คิด วิเคราะห์ แยกแยะ


ที่มา :
http://portal.settrade.com/blog/thanwa/2014/07/25/1455